แบบเรียนพงศาวดาร พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช ๑๑๒๘ ถึง ๑๑๔๔ พิมพ์ครั้งที่สี่ ๕,๐๐๐ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๒ ปกกระดาษราคาฉบับละ ๕๒ สตางค์ กรมตำรา กระทรวงธรรมการ แจ้งความกรมราชบัณฑิต (แต่พิมพ์ครั้งแรก) พระราชพงศาวดารที่กรมราชบัณฑิตจัดพิมพ์ขึ้นครั้งนี้ ได้ ใช้หนังสือสองเล่มที่หมอบรัดเลพิมพ์ เมื่อจุลศักราช ๑๒๒๖ เป็นต้น ฉะบับ ธรรมดาหนังสือที่พิมพ์ขึ้นเกือบห้าสิบปีมาแล้ว เช่นหนังสือ สองเล่มนี้ ตัวสะกดการันต์และวรรคตอนย่อมผิดแผกไปจากที่ นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มาก ทั้งการตรวจตัวพิมพ์ในสมัยนั้นก็ ไม่สู้จะกวดขันเท่าใดด้วย จึงมีถ้อยคำที่ผิดเพี้ยนตกหล่นอยู่ตั้ง แต่ต้นจนปลาย และในที่บางแห่งถึงกับพิมพ์ข้อความอย่างเดียว ซ้ำกันทั้งๆครึ่งหน้า บางแห่งก็ลงเลขลำดับหน้าไม่เรียงกัน เป็น ที่ฉงนสนเท่ห์แก่ผู้เรียนผู้อ่านอยู่ตลอดมา ในการพิมพ์ครั้งนี้กรม ราชบัณฑิตได้พยายามตรวจแก้ถ้อยคำและวรรคตอนให้ถูกต้องตลอด แล้ว ส่วนข้อความที่ยังคลาดเคลื่อนเลอะเลื่อนอยู่บ้าง ก็ได้ สอบทานกับต้นฉะบับสมุดไทย (ฉะบับกรมหลวงมหิศวรินทร์) ของ หอพระสมุดวชิรญาณ และได้แก้ไขข้อที่เคลือบแฝงนั้นให้ชัดเจน ยิ่งขึ้นแล้ อนึ่งเพื่อจะให้เหมาะแก่การเล่าเรียน กรมราชบัณฑิต ได้เลือกฟั้นและจัดแยกเนื้อเรื่องออกพิมพ์เป็นตอนๆ คือพระราช พงศาวดารกรุงเก่า เริ่มต้นแต่พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยาเมื่อ จุลศักราช ๗๑๒ ที่สุดเพียงเสียกรุงแก่พะม่า จัดเป็นตอนหนึ่งมี สองภาคภาคละเล่ม พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี (แผ่นดินพระ เจ้าตากสิน) จัดเป็นตอนหนึ่งมีเล่มเดียวจบ สองตอนนี้คัดมาแต่ ฉะบันซึ่งพิมพ์ที่โรงพิมพ์หมอบรัดเล ส่วนพระราชพงศาวดารตอน กรุงเทพฯ ะได้หาต้นฉะบับมาพิมพ์จำหน่ายให้ราคาย่อมเยาอีกต่อไป วันที่ ๑๔ กันยายน ร.ศ. ๑๓๑ พระจรัสชวนะพันธ์ เจ้ากรมราชบัณฑิต พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (พระเจ้าตากสิน) อนึ่งแต่ณวันเสาร์เดือนยี่ขจึ้นสี่ค่ำปีจออัฐศก ขณะเมื่อกรุงเทพ มหานครยังมิได้เสียนั้น้ พระเจ้าอยู่หัวอันมีอภินิหารนับในเนื้อ หน่อพุทธางกูรเจ้า ตรัสทราบพระญาณว่า กรุงศรีอยุธยาจะ เป็นอันตราย แต่เหตุที่อธิบดีเมืองและราษฎรมิเป็นธรรม จึงอุตสาหะด้วยกำลังกรุณาแก่สมณพราหมณาจารย์และบวรพุทธ ศาสนาจะเสื่อมศูนย์ จงชุมนุมพรรคพวกพลทหารจีนไทยประมาณ พันหนึ่ง สรรพด้วยเครื่องศาสตราวุธประกอบด้วยทหารผู้ใหญ่นั้น พระเชียงเงิน พรหมเสนา ขุนอภัยภักดี หลวงพิชัยอาสา หมื่น ราชเสน่หา หลวงราชเสน่หา ยกออกไปตั้ง ณวัดพิชัย อันเป็น มงคลสถาน ด้วยเดชบรมโพธิสมภาร เทพเจ้าอภิบาลรักษา พระบวรพุทธศาสนาก็ซ้องสาธุการ บันดาลให้วรรษาการห่าฝน ตกลงมาเป็นมหาวิชัยฤกษ์ จับเดิมแต่นั้นมาจึงให้ยกพลพยุหะ กองทัพออกจากวัดพิชัย ฝ่ากองทัพพะม่าออกมาเป็นเพลาย่ำฆ้อง ค่ำยามเสาร์ ได้รบกันกับพะม่า พะม่ามิอาจต่อต้านบารมีได้ ถอยไป ก็ดำเนิรด้วยพลทหารโดยสวัสดิภาพไปทางบ้านเข้าเบ่า ก็บรรลุถึงบ้านาสามบัณฑิต เพลาเที่ยงคืนประมาณสองยามเศษ เพลิงเกิดในกรุงเทพ มหานครไหม้แต่ท่าทรายตลอดถนนหลวงไปจนถึงวัดฉัททันต์ แสง เพลิงรุ่งโรจน์โชตนาการ ครั้นได้ทัศนาการเห็นก็สังเวชสลดใจ ด้วยอาลัยถึงสมณพราหมณาจารย์ ขัตติยวงศานุวงศ์และเสนา พฤฒามาตย์ราษฎร และบวรพุทธศาสนามิใคร่จะไปได้ดุจมีใจ ย่อหย่อนจากอุตสาหะ ซึ่งตั้งปณิธานจะแก้กรุงเทพมหานครกับ ทั้งบวรพุทธศาสนา เทพเจ้าจึงดลให้ตั้งสติสมปฤดีมีกำลัง กรุณาอุตสาหะ ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้นห้าค่ำ ลุศักราช ๑๑๒๘ ปีจอ อัฐศก ให้ยกกองทัพไปถึงบ้านโพสาวหาร พะม่ายกกองทัพ ติดตามไป จึงให้ตระเตรียมพลทหารจีนทหารไทยไว้ ครั้น กองทัพพะม่ายกมาถึง จึงดำเนิรนำหน้าพลทหารออกรบเป็น สามารถ พะม่าแตกกระจัดกระจายพ่ายไปเก็บได้ เครื่องศาสตราวุธ เป็นอันมาก จึงหยุดประทับแรมอยู่ ณ บ้านพรานนก ฝ่ายทแกล้ว ทหารออกไปลาดเที่ยวหาอาหาร จึงพบกองทัพพะม่ายกมาแต่ บางคาง พะม่าไล่ติดตามมาถึงที่ประทับถึงขึ้นมากับม้าทหาร สี่ม้าออกรับกองทัพพะม่าก่อน จึงกองทัพทั้งปวงเป็นปีกกา การบแซงสองข้างกองทัพพะม่าสามสิบม้า แตกย่นหกหลังลง ไปถึงพลเดิรเท้า ๒๐๐๐ แตกกระจายไป ฝ่ายทแกล้วทหารทั้งปวง เห็นกำลังบุญฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ ดังนั้น ก็ยำเกรงยกย่องว่า เป็นจอมกษัตริย์สมมุติวงศ์ ครั้นรุ่งขึ้นณวันจันทร์เดือนยี่ขึ้นหกค่ำปีจออัฐศก ขุนชำนาญ ไพรสณฑ์และนายกองสวามิภักดิ์เอาช้างมาถวาย พลายห้าพัง หนึ่งเป็นหกช้า งจงนำเสด็จดำเนิรไปถึงบ้านดงหยุดประทับร้อนใน ที่นั้นแล้ว สั่งให้หาขุนหมื่นพันทนานบ้านออกมาจะประสาทราโชวาท โดยดี ขุนหมื่นพันทนายบ้านมิได้เชื่อบารมีขัดแข็งคิดประทุษฐร้าย ซ๋องสุมทหารโยธาไว้คอยจะปองทำร้าย ครั้นตรัสแจ้งเหตุนั้นแล้ว มิได้จองเวรว่าเป็นข้าขอบขัณฑสีม มามีอิจฉาการ แต่จะให้เป็นสุขพร้อมกัน จึงให้ทหารไปว่า กล่าวเกลี้ยกล่อมโดยธรมราชประเพณีสามครั้ง ก็มิได้อ่อนน้อม ท้าทายอีกดำริว่าเป็นผลกรรมแห่งสัตว์ทั้งปวงแล้ว ครั้นณวันอังคารเดือนยี่ขึ้นแปดค่ำปีจออัฐศก จึงขึ้นม้านำ พลทหารยี่สิบฝ่าเข้าไป ขุนหมื่นทหารชาวบ้านดงมากกว่าพัน ออกต่อสู้ ยิงปืนสะกัดหน้าหลังทำอันตราย ด้วยเดชบารมีจะได้ ถูกต้องผู้ใดๆหามิได้ จึงขับม้านำหมู่ทหารบุกรุกไล่เข้าไป ให้ทหารปีกหักค่ายเข้าได้ ไล่ตะลุมบอนฟันแทง ทหารชาวบ้าน ดงก็แตกกระจายแหกค่ายหนีไป ได้ช้างพลายช้างพังเจ็ดช้าง ได้หิรัญสุวรรณธัญญาหารเป็นอันมาก ครั้น ณวันพุธเดือนยี่ขึ้นเก้าค่ำปีจออัฐศก ยกพลทหารออก มาประทับตำบลหนองไม้ทรุม ตามทางบ้านเมืองนครนายก ประทับร้อนแรมไปประมาณสองวัน ถึงบ้านนาเริ่งหยุดประทับ ยก แต่นั้นวันหนึ่งจึงถึงเมืองปราจีน ข้ามด่านกบและหยุดพักพล หุงอาหารฝ่ายฟากตะวันออก แล้วให้พลนิกายข้ามทุ่งไปจน เพลาบ่ายห้าโมง ตรัสทราบว่าพระเชียงเงิน ขุนพิพิธวาที นัก พระองค์ รามเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีมามิทัน จึงทรงม้ามากับ หลวงพรหมเสนาจะเร่งพวกพระเชียงเงินมิได้พบ ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันจันทร์ เดือนยี่ขึ้นสิบสามค่ำ ให้ยกพลทหาร เข้าไปในป่าหยุดประทับที่สำนักหนองน้ำหุงหาอาหารสำเร็จแล้ว เพลา บ่ายประมาณสองโมง จึงพระเชียงเงินมาถึงให้โบยสามสิบทีแล้ว ก็ตรัสเห็ฯกิริยาว่ามิเป็นใจด้วยราชการ จึงสั่งให้ประหารชีวิต เสีย นายทัพนายกองทูลขอชีวิตไว้ ครั้นเพลาบ่ายประมาณ สี่โมง พะม่าไล่แทงฟันคนซึ่งเลื่อยล้าวิ่งหนีมาตามทาง ทอด พระเนตร เห็นจึงให้นายบุญมีขึ้นม้าใช้ สวนทางลงไปได้ประมาณ สองร้อยเส้น พบกองทัพพะม่ายกขึ้นมาแต่ปากน้ำเจ้าโล้ทั้งทัพบก ทัพเรือมาขึ้นที่ท่าข้าม ครั้นเห็นธงเทียวเสียงฆ้องกลองเสียงพูด จากันว่าเป็นพะม่ามั่นคงแล้ว ก็กลับม้า ควบมากราบทูลตามได้ เห็นนั้น จึงสั่งให้พลทหารตั้งปืนใหญ่ตับใหญ่ตับน้อยดาไว้ ต่างค่าย แล้วให้คนหาบสะเบียง ครอบครัวไปก่อน แต่พระองค์กับทหาร ประมาณร้อยเศษ คอยรับพะม่า ครั้นเพลาบ่ายโมงเศ พะม่ายก กองทัพมาถึง จึงเสด็จนำหน้าทหารด้วยหลวงชำนาญไพรสณฑ์ พระเชียงเงิน นายบุญมี นายทองดีทหาร นางแสงทหาร ออกไป รับล่อพะม่านอกปืนใหญ่น้อยซึ่งดาไว้ประมาณหกเส้นเจ็ดเส้น พะม่า ยกทัพเรียงเรียบมาจำเพาะในพงแขม ครั้นเข้ามาใกล้ได้ทีแล้ว จึงให้ยิงปืนเป็นอันหนึ่งอันเดียว ถูกพะม่าล้มตายเป็นอันมาก พะม่าที่ยังอยู่นั้นอุดหนุนกันเข้ามาอีก จึงล่อให้ไล่เข้ามาแล้ว ยิงปืนใหญ่น้อยถูกพะม่าลบ้มตายทับกันเป็นอันมาก พะม่าอุดหนุน กันเข้ามาอีก วางปืนตับเข้าคำรบสาม พะม่าแตกกระจัด กระจายพ่ายไป จึงให้พลทหารโหดร้องตีฆ้องสำทับ พะม่าแตกหนี ไปจะคุมกันมิได้ จึงให้ยกพลนิกายประทับตามลำดับ บ้านหัว ทองหลาง พานทอง บางปลาสร้อย ถึงบ้านนาเกลือ นายกลม คุมไพร่พลทหารอยู่ที่นั้น คอยสะกัดคิดประทุษฐร้าย จึงทรง ช้างพระที่นั่งสรรพด้วยเครื่องสรรพยุทธ ทรงพระแสงปืนต้นราง แดง กับด้วยหมู่โยธาทหารเข้าไปในระห่างทหารนายกลมอยู่นั้น ด้วยเดชบรมโพธิสมภาร นายกลมใและพวกโยธาทหารทั้งนั้น ให้สยดสยองกลัวพระอาณุภาพวางศาสตราวุธเสีย แล้วถวายบังคม อ่อนน้อมเป็นข้าใต้ละอองธุลีพระบาท จึงนำเสด็จดำเนิรเข้าไป ประทับในสถานอันเป็นสุขสมควร แล้วพระราชทาน ราชทรัพย์และ ราโชวาทให้ตั้งอยู่ในยุตติธรรม ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตย์ เดือนยี่แรมหกค่ำ นายกลมคุมไพร่ ร้อยหนึ่งนำเสด็จไปถึงทัพหยุดประทับแรมอยู่ที่นั้น รุ่งขึ้นยกมา นาจอมเทียนประทับแรมอยู่ที่นั้นคืนหนึ่ง แล้วจึงมาแรมทุ่งไก่เตี้ย รุ่งขึ้นมาประทับแรมสัตหีบ แล้วยกมาชายทะเล ประทับแรม เพลารุ่งขึ้นมาประทับแรมหินโด่ง รุ่งขึ้มาประทับแรมน้ำเก่า ผู้รั้งบุญเมืองระยองกับกรมกรมการทั้งปวง ชวนกันมาต้อนรับเสด็จถวาย ธัญญาหารเกวียนหนึ่ง นำดำเนิรมาถึงท่าประดู่ จึงพระราชทาน ปืนคาบศิลาบอกหนึ่งแก่ผู้รั้งเมืองระยอง เสด็จมาประทับอยู่ ณวัดลุ่มสองเวร สั่งให้จัดลำเลียงอาหารตั้งค่ายขุดคู่และนาย บุญรอดแขนอ่อนนายหมวด นายบุญมาน้องเมียพระยาจันทบุรีเข้า มาถวายตัวทำราชการ จึงนำเอาคุยหรหัสคดีมากราบทูลว่า ข้า พระพุทธเจ้าแจ้งเหตุว่าขุนรางหมื่นซ่อง นายทองอยู่นกเล็ก ขุนจ่า เมืองด้วง หลวงพลแสนหาญกรมการเมืองระยอง คบคิดกัน คุมพรรคพวกพลทหารประมาณพันห้าร้อยเศษ จะยกเข้ามากระทำ ประทุษฐร้าย จึงมีพระราชบริหารดำรัสสั่งให้หาผู้รั้งเมืองมาถามว่า กูมากระทำราชกิจทั้งนี้ด้วย กรุณาจิตย์ จะให้สมณทวิชาจารย์ ประชาราษฎรทั้งปวง เป็นสมานสุขสามัคคี่ มิได้มีวิหิงสาการ อุบาย ประพฤติทุจจริตแก่ท่านทั้งปวงประการใดหามิได้ และขุนหมื่น ทั้งนี้ คบคิดการจะทำประทุษฐร้ายแก่ผู้มีกรุณาจิตต์นั้ ยังจะจริง ดุจหนึ่งนี้หรือประการใด ผู้รั้งเมืองมิรบ ตรัสทราบพระญาณ ด้วยอาการกิริยา จึงตรัสสั่งให้หลวงพรหมเสนา คุมตัวจำไวใ แล้ว มิไว้พระราชหฤทัย จึงสั่งให้ทหารตระเตรียมตัวสรรพด้วยเครื่อง สรรพาวุธ ผูกช้างม้าปืนใหญ่น้อยตั้งจุกช่องทางไว้ครบสรรพ ครั้นณวัน...เพลาประมาณทุ่มเศษ อ้ายเหล่าร้ายยกพลให้ ทหารลอบเข้ามาตั้งค่ายล้อมได้ สองด้านแล้ว โห่ร้องยิงปืนใหญ่ น้อยระดมเข้ามา จึงตรัสให้ดับแสงเพลิงเสีย จัดทหารประจำ หนักที่สั่งบกันไว้แล้ว เสด็จกับด้วยทหารจีนทหารไทย ทหารจีน ทหารไทยถือปืนคาบศิลา หลวงชำนาญไพรสณฑ์ นายทอดดีทหาร หลงพล หลวงเชียงเงินท้ายน้ำ หลวงพรหมเสนา นายบุญมี นายแสงทหาร นายศรีสงคราม นายนากทหาร พะทำมะรงอิ่ม ทหาร จีน หลวงพิพิธ หลวงพิชัย ขุนจ่าเมืองเสือร้าย หมื่นท่อง หลวงพรหม ถือดาพง้าว เสด็จออกเที่ยวตรวจตรารอบค่ายดูท่าทาง ข้าศึกจะเข้ามาแห่งใดตำบลใด และอ้ายเหล้าร้ายชื่อขุนจ่าเมือง ด้วงกับทหารประมาณสามสิบคน ล้อมใต้ตะพานวัดเนินเข้ามา ใกล้ค่ายหลวงประมาณห้าวาหกวา จึงสั่งให้วางปืนพร้อมกัน ถูกขุนจ่าเมืองด้วงกับทหารทั้งปวงซึ่งเดิรตามกันนั้นตกตะพานลง พร้อมกันตายเป็นอันมาก จึงตรัสให้ทหารจีนเข้าตะลุมบอน ฟันแทงข้าศึก หักค่ายอ้ายเหล่าร้ายล้มตายแตกหนีไป หมู่ ทหารไล่ติดตามไปทางประมาณ ๕๐ เส้น ๖๐ เส้น จึงให้ลั่น ฆ้องชัยสัญญษ เรียกพลทหารเข้าค่ายให้พร้อม และหมู่ทหาร ทั้งปวงเข้าในค่ายจุดเพลิงเผาขึ้นแห่งหนึ่ง เก็บเอาเครื่องศาสตราวุธ หิรัญสุวรรณ ว ัตลา ธั้ญญาหารครอบครัวเป็นอันมาก ตรัสให้ ยับยั้งอยู่บำรุงทแกล้วทหารให้มีกำลัง ณ เมืองระยองนั้นช้านาน ประมาณ ๗ วัน ๘ วัน ครั้นณวัน... จึงสั่งให้ประชุม เสนาทหารนายทัพนายกองไทย จีนทั้งปวงพร้อมกัน จึงตรัสประภาษให้ปรึกษาว่าเราจะกระทำ การทั้งนี้ด้วยวิเหสาขาธรรม หามิได้ จะให้เป็นสุขมีประโยชน์แก่ สมณพราหมณาประชากรทั้งปวง จึงจะเป็นเกียรติยศสืบไป และ เมืองจันทบุรีนี้จะถึงแก่กาลพินาศดุจเมืองระยอง เอ็นดูสัตว์ทั้งปวง จะเห็นผู้ใดมีอัชฌาสัยจะให้ไปเจรจาโดยยุตติธรรม ให้พระยา จันทบุรีอ่อนน้อมลงอย่าให้เกิดยุทธสงคราม ได้ความเดือดร้อนแก่ สมณพราหมณาประชาราษฎรได้นั้น จึงเสนาหบดีนายทัพนายกอง ทั้งหวงปรึกษาพร้อมกัน กราบบังคมทูลว่าเห็นแต่นายบุญมี มหาดเล็ก นายบุญรอดแขนอ่อน บานบุญมาน้องเมียพระยา จันทบุรีสามคนนี้จะได้ราชการ ครั้นตรัสเห็นด้วยแล้ว จึงสั่งให้ไปตามคีปรึกษา จึง นายเผือกญวน นักมาเขมร รับอาสาพาข้าหลวงสามคนไป โดยทางชลมารรค แต่ณวัน... ไปหยุดอยู่ปากน้ำระยองใช้ใบไป ประมาณห้าวันถึงปากน้ำจันทบุรี ครั้นเพลารุ่งขึ้นเช้าจึงเข้าไป หาพระยาจันทบุรี เจราโดยธรรมราชประเพณีกระแสรับสั่งนั้น พระยาจันทบุรีมีความยินดี สั่งให้ขุนขางวางทำสัมมาคารวะ เลี้ยงดูโดยปกติยินยอมด้วย ว่าอีก ๑๐ วันข้าพเจ้าจึงจะแต่งออกไป รับเสด็จณกองทัพ เข้ามาณเมืองจันทบุรี จะได้คิดราชการ แก้ฝีมือพะม่า ครั้นณวัน...เพลาบ่ายสามโมง จึงแต่งเรือรบ ลำหนึ่บงมีพลกรรเชียงยี่สิบสรรพด้วยเครื่องอาวุธ พระยาจันทบุรี ลงเรือด้วยข้าหลวง นายเผือก นักมา ขึ้นบนศาลา เทพารักษ์ ชวนกันให้กระทำความสัตย์แก่กัน แล้วกลับแคลง มาถามว่า เราได้ให้ความสัตย์เป็นมิตรสหายร่วมชีวิตกันแล้ว อย่าได้อำพรางกัน เหตุผลร้ายดีประการใด จงบอกกล่าวแก่เรา แต่ตามจริงเถิด ข้าหลวงจึงตอบว่า เราได้เป็นมิตรร่วมชีวิตเดียวกันด้วยท่าน แล้ว จะสู้เสียชีวิตรักษษสัตยธรรมนั้นไว้มิให้เสีย ท่านอย่า ได้แคลงใจเลย อันสมเด็๗พระเจ้าอยู่หัวแห่งเรานี้มีพระราชจริต ปราศจากล่อลวง ถ้าจะมีราชบริหารตรัสสิ่งใดแล้วก็เป็นสัตย์ มิได้หวาดไหว ตั้งพระทัยสถิตอยู่ในพรหมวิหาร เพื่อจะให้ เป็นพระพุทธบารมีสืบไป อันบุคคลผู้ใดมิได้คิดประทุษฐร้าย ก่อนแล้ว และจะได้เบียดเบียฬนั้นมิได้มีเลย ท่านจงตั้ง ภักดีจิตต์อย่าให้จลาจล พระยาจันทบุรีมีใจยินดีสวามิภักดิ์ แล้ว ฝาก เครื่องราชกระยาหารให้มาถวาย แล้วข้าหลวงก็ออกจาก ปากน้ำจันทบุรี วันหนึ่งก็ถึงปากน้ำระยอง จึงเอาเนื้อความนั้น กราบทูล ครั้นได้ทรงฟังก็มีพระวิจารณราชดำริโดยรอบคอบแล้ว ทรงพระมัธยัสถ์ไว้ในพระราชหฤทัยย ครั้นอยู่มาประมาณ ๑๐ วัน ถึงปฏิญาณสัญญาแล้ว พระยาจันทบุรีจะได้มาหามิได้ ใช้ให้คน เอาเข้าเปลือกบรรทุก เรือประมาณสี่เกวียนมาถวายณเมืองระยอง ครั้นณวัน...นายบุญเรืองมหาดเล็ก ผุ้รั้งบางละมุงคุมไพร่ ๒๐ คนว่า พะม่าใช้ให้ถือหนังสือออกไปเมืองจันทบุรี ให้แต่ง ดอกไม้ทองเงินเข้าไปณโพธิ์สามต้น พระหลวงขุนหมื่นนายทัพ นายกองแจ้งกิจนั้น มิได้ไว้ใจ ว่าเป็นพวกพะม่า พะม่าให้มา ด้วยกลอุบายใช้ให้ติดตาม เราจะไว้ใจให้อยู่ในกองทัพเรามิได้ ด้วยเอาใจออกหากจากกรุงเทพฯแล้ว และนายบุญรอดแขนอ่อน กราบทูลจะขอนำเอาตัวไปประหารชีวิตเสีย ทรงพระพรุณาขอชีวิตไว้ จึงตรัสประภาษด้วยพระราชอธิบายว่า พะม่ามาล้อมกรุงครั้งนี้ ผู้ใดจะตั้งใจเข้าด้วยพะม่านั้นหามิได้ แต่ถึงกาลแล้วหากจำเป็น อนึ่งนายบุญเรืองผู้รั้งเมืองบางลุมุง มิได้เป็นข้าใช้เรามาแต่ก่อนเห็น พอจะได้ราชการอยู่ แล้วราชการเมืองจันทบุรีก็ยังมี ผู้รั้ง บางละมุงกับพระยาจันทบุรีเป็นมิตรชอบกัน เราจะใช้ให้เอา หนังสือพะม่านี้ไปถึงพระยาจันทบุรี พระยาจันทบุรีก็จะยกกองทัพ มารับเราเข้าไปคิดราชการด้วยกันตามปฏิญาณสัญญา และจะ ได้แจ้งในความสัตย์สุจริตนั้นด้วย อนึ่งพะม่าตั้งอยู่ณเมืองธนบุรี และล้อมกรุงเทพฯ ได้มี หนังสือบอกมาถึงพระยาราชาเศรษฐี พระยาราชาเศรษฐีแต่ง กองทัพลำเลียงอาหารเข้ามาช่วยถึงปากน้ำ พะม่าทำอันตราย สะกัดทางอยู่ไปมิถึง สิ้นสะเบียงอาหารแล้วกลับไป เห็นว่า ความชอบเมืองพุทไธมาศมีแก่กรุงอยู่ บัดนี้เราจะให้มีศุภอักษร ไปให้พระยาราชาเศรษฐี ยกพลทหารเข้ามาช่วยกันตีพะม่าซึ่ง ตั้งอยู่เมืองธนบุรี จึงจะเป็นความชอบแก่พระยาราชาเศรษฐีสืบไป นายทัพนายกองทั้งปวงเห็นชอบด้วย จึงให้แต่งศุภอักษรออกไป เมืองพุทไธมาศ ณวัน...เดือนสี่แรมค่ำศก...เมื่อเสด็จสถิตณเมืองระยองนั้น หมู่ปัจจามิตรซึ่งแตกไปจากเมืองระยอง ลักลอบเข้ามาลักโค กระบือช้างม้าเนืองๆไป จึงตรัสว่าเรากรุณามันว่าเป็นข้าใน ขัณฑเสมา จะใคร่ทะนุบำรุงจึงมิได้กระทำอันตราย มันก็มิได้ อ่อนน้อมยังจะคิดประทุษฐร้ายสืบไป ก็เป็นผลวิบากบังเกิดเป็น อาสัตย์อาธรรมฉะนี้จะละไว้มิได้ จึงกรีธาพลทหารยกออกจาก เมืองระยองออกไปณบ้านกระแส บ้านไร่บ้านดำบ้านตราแกลง ซึ่งอ้าย ขุนรามหมื่นซ๋องตั้งอยู่นั้น ครั้นเพลาอุษาโยคทรงเครื่องราชวิภูสิต สำหรับรณรงค์ยุทธสงคราม เสด็จนำพลทหารเข้าไล่กระโจมฟัน แทงยิงปืนใหญ่ปืนน้อย อ้ายเหล่าร้ายแตกตื่นไป และอ้าย ขุนรามหมื่นซ่องหนีไปอยู่กับพระยาจันทบุรี จับได้ทหารหมื่นซ่อง นายบุญมีบางเหี้ย นายแทน นายมี นายเมืองพะม่า นายสนหมอ นาบุญมีบุตรนายสน ครอบครัวช้างม้าผู้คนโคกระบือเกวียน ซึ่งอ้ายเหล่าร้ายลีกเอาไปไว้แต่ก่อนเป็นอันมากแล้วเสด็จยกพล นิกายกลับมาณเมืองระยอง บำรุงทแกล้วทหารเครื่องศาสตรา วุธปืนใหญ่ปืนน้อย เกลี้ยกล่อมอาณาประชาราษฎรอันแตก ตื่นออกไปอยู่ป่าดงได้เป็นอันมาก ก็เสด็จยับยั้งท่าพระยา จันทบุรีอยู่ณป่าดง ครั้นณวันเดือนสี่แรมสิบสี่ค่ำศก ...พระยาพิชัยและนายบุญมีไป ถึงปากน้ำพุทธะมาศ จึงนำเอาศุภอักษร และฉลองพระองค์ อย่างฝรั่งขึ้นไปพระราชทาน และเจรจาตามศุภอักษรนั้น พระยา ราชาเศรษฐีก็มีความยินดี ว่าฤดูนี้จะเข้าไปขัดด้วยลมจะมิทัน ต่อ เดือนแปดเดือนเาเดือนสิบ จึงจะยกพลทหารเข้าไปช่วยราชการ ครั้นณวันอาทิตย์เดือนห้าแรมสิบสี่ค่ำศก. ได้ศุกอักษรตอบ และ เครื่องราชบรรณาการมาถึงปากน้ำระยองณวัน... บานบุญมีจึงนำ เอาองไดเรืองทหารจีน เครื่องราชบรรณษการขึ้นทูลถวายณค่าย ท่าประดู่ ลุศักราช.....พระราชดำริแล้วให้หาเสนาบดีนาายทัพนายกอง มาเฝ้าพร้อมกัน จึงประภาษว่า เราปรารถการครั้งนี้สู้เสียชีวิต เพราะกรุณาแก่สัตวโลกซึ่งหาที่พำนักมิได้ และแผ่นดินจไม่ จลาจล สมบูรณ์เป็นที่ตั้งประศาสนาได้นั้น เพาะปราศจรากหลักตอ คือคนอาสัตย์อาธรรม และบัดนี้นายทองอยู่นกเล็ก ซึ่งตั้งอยู่ ณเมืองชลบุรี ประพฤติพาลทุจจริตคอยปองกระทำข่มเหงอาณา ประชาราษฎรผู้หาที่พึ่งมิได้ บรรมามีน้ำใจภักดีจะมาพึ่งเรานั้น นายทองอยู่เป็นเสี้ยนหนามคอยสะกัดตัดสัญจรคนทั้งปวงไว้ เรา ควรจะไปสั่งสอนทรมานนายทองอยู่ให้ตั้งอยู่ตามทางราบคาบก่อน สมณพราหมณ์อาณาประชาราฎรจึงจะได้อยู่เป็นสุข เสนาบดี นายทัพนายกองก็เห็นพร้อมกันตามพระราชดำริ ครั้นณวัน...ศก...จึงสั่งให้ยกพลทหารเสด็จพระราชดำเนิรไป ตามสถลมารคเสด็จพระทับอยู่ณบ้านหนองมน ให้ทหารไปสอดแนม ดูได้เนื้อความว่า นายทองอยู่ให้เตรียมพลทหารศาสตราวุธปืน ใหญ่ปืนน้อยไว้พร้อม จึงให้พลทหารเข้าไปหยุดประทับ ณ วัด หลวงทางไกลเมืองประมาณร้อยหนึ่ง จึงให้นายบุญรอดแขนอ่อน นายชื่นบ้านไช้ ซึ่งเป็นสหายกับนายทองอยู่ เข้าไปว่ากล่าวโดย ยุตติธรรม นายทองอยู่ก็อ่อน้อมโดยดี นายบุญรอด นายชื่น จึงพานายทองอยู่นกเล็กเข้ามาเฝ้าณวัดหลวง สวามิภักดิ์กระทำ ความสัตย์ถวาย แล้วก็นำเสด็จให้เข้าไปณเมืองชลบุรีประทับ อยู่ณเก๋งจีน นายทองอยู่จึงนำเสด็จทรงช้างพระที่นั่ง นายทองมี มหาดเล็กควาญท้าย เลียบทอดพระเนตรเมืองชลบุรี แล้วพา ขุนหมื่นกรมการมาถวายบังคม ทรงพระมหากรุณานายทองอยู่ให้ เป็ฯพระยาอนุราฐบุรีศรีมหาสมุทร ตั้งขุนหมื่นกรมการตามฐานา ศักดิ์เมืองชลบุรี แล้วพระราชทานกระบี่บั้งเงินหนึ่ง เสื้อแพรเข้ม ขายดอกใหญ่พื้นแดงดุมทองเก้า เข็มขัดทองประดับพลอยสาย หนึ่ง แล้วพระราชทานราโชวาทสั่งสอนว่า แต่ก่อนท่านประพฤติ การอันเป็นอาธรรมทุจจริตนั้นจงละเสีย จงประพฤติกุศลสุจริต ให้สมควรด้วยฐานาศักดิ์แห่งท่าน จะได้เป็นเกียรติยศสืบไปใน กัลปาวสาน จะเป็นพาสนาติดตามไปในอนาคต แล้วจึงพระราช ทานเงินตราไว้สองชั่ง สำหรับสงเคราะห์แก่สมณพราหมณาจารย์ ประชาราษฎรผู้ยากไร้เข็ยใจ ซึ่งชัดสนด้วยเข้าปลาอาหารนั้น จึงตรัสสั่งพระยาอนุราฐว่า ผุ้ใดจงใจอยู่ในสำนักท่าน ท่านง โอบอ้อมอารีเลี้ยงดูไว้ให้เป็นผล ถ้าผู้ใดมีน้ำใจสวามิภักดิ์จะติด ตามเราออกไป ท่านจงอย่ามีน้ำใจอิจฉา จงมีปมุทิตาปราโมทย์ อย่าได้ขัดขวาง ช่วยส่งผู้นั้นออกไปให้ถึงสานักแห่งเราอย่า ให้เป็นเหตุการณ์ประการใดได้ และท่านจงบำรุงพุทธศาสนา อาณาประชาราษฎรให้ทำมาหากินโดยภูมิลำเนา อย่าให้มีโจร และผู้ร้ายเบียดเบียฬแก่กันได้ แล้วพระราชทานเงินตราาแก่ สัปเหร่อ ให้ขนซากกเลวรากอันอดอาหารตายนั้นเผาเสีย พระราชทานบังสุกุลทาน แล้วพระราชทานเงินตราอาหารแก่ยาจก วนิพพกแก่เมืองชลบุรีเป็นอันมาก แล้วอุทิศกัลปนาพระราชทาน พระราชกุศลให้แก่หมู่เปรตไปในปรโลกนั้น เพื่อเป็นปัจจัยแก่พระ ปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ครั้นณวัน...ศก...เสด็จกลับมาเมืองระยอง ฝ่ายพระยาจันทบุรีซึ่งถวายสัตย์ปฏิญาณว่าจะมารับเสด็จนั้น จะได้มาตามสัญญาหามิได้ ด้วยขุนรามหมื่นซ่องอันเป็นคน อาสัตย์นั้น ยุยงว่ากล่าวให้คิดประทุษฐร้าย ตกแต่งป้อมค่าย คูประตูหอรบเชิงเทิน ตระเตรียมโยธาทหาร สรรพด้วยเครื่อง ศาตราวุธปืนใหญ่ปืนน้อยเสร็จ แล้วจึงคิดอุบายแต่งให้พระสงฆ์สี่รูป ขึ้นมาเชิญเสด็จเข้าไปในเมืองจันทบุรี แล้วจึงจะกุมจับพระองค์ พระสงฆ์สี่รูปมามิทั้น เสด็จไปเมืองชลบุรี พระสงฆ์นั้นก็ ยั้งอยู่ท่าณเมืองระยอง ครั้นเสด็จมาถึงเมืองระยองเพลาเช้า จึงเข้าไปถวายพระพรตามเรื่องราวพระยาจันทบุรีใช้ให้มานั้น จึง ทรงพระดำริด้วยพระวิจารณญาณอันคั้มภีรภาพ ก็ทราบว่า กรรม นิยมแล้วจึงจำให้เป็นไปตามเหตุนั้น ครั้นรุ่งขึ้นเพลาช้า จึงมี พระราชบริหารดำรัสด้วยนายทัพนายกองทั้งปวงว่า พระยา จันทบุรีให้พระสงฆ์มารับเรานี้ ใครจะเห็นร้ายดีประการใดบ้าง นายทัพนายกองปรึกษาพร้อมกันแล้วกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งปวงเห็นว่า พระยาจันทบุรีคิดประทุษฐร้ายเป็นมั่นคง จึงตรัส ว่าเมื่อเหตุเป็นฉะนี้แล้ว ชอบจะไปหรืออย่าไปประการใด นายทัพ นายกองพร้อมกับกราบทูลว่า ควรจะเสด็จพระราชดำเนิรไป ด้วยจะได้ประโยชน์สองประการ ประการหนึ่งแม้ว่าพระยาจันทบุรี จะเสียสัตย์คิดประทุษฐร้ายก็ดี จะได้ทรมานให้เสียพยสอันร้าย ถ้าพระยาจันทบุรียังตั้งอยู่ในความสัตย์ ก็จะได้พระราชทานราโชวาท สั่งสอนให้ตั้งอยู่โดยยุตติธรรม ก็จะเย็นอกสมณพราหมณ์อาณา ประชาราษฎรทั้งปวงจะได้เป็นอายุพระศาสนาสิบไปในอนาคตสมัยนั้น ครั้นณวันพฤหัสบดีศก... เพลาเช้าอุษาโยคยามพฤหัสบดี ตรัสให้ยกพลนิกายสรรพด้วยเครื่องสรรพาวุธออกจากเมืองระยอง พระสงฆ์สี่รูปนำเสด็จมาประทับร้อนแรมโดยระยะทางห้าวันถึงตำบล บ้านบางกะจะหัวแหวน ครั้นณวันจันทร์ศก... จึงยกไปใกล้ เมืองจันทบุรี ฝ่ายพระยาจันทบุรี จึงให้หลวงปลัดกับขุนหมื่นมีชื่อ ออก มานำทัพคิดเป็นอุบายจะให้กองทัพหลวงเลี้ยวไปข้างใต้เมืองจะ ให้ข้ามน้ำไปฟากตะนออก แล้วจะยกพลทหารออกโจมตีเมื่อข้าม น้ำนั้น ครั้นตรัสทราบจึงให้นายบุญมีมหาดเล็กขึ้นม้าควบไปห้าม ทหารกองหน้ามิให้ไปตามทางหลวงปลัดนำนั้น ให้กลับมาตาม ทางขวาตรงเข้าประตูท่าช้าง เสด็จประทับพลตำบลวัดแก้วริม เมืองจันทบุรี จึงให้พลทหารตั้งกองทัพล้อาสรอบพระวิหารวัดแก้ว ซึ่งเสด็จประทับอยู่นั้น ฝ่ายพระยาจันทบุรี ก็ให้พลทหารขึ้นประจำรักษาหน้าที่แล้ว จึงใช้ขุนพรหมธิบายผู้เป็นพระท้ายน้ำ นายลิ่ม นายแก้วแขก ทำมะรงพอน นายไม้แขก ออกมาต้อนรับเชิญเสด็จเข้าเมือง จึงตรัสว่าพระยาจันทบุรีให้มาเชิญเราเข้าไปนั้น เห็นไม่ต้องตาม ประเวณีธรรม ด้วยเหตุว่าผู้น้อยควรจะกระทำสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ จึงจะชอบเป็ฯมงคลแก่ตัว และจะให้เราเป็นผู้ใหญ่เข้าไปหาท่าน อันเป็นผู้น้อยก่อนนั้น มิบังควรเป็นมงคลแก่พระยาจันทบุรีเลย เรายังไม่เข้าไปก่อนให้พระยาจันทบุรีออกมาหาเรา เราจะได้แจ้ง เนื้อความซึ่งขัดข้องในใจเรา ด้วยขุนรามหมื่นซ่องอันเป็นปัจจามิตร เราเข้าไปอยู่ด้วยพระยาจันทบุรี จะทำให้เราทั้งสองมีน้ำจิตต์พิโรธ แคลงกัน แม้นพระยาจันทบุรีจะมิออกมาหาเราก็ดี จงส่งแต่ ขุนรามหมื่นซ่องออกมากระทำความสัตย์แก่เราแล้ว เราจะเข้า ไปด้วยมิได้แคลง เราตั้งเมตตาจิตต์รักเอ็ฯดูพระยาจันทบุรี ประดุจน้องในอุทรเดียวกันแห่งเรา ถึงพระยาจันทบุรีจะทำร้าย แก่เรา เราก็มิได้ตอบแทนจะรักษาเมตตาธรรมนั้นไว้ ด้วย พระยาจันทบุรีมิได้มีพิโรธอันใดกันกับเรา แล้วพระราชทานเงิน แก่ขุนพรหมธิบาล ขุนพรหมธิบาลก็กลับเข้าไปว่ากล่าวตาม ดำรัสนั้น พระยาจันทบุรีจึงใช้ให้พระทำมะรงพอนกับคนมีชื่อเอาของ เสวยมาถวายให้พระสงฆ์สี่รูปซึ่งนำเสด็จมานั้นออกมาถวายพระพร ว่า พระยาจันทบุรีให้เชิญเสด็จตเข้าไป ตรัสว่าในเมืองจันทบุรีนี้ ไม่มีฆราวาสจะใช้แล้วหรือจึงใช้สมณะ แล้วจึงมีพระราชบริหาร ดำรัสแก่พระสงฆ์ว่า ความนี้โยนก็ได้สั่งไปแก่ขุนพรหมธิบาล แล้ว ขอผู้เป็นเจ้าจงไปบอกแก่แพระยาจันทบุรีว่า อายขุนราม หมื่นซ๋องเป็นปัจจามิตรแก่ข้าพเจ้า ยุยงพระยาจันทบุรี พระยาจันทบุรี หนุ่มแก่ความจะฟังเอาถ้อยคำอั้ายเหล่านี้ ก็จะเสียทีที่รักเอ็นดูกัน ถ้าและพระยาจันทบุรีตั้งอยู่ในสัตย์ไมตรี ก็จงส่งขุนรามหมื่นซ่อง ออกมากระทำความสัตย์เสียเถิด พระสงฆ์ก็ถวายพระพรลามาว่า แก่พระยาจันทบุรี พระยาจันทบุรีจึงใช้หลวงปลัดออกมาทูลว่า พระยาจันทบุรีที่จะมิได้ตั้งอยู่ในสัตย์สวามิภักดิ์นั้นหามิได้ จะใคร่ส่ง ขุนรามหมื่นซ่องออกมาอยู่ แต่ขุนรามหมื่นซ่องกลัวพระราชอาชญา ด้วยตัวนั้นเป็นคนผิดจะออกมามิได้ จึงตรัสว่าพระยาจันทบุรีมิ ได้ตั้งอยู่ในสัตย์แล้ว เห็นว่าขุนรามหมื่นซ๋องจะช่วยป้องกันเมือง ไว้ได้ก็ให้เร่งตกแต่งบ้านเมืองไว้ให้มั่นคงเถิด เราจะตีเอาให้ได้ แล้วจึงตรัสสั่งให้โยธาทหารทั้งปวงให้หุงอาหารรับพระราชทาน แล้ว เหลือนั้นสั่งให้สาดเททุบต่อยหม้อเข้าหม้อแกงเสียจงสิ้น ใน เพลากลางคืน วันนี้จะเข้าตีเอาเมืองจันทบุรีให้ได้ไปกินเข้าเช้าเอา ในเมือง ถ้ามิได้ก็ให้ตายเสียด้วยกันจงพร้อมกันทีเดียว ครั้นณวันอาทิตย์ ๗ ค่ำ ศักราช ๑๑๒๙ ปีกุนนพศก เพลา สามยามเป็นยามเสาร์ปลอดห่วง ตรัสให้ยกทัพบ่ายหน้าต่อทิศ อีสานเข้าตีเมืองจันทบุรี จัดทหารไทยจีนลอบเข้าไปประจำด้านอยู่ ทุกด้าน เพลาจะเข้าอย่าให้โหร้องขึ้นก่อน ถ้าเข้าได้แล้วให้ โฆ่ร้องขึ้นพร้อมกัน จึงทรงช้างพระที่นั่งพังคีรีบัญชรขับเข้าทะลาย ประตูเมือง โยธาทหารซึ่งรักษาประตูแอละป้องเชิงเทินนั้น ยิงปืน ใหญ่น้อยดุจหนึ่งห่าฝน จะได้ถูกต้องโยธาผู้ใดผู้หนึ่งนั้นหามิได้ ลองท้องช้างพระที่นั่งไป ควาญช้างเกี่ยวพังคีรีบัญชรให้ถอย ออกมา ทรงพระโพรธเงื้อพระแสงจะลงพระราชอาชญานายท้าย ช้าง นายท้ายช้างขอพระราชทานโทษได้ จึงทรงพระแสงกริช แทงพังคีรีบัญชรขับเข้าทะลายประตูเมืองพังลง ทหารหน้าช้าง ลอดเข้าไปได้ ให้โห่ร้องขึ้นพร้อมกันดุจพระราชทานสัญญาไว้นั้น ฝ่ายทหารซึ่งอยู่รักษาประตูและหน้าที่เชิงเทินนั้น แตกตื่น หนีออกจากเมือง พระยาจันทบุรีพาบุตรภรรยาลงเรือไปปากน้ำ พุทไธมาศ พลโยธาทหารไทยจีนเข้าไปจับได้ครอบครัว หิรัญ สุวรรณวัตถาธัญญาหารปืนจ่ารงมณฑกนกสับคาบศิลาสรรพอาวุธ ทั้งปวงเป็นอันมาก ก็เสด็จยับยั้งอยู่ณเมืองจันทบุรี ฝ่ายหลวงนายศักดิ์เป็นเชื้อแขก ออกไปราชการณเมืองจันทบุรี แต่ก่อนทัพพะม่ายังไม่มาล้อมกรุงเทพมหานครนั้น ยังค้าง อยู่ในเมือง จึงมาเฝ้าถวายตัวเป็นข้าราชการสืบไป ก็โปรดเลี้ยง ไว้ด้วยเป็นข้าราชการเก่า รู้ขนบธรรมเนียมจะได้ปรึกษาราชกิจการ งานทั้งปวง แล้วจึงตั้งที่ฐานันดรตำแหน่งผู้ใหญ่และผู้น้อย แก่ ผู้มีความชอบตามสมควรแก่คุณานุรูปถ้วนทุกนาย แล้วโปรด พระราชทานบำเหน็จรางวัลสิ่งของทองเงินต่างๆ แจกทั่วกันแล้ว จึงเสด็จดำเนิรทัพจากเมืองจันทบุรี โดยทางสถลมารคยกออกไป เมืองตราษ ดำรัสให้พระรามพิชัยกับหลวงราชวรินทร์เป็นแม่กอง ทัพเรือ เรือประมาณห้าสิบลำยกไปทางทะเล ขณะเมื่อเสด็จยาตรา ทัพบกยกไปครั้งนั้น ด้วยเดชบารมีบันดาลฝนตกเจ็ดวันเจ็ดคืน ตามระยะทางไปจนลรรลุเมืองตราษเกลี้ยกล่อมอาณาประชา ราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุข แล้วได้ทราบข่าวว่าสำเภาจีนลูกค้ามา ทอดอยู่ ณ ท้องทะเล หน้าปากน้ำเมืองตราษเป็นหลายลำ จึงให้ ข้าหลวงไปหาตัวนายสำเภาเข้ามาโดยดี และนายสำเภาขัดแข็ง ไม่มา กลับต่อรบยิงเอาเรือข้าหลวง ข้าหลวงกลับเข้ามากราบทูล ก็ทรงพระพิโรธ จึงเสด็จลงเรือใหญ่ยกกองทัพเรือออกไปล้อม ไว้คืนหนึ่ง พวกจีนนายสำเภายังไม่อ่อนน้อม ครั้นเพลารุ่งเช้าจึง ตรัสสั่งนายทัพนายกองให้ยกเข้าตีสำเภา พวกจีนต่อรบยิงปืนโต้ ตอบกันอยู่ประมาณกึ่งวัน พลข้าหลวงปีนขึ้นสำเภาได้ไล่ฆ่าฟันจีน บนสำเภาตายเป็นหลายคน พวกจีนลูก้าก็พ่ายแพ้ เก็บได้ทรัพย์ สิ่งของทองเงินและผ้าแพรเป็นอันมาก และจีนเจียมผู้เป็นใหญ่ กว่านายสำเภาทั้งปวง ก็อ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์นำเอาบุตรหญิง คนหนึ่งมาถวาย ในวันนั้นก็เสด็จกลับมาณเมืองจันทบุรีโดยทาง ทะเล ตั้งยับยั้งอยู่ต่อเรือรบณเมืองจันทบุรีประมาณสามเดือน ได้ เรือร้อยลำเศษ ++++++++++++++++++++27++23+++++++++++++++ ฝ่ายข้างกรุงเทพมหานคร เมื่อกองทัพพะม่ายกกลับไปแล้ว จึงพระนายกองผู้อยู่รักษากรุง ก็ใช้คนให้ไปเที่ยวค้นหาพระเจ้า แผ่นดินทุกแห่งทุกตำบล จึงไปพบที่สุมทุมไม้ใกล้บ้านจิก อด อาหารมิได้เสวยถึงสิบเอ็ดสิบสองวัน คนทั้งนั้นจึงหามพระองค์ มาลงเรือรับขึ้นไปณค่ายโพธิ์สามต้น พอถึงก็ดับศูนย์สิ้นพระชนม์ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ อยู่ในราชสมบัติ เก้าปีก็เสียพระนคร รวมสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเสวยราชสมบัติในกรุงเทพมหา นครศรีอยุธยานั้น ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองเป็นประถมแรกสร้าง กรุงเทพมหานครนั้น ตราบเท่าถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่ง สุริยามรินทร์เป็นพระองค์ที่สุด เสียกรุงเทพมหานครศรีอยุธยานั้น นับกษัตริย์ได้สามสิบสี่พระองค์ด้วยกัน และอายุพระนครตั้งแต่ แรกสถาปนาในศักราช ๗๑๒ ปีขานโทศก ตราบเท่าจนเสียใน ศักราช ๑๑๒๙ ปีกุนนพศกนั้น คิดอายุพระนครได้ ๔๑๗ ปี โดยกำหนด ฝ่ายพระนายกองจึงให้เชิญพระศพไปฝังณโคกพระเมรุ ที่ถวาย พระเพลิงในพระนครนั้น ต่อจัดแจงการบ้านการเมืองราบคาบแล้ว จึงจะ คิดการถวายพระเพลิง ขณะนั้นแต่บรรดาประชาชนทั้งหลาย ซึ่งหนีพะม่าเหลืออยู่ นั้น ต่างคนต่างคุมสมัครพรรคพวกครอบครัวอยู่เป็ฯพวกเป็นเหล่า ผู้ใดที่มีฝีมือเข้มแข็งก็ตั้งตัวเป็นนายชุมนุมส้องสุมคุ้มครองผู้คน ครอบครัวเป็นอันมากตั้งชุมนุมอยู่แห่งหนึ่ง แต่ชุมนุมตั้งอยู่ดังนี้ มีในจังหวัดแขวงกรุงและแขวงหัวเมืองและสวน และหัวเมืองอื่น ฝ่ายเหนือฝ่ายใต้เป็นอันมากหลายแห่งหลายตำบล ขัดสนด้วยเข้า ปลาอาหารและเกลือไม่มีจะกิน ต่างรบพุ่งชิงอาหารแก่กัน ชุมนุมนี้ ยกไปตีชุมนุมนั้น ชุมนุมนั้นยกไปตีชขุมนุมโน้นต่อๆกันไป ที่ นายชุมนุมไหนเข้มแข็งก็มีชัยชำนะ และเกิดฆ่าฟันกันเป็นจลาจล ไปทั่วทั้งแผ่นดินในเขต์แดนแว่นแคว้นสยามประเทศ เหตุว่าหา เจ้าแผ่นดินจะปกครองบมิได้เหมือนดุจสัตถันดรกัลป์ และทุพภิก ขันดรกัลป์ และพระราชวงศานุวงศ์ซึ่งเหลืออยู่ พะม่ามิได้เอาไป นั้นตกอยู่ณค่ายโพธิ์สามต้นก็มีบ้าง ที่หนีไปเมืองอื่นนั้นก็มีบ้าง และเจ้าฟ้าสุริยาหนึ่ง เจ้าฟ้าพินทวดีหนึ่ง เจ้าฟ้าจันทวดีหนึ่ง พระ องค์เจ้าฟักทองหนึ่ง ทั้งสี่พระองค์นี้เป็นราชบุตรีพระพุทธเจ้า หลวงในพระบรมโกศ และเจ้ามิตรบุตรีกรมพระราชวังหนึ่ง หม่อมเจ้ากระจาดบุตรีกรมหมื่นจิตรสุนทรหนึ่ง หม่อมเจ้ามณี บุตรีกรมหมื่นเสพภักดีหนึ่ง หม่อมเจ้าฉิมบุตรีเจ้าฟ้าจิดหนึ่ง เจ้าทั้งนี้ตกอยู่กับพระนายกองณค่ายโพธิ์สามต้น อนึ่งพระองค์เจ้า ทับทิมบุตรีสมเด็จพระอัยยกานั้น พวกข้าไทยพาหนีออกไป ณเมืองจันทบุรี เจ้าตากก็สงเคราะห์รับเลี้ยงดูไว้ และเจ้าจุ้ย เจ้าศรีสังข์บุตรกรมพระราชวังนั้น หนีออกไปอยู่เมืองพุทไธมาศ อนึ่งขุนนางข้าราชการซึ่งเหลืออยู่นั้น ที่ตกอยู่กับพระนายกองก็ มีบ้าง ที่หนีไปอยู่หัวเมืองเหนือใต้ต่างๆก็มีบ้าง และนายสุด จินดามหาดเล็กนั้น หนีออกไปสำนักอยู่ณเมืองชลบุรี ครั้นรู้ข่าว ว่าเจ้าตากออกไปตั้งอยู่ณเมืองจันทบุรี จึงพาพรรคพวกบ่าวไพร่ เดิรบกออกไปเข้าพึ่งอยู่ด้วยเจ้าตาก เจ้าตากก็รับไว้ชุบเลี้ยงตั้งเป็น พระมหามนตรี เพราะรู้จักคุ้นเคยกันมาแต่ก่อนกรุงยังไม่เสียนั้น ในขณะนั้นหัวเมืองตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นอีกหลายตำบล คือเจ้าพระ ยาพระพิษณุโลกเรือง ก็ตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นอีกตำบลหนึ่ง และพระ สังฆราชาเมืองสว่างคบุรี นามเดิมชื่อมหาเรือน ชาติภูมิเป็นชาว เหนือ แต่ลงมาเล่าเรียนพระไตรปิฎกอยู่ณกรุง ได้เป็นที่พระพา กุลเถรราชาคณะอยู่วัดศรีโยธยา ภายหลังทรงพระกรุณาโปรด ให้ตั้งขึ้นไปเป็นที่พระสังฆราชาณเมืองสว่างคบุรี แต่ครั้งแผ่นดิน พระพุทธเจ้าหลวง และมีสมัครพรรคพวกผู้คนนับถือมาก ครั้นรู้ ว่ากรุงเสียแก่พะม่าแล้ว จึงส้องสุมผู้คนเข้าด้วยเป็นหลายเมือง ตั้งตัวขึ้นเป็ฯเจ้าอีกตำบลหนึ่ง แต่หาสึกออกเป็นคฤหัสถ์ไม่ คง อยู่ในเพศสมณะแต่นุ่งห่มผ้าแดง คนทั้งปวงเรียกว่าเจ้าพระฝาง บรรดาเจ้าเมืองกรมการหัวเมืองฝ่ายเหนือ ตั้งแต่เหนือพระพิษณุโลก ขึ้นไป ก็กลัวเกรงนับถืออยู่ในอำนาจทั้งสิ้น และเมืองเหนือ ครั้งนั้นมีเจ้าขึ้นสอแห่ง แบ่งแผ่นดินออกเป็นสองส่วน ตั้งแต่เมือง พระพิษณุโลกลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์ กับแควปากน้ำโพนั้นเป็น อาณาเขต์ข้างเจ้าพระพิษณุโลก ตั้งแต่เหนือเมืองพระพิษณุโลก ขึ้นไปจนถึงเมืองปาดกระท้งแดนนลาวกับแควแม่น้ำปากพิงนั้น เป็นอาณาเขตต์ข้างเจ้าพระฝาง เจ้าพระฝางตั้งแต่งนายทัพนายกอง แต่พื้นสงฆ์ทั้งสิ้น คือพระครูคิริมานนท์หนึ่ง พระครูเพ็ชร รัตน์หนึ่ง พระอาจารย์จันทร์หนึ่ง พระอาจารย์ทองหนึ่ง พระ อาจารย์เกิดหนึ่ง แต่ล้วนเป็นอลัชชีมิได้ละอายแก่บาปทั้งน้น แล้ว จัดแจงกองทัพยกลงมาตีเมืองพระพิษณุโลก ตั้งค่ายล้องเมือง ทั้งสองฟากน้ำ และเจ้าเมืองพระพิษณุโลกยกพลทหารออกต่อรบ เป็นสามารถ ทัพฝางจะหักเอาเมืองมิได้ แต่บกันอยู่ประมาณ หกเดือน ทัพฝางก็พากันเลิกกลับไปเมือง ฝ่ายแผ่นดินข้างปักษ์ใต้ก็มีเจ้าขึ้นอีกตำบลหนึ่ง คือเมื่อครั้ง กรุงยังไม่เสียนั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาราชสุภาวดีออก ไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ให้หลวงนายสิทธิ์ออกไปเป็นพระปลัด และเจ้าพระยานครศรีธรรมราชนั้นถูกอุทธรณ์ต้องถอด กลับเข้ามา ณกรุง จึงโปรดให้ปพระปลัดว่าราชการอยู่ ภายหลังยังหาได้ ตั้งเจ้าเมืองไม่ ครั้นพระปลัดรู้ข่าวว่ากรุงเทพมหานครเสียแก่พะม่า หาพระเจ้าแผ่นดินมิได้แล้ว จึงตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าครองเมืองนคร ศรีธรรมราช คนทั้งหลายเรียกว่า เจ้านครมีอาณาเขตต์ แผ่ไปฝ่าย ข้างนอกถึงแดนเมืองแขก ข้างในถึงเมืองชุมพรเมืองปะทิว แบ่ง แผ่นดินออกไปอีกส่วนหนึ่ง และราษฎรทั้งหลายในหัวเมืองปักษใต้ ฝ่ายตะวันตก ก็นับถืออยู่ในอำนาจเจ้านครทั้งนสิ้น แล้วตั้งแต่ง ขุนนางตามตำแหน่งเหมือนในกรุงเทพมหานครนั้น ฝ่ายเจ้ากรมหมื่นเทพพิพิธ กับพระยารัตนาธิเบศร์ และ ขุนนางซึ่งหนีออกไปจากกรุงเทพเป็นหลายนายพาสมัครพรรคพวก ไพร่พลครอบครัวหนีพะม่าไปแต่เมืองปราจีน ขึ้นทางด่านช่องเรือแตก ไปณเมืองนครราชสีมาแต่ครั้งกรุงยังไม่เสียนั้นไปตั้งอยู่ ณด่าน โคกพระยา พอพระยารัตนาธิเบศร์ป่วยลงถึงแก่กรรม กรม หมื่นเทพพิพิธก็กระทำการปลงศพในที่นั้น ฝ่ายพระพิมลสงครามเจ้าเมืองนครนายก กับหลวงนรินทร์ พาไพร่พลและครอบครัวชายหญิงประมาณสามร้อน หนีพะม่าไปทาง เขาพะนมโยง ขึ้นไปเมืองนครราชสีมา ไปตั้งอยู่ณด่านบ้านจันทึก และพระยานครราชสีมาเป็นอริกันอยู่แต่ก่อน จึงใช้ทหารให้ลง มาลวงฆ่าพระพิมลสงครามกับหลวงราชรินทร์เสีย กวาดต้อน ผู้คนครอบครัวเข้าไปไว้ในเมืองเสียสิ้น ฝ่ายกรมหมื่นเมพพิพิธจึงให้หลวงมหาพิชัย และนายทองคำ นำเอาหมวกฝรั่งหนึ่ง เสื้อกระบวนจีนหนึ่ง ผ้าเกี้ยวลายสองผืน ไปประทานพระยานครราชสีมา ครั้นอยู่มาประมาณสองสามวัน จึงหลวงพลกรมการออกมาเฝ้า กราบทูลว่าพระยานครราชสีมา เกณฑ์ เขมร สี่ร้อยจะให้ออกมาจับพระองค์เจ้าส่งลงไปณกรุงเทพ มหานคร กรมกมื่นเทพพิพิธตกพระทัยคิดการหนี และหม่อมเจ้า ประยงผู้บุตรไม่เห็นด้วยก็ทูลห้ามไว้ แล้วทูลขอเงินตราห้าชั่ง กับผ้าน้ำกิ่งสิบพับ นำเอาไปเที่ยวแจกพันทะนายบ้านสิบสองตำบล เกลี้ยกล่อนคนชาวบ้านมาเข้าด้วย ได้คนสี่ร้อยห้าสิบเศษ ครั้นถึงณวันพุธเดือนสิบขึ้นสิบสี่ค่ำปีจออัฐศก กรมหมื่นเทพ พิพิธจึงให้หม่อมเจ้าประยงกับหลวงมหาพิชัยหลวงปราบคุมไพร่ สามสิบเศษกับพวกชาวบ้านซึ่งเข้ามาด้วยนั้น ยกลอบเข้าไป ซุ่มอยู่ในเมือง พอรุ่งขึ้นเป็นวันพระสิบห้าค่ำ พระยานครราชสีมา ไม่ทันรู้ตัวจะออกมาทำบุญที่วัดกลาง ก็ยกกรูกันเข้าไปล้อมจวน จับตัวพระยานครราชสีมาได้ก็ฆ่าเสีย แต่หลวงแพ่งผู้น้องพระยา นครราชสีมานั้น โดดขึ้นม้าหนีออกจากเมืองทัน หาจับตัวได้ไม่ หม่อมเจ้าประยงให้ยิงปืนใหญ่ขึ้นเป็นฤกษ์ แล้วเกณฑ์ให้คน ออกมารับเสด็จกรมหมื่นเทพพิพิธเข้าไปในเมือง ประทับอยู่ที่จวนอยู่ ประมาณห้าวัน หลวงแพ่งไปชักชวนพระพิมาย ซึ่งเป็นเมือง ขึ้นแก่นครราชสีมา ยกกองทัพเข้ามาล้อมเมืองนครราชสีมา เข้าไว้ กรมหมื่นเทพพิพิธให้เกณฑ์คนชาวเมืองขึ้นรักษาหน้าที่ เชิงเทิน ได้คนน้อยเพราะชาวเมืองไม่เต็มใจ หนีไปเสียมาก ผู้ คนซึ่งขึ้นอยู่รักษาหน้าที่กำแพงนั้นเบาบางนัก ต่อรบต้านทานอยู่ ได้สี่วัน พวกกองทัพพระพิมาย หลวงแพ่งก็ปีนเข้าเมืองได้ ข้างด้านป้อมวัดพายัพจับได้ตัวหม่อมเจ้าประยง เจ้าดารา เจ้าธารา บุตรกรมหมื่นเทพพิพิธ กับพระพิชัยราชา หลวงมหาพิชัย และ ขุนหมื่น นายหมวดนายกองฆ่าเสียเป็นหลายคน และบุตรเจ้า กรมหมื่นเทพพิพิธที่เป็นชายนั้ ยังเหลืออยู่แต่หม่อมเจ้าที่น้อยๆ กับหม่อมเจ้าหญิง และนายแก่นพวกหลวงแพ่งได้หม่อมเจ้าอุบล ไปเป็นภรรยา นายย่นได้หม่อมเสนห้ามกรมหมื่นเทพพิพิธไปเป็น ภรรยา หลวงแพ่งให้ประหารกรมหมื่นเทพพิพิธเสีย พระพิมาย ขอชีวิตไว้ จึงเชิญเสด็จไปอยู่ณเมืองพิมาย หลวงแพ่งก็ได้ เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา และพระพิมายนั้นรักใคร่นับถือกรม หมื่นเทพพิพิธว่า เป็ฯวงศ์ราชตระกูลช่วยทำนุบำรุงไว้ ครั้น รู้ข่าวว่ากรุงเสียแก่พะม่าแล้ว พะม่ากวาดเอาพระราชวงศา นุวงศ์ไปสิ้น จึงยกกรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินสืบ พระวงศ์พระเจ้าแผ่นดินต่อไป เรียกว่าเจ้าพิมาย เจ้าพิมายจึงตั้ง พระพิมายเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ผู้สำเร็จราชการ ตั้งนายสาบุตร ผู้ใหญ่เป็นพระยามหามนตรี ตั้งบุตรผู้น้อยเป็ฯพระยาวรวงศา ธิราชเรียกว่าพระยาน้อย ในขณะเมื่อกรุงเสียแล้วนั้น พวกข้าราชการและเชื้อวงศ์ ผู้ดีณกรุง หนีขึ้นไปอยู่กับพระเจ้าพิมายเป็นอันมาก จึงโปรดตั้ง ให้เป็ฯขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยตามสมควรแก่คุณานุรูป แต่ยังหา ครบตามตำแหน่งไม่และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงคิดกับบุตรทั้ง สองว่า จะจับหลวงแพ้งเจ้าเมืองนครราชสีมาฆ่าเสียให้สิ้นเสี้ยน หนาม ขณะนั้นหลวงแพ่งทำบุญให้มีลุคร เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ กับพระยาทั้งสองผู้บุตรรู้ จึงพาทหารซึ่งมีฝีมือสิบคนกับไพร่พล ห้าร้อยยกจากเมืองพิมายมาณเมืองนครราชสีมา ฝ่ายหลวงแพ่ง ไม่ทันรู้ตัวว่าเขาคิดร้าย ไว้ใจอยู่ว่าเป็นมิตรกัน และพระยา ทั้งสามก็เข้านั่งดูละครด้วยกันกับหลวงแพ่ง ครั้นได้ทีเจ้าพระยา ศรีสุริยวงศ์กฟ้ฟันหลวงแพ่ง พระยามหามนตรีฟันนายแก่น พระยา วรวงศาธิราชฟันนนายย่นตายทั้งสามคน พวกทหารเมืองพิมายก็ฆ่า ฟันทหารเมืองนครราชสีมาตายเป็นอันมาก เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ให้พระยาวรวงศษธิราชตั้งอยู่ณบ้านจ่อหอ รักษาเมืองนครราชสีมา แล้วเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ และพระยามหามนตรีก็กลับไปยัง เมืองพิมาย ตั้งเกลี้ยกล่อมผู้คนบำรุงอาณาประชาราฎร และ ทแกล้วทหารให้มีกำลังสมบูรณ์บริวูรณ์ และอาณาเขตต์เมือง พิมายก็แบ่งออกเป็นส่วนหนึ่ง ตั้งแต่แขวงหัวเมืองตะวันออกฝ่าย ดอนไปจนกระทั่งถึงแดนกรุงศรีสัตนาคนหุต และกรุงกัมพุชาธิบดี ฝ่ายใต้ลงมาถึงเมืองสระบุรีตลอดลำน้ำแควป่าสัก และแผ่นดิน ครั้นนั้นแบ่งออกเป็นหลายส่วนหลายเจ้า ข้างฝ่ายเหนือก็เป็นสอง ส่วน คือเมืองพระพิษณุโลกส่วนหนึ่ง เมืองสว่างคบุรีส่วนหนึ่ง ข้างฝ่ายใต้ก็เป็นสองส่วน คือเมืองจันทบุรีฝั่งทะเลฟากตะวัน ออกส่วนหนึ่ง เมืองนครศรีธรรมราชฝั่งทะเลฟากตะวันตกส่วนหนึ่ง ข้างฝ่ายดอนด้านตะวันออกนั้น คือเมืองพิมายส่วนหนึ่ง และ แผ่นดินส่วนกลาง เป็นของพระนายกองโพธิ์สามต้นส่วนหนึ่ง เป็น หกแดนหกเจ้าด้วยกัน ในขณะนั้นฝ่ายเจ้าตาก ซึ่งตั้งอยู่ณ เมืองจันทบุรีต่อเรือรบ สำเร็จได้ทราบข่าวว่ากรุงเทพมหานครเสียแก่พะม่าแล้ว สมณ พราหมณาจารย์ และราชตระกูลสุริยวงศา เสนาอำมาตย์ปรชขา ราษฎรถึงซึ่งพินาศฉิบหาย พะม่ากวาดเอาไปเป็นอันมาก ที่เหลือ อยู่ก็ได้รับความทุกข์ลำบากอดอาหารล้มตาย และฆ่าฟันกันทุกแห่ง ทุกตำบล เพราะหาพระเจ้าแผ่นดินมิได้ พะม่าตั้งพระนายกอง ไว้รั้งกรุงเทพมหานคร บรรดาหัวเมืองทั้งหวงก็คิดกำเริบก่อเกิด อหังการ ตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นเป็นหลายเมือง แผ่นดินแบ่งออก เป็นหลายส่วน เกิดจลาจลรบพุ่งกันเป็นหลายพวก และสมณ พราหมณาไพร่ฟ้าประชากร ได้ความเดือดร้อนหาที่พึ่งมิได้ ทรง พระดำริจะปราบยุคเข็ญซึ่งเป็นจลาจลให้สงบราบคาบ และจะก่อ กู้กรุงเทพมหานครให้คืนคงเป็นราชธานี มีพระราชอาณาเขตต์ ปกแผ่ไปเป็นแผ่นดินเดียว ทั่วจังหวัดแว่นแคว้นแดนสยามประเทศ เหมือนดังเก่า จึงดำรัสสั่งนายทัพนายกองทั้งปวง ให้ตรวจ เตรียมเรือรบครบด้วยพลโยธาสรรพาวุธปืนใหญ่น้อย และเรือ ลำเลียงสะเบียงอาหารให้พร้อมเสร็จ แล้วตั้งข้าหลวงเดิมผู้มี ความชอบอยู่ครองเมืองจันทบุรีและเมืองระยองทั้งสองหัวเมืองนั้น ครั้นถึงณเดือนสิบเอ็ดปีกุนนพศกนั้น จึงเสด็จยาตราพล ทัพเรือร้อยลำเศษ พลทหารประมาณห้าพันยกจากเมืองจันทบุรี มาทางทะเลได้ทราบข่าวว่า พระยาอนุราฐเจ้าเมืองชลบุรี กับหลวง พล ขุนอินเชียง มิได้ละพยสอันร้าย กลับกระทำโจรกรรมออกตีชิง สำเภาและเรือลูกค้าวาณิชเหมือนแต่ก่อน มิได้ตั้งอยู่ในธรรโมวาท ซี่งมีพระประสาทสั่งสอนนั้น จึงให้หยุดทัพเรือเข้าประทับณเมือง ชลบุรี แล้วให้หาพระยาอนุราฐลงมาเข้าเฝ้าณเรือพระที่นั่ง ตรัสถามก็ รับเป็นาตย์ จึงสั่งให้ขุนนางนายทหารไทยจีนจับพระยาอนุราฐประหาร ชีวิตเสีย และพระยาอนุราฐคงกระพันในตัว แทงฟันหาเข้าไม่ เพราะด้วยสะดือเป็นทองแดง จังให้พันธนาการแล้วเอาลงถ่วงน้ำ เสียในทะเลก็ถึงแก่กรรม แล้วให้จับหลวงพลและขุนอิลเชียง ซึ่ง ร่วมคิดกระทำโจรกรรมด้วยกันนั้นประหารชีวิตเสีย จึงตั้งผู้มีความ ชอบเป็นเจ้าเมืองกรมการขึ้นใหม่ให้อยู่รักษาเมืองขลบุรีแล้วก็เสด็จ ยกพลทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเมืองสมุทรปราการ ถึงเมืองธนบุรี ฝ่ายเจ้าทองอินซึ่งพะม่าตั้งไว้ให้รักษาเมืองธนบุรีนั้น ก็พา พวกพลออกต่อรบประมาณครู่หนึ่งก็แตกพ่าย พลข้าหลวงจับตัว ได้ก็ฆ่าเสีย และกรมการทั้งนั้นก็หนีไปในเพลากลางคืน ขึ้นไป ณ ค่ายโพธิ์สามต้นแจ้งความแก่สุกี้พระนายกอง สุกี้พระนายกอง จึงจัดพลทหารไทยมอญให้ม่องญาเป็นนายทัพ ยกทัพเรือมาตั้งรับ อยู่ณพะเนียด ในกลางคืนวันนั้นเรือรบพระยากระลาโหม ซึ่ง บรรทุกกระสุนดินดำมานั้นล่มลง จึงให้ลงพระอาชญาเฆี่ยนพระยา กระลาโหม และขุนนางฝ่ายทหารอีกหลายคน แล้วตรัสสั่งให้ เร่งรีบยกทัพเรือขึ้นไปณกรุงในเพลากลางคืน และม่องญานายทัพ โพธิ์สามต้นนั้นรู้ข่าวว่าทัพหลวงยกขึ้นมาถึงกรุงเทพฯแล้ว ก็ เกรงกลัวพระเดชานุภาพมิได้ตั้งอยู่สู้รบก็ถอยหนีไป ณ ค่ายโพธิ์ สามต้น ครั้นรุ่งเช้าเป็นวันเดือนสิบสองข้างขึ้นเพลาสามโมงเศษ ให้พลทหารยกเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้นฟากตะวันออกแตก จึงตรัสสั่ง ให้ทำบันไดจะพาดเข้าปีนค่ายใหญ่ฟากตะวันตก ซึ่งมีกำแพงที่ พระนายกองอยู่นั้ นและกองพระยาพิพิธ พระยาพิชัย ทัพจีนเป็ฯ กองหน้ายกเข้าตั้งค่ายประชิดณวัดกลาง ห่างค่ายใหญ่ประมาณเจ็ด เส้นแปดเส้น ครั้นรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ทง จึงดำรัสให้ทัพจีนกองหน้ายกเข้า ตีค่ายพระนายกอง พระนายกองคุมพลทหารออกต่อรบ รบกันตั้ง แต่เช้าจนเพลาเทีค่ยง พวกพระนายกองพ่ายหนีเข้าค่าย ทัพจีนไล่ ติดตามเข้าไปในค่าย พระนายกองสู้รบอยู่จนตัวตายในค่ายนั้น พวกพลทัพจีนไล่ฟันพลทหารพระนายกองล้มตายในค่ายนั้นเป็นอัน มากที่เหลืออยู่ก็แตกหนีไปจากค่าย แต่ม่องญานั้นพาพรรคพวก ทหารของตัวหนีขึ้นไปณเมืองนครราชสีมาไปเข้าด้วยพระยาวรวงศา ธิราช ซึ่งตั้งอยู่ด่านจ่อหอนั้น ฝ่ายเจ้าตากครั้นตีได้ค่ายโพธิ์สามต้นแล้ว จึงเสด็จด้วยพล โยธาทหารแห่เข้าไปในค่าย ประทับอยนู่ณจวนพระนายกอง จึงพระยา ธิเบศร์ ขุนนางเก่าในกรุงเทพมหานคร ซึ่งตกอยู่ณค่ายโพธิ์สาม ต้นนั้นมากราบถวายบังคมต้อนรับ จึงตรัสสั่งมิให้พลทหารกระทำ อันตรายแก่ผู้คนครอบครัวทั้งปวงอันอยู่ในค่าย และได้ทรงเห็นราช ตระกูล และข้าราชการเก่าในกรุง ซึ่งได้ความทุกข์ทุรพลลำบาก ก็ทรงพระกรุณาสังเวช จึงพระราชทานทรัพย์และสิ่งของต่างๆ แก่พวกขุนนางเก่ากับทั้งพระราชวงศานุวงศ์ทั้งนั้น แล้วเสด็จเข้า มาตั้งพลับพลาประทับอยู่ในพระนคร ให้ไปขุดพระศพพระเจ้า แผ่นดินซึ่งพระนายกองฝังไว้นั้น พระทำพระโกศตามสังเขปใส่ พระศพและให้ทำพระเมรุหุ้มด้วยผ้าขาว แล้วเชิญพระบรมโกศ เข้าตั้งที่ในพระเมรุตั้งเครื่องบูชาสักการะพอสมควรให้เที่ยวนิมนต์ พระสงฆ์ซึ่งเหลืออยู่บ้างนั้นมาสัตดัปกรณ์ ทรงถวายไทยทาน ตามสมควร แล้วก็ถวายพระเพลิง ครั้นปลงพระศพแล้ว จึงเสด็จทรงช้างพระที่นั่งไป เที่ยวประพาสทอดพระเนตรทั่วประนครและในพระราชวัง เห็น ปราสาท และตำหนักใหญ๋น้อยที่ข้างหน้าข้างใน และอาวาสบ้าน เรือนทั้งปวงในกรุงนั้น เพลิงไหม้เสียบ้างยังดีอยู่บ้าง ก็ทรงพระ สังเวชดำริจะกระทำปฏิสังขรณ์ขึ้นให้ปรกติดีดังแต่ก่อน แล้วจะ รวบรวมไพร่ฟ้าประชากร และสมณพราหมณาจารย์เข้ามาอยู่ในพระ นครตามเดิม จะเสด็จเข้าตั้งดำรงราชอาณาจักรสืบกษัตริย์ครอบ ครองรักษาแผ่นดินต่อไป จะก่อกู้กรุงเทพมหานครศรีอยุธยา ซึ่ง ถึงกาลประลัยไปแล้วนั้น ให้กลับคืนคงเป็นราชธานีดังเก่า ก็เสด็จ เข้าประทับแรม อยู่ ณ พระที่นั่งทรงปืนที่เสด็จออกบรรทมอยู่คืนหนึ่ง จึงทรงพระสุบินนิมิตต์ว่า พระมหากษัตริย์แต่ก่อนมาขับไล่เสียมิให้ อยู่ ครั้นรุ่งเช้าจึงตรัสเล่าพระสุบินให้ขุนนางทั้งปวงฟัง แล้วจึง ดำรัสว่า เราคิดสังเวชเห็นว่าบ้านเมืองจะร้างรกเป็นป่า จะมาช่วย ปฏิสังขรณ์บำรุงขึ้นให้บริวูรณ์ดีดังเก่า เมื่อเจ้าของเดิมท่านยังหวง แหนอยู่แล้ว เราชวนกันไปสร้างเมืองธนบุรีอยู่เถิด แล้วตรัส สั่งให้เลิกกองทัพกวาดต้อนราษฎร และสมณพราหมณาจารย์ทั้ง ปวงกับทั้งงโบราณขัตติยวงศ์ซึ่งเหลืออยู่นั้น ก็เสด็จกลับลง มาตั้งอยู่ณเมืองธนบุรี และให้ไปเที่ยวสืบหาพวกพระญาติพระ วงศ์ของพระองค์ ซึ่งพลัดพรากกันไป ไปได้มาจากเมืองลพบุรี รับลงมาณเมืองธนบุรี แล้วให้ปลูกสร้างพระราชวัง และพระ ตำหนักข้างหน้าข้างในใหญ่น้อยทั้งปวงสำเร็จบริบูรณ์ ลุศักราช ๑๑๓๐ ปีชวดสัมฤทธิศก จึงท้าวพระยาข้าราชการ จีนไทยผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงก็ปรึกษาพร้อมกัน อัญเชิญเสด็จเถลิง ถวัลยราชสมบัติเป็นบรมกษัตริย์ผ่านพิภพสีมาณกรุงธนบุรี ตั้งขึ้น เป็นราชธานีสืบไป ทรงพระกรุณาให้แจกจ่ายอาหารแก่ราษฎร ทั้งหลาย ซึ่งอดโซอนาถาทั่วสิมามณฑล เกลื่อนกล่นกันมา รับพระราชทานมากกว่าหมื่น บรรดาข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน ไทยจีนทั้งปวงนั้นได้รับพระราชทานเข้าสารเสมอคนละถังกินคนละ ยี่สิบวัน ครั้งนั้นยังหามีผู้ใดทำไร่นาไม่ อาหารกันดารนัก และ สำเภาบรรทุกเข้าสารมาแต่เมืองพุทไธมาศ จำหน่วยถังละสาม บาทสี่บาทห้าบาทบ้าง ทรงพระกรุณาให้ซื้อแจกคนทั้งปวงโดย พระราชอุตสาหะโปรดเลี้ยงสัตว์โลก พระราชทานชีวิตไว้มิได้อาลัย แก่พระราชทรัพย์ แล้วแจกจ่ายเสื้อผ้าเงินตราแก่ไพร่ฟ้าประชาชน จักนับมิได้ และทรงพระกรุณาโปรดชุบเลี้ยงตั้งแต่งขุนนางข้า ราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยครบตามตำแหน่ง ฐานานุศักดิ์ เหมือนแต่ก่อน แล้วโปรดตั้งเจ้าเมืองกรมการให้ออกไปครองหัวเมืองใหญ่น้อย ซึ่ง อยู่ในพระราชอาณาเขตต์ใกล้ๆนั้นๆทุกๆเมือง ให้ตั้งเกลี้ยกล่อม ส้องสุมอาณาประชาราษฎร ซึ่งแตกฐานซ่านเซ้นไปนั้น ให้กลับ มาอยู่ตามภูมลำเนาเหมือนแต่ก่อนทุกบ้านทุกเมือง ขณะนั้นพระมหามนตรี จึงกราบทูลพระกรุณาว่าจะขอไปรับ หลวงยกกระบัตรราชบุรีผู้พี่นั้น เข้ามาถวายตัวทำราชการ จึงโปรด ให้ออกไปรับเข้ามา แล้วทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เป็นพระราชวรินทร์ ในปีชวดสัมฤทะศกนั้น ฝ่ายพระเจ้าอังวะให้มีหนังสือรับสั่ง ลงมากับแมงกี้มารหญ่าเจ้าเมืองทะวาย ให้ยกกองทัพเข้ามาสืบ ดูเมืองไทยว่าจะราบคาบอยู่หรือจะกำเริบขึ้นประการใดบ้าง แมงกี้ มารหญ่าก็คุมพลทหารเมืองทะวายสองหมื่น ยกเข้ามาทางเมือง ไทรโยก และเรือรบเก่ายังอยู่ที่นั้น จึงยกทัพบกทัพเรือลงมาณค่าย คอกระออม แล้วก็ยกเลื่อนลงมาล้อมค่ายจีนบางกุ้งใกล้จะเสีย อยู่แล้ว กรมการเมืองสมุทรสงครามบอกเข้ามาให้กราบทูลครั้น ได้ทราบ จึงโปรดให้พระมหามนตรีเป็นกองหน้าเสด็จยกทัพหลวง ไปทางชลมทารคถึงเมืองสมุทรสงคราม ให้ทัพหน้าเข้าโจมตี กองทัพพะม่าก็แตกฉานทั้งสิ้นในเพลาเดียว พลทหารไทยไล่ ตะลุมบอนฟันแทงพะม่าล้มตายในน้ำในบกเป็นอันมาก ทัพพะม่า พ่ายหนีกลับไปทางด่านเจ้าขว้าวไปยังเมืองทะวาย เก็บได้เครื่อง ศาสตราวุธ และเรือรบเรือไล่ครั้งนั้นเป็นอันมาก แล้วเสด็จเลิก ทัพกลับยังกรุงธนบุรี และพระเกียรติยศก็ปรากฎขจรไปในสยาม ประเทศทุกๆเมือง ในขณะนั้นบรรดานายชุมนุมทั้งปวง ซึ่งคุมพรรคพวกตั้งอยู่ ในแขวงอำเภอหัวเมืองต่างๆ และรบพุ่งชิงอาหารกันอยู่แต่ก่อนนั้น ก็สงบราบคาบลงทุกๆแห่ง มิได้เบียดเบียฬแก่กันสืบไปต่างๆ เข้ามาถวายตัวเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาท ได้รับพระราชทาน เงินทองและเสื้อผ้า และโปรดชุบเลี้ยงให้เป็นขุนนางในกรุงและ หัวเมืองบ้าง บ้านเมืองก็สงบปราศจากโจรผู้ร้าย และราษฎร ก็ได้ตั้งทำไร่นาลูกค้าวาณิชก็ไปมาค้าขายทำมาหากินเป็นสุข เข้า ปลาอาหารก็ค่อยบริบูรณ์ขึ้น คนทั้งหลายก็ค่อยได้บำเพ็ยการกุศล ต่างๆ ฝ่ายสมณศากยบุตรในพระพุทธศาสนาก็ได้รับบิณฑบาต จตุปัจจัยค่อยได้ความสุขบริบูรณ์เป็นกำลังเล่าเรียนบำเพ็ญเพียรใน สมณกิจฝ่ายคันถธุระวิปัสสนาธุระทั้งปวงต่างๆ ในปีชวดสัมฤทธิศกนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระ ราชดำริว่า พระพุทธศาสนาจักวัฒนาการรุ่งเรืองนั้น เพราะอาศัย จตุบริษัททั้งสี่ปฏิบัติตามพระบรมพุทโธวาท และพระสงฆ์ทุกวันนี้ยัง ปฏบัติในจตุปาริสุทธศีลบมิได้บริบูรณ์ เพราะเหตุหาพระราชาคณะ ซึ่งจะทรงปริยัติธรรมและสมถวิปัสสนาจะสั่งสอนบมิได้ จึงมีพระราช โองการสั่งพระศรีภูริปรีชาราชเสนาบดีศรีสาลักษณ์ ให้สืบเสาะหา พระสงฆ์เถรานุเถระผู้รู้อรรถธรรมยังมีอยู่ที่ใดบ้าง ให้ไปเที่ยว นิมนต์มาประชุมกันณวัดบางว้าใหญ่ ตั้งแต่งขึ้นเป็นพระราชาคณะผู้ ใหญ่ผู้น้อย โดยสมควรแก่คุณานุรูปตามตำแหน่งเหมือนเมื่อครั้ง กรุงเก่านั้น และพระศรีภูรีปรีชาก็สืบหาได้พระเถรานุเถระซึ่งเป็น พระราชาคณะบ้าง เป็นเปรียญบ้าง เป็นอาจารย์ผู้บอกบ้าง แต่ ครั้งกรุงเก่านั้นได้มาหลายรูปประชุมณวัดบางว้าใหญ่ แล้วปรึกษา พร้อมกันตั้งพระอาจารย์ดีวัดประดู่รู้คุณธรรมมาก ทั้งแก่พรรษา อายุ เป็นสมเด็จพระสังฆราช แล้วตั้งพระเถรานุเถระทั้งนั้นเป็น พระราชาคณะ ฐานานุกรมผู้ใหญ่ผู้น้อยตามลำดับสมณฐานันดร ศักดิ์เหมือนอย่างแต่ก่อน ให้อยู่ในพระอารามต่างๆ ในจังหวัดกรุง ธนบุรี บังคับบัญชาและสั่งสอนบอกกล่าว ฝ่ายคันถธถระและ วิปัสสนาธุระ แก่พระสงฆ์ สามเณรทั้งปวง แล้วทรงพระราชศรัทธาจ้าง ข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน สร้างพระอุโบสถวิหาร และเสนาสน กุฎิ หลายพระอารามมากกว่าสองร้อยหลัง สิ้นพระราชทรัพย์ เป็นอันมาก แล้วตรัสผะเดียงตักเตือนถวายพระราชโอวาทไว้ว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงจงตั้งใจปฏิบัติสำรวมรักษาในพระจตุปาริสุทธ ศีล ให้บริสุทธิผ่องใสอย่าให้เศร้าหมอง แม้นพระผู้เป็นเจ้าจะ ขัดสนด้วยจตุปัจจัยสิ่งใดนั้น เป็นธุระโยมจะรับอุปัฏฐากผู้เป็นเจ้า ทั้งปวง แม้นถึงจะปรารถนามังสะและรุธิระของโยม โยมก็อาจ สามารถเชือดเนื้อและโลหิต ออกถวายเป็นอัชฌัตติกทนได้ แล้ว ทรงพระราชดำริว่า พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองเจริญจีรัฏฐิติกาลนั้น ก็ อาศัยกุลบุตรเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จึงทรงพระกรุณาให้ สังฆการี ธรรมการทำสารบัญชีพระสงฆ์รูปใดที่บอกที่เรียนพระ ไตรปิฎกมาก ก็ทรงถวายไตรจีวรผ้าเทศเนื้อละเอียด แล้วทรงถวาย ปัจจัยแก่เถรเณรตามที่เล่าเรียนได้มากและน้อย อนึ่งให้โปรยปราย พระราชทรัพย์ และแจกทานแก่ยาจกทุกวันอุโบสถแปดค่ำสิบห้าค่ำ แล้วตั้งโรงทานไว้สำหรับแจกคนโซทั้งปวง ในปีชวดสัมฤทธฺศกนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จยก หยุหโยธาไทยจีนพร้อมสรรพด้วยเครื่องสรรพาวุธทั้งทางบกทางเรือขึ้นไปตี เมืองพระพิษณุโลกถึงตำบลเกยชัย และเจ้าพระพิษณุโลกเรือง ได้ ทราบข่าวศึก จึงแต่งให้หลวงโกษายัง ยกกองทัพลงมาตั้งรับได้รบ กันเป็นสามารถ ข้าศึกยิงปืนมาต้องพระชงฆ์เบื้องซ้ายจึงให้ล่าทัพ หลวงกลับมายังกรุงธนบุรี ครั้นประชวรหายแล้วได้ทราบข่าวว่าม่อง ญาปลัดพระนายกองค่ายโพธิ์สามต้น หนีขึ้นไปเข้าพวกกรมหมื่นเทพ พิพิธเจ้าพระพิมาย จึงเสด็จยกทัพหลวงขึ้นไปตีเมืองนครราชสีมา ฝ่ายพระเจ้าพิมายได้ทราบข่าวศึก จึงแต่งให้พระยาวรวงศา ธิราชซึ่งเรียกว่าพระยาน้อยยกกองทัพลงมาตั้งค่ายรับอยู่ณด่านขุนทด ทางหนึ่ง ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ พระยามหามนตรี กับทั้งม่องญา ยกกองทัพมาตั้งค่ายรับอยู่ณบ้านจ่อหอทางหนึ่ง สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงดำรัสให้พระมหามนตรี และ พระราชวรินทร์ ยกกองทัพขึ้นไปตีทัพพระยาวรวงศษธิราช ซึ่งตั้งอยู่ ณด่านขุนทดนั้น แล้วเสด็จยกทัพหลวงขึ้นทางด่านจ่อหอเข้าตีทัพเจ้า พระยาศรีสุริยวงศ์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ออกต่อรบเป็นสามารถ พล ทัพหลวงเข้าหักเอาค่ายข้าศึกได้ ไล่ฟันพลทหารเมืองพิมายล้มตาย เป็นอันมาก พวกข้าศึกแตกพ่ายหนีไป จับได้ตัวเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ และพระยามหามนตรี กับทั้งม่องญาด้วย ดำรัสสั่งให้ประหารชีวิต เสียทั้งสามนาย ฝ่ายกองทัพพระมหามนตรี พระราชวรินทร์ก็ยกเข้าตีค่าย ด่านขุนทด และพระยาวรวงศาธิราชต่อรบต้านทานเป็นสามารถรบกัน อยู่เป็นหลายวัน พลข้าหลวงจึงเข้าหักเอาค่ายข้าศึกได้ และพระยา วรวงศาธิราช ก็แตกพ่ายหนีไป ณ เมืองเสียมราบแดนกรุงกัมพูชาธิบดี จึงดำรัสให้พระมหามนตรี พระราชวรินทร์ ยกติดตามไปตีเมืองเสียม ราบได้ แต่พระยาวรวงศาธิราชนั้นหนีศูนย์ไปหาได้ตัวไม่ จึงเลิกทัพ กลับมาเฝ้าณเมืองนครราชสีมา ฝ่ายกรมหมื่นเมพพิพิธได้ทราบว่า เสียพระยาทั้งสามแล้วก็ตก พระทัยมิได้ตั้งอยู่สู้รบ พาพรรคพวกหนีไปจากเมืองพิมายจะขึ้นไป แดนกรุงศรีสัตนาคนหุต จึงขุนชะนะชาวเมืองนครราชสีมาไปติด ตามจับกรมหมื่นเทพพิพิธได้กับทั้งบุตรภรรยา คุมเอาตัวจำมาถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดตั้งขุนชะนะให้เป็นพระยากำแหงสงคราม ครองเมืองนครราชสีมา พระราชทานเครื่องยศ และบำเหน็จรางวัล เป็นอันมากสมควรแความชอบ แล้วเสด็จเลิกทัพหลวงกลับยังกรุง ธนบุรี จึงให้เอาตัวกรมหมื่นเทพพิพิธเข้ามาหน้าพระที่นั่ง และกรม เทพพิพิธถือตัวอยู่มิได้ถวายบังคมจึงดำรัสว่า ตัวเจ้าบุญวาสนาบารมี มิได้ ไปอยู่ที่ใดก็พาพวกผู้คนที่นับถือพลอยพินาศฉิบหายที่นั้น ครั้นจะเลี้ยงเจ้าไว้ ก็จะพาคนที่หลงเชื่อถือบุญพลอยล้มตาย เสียด้วยอีก เจ้าอย่าอยู่เลย จงตายเสียครั้งนี้ทีเดียวเถิด อย่า ให้เกิดจลาจลในแผ่นดินสืบไปข้างหน้าอีกเลย แล้วดำรัสสั่งให้ เอาตัวกรมหมื่นเทพพิพิธไปประหารชีวิตเสีย จึงทรงพระกรุณาโปรด ปูนบำเหน็จตั้งพระราชวรินทร์ ผู้พี่เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางพระ ตำรวจฝ่ายขวา ตั้งพระมหามนตรีผู้น้องชายเป็นพระยาอนุชิตราชา จางวางพระตำรวจฝ่ายซ้ายสมควรแก่มีความชอบในการสงครามนั้น ครั้นถึง ณวันอังคาร เดือนอ้าย แรมสี่ค่ำปีชวด สัมฤทธฺศกเพลา เช้าโมงเศษเสด็จออกณท้องพระโรง พร้อมด้วยท้าวพระยามุขมนตรี ทั้งหลายผู้ใหญ่ผู้น้อย เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยอันดับ จึงมี พระราชดำรัสประภาษด้วยเรื่องคดี จีนแสงซื้อเอาทองพระพุทธรูปไป ++++++++++++++49++++++++++++++++ ลงสำเภา ตรัสสั่งให้ลูกขุนปรึกษาลงโทษ ในขณะนั้นบังเกิดอัศจรรย์ แผ่นดินไหว อยู่ช้านานประมาณสองโมงเศษ ในปีชวดสัมฤทธิศกนั้น ฝ่ายเจ้าพระพิษณุโลกเรือง เมื่อมีชัย ชำนะแก่ข้าศึกฝ่ายใต้แล้ว ก็มีน้ำใจกำเริบถือตัวว่ามีบุญญาธิการมาก จึงตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดิน รับพระราชโองการอยู่ได้ประมาณ เจ็ดวัน ก็บังเกิดวัณโรคขึ้นในคอถึงพิราลัย จึงพระอินทร์อากรผู้น้องก็กระทำ ฌาปนกิจปลงศพแล้ว ก็ได้ครองเมืองพิษณุโลกสืบไป แต่หา ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าไม่ ด้วยกลัวจะเป็นจัญไรเหมือนพี่ชายซึ่งตายไปนั้น ฝ่ายเจ้าพระฝางรู้ข่าวว่าเจ้าพระพิษณุโลกเรือง ถึงพิราลัยแล้ว จึงยกกองทัพลงมาตีเมืองพระพิษณุโลกอีก ให้ตั้งค่ายล้อมเมืองทั้ง สองฟากน้ำและพระอินทร์เจ้าเมืองพระพิษณุโลกใหม่นั้นฝีมืออ่อน มิได้ แกล้วกล้าในการสงครามต่อรบต้านทานอยู่ได้ประมาณสามเดือน ชาว เมืองไม่สู้รักใคร่นับถือ ก็เกิดไส้ศึกขึ้นในเมือง เปิดประตูเมืองรับข้า ศึกในเพลากลางคืนทัพพระฝางก็เข้าเมืองได้ จับตัวพระอินทร์เจ้าเมือง พระพิษณุโลก เจ้าพระฝางให้ประหารชีวิตเสีย แล้วเอาศพขึ้นประจาน ไว้ในเมือง จึงให้เก็บเอาทรัพย์สิ่งของทองเงินต่งๆ ของเจ้าเมืองกรม การ และชาวเมืองทั้งปวงได้เป็นอันมาก แล้วให้ขนเอาปืนใหญ่น้อย และกวาดต้อนครอบครัวอพยพชาวเมืองพระพิษณุโลก ขึ้นไปยังเมือง สว่างคบุรี แล้วก็เลิกทัพกลับไปเมือง ขณะนั้นบรรดาหัวเมืองเหนือทั้ง ปวงนั้น ก็เป็นสิทธิ์แก่เจ้าพระฝางสิ้น และประชาชนชาวเมืองพระพิษ ณุโลกเมืองพิจิตรที่แตกหนีพาครอบครัวอพยพลงมาพึ่งพระบรมโพธิ สมภาร ณกรุงธนบุรีก็เป็นอันมาก ลุศักราช ๑๑๓๑ ปีฉลูเอกศก ถึงณวันเสาร์เดือนห้าขึ้นสองค่ำ เพลากลางคืนดึกประมาณสองยาม บังเกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหวอีก ครั้งหนึ่ง แต่ไหวน้อยกว่าครั้งก่อน ในปีฉลูเอกศพนั้น ฝ่ายข้างมลาวประเทศกรุงศรีสัตนาคนหุ กับเมืองหลวงพระบางเป็นอริแก่กัน พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต เกรง เมืองหลงพระบางจะยกทัพมาตีเอาเมือง จึงแต่งราชบุตรี ชื่อ เจ้าหน่อ เมือง ให้ขุนนางนำเอาไปถวายพระเจ้าอังวะ กับทั้งเครื่องราชบรรณา การ ขอเป็นเมืองขึ้นข้าขอบขัณฑสีมาแก่กรุงรัตนบุระอังวะ ฝ่ายข้างกรุงธนบุรีขณะนั้น มีผู้เป็นโจทก์ฟ้องกล่าวโทษสมเด็จ พระสังฆราชว่า แต่ครั้งอยู่ในค่ายพระนางกองโพธิ์สามต้นนั้น ได้คิด อ่านกับพระนายกอง บอกให้เร่งรัดเอาทรัพย์แก่ชาวเมืองญึ่ตกอยู่ใน ค่ายส่อว่าผู้นั้นๆ มั่งมีมีทรัพย์มาก ครั้นกราบทูลพระกรุณาขึ้นตามคำ โจทก์ฟ้อง จึงดำรัสให้พระยาพระเสด็จชำระ ถามสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชไม่รับ จึงโปรดให้พิสูจน์ลุยเพลิงชำระตัวให้บริสุทธิ์ เห็นความจริง และสมเด็จพระสังฆราชแพ้แก่พิสูจน์เพลิง จึงดำรัส ให้สึกเสีย อนึ่งสามเณรศิษย์พระพนรัตก็มาฟ้องกล่าวโทษว่า พระ พนรัตส้องเสพเมถุนธรรมทางเว็จมัคค์แห่งตน จึงโปรดให้พิจารณารับ เป็นสัตย์ให้สึกเสียแล้วเอามาตั้งเป็ฯหลวงธรรมรักษา เจ้ากรมสังฆการี ครั้นถึงณวันอาทิตย์เดือนสามแรมหกค่ำ แขกเมืองลาวเมือง หล่มศักดิ์ลงมาสู่พระบรมโพธิสมภาร นำเอาช้างช้างหนึ่ง ม้าห้าม้ามา ทูลเกล้าฯ ถวายขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา อนึ่งในปลายปีฉลูเอกศพนั้น บังเกิดทุพภิกขภัยเข้าแพง เข้าสารเป็นเกวียนละสองชั่ง อาณา ประชาราษฎรขัดสนกันดานด้วยอาหารนัก จึงทรงพระกรุณาสั่งให้ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยพร้อมกันทำนาปรังทุกแห่ง ทุกตำบล ครั้นถึงณวันจันทร์เดือนสามแรมสิบสี่ค่ำ กรมการเมืองจันทบุรี ส่งหนังสือบอกเข้ามาว่า กองทัพเมืองพุทไธมาศ จะยกเข้ามาตีกรุง เทพมหานคร จึงโปรดให้พระยาพิชัยจีนเป็นที่โกศาธิบดีให้ลงไปตั้ง ค่ายณพระประแดง และปากน้ำเมืองสาครบุรี เาองสมุทรสงคราม และ ข่าวทัพญวนนั้นก็สงบไป หายกเข้ามาตีกรุงเทพมหานครไม่ และใน ปีฉลูเอกศพนั้น บังเกิดหนูมากเข้ากินเข้าในยุ้งฉางสิ่งของทั้งปวง ต่างๆ จึงมีรับสั่งให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาท และราฎษรทั้งหลายดัก หนูส่งแก่กรมพระนครบาล ทุกๆวันหนูก็สงบเสื่อมศูนย์ไป อนึ่งซึ่งพระขัตติยวงศ์ครั้งกรุงเก่านั้น บรรดาเจ้าหญิงทรงพระ กรุณาโปรดเลี้ยงไว้ในพระราชวัง และเจ้าฟ้าสุริยา เจ้าฟ้าจันทวดี สองพระองค์นั้น ดับศูนย์ สิ้นพระชนม์ ยังอยู่แต่เจ้าฟ้าพินทวดี พระองค์ เจ้าฟักทอง พระองค์เจ้าทับทิม ซึ่งเรียกว่าเจ้าครอกจันทบุรีนั้น และเจ้า มิตรบุตรีกรมพระราชวังโปรดให้ชื่อเจ้าประทุม หม่อมเจ้ากระจาดบุตรี กรมหมื่นจิตรสุนทร โปรดให้เจ้าบุบผา กับหม่อมเจ้าอุบลบุตรีกรมหมื่น เทพพิพิธ หม่อมเจ้าฉิมบุตรีเจ้าฟ้าจิตร ทั้งสี่พระองค์นี้ทรงพระ กรุณาเลี้ยงเป็นห้าม ถึงวันจันทร์เดือนเจ็ดแรมค่ำหนึ่ง ลุศักราช ๑๑๓๑ ปีฉลูเอกศก หม่อมเจ้าอุบลบุตรีกรมหมื่นเทพพิพิธ หม่อมเจ้าฉิมบุตรีเจ้าฟ้าจิตร กับนางละครสี่คน เป็นชู้กับฝรั่งมหาดเล็กสองคนพิจารณาเป็นสัตย์ แล้ว สั่งให้ฝีพายทะนายเลือกไปทำชำเราประจาน แล้วตัดแขน ตัด ศีรษะผ่าอก ทั้งชายทั้งหญิง อย่าให้ใครดูเยี่ยงกันสืบต่อไป ในปีนั้นทรงพระกรุณาตั้งสมเด็จพระพันปีหลวง เป็นกรมพระ เทพามาตย์ตามโบราณราชประเพณี และโปรดตั้งเจ้าครอกหอกลาง พระมเหสีเดิม เป็นกรมหลวงบาทบริจาริก และตั้งพระเจ้าหลานเธอ สามพระองค์เป็นเจ้าราชินิกูล ชื่อเจ้านราสุริยวงศ์องค์หนึ่ง เจ้าราม ลักษณ์องค์หนึ่ง เจ้าประทุมไพรจิตรองค์หนึ่ง และพระเจ้าลูกเธอใหญ่ พระองค์เจ้าจุ้ยกับพระเจ้าหลานเธอ เจ้าแสง เจ้าบุญจันทร์ สองพระ องค์นั้น ยังหาได้พระราชทานพระนามไม่ แล้วทรงคิดราชการซึ่งจะเกณฑ์กองทัพ ยกกองทัพออกไปตี เมืองนครศรีธรรมราช พอข้างกัมพุชประเทศ นักพระองค์ตน ซึ่ง ชื่อพระอุทัยราชา ไปขอทัพญวนมาตีเมืองพุทไธเพ็ชร นักพระรามา ธิบดีผู้ครองเมืองสู้รบมิได้ ก็พาสมัครพรรคพวกครอบครัว อพยพหนีเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารณกรุงธนบุรี จึงมีพระราชดำรัส ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยาอนุชิตราชา ยกกองทัพพลสองพัน ไปทางเมืองปราจีนทัพหนึ่ง ไปตีนักพระอุทัยราชาคืนเอาเมือง พุทไธเพ็ชร ให้แก่นักพระรามาธิบดีจงได้ และท้าวพระยานายทัพ นายกองทั้งสองทัพ ก็กราบลถวายบังคมลายกกองทัพสรรพด้วยช้าง ม้าเครื่องสรรพศาสตราวุธไปทั้งสองทาง ตามพระราชกำหนด แล้วเกณฑ์กองทัพโปรดให้เจ้าพระยาจักรีแขก ซึ่งเป็นหลวง นายศักดิ์อยู่ก่อนนั้นเป็นแม่ทัพ กับพระยายมราช พระยาศรีพิพัฒ พระยาเพ็ชรบุรี ถือพลห้าพัน พร้อมด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธ ยกไปตีเมืองนครศรีธรรมราชชอีกทัพหนึ่ง ่เจ้าพระยาจักรีและท้าวพระ ยา นายทัพนายกองทั้งปวงก็กราบถวายบังคมลายกกองทัพไปทาง เมืองเพ็ชรบุรี ไปถึงเมืองปะทิวชาวเมืองปะทิวเมืองชุมพร ยกครอบครัวหนีเข้าป่าไปสิ้น และนายมั่นคนหนึ่งพาสมัคร พรรคพวกเป็นอันมากเข้ามาหาท่านแม่ทัพ ขอสวามิภักดิ์ เป็นข้าราชการ จึงบอกเข้ามาให้กราบทูล จึงโปรดให้มีตราตั้งออก ไปให้นายมั่น เป็นพระชุมพรให้เกณฑ์เข้ากองทัพด้วย ครั้นยกออก ไปถึงแดนเมืองไชยา หลวงปลัดเมืองไชยาก็พาไพร่พลมาเข้าสวา มิภักดิ์ จึงบอกเข้ามาให้กราบทูลอีก โปรดให้มีตราตั้งออกไปให้ หลวงปลัดเป็นพระยาวิชิตภักดีเจ้าเมืองไชยา ให้เกณฑ์เข้าบรรจบ กองทัพ กองทัพก็ยกออกไปตั้งอยู่ณเมืองไชยา ฝ่ายเจ้านครศรีธรรมราชได้ทราบข่าวศึก จึงเกณฑ์กองทัพให้ ขุนนางเมืองนคร ยกออกมาตั้งค่ายรับอยู่ณตำบลท่าหมาก และ กองทัพกรุงยกข้ามแม่น้ำบ้านดอนไปถึงค่ายท่าหมาก ได้รบกับทัพ เมืองนครเป็นสามารถ พระยาเพ็ชรบุรี พระยาศรีพิพัฒตายในที่รบ แต่หลวงลักษณมนาบุตรเจ้าพระยาจักรีแม่ทัพนั้นข้าศึกจับเป็นไปได้ง เจ้าพระยาจักรีก็ให้ล่าทัพถอยมาตั้งอยู่ณเมืองไชยา และพระยายมราชจึงบอกกล่าวโทษเข้ามาว่า เจ้าพระยาจักรี เป็นกบฎมิเต็มใจทำราชการสงคราม สมเด็๗พระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรง ทราบในหนังสือบอกนั้น ก็ทรงพระวิจารณ์ด้วยพระปรีชาญาณตรัส ทราบเหตุว่า นายทัพนายกองเหล่านี้ทำสงครามไปไม่ตลอดแล้วจึงเกิด วิวาทแก่กัน และการศึกเมืองนครศรีธรรมราชครั้งนี้เป็นศึกใหญ่ แต่ กำลังเสนาหบดีเห็นจะทำการไม่สำเร็จเป็นแท้ จำจะต้องยกพยุหโยธา ทัพหลวงไปเอง จึงจะได้เมืองนครศรีธรรมราช จึงดำรัสให้ จัดแจงทัพเรือพร้อมด้วยพลรบหมื่นหนึ่ง พลกรรเชียงหมื่นหนึ่ง และ เครื่องศาสตราวุธปืนใหญ่น้อยทั้งปวงให้สรรพ ครั้นถึงวันมหาพิชัยฤกษ์ ในอาษาฒมาสกาลปักษ์ดิถีจึงเสด็จ ทรงเรือพระที่นั่งสถุวรรณพิชัยนาวาท้ายรถ ยาวสิบเอ็ดวา ปากกว้าง สามวาเศษ พลกรรเชียงยี่สิบเก้าคน พร้อมด้วยเรือรบท้าวพระยา ข้าทูลละอองธุลีพระบาทนายทัพนายกองทั้งปวง โดยเสด็จพระราช ดำเนิรตามกระบวนพยุหโยธาหน้าหลัง เสด็จกรีธานาวาทัพหลวง ออกจากกรุงธนบุรี ไปทางชลมารคออกปากน้ำเมืองสมุทรสงคราม ตกถึงท้องทะเล ครั้นณวันอาทิตย์เดือนเก้าแรมสามค่ำ เพลาสามโมงเช้าถึง ตำบลบางทะลุ บังเกิดพายุคลื่นลมหนัก และเรือรบข้าราชการใน กองหลวงและกองหน้าหลัง บ้างล่ม บ้างแตก บ้างเข้าจอก แอบ บังอยู่ในอ่าว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึงดำรัสให้ปลูกขึ้นสูง เพียงตาบนฝั่ง ให้แต่งตั้งเครื่องกระยาสังเวยบวงสรวงเทพารักษ์ อันพิทักษ์ท้องพระมหาสมุทรให้จุดธูปเทียนทำสักการบูชาแล้วทรง ตั้งพระสัตยาธิษฐานเอาคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง กับทั้งพระบารมี ซึ่งทรงบำเพ็ยญมาแต่บุเรชาติ และในปัจจุบันขอจงบันดาลให้คลื่น ลมสงบลงในบัดนี้ด้วยเดชะอำนาจพระรตาชกฤดาธิการอภินิหารบารมี เป็นมหัศจรรย์ คลื่นลมนั้นก็สงบราบคาบเห็นประจักษ์ในขณะทรง พระสัตยาธิษฐาน และเรือพระที่นั่ง และเรือข้าราชการทั้งหลาย ล้วนเป็นเรือรบน้อยๆ ก็ไปได้ ในมหาสมุทรหาอันตรายมิได้ ครั้นเสด็จถึงเมืองไชยา จึงให้จอดประทับณท่าพุมเรียงเสด็จ พระราชดำเนิรขึ้นไปประทับแรมอยู่บนพลัลบพลา ซึ่งกองทัพหน้าตก แต่งไว้รับเสด็จ เพื่อจะให้เป็นศรีสวัสดิมงคลแก่เมืองไชยานั้นแล้ว ดำรัสให้กองทัพพระพิชัยราชานั้น เข้าบรรจบทัพเจ้าพระยาจักรี เร่งรีบ ยกไปทางยกให้ตีเอาค่ายทัพเมืองนครให้แตกจงได้ และกองทัพ บกก็กราบถวายบังคมลายกไปตามพระราชกำหนด จึงเสด็จลง เรือพระที่นั่ง ให้ยาตรานาวาทัพโดยทางทะเลสืบไป ถึงตำบล ปากทางคูหาได้ทอดพระเนตรเห็นดาวหางขึ้นข้างทักษิณทิศ เป็น ทุนนิมิตต์ปรากฎแก่เมืองนครศรีธรรมราชสำแดงเหตุอันจะถึงกาล พินาศปราชัย ก็มีพระราชหฤทัยโสมนัส จึงดำรัสเร่งกองทัพ เรือทั้งปวงให้ รีบขึ้นไปให้ถึงปากน้ำเมืองนครโดยเร็ว ฝ่ายกองทัพพระยายมราชเป็นกองหน้า ยกข้ามท่าข้ามไปถึง ลำพูนเข้าตีค่ายกองทัพเมืองนคร ซึ่งตั้งรับอยู่ณท่าหมากนั้นแตก พ่ายหนี จึงยกติดตามไปตั้งค่ายอยู่ณเขาศีรษะช้างพอทัพหลวงถึง ปากน้ำเมืองนคร ในวันพฤหัสบดีเดือนสิบแรมหกค่ำเพลาเช้าสาม โมงเสด็จยาตราทัพขึ้นบกยกเข้าตีเมืองนครศรีธรรมราช ฝ่ายเจ้านครแต่งให้เจ้าอุปราช ยกกองทัพออกมาตั้งรับที่ ท่าโพก็พ่ายแพ้แก่ทัพหลวงแตกหนีเข้าเมือง เจ้านครตกใจกลัว พระเดชานุภาพเป็นกำลังมิได้ ตั้งอยู่สู้รบทิ้งเมืองเสีย พาสมัครพรรค พวกญาติวงศ์ออกจากเมืองหนีไปในเพลานั้น และนายคงไพร่ใน กองพระเสนาภิมุข เห็ฯช้างพลายเพ็ชรที่นั่งเจ้านครผู้เครื่องสรรภ ปล่อยอยู่จึงจับเอามาถวาย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นทรง ช้างที่นั่งพลายเพ็ชรเสด็จเข้าเมืองนครศรีธรรมราชได้โดยง่าย นายทัพนายกองทั้งปวงนั้น ตามเสด็จมาทันบ้างไม่ทันบ้าง ขณะเมื่อรบกันกับเจ้าอุปราช เสียแต่นายเพ็ชรทะนายเลือก ถูกปืนตายคนเดียว พลข้าหลวงจับได้ราชธิดาและญาติวงศ์ นาง สนมเหล่าชะแม่พนักงาน บริวารของเจ้านครกับทั้งเจ้าอุปราช และ ขุนนางทั้งปวง และได้ทรัพย์สิ่งของทองเงินเครื่องราชูปโภควัตถา บังการาภรณ์ต่างๆเป็นอันมากนำมาถวาย ครั้นท้าวพระยานายทัพ นายกองทัพบกทัพเรือมาถึงพร้อมกันแล้ว จึงมีพระราชดำรัสภาค โทษไว้ครั้งหนึ่ง ซึ่งตามเสด็จมิได้ทันในขณะงานพระราชชสงครามนั้น ฝ่ายเจ้านครพาราชบุตรราชธิดาวงศานุวงศ์ และพระราชทรัพย์ เก็บไปได้บ้าง หนีลงเรือไปณเมืองสงขลา และหลวงสงขลาพาหนี ต่อไปถึงณเมืองเทพาเมืองตานี จึงมีพระราชดำรัสให้เจ้าพระยาจักรี พระยาพิชัยราชาเร่งยก ทัพเรือทัพบกติดตามไปจับัวเจ้านครให้จงได้ ถ้ามิได้จะลงพระราช อาชญาถึงสิ้นชีวิต ครั้นถึงณวันศุกร เดือนสิบเอ็ดขึ้นหกค่ำ เพลากลางคืนสอง ท่มเศษพระยาทสมเด็จบรมบพิตรพุทธเจ้าอยู่หัว จึงเสด็จพระราช ดำเนิรโดยขบวนนาวาพยุหะจากเมืองนครศรีธรรมราชไปโดยทางมหา สาครสมุทร ประทับรอนแรมไปตามลำดับชลมารค จนถึงเมือง สงขลาเสด็จขึ้นประทับอยู่ในเมือง ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีแม่ทัพเรือ พระยาพิชัยราชาแม่ทัพบกยก ติดตามเจ้าณนคไปถึงเมืองเทพา จับจีนจับแขกมาไต่ถามได้ ความว่า เจ้านครหนีไปเมืองตานี กับพระยาพัทลุง และหลวงสงขลา และแม่ทัพทั้งสองนาย จึงให้มีหนังสือไปถึงพระยาตานีศรีสุลต่าน ว่า ให้ส่งตัวเจ้านครกับพรรคพวกมาถวายให้สิ้น แม้นมิส่งจะยก กองทัพไปตีเมืองตานี พระยาตานีกลัวบ้านเมืองจะเป็นอันตราย จงส่งตัวเจ้านคร พระยาพัทลุง หลวงสงขลา เจ้าพัด เจ้ากลาง กับทั้งบุตรภรรยา มาให้แก่ข้าหลวง ข้าหลวงก็จำคนโทษทั้งนั้นใส่เรือรบมาถวายณ เมืองสงขลา ครั้นวันศุกรเดือนสิบสองขึ้นสิบสองค่ำ จึงเสด็จพระราช ดำเนิรนาวาทัพหลวงกลับมายังเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นณวันศุกรเดือนสิบสองขึ้นสองค่ำปีฉลูเอกศก เพลากลาง คืนเจ็ดทุ่มเกิดเพลิงไหม้ ในเมืองนครตำบลนายก่าย สมเด็จพระพุทธ เจ้าอยู่หัวทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนิรไป ให้ข้าทูลละอองธุลี พระบาทดับเพลิงจึงทรงพระกรุณาเรียกให้ช้างมาทะลายเรือน ฝ่ายกรม ช้างมามิทันเสด็จให้ลงพระราชอาชญา คนละสามสิบทีบ้าง ห้าสิบที บ้าง ตามบรรดาศักดิ์ผู้น้อยผู้ใหญ่ ฝ่ายเจ้าราชินิกูลและข้าทูล ละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ซึ่งตามเสด็จไม่ทันนั้นให้ลงพระราช อาชญาทุกคนๆ ครั้นสำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว จึงทรงพระกรุ ณาได้มีกฎประกาศไปทั่วทั้งกองทัพ ห้ามมิให้ไพร่พลไทยจันทั้งปวง ฆ่าโคกระบือและข่มเหงสมณะชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรให้ ได้ความเดือดร้อน แล้วทรงพระกรุณาให้ขนเอาเข้าเปลือกลง บรรทุกสำเภาเข้ามาพระราชทานบุตรภรรยาข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหารพลเรือน ที่ตามเสด็จไปณเมืองนครศรีธรรมราชครั้งนั้น และครั้งนั้นพวกฝีพายทะนายเลือกซึ่งตามเสด็จ ได้ทรัพย์สิ่ง สินเป็นอันมาก ทรงพระกรุณาให้เล่นให้สนุก และให้กำถั่วหน้าพระ ที่นั่งกระดานละห้าสิบชั่งบ้าง ร้อนชั่งบ้างสนุกปรากฎยิ่งกว่าทุกครั้ง แล้วทรงพระราชศรัาธาให้สังฆการีธรรมการ ไปนิมนต์พระ ภิกษุเถรเณรรูปชีทั่วทั้งในเมืองนอกเมืองมาพร้อมกัน ทรงถวาย เข้าสารองค์ละถัง เงินตราองค์ละบาท ที่ขาดผ้าสะบงจีวรก็ถวาย ทุกๆองค์ แล้วทรงแจกยาจกวนิพพกทั้งปวงเสมอคนละสลึงทุกๆวัน อุโบสถ แล้วเกณฑ์ให้ข้าราชการต่อเรือรบเพิ่มเติมขึ้นอีกร้อยลำ เศษสำหรับจะได้ใช้ราชการทัพศึกไปภายหน้า และทรงพระกรุณา ให้จ้างพวกข้าทูลละอองธุลีพระบ่ททหารพลเรือนให้บูรณปฏิ สังขรณ์พระอุโบสถวิหารการเปรียญ และพระระเบียงศาลากุฎีในพระ อารามใหญ่น้อยเป็นหลายพระอาราม สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก แล้วให้มีการมหรสพสมโภชเวียนเทียนพระมหาธาตุเจดีย์ใหญ่ใน เมืองนครนั้นครบสามวัน ครั้นเสร็จการสมโภชพระบรมสารีริกธาตุแล้ว จึงดำรัสให้ เสนาบดีและลูกขุนปรึกษาโทษเจ้านคร และเสนาบดีปรึกษาโทษ พร้อมกันวา โทษถึงประหารชีวิต ทรงพระกรุณาโปรดว่าเรายังไม่ เห็นด้วย ด้วยเจ้านครยังมิได้เป็นข้าราชการแห่งเรา ฝ่ายเจ้านครก็ ตั้งตัวเป็นใหญ่ ฝ่ายเราก็ถือว่าเราเป็นใหญ๋ไม่ง้องอนแก่กันจึงได้มา รบสู้กันทั้งนี้ถ้าและเจ้านครทำราชการอยู่ด้วยเราแล้วคิดกบฏต่อไป แม้นเสนาบดีปรึกษาโทษถึงตายเราจะเห็นด้วย แต่ว่าให้ยกไว้ให้จำ เจ้านครเข้าไปให้ถึงกรุงก่อนจึงปรึกษากันใหม่ แล้วทรงพระกรุณาโปรดตั้งเจ้าหลานเธอเจ้านราสุริยวงศ์ไว้ ครองเมืองนครศรีธรรมราช และให้พระยาราชสุภาวดี กับพระศรี ไกรลาส อยู่ช่วยราชการแล้วทรงพระกรุณาพระราชทานโอวาทา นุสาสน์สั่งสอนไว้ ว่าให้ประพฤติปรนนิบัติเลี้ยงดูเสนาบดี สมณ พราหมณาจารย์อาณาประชาราฎรทั้งปวงโดยยุตติธรรมตามโบราณ ราชประเพณีกษัตริย์แต่ก่อน แล้วทรงพระกรุณาจัดแจงตั้งแต่งผู้รั้ง กรมการแขวงเมืองนครไว้พร้อมทุกเมือง แล้วดำรัสให้ราชยัณฑิตจัดพระไตรปิฎกลงบรรทุกเรือเชิญเข้า มาณกรุง แต่พอจำลองได้ทุกๆพระคัมภีร์แล้ว จึงจะเชิญออกมาส่ง ไว้ตามเดิม อนึ่งให้สังฆการีนิมนต์พระอาจารย์วัดพนัญเชิง ซึ่งหนี พะม่าออกมา อยู่ณเมืองนครนั้น ให้รับเข้ามากรุง กับทั้งพระสงฆ์ สามเณรศิษย์ทั้งปวงด้วย จึงดำรัสให้ตระเตรียมกองทัพจะกลับคืนยังกรุงธนบุรี ครั้น ถึงณเดือนสี่ปลายปีฉลูเอกศกนั้น เพลาเช้าเมื่อเสด็จกลันนั้น สมณ พราหมณาประชาราษฎรยาจกวนิพพก ชาวเมืองนครศรีธรรมราชทั้ง ปวงมาพร้อมกันถวายชัยมงคล มีจักษุนองไปด้วยน้ำตาว่า แต่นี้เรา ทั้งปวงเป็นคนอนาถาหาที่พึ่งมิได้แล้ว เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ยังเสด็จอยู่ทรงพระกรุณาพระราชทานเงินผ้าโภชนาหาร เราได้รับ พระราชทานเลี้ยงชีวิตเป็นสุขทุกๆวันพระอุโบสถ ตั้งแต่นี้ไปเราจะ เป็นคนอนาถาแล้ว ชาวเมืองครั้งนั้นสลดระทดใจ ควรจะสังเวชนักหนา สมเด็ฯพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จราชดำเนิรกลับมาครั้งนั้น ด้วย พระกฤดานุภาพบารมี ก็เสด็จมาได้โดยสะดวกหาภัยอันตรายมิได้ ประทับรอนแรมมาโดยลำดับ ครั้นถึงเดือนสี่จุลศักราช ๑๑๓๑ ปีฉลู เอกศก เพลาเช้าสามโมงเศษถึงเมืองธนบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดตั้งพระอาจารย์ศรีเป็นสมเด็จพระสังฆราช และพระไตรปิฎกซึ่งเชิญเข้ามาแต่เมืองนครนั้นทรงพระกรุณาให้จ้าง ช่างจารพระไตรปิฎก พระราชทานค่าจ้างผูกหนึ่งเป็นเงินหนึ่งบาท เข้าถังหนึ่ง เงินค่ากับเข้า วันละเฟื้อง หมากพลูวันละซอง บุหรี่ วันละสิบมวน ของกินกลางวันเสมอทุกวัน เสมอทุกผูก ทุกคัมภีร์จนจบพระไตรปิฎก สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก ครั้น ลงรักปิดทองทานสำเร็จแล้ว ทรงพระกรุณาให้เชิญพระไตรปิฎก ฉะบับ กลับไปส่งเสียณเมืองดังเก่า และซึ่งเจ้านครนั้นก็พระ ราชทานโทษ ให้ถอดออกจากพันธนาการ แล้วให้รับพระราชทาน น้ำพิพัฒน์สัตยา อยู่เป็นข้าราชการ พระราชทานบ้านเรือนที่ อาศัยให้อยู่เย็นเป็นสุข จำเดิมแต่นั้นมาพระพุทธศาสนาก็ค่อยวัฒนาการ รุ่งเรือง เฟื่องฟูขึ้นเหมือนแต่ก่อน และสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ เจริญพระราชกฤดาธิคุณไพบูลย์ภิยโยภาพยิ่งขึ้นไป ไพร่ฟ้าข้า แผ่นดินก็ค่อยมีความผาสุกสนุกสบายบริบูรณ์ คงคืนขึ้นเหมือนเมื่อ ครั้งแผ่นดินกรุงเก่ายังปรกติดีอยู่นั้น ผ่ายกองทัพซึ่งยกทัพไปกับพุชประเทศนั้น ทัพพระยา อภัยรณฤทธิ์ พระยาอนุชิต ยกจากเมืองนครราชสีมา ไปตี เมืองเสียมราชได้ ทัพพระยาโกศาลาดยกจากเมืองปราจีนไปตีได้ เมืองปัตบองตั้งอยู่ที่นั้น นักพระองค์ตนซึ่งเป็นพระอุทัยราชายก กองทัพเรือมาทางทะเลสาบ จะมาตีเมืองเสียมราบคืน พระยาอภัย รณฤทธิ์ พระยาอนุชิตราชา จัดแจงได้เรือที่เมืองเสียมราบยกทัพ เรือออกรบกับทัพเขมรในทะเลสาบ ได้สู้รบกันหลายเพลา พอได้ ข่าวเลื่องลือออกไปว่า สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกไปตี เมืองนครศรีธรรมราช บัดนี้ทิวงคตเสียแล้ว พระยา อภัยรณฤทธิ์ พระยาอนุชิตราชาก็ตกใจ เกรงแผ่นดินจะ เกิดจลาจลขึ้นอีก จึงเลิกทัพกลับมา แต่พระยาอภัยรณฤทธิ์ เกรงความจะไม่แน่ จึงรอทัพอยู่ณเมืองนครราชสีมาก่อน พระยา อนุชิตราชานั้น รีบยกทัพมาจนถึงเมืองลพบุรี จึงรู้ความ ตระหนัก ว่าเสด็จยังอยู่หาอันตรายมิได้ บัดนี้ตีเมืองนครศรี ธรรมราชได้ ทัพหลวงจะกลับอยู่แล้ว จึงตั้งรออยู่ณเมือง ลพบุรีมิได้กลับมาถึงกรุง ฝ่ายพระยาโกศาแจ้งว่าทัพทางเรือเสียมราบเลิกถอยไป แล้ว ก็ให้ลาดทัพกลับมาณเมืองปราจีน แล้วบอกกล่าวโทษ เข้ามาณกรุงว่า ทัพพระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยาอนชิตราชา เลิกหนีมาก่อน ครั้นจะอยู่แต่ทัพเดียว ก็เกรงทัพเขมรจะยกทุ่ม เข้ามามากจะเสียที เห็นจะเหลือกำลังจึงลาดถอยมาบ้าง ครั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถึงกรุง ได้ทรงทราบ หนังสือบอกพระยาโกศาธิบดี แล้วได้ทราบข่าวว่าพระยาอนุชิตราชา ยกกลับมาตั้งอยู่ณเมืองลพบุรีก็ทรงพระโกรธ จึงดำรัสใช้ตำรวจ ให้ไปหาตัวพระยาอนุชิตราชาลงมาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า ใช้ไป ราชการสงครามยังมิได้ ให้หาทัพกลับ เหตุไฉนจึงยกทัพกลับมาเอง ดังนี้ จะคิดเป็นกบฎหรือ พระยาอนุชิตราชจึงกราบทูลพระกรุณาโดยจริงว่า ข่าว ลือออกไปว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จทิวงคตณเมืองนครศรี ธรรมราช ข้าพระพุทธเจ้าเกรงว่า ข้าศึกอื่นจะยกมาชิงเอากรุง ธนบุรี จึงรีบกลับมาหวังจะรักษาแผ่นดินไว้ นอกกว่าพระเจ้าอยู่ หัวแล้ว ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าจะได้ยอมเป็นข้าผู้อื่นนั้นหามิได้เลย เป็นอันขาด เมื่อได้ทรงสดับก็หายพระโกรธ กลับทรงพระโสมนัส ดำรัสสรรเสริญพระยาอนุชิตราชาว่าเออเอ็งเป็นคนสัตย์ซื่อแท้น้ำใจ สมัครเป็นข้าแต่กูผู้เดียว มิได้ยอมเป็นข้าผู้อื่นอีกสืบไป แล้ว โปรดให้มีตราหากองทัพพระยาอภัยรณฤทธิ์ และพระยาโกศาธิบดี กลับคืนมายังพระนคร ลุศักราช ๑๑๓๒ ปีขาลโทศก ถึงณเดือนหก ฝ่ายเจ้า พระฝางซึ่งเป็นใหญ่ในหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหวงนั้น ประพฤติพาล ทุจจริตทุศีลกรรมลามก บริโภคสุรากับทั้งพวกสงฆ์อลัชชี ซึ่ง เป็นนายทัพนายกองทั้งปวงนั้น และชวนกันกระทำมนุสสวิคคห ฆาตกกรรมปาราชิก แล้วยังนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ หาละเพศ สมณะไม่ แล้วเกณฑ์กองทัพให้ลงมาลาดตระเวนตีเอาเข้าปลา อาหาร และเผาบ้านเรือนราษฎรเสียหลายตำบล จนถึงเมืองอุทัย ธานี เมืองชัยนาท และราษฎรหัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งอยู่ใน พระราชอาณาเขตต์ได้ความเคืองแค้นขัดสนนัก กรมการเมือง อุทัยธานี เมืองชัยนาทบอกลงมาให้กราบทูลพระกรุณา ครั้นได้ทรงทราบจึงมีพระราชดำรัส ให้เกณฑ์กองทัพจะ ยกไปปราบอ้ายพวกเหล่าร้ายฝ่ายเหนือให้แผ่นดินราบคาบ จึงโปรด ให้พระยาพิชัยราชาเป็นแม่ทัพถือพลห้าพันสรรพด้วยช้างม้าเครื่อง สรรพาวุธยกไปทางฟากตะวันตกทัพหนึ่ง ขณะนั้นพระยายมราช ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาอนุชิตราชา เลื่อน ที่เป็นเจ้าพระยายมราชให้เป็นแม่ทัพถือพลห้าพัน สรรพด้วยช้าง ม้าเครื่องสรรพาวุธ ยกไปทางฟากตะวันออกทัพหนึ่ง และ ทัพบกทั้งสองทัพเป็นคนหมื่นหนึ่ง ให้ยกล่วงไปก่อน ครั้นถึงณวันเสาร์เดือนแปดแรมสิบสี่ค่ำ เพลาเช้าสามโมง เศษ ได้มหาพิชัยฤกษ์ สมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึง ทรงเรือพระที่นั่งกราบยาวสิบเอ็ดวา พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้า ทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหารพลเรือนไทยจีนทั้งปวงโดยเสด็จ พระราชดำเนิรตามขบวนพยุหยาตราหน้าหลัง และพลโยธาทัพ หลวงหมื่นสองพันโดยกำหนด ครั้งนั้นเข้าแพงถึงเกวียนละสามชั่ง ด้วยเดชะพระบรมโพธิ สมภาร บันดาลให้กำปั่นเข้าสารมาแต่เกาะทิศใต้เป็นหลายลำ ในขณะเมื่อจะยกทัพ จึงทรงพระกรุณาให้รอทัพอยู่ แล้วให้จัด ซื้อเข้าจ่ายแจกให้พลกองทัพจนเหลือเฟือ แล้วได้แจกจ่ายแก่ สมณะชีพราหมณ์ยาจกวนิพพก และครอบครัวบุตรภรรยาช้า ราชการทั้งปวงทั่วกัน แล้วแขกเมืองตรังกานู และแขกเมืองยัก กรา นำเอาปืนคาบศิลาเามาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายถึงสอง พันสองร้อยบอก เป็นพระราชลาภอันวิเศษ จึงให้ยาตรานาวาพยุหะ ทัพจากกรุงธนบุรีไปโดยชลมารค เสด็จประทับรอนแรมอยู่สอง เวร แล้วยกขึ้นไปถึงตำบลชาลวันประทับแรมอยู่เวรหนึ่งรุ่งขึ้น ณวันเสาร์เดือนเก้า แรมสิบสองค่ำ จึงยกไปประทับร้อนณปากพิง ฝ่ายเจ้าพระฝางรู้ข่าวศึก จึงให้หลวงโกศายังเมืองพระ พิษณุโลก ยกกองทัพลงมาตั้งรับอยู่ณเมืองพระพิษณุโลก ครั้น ค่ำลง เพลาประมาณยามเศษ ในวันเสาร์ จึงดำรัสให้กองหน้า ยกเข้าตีเมืองพระพิษณุโลก ก็เข้าเมืองได้ ในกลางคืนวันนั้น และหลวงโกศายังหนีออกจากเมืองขึ้นไปตั้งค่ายรับอยู่ตำลบโทกยัง ไม่ทันได้รบกันก็เลิกหนีไป ครั้นณวันจันทร์เดือนเก้าแรมสี่ค่ำ เพลาเช้าจึงเสด็จเข้า เมืองพระพิษณุโลก นมัสการพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ทรงพระราชศรัทธาเปลื้องภูษาทรงสะพักออกจากพระองค์ ทรง ห่มพระพุทธชินราชเจ้าแล้ว เสด็จประทับแรมอยู่ในเมือง หยุด ท่าทัพบกอยู่เก้าเวร พอกองทัพพระยายมราชซึ่งยกมาทางฟาก ตะวันออกนั้นขึ้นไปถึง จึงพระราชทานเข้าปลาอาหารให้จ่าย แจกกันทั่วแล้ว ดำรัสให้ทัพบกยกรีบขึ้นไปติดเมืองสว่างคบุรี รุ่งขึ้นอีกสองวันกองทัพพระยาพิชัยราชาซึ่งยกมาฟากตะวันตก จึงขึ้น ไปถึง จึงดำรัสให้จ่ายสะเบียงอาหารให้แล้ว ให้ยกรีบขึ้น ไปให้ทันทัพพระยายมราชฟากตะวันออก แล้วตรัสว่าเราจะยก ทัพเรือขึ้นไปบัดนี้ น้ำในแม่น้ำยังน้อยนักตลิ่งยังสูงอยู่ ข้าศึกจะ ได้เปรียบยิงปืนลงมาแต่บนฝั่งถนัด แต่ถ้าว่าไม่ช้าดอกพอทัพบก ยกข้ามแม่น้ำน้อยเสียได้สามวันน้ำก็จะเกิดมากขึ้น ด้วยเดช พระบรมโพธิสมภารเป็นมหัศจรรย์ ครั้นคำรบสามวันน้ำก็เกิด มากขึ้นเสมอตลิ่งบ้างลบตลิ่งบ้าง ประดุจกระแสพระราช ดำรัสไว้นั้น จำเดิมแต่นั้นบรรดานายทัพนายกอง และไพร่พล ทัพบกทัพเรือทั้งปวงได้แจ้งเหตุแล้วก็ยกมือขึ้นถวายบังคมทุกๆคน เอาพระเดชานุภาพเป็นที่พึ่งปกเกล้าฯ มีน้ำใจกล้าหาญมิได้ย่อท้อ ต่อการณรงค์องอาจที่จะรบสู้หมู่ปัจจามิตรข้าศึก ด้วยเห็นบารมี ปรากฎเป็นแท้ ฝ่ายกองทัพพระยายมราช และพระยาพิชัยราชาซึ่งยกขึ้นไป ถึงเมืองสว่างคบุรี ก็ให้ตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ และเมืองสว่างคบุรี นั้นตั้งแต่ระเนียดไม้ขอนสักถมเชิงเทินดินหามีกำแพงไม่ เจ้าพระ ฝางก็เกณฑ์พลทหารขึ้รักษาหน้าที่เชิงเทินรอบเมืองยิงปืนใหญ่ น้อยต่อรบป้องกันเมือง แต่คิดครั่นคร้ามพระเดชานุภาพเป็นกำลัง ขณะนั้นช้างพังช้างหนึ่งอยู่ในเมืองตกลูกเป็นพังเผือกสมพงศ์ และพระเจ้าฝางจึงว่าช้างเผือกนี้ มิได้บังเกิดเป็นของคู่บุญของเรา เกิดเป็นพาหนะสำหรับบุญแห่งท่านแม่ทัพใต้ ซึ่งยกขึ้นมานั้น ก็ยิ่งคิดเกรงกลัวพระบารมียิ่งนัก และสู้รบรออยู่ได้สามวัน เจ้าพระฝางก็พาสมัครพรรคพวกหนีออกจากเมืองในเพลากลางคืนไป ข้างทิศเหนือ พวกทหารก็นำเอาลูกช้างเผือกกับแม่ช้าง พาหนีตามไปด้วย กองทัพกรุงก็เข้าเมืองได้ แล้วแต่งคน ถือหนังสือบอกลงมายังทัพหลวง ณ เมืองพระพิษณุโลก ฝ่ายกองทัพหลวง ถึง ณ วันอาทิตย์ เดือนเก้า แรมเจ็ดค่ำเพลา เช้าสองนาฬิกา ก็เสด็จยกพยุหยาตราจากเมืองพระพิษณุโลก โดยทางชลมารคประทับร้อนแรมไปได้สามเวร พอพบผู้ถือหนัง สือบอกกองหน้าบอกลงมาใจความว่า ได้เมืองสว่างคบุรีแล้ว แต่ อ้ายเรือนพระฝางนั้น พาลูกช้างเผือกซึ่งเกิดในเมืองนั้นพา หนีไป ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงยังให้ติดตามอยู่ จึงเสด็จเร่ง รีบเรือพระที่นั่งไปทั้งกลางวันกลางคืน ถึงที่ประทับพระตำหนัก ค่ายหาดสูงซึ่งกองหน้าตั้งไว้รับเสด็จ ก็เสด็จขึ้นไปประทับแรมอยู่ที่ นั้น แล้วดำรัสสั่งให้นายทัพนายกองเกณฑ์กันให้ติดตามอ้าย เรือนพระฝาง และนางพระยาช้างเผือกให้จงได้ ครั้นณวันอาทิตย์เดือนเก้าแรมสิบสามค่ำ หลวงคชศักดิ์ กับกองพระยาอินทรวิชิต เจ้าเมืองวิเศษชัยชาญ จับได้ นางพระยาเศวตมงคลคชสารตัวประเสริฐ นำมาทูลเกล้าทูลกระ หม่อมถวาย ทรงพระกรุณาพระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พระยา อินทรวิชิต และหลวงคชศักดิ์โดยสมควรแก่ความชอบ ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนสิบขึ้นสิบค่ำ จึงเสด็จยกพยุห ยาตราทัพหลวงไปโดยทางชลมารคถึงตำบลน้ำมืด จึงดำรัสให้ ตั้งด่านทางชั้นในชั้นนอก และเกลี้ยกล่อมอาณาประชาราษฎร ชาวหัวเมืองเหนือทั้งปวง ซึ่งอพยพหนีแตกฉานซ่านเซ็นเข้าป่า ดงไป ให้ออกมาอยู่ตามภูมิลำเนาดุจแต่ก่อน แล้วให้เที่ยว ลาดตระเวนเสาะสืบสาวเอาตัวอ้รายเรือนพระฝางให้จงได้ แล้วเสด็จ พระราชดำเนิรกลับยังพระนครตำหนักค่ายหาดสูง ครั้นรุ่งขึ้นวันเสาร์เดือนสิบแรมห้าค่ำ จึงดำรัสสั่งให้แต่ง กฎประกาศแก่กองทัพยกทัพเรือไทยจีนทั้งปวง ห้ามอย่าให้ ข่มเหงริบเอาทรัพย์สิ่งของของราษฎรชาวบ้าน และฆ่าโคกระบือ สัตว์ของเลี้ยง อนึ่งถ้านายทัพนายกองผู้ใดได้ปืนและช้างพัง พลายใหญ่ได้ศอกได้นิ้วรูปดีและรูปเป็นกลาง ก็ให้ส่งเข้ามาทูล เกล้าทูลกระหม่อมถวาย อย่าให้ใครได้เบีบดบังไว้จะเอาตัวเป็นโทษ ครั้นถึงณวันพฤหัสบดีเดือนสิบเอ็ดขึ้นสองค่ำ มีใบบอกขึ้นไปแต่ กรุงธนบุรีว่า แขกเมืองตานีเข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภารถวาย ดอกไม้เงินไม้ทอง และเมืองยักกราถวายปืนใหญ่ร้อยบอก ครั้นถึงวันจันทร์เดือนสิบเอ็ดขึ้นหกค่ำ ทรงพระกรุณา ให้สืบเสาะจับพระสงฆ์พวกเหล่าร้าย ได้ตัวพระครคิริมานนท์หนึ่ง อาจารย์ทองหนึ่ง อาจารย์จันทร์หนึ่ง อาจารย์เกิดหนึ่ง ล้วน เป็นแม่ทัพอ้ายเรือนพระฝางทั้งสี่รูป แต่พระครูเพ็ชรรัตน์ กับ อ้ายเรือนพระฝางนั้นหาได้ตัวไม่ จึงดำรัสสั่งให้ผลัดผ้าคฤหัสถ์ ทั้งสี่คน แล้วจำคงส่งมาใส่คุกไว้ณกรุง ในวันนั้น ให้นิมนต์พระสงฆ์เมืองเหนือมาพร้อมกันหน้าที่นั่ง และให้หาขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยมาประชุมเฝ้าพร้อมกัน จึงดำรัส ปรึกษาว่า พระสงฆ์บรรดาอยู่ฝ่ายเหนือนี้ เป็ฯพรรคพวกอ้ายเรือน พระฝางทั้งสิ้นย่อมถืออาวุธและปืน รบศึกฆ่าคน ปล้นเอาทรัพย์ สิ่งของ และกินสุราเมรัย ส้องเสพอนาจารด้วยสีกาต้องจตุ ปาราชิกาบัติต่างๆ ขาดจากสิกขาบทในพระพุทธศาสนา ล้วน ลามกจะละไว้ให้คงอยู่ในสมณเพศฉะนี้มิได้ อนึ่งพระสงฆ์ฝ่าย เหนือฝ่ายใต้ก็จะแปลกปลอมปะปนกันอยู่มิรู้ว่าองค์ใดดีองค์ใดชั่ว จะได้ไหว้นบเคารพสักการบูชาให้เป็นเนื้อนาบุญ จะได้ผลานิสงส์ แก่เราท่านทั้งปวง ให้พระสงฆ์ให้การไปแต่ตามสัตย์ตามจริง ถ้าได้ผิดในจตุปาราชิกแต่ประการใดประการหนึ่ง จะพระราชทาน ผ้าคฤหัสน์ผลักสึกออกทำราชการ ที่ไม่รับนั้นจะให้ดำน้ำ พิสูจน์สู้นนาฬิกาสามกลั้น แม้นชะนะแก่นาฬิกาจะให้เป็นอธิการ และพระครูราชาคณะฝ่ายเหนือโดยสมควรแก่คุณธรมที่รู้ แม้น แพ้แก่นาฬิกา จะให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยนแล้วสักข้อมือ มิให้ บวชได้อีก แม้นเสมอนาฬิกา จะถวายผ้าไตรให้บวชใหม่ ถ้าแต่ เดิมไม่รับ ครั้นจะให้ลงดำน้ำพิสูจน์แล้วก็กลับคืนคำว่าได้ทำผิด จะให้ลงพระราชอาชญาประหารชีวิตเสีย อนึ่งพระสงฆ์จะลงดำ น้ำนั้น ให้ตั้งศาลกั้นม่านดาดเพดานผ้าขาว แต่งเครื่องพลีกรรม เทพดาพร้อมแล้ว จึงทรงพระสัตยาธิษฐาน ให้พระบารมีนั้นช่วย อภิบาลบำรุงรักษาพระสงฆ์ทั้งปวง ถ้าภิกษุองค์ใดมิได้ขาด จากสิกขาบทจตุปาราชิก ขอให้พระบารมีของเรา และอาณุภาพ เทพดาอันศักดิ์สิทธิ์ จงมาเป็นสักขีพะยานช่วยอภิบาลบำรุงรักษา พระผู้เป็นเจ้าองค์นั้นอย่าให้แพ้แก่นาฬิกาได้ ถ้าและภิกษุรูปใด ถึงซึ่งศีลวิบัติแล้ว เทพเจ้าจงสังหารให้แพ้แก่นาฬิกาเห็นประ จักษ์แก่ตาโลก แล้วเสด็จทรงพระเก้าอี้อยู่บนที่หาดทราย ให้ พระสงฆ์ลงดำน้ำพิสูจน์ตัวต่อหน้าพระที่นั่ง พลางทรงพระอธิษฐาน ด้วยเดชะพระบรมโพธิสมภาร ครั้งนั้นพระสงฆ์ที่ศีลบริสุทธิ์ ก็ชะนะแก่นาฬิกาบ้าง เสมอบ้าง ที่ภิกษุทุศีลก็แพ้แก่นาฬิกาเป็นอันมาก เสนาบดีก็กระทำตาม รับสั่งโดยสมควรแก่คุณและโทณ แต่ผ้าไตรที่พระสงฆ์พวกแพ้ ต้องสึกนั้น ให้เผาเป็นสมุกไปทาพระมหาธาตุเมืองสว่างคบุรี แล้วทรงพระกรุณาให้เย็นจีวรสะบงให้ได้พันไตร จะบวช พระสงฆ์ฝ่ายเหนือ จึงดำรัสสั่างให้สังฆการีลงมาอาราธนารับพระ ราชาคณะกับพระสงฆ์อันดับณกรุงธนบุรี ๕๐ รูป ขึ้นไปบวชพระสงฆ์ ไว้ณหัวเมืองเหนือทุกไเมือง และให้พระราชาคณะอยู่สั่ง สอนในข้อพระวินัยสิกขาบท กับให้เก็บพระไตรปิฎกลงมาเป็น ฉะบับสร้างณกรุงด้วย โปรดให้พระพิมลธรรมไปอยู่เมือง สว่างคบุรี ให้พระธรรมโคดม ไปอยู่เมืองพิชัย ให้พระ ธรรมเจดีย์ ไปอยู่เมืองพระพิษณุโลก ให้พระพรหมมุนี ไปอยู่ เมืองสุโขทัย ให้พระเทพกวี ไปอยู่เมืองสวรรคโลก ให้พระ โพธิวงศ์ ไปอยู่เมืองศรีพะนมมาศทุ่งยั้ง ครั้งถึงณวันศุกรเดือนสิบเอ็ดแรมสิบค่ำ จึงเสด็จพระ ราชดำเนิรไปยังเมืองสว่างคบุรี กระทำการสมโภชพระมหาธาตุ สามวัน แล้วเปลื้องพระภูษาทรงสะพักออกจากพระองค์ ทรงพระ มหาธาตุ แล้วให้บุรณปฏิสังขรณ์พระอาราม และพระมหาธาตุ ให้บริบูรณ์ดังเก่า จึงเสด็จพระราชดำเนิรไปยั้งเมืองศรีพะนมมาศ ทุ่งยั้ง กระทำการสมโภชพระแท่นศิลาอาสน์สามวัน แล้วเสด็จ พระราชดำเนิรไปยังเมืองสวรรคโลก กระทำการสมโภชพระ มหาธาตุสามวัน ครั้นณวันศุกรเดือนสิบสองขึ้นสามค่ำ จึงเสด็จพระราช ดำเนิรกลับลงมายังเมืองพระพิษณุโลก กระทำการสมโภชพระ มหาธาตุ และพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์สามวันแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งข้าหลวงเดิมซึ่งมีความชอบในการ สงคราม ให้อยู่ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง บรรดาหัวเมือง ใหญ่นั้นโปรดให้พระยายมราช เป็ฯเจ้าพระยาสุรสีห์ อยู่ครองเมือง พระยาพิษณุโลก ประมวญไพร่พลเมืองมีอยู่หมื่นห้าพัน ให้พระยา พิชัยราชาเป็นเจ้าพระยาสวรรคโลก มีไพร่พลเมืองอยู่เจ็ดพัน ให้พระยาสีหราชเดโช เป็นพระยาพิชัย มีไพร่พลเมืองอยู่เก้าพัน ให้พระยาท้ายน้ำ เป็นพระยาสุโขทัย มีไพร่พลเมืองอยู่ห้าพัน ให้พระาสุรบดินทร์ เป็นพระยากำแพงเพ็ชร ให้พระยาอนุรักษ์ ภูธร เป็นพระยานครสวรรค์ ทั้งสองเมืองนั้นมีไพร่พลเมือง เมืองละสามพันเศษ และเมืองเล็ก้อยทั้งปวงนั้น ก็โปรด ให้ขุนนางผู้น้อย ซึ่งมีความชอบไปครองเมืองทุกๆเมือง และ เจ้าพระยาจักรีแขกนั้นมิได้แกล้วกล้าในการสงคราม จึงโปรด ตั้งพระยาอภัยรณฤทธิ์ เป็นพระยายมราช ให้ว่าราชการณที่สมุห นายกด้วย แล้วเสด็จกรีธาทัพหลวงกลับ แล้วให้รับนางพระยา เศวตกิรินี ลงแพล่องลงมายังกรุงธนบุรี ให้ปลูกโรงรับ ณสวนมังคุด แล้วให้มีงานมหรศพสมโภชสามวัน ครั้นถึงเดือนสามในปีขาลโทศก ฝ่ายอาปรกามณีซึ่ง เรียกว่าโปมยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่นั้น ยกกองทัพพะม่า กองทัพลาวลงมาตีเมืองสวรรคโลก เข้าตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ เจ้า พระยาสวรรคโลก ก็เกณฑ์ไพร่พลขึ้นรักษาหน้าที่เชิงเทินกำแพง เมืองต่อรบป้องกันเมืองเป็นสามารถ แล้วบอกลงณกรุง สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ จึงโปรดให้มีตรา ขึ้นไปเกณฑ์กองทัพเมืองพระพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย ให้ยกขึ้นไปตีกองทัพพะมาช่วยเมืองสวรรคโลก เจ้าพระยาสุรสีห์ พระยาพิชัย และพระยาสุโขทัยก็ยกกองทัพทั้งสามหัวเมืองไป ณเมืองสวรรคโลก เข้าตีกระหนาบค่ายพะม่า ซึ่งตั้งล้อม เมือง พะม่าต้านทานมิได้ ก็แตกฉานพ่ายหนีไปยังเมืองเชียงใหม่ จึงบอกลงมาให้กราบทูลพระกรุณาให้ทราบ สมเด็จพระพุทธเจ้า อยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสให้เกณฑ์ กองทัพจะเสด็จยกไปตีเมือง เชียงใหม่ และพลโยธาหาญในกระบวนทัพหลวงครั้งนั้น ทั้งไทย จีนแขกฝรั่งเป็นคนหมื่นห้าพัน สรรพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธ และเรือไล่เรือรบทั้งปวงพร้อมเสร็จ ครั้นผัดคุณมาสศุกลปักษ์ดิถีศุภวารมหาพิชัยฤกษ์ จึงเสด็จ ลงเรือพระที่นั่งกราบ พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลี พระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยไทยจีนฝ่ายทหารพลเรือน โดยเสด็จ พระราชดำเนิรขบวนพยุหยาตราหน้าหลัง คับคั่งท้องแถว มหาคงคง ก็เสด็จยาตรานาวาทัพหลวงจากกรุงธนบุรี ไปโดย ชลมารค ประทับรอนแรมไปตามระยะทาง ไปหลายเวรถึง เมืองพิชัย จึงให้ตั่งค่ายและตำหนักทัพพลับพลา ณ หาดทราย ฝ่ายฟากตะวันออกตรงหน้าเมืองข้าม และเสด็จขึ้นประทับอยู่ที่นั่น ในขณะนั้น จึงมังชัยเจ้าเมืองแพร่ พาขุนนางกรมการ และไพร่พลลงมาเข้าเฝ้า ถราบถวายบังคมขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าตั้งให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ ให้เกณฑ์ เข้าในขบวนทัพด้วย แล้วดำรัสสั่งให้เจ้าพระยาจักรีแขก กับ พระยามหาราชครูประโรหิตาจารย์ อยู่รักษาเรือพระที่นั่ง และ เรือข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวงณเมืองพิชัย แล้วเสด็จ พระราชดำเนิรขึ้นจัดกองทัพบกณเมืองพิชัย ให้กองทัพหัวเมืองทั้งปวง เป็นนายกองหน้า ยกล่วงไปก่อน จึงเสด็จทรงช้างพระที่นั่งดำเนิร พยุหโยธาทัพหลวงไปโดยทางสถลมารค ประทับรอนแรมไป หลายเวรถึงตำบลกุ่มเหลือง จึงให้ตั้งค่ายมั่นแทบเชิงเขาม้า พลาด เสด็จหยุดประทับแรมณพลับพลาในค่าย และครั้นนั้นเป็น เทศกาลคิมหัฤดูกันดารด้วยน้ำนัก ผู้ซึ่งเป็นมัคคุทเทศก์นำมรคา นั้นกราบทูลว่าแต่เชิงเขาข้างนี้จะข้ามภูเขาไปลงถึงเชิงเขาข้างหน้า โน้น เป็นระยะทางไกลถึงสามร้อยเส้น หามีที่น้ำแห่งใดไม่ ไพร่พลจะอดน้ำกันดารนัก จึงดำรัสว่าอย่าปรารมภ์เลยเป็นภาร ธุระของเรา ค่ำวันนี้อย่าให้ตีฆ้องยามเลย จงกำหนดแต่นาฬิกา ไว้ เพลาห้าทุ่มเราจะให้ฝนตกลงให้จงได้ แล้วจึงดำรัสสั่ง ให้พระยาราชประสิทธิ์ให้ปลูกศาลสูงเพียงตา ตั้งเครื่องพลี กรรมบวงสรวงเทพดาบนเขาเสร็จแล้ว จึงทรงตั้งสัตยาธิษฐาน เอาพระบรมโพธิสมภารบารมีของพระองค์ ซึ่งทรงสันนิจยาการ มาแต่อดีตบุเรชาติ ตราบเท่าถึงปัจจุบันภพนี้ จงเป็นที่พึ่งพำนัก แก่ไพร่พลทั้งปวง กับทั้งอานะภาพเทพดา ขอจงบันดาลให้ ท่อธารวัสโสทกจงตกลงมาในราษตรีวันนี้ให้เห็นประจักษ์ และ ในเพลาวันนั้นพื้นอากาศก็ปราศจากเมฆผ่องแผ้วเป็นปรกติอยู่ ด้วย เดชอำนาจกำลังพระอธิษฐานบารมี กับทั้งอาณุภาพเทพดา พอถึงเพลาสี่ทุ่มแปดบาท บันดาลให้ฝนห่าใหญ่ตกลงหนัก จนน้ำไหลนองไปทั่วท้องป่า และขอนไม้ในป่าก็ลอยไหลไปเป็น อัศจรรย์ยิ่งนัก ครั้นเพลาเช้าก็เสด็จทรงช้างพระที่นั่งให้ยก พลโยธาหาญข้ามเขานั้นไป แล้วดำเนิรพลกองทัพไปตาม ลำดับวิถีสถลมารค ประทับรอนแรมไปโดยระยะทางถึงเมือง ลำพูน ให้ตั้งค่ายประทับอยู่ที่นั้น ฝ่ายโปมยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่ ก็แต่งทัพพะม่าทัพลาวยก ออกมาตั้งค่ายรับนอกเมือง และกองหน้าหัวเมืองซึ่งเป็นกองหน้าก็ยก เข้าตีค่ายทัพพะม่าแตกพ่ายเลิกถอยเข้าเมือง กองหน้าก็ยกติดตาม ล่วงเข้าไปในกำแพงดินชั้นนอก แล้วตั้งค่ายรายล้อมกำแพงชั้นในไว้ และทัพหลวงก็ยกเข้าไปตั้งค่ายใหญ่ในกำแพงดิน แล้วดำรัสให้ บรรดาทัพหัวเมืองกองหน้า และนายทัพนายกองในกอลหลวงยกพล ทหารเข้าปล้น เอาบันไดพาดปีนกำแพงเมืองในเพลากลางคืน เพลา สามยามเศษ เพื่อจะดูกำลังข้าศึก และพลทหารพะม่าลาวชาวเมือง ซึ่งขึ้นประจำรักษาหน้าที่เชิงเทินนั้นยิงปืนใหญ่น้อย และพุ่งแทงศาส ตราวุธ ต่อรบต้านทานเป็นสามารถจนเพลารุ่งพลทหารไทยเข้าหักเอา เมืองมิได้ก็ลาดถอยออกมา จึงมีพระราชดำรัสว่า อันเมืองเชียง ใหม่นี้ ต้องทำนายอยู่ คำปรัมปราเล่าสืบๆ กันมาว่า กษัตริย์พระ องค์ใด ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่นี้ครั้งเดียวมิได้ ต่อยกไปเป็นสอง ครั้งจึงตีได้ แม้นจะหักหาญบุกรุกเอาด้วยกำลังกล้าบัดนี้ก็จะได้ แต่ จะเสียไพร่พลมาก และยกมาครั้งนี้เหมือนจะดูท่วงทีท่าทางและกำลัง ข้าศึกก็ได้เห็นประจักษ์อยู่แล้ว ถ้ายกมาครั้งหลัง เห็นคงจะได้ถ่าย เดียว จึงดำรัสให้เลิกทัพหลวงล่วงมาก่อนวันหนึ่ง จึงให้กองทัพ หัวเมืองทั้งปวง เลิกเลื่อนถอยตามมาต่อภายหลัง ฝ่ายพะม่าก็ยกกองทัพลัดเลาะป่าก้าวสะกัดติดตาม ยิงปืนกระ หนาบหน้าหลัง กองทัพหัวเมืองทั้งนั้น ก็ตื่นแตกระส่ำระสายถอยหนี ย่อย่นลงมา จนกระทั่งถึงทัพหลวง อันตั้งหยุดประทับรับอยู่ณเขา ช่องแคบ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงถอดพระแสงดสบ ไล่ต้อนพล โยธาทหารทั้งปวงในกองทัพหลวงให้กลับออกรบพะม่า ไล่ตะลุมบอน ฟันแทงถึงอาวุธสั้น สู้รบเป็นสามารถ พลพะม่าล้มตายเป็นอันมาก ก็แตกกระจัดกระจายพรายพลัดพ่ายหนีไป ก็เสด็จดำเนิรทัพหลวง ล่วงมาถึงท่าเรือณเมืองพิชัย จึงเสด็จทรงเรือพระที่นั่ง ให้ยาตรา นาวาทัพกลับคืนยังกรุงธนบุรี ลุศักราช ๑๓๓๓ ปีเถาะตรีศก ฝ่ายข้างมลาวประเทศเจ้าวงศ์ผู้ เป็นเจ้าเมืองหลวงพระบาง ยกกองทัพลงมาตีกรุงศรีสัตนาคนหุต ให้ตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ และเจ้าบุญสารผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็เกณฑ์พลทหารออกต่อรบ และขึ้นประจำรักษาหน้าที่เชิงเทิน ปราการป้องกันเมืองเป็นสามารถ รบกันอยู่ประมาณสองเดือนยัง ไม่แพ้และชนะกัน พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต จึงแต่งขุนนาง ให้ถือศุภอักษร ขึ้นไปถึงกรุงอังวะขอกองทัพมาช่วย พระเจ้า อังวะมังระ จึงให้ชิกชิงโปคุมพลสองพันเป็นกองหน้า ให้โปสุพลา เป็นแม่ทัพคุมพลสามพัน ยกกองทัพลงมาตีเมืองหลวงพระบาง และ กองทัพเมืองหลวงพระบางก็เลิกทัพกลับไปเมือง ต่อรบกับทัพพะม่า พะม่าตีเอาเมืองหลวงพระบางได้ เาหลวงพระบางก็ขอขึ้นแก่กรุง อังวะ ทัพพะม่าก็เลิกกลับไปยังกรุงอังวะ พระเจ้าอังวะได้ทราบว่า กองทัพไทยยกมาตีเมืองเชียงใหม่ จึงให้โปสุพลาถือพลสามพัน ยกลงมาช่วยรักษาเมืองเชียงใหม่ อนึ่งแต่เมื่อครั้งปีชวดสัมฤทธิศกนั้น กองทัพห้อยกจะมาตีกรุง อังวะมาถึงเมืองแสนหวี เป็นแผ่นดินเงี้ยว คือไทยใหญ่ขึ้นแก่พะม่า ใกล้เมืองอังวะทางสิบห้าคืน และกองทัพห้อยกเข้าตีเมืองแสนหวี ได้ก็ตั้งทัพอยู่ที่นั้น ฝ่ายพระเจ้าอังวะทราบข่าวศึก จึงให้ติงจาโบคุมพลห้าพัน เป็นกองหน้า ให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพถือพลหมื่นหนึ่ง ยกมาตี กองทัพห้อซึ่งตั้งอยู่ณเมืองแสนหวี ได้รบกันเป็นสามารถทัพห้อ ก็แตกพ่ายกลับไปอีกครั้งหนึ่ง แล้วห้อกลับยกกองทัพมาอีก ตีหัวเมือง ขึ้นพะม่าแตกเป็นหลายเมือง แล้วยกล่วงเข้ามาตั้งถึงตำบลบ้าน ยองนี ใกล้เมืองอังวะทางคืนหนึ่ง พระเจ้าอังวะ จึงให้อะแซหวุ่นกี้ หนึ่ง มะโยลัดหวุ่นหนึ่ง เป็นแม่ทัพสองทัพ ถือพลทัพละหมื่น กับเมี้ยนหวุ่นทัพหนึ่ง ถือพลห้าพัน ทั้งสามทัพเป็นคนสองหมื่นห้า พัน ยกไปสามทางเข้าระดมตีทัพห้อ ได้รบกันอยู่สามวัน ทัพห้อก็ แตกพ่ายไปเป็นสองครั้ง จับได้นายทัพห้อสี่นาย ชื่อแอซูแยหนึ่ง กุนตาแยหนึ่ง เมียนกุนแยหนึ่ง ประซูแยหนึ่ง กับไพร่พลหกพัน พระเจ้าอังวะให้เลี้ยงไว้ ครั้งถึงปีฉลูเอกศก ห้อกลับยกกองทัพมาอีกเป็นสามครั้ง ครั้งหลักนั้นกวยชวยแยเป็นแม่ทัพห้อ พลหลายหมื่นมากกว่าสองครั้ง ยกมาถึงเมืองกองดุงปมอ ทางไกลเมืองอังวะห้าคืน พระเจ้าอังวะเห็น เป็นศึกใหญ่กว่าทุกครั้ง จึงให้อะแซหวุ่นกี้กับติงจาโบตะเรียงราม ถือพลหมื่นห้าพันยกไปทางหนึ่ง ให้อำมะลอกหวุ่นกับงาจูหวุ่น และ ต่อหวุ่น ถือพลหมื่นห้าพันยกไปทางหนึ่ง เป็นสองทัพได้ต่อรบกับ กองทัพห้อ ทัพห้อรี้พลมาก เห็นเหลือกำลังจะต่อตีให้แตกพ่ายมิได้ จึงบอกส่งมากราบทูลพระเจ้าอังวะ พระเจ้าอังวะ จึงให้แม่ทัพเจรจา ความเมืองกับแม่ทัพห้อ ขอเป็พระราชไมตรีต่อกัน แล้วแต่งนาง และเครื่องบรรณาการให้ไปแก่แม่ทัพห้อ ทัพห้อก็เลิกทัพกลับไป แต่ นั้นมาทัพห้อก็มิได้ยกมาตีเมืองอังวะอีก เป็นเมืองมิตรสันถวะ ไมตรีแก่กัน ฝ่ายข้างกรุงไทยในปีเถาะตรีศพนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริพิจารณาเห็นว่า กรุงธนบุรีไม่มีกำแพงเป็น ที่มั่นจะได้ป้องกันราชศัตรูหมู่ปัจจามิตร ยังไม่เป็นภูมิราช ธานี จึงทรงพระกรุณาให้เกณฑ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ ผู้น้อยฝ่ายทหารพลเรือนทั้งปวง ตั้งค่ายด้วยไม้ทองหลางทั้งต้น ล้อมพระนครทั้งสองฟากน้ำ และให้เกณฑ์ไพร่พลในกรุง พลหัวเมืองมาระดมกันทำค่ายฝ่ายฟากตะวันตก ตั้งแต่มุม กำแพงเมืองเก่าไปจนวัดบางว้าน้อย วงลงไปริมแม่น้ำใหญ่ ตลอดลงมา จนถึงมุมกำแพงเมืองเก่าที่ตั้งเป็นพระราชวัง แล้วให้ขุดคลองเป็นคู ข้างหลังเมืองแต่คลองบางกอกน้อย มาออกคลองบางกอกใหญ่ เอา มูลดินขึ้นถมเป็นเชิงเทินข้างในทั้งสามด้าน เว้นแต่ด้านริมแม่น้ำ และ ฟากตะวันออกก็ให้ตั้งค่ายรอบเหมือนกัน ให้ขุดคลองเป็นคูข้างหลัง เมือง ตั้งแต่กำแพงเก่าท้ายป้อมวิไชเยนทร์ วงขึ้นไปจนถึงศาลเทพา รักษ์หัวโชดออกแม่น้ำทั้งสองข้าง เอามูลดินขึ้นถมเป็นเชิงเทินทั้งสาม ด้าน เว้นแต่ด้านริมแม่น้ำดุจกัน แล้วให้เกณฑ์คนไปรื้อเอาอิฐกำ แพงเก่าณเมืองพระประแดง และกำแพงค่ายพะม่าณโพธิ์สามต้น และสิกุกบางไทร ทั้งสามค่าย ขนบรรทุกเรือมาก่อกำแพงและป้อม ตามที่ ถมเชิงเทินดินสามด้านทั้งสองฟาก เอาแม่น้ำไว้ห่างกลางเหมือน อย่างเมืองพระพิษณุโลก และแม่น้ำตรงหน้าเมืองทั้งสองฟากนั้น เป็น ที่ขุดลัดแต่ครั้นแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ อนึ่งป้อมวิไชเยนทร์ท้ายพระราชวังนั้น ให้ชื่อป้อมวิชัย ประสิทธิ์แล้วให้ขุดที่สวนเดิมเป็นที่ท้องนานอกคูเมืองทั้งสองฟาก ให้ เรียกว่าทะเลตม ไว้สำหรับจะได้ทำนาใกล้พระนคร แม้นมาตร ว่าจะมีทัพศึกการสงครามมา จะได้ไว้เป็นที่ทำเลตั้งค่ายต่อรบ ข้าศึกถนัด และกระทำการฐาปนาพระนครขึ้นใหม่ ครั้งนั้นหกเดือน ก็สำเร็จบริบูรณ์ ในปีเถาะตรีศกนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระราช ดำริการสงคราม ซึ่งจะไปปราบปรามกัมพุชประเทศให้ราบคาบ คืนเอาเมืองพุทไธเพ็ชรให้แก่นักองค์พระรามาธิบดี อันเข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิสมภารนั้นให้จงได้ และขณะนั้น เจ้าพระยาจักรีแขก ถึงแก่กรรม จึงโปรดตั้งพระยายมราช ผู้ว่าที่สมุหนายกอยู่แต่ ก่อนนั้น เป็นที่เจ้าพระยาจักรีแทน แล้วโปรดตั้งพระยาราชบังสัน ผู้บุตรเจ้าพระยาจักรีแขกนั้น เป็นพระยายมราช จึงดำรัสให้ เกณฑ์กองทัพบกทัพเรือทหารไทยจีน และทัพหัวเมืองทั้งหวงให้ พร้อม สรรพด้วยช้างม้าและเรือรบเรือลำเลียงเครื่องสรรพาวุธต่างๆ แล้วโปรดให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพบกถือพบหมื่นหนึ่ง ยกไปทาง เมืองปราจีนให้ตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว์ตลอดลงไปจนถึงเมือง พุทไธเพ็ชร และเอานักองค์พระรามาธิบดีไปในกองทัพด้วย เจ้า พระยาจักรี และท้าวพระยาพระหลวงเมืองนายทัพนายกองทั้งปวง ก็กราบถายบังคมลายกกองทัพออกไปตามพระราชกำหนด คร้นถึงอัศวยุชมาสกาลปักษ์ดิถีศุภวารมหาพิชัยฤกษ์ สม เด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงเรือพระที่นั่งสำเภาทอง พร้อมกับ ด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาท ไทยจีนฝรั่งฝ่ายทหาร พลเรือนทั้งปวง เป็นเรือรบสองร้อยลำ เรือทะเลร้อยลำ พล ทหารหมื่นห้าพันเศษ ให้พระยาพิชัยไอศวรรย์เป็นแม่กองทัพ หน้า แล้วยกพยุหยาตราพลนาวาทัพหลวงจากกรุงธนบุรี ไป ออกปากน้ำเมืองสมุทรปราการ ตกถึงท้องทะเลใหญ๋ ด้วยเดชะ พระบารมีบันดาลให้คลื่นลมร้ายในมหาสมุทรก็ระงับสงบราบคาบ และ เสด็จโดยทางชลมารคได้ห้าเวร ประทับปากน้ำเมืองจันทบุรี ึง โปรดให้พระยาโกศาธิบดีเป็นแม่ทัพ ยกทัพเรือล่วงลงไปตีเมือง กระพงโสม แล้วทัพหลวงก็เสด็จไปอีกห้าเวร ครั้น ณ วันพฤหัสบดี เดือนสิบสอบขึ้นแปดค่ำ ถึงปากน้ำพุท ไธมาศจึงเสด็จพระราชดำเนิรขึ้นสถิต ณตึกจีน แห่งหนึ่งฟากตะวันตก เฉียงใต้เมือง แล้วให้มีหนังสือพระยาพิชัยไอศวรรย์ แม่กองทัพหน้า ให้ญวนชะเลยซึ่งจับได้นั้น ถือเข้าไปถึงพระยาราชาเศรษฐีญวน เจ้าเมืองพุทไธมาศ ในลักษณะนั้นว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยุ่หัว ณกรุงธนบุรีศรีอยุธยา เสด็จดำเนิรพยุหโยธาทัพบกทัพเรือมา บัดนี้ ด้วยมีพระราชประสงค์จะราชาภิเษกนักองค์พระรามาธิบดีให้ ครองกรุงกัมพูชา แล้วจะเอาตัวเจ้าจุ้ย เจ้าศรีสังข์ และข้าหลวง ชาวกรุงเทพฯ ซึ่งไปอยู่ณหัวเมืองใดๆจนสิ้น ถ้าพระยาราชา เศรษฐีญวนมิได้สวามิภักดิ์อ่อนน้อม เห็นว่จะต่อยุทธนาการได้ ก็ให้แต่งการป้องกันเมืองจงสรรพ แม้นเห็นว่าจะสู้รบมิได้ ก็ยัง ทรงพระกรุณาโปรดอยู่ให้ออกมาเฝ้าทูลเกล้าฯ กราบถวายบังคม อ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์โดยดี เราจะช่วยพิดทูลให้ทรงพระกรุณา แม้นว่าถึงตัวชราแล้วจะออกมามิได้ก็ให้แต่งหูเอี๋ยผู้บุตรออกมาถวาย บังคมจงฉับพลัน ถ้าช้าอยู่จะทรงพิโรธให้พลทหารเข้าหักเอา เมืองฆ่าเสียให้สิ้นทั้งเมือง ครั้นพระยาราชาเศรษฐีได้แจ้งในหนังสือแล้ว จึงให้ หนังสือตอบออกมาว่า ซึ่งให้มีหนังสือมาถึงข้าพเจ้า ข้าพเจ้า ขอบในนัก จะหาขุนนางมาปรึกษาให้พร้อมกันก่อน ถ้ายินยอม พร้อมกันแล้ว จึงจะบอกออกมาให้แจ้ง ครั้นคอยท่าอยู่สามวัน พระยาราชาเศรษฐีก็มิได้แต่งให้ผู้ใด ออกมาเฝ้า สมเด็๗พระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำรัสให้ท้าวพระยา นายทัพนายกองทั้งปวงยกเข้ามาตั้งค่ายล้อมเมือง แล้วตรัสสั่งกรม อาจารย์ให้จัดกันที่มีวิชชาดี แกล้วหาญทั้งนายไพร่ได้ร้อยสิบเอ็ดคน จึงให้เกณฑ์พลทหาร กรมอื่นสองพันสี่ร้อยเข้าสมทบกัน แล้วพระราช ทานฤกษ์และอุบายให้เข้าปล้นเอาเมืองในกลางคืนเพลาสองยาม ฝ่ายพระยาราชาเศรษฐีก็เกณฑ์พลทหารขึ้นรักษาหน้าที่ เชิงเทินปราการป้องกันเมือง ครั้นเพลาสองยาม พลทหารข้าหลวงก็เอา บันไดพาดกำแพงปีนขึ้นไปได้ในเมือง จุดเพลิงขึ้นแสงสว่าง และพวก ญวนในเมืองออกต่อรบกันอยู่ช้านาน และนาทัพนายกองรี้พลทั้งปวง ซึ่งตั้งค่ายรายล้อมอยู่นั้น จะบุกรุกเข้าไปช่วยก็มิได้ ด้วยจีนญวนชาว เมืองยังรักษาหน้าที่เชิงเทินยิงปืนใหญ่น้อยสู้รบอยู่หาทิ้งหน้าที่ไม่ ไพร่ พลกองทัพก็อิดโรยลง เดชะบรมโพธิสมภารบันดาลดลจิตต์พลโยธา ทัพทหารทั้งปวงให้สำคัญว่า เสด็๗พระราชดำเนิรหนุนเข้าไป ก็มีน้ำใจ องอาจกล้าหาญมากขึ้นตีกระโจมหนุนเนื่องกันเข้าไป ทั้งทัพบก ทัพเรือ พวกญวนจีนซึ่งรักษาหน้าที่ต้านทานมิได้ ก็แตกฉานพ่ายหนีไป พอ รุ่งขึ้น ณวันอาทิตย์ เดือนสิบสอง ขึ้นสิบเอ็ดค่ำเพลาเช้า ก็เข้า เมืองได้พร้อมกัน พระยาราชาเศรษฐีก็ทิ้งเมืองเสีย ลงเรือออก ทะเลแล่นหนีไปได้ ครั้นณวันจันทร์เดือนสิบสองขึ้นสิบสองค่ำ จึงเสด็จพระราช ดำเนิรเข้าในเมือง สถิตประทับณจวนพระยาราชาเศรษฐี ให้พล ทหารทั้งปวงเก็บเกี่ยวเก็บเอาทรัพย์สิ่งของในเมืองได้มาเป็นอันมาก แล้ว ดำรัสถามพระยาประสิทธิ์ พระสุธรรมาจารย์ และอาจารย์จันทร์ นายกองอาจารย์ทั้งสามว่า เมื่อคุมทหารขึ้นปล้นเอาเมืองนั้น เข้าได้ ด้านไหนก่อน อาจารย์ทั้งสามกราบทูลไม่ต้องกัน จึงเสด็จพระราช ดำเนิรไปทอดพระเนตรที่ทางทหารเข้านั้น เห็นผิดกับพระราชดำริ จึงตรัสว่าข้าศึกหนีได้เพราะเข้าผิดกับรับสั่ง แม้นต่อสู้ก็จะเสีย ราชการจึงให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยนผู้ซึ่งเข้าเมืองได้ต่อทีหลังทั้ง นายและไพร่ ที่เข้าได้ก่อนก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลทั้งนาย และไพร่ เป็นเงินถึงสามร้อยยี่สิบห้าชั่ง แล้วให้มีกฎประกาศแก่ รี้พลทั้งปวง ห้ามอย่าให้ข่มเหงราษฎรจีนญวนชาวเมืองสืบไปอีก ให้ค้าขายอยู่ตามภูมิลำเนาเหมือนแต่ก่อน แล้วโปรดตั้งพระยาพิพิธ ผู้ช่วยราชการกรมท่า เป็นพระยาราชาเศรษฐีอยู่ครองเมืองพุทไธ มาศ แล้วเสด็จยกพยุหโยธสนาวาทัพหลวงจากเมืองพุทไธมาส ขึ้นไปตีเมืองกัมพูชาธิบดี คือเมืองพุทไธเพ็ชรา ประทับรอนแรมไป โดยระยะทางชลมารคจนถึงเกาะพนมเพ็ญ ฝ่ายกองทัพบกเจ้าพระยาจักรี ยกเข้าไปตีเมืองปัตบองเมืองโพธิ สัตว์ เมืองบริบูรณ์ได้แล้ว ก็ยกล่วงไปตีเมืองพุทไธเพ็ชร และ นักองค์พระอุทัยราชาต่อรบต้านทานมิได้ ก็พาพวกพลและครอบครัว ยกหนีลงไปตั้งอยู่ณเมืองบาพนม เจ้าพระยาจักรีเข้าตั้งอยู่ณเมือง พุทไธเพ็ชร ครั้นได้ทราบว่า ทัพหลวงตีเมืองพุทไธมาศได้แล้ว เสด็จขึ้นมาถึงเกาะพนมเพ็ญ จึงให้นักองค์พระรามาธิบดีอยู่รักษา เมืองพุทไธเพ็ชร แล้วก็ลงมาเฝ้ากราบถวายบังคมทูลว่า นักองค์ พระอุทัยราชาหนีลงไปตั้งอยู่ณเมืองบาพนมแล้ว ครั้นได้ทรงทราบ จึงดำรัสให้เจ้าพระยาจักรี ยกกองทัพติดตามลงไปในวันนั้น ครั้น เพลาบ่ายสองโมง จึงเสด็จยกทัพหลวงลงไป พอเพลาค่ำประมาณ ยามหนึ่งเจ้าพระยาจักรีบอกหนังสือขึ้นมาให้กราบทูลว่า ญวนเมือง ลูกหน่วยมารับนักองค์พระอุทัยราชาลงไปณเมืองญวนแล้ว จึงเสด็จ หยุดเรือพระที่นั่งประทับอยู่หน้าบ้านตำหนักเวรหนึ่ง ครั้นรุ่งเช้าจึง เสด็จยกทัพหลวงกลับคืนมาถึงปากคลองมักสา พบครัวเขมรตั้งอยู่ที่ นั้นเป็นอันมาก ดำรัสให้พลทหารเข้าตีได้ครอบครัวและเรือก็มาก แล้วยกทัพหลวงคืนมาประทับเกาะพนมเพ็ญ จึงนักองค์รามาธิบดีลง มาแต่เมืองพุทไธเพ็ชรเข้ามาเฝ้าในที่นั้น ทรงพระกรุณาโปรดพระราช ทานสนองพระองค์ทรงประพาสอันเป็นเครื่องต้น กับทั้งปืนใหญ่น้อย และครอบครัวเขมรซึ่งตีได้นั้นแก่นักองค์รามาธิบดี แล้วโปรดให้กลับ ไปครองเมืองพุทไธเพ็ชร เป็นใหญ่ในกัมพุชประเทศเหมือนแต่ก่อน ฝ่ายกองทัพพระยาโกศาธิบดี ตีได้เมืองกระพงโสม แล้วยก มาตีเองกำปอช พระยาปังกลีมาแขกจามเจ้าเมืองกำปอชออก มาอ่อนน้อมอยอมเข้าสวามิภักดิ์มิได้ต่อรบ พระยาโกศาธิบดีจึงพาตัว พระยาปังกลีมาขึ้นเฝ้า กราบถวายบังคมณเกาะพนมเพ็ญ จึงโปรด ให้พระญาปังกลีมากลับไปอยู่รั้งเมืองกำปอชดังเก่า ฝ่ายกองทัพเจ้าพระยาจักรียกลงไปได้เมืองบาพนม เขมรมิ ได้สู้รบยอมเข้าสวามิภักดิ์โดยดี จึงจัดแจงให้คงอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม แล้วก็เลิกทัพกลับมาเฝ้าณเกาะพนมเพ็ญ จึงดำรัสให้เจ้าพระยา จักรีกับพระยาโกศาธิบดี อยู่ช่วยราชการณเมืองพุทไธเพ็ชร กว่าจะ สงบราบคาบก่อน แล้วเสด็จยกพยุหโยธานาวาทัพหลวงกลับมาถึง คลองท้องจีนจง และน้ำในคลองนั้นตืนเรือใหญ่จะไปมิได้ จึงดำรัส ให้ไพร่พลทดน้ำทั้งกลางวันและกลางคืน เรือทั้งปวงจึงไปได้พร้อมกัน ฝ่ายจีนทั้งปวงซึ่งเคยไปมาแต่ก่อน ก็สรรเสริญว่าเดือนอ้ายนี้ น้ำเคยแห้งคลองขาด เรือจะไปมามิได้ นี่อาศัยบุญญานุภาพ พระเจ้าอยู่หัวมาก เรือจึงไปมาได้สะดวกในเทศกาลนี้ ครั้นณวันจันทร์เดือนอ้ายขึ้นสามค่ำ เพลาบ่ายสามโมงเศษเสด็จ ถึงเมืองพุทไธมาศ สถิตอยู่ในพระราชวัง แล้วพระทรงราชศรัทธา ให้นิมนต์พระสงฆ์ทุกอารามใจจังหวัดแขวงเมืองพุทไธมาศเข้ามาใน พระราชวัง แล้วทรงพระกรุณาพระราชทานถวายจีวรแพรแก่พระสงฆ์ ทุกองค์ ที่มิได้จีวรนั้น ถวายเงินแทนจีวรรูปละห้าตำลึง แล้วเสด็จไป ณวัดญวนถวายนมัสการพระพุทธปฏิมากรซึ่งมีในวิหาร ฝ่ายหลวง ญวนก็สวดมนต์ให้ทรงฟัง จึงมีพระราชบริหารโดยภาษาญวน พระ ราชทานพระราโชวาทแก่หลวงญวนทั้งปวงว่า ให้อุตสาหะรักษาศีล อย่าให้ส้งเสพด้วยสีกา แล้วเสด็จกลับยังพระราชวังที่ประทับ ครั้นถึงณวันอังคารเดือนอ้ายแรมสามค่ำ จึงเสด็จลงเรือ พระที่นั่งสำเภาทอง ให้เคลื่อนคลายขบวนพยุหโยธานาวาทัพจาก เมืองพุทไธมาศ ออกท้องทะเลใหญ่กลับคืนยังกรุงธนบุรี ฝ่ายพระยาราชาเศรษฐีญวน ซึ่งแตกหนีไปนั้น ขึ้นอาศัยอยู่ เกาะตั้งส้องสุมรี้พลญวนได้มากแล้ว ก็ยกทัพเรือมาตีเอาเมืองพุท ไธมาศคืน และพระยาราชาเศรษฐีเจ้าเมืองใหม่มิทันรู้ตัว ยกพล ทหารจีนออกต่อรบต้านทานอยู่ประมาณสามนาฬิกา เห็นเหลือกำลัง ก็ทิ้งเมืองเสีย พารี้พลและครอบครัวทั้งปวงลาดถอยมาอศัยอยู่ณ เมืองกำปอช และพระยาปังกลีมา ก็ช่วยจัดแจงไพร่พลอยู่สามวัน พอพร้อม ก็ยกกลับไปจะปล้นเอาเมืองพุทไธมาศ ในกลางคืนเพลา ดึกสองยาม ให้พลทหารจีนทั้งปวงเอาไม้ติ้วเข้าคาบทุกคนๆ อย่าให้มี ปากเสียง แล้วให้ว่ายน้ำเข้าปีนปล้นเมืองได้ พวกญวนมิทันรู้ตัว ก็แตกพ่ายหนี กองทัพจีนไล่ฆ่าฟันญวนจีน พวกพระยาราชาเศรษฐี ญวน ซึ่งอยู่ในเมืองล้มตายเป็นอันมาก จนโลหิตตกอาบไปทั้งเมือง แต่ตัวพระยาราชาเศรษฐีญวนนั้นลงเรือหนีไปได้จับตัวหาไม่ได้ และ พระยาราชาเศรษฐีจีนก็กลับคืนเอาเมืองได้ เข้าตั้งอยู่ในเมืองดังเก่า ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี ซึ่งตั้งอยู่ณเมืองพุทไธเพ็ชร ทราบข่าวไป ว่าเมืองพุทไธมาศกลับเสียก่ญวนอีก จึงจัดแจงกองทัพจะยกลงมา ช่วยพระยาราชาเศรษฐี พอได้ทราบข่าวว่า พระยาราชาเศรษฐีกลับ ตีเอาเมืองคืนได้แล้ว ก็หยุดทัพไว้มิได้ยกลงมาเมืองพุทไธมาศ จึงพระยาราชาเศรษฐีก็ส่งหนังสือบอกข้อราชการเข้ามาณกรุง ธนบุรี สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ จึงดำรัสว่าเมืองพุท ไธมาศอยู่ล่อแหลมนัก จะรักษษไว้เป็นอันยากป่วยแรงทแกล้วทหาร จึงโปรดให้มีท้องตราออกไปว่า ให้พระยาราชาเศรษฐีทิ้งเมืองพุท ไธมาศเสียเถิดอย่าอยู่รักษษเลย ให้เลิกทัพกลับเข้ามารับราชการณ กรุงดังเก่า ครั้นพระยาราชาเศรษฐีได้แจ้งในท้องตรารับสั่งแล้ว ก็ กวาดครอบครัวลงเรือใหญ่น้อย แล้วเลิกกองทัพจีนกลับเข้ามาณ กรุงตามพระราชกำหนดให้หานั้น แล้วจึงโปรดให้มีท้องตราให้หา กองทัพเจ้าพระยาจักรี พระยายมราชกลับคืนมายังพระนคร ลุศักราช ๑๑๓๔ ปีมะโรงจัตวาศก ฝ่ายโปสุพลาซึ่งมาอยู่ช่วย ราชการรักษาเมืองเชียงใหม่นั้น ยกทัพมาตีเมืองลับแลแตกแล้วยก ลงมาตีเมืองพิชัย ตั้งค่ายอยู่ณวัดเอกา พระยาพิชัยก็จัดแจงการป้อง กันเมืองเป็นสามารถ จึงเจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกกองทัพเมืองพระ พิษณุโลกขึ้นไปช่วยเมืองพิชัยและเจ้าพระยาสุรสีห์กับพระยาพิชัยยก พลทหารเข้าตีค่ายพะม่า พะม่าออกต่อรบกันถึงอาวุธสั้น พลทัพไทย ไล่ตะลุม บอนฟันแทงพลพะม่าล้มตายเป็นอันมาก พะม่าต้านทานมิได้ ก็แตกพ่ายหนีเลิกทัพกลับไปเมืองเชียงใหม่ จึงบอกหนังสือแจ้ง ข้อราชการศึกลงมาณกรุง กราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ ลุศักราช ๑๑๓๔ ปีมะเส็งเบ็ญจศก ทรงพระกรุณาให้สักท้อง มือหมายหมู่เลกไพร่หลวง และเลกสังกัดพัน กับทั้งเลกหัวเมือง ส่งสารบัญชีทะเบียนหางว่าวยื่นกรมพระสุรัสวดีทั้งสิ้น ให้รู้จำนวน ไพร่พลไว้จะได้ใช้ราชการแผ่นดินและการทัพศึกต่างๆ ครั้นถึงณเดือน้อายข้างขึ้น โปสุพลายกกองทัพลงมาตีเมืองพิชัย อีก พระยาพิชัยก็ยกพลทหารออกไปต่อรบกลางทางยังไม่มาถึงเมือง เจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกทัพเมืองพระพิษณุโลกขึ้นไปช่วย ได้รบกับพะม่า เป็นสามารถ และพระยาพิชัยถือดาพสองมือ คุมพลทหารออกไล่ฟัน พะม่าจนดาพหัก จึงลือชื่อปรากฎเรียกว่าพระยาพิชัยดาพหักแต่นั้นมา ครั้งถึงณวันอังคารเดือนยี่แรมเจ็ดค่ำ กองทัพพะม่าแตก พ่ายหนีไป จึงบอกหนังสือลงมากราบทูลพระกรุณาณกรุงธนบุรี ลุศักราช ๑๑๓๖ ปีมะเมียฉศก สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรง พระราชดำริการซึ่งจะไปตีเมืองเชียงใหม่ให้ได้ ด้วยพะม่ายกกอง ทัพมาย่ำยีบีฑาหัวเมืองฝ่ายเหนือเนืองๆ จึงดำรัสให้เกณฑ์กองทัพ หัวเมืองฝ่ายเหนือสิบหัวเมือง เป็นคนสองหมื่นสรรพด้วยช้างม้าเครื่อง สรรพาวุธให้ยกคอยรับเสด็จอยู่ณบ้านระแหงให้พร้อม แล้วให้เกณฑ์ กองทัพในกรุง และหัวเมืองใกล้ทั้งปวงได้พลฉกรรจ์ลำเครื่องหมื่นห้า พัน ช้างเครื่องร้อยแปด ม้าร้อยม้า สรรพด้วยเครื่องสรรพยุทธ พร้อมเสร็จ ครั้นณวันอังคารเดือนสิบสองแรมสิบเอ็ดค่ำ สมเด็จพระพุทธ เจ้าอยู่หัว ก็เสด็จทรงเรือพระที่นั่งกราบยาวสิบสามวา พลพายสี่สิบคน พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาพระหัวเมือง และข้าราชการผู้ใหญ่ผูน้อย ไทยจีนฝ่ายทหารพลเรือนท้งหลาย โดยเสด็จในขบวนทัพหลวงเป็น อันมาก จึงเสด็จยกพยุหยาตรานาวาทัพหลวงจากกรุงธนบุรีโดยทาง ชลมารค ประทับรอนแรมไปตามระยะทางหลายเวร ถึงณวันพุธเดือนอ้ายขึ้นสี่ค่ำ เสด็จถึงเมืองกำแพงเพ็ชรแล้ว ยกไปถึงบ้านระแหงแขวงเมืองตาก เสด็จประทับแรมณพระตำหนัก สวนมะม่วง ดำรัสให้พระยาจักรีเป็นแม่กองทัพหน้าถือพลทัพในกรุง และหัวเมืองยกขึ้นไปตั้งอยู่ณเมืองเถิน แล้วให้ทัพเมืองเหนือทั้งสิบ พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาพระหัวเมือง และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ไทยจีนฝ่ายทหารพลเรือนทั้งหลาย โดยเสด็จในขบวนทัพหลวงเป็น อันมาก จึงเสด็๗ยกพยุหยาตรานาวาทัพหลวงจากกรุงธนบุรีโดยทาง ชลมารค ประทับรอนแรมไปตามระยะทางหลายเวร ถึงณวันพุธเดือนอ้ายขึ้นสี่ค่ำ เสด็จถึงเมืองกำแพงเพ็ชรแล้ว ยกไปถึงบ้านระแหงแขวงเมืองตาก เสด็จประทับแรมณพระตำหนัก สวนมะม่วง ดำรัสให้พระยาจักรีเป็นแม่กองทัพหน้าถือพลทัพในกรุง และหัวเมืองยกขึ้นไปตั้งอยู่ณเมืองเถิน แล้วให้ทัพเมืองเหนือทั้งสิบ เมืองยกไปเข้ากองเจ้าพระยาจักรีกองหน้าไปตีเมืองเชียงใหม่ ฝ่ายข้างกรุงรัตนบุระอังวะพระเจ้ามังระทราบว่า กรุงไทยพระยา ตากตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดิน สร้างเมืองบางกอกขึ้นใหม่เป็นราชธานี ใหญ่แทนกรุงศรีอยุธยาซึ่งพินาศฉิบหายนั้น กลับตั้งตัวต่อรบ จึง ทรงพระดำริว่าจะละไว้ให้ช้ามิได้ ไทยจะมีกำลังกำเริบมากขึ้นจำ จะแต่งกองทัพใหญ่ให้ไปตีปราบปรามเสียให้สิ้นเสี้ยนหนาม ราบคาบ อย่าให้แผ่นดินไทยตั้งตัวเป็นปึกแผ่นแน่นหนาขึ้นไปสืบไปอีกในภาย หน้า จึงให้แพกิจจาคุมพลพะม่าห้าร้อยถือหนังสือรับสั่งลงมาถึงปะกัน หวุ่นเจ้าเมืองเมาะตะมะ ให้เกณฑ์พลรามัญเมืองเมาะตะมะสามพัน เข้ากองแพกิจจาเป็นนายทัพยกไปทางทำทาง และตั้งค่ายปลูกยุ้งฉางที่ ตำบลสามสบท่าดินแดง จัดแจงพลสะเบียงอาหารผ่อนไปไว้ก่อน แล้ว ภายหลังจึงจะให้กองทัพใหญ่ยกไปตีเอาเมืองบางกอกซึ่งตั้งขึ้นใหม่ นั้นจงได้ และปะกันหวุ่นก็เกณฑ์พลรามัญเมืองเมาะตะมะและเมืองขึ้น สามสิบสองหัวเมอืงเป็นคนสามพัน ให้พระยาเจ่ง พระยาอุตละ เสี้ยง ตละเกล็บคุมมา กับกองแพกิจจานายทัพ แพกิจจาก็ยกทัพ มา ณสามสิบท่าดินแดง จัดแจงการทั้งปวงตามรัสั่งพระเจ้าอังวะ ฝ่ายปะกันหวุ่นเจ้าเมืองเมาะตะมะ ให้เร่งรัดเก็บเอาเงินทอง แก่ครอบครัวสมิงรามัญ และไพร่พลเมืองทั้งปวงได้ความยากแค้น บ้างหลบหนีมาบอกกันยังกองทัพและนายทัพนายกองรามัญทั้งปวงก็ โกรธว่าพะม่าข่มเหงเบียดเบียฬครอบครัวข้างหลัง จึงชวนกันคิดกบฎ ฆ่าแพกิจจานายทัพ กับทั้งไพร่พลพะม่าห้าร้อยเสียทั้งสิ้นที่ท่าดินแดง แล้วก็ยกทัพกลับไปเมืองเมาะตะมะ และบรรดารามัญนายไพร่ซึ่งอยู่ ที่เมืองและเมืองขึ้นทั้งปวงนั้น ก็พร้อมใจเข้าด้วยกันทั้งสิ้น ชวน กันยกเข้าปล้นเมืองเมาะตะมะในเพลากลางคืนโห่เป็นเสียงไทย ปะกัน หวุ่นและกรมการพะม่าทั้งปวงตกใจไม่สู้รบทิ้งเมืองเสีย ลงเรือหนี ไปเมืองย่างกุ้งแล้วบอกขึ้นไปถึงเมืองอังวะว่า มอญเมืองเมาะตะมะ เป็นกบฎสิ้นทั้งเมือง ฝ่ายนายทัพนายกองสมิงรามัญเมาะตะมะ ก็ยกกองทัพรามัญ ติดตามขึ้นไปตีได้เมืองจิตตอง เมืองหงสา แล้วยกขึ้นไปตีเมืองย่างกุ้ง เข้าตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ แล้วยกเข้าปล้นเจ้าเมืองย่างกุ้งต่อรบเป็น สามารถ มอญหักเข้าไปตีกึ่งหนึ่ง พะม่าตั้งค่ายในเมืองกั้นไว้ได้ ครึ่งเมือง ครั้นพระเจ้าอังวะทราบในหนังสือ จึงให้อะแซหวุ่นกี้ถือพล พะม่าหมื่นหนึ่ง ยกลงมารบมอญกบฎ พอทัพหน้าอะแซหวุ่นกี้ลงมาถึง ก็เข้าตีทัพมอญ มอญต่อรบสู้มิได้ ก็ลาดถอยไปกลับลงมาเมืองเมาะ ตะมะ กองทัพอะแซหวุ่นกี้ก็ยกติดตามลงมา รามัญทั้งปวงเห็นเหลือ กำลังจะสู้รบพะม่ามิได้ ก็กวาดครอบครัวหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิ สมภารณกรุงพระมหานครศรีอยุธยา แยกกันเป็นหลายพวก เข้ามา ทางด่านพระเจดีย์สามองค์บ้าง ทางด่านเมืองตากบ้าง กองทัพ พะม่าก็ยกติดตามมอญมาทุกทาง ที่ตามมาทันก็กวาดต้อนครอบ ครัวมอญกลับคืนไปได้บ้าง ในขณะเมื่อทัพหลวงตั้งอยู่ณบ้านะระแหงนั้น จึงขุนอินทคิรี นายด่านเมืองตาก นำเอาครอบครัวไทยมอญซึ่งหนีมาแต่เมืองเมาะ ตะมะเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร แล้วพาตัวสมิงสุรายกลัน ซึ่ง เป็นตัวนายมานั้นเข้ามาเฝ้า กราบถวายบังคมณพระตำหนัก สวนมะม่วง จึงพระราชดำรัสให้ล่ามถามว่า พระเจดียฐานอันชื่อว่ากลอมป้อม ณเมืองเมาะตะมะนั้น ยังปรกติดีอยู่หรือ สมิงสุรายกลั่นกราบทูลว่า ยังปรกติดีอยู่ จึงดำรัสให้ถามว่า พระมหาเจดีย์เกศธาตุเมืองย่าง กุ้ง ซึ่งว่าฉัตรยอดหักลงมานั้นยกขึ้นได้แล้วหรือ สมิงสุรายกลั่น กราบทูลว่า พระเจ้าอังวะให้ลงมาปฏิสังขรณ์สามปีแล้ว ยังหายก ขึ้นได้ไม่ จึงตรัสให้ถามว่า ข่าวลือมาว่านางรามัญบุตรีคนเข็ญใจ อายุได้สิบสี่สิบห้าปีรู้อรรถธรรม เกิดที่เมืองเมาะตะมะนั้นมีจริงหรือ สมิงสุรายกลั่นกราบทูลว่ามีจริงอยู่ แต่ยังหาได้ส่งขึ้นไปเมืองอังวะ ไม่ พอเพลาบ่ายจึงดำรัสให้พระยายมราชแขก ยกกองทัพไปขัด ด่านอยู่ ณ ท่าดินแดง รับครัวมอญกับจะได้ต่อรบทัพพะม่าซึ่งยกตาม มอญมานั้นด้วย ครั้นถึง ณวันศุกรเดือนอ้ายแรมห้าค่ำเพลาเช้า บันดาลฝนห่า ใหญ่ตกเป็นมหาพิชัยราชฤกษ์ จึงโปรดให้พระยาคำแหงวิชิตคุมพล สองพันเศษ อยู่รักษษเมืองตากคอยรับครัวมอญ แล้วเสด็จทรง ช้างต้นพังเทพลีลา ให้ยาตราพลทัพหลวงดำเนิรโดยสถลมารค ประทับรอมแรมไปโดยระยะทางหลายเวร ถึงตำบลนาเพียกเหนือ เมืองนครลำปาง แล้วดำเนิรทัพหลวงไปอีกหลายเวร ถึงวันอังคาร เดือนยี่ขึ้นสองค่ำเสด็จถึงเมืองลำพูน ให้ตั้งค่ายหยุดประทับอยู่ที่นั่น ฝ่ายโปสุพลารู้ว่า กองทัพไทยยกขึ้นมาจะตีเมืองเชียงใหม่ จึงให้พระยาจ่าบ้าน และแสนท้าวพระยาลาวทั้งปวง ยกกองทัพลาว พันหนึ่งเป็นหน้าให้ยกล่วงหน้าไปก่อน แล้วให้โปมยุง่วนเจ้า เมืองอยู่รักษาเมือง โปสุพลาจึงยกกองทัพพะม่า ทัพลาวเก้าพัน จะยกลงมารับทัพไทย ฝ่ายพระยาจ่าบ้าน กับพระยากาวิละ ขุนนางเมืองนครลำปาง ซึ่งเป็นกองหน้านั้น เข้ามาหากองทัพเจ้าพระยาจักรี ขอสวามิภักดิ์ เข้าด้วยจะกลับต่อรบพะม่า เจ้าพระยาจักรีจึงบอกลงมาให้กราบทูล แล้วให้กองทัพพระยาจ่าบ้าน พระยากาวิละนำทัพขึ้นไป ฝ่ายโปสุพลายกกองทัพมาได้คืนหนึ่งรู้ข่าวว่า พระยาจ่าบ้าน พระยากาวิละกลับคิดร้ายเข้าด้วยกับไทย จึงถอยทัพกลับไปเมือง เชียงใหม่ และกองทัพเจ้าพระยาจักรี ก็ยกขึ้นไปถึงแม่น้ำเมือง เชียงใหม่ทัพพะม่ายกออกมาขุดสนามเพลาะ คอยสะกัดรบตามริมน้ำ จะข้ามทัพไปยังมิได้ จึงให้หมื่นศรีสหเทพลงมากราบทูล มีพระราช ดำรัสสั่งให้เอาปืนจ่ารงต้นกรมทำร้านขึ้นยิงให้พะม่าแตก แล้วจงยก ข้ามน้ำไป อันจะรั้งรออยู่ฉะนี้มิได้ การศึกจะเนิ่นช้า หมื่นศรีสหเทพ ก็กลับไปบอกตามรับสั่ง พอกองทัพหน้าตีทัพพะม่าแตก ยกข้าม น้ำไปได้ตั้งค่ายล้อมเมืองได้สามสิบสี่ค่าย เจ้าพระยาจักรีจึงให้ พระยาธิเบศร์บดีลงมากราบทูลพระกรุณาให้ทราบ สมเด็๗พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระโสมนัส จึงพระราชทานม้า พระที่นั่งกับพระแสงปืนสั้นกระบอกหนึ่ง ไปให้เจ้าพระยาจักรี แล้วพระ ราชทานพระแสงปืนสั้นอีกสองบอก ไปให้เจ้าพระยาสุรสีห์บอกหนึ่ง เจ้าพระยาสวรรคโลกบอกหนึ่ง ครั้นค่ำลงเพลาห้าทุ่มเศษ จึงลาวสามสิบเอ็ดคน เป็นบ่าว แสนหนังสือ มาแต่บ้านพะแวน บอกให้กราบทูลว่า กองทัพพะม่า ประมาณสองพัน ยกมาแต่เมืองเมาะตะมะ ตามครัวมอญเข้ามาทาง บ้านนาเกาะดอกเหล็กด่านเมืองตาก จึงดำรัสให้พระเจ้าหลานเธอ รามลักษณ์เป็นแม่ทัพถือพลพันแปดร้อยเศษ ยกไปทางบ้านจอมทอง ตัดลงไปบ้านนาเกาะดอกเหล็กตีทัพพะม่าซึ่งยกเข้ามานั้น ครั้นรุ่งขึ้นเจ้าพระยาสวรรคโลก ลงมาแต่ค่ายล้อมเมือง เชียงใหม่ นำเอากระสุนปืนทองคำสองกระสุน ซึ่งพะม่ายิงออกมา แต่ในเมืองมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย แล้วกราบถวายบังคมลา กลับไป จึงทรงพระอธิษฐานแล้วสั่งให้พราหมณ์ เอากระสุนปืน ทองคำทั้งคู่นั้น ไปประกาศแก่เทพดาในบริเวณพระมหาธาตุใน เมืองลำพูนแล้วให้ฝังไว้ณที่ใกล้พระมหาธาตุนั้น ในวันนั้นพระเสมียนตราในเจ้าพระยาสวรรคโลก บอกข้อราช การลงมากราบทูลว่า ได้เกลี้ยกล่อมชาวเมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ ซึ่งแตกหนีออกอยู่ป่า มาเข้าเป็นอันมาก ทั้งครอบครัวถึงห้าพันเศษ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัสสรรเสริญ สติปัญญาพระเสมียน ตราแล้วทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เป็ฯพระยาอักษรวงศ์ ให้คุมพวก ลาวซึ่งมาเข้าเกลี้ยกล่อมนั้น จัดเอาแต่ที่ฉกรรจ์ไปเข้ากองทัพเจ้า พระยาจักรีตีพะม่าณเมืองเชียงใหม่ ครั้นณวันจันทร์เดือนอ้ายขึ้นแปดค่ำเพลาบ่าย จึงพระราช ฤทธานนท์ถือหนังสือมาแต่กองทัพพระยาคำแหงวิชิต ซึ่งตั้งอยู่รักษา เมืองตากว่าณวันพุธเดือนยี่ขึ้นเก้าค่ำ สุวรรณเทวะ กับทามุมวย สองนายพาครัวรามัญเข้ามาถึงเมืองตาก เป็นคนห้าสิบคนให้การว่า มาแต่เมืองเริง ครอบครัวชายหญิงประมาณพันเศษ ครั้นมาถึง ตำบลอุวาบ พะม่าตามมาทันได้รบพุ่งกัน และจักกายวอซึ่งเป็นนาย ใหญ่มานั้นถูกปืนตาย พวกครัวทั้งปวงแตกหนีกระจัดพรัดพราย ตาม มาข้างหลัง เข้าทางบ้านนาเกาะดอกเหล็ก อนึ่งลาวชาวฟอนบาหง ก็แตกเข้ามาทางด่านสะตอง ครอบครัวชายหญิงร้อยสี่สิบคน ผู้รักษา ด่านสะตองก็น้อยตัว และบ้านนาเกาะดอกเหล็กก็หามีผู้อยู่รักษาไม่ ครั้นได้ทรงทราบในใบบอก จึงให้มีหนังสือรับสั่งไปหากองทัพ พระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์กลับมา แล้วให้มีหนังสือตอบไปถึง พระยาคำแหงวิชิต ให้แบ่งทัพยกออกไปตั้งอยู่ณบ้านนาเกาะดอก เหล็กเกลี้ยกล่อมลาวมอญซึ่งแตกตื่นหนีมานั้นประมวญเข้าไว้ แล้ว ออกคอยก้าวสะกัดตีทัพพะม่า อันติดตามครัวมาให้แตกฉานไปจงได้ ครั้นถึงณวันพุธเดือนยี่ขึ้นค่ำหนึ่งจึงเจ้าพระยาจักรีให้พระยาวิตร นาวีลงมากราบทูลว่า กองเจ้าพระยาสวรรคโลกเข้าตั้งค่ายล้อมเมือง ด้านสะกัดฝ่ายใต้ได้สองค่าย และด้านรีฝ่ายตะวันออก ตะวันตกนั้นก็ ให้กองทัพหัวเมืองทั้งปวง เข้าตั้งค่ายล้อมชักปีกกาถึงกันตลอดสอง ด้านแล้ว ยังแต่ด้านสะกัดฝ่ายเหนือด้านเดียว ถ้ายกเข้าตั้งค่ายเห้น จะได้รบกันเป็นสามารถ แม้นได้ท่วงทีจะกรูเข้าหักเอาเมืองทีเดียว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสดับไม่เห็นด้วย ดำรัสว่า พะม่าตั้งค่ายรับอยู่ในเมือง ซึ่งจะกรูเข้าไปนั้นเกลือกจะเสียทีแล้ว ทแกล้ว ทหารก็จะถอยกำลังกล้าย่อหย่อยลง ถ้าล้อมรอบเมืองได้แล้ว จะหัก เข้าที่ไหน ก็ให้ตั้งหน้าทำเข้าไปฉะเพาะที่นั้น และบรรดาค่ายทั้งปวง ให้ขุดคูลงขวากกันข้าศึก แต่ซึ่งค่ายประชิดจะได้วางปืนหามแล่น นั้นให้ขุดคลองเดิรบังปืนพะม่า ให้ดูที่ค่ายใดซึ่งตั้งเข้าใกล้เมือง ได้ก็ให้ขุดคลองโปรยขวากกระจับที่ค่ายนั้น แม้นข้าศึกจะยกออก มาหักค่าย ก็ให้ไล่คลุกคลีตีตามเข้าเมืองทีเดียว พระยาวิจิตรนาวี ก็กราบถวายบังคมลา กลับไปแจ้งข้อรับสั่งแก่เจ้าพระยาจักรี เจ้า พระยาจักรีก็จัดแจงการทั้งปวงตามกระแสพระราชดำรัสสั่งไปนั้น ฝ่ายโปสุพลา โปมยุง่วน ก็ให้นายทัพนายกองพะม่า ยกพล ทหารออกมาตั้งค่ายรับนอกเมืองเป็นหลายค่าย แล้วยกออกปล้นค่าย เจ้าพระยาจักรี ซึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันออกในเพลากลางวัน เจ้าพระยา จักรีมิได้ครั่นคร้าม นั่งเล่นหมากรุกอยู่ในค่ายพลาง ร้องสั่งพล ทหารให้วางปืนใหญ่น้อยออกไปจากค่ายยิงพะม่า พะม่าถูกปืนล้ม ตายลงมาก จะปล้นเอามิได้ก็ถอยกลับเข้าค่าย ครั้นณวันเสาร์เดือนยี่ ขึ้นสิบสามค่ำ เพลาย่ำรุ่งเช้า จึงสมเด็จ พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเครื่องราชวิภูษิตสำหรับราชรณยุทธ์ ทรงราชาวุธสรรพเสร็จ ก็เสด็จทรงช้างต้นพลายคเชนทรบรรยงก์ เป็น ราชพาหนะให้ยาตราพลากรทัพหลวงจากค่ายริมเมืองลำพูน ขึ้นไป ณเมืองเชียงใหม่ หยุดประทับร้อนณพลับพลาชัยในค่ายบ่อคก ไกล เมืองเชียงใหม่ทางสามร้อยห้าสิบสองเส้น แล้วดำเนิรทัพหลวงไป ประทับณค่ายมั่นริมน้ำใกล้เมือง ในวันนั้นเจ้าพระยาจักรีแม่ทัพหน้า ยกพลทหารออกตีค่าย พะม่าซึ่งออกมาตั้งรับนอกเมืองด้านตะวันออก แตกหนีเข้าเมืองทั้งสิ้น และกองเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งตั้งค่ายตรงประตูท่าแพ ก็ยกออกตีค่าย พะม่าแตกทั้งสามค่าย ตำรวจผู้ไปตรวจการมากราบทูล สมเด็จพระ พุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระโสมนัส ยกพระหัตถ์ตบพระเพลาทั้งสองข้าง ดำรัสสรรเสริญเจ้าพระยาทั้งสองว่า จะว่พี่ดีหรือน้องดีไฉนในครั้งนี้ ครั้นค่ำเพลายามเศษ โปสุพลา และโปมยุง่วน เจ้าเมือง เชียงใหม่ก็พาครัวหนีออกจากเมืองทางประตูช้างเผือก ด้านค่าย พระยาสรรคโลก ซึ่งตั้งล้อมยังไม่ตลอด เบียดเสียดเยียดยัดกัน ตายที่ประตูเมืองประมาณสองร้อยเศษ พวกพลทัพไทยออกไล่ตาม จับพะม่า และชิงเอาครัวลาวได้เป็นอันมาก ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตย์เดือนยี่ขึ้นสิบสี่ค่ำเพลาเช้า จึงสมเด็จ พระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จทรงช้างพระที่นั่งไปทอดพระเนตรค่าย ซึ่ง มเมืองเชียงใหม่ และท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงมาเฝ้า กราบถวายบังคมพร้อมกัน จึงมีพระราชดำรัสถามว่า พะม่ายกทัพหนี ไปครั้งนี้ ด้วยอุบายความคิดและฝีมือของผู้ใด เจ้าพระยาจักรี และ ท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงพร้อมกันกราบทูลว่า ซึ่งพะม่าแตก หนีไปครั้งนี้ด้วยพระราชกฤษฎาเดชานุภาพเป็นแท้ เพราะเหตุพระสงฆ์ ในเมืองออกมาบอกข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงว่า ณวันศุกรเดือนยี่ขึ้นสิบ สองค่ำ กลางคืนเพลาสองยามเศษ บังเกิดอัศจรรย์ในเมืองเชียงใหม่ แผ่นดินไหว พอรุ่งขึ้นทัพหลวงก็เสด็จมาถึงเมือง จึงทรงพระกรุณา โปรดพระราชทานสนองพระองค์ เข้มขาบกับผ้าส่านแก่เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ทั้งสองเป็นรางวัลเสมอกัน แล้วให้ปรึกษาโทษเจ้า พระยาสวรรคโลกซึ่งมิได้ปลงใจในราชการสงคราม ตั้งค่ายไม่ตลอด ด้าน ไว้หนทางให้พะม่าหนีไปได้ ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนห้าสิบที แล้วจำครบไว้ และเมื่อสำเร็จราชการศึกได้เมืองเชียงใหม่ ครั้งนั้น ได้ปืนใหญ่น้อยสองพันร้อยสิบบอกฆ้องสามสิบสองคู่ ม้าสองร้อยม้า ไทยมอญห้าร้อยครัว ไทยชาวเมืองสวรรคโลกห้าร้อยเศษ จึงดำรัส ว่าพวกครัวสวรรคโลกเป็นกบฎต่อแผ่นดิน นำทัพพะม่ามาตีเมืองจะ เอาไว้มิได้ ให้คลอกเสียทั้งสิ้น ท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวง กราบทูลขอพระราชทานชีวิตไว้ เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง ครั้นณวันพุธเดือนยี่แรมสองค่ำเพลาเช้า จึงเสด็จพระราช ดำเนิรเข้าไปนมัสการพระพุทธปฏิมากรพระสิหิงค์ในเมืองเชียงใหม่ ทอดพระเนตรเรือนโปมยุง่วนเจ้าเมือง และพวกลาวชาวเมืองบอกแก่ พวกข้าหลวงว่า แต่ก่อนมาเทศกาลเดือนยี่นี้ น้ำในแม่น้ำหน้าเมือง เชียงใหม่เคยลงขอด แล้วบัดนี้น้ำขึ้นประมาณศอกหนึ่งเป็นอัศจรรย์ จึงเสด็จออกมาประทับอยู่ ณตำหนักในค่ายนอกเมือง ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนยี่แรมสามค่ำ จึงทรงพระกรุณาโปรด ตั้งพระยาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการ ให้ถืออาชญาสิทธิ์ครอง เมืองเชียงใหม่ ให้พระยาวังพร้าวผู้หลานเป็นพระยาอุปราช น้อยโพธิ เป็นพระยาราชวงศ์ ให้พระยาลำพูนเป็นพระยาวัยวงศา ถืออาชญา สิทธิ์ครองเมืองตามเดิม น้อมต่มต้อผู้น้องเป็นพระยาอุปราช ให้พระ ยากาวิละถืออาชญาสิทธิ์ครองเมืองนครลำปาง คำโสมผู้น้องเป็น พระยาอุปราช น้อยธรรมน้อยอีกคนหนึ่ง เป็นพระยาราชวงศ์ ยังน้อง อีกสี่คนชื่อคำทิพหนึ่ง หมูล่าหนึ่ง คำฟั่นหนึ่ง บุญมาหนึ่งให้เป็นผู้ ช่วยราชการ แล้วโปรดพระราชทานเครื่องยศโดยควรแก่ฐานานุศักดิ์ ผู้ใหญ่ผู้น้อย โปรดให้เจ้าพระยาจักรี อยู่ช่วยจัดแจงว่าราชการบ้าน เมืองทั้งปวงให้ราบคาบเป็นปรกติก่อน ครั้นณวันศุกรเดือนยี่แรมสี่ค่ำเพลาเช้า จึงเสด็จพระราชดำ เนิรทัพหลวงกลับจากเมืองเชียงใหม่ ลงมาหยุดประทับแรมอยู่ณเมือง ลำปางนมัสการลาพระมหาธาตุ ทรงถวายสักการบูชาด้วยดอกไม้ ทองเงินแล้วถวายครัวลาวสิบเจ็ดคน เป็นข้าไว้ปฎิบัติพระมหาธาตุ ครั้นณวันอังคารเดือนยี่แรมสิบห้าค่ำ จึงพระเชียงทองบอกข้อ ราชการขึ้นไปกราบทูลว่า ทัพพะม่ายกเข้ามาทางด่านแม่ลำเมา จึง เสด็จราชดำเนิรทัพหลวงรีบลงมาถึงเมืองตาก ณวันพฤหัสบดีเดือนสาม ขึ้นสองค่ำ ดำรัสให้หลวงมหาเทพเป็นแม่ทัพกับจมื่นไววรนาถ ถือ พลสองพันรีบยกไปตีกองทัพพะม่า ซึ่งยกเข้ามาทางด่านแม่ลำเมานั้น แตกไป จึงบอกหนังสือมากราบทูลดำรัสให้นายควรรู้อรรถ นาย เวรมหาดไทย ลงเรือรีบลงไปบอกพระยาคำแหงวิชิต ซึ่งตั้งอยู่ณบ้าน ระแหงใต้เมืองตากนั้ ให้เร่งยกกองทัพออกไป ก้าวสะกัดตีทัพ พะม่าซึ่งแตกไปนั้น ในขณะนั้น เรือพระที่นั่งยังจอดอยู่ณท่าสวนมะม่วงบ้านระแหง หาทันขึ้นไปรับเสด็จถึงเมืองตากไม่ ครั้นค่ำลงเพลาสองยาม จึงเสด็จ ลงทรงเรือจมื่นจง กรมวัง ล่องลงมาพบเรือนายควรกลับขึ้นไปนาย ควรกราบทูลว่า เห็นกองไฟอยู่ริมน้ำ ได้ยินเสียงพะม่าเห่ขึ้นก็ ทรงพระวิมติสงสัย จึงดำรัสให้นายควรเป็นเรือนำ นำเสด็จลงไปจึง พบเรือตะรางใส่พะม่าเมืองเชียงใหม่ พระเพ็ชรปาณีคุมมาหยุดอยู่ให้ พะม่าเห่ขานยาม ก็เสด็จล่องลงมา พอเรือพระที่นั่งพระทบตอล่มลง เสด็จขึ้นณหาดทราบพบนายเกด นายชูละคร นั่งผิงไฟอยู่ นายชู ถวายผ้าลายผืนหนึ่ง เช็ดพระชงฆ์ เช็ดพระบาทจึงหลวงราช โกศาเชิญห่อพระภูษาซึ่งชุ่มน้ำมาแก้ออก เห็นพระภูษาส่วนองค์หนึ่ง แห้งปรกติอยู่เป็นอัศจรรย์นัก จึงน้อมนำเข้าไปถวาย แล้วเสด็จพระ ราชดำเนิรด้วยพระบาท มาโดยทางสถลมารคถึงพระตำหนักสวน มะม่วงบ้านระแหง จึงดำรัสให้ข้าราชการปรึกษาคุณและโทษนายควร และข้า ราชการทั้งปวงปรึกษาว่า ทรงพระกรุณาใช้ไปราชการ นายควรมิ ได้พิจารณาให้ถ่องแท้ เอาความมากราบทูลด้วยเสียงพะม่าเห่นั้น เป็นความผิดโทษมีแก่นายควร อนึ่งนายควรได้โดยเสด็จพระราช ดำเนิรเป็นเพื่อนพระองค์ในคราวนกันดารนั้น เป็นความชอบ คุณมีแก่ นายควร และคุณกับโทษพอกลบลบกัน ประการหนึ่งซึ่งนายชูละคร ได้ถวายผ้าลายได้เช็ดพระชงฆ์พระบาท เมื่อกันดารนั้น เป็นความ ชอบมีแก่นายชูละคร จึงโปรดให้พระราชทานเงินตราห้าตำลึง แก่ นายชูละคร เป็นบำเหน็จ ครั้นณวันเสาร์เดือนสามขึ้นสี่ค่ำเพลาเช้า จึงทรงพระกรุณา พระราชทานเงินแจกราษฎรชาวบ้านระแหง สิ้นทั้งผู้ใหญ่ทั้งเด็ก เสมอคนละสลึก จึงพระยาคำแหงวิชิตกราบทูลกล่าวโทษพระยา นนทบุรีซึ่งเป็นลูกวา หลบหลีกย่อท้อต่อการสงครามเกรงกลัวข้าศึก จึงให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยนพระยานนทบุรีร้อยที แล้วให้จำครบส่ง ลงไปณกรุง ให้ประหารชีวิตเสีย ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนสามขึ้นแปดค่ำ จึงเสด็จไปนมัสการ พระพุทธปฏิมากร ณวัดกลาง วัดดอยเขาแก้ว แล้วตรัสถามพระ สงฆ์ว่า ผู้เป็นเจ้าจำได้หรือไม่ เมื่อโยมยังอยู่บ้านระแหงนี้โยมยก ระฆังแก้วขึ้นชูไว้ กระทำสัตยาธิษฐานเสี่ยงบารมีว่า ถ้าจะได้ตรัสแก่ พระปรมาภิเษกสมโพธิญาณในอนาคตกาลเป็นแท้แล้ว ข้าพเจ้าจะตี ระฆังแก้วเข้าบัดนี้ ขอจงให้แตกฉะเพาะที่จุก จะได้ทำเป็นพระ เจดียฐาน บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ครั้นอธิษฐานแล้วจึงตีเข้า ระฆัง แก้วก็แตกที่จุกดุจอธิษฐานนั้น เป็นอัศจรรย์เห็นประจักษ์ พระสงฆ์ ถวายพระพรว่า จริงดังกระแสพระราชดำรัสนั้น ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนสามขึ้นเก้าค่ำ จึงเสด็จลงเรือพระที่ นั่งล่องลงมาโดยทางชลมารค ห้าเวรถึงกรุงธนบุรีมหานคร ฝ่ายข้างกรุงรัตนบุระอังวะพระเจ้ามังระลงมาณเมืองย่างกุ้ง กระทำการยกฉัตรยอดพระมหาเจดีย์เกศธาตุ ฝ่ายเสนาบดีซึ่งรักษาเมืองอังวะบอกลงมาวา พระยาหง สาวดี พระยาอุปราชา กับตละเกิงและรามัญทั้งปวง ซึ่งกวาดขึ้นไป ไว้ครั้งตีเมืองหงสาวดีได้ แต่ครั้งแผ่นดินพระเจ้ามังลองนั้น คิดกัน เป็นกบฎ เห็นว่าเสด็จไม่อยู่ จะยกเข้าปล้นเอาเมืองข้างหลัง บัดนี้จับ จำไว้สิ้นแล้ว พระเจ้ามังระจึงให้มีหนังสือตอบขึ้นไป ให้ประหาร ชีวิตพระยาหงสาวดี พระยาอุปราชา และตละเกิงสมิงรามัญ ตัวนาย ซึ่งร่วมคิดกันเป็นกบฎนั้นเสียให้สิ้น แล้วให้ข้าหลวงมาเร่งกองทัพ อะแซหวุ่นกี้ ซึ่งตั้งอยู่ณเมืองเมาะตะมะนั้น ให้ยกตามมอญกบฎเข้า ไปตีเอาเมืองไทยให้ได้ อะแซหวุ่นกี้จึงให้งุยอะคุงหวุ่นเป็นแม่กองทัพหน้า กับอุตมสิ จอจัวหนึ่ง ปะคันเลชูหนึ่ง เมี้ยนหวุ่นหนึ่ง อะคุงหงุ่นมุงโยะหนึ่ง เปน โยมแมงละนรทาหนึ่ง ยุยองโปหนึ่ง ถือพลห้าพันยกล่วงมาก่อน แล้ว ให้ตะแคงมระหน่องเป็ฯเชื้อวงศ์พระเจ้าอังวะ กับหม่องจ่ายิดถือพล สามพันอีกทัพหนึ่งยกหนุนมา และกองหน้าพะม่ายกตามครัวมอญ เข้ามา เข้าตีกองหน้าทัพไทยซึ่งตั้งค่ายอยู่ณท่าดินแดงนั้นแตก พระ ยายมราชแม่ทัพก็ถอยลงมา แล้วบอกเข้ามาให้กราบทูลว่า พะม่า ยกทัพใหญ๋มาเหลือกำลังจะต้านทานต่อรบ ขอพระราชทานกองทัพ เพิ่มเติมไปช่วย จึงดำรัสให้พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าจุ้ย กับพระยา ธิเบศรบดีเป็นแม่ทัพถือพลสามพันยกไปตั้งค่ายรับณเมืองราชบุรี ขณะนั้นพระยายมราชบอกส่งพระยาอภัยรณฤทธิ์หนึ่ง พระยา เพ็ชร์บุรีหนึ่ง หลวงสมบัติบาลหนึ่ง หลวงสำแดงฤทธาหนึ่ง ทั้งสี่นาย ซึ่งแตกพะม่าเข้ามานั้น แต่พระยาสุนทรพิพิธหนึ่ง หลวงรักษ์มณเทียร หนึ่ง พระยาสุพรรณบุรีหนึ่ง พระยากาญจนบุรีหนึ่ง พระยานครชัยศรี หนึ่ง ทั้งห้านายนี้ยังไม่พบตัว จึงดำรัสให้จับเอาบุตรภรรยามาจำไว้ ให้ทำราชการแก้ตัวส่งไปเข้ากองพระเจ้าลูกเธอ และพระยาธิเบศร์ บดีแล้วดำรัสให้พระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์ถือพลพันหนึ่ง ยกไป ช่วยพระเจ้าลูกเธอคิดอ่านการสงครามเอาชัยชำนะให้จงได้ ถึงณวันจันทร์เดือนสามแรมสี่ค่ำเพลาเช้า เสด็จลงพระตำหนัก แพให้เรือตำรวจขึ้นไปเร่งกองทัพ ซึ่งกลับมาแต่เมืองเชียงใหม่ยัง ล้าหลังอยู่ ตามเสด็จมาไม่ทันนั้น ให้รีบลงมาโดยเร็วอย่าให้ใคร แวะเข้าบ้านเป็นอันขาด ถ้าใครแวะเข้าบ้าน จะประหารชีวิตเสีย และเรือท้ายพระยาพระหลวงขุนหมื่นข้าราชการทั้งปวงนั้น ก็รีบเร่ง ลงมาถึงหน้าพระตำหนักแพ พอกราบทูลทวายบังคมลา แล้วก็โบก พระหัตถ์สั่งให้รีบออกไปเมืองราชบุรี ขณะนั้นพระเทพโยธาจอดเรือแวะขึ้นบ้าน ตำรวจลงมากราบ ทูลพระพิโรธดำรัสให้เรือตำรวจรีบไปเอาตัวมาในทันใดนั้น แล้ว เอาตัวพระเทพโยธาขึ้นมัดไว้กับเสาพระตำหนักแพ ทรงพระแสง ดาพออกฟันพระเทพโยธาด้วยพระหัตถ์บนพระตำหนักแพศีรษะขาดตก ลงให้ตำรวจนำเอาไปเสียบประจานไว้ที่หน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ และ ศพนั้นให้ทิ้งน้ำเสียอย่าให้ใครดูเยี่ยงสืบไป ฝ่ายพวกรามัญซึ่งหนีพะม่านั้น พระยาเจ่งตละเสี้ยงตละเกล็บ กับพระยากลางเมืองซึ่งหนีเข้ามาครงกรุงเก่า พะม่าตีกรุงได้ ได้ตัว ไปและสมิงรามัญนายไพร่ทั้งปวง พาครอบครัวเข้าทุกด่านทุกทาง ให้ข้าหลวงไปรับมาถึงพระนครพร้อมกันแล้ว ทรงพระกรุณาให้ตั้ง บ้านเรือนอยู่ณแขวงเมืองนนท์บ้าง เมืองสามโคกบ้าง แต่ฉกรรจ์จัด ไว้สามพันโปรดให้หลวงอำเรอภักดิ์ครั้งกรุงเก่าเป็นเชื้อรามัญ ให้ เป็นพระยารามัญวงศ์ เรียกว่าจักรีมอญควบคุมกองมอญใหม่ทั้งสิ้น และโปรดให้พระราชทานตราภูมิคุ้มห้ามสรรพากรขนอนตลาดทั้งปวง ให้ค้าขายทำมาหากินเป็นสุข แล้วให้เกณฑ์พระยาราบัญวงศ์คุม กองมอญยกหนุนออกไปต่อรบพะม่าอีกทัพหนึ่ง แล้วโปรดให้มีตรา ขึ้นไปหากองทัพเจ้าพระยาจักรีและทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือ เมือง ตะวันออกทั้งปวง ให้เร่งรีบลงมาช่วยราชการสงคราม ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี อยู่ณเมืองเชียงใหม่ และพระยาเชียงใหม่ พระยานครลำปางบอกว่า เมืองน่านผู้คนมาก ยังมิได้เข้ามาสวามิภักดิ์ เจ้าพระยาจักรีจึงให้พระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง กับ ขุนนางไทยข้าหลวงไปเจรจาเกลี้ยกล่อมพระยาน่านโดยดี พระยาน่าน ก็ยอมเข้าสวามิภักดิ์ ขอขึ้นเป็นข้าขอบขัณฑสีมา แล้วแต่งขุนนางสอง นายให้ลงมาเฝ้าด้วย พอข้าหลวงถือตราขึ้นไปหากองทัพกลับ และ เกณฑ์ทัพหัวเมืองทั้งปวง เจ้าพระยาจักรีและท้าวพระยาพระหัวเมือง ทั้งหลายก็จัดแจงกองทัพทุกๆเมือง ยกลงมาตามพระราช ดำรัสให้หานั้น ฝ่ายกองทัพพระม่าก็ยกแยกกันไปเที่ยวไล่จับผู้คนครอบครัว ณแขวงเมืองกาญจนบุรี เมืองราชบุรี เมืองนครชัยศรี เมืองสุพรรณ บุรี ทุกบ้านทุกตำบล ครั้นณวันอังคารเดือนสามแรมหกค่ำ กรมการเมืองนครชัย ศรีบอกเข้ามากราบทูลว่า พวกตำรวจหลัง ถือท้องตราพระราชสีห์ ไปเมืองสุพรรณบุรี ถึงตำบลบ้านภูมิพบพะม่าประมาณสามสิบคนควบ ม้าไล่ก็วิ่งหนี กะทอผ้าซึ่งใส่หนังสือท้องตรานั้นตกหายเสีย พะม่าเข้า ล้อมบ้านภูมิอยู่แต่นายพูน นายสา นายแก่สามคนนี้หนีได้ นายพรม นั้นหายไปไม่พบกัน สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึงดำรัสให้พระยาพิชัย ไอศวรรย์ ผู้ว่าที่กรมท่ายกกองทัพพลพันหนึ่งไปเมืองนครชัยศรี ตี ทัพพะม่าซึ่งยกมานั้น ฝ่ายทัพพะม่าซึ่งยกมาทางเมืองกาญจนบุรี มาตั้งค่ายใหม่ อยู่ณปากแพรง แล้วแบ่งทัพมาสามพันเศษ ยกเข้ามาตั้งค่ายอยู่ณบ้าน นางแก้ว แขวงเมืองราชบุรีสามค่าย ทัพพระยายมราชก็เลิกถอย เข้ามา พระเจ้าลูกเธอกับพระยาธิเบศร์บดี จึงให้หลวงมหาเทพเป็น กองหน้าคุมคนพันหนึ่ง ยกไปตั้งค่ายประชิดโอบค่ายพะม่าด้านตะวัน ตก และทัพพระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์ พลพันหนึ่งยกไปตั้งค่ายประ ชิดด้านตะวันออก พระเจ้าลูกเธอกับพระยาธิเบศร์บดีตั้งค่ายมั่นอยู่ณ โคกกระต่าย แล้วบอกขอราชการเข้ามากราบทูลพระกรุณาให้ทราบ ครั้นถึงณวันอาทิตย์เดือนสามแรมสิบเอ็ดค่ำ ได้มหาพิชัย ฤกษ์จึงสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เสด็จทรงเรือพระที่นั่งกราบยาว ๑๓ วาพร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นอันมาก เสด็จยกพยุหยาตรานาวาทัพสรรพด้วยพลโยธาหาญ แปดพัน แปดร้อย เศษ จากกรุงธนบุรีไปโดยทางชลมารค หยุดประทับพลับพลาณเมือง สาครบุรี คอยน้ำขึ้น ครั้นค่ำเพลา ๕ ทุ่ม จึงให้เคลื่อนกองทัพไปเพลา รุ่งเช้าเข้าที่เสวยณวัดกลางค่ายบางกุ้ง เพลาบ่ายโมงเศษเสด็จไป ถึงค่ายมั่นเมืองราชบุรี ดำรัสให้พระยาวิจิตรนาวีไปสืบข่าวราชการ ณค่ายบ้านนางแก้ว แล้วเกณฑ์ท้าวพระยานายทัพนายกอง ยกพล ทหารหนุนเพิ่มเติมไปล้อมค่ายอีก เป็นหลายทัพหลายกอง ฝ่ยคะแนงมระหน่องยกกองทัพพลสามพัน ติดตามทัพพระยา ยมราชเข้ามาตั้งค่ายอยู่ณปากแพรก อะแซหวุ่นกี้เกณฑ์กองทัพ พะม่าทัพรามัญ หนุนเพิ่มเติมมาอีกพันหนึ่ง และกองทัพพระยายม ราชนั้นถอยลงมาตั้งค่ายอยู่ณดงรังหนองขาว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่ หัว จึงดำรัสให้พระยาสีหราชเดโช กับพระยาอินทรวิชิตเจ้าเมือง วิเศษชัยชาญถือพลสองพันยกหนุนไปช่วยกองทัพพระยายมราช ครั้นณวันอังคารเดือนสามแรมสามค่ำ จึงพระยาวิจิตรนาวีซึ่ง ไปสืบราชการค่ายบ้านนางแก้วกลับมากราบทูลว่า พะม่าประมาทฝี มือไทยนิ่งให้ตั้งค่ายล้อมมิได้ออกมารบพุ่ง ให้ร้องถามออกมาเป็น ภาษาไทยว่าตั้งค่ายมั่นแล้วหรือยัง ฝ่ายข้างเราร้องบอกไปว่า ยังไม่ ได้ตั้งมั่น แต่บัดนี้ตั้งค่ายล้อมค่ายพะม่าไว้รอบแล้ว ครั้นค่ำเพลายาม เศษจึงเสด็จยกพยุหโยธาทัพจากค่ายเมืองราชบุรีไปทางวัดอรัญญิก ประทับร้อนณพลับพลาค่ายศาลาโคกกระต่าย ครั้นรุ่งเช้าจึงเสด็จไป ประทับแรมณพลับพลาค่ายวัดเขาพระ คอยฟังข่าวราชการอยู่ที่นั่น และพะม่าหายกออกตีค่ายไทยไม่ นิ่งให้ล้อมด้วยมีจิตต์ประมาทว่า ไทยฝีมืออ่อนจะออกตีเมื่อไรก็จะแตกเมื่อนั้น จะได้จับผู้คนได้มาก ฝ่ายทัพไทยก็ตั้งค่ายล้อมไว้ถึงสามชั้น ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนสี่ขึ้นค่ำหนึ่ง เพลาเช้าจึงเสด็จพระ ราชดำเนิรพยุหยาตราทัพไปทอดพระเนตรถึงค่ายล้อม พระยารามัญ วงศ์หลวงบำเรอภักดิ์ หลวงราชเสนามราเฝ้า จึงดำรัสสั่งให้ไปตั้ง ค่ายรักษาหนองน้ำณเขาชะงุ้ม ในวันนั้นขุนผลักเมืองราชบุรีบอก เข้ามากราบทูลวา ทัพพะม่ายกเข้ามาทางประตูสามบานด่านเจ้าขว้าว จับชาวด่านไปได้สองคน จะยกกลับไปหรือจะตั้งอยู่ประการใดมิได้ ทราบ จึงดำรัสสั่งพระเจ้าลูกเธอกับกองทัพจีนพระยาราชาเศรษฐี ให้ยกลงไปรักษาค่ายเมืองราชบุรีแล้วให้รื้อค่ายเปล่าลงไปตั้งริมน้ำ ให้สิ้น ให้ปักขวากหนามจงมากแล้วให้กองเจ้าพระยาอินทรอภัย ยกไปรักษาสระน้ำเขาชั่วพรานตั้งค่ายอยู่สามค่าย เพลาค่ำวันนั้น พะม่าออกมาตีค่ายเจ้าพระยาอินทรอภัยครั้งหนึ่งแล้วแตกถอยไป ใน คืนวันนั้นพะม่ายกออกตีถึงสามครั้ง ได้รบกันเป็นสามารถจับพะม่าได้ เป็นสามคนเจ็บป่วยลำบากไปเป็นอันมาก จึงบอกข้อราชการและส่ง พะม่ามาถวาย ครั้นได้ทรงทราบจึงให้เตรียมพลทหารจะเสด็จยกไป ช่วยพระยาอินทรอภัย จึงพระยาเทพอรชุน หลวงดำเกิงรณภพ ทูลห้ามไว้รับอาสาจะยกไป ครั้นรุ่งขึ้นจึงดำรัสให้เกณฑ์ทหารกองในกองนอก และกอง อาจารย์ กองทะนายเลือกได้เจ็ดร้อยยี่สิบห้าคน ให้พระยาเทพอรชุน หลวงดำเกิงรณภพ ยกไปเป็นกองโจรไปช่วยเจ้าพระยาอินทรภัยแล้ว ให้ถามพะม่า พะม่าให้การว่า นายทัพซึ่งยกมาตีค่ายสระน้ำชื่อ นมโยแมละนคทาถือพลพันหนึ่ง ซึ่งตั้งค่ายอยู่ณบ้านนางแก้วนั้น นายทัพชื่อวุยอคุงหวุ่นถือพลสองพันเศษ ซึ่งตั้งค่ายอยู่ณปากแพรก นั้น นายทัพชื่อตะแคงมระหน่องเป็นเชื้อวงศ์พระเจ้าอังวะ กับหม่องจ่า ยึดพลประมาณสามพันเศษ ยังยกทัพหนุนมาอีกเป็นอันมาก และ ทางทะวายนั้นก็ยกมาอีกทัพหนึ่ง แต่นายทัพข้าพเจ้ามิได้รู้จักชื่อจึง โปรดให้พระณรงควิชิตไปตัดเอาศีรษะพะม่า ซึ่งถูกปืนตายณค่ายเขา ชั่วพรานไปเสียบไว้หน้าค่าย เข้าประชิดให้พร้อม แล้วสั่งให้ประกาศ แก่นายทัพนายกองค่ายล้อมว่า ให้ขังพะม่าไว้กว่าจะโซจึง เอาเข้าล่อเอา ถ้าพะม่าเรรวนออกจากค่าย อย่าให้ชิงเอาค่าย แต่ ให้รับรองไว้จงหยุด แม้นพะม่าหนีไปได้จะเอาโทษถึงสิ้นชีวิต ครั้น ค่ำลงเพลายามเก้าบาท พะม่าออกแหกค่ายหน้าด้านหลวงมหาเทพ พลทหารยิงปืนระดมไปก็กลับเข้าค่าย ที่ถูกปืนตายก็เป็นอันมาก อนึ่งในเพลาคืนวันนั้น ทัพพะม่ายกมาแต่ปากแพรก จะเข้าช่วยพะม่า ซึ่งอยู่ในค่ายล้อม จึงยกเจ้าตีค่ายหนองน้ำเขาชะงุ้มล้อมกองรามัญ เข้าไว้ จึงกองพระยาธิเบศร์บดีตีเข้าไปกันเอากองรามัญออกมาได้ เสีย ขุนณรงค์คนในที่รบพะม่าตีวกหลังหักออกมา ได้รบกันเป็น สามารถ กองทัพพระยาธิเบศร์บดีต่อรบต้านทานเหลือกำลังก็แตกถอย มา พะม่าได้ค่ายหนองน้ำเขาชะงุ้มก็เข้าตั้งมั่นอยู่ในค่าย ครั้นได้ ทรงทราบ พอกองทัพพระยานครสวรรค์ยกมาถึงจึงดำรัสให้พระยา นครสวรรค์เร่งยกไปช่วยพระยาธิเบศร์บดีในคืนวันนั้นจึงทราบว่า กอง มอญพระยารามัญวงศ์ออกจากที่ล้อมได้แล้ว จึงเสด็จกลับมาณค่าย ศาลาโคกกระต่าย พระยานครสวรรค์ พระยาธิเบศร์บดี จึงปรึกษา กันบอกส่งพระยารามัญวงศ์ และหลวงบำเรือศักดิ์ หลวงราชเสนา ซึ่ง เสียค่ายลงมาณพลับพลาโคกกระต่าย จึงดำรัสให้มีตราขึ้นไปให้ พระยานครสวรรค์พระยาธิเบศร์บดี ถอยทัพลงมาตั้งค่ายรับพะม่าอยู่ นอกค่ายล้อมบ้านบางแก้วไว้ ไกลประมาณห้าเส้น ครั้นณวันพุธเดือนสี่ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ จึงพระยายมราชพระยา สีหราชเดโช พระยาอินทรวิชิต บอกลงมากราบทูลว่า ตั้งค่ายอยู่ ณดงรังหนองขาว ทัพพะม่ายกมาแต่ค่ายปากแพรก เข้าตีค่ายได้ต่อรบ กันเป็นสามารถ พะม่าถูกปืนตายและบาดเจ็บลำบากไปเป็นอันมาก จับได้เป็นสองคนส่งมาถวาย แต่บัดนี้กระสุนดินดำนั้นยังอยู่น้อย ขอ พระราชทานเพิ่มเติมขึ้นไปอีก จึงดำรัสสั่งให้มีตราตอบขึ้นไปว่า ถ้า กองทัพเจ้าพระยาจักรียกลงมาถึงจึงจะให้ยกหนุนขึ้นไป ให้คอยเอา กระสุนดินดำที่กองทัพเจ้าพระยาจักรีนั้นเถิด ในขณะนั้นกรมการเมืองคลองวานบอก่งเม็งเข้ามาว่า พะม่า เมืองมะริดห้าร้อยยกเข้ามาตีบ้านทับสะแก ได้ตั้งค่ายรับไว้ แต่ ข้าพเจ้ากรมการน้อยตัวนัก ขอพระราชทานกองทัพไปช่วย จึงดำรัส สั่งให้มีตราตอบออกไปว่า ราชการศึกยังติดพันกันอยู่ ให้ผู้รั้ง กรมการทั้งปวงรับรองสู้รบพะม่าไว้จงได้ ในทันใดนั้นหลวงมหาแพทย์ออกไปแต่กรุงธนบุรี เข้าเฝ้ากราบ ถวายบังคมทูลพระกรุณาว่า สมเด็จพระพันปีหลวงกรมพระเทพา มาตย์ ทรงพระประชวรพระยอดอัคเนสัน เสด็จทิวงคตแต่ณวันอังคาร เดือนสี่ขึ้นหกค่ำปีมะเมีย ฉศก ในราษตรีเพลาสองยามแปดบาท และ ในวันนั้นได้ชะเลยพะม่า สองคนหนีออกมาจากค่ายล้อม บ้านนางแก้ว ให้การแก่นายทัพนายกองว่าอดอาหารอยู่ได้เจ็ดวันแล้ว ได้รับพระ ราชทานแต่เนื้อช้างเนื้อม้าแต่น้ำในบ่อนั้นยังมีอยู่ อนึ่งปืนใหญ๋ซึ่งยิง เข้าไปในค่ายนั้นถูกพะม่าล้มตายเป็นอันมาก พะม่าขุดหลุดลงอยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานม้าสิบม้า ให้พระยารามัญวงศ์ คุมกองรามัญใหม่ทั้งนายทั้งไพร่สี่ร้อยคน สรรพด้วยเครื่องสรรพาวุธ เป็นกองโจรยกไปลาดตระเวนข้างหลังเขาชะงุ้ม คอยตีพะม่าซึ่งจะ ยกมาช่วยพะม่าในค่ายล้อมนั้น ในขณะนั้นกองทัพเจ้าพระยาจักรีซึ่งยกลงมาแต่เมืองเชียงใหม่ นั้นมาถึง เจ้าพระยาจักรีจึงนำขุนนางเมืองน่านสองนายเข้าเฝ้าร พลับพลาโคกกระต่าย กราบถวายบังคมทูลข้อราชการซึ่งให้ไปเกลี้ย กล่อมได้เมืองน่านมาเป็นเมืองขึ้นข้าขัณฑสีมานั้น สมเด็จพระพุทธเจ้า อยู่หัวทรงพระโสมนัส ดำรัสสรรเสริญความชอบเจ้าพระยาจักรีร แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระแสงดาพฝักทองฟ้ามทอง กับพระ ธำมรงค์เพ็ชรวงหนึ่ง ให้เจ้าพระยากรีเป็นแม่ทัพ ถืออาชญาสิทธิ์ ยกไปตั้งค่ายมั่นอยู่ เหนือพระมหาธาตุวัดเขาพระ และให้ตั้งค่ายราย กันขึ้นไปถึงหลังค่ายล้อมบ้านนางแก้วอย่าให้พะม่าออกวกหลังได้ แล้วดำรัสให้หลวงบำเรอภักดีคุมพลทหารกองน้อยสี่ร้อยจัดเป็นสอง กอง ไปคอยด้อมมองจับพะม่าซึ่งออกมาตักน้ำณหนองเขาชะงุ้มจงได้ ครั้นค่ำเพลาห้าทุ่มเศษ พะม่าในค่ายล้อมยกออกมาแหกค่ย หน้าที่พระยาพิพิธโกศา พระยาเพ็ชรบุรี พลทัพไทยระดมปืนใหญ่ น้อยยิงออกไปจาก่าย ถูกพะม่าเจ็บป่วยล้มตายมาก พะม่าจะแหก ออกมิได้ก็ถอยกลับเข้าค่าย ครั้นเพลาสามยามพะม่าออกแหกค่าย หน้าที่หลวงราชินิกูล หลวงราชินิกูลให้ระดมยิงปืนใหญ่น้อยออกไป ถูกพะม่าเจ็บลำบากล้มตายเป็นอันมาก จะแหกออกมิได้ก็ถอยกลับ เข้าค่าย แต่เพลานั้นเสียนายสุจินดาต้องปืนพะม่าตายคนหนึ่งล ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนสี่ขึ้นสิบค่ำ เพลาบ่ายสามโมงสมเด็จ พระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จทรงม้าพระที่นั่งดำเนิรทัพไปหยุดอยู่ณหลังล ค่ายหลวงมหาเทพ จึงดำรัสให้จักกายเทวรามัญร้องเข้าไปเป็นภาษา พะม่าว่า ให้พะม่าทั้งปวงออกมาหาโดยดีเถิด ทรงพระกรุณาโปรด ปล่อยให้ไปสิ้น พะม่านายทัพในค่ายร้องตอบออกมาว่า ท่านล้อมไว้ ครั้งนี้ ซึ่งจะหนีไปให้รอดจากความตายหามิได้แล้วแต่เอ็นดูไพร่พล ทั้งปวงมากนักจะพลอยตายเสียด้วย ถึงตัวเราผู้เป็นนายทัพจะตายก็ ตามกรรมเถิด แต่จะขชออพยตละเกล็บสักหน่อยหนึ่ง จึงดำรัสให้ตละ เกล็บซึ่งเป็นพระยาพระราม ขี่ม้ากั้นร่มระย้าออกไปเจรจาด้วยพะม่า พะม่าเขียนหนังสือใส่ใบตาลขดเป็นภาษาพุกามทิ้งออกมาแต่ในค่าย แปลออกเป็นคำไทยได้ความว่า พระเจ้าช้างเผือกณกรุงศรีอยุธยามี บุญบามีมากนัก พระราชอาณาจักรผ่านแผ่ไปในชมพูทวีปทั้งปวง ฝ่ายพระเจ้าปราสาททอง ณกรุงรัตนบุระอังวะ ก็มีบุญบารมีมากเป็น มหัศจรรย์ และพระมหากษัตริย์ทั้งสองฝ่ายเป็นเวรแก่กัน ใช้ให้ ข้าพเจ้านายทัพนายกองทั้งปวงมากระทำการสงครามกับท่านอัครมหา เสนาบดีกรุงศรีอยุธยาในครานี้ และข้าพเจ้าเสียทีแก่ท่าน ท่าน ล้อมไว้จะพากันออกไปก็มิได้ จะหนีไปก็ขัดสนน้ำ อันจะถึงแก่ความ ตายบัดนี้ ใช่แต่ตัวข้าพเจ้านายทัพายกองเท่านั้นหามิได้ จะตายสิ้น ทั้งไพร่พลเป็นอันมาก และการสงครามแห่งพระมหากษัตริย์ทั้งสอง ฝ่าย จักสำเร็จเสร็จสุดสิ้นแต่ครั้งนี้ก็หามิได้ ฝ่ายท่านอัคร มหาเสนาบดีกรุงไทยก็ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และพระราชกำหนด กฎหมายพิชัยสงคราม ฝ่ายข้าพเจ้าก็เหมือนกัน ดุจถือดาพอาวุธ ไม้ค้อนไว้ทั้งสองมือ อันสมเด็จพระพุทธเจ้าตรัสธรรมเทศนา ไว้ว่า ซึ่งเกิดมาเป็นมนุษย์แต่ละคนนี้ยากนัก ไฉนข้าพเจ้า ทั้งปวงจะได้รอดชีวิต ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเป็นข้าพระเจ้ากรุงศรี อยุธยานั้น ก็สุดแต่ปัญญาท่านอัครมหาเสนาบดีนั้นเถิด จึงดำรัสให้เขียนหนังสือตอบเข้าไปในค่าย เป็นอักษรไทย ฉะบับหนึ่ง อักษรรามัญฉะบับหนึ่ง เป็นใจความว่า ถ้าท่านทั้งปวง ออกมาถวายบังคมโดยดี เราจะช่วยทูลขอระราชทานชีวิตไว้ทั้ง นายทั้งไพร่ ถ้ามิออกมา เราจะฆ่าเสียให้สิ้น ในวันนั้นเจ้าพระยาสุรสีห์ยกกองทัพเมืองพระพิษณุโลกมาถึง และทัพเมืองเหนือทั้งปวงมาถึงเนื่องๆกัน จึงเข้าเฝ้ากราบถวาย บังคม ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานร่มแพรแดงมีระย้าด้ามปิดทอง แก่พระยาสุรสีห์แล้ว ให้ยกขึ้นไปดูการณค่ายล้อมบ้านนางแก้ว ขณะนั้นพระยาเพ็ชรบุรีมิเป็นใจในราชการศึก คิดย่อท้อต่อ การสงคราม เจรจากับบ่าวว่า ถ้าพะม่ารบแหกค่ายออกได้รับรอง มิหยุด เราจะพากันหนีข้ามเขากลับไปเมือง และบ่าวนั้นเป็นโจทก์มา ฟ้องแก่ข้าหลวงให้กราบทูล จึงดำรัสให้เอาตัวพระยาเพ็ชรบุรีมาสอบ กับโจทก์ก็รับเป็นสัตย์ จึงตรัสสั่งให้มัดมือไพล่หลัง แล้วเอาไป ตระเวนรอบทัพแล้วให้ประหารชีวิตตัดศีรษะไปเสียบประจานไว้หน้าค่าย อย่าให้ผู้ใดดูเยี่ยงอย่าง จึงพระยารามัญใหม่กับหมื่นศรีสหเทพมากราบทูลว่า ขึ้นไป เจรจากับพะม่า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จยกพยุหโยธาทัพขึ้น ไปตีเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว โปสุพลา โปมะยุง่วนหนีไปได้ โปสุพลาจะ ฆ่าโปมะยุง่วนเสีย โปมะยุง่วนหนีเข้ามาสวามิภักดิ์เข้าเป็นข้าทูลละออง ธุลีพระบาท ทรงพระกรุณาโปรดเลี้ยงไว้ แม้นพะม่าตัวนายจะออก มาถวายบังคมขอสวามิภักดิ์ เราจะเพ็ดทูลให้รอดชีวิต พะม่าจึงว่า ตละเกล็บพึ่งเข้ามาเป็นข้าเจ้ากรุงศรีอยุธยาใหม่จะไว้ใจมิได้ จะใคร่ พบท่านนายทัพนายกองผู้ใหญ่ จึงดำรัสให้กลับไปว่าแก่พะม่าว่า ให้แต่งพะม่าตัวนายออกมาเถิด เราจะพาไปให้พบกับแม่ทัพผู้ใหญ่ งุยอะคุงหวุ่นจึงให้พะม่านายกองคนหนึ่ง กับไพร่ห้าคนมาหาตละ กลับซึ่งเป็นพระยาพระราม จึงดำรัสให้พระยาพระราม พาตัวพะมา นายไพร่ให้ไปพบกับพระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์ กับเจ้าพระยาจักรี จึงให้พระยาพระรามบอกแก่พะม่าว่า ถ้านายมึงออกมาถวายบังคม กูจะช่วยให้รอดจากความตาย ถ้ามิออกมาจะฆ่าเสียทั้งสิ้น พะม่าตัว นายจึงว่าขอให้ยับยั้งอยู่ แต่ในเวลาพรุ่งนี้สามโมงเช้าจะขอปรึกษา ให้พร้อมกันก่อน จึงให้ปล่อยพะม่านายไพร่กลับเข้าไปค่าย ครั้น ณวันเสาร์เดือนสี่แรมสองค่ำ เจ้าพระยาสุรสีห์ก็กราบ ถวายบังคมลา ยกกองทัพไปตั้งค่ายล้อมพะม่าณค่ายเขาชะงุ้ม จึงดำรัสให้กองทัพหัวเมืองทั้งปวง และข้าหลวงในกรุงยกไปตั้ง ล้อมอยู่หลายค่าย ในวันนั้นพระกุยบุรีพระคลองวาน บอกเข้ามาให้กราบทูลว่า พะม่าประมาณสี่ร้อยเศษยกมาตีเมืองบางตะพาน ได้รบกันเป็น สามารถพะม่าแหกค่ายหนีออกไป แล้วเผาเมืองบางตะพานเสีย ยกไปทางเมืองปะทิว จึงทรงร่างท้องตราให้ไปถึงพระเจ้าหลานเธอ เจ้าบุญจันและพระยาะเบศร์ดีครั้งกรุงเก่า ซึ่งโปรดตั้งเป็ฯเจ้าพระยา ศรีธรรมาธิราชผู้อยู่รักษากรุงธนบุรีนั้น ให้มีหนังสือตอบบอกไปว่า ให้พระกุยบุรีพระคลองวานรักษาด่านทางไว้ ให้ใส่ยาเบื่อหนองน้ำ บ่อน้ำที่ทางข้าศึกจะมานั้น อย่าให้กินน้ำได้ แล้วให้เอาพะม่าเมือง เชียงใหม่ซึ่งจำไว้ณคุกสามคน ทะวายคนหนึ่งกับพะม่าซึ่งปล้นค่าย เจ้าพระยาอินทรอภัยณเขาชั่วพรานคนหนึ่ง ให้ลงพระราชอาชญา ตัดมือตัดเท้าเสีย แล้วให้เขียนหนังสือผูกแขวนคอไป ใจความว่า บอกแก่เจ้านายมันให้เร่งยกมาอีกเถิด แล้วเสด็จทอดพระเนตร ค่ายเจ้าพระยาอินทรอภัย และพระยาโหราธิบดี ซึ่งตั้งรักษาสระน้ำ อยู่ณเขาชั่วพรานนั้น จึงพระยารามัญวงศ์ และหลวงบำเรอภักดิ์ จับพะม่าได้สองคนนำมาถวาย ดำรัสให้ถามพะม่า พะม่าให้การว่า มาแต่ค่ายปากแพรกมาส่งลำเลียง และพะม่าซึ่งตั้งค่ายอยู่ณปาก แพรกนั้นคนสามพันเศษ ซึ่งยกเข้ามาตั้งค่ายอยู่ณเขาชะงุ้มนั้นสี่กอง คนมากหลายพัน จึงดำรัสให้หลวงภักดีสงครามทหารกองนอกอยู่ ในกองพระยาเทพอรชุนซึ่งยกมาช่วยเจ้าพระยาอินทรอภัยนั้น ให้คุม พลทหารห้าร้อยยกไปเป็นกองโจน ให้ถมห้วยหนองบึงบ่อที่มีน้ำตาม ทางมาแต่ปากแพรกเสียให้สิ้น อย่าให้เป็นกำลังแก่ข้าศึกได้ ถ้า ถมไม่ได้ก็ให้เอาเปลือกไม้เบื่อเมาและศพใส่ลงอย่าให้กินน้ำได้ แล้วให้ออกก้าวสะกัดตีตัดลำเลียงพะม่า อย่าให้ส่งกันถึง ครั้นค่ำลงประมาณสองยาม พะม่าในค่ายเขาชะงุ้มทำค่าย วิหลั่น ยกออกปล้นค่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ และทหารในค่ายยิงปืน ใหญ่น้อยออกไป ต้องพะม่าล้มตายป่วยลำบากเป็นอันมาก พลพะม่า รอนมาถึงค่ายจมื่นศรีสรรักษ์ แล้วถอยกลับเข้าค่าย ครั้นเพลาสาม ยามเศษ พะม่ายกออกเราะค่ายพระยานครสวรรค์จนรุ่ง พลทหาร ในค่ายยิงปืนใหญ่น้อยออกไป ต้องพลพะม่าตายและลำบากก็มาก ครั้นเพลาเช้าณวันพุธเดือนสี่แรมหกค่ำ จึงเสด็จดำเนิรพยุหยาตราทัพ ขึ้นไปช่วย ดำรัสให้กองอาจารย์และฝีพายทะนายเลือกเข้ารบ ถ้า เห็นหนักที่ไหนให้เข้าช่วยที่นั้น ครั้นเพลาสองโมงพะม่าถอยกลับ เข้าค่าย ทรงเห็นว่าข้าศึกถอยแล้ว ก็เสด็จกลับมาณพลับพลา โคกกระต่าย ในวันนั้นเกิดภายุใหญ่มหาเมฆทั้งขึ้นทั้งสี่ทิศมือไป ทั้งอากาศ จึงทรงตั้งสัตยาธิษฐาน ก็บันดาลให้เมฆเลื่อนไป ไม่ตกที่ค่ายพะม่าไปตกเสียที่อื่น ครั้นณวันศุกรเดือนสี่แรมแปดค่ำ จึงงุยอะคุหวุ่นนายทัพค่าย บ้านนางแก้ว ให้พะม่าตัวนายเจ็ดคนออกมาเจรจาความเมืองด้วย พระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์และเจ้าพระยาจักรีว่า ถ้าท่านแม่ทัพ กรุณาช่วยทูลขอชีวิตไว้ได้ นายทัพนายกองทั้งปวงก็ชวนกันออก มาถวายบังคมทั้งนสิ้นด้วยกัน พระเจ้าหลานเธอและเจ้าพระยาจักรีจึง สั่งให้ล่ามว่าแก่พะม่าว่า เราจะทูลขอให้รอดชีวิต จงพากันออกมา เถิด จึงให้ปล่อยกลับเข้าไปสองคนเอาตัสไว้ห้าคน แล้วว่าครั้งก่อน ลวาว่าจะออกมาให้เรากราบทูลพระเจ้าอยู่หัวเท็จไปครั้งหนึ่งแล้ว ถ้าครั้งนี้เป็นเท็จอีกเราช่วยไม่ได้ ครั้นเพลาเที่ยงในวันนั้น กองทัพ พระยานครราชสีมา พลพันเก้าร้อยยกลงมาถึง พระยานครราชสีมา จึงเข้าเฝ้าถวายกราบบังคม ก็ทรงพระพิโรธดำรัสคาดโทษว่ามาช้า กว่าหัวเมืองทั้งปวง พระยานครราชสีมากราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้า ช้าอยู่ด้วยเลกหัวเมืองขึ้นเกณฑ์เข้ากองทัพครั้บไปตีเมืองเชียงใหม่ หนีตาทัพกลับมาบ้าน ข้าพระพุทธเจ้าให้เที่ยวจับตัวกับทั้งบุตรภรรยา เอามาด้วย เป็นคนชายหญิงเก้าสิบหกคนด้วยกัน จึงดำรัสว่าเลก หนีตาทัพจะเอาไว้มิได้ ตรัสสั่งให้ตัดศีรษะเสียให้สิ้นทั้งบุตร ภรรยา ที่ริมค่ายทางนอกโคกกระต่าย ในวันนั้นงุยอะคุงหวุ่นนายทัพ ให้อุตมสิงหจอจัวปลัดทัพกับ พะม่าตัวนายหมวกนายกองสิบสามคน นำอาวุธต่งๆมัดเอาออกมา เฝ้าพระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์ พระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์จึงให้ พระยาพิพัฒโกศาและหลวงมหาเทพ มัดอุตมสิงหจอจัวและพะม่าตัว นายสิบสามคนนั้น แล้วนำมาถวายณพลับพลาโคกกระต่าย จึงดำรัส ให้ถามพะม่าสิบสี่คน พะม่าสิบสี่คนให้การว่า ข้าพระพุทธเจ้านาย ทัพนายกองทั้งปวงปรึกษาพร้อมกันแล้ว จึงนำเอาเครื่องศาสตราวุธ ออกมาถวายบังคม ถ้าทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานชีวิตแล้วจะ ขอถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาท ทำราชการ สนองพระเดชพระคุณสืบไป จึงดำรัสว่ากูจะให้จำไว้ก่อน กว่าจะได้ ตัวนายมาพร้อมกัน ถ้าเองสวามิภักดิ์โดยจริงแล้ว แม้นสำเร็จราชการ ศึกได้เมืองอังวะจะให้รั้งเมืองอังวะ แล้วดำรัสให้พระยาพระรามกับ ข้าหลวงมีชื่อคุมตัวอุตมสิงหจอจัวกับพะม่าสิบสามคนกลับไปณค่าย ล้อม ให้ร้องเรียกงุยอะคุงหวุ่นและพะม่านายทัพนายกองทั้งปวงให้ ออกมา พะม่าตัวนายซึ่งอยู่ในค่ายร้องตอบออกมาว่าจะปรึกษากัน ก่อน พวกข้าหลวงก็พาพะม่าสิบสี่คนกลับออกมายังค่ายหลวง และ อุตมสิงหจอจัวออกมาเจรจาด้วยนายทัพนายกองไทยครั้งนั้น จะได้ ไหว้ผู้ใดหามิได้ ถวายบังคมแต่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียว จึง ดำรัสสรรเสริญว่ามิเสียทีที่เป็นขุนนางนายทหาร น้ำใจองอาจรักษายศ มิได้เข็ดขามย่อท้อควรเป็นนายทหารเอก แล้วดำรัสให้เอาพะม่า สิบสี่คนไปจำไว้ที่ตะรางในค่ายหลวง ครั้นณวันเสาร์เดือนสี่แรมเก้าค่ำ จึงโปรดให้พระยานคร ราชสีมา ยกทัพไปตั้งค่ายประชิดล้อมค่ายพะม่า ณเขาชะงุ้ม ให้ปลูก ร้านเอาปืนใหญ่ขึ้นยิงค่ายพะม่า ในวันนั้นดำรัสให้มหาดเล็กไปถอด อุตมสิงหจอจัวและพะม่าสิบสามคน คุมเอาตัวไปเรียกงุยอะคุงหวุ่นณ ค่ายล้อมว่า ให้ออกมาเถิดพระเจ้าทรงธรรมไม่ฆ่าเสีย พระราชทาน เสื้อผ้าและเครื่องอุปโภคแก่เราเป็นอันมาก อย่าสงสัยเลย งุยอะคุง หวุ่นจึงร้องตอบออกมาว่า เราให้ไปเป็นหลายคนผู้ใดจะได้กลับมา บอกว่าร้ายดีเป็นตายประการใดหามิได้ แต่ตัวมายืนร้องเรียกอยู่ฉะนี้จะ เชื่อฟังไม่ได้ อุตมาสิงหจอจัวจึงร้องตอบเข้าไปว่า พวกเราซึ่งออก มานั้นพระเจ้าทรงธรรมเอาตัวไว้ ถ้าหนีหายไปแต่คนหนึ่งคนใดจะ ให้ใช้ถึงสิบคน แม้นเราจะให้กลับเข้าไปหาท่าน ท่านมิให้กลับ ออกมาก็ดี ฆ่าเสียก็ดี เราจะได้พะม่าที่ไหนให้พระเจ้าทรงธรรม เล่า ก็จะทรงพระพิโรธฆ่าเราเสีย เพราะเหตุฉะนี้เราจึงมิได้เข้า ไปแจ้งความแก่ท่าน งุยอะคุงหวุ่นจึงร้องตอบออกมาวา จงปล่อย เข้ามาเถิด ถ้าเราฆ่าเสียก็ดี มิให้กลับออกไปก็โ จงให้อาวุธซึ่ง ล้อมอยู่นี้สังหารชีวิตเราเถิด อุตมสิงหจอจัวจึงให้แยละหนึ่ง แยข่องจอหนึ่ง สองคนเข้าไปในค่ายบอกว่า พระเจ้าทรงธรรม ทรงพระเมตตาหาฆ่าเสียไม่ งุยอะคุงหวุ่นจึงว่าผู้น้อยและไพร่ไม่ตาย อันตัวเราเป็นผู้ใหญ่เห็นจะตายเป็นมั่นคง แล้วให้แยละแยข่องจอ กลับออกมาจากค่ายแล้วพากันกลับมากราบทูล จึงดำรัสว่าจะคิดอ่าน ให้งุยอะคุงหวุ่นออกมาไม่ได้แล้วหรือ พวกข้าหลวงกราบทูลว่าเห็นขัด สนอยู่แล้ว ถ้าเอาปืนลูกไม้ยิงซ้ำเข้าไปอีก พะม่ากลัวนักเห็นจะ ออกมาสิ้น จึงดำรัสว่าอันจะฆ่าให้ตายนั้นง่าย แต่จะเป็นบาปกรรม หาประโยชน์สิ่งใดไม่ แล้วให้คุมเอาตัวพะม่าไปไว้ณตะรางเดิม ครั้นเพลาทุ่มเศษ ดำรัสให้ไปเอาตัวอุตมสิงหจอจัวมาเฝ้า ดำรัสถามวา กองทัพพะม่าซึ่งมารบอยู่แต่เท่านี้หรือ หรือจะยก หนุนลงมาอีก อุตมสิงหจัวจอกราบทูลว่ ทัพอะแซหวุ่นกี้เป็นเชื้อ พระวงศ์พระเจ้าอังวะ พระเจ้าอังวะตั้งให้เป็นแม่ทัพใหญ่ ยังตั้งอยู่ ณเมืองเมาะตะมะรี้พลเป็นอันมาก รอคอยฟังข่าวตะแคงมระหน่อง และหม่องจ่ายิดนายทัพปากแพรกจะบอกขึ้นไปประการใด เห็นว่า อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพใหญ่จะยกหนุนลงมาอีก ครั้นได้ทรงฟังจึงทรงร่างท้องตรา ให้ไปหานายทัพผู้ใหญ่มา ปรึกษาราชการ เจ้าพระยาจักรีและท้าวพระยามุขมนตรีผู้ใหญ่ก็มา พร้อมกัน จึงตรัสปรึกษาว่า เราจะให้หาทัพหัวเมืองปักษ์ใต้สีเมือง คือเมืองจันทบุรีหนึ่ง เมืองไชยาหนึ่ง เมืองนครศรีธรรมราชหนึ่ง เมืองพัทลุงหนึ่ง ให้ยกเข้ามาอีก แม้นทัพใหญ่อะแซหวุ่นกี้ยกหนุน เพิ่มเติมมามาก จะได้สู้รบมีกำลังมากขึ้น เจ้าพระยาจักรีกราบทูลว่า อันทัพเมืองฝ่ายใต้ทั้งสี่เมืองนั้นระยะทางไกลนักเห็ฯจะยกมาถึงมิทัน ถึง มาตรว่าอะแซหวุ่นกี้จะยกทัพใหญ่หนุนมา แต่ทัพในกรุงทัพเมือง เหนือสู้รบอยู่บัดนี้ ก็เห็นจะพอต้านทานทัพอะแซหวุ่นกี้ไว้ได้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ทรงเห็นชอบด้วย จึงดำรัสว่า อัน เมืองฝ่ายใต้นั้น ยังมิได้กระทำสงครามกับพะม่า บัดนี้เข้าในฉางหลวง ซึ่งจะจ่ายกองทัพก็น้อยลง จึงให้มีตราออกไปเกณฑ์เอาเข้าสารเมือง นครศรีธรรมราชหกร้อยเกวียน เมืองพัทลุง เมืองไชยา เมืองจันทบุรี สามเมืองให้เกณฑ์เอาเมืองละสี่ร้อยเกวียน ถ้าเข้าขัดสนให้ส่งเงิน คิดเป็นราคาเข้าเปลือกเกวียนละห้าตำลึง เข้าสารเกวียนละสิบตำลึง เข้ามาตามรับสั่ง แล้วให้หมายบอกนายทัพนายกองทั้งปวงว่า ถ้า พะม่ายกเลิกหนีไปก็อย่าให้ยกติดตาม เกรงเกลือกพะม่าจะซุ่มซ่อน พลไว้โจมตีตามระยะทาง ด้วยข้าศึกมิได้แตกเลิกถอยไปเอง แม้น จะยกทัพตามก็ให้ก้าวสะกัดไปเอาปากแพรกทีเดียว ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนสี่แรมสิบสี่ค่ำตรุษวันต้น จึงดำรัสให้ ข้าทูลละอองฯ คุมเอาตัวอุตมสิงหจอจัวไปณค่ายล้อมอีกให้ร้องเรียก งุยอะคุงหวุ่นให้อกอมาจากค่าย และงุยอะคุงหวุ่นจึงร้องตอบออกมา ว่าท่านจะเข้ามามัดก็มัดเอาเถิด หรือจะเข้ามาฆ่าก็ฆ่าเสียเถิด จะนิ่ง ตายอยู่ในค่ายไม่ออกไปแล้ว แล้วพากันกลับมากราบทูล สมเด็จ พระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงทรงแต่งเป็นหนังสืออุตมสิงหจอจัว ให้เขียน เป็นอักษรพุกามใจความว่า ถ้างุยอะคุงหวุ่นจะออกมาถวายบังคมก็ ให้เร่งออกมา แม้นมิออกมาพระเจ้าทรงธรรมจะให้พลทหารเข้าไป ฟันเสียให้สิ้นทั้งสามค่าย แล้วเสด็จไปยั้งอยู่หลังค่ายหลวงมหาเทพ ให้พะม่าถือเข้าไปถึงงุยอะคุงหวุ่นในค่าย ครั้นเพลาเย็น งุยอะคุงหวุ่นจึงให้มัดเอาอาวุธที่มีอยู่ในค่าย ทั้งสิ้นให้ไพร่พลขนออกมาถวาย แล้วสั่งพะม่าซึ่งถือหนังสือออกไป นั้นว่าขอผัดอีกวันหนึ่งเพลารุ่งพรุ่งนี้ เราจึงจะออกไปเฝ้า ให้อุตม สิงหจอจัวรับเราด้วย พะม่าผู้ถือหนังสือก็นำเอาไพร่พะม่าขนอาวุธ ออกมาถวาย แล้วกราบทูลตามคำงุยอะคุงหวุ่นสั่งมานั้น จึงดำรัส ให้พวกข้าหลวงคุมเอาตัวพะม่าทั้งปวงกับทั้งอาวุธซึ่งขนออกมานั้น ส่งมายังค่ายหลวงแล้วเสด็จกลับ รุ่งขึ้นณวันศุกรเดือนสี่แรมสิบห้าค่ำ จึงดำรัสให้ข้าหลวงคุมเอา ตัวอุตมสิงหจอจัวไปรับงุยอะคุงหวุ่นณค่าย งุยอะคุงหวุ่นจึงให้เมี้ยน หงุ่นกับปะคันเลชูสองนาย กับพะม่ามีขื่อตัวนายอีกสิบองคนออกมา ก่อน อุตมสิงหจอจัวกับข้าหลวงก็นำพะม่าสิบสี่คนนั้นมาเฝ้ากราบ ถวายบังคมณค่ายหลวง จึงพระราชทานอาหารเลี้ยงหน้าที่นั่งอิ่มหนำ ทุกคนแล้ว เมี้ยนหวุ่น กับปะคันเลชูจึงให้กราบทูลว่ ข้าพระพุทธเจ้า มาทำาการสงครามเสียท่วงที ล้อมขังไว้ได้ถึงที่ตายทั้งสิ้น ขาดจาก เป็นข้าพระเจ้าอังวะแล้ว บัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานชีวิตไว้ จะขออาสาทำราชการกว่าจะสิ้นชีวิต จะขอพระราชทานไพร่พะม่าสอง คุน กับตัวข้าพระพุทธเจ้าสองคนนี้ จะเข้าไปว่ากล่าวเอาตัวงุยอะคุม หวุ่นนายทัพออกมาให้ได้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็โปรดให้ตามคำ กราบทูลนั้น และขุนนางพะม่าทั้งสองนายก็กลับเข้าไปเจรจากับงุยอะคุง หวุ่น งุยอะคุงหวุ่นกับเนมโยแมงละนรทา ยุยยองโป อะคุงหวุ่น มุงโยะ และพะม่ามีชื่อตัวนายทั้งสิ้นกับหญิงสองคนทั้งไพร่พลพันสามร้อยยี่ สิบแปดคน กับม้าแดงสองม้า ม้าดำม้าหนึ่ง ซึ่งเหลือตายอยู่นั้น ออกมาสิ้นทั้งสามค่ายในเพลาบ่ายวันนั้น พวกข้าหลวงก็นำมาเฝ้า กราบลถวายบังคม จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานโภชนาหาร ให้เลี้ยงสำเร็จแล้ว งุยอะคุงหวุ่นจึงถวายทรัพย์สิ่งของเครื่อง อุปโภคทั้งปวงซึ่งมีมานั้น จึงดำรัสว่าเราทำสงคราม ใช่จะ ปรารถนาเอาทรัพย์สิ่งสินหามิได้ ตั้งใจจะทำนุบำรุงพระพุทธ ศาสนา และประชาราษฎรทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในสัตย์ธรรม แล้ว ให้พวกข้าหลวงคุมเอาตัวพะม่าทั้งปวงไปจำไว้ณตะรางด้วยกัน สิ้น แต่ล้อมพะม่าค่ายบ้านนางแก้วไว้ครั้งนั้น ตั้งแต่วัน เดือนสามขึ้นสิบสามค่ำ มาจนถึงณวันเดือนสี่แรมสิบห้าค่ำ พะม่าจึงออกมาสิ้นทั้งสามค่าย จึงเสด็จเข้าไปทอดพระเนตรในค่าย พะม่า ดำรัสให้พระยารามัญวงศ์คุมกองรามัญพันหนึ่ง ให้เข้าอยู่ แทนพะม่าในค่ายให้ร้องเห่และพูดจากันเป็นภาษาพะม่า ให้พะม่าใน ค่ายเขาชะงุ้มได้ยิน จะได้สำคัญว่าพวกกันยังอยู่ในค่ายบ้านนาง แก้วยังไม่เสียค่าย แล้วจะตีค่ายพะม่าณเขาชะงุ้มให้แตกจงได้ อนึ่งบ่อน้ำในค่ายซึ่งพะม่าขุดไว้หาน้ำมิได้ ก็บันดาลมีน้ำขึ้นเป็นอัศจรรย์ ครั้นณวันเสาร์เดือนห้าขึ้นหนึ่งค่ำ ลุศักราช ๑๑๓๗ ปีมะแมสัปตศก จึงดำรัสให้พระอนุชิตราชา เป็นนายทัพถือพลหนึ่งพันยกขึ้นไปริมทาง น้ำฟ้าตะวันตก ให้หลวงมหาเทพเป็นนายทัพถือพลพันหนึ่ง ยกขึ้นไป ทางริมน้ำฟากตะวันออก ไปตีค่ายพะม่าณปากแพรกทั้งสองทัพ แล้ว ให้เจ้าพระยาจักรียกขึ้นไปตั้งค่ายตีพะม่าณค่ายเขาชะงุ้มให้แตกจงได้ ครั้นค่ำลงประมาณสองยามเศษ พะม่าค่ายเขาชะงุ้มยกค่าย โห่ลั่นออกมา เข้าปล่นค่ายพระมหาสงครามได้รบกันเป็นสามารถ เจ้า พระยาจักรียกไปช่วย พะม่าเอาคบเผาค่ายพระมหาสงครามขึ้น คนใน ค่ายถอยย่นออกจากค่าย เจ้าพระยาจักรีฟันเสียสองคน แล้วขับพล ทหารเข้ารบพะม่า พะม่าแตถอยออกไปชิงเอาคืนได้ แล้วพะม่าเอา ค่ายวิหลั่นและแตะทับขวากกรูกันเข้าแหกค่ายพระยาวิจิตร์ จมื่นศรี สรรักษ์ พลทหารในค่ายยิงปืนใหญ่น้อยออกไปต้องพลพะม่าเจ็บลำ บากล้มตายลงมาก ก็ถอยกลับเข้าค่าย อยู่สองสามวันทัพพะม่าก็ แตกพ่ายหนีไปจากค่ายในกลางคืน กองทัพไทยไล่ติดตามฆ่าฟันไป ตามทางล้มตาย และจับเป็นไปได้ก็มากพะม่าแตกกระจัด พลัดพราย จะคุมกันเข้ามิได้ หนีเรี่ยรายไปจนถึงค่ายปากแพรกพบกองทัพพระ อนุชิตราชา และหลวงมหาเทพ หลวงภักดีสงครามกองทัพทั้งสาม ทัพ ก็ออกก้าวสะกัดโจมตีแทงฟันพะม่าตายเป็นอันมาก และนายทัพ นายกองพะม่าหนีไปถึงค่ายปากแพรก ตะแคงมระหน่องก็จับเอาตัวลง โทษว่าแตกทัพมา ฆ่าเสียเป็นหลายนาย ตัดศีรษะเสียบไว้หน้าค่าย แล้วก็เลิกทัพกลับไปยังเมืองเมาะตะมะ แล้วแจ้งข้อราชการ แก่อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพใหญ๋ ฝ่ายกองทัพไทยได้ชัยชำนะแก่พะม่าข้าศึกแล้ว และนายทัพ นายกองทั้งปวงก็ยกทัพกลับมาเฝ้าณค่ายโคกกระต่ายพร้อมกัน สมเด็๗พระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ดำรัสให้กองพระยายมราช คุมพะม่า ชะเลยนายไพร่ทั้งปวงล่วงเข้ามาก่อน ให้จำใส่คุกไว้ทั้งสิ้น แล้ว เสด็จเลิกทัพหลวงมาโดยชลมารคกลับคืนยังกรุงธนบุรี กองทัพข้า ราชการในกรุงเทพและทัพหัวเมืองก็เลิกตามเสด็จเข้ามาถึงพระนคร พร้อมกันสิ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดตั้งเจ้าพระยาลูกยาเธอพระองค์ เจ้าจุ้ย เป็นกราขุนอินทรพิทักษ์ ตั้งพระเจ้าหลานเธอรามลักาณ์ เป็น กรมอนุรักษ์สงคราม ตั้งพระเจ้าหลานเธอเจ้าบุญจัน เป็ฯกรมขุน รามภูเบศร์ แล้วพระราชทานรางวัลแก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ ผู้น้อย โดยสมควรแก่ความชอบในสงคราม และม้าแดงสองม้าซึ่ง ได้มาแต่ค่ายพะม่านั้นฝีเท้าเร็วควรจะเป็นราชพาหนะพระที่นั่งได้ จึง โปรดให้มีชื่อขึ้นระวางเป็นเจ้าพระยาอาชาชาติม้าหนึ่ง เป็นเจ้า พระยาราชพาหนะม้าหนึ่ง แต่ม้าดำนั้นล้มเสีย แล้วให้ปลูกพระเมรุณวัดบางยี่เรือใต้เสร็จแล้ว จึงให้เชญ พระโกศ พระบรมศพสมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพามาตย์ใส่เรือ สระที่นั่งกิ่งแห่โดยขบวนนาวาพยุหะ ไปโดยทางชลมารคเชิญขึ้นสู่ พระเมรุแล้ว ให้นิมนต์พระสงฆ์สัตดัปกรณ์พันรูป ถวายไตร บริกขารไทยธรรมต่างๆ และมีงานมหรศพสามวันแล้วถวายพระเพลิง ครั้นถึงณเดือนสิบในปีมะแมสัปตศก มีหนังสือบอกเมืองเชียง ใหม่ลงมาว่า โปสุพลา โปมะยุง่วน ไปอยู่ณเมืองเชียงแสน บัดนี้ได้ ว่า จะยกกองทัพกลับมาตีเมืองเชียงใหม่อีก จึงดำรัสให้เจ้าพระยา สุรสีห์เป็นแม่ทัพ คุมทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงยกขึ้นไปช่วยราช การเมืองเชียงใหม่ โปรดให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพขึ้นไปช่วยด้วย ถ้าตีทัพพะม่าแตกไปแล้ว ให้ยกตามไปตีเมืองเชียงแสนทีเดียว เจ้า พระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ และท้าวพระยาพระหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้ง ปวงก็กราบถวายบังคมลารีบยกกองทัพขึ้นไปตามพระราชกำหนด ฝ่ายเจ้าพระยาอังวะยังอยู่ณเมืองย่างกุ้ง ทำการยกฉัตรยอด พระมหาเจดีย์เกศธาตุสำเร็จแล้วให้มีการฉลอง จึงขุนนางพะม่า กราบทูลว่าคนมวยเมืองไทยมีฝีมือดียิ่งนัก จึงตรัสสั่งให้จัดหามา ได้ นายขนมต้มคนหนึ่ง เป็นมวยดีมีฝีมือแต่ครั้งกรุงเก่าเอาตัวมาถวาย พระเจ้าอังวะ พระเจ้าอังวะจึงให้จัดพะม่าคนมวยเข้ามาเปรียบกับนาย ขนมต้มได้กันแล้วก็ให้ชกกันหน้าพระที่นั่ง และนายขนมต้มชก พะม่าไม่ทันถึงยกก็แพ ้แล้วจัดคนอื่นเข้ามาเปรียบชกอีก นายขนม ต้มชกพะม่าชกมอญแพ้ถึงเก้าคนสิบนสู้ไม่ได้ พระเจ้าอังวะทอด พระเนตรยกพระหัตถ์ตบพระอุระ ตรัสสรรเสริญฝีมือนายชนมต้มว่า ไทยมีพิษอยู่ทั่วตัว แต่มือเปล่าไม่มีอาวุธเลยยังสู้ได้คนเดียวชะนะ ถึงเก้าคนสิบคนฉะนี้ เพราะเจ้านายไม่ดีจึงเสียบ้านเมืองแก่ข้าศึก ถ้าเจ้านายดีแล้วไหนเลยจะเสียกรุงศรีอยุธยา แล้วพระราชทานรางวัล แก่นายขนมต้มโดยสมควร พอหนังสือบอกอะแซหวุ่นกี้ขึ้นไปกราบ ทูลว่า กองทัพแตกไทยมาสิ้นเสียรี้พลเป็นอันมาก ไทยล้อมจับได้เป็น ไปพันเศษ และเมืองไทยเวลานี้มีกำลังเพราะหัวเมืองฝ่ายเหนือ ผู้คน ยังบริบูรณ์มั่งคั่งอยู่ จะขอกองทัพไปตีเมืองฝ่ายเหนือให้ได้เสีย ก่อน ไทยจึงจะหย่อนกำลัง ภายหลังจึงจะตีเอาเมืองบางกอก เห็นจะได้โดยง่าย พระเจ้าอังวะก็เห็นชอบด้วยจงเกณฑ์กองทัพให้ ยกเพิ่มเติมมาอีก ให้อะแซหงุ่นกี้ยกไปตีเมืองฝ่ายเหนือให้ยับเยิน จงได้ แล้วก็เสด็จไปเมืองอังวะ ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ก็จัดแจงกองทัพให้แมงแยยางูผู้น้อง กับ กละโปหนึ่ง ปัญีแยข่องจอหนึ่ง ปัญีตะจวงหนึ่ง ถือพลสองหมื่นเป็น กองหน้าตัวอะแซหวุ่นกี้เป็ฯโปชุกแม่ทัพ กับตะแคงมระหน่อง และ เจ้าเมืองตองอูถือพลหมื่นห้าพันสรรพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธ พร้อมเสร็จ ครั้นถึงเดือนสิบเอ็ดก็ยกกองทัพจากเมืองเมาะตะมะ มาเข้าทางด่านเมืองตากหยุดทัพอยู่ที่นั่ย ฝ่ายกรมการเมืองตาก เมืองกำแพงเพ็ชรเห็นกองทัพพะม่า ยกมามาก เหลือกำลังจะต่อรบ ก็พาครอบครัวหนีเข้าป่า แล้วส่ง หนังสือบอกไปถึงกองทัพเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ และบอก ลงมากรุงธนบุรี กราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ ฝ่ายกองทัพโปสุพลา โปมะยุง่วน ยกมาตีเมืองเชียงแสน เข้าติดเมืองเชียงใหม่ พอกองทัพเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ยกไปถึง ทัพพะม่าก็เลิกถอยไป เจ้าพระยาทั้งสองก็ยกกองทัพติด ตามไป จะตีเมืองเชียงแสน พอหนังสือบอกขึ้นไปว่า พะม่ายก ทัพใหญ่มาทางเมืองตาก เจ้าพระยาทั้งสองก็ถอยทัพกลับมาถึงกลาง ทางใต้เมืองสุโขทัย หยุดทัพอยู่ณวัดปากน้ำ พอทัพอะแซหวุ่นกี้ ยกมาติดเมืองสวรรคโลก จับกรมการได้สองคน อะแซหวุ่นกี้จึง ให้ถามว่า พระยาเสือเจ้าเมืองพระพิษณุโลกอยู่หรือไม่ กรมการบอก ว่าไม่อยู่ไปเมืองเชียงใหม่ อะแซหวุ่นกี้จึงว่าเจ้าของเขาไม่อยู่ อย่า เพื่อไปเหยียบเมืองพระพิษณุโลกก่อนเลย จึงให้กองหน้ายกมาตั้ง ค่ายอยู่ณบ้านกงธานี เจ้าพระยาสุรสีห์จึงปรึกษาเจ้าพระยาจักรีว่า จะยกไปตีพะม่า เจ้าพระยาจักรีจึงว่าอย่าไปตีเลย พะม่าคงจะยกไป ตีเมืองเรา เราไปจัดแจงบ้านเองไว้รับข้าศึกดีกว่า เจ้าพระยาสุรสีห์ ว่า จะขอไปตีดูกำลังข้าศึก เจ้าพระยาจักรีจึงตอบว่า เจ้าจะไปรบก็ ตาม ข้าจะไปจัดแจงบ้านเมืองไว้ท่า แล้วก็ยกมาเมืองพระพิษณุโลก จัดแจงป้องกันเมืองกวาดครอบครัวเข้าไว้ในเมือง แล้วให้กองพระ ยาสุโขทัย พระยาอักษรวงศ์ พระยาพิชัยสงคราม ยกไปรับทัพ พะม่าณบ้านกงธานี เจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกไปตั้งค่ายอยู่ณบ้านไกร ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันคำรบสามอะแซหวุ่นกี้ ยกออกเลียบค่ายอีก เจ้าพระยาจักรีก็ยกพลทหารออกจากเมือง เข้าโจมตีทัพอะแซหวุ่นกี้ แตกถอยเข้าค่าย และอะแซหวุ่นกี้ยกออกเลียบค่ายดังนั้นทุกวัน เจ้าพระยาจักรีก็ออกรบทุกวัน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะถึงเก้าวันสิบวัน อะแซหวุ่นกี้จึงให้ล่ามร้องบอกว่า เพลาพรุ่งนี้เราอย่ารบกันเลย ให้ เจ้าพระยากษัตริย์ศึกแม่ทัพออกมาเราจะขอดูตัว ครั้นรุ่งขึ้นเจ้าพระยาจักรีขี่ม้ากั้นสัปทน ยกพลทหารออกไป ยืนม้าให้อะแซหวุ่นกี้ดูตัว อะแซหวุ่นกี้จึงให้ล่ามถามว่า อายุเท่าใด บอกไปว่าอายุได้สามสิบเศษ จึงถามอายุอะแซหวุ่นกี้บ้าง ล่าม บอกอายุได้เจ็ดสิบสองปี แล้วอะแซหวุ่นกี้พิจารณาดูรูปดูลักษณะเจ้า พระยาจักรี แล้วสรรเสริญว่า รูปก็งามฝีมือก็เข้มแข็ง สู้รบเรา ผู้เป็นผู้เฒ่าได้ จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์ เป็นแท้แล้วให้เอาเครื่องม้าทองสำรับหนึ่งกับสักหลาดพับหนึ่ง ดินสอ แก้วสองก้อน น้ำมันดินสองหม้อมาให้เจ้าพระยาจักรี แล้วว่าจง รักษาเมืองไว้ให้มั่นคง เราจะตีเอาเมืองพระพิษณุโลกให้จงได้ใน ครั้งนี้ไปภายหน้าพะม่ามาตีเมืองไทยไม่ได้อีกแล้ว และในเพลา วันนั้นไทยเข้าไปกินอาหารในค่ายพะม่า ก็มิได้ทำอันตรายแก่กัน แล้วก็ต่างคนกลับไปเมืองไปค่าย เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ก็บอกลงมากราบทูลณกรุงธนบุรีว่า ทัพพะม่ายกมาติดเมืองพระพิษณุ โลก แต่ณเดือนยี่ข้างขึ้นนั้นแล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงดำรัสให้เกณฑ์กองทัพทั้งทาง บกทางเรือ สรรพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธพร้อมเสร็จ พลฉกรรจ์ ลำเครื่องทั้งไทยจีนเป็นคนหมื่นสองพันสองร้อยเจ็ดสิบคน แล้วดำรัส ให้ถามพะม่าตัวนายซึ่งจำไว้ณคุกว่า บัดนี้กองทัพพะม่ายกมาอีกจะ ให้ไปทำสงครามกับพะม่าพวกของตัว จะได้หรือมิได้ประการใด งุยอะคุงหวุ่นและอุตมสิงหจอจัวพะม่านายทัพทั้งปวงให้การวา แม้น ทรงพระกรุณาโปรดจะให้ไปรบกับข้าศึกอื่น จะขออาสาไปกระทำ สงครามกว่าจะสิ้นชีวิต ซึ่งจะโปรดให้ไปสู้รบกับพะม่าพวกเดียวกัน นั้น เป็นเหลือสติปัญญา จะไปดูหน้าพวกกันกระไรได้ มีความ ละอายนักจนใจอยู่ แล้วเอาคำให้การขึ้นกราบทูล จึงดำรัสว่ามันไม่ ภักดีแก่เราโดยแท้ ยังนับถือเจ้านายมันอยู่ และเราจะยกไปการ สงครามผู้คนอยู่รักษาบ้านเมืองน้อยพวกมันมาก จะแหกคุกออก กระทำจลสจลแก่บ้านเมืองข้างหลังจะเอาไว้มิได้ จึงดำรัสให้เอาไป ประหารชีวิตเสียณวัดทองคลองบากกอกน้อยทั้งสิ้น กับทั้งแม่ทัพ อ้ายเรือนพระฝางทั้งสี่คน ซึ่งจำไว้ในคุกนั้นด้วย แล้วโปรดให้ พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม ออกไปอยู่รักษาเมืองเพ็ชร บุรีป้องกันด่านทางข้างตะวันตก แล้วให้หมื่นศักดิ์บริบาลลอเรนือ เร็วขึ้นไปสืบข่าวราชการศึกเมืองพระพิษณุโลก ครั้นถึงณวันอังคารเดือนยี่แรมสิบเอ็ดค่ำปีมะเส็งสัปตศก จึง เสด็จทรงเรือพระที่นั่งกราบยาวสิบสามวา ให้ยาตรานาวาทัพหลวง พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง โดยเสด็จ จากกรุงธนบุรีไปโดยทางชลมารค ไปหยุดประทับแรมณพลับพลาหน้า ฉนวนหน้าพระราชวังหลวงกรุงเก่า จึงหมื่นศักดิ์บริบาลซึ่งขึ้นไปสืบ ราชการกลับลงมากราบทูลว่า ทัพพระยาสุโขทัย พระยาอักษรวงศ์ เมืองสวรรคโลก พระยาพิชัยสงคราม ซึ่งตั้งค่ายรับพะม่าณบ้าน กงธานีนั้นเลิกถอยลงมาแล้ว จึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งให้เร่งกองทัพ เรือรีบขึ้นไป ถึงณวันอังคารเดือนสามขึ้นสามค่ำ เกิดอัศจรรย์บนอากาศ มืดคลุ้มไปไม่เห็นดวงอาทิตย์สิ้นวันยังค่ำ ครั้นเสด็จถึงเมืองนคร สวรรค์จึงดำรัสให้พระยาราชาเศรษฐีคุมกองจีนสามพันตั้งค่ายรักษา อยู่ที่นั้น ครั้นณวันเสาร์เดือนสามขึ้นเจ็ดค่ำ กองทัพหลวงเสด็จถึงค่าย ปากน้ำพิงฟากตะวันออก เสด็จขึ้นประทับณพลับพลาในค่าย จึงดำรัส ให้กองทัพพระยาราชสุภาวดี ยกขึ้นไปตั้งณบ้านบางทรายเป็นหลาย ค่ายรายขึ้นไปตามริมน้ำ ให้กองเจ้าพระยาอินทรอภัยยกขึ้นไปตั้งค่าย ณบ้านท่าโรง ให้กองพระยาราชภักดียกไปตั้งค่ายณบ้านกระดาษ ให้ กองจมื่นเสมอใจราช ยกไปตั้งค่ายณวัดจุฬามณี และให้ตระเวณ บรรจบถึงกัน ให้กองพระยานครสวรรค์ ยกไปตั้งค่ายรายโอบค่าย พะม่าขึ้นไปแต่วัดจันทน์ จนถึงเมืองพระพิษณุโลก ชักปีกกาตลอดถึง กันทุกๆค่าย แล้วให้พระศรีไกรลาสคุมไพร่ห้าร้อยไปทำทางหลวง ณปากน้ำพิงขึ้นไปจนถึงเมืองพระพิษณุโลก ครั้นณวันอังคารเดือนสามขึ้นสิบค่ำ จึงหลวงดำเกิงรณภพไป สืบข่าวราชการมากราบทูลว่า ทัพพะม่ายกมาฟากตะวันตกเข้าตีค่าย พระยาราชภักดีณบ้านกระดาษ ทำอาการประหนึ่งจะเข้าตั้งค่ายประชิด แล้วเราะล่วงค่ายเจ้าพระยาอินทรอภัยลงมาจนถึงค่ายพระยาราช สุภาวดีณบ้านบางทราย ครั้นเพลาค่ำก็เลิกถอยไป จึงดำรัสให้พระยา วิจิตรนาวี หลวงดำเกิงรณภพ หลวงรักษ์โยธา หลวงภักดีสงคราม คุมเอาปืนใหญ่ร่งเกวียนสามสิบสี่บอก ลากขึ้นไปใส่ค่ายบางทราบ ครั้นเพลาค่ำทัพพะม่ายกมาตั้งค่ายประชิดลงหน้าค่ายจมื่นเสมอใจราช ณวัดจุฬามณีสามค่าย ตำรวจไปสืบราชการมากราบทูล จึงดำรัสให้ พระยาธรรมไตรโลก พระยารัจพิมล พระยาชลบุรี คุมพลทหาร อยู่รักษาค่ายหลงณปากน้ำพิงฟากตะวันออก ครั้นณวันพฤหัสบดี เดือนสามขึ้นสิบสองค่ำ จึงเสด็จยกพยุหยาตราทัพลหวงขึ้นไปประทับ ณค่ายมั่นวัดบางทรายฝั่งตะวันออก ครั้นเพลาค่ำทัพพะม่ายกเข้าตี ค่ายเจ้าพระยาอินทรอภัยณบ้านท่าโรงฟากตะวันตก ได้รบกันเป็น สามารถ ตำรวจไปสืบราชการมากราบทูล จึงดำรัสให้หลวงดำเกิง รณภพ ยกเอาเกณฑ์หัดสองร้อยลงเรือข้ามน้ำไปช่วยเจ้าพระยา อินทรอภัย ทัพพะม่าก็เลิกถอยไป ครั้นเพลาเช้าณวันศุกร เดือน สามขึ้นสิบสามค่ำ จึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งข้ามไปทอดพระเนตรค่าย พระโหราธิบดีฟากตะวันตก เห็นผิดกับพระราชดำริตั้งอยู่แต่ริมน้ำเอา ต้นไม้ใหญ่ไว้นอกค่าย แม้นพะม่าเข้ามาแฝงต้นไม้ยิงก็ได้จะขึ้น ต้นไม้ยิงปรำลงมาในค่ายก็ได้ จะเสียท่วงทีแก่ข้าศึก จึงดำรัสให้ รื้อค่ายเก่าเสีย แล้วให้ตั้งใหม่โอบต้นไม้ใหญ๋เข้าไว้ในค่ายกว้าง ออกไปกว่าค่ายเก่า ในวันนั้นพระยารามัญวงศ์ ยกกองมอญขึ้นไปตั้ง ค่ายประชิดค่ายพะม่าเหนือเมืองพระพิษณุโลกฟากตะวันออก พะม่า ยกออกตีได้รบกันเป็นสามารถ พวกกองมอญยิงปืนตับต้องพะม่าล้ม ตายลำบากเป็นอันมาก พะม่าถอยทัพเข้าค่าย กองรามัญตั้งค่ายได้ ฝ่ายในเมืองพระพิษณุโลกเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระสุรสีห์ก็ยก พลทหารออกตั้งค่ายประชิดค่ายพะม่า นอกเมืองฟากตะวันออก พะม่า ยกออกรบชิงเอาค่ายได้ เจ้าพระยาสุรสีห์ขับพลทหารหนุนเข้าไปฟัน ทหารเสียคนหนึ่งตีเอาค่ายคืนได้ พลพะม่าล้มตายและลำบากไปเป็น อันมากแตกเข้าค่าย แต่บรรดาค่ยพะม่าซึ่งตั้งรายประชิดกันอยู่นั้น พะม่าขุดอุโมงค์เดิรใต้ดินเข้ามารบทุกค่าย ฝ่ายข้างทหารไทยก็ขุด อุโมงค์ออกไปจากค่ายทุกๆ ค่าย และอุดมงค์ทะลุถึงกันได้รบกันกับ ทัพพะม่าในอุโมงค์ ฆ่าฟันกันล้มตายเป็นอันมาก เจ้าพระยาจักรี เจ้า พระยาสุรสีห์ให้ทหารตัดเอาศีรษะพะม่ามาถวายเนืองๆ จึงพระราช ทานปืนใหญ่รางเกวียน ๒๐ บอก ให้ลากขึ้นไปณค่ายประชิดให้ยิง ทะลายค่ายพะม่า ขณะนั้นพระยานครสวรรค์แต่งคนไปลาดตระเวน จับได้ไทย ชะเลยพะม่าสองคนให้การวา อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพมาครั้งนี้ คน สามหมื่นห้าพัน ทัพหลังคนห้าพันตั้งอยู่ณบ้านกงธานีหนึ่ง อะแซหวุ่นกี้ และแมงแยยางูผู้น้องกับกละโป และเจ้าเมืองตองอูถือพลสามหมื่น ยกมาติดเมืองพระพิษณุโลก บัดนี้นายทัพพะม่าทำการขัดสนนักเห็น อาการจะเลิกถอยไป พระยานครสวรรค์จึงบอกส่งไทยชะเลยสองน กับคำให้การมาถวายณค่ายหลวง ครั้นณวันอังคารเดือนสามแรมสองค่ำ กลางคืนเพลาสี่ทุ่ม จึงเสด็จยกทัพหลวงขึ้นไปณค่ายมั่นใกล้วัดจันทน์ ดำรัสให้กองพระ ยายมราช และพระยานครราชสีมา พระยาพิชัยสงครามยกไปช่วย พระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งค่ายประชิดโอบค่ายพะม่าณวัดจันทน์นั้น ครั้นเพลาสิบเอ็ดทุ่ม กองทัพไทยก็จุดปืนใหญ่ยิงทะลายค่ายพะม่า แล้วยกออกปล้นทุกหน้าค่ายพะม่า พะม่ายกหนุนกันออกมารบจน เพลารุ่งนายทัพนายกองทั้งปวงจะหักเอาค่ายพะม่ามิได้ ก็ถอยกลับเข้าค่าย ครั้นณวันพุธเดือนสามแรมสิบสามค่ำ จึงดำรัสปรึกษาด้วย ท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงว่า ทัพหลวงจะตั้งมั่นอยู่ที่นี่เห็นราช การจะเนิ่นช้า จะถอยไปตั้งอยู่ณค่ายท่าโรง แล้วจะเกณฑ์กองทัพ ยกไปทางฟากตะวันตก ให้ตั้งค่ายประชิดโอบหลังค่ายพะม่าเข้าไว้ และท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวง ก็เห็นพร้อมด้วยพระราชดำริ ครั้นค่ำเพลาสี่ทุ่ม จึงเสด็จถอยทัพหลวงมาตั้งอยู่ณค่ายท่าโรง ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนสามแรมสี่ค่ำ จึงดำรัสให้ข้าหลวง ไปหากองทัพพระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ณค่ายวัดจันทน์ และกอง พระโหราอธิบดี และกองมอญ พระยากลางเมืองซึ่งตั้งอยู่ณค่าย บางทรายให้ยกลงมายังทัพหลวง แล้วดำรัสให้พระยามหามนเทียร เป็นแม่ทัพถือพลห้าพัน ให้กองพระยานครสวรรค์เป็นทัพหน้า ให้ หลวงดำเกิงรณภพ หลวงรักษ์โยธาคุมพลทหารกองใน กองนอก กองเกณฑ์หัดสามพันสี่ร้อยเป็นกองหนุนยกไปตั้งค่ายรายซุ่มขึ้นไป ตามหลังค่ายพะม่าดูเชิงข้าศึกก่อน ถ้าพะม่าไม่ยกมาตีจึงเข้าตั้ง ค่ายประชิดติดค่ายพะม่า แล้วดำรัสให้พระราชสงครามลงไปเอา ปืนพระยาราชปักษีปืนฉัตรชัยณกรุงธนบุรี บรรทุกเรือขึ้นมาจงมาก ฝ่ายนายกองทัพหน้าพะม่า เข้าไปแจ้งราชการแก่อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพว่า ไทยมีฝีมือเข้มแข็งนัก จะรบเอาชัยชะนะโดยเร็วเห็นจะ ไม่ได้ แล้วทัพหลวงก็ยกขึ้นมาช่วยรี้พลเป็นอันมาก อะแซหวุ่นกี้ จึงให้ม้าใช้ไปสั่งปัตญีตะจวง ซึ่งตั้งค่ายอยู่ณบ้างกงธานี ให้ เป็นนายทัพคุมพลสามพันยกลงมาณเมืองกำแพงเพ็ชร แล้วให้ เดิรทัพลงไปณเมืองนครสวรรค์แซงลงไปถึงเมืองอุทัยธานี ถ้าได้ ทีให้วกกลังตัดลำเลียงกองทัพไทยจะได้พะว้าพะวังระวังทั้งหน้าหลัง ก็จะหย่อนกำลังลง และทัพอีกสองพันนั้น ให้ยกหนุนมาตั้ง ค่ายใหญ่ใกล้เมืองพระพิษณุโลกฟากตะวันตก ครั้นณวันเสาร์เดือนสามแรมหกค่ำ จึงพระยาสุโขทัยซึ่งตั้ง ซุ่มคอยสะกัดสอดแนมสืบราชการ ณทัพพะม่าบ้านกงธานีนั้น บอก ลงมากราบทูลว่า พะม่าตั้งค่ายอยู่ณบ้างกงธานีห้าค่าย บัดนี้ยก ข้ามน้ำไปฟากตะวันตกกองหนึ่ง ยกหนุนมาเมืองพระพิษณุโลกกอง หนึ่ง ครั้นได้ทรงทราบจึงดำรัสว่า เกลือกพะม่าจะวกตีตัด สะเบียง ให้กองพระยาราชภักดี กับพระยาพิพัฒโกศา ยกลงไป ช่วยราชการ พระยาราชาเศรษฐีตั้งค่ายอยู่ณเมืองนครสวรรค์ แล้วให้กองพระยาธรรมายกหนุนขึ้นไปช่วยพระยามหามนเทียร และ พระยานครสวรรค์ ซึ่งไปตั้งค่ายประชิดโอบหลังค่ายพะม่าณวัดจันทน์ ฟากตะวันตก แล้วให้หลวงภักดีสงคราม และพระยาเจ่ง กับ กรมการเมืองชัยนาท คุมพลไทยมอญห้าร้อยเศษ ยกขึ้นไปตั้ง อยู่ณบ้านร้านดอกไม้แขวงเมืองกำแพงเพ็ชรคอยดูท่วงทีพะม่าซึ่งยก มาแต่บ้านกงธานีนั้นจะไปแห่งใด ถ้าเห็นได้ทีจึงให้ออกโจมตี ถ้าไม่ได้ก็ให้ลาดถอยมา ฝ่ายในเมืองพระพิษณุโลก เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยา สุรสีห์ เกณฑ์พลทหารออกตั้งค่ายนอกเมืองฟากตะวันตก ตั้งค่าย ประชิดค่ายพะม่าซึ่งล้อมเมืองนั้น ครั้นเพลาค่ำในวันเสาร์เดือนสามแรมหกค่ำ จึงเจ้าพระยา สุรสีห์ ให้เอาไม้ทำคบเอาผ้าชุบน้ำมันยางจุดเพลิงใส่ในกระบอก ปืนใหญ่ยิงไปเผาค่ายพะม่าไหม้ขึ้นค่ายหนึ่ง หอรบไหม้ทำลายลง สองหอ พะม่าออกมาดับไฟถูกยิงตายและลำบากไปเป็นอันมาก แต่ สะเบียงอาหารในเมืองขัดสนนัก ด้วยจะกวาดเข้าเมืองหาทันไม่ จึง บอกลงไปณทัพหลวงขอพระราชทานสะเบียง ก็โปรดให้กองทัพคุม ลำเลียงขึ้นไปส่ง พะม่าออกตีตัดลำเลียงกลางทางไปส่งหาถึงเมืองไม่ ครั้งหลังจึงโปรดให้กองลำเลียงขนเข้าขึ้นไปส่งอีก ให้กองพระยา นครราชสีมายกไปช่วยป้องกันกองลำเลียง แล้วให้เจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพลงมาคอยรับ และกละโปแม่ทัพกองหน้าพะม่านั้นเข้มแข็งยก ทัพมาสะกัดตี กองทัพเจ้าพระยาสุรสีห์กับทัพพระยานครราชสีมา หาเข้าถึงกันได้ไม่ ทัพเมืองพระพิษณุโลกก็ถอยกลับเข้าเมือง ทัพ เมืองนครราชสีมาก็พาลำเลียงถอยกลับมาค่ายหลวง และเข้าในเมือง พระพิษณุโลกก็เปลืองลงทุกวันๆ จ่ายแจกรี้พลก็หาพออิ่มไม่ ไพร่พล ก็ถอยกำลังอิดโรยลง ฝ่ายข้างกองทัพพะม่าก็ขัดสะเบียงอาหารลง เหมือนกัน แต่อยู่ภายนอกที่ทำเลกว้าง เที่ยวหาบุกกลอยและราก กระดาษปนกับอาหารกินค่อยช้าเนิ่นวัน ไม่สู้ขัดสนนักเหมือนในเมือง ครั้นณวันศุกเดือนสามแรมสิบสามค่ำ จึงขุนพัสดีถือหนังสือ บอกขึ้นมากราบทูลว่า พะม่าเมืองมะริดยกกองทัพเข้ามาตีเมืองกุย เมืองปราณต้านทานมิได้ จึงถอยเข้ามาตั้งอยู่ณเมืองชะอำ และ ทัพพะม่าเลิกกลับไป บัดนี้พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สมคราม ได้แต่งพลทหารไปขัดทัพอยู่ที่ช่องแคบด่านเมืองเพ็ชรบุรี จึงดำรัส ให้กองพระเจ้าหลานเธอประทุมไพรจิตรยกลงมารักษากรุงธนบุรี ระวังราชการศึกข้างฝ่ายใต้ ฝ่ายกองทัพพะม่าซึ่งยกลงมาณเมืองกำแพงเพ็ชร มายังมิทัน ถึง จึงกองทัพข้าหลวงไทยมอญห้าร้อย ก็ออกโจมตีที่กลางทาง ทัพ พะม่ามิทันรู้ก็แตกฉาน ทัพพวกข้าหลวงเก็บได้ศาสตราวุธต่างๆแล้ว ลาดถอยมา จึงบอกส่งสิ่งของเครื่องศาสตราวุธลงมาถวาย จึงดำรัส ให้พระสุนทรสมบัติกับหมื่นศรีสหเทพ เอาเสื้อผ้าไปพระราชทาน ขุนนางไทยมอญ ซึ่งล่าลงมาณบ้านร้านดอกไม้นั้น ฝ่ายทัพพะม่าก็ยกลงมาตั้งค่ายณบ้านโนนศาลาสองค่าย บ้าน ถลกบาตรค่ายหนึ่ง บ้านหลวงค่ายหนึ่ง ในแขวงเมืองกำแพงเพ็ชร แล้วยกแยกลงไปทางเมืองอุทัยธานีกองหนึ่ง เข้าเผาบ้านอุทัยธานีเสีย ครั้นถึงณวันเสารเดือนสามแรมสิบสี่ค่ำ ขุนยกกระบัตร เมืองชัยนาทไปสืบราชการทัพพะม่าขึ้นมากราบทูลว่า พะม่าตั้งค่าย อยู่ณเขาแขวงเมืองกำแพงเพ็ชรสี่ค่ย ยกไปเมืองอุทัยธานีกองหนึ่ง เผาบ้านเมืองเสียแล้วจะไปทางใดอีกมิได้แจ้ง จึงดำรัสให้ขุนอินทรเดช เป็นแม่กอง หลวงปลักเมืองอุทัยธานี กับหลวงสรวิชิตนายด่านเป็น กองหน้า หม่อมเชษฐกุมารเป็นกองหลวง ให้หม่อมอนุรุทธเทวา เป็นจางวาง บังคับทั้งสามกอง พลพันหนึ่งยกลงไปป้องกันสะเบียงและ ปืนใหญ่ซึ่งบรรทุกเรือขึ้นมานั้น อย่าให้เป็นอันตรายกลางทาง ถ้า มีราชการศึกณเมืองนครสวรรค์ให้แบ่งเอากองอาจารย์ไปช่วยบ้าง ให้แบ่งลงมาตั้งณบ้างคุ้งสำเภาบ้าง แล้วให้กองพระยาโหราธิบดี และหลวงรักษ์มนเทียร ยกไปตั้งค่ายณโคกสะดุด ให้กองพระยา นครชัยศรี ไปตั้งณค่ายโพธิ์ทับช้างป้องกันลำเลียงจะได้ไปมาสะดวก ครั้นณวันอาทิตย์เดือนสามแรมสิบห้าค่ำ จึงดำรัสให้ข้าหลวง ไปหาเจ้าพระยาจักรีณเมืองพระพิษณุโลก ลงมาเฝ้าณค่ายบ้านท่าโรง เจ้าพระยาจักรีป่วย ลงมามิได้ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ลงมาเฝ้า จึงดำรัส ปรึกษาโดยพระราชดำริ จะใคร่ผ่อนทัพลงไปตั้งณเมืองนครสวรรค์ ป้องกันสะเบียงไว้ และราชการในเมืองพระพิษณุโลกนั้นให้เจ้าพระยา จักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ จงรับรองป้องกันรักษา แล้วเจ้าพระยาสุรสีห์ ก็กราบถวายบังคมลากลับไปเมือง ในวันนั้นทัพพะม่ายกออกจากค่าย เข้าตีกองพระยานครสวรรค์ ซึ่งเดิรค่ายขึ้นไปถึงบ้านบางส้มปอย ตั้งลงยังมิทันแล้ว ได้รบกันเป็น สามารถ จับพะม่าได้คนหนึ่ง พะม่าถูกปืนตายและลำบากไปเป็น อันมาก ถอยไปเข้าค่าย พระยานครสวรรค์ จึงให้หมื่นศรีสหเทพ ถือหนังสือบอกส่งพะม่าลงมาถวายแล้วกราบทูลว่า บัดนี้พะม่าขัดสน เข้าและเกลือ เกลือนั้นหนักสองบาทซื้อขายกันเป็นเงินบาทหนึ่ง ครั้นณวันอังคารเดือนสี่ขึ้นสองค่ำ พระยารัตนพิมลซึ่งอยู่ รักษาค่ายปากน้ำพิงบอกมากราบทูลว่า แต่งคนไปสอดแนมถึงวัง สองสลึงเห็นพะม่ายกมาประมาณสองร้อย ครั้นเพลาบ่ายพะม่าเผา บ้านป่าขึ้นใกล้ปากน้ำพิงเข้าไปสามคุ้ง จึงดำรัสให้หลวงวิสูตรโยธา มาตย์ หลวงราชโยธาเทพ คุมเอาปืนใหญ่รางเกวียนแปดบอก ลงเรือข้ามไปณค่ายปากน้ำพิงฟากตะวันตก ครั้นณวันพุธเดือนสี่ขึ้นสามค่ำ จึงเสด็จพระราชดำเนิรด้วย พระบาทขึ้นไปทางฟากตะวันออก แต่ค่ายบ้านท่าโรงจนถึงตรงค่าย พระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ณฟากบ้านแขกฟากตะวันตกนั้น เสด็จ ทรงพระเก้าอี้ อยู่ กลางหาดทราบ จึงพระยาธรรมาธิบดี พระยานคร สวรรค์ลงว่ายน้ำข้ามมาเฝ้า กราบทูลว่าพะม่าตั้งค่ายประชิดลงสี่ค่าย แล้วปักกรุยจะตั้งค่ายโอบลงมา จึงดำรัสว่ามันทำลวงดอกอย่ากลัว มัน ให้ตั้งค่ายรายเรียงออกไป ถ้ามั่นตั้งรายตามกันไปให้ตั้งราย แผ่ออกไปจงมากให้รักษาอยู่ แต่ค่ายละห้าร้อยคน แล้วอย่าคิดกลัว แตกกลัวเสีย มันจะตีค่ายไหนให้ตีเข้า อันธรรมดาเป็นชายชาติทหาร แล้วจงมีน้ำใจองอาจอย่ากลัวตาย ตั้งใจอาสาพระรัตนตรัย และ พระมหากษัตริย์ ด้วยเดชะผลกตัญญูนั้น จะช่วยอภิบาลบำรุงรักษา ก็จะหาอันตรายมิได้ ถ้าใครย่อท้อต่อการสงครามให้ประหารชีวิต เสีย ศึกจึงจะแก่กล้าเอาชัยชำนะได้ แล้วให้ยกเอากองพระยา สีหราชเดโช และกองหมื่นทิพเสนามาเข้ากองพระยานครสวรรค์ ยกกองเกณฑ์หัด กองทหารกองอาจารย์มาไว้ในค่ายหลวง แล้ว เสด็จพระราชดำเนิรกลับยังค่ายบ้านท่าโรง จึงให้ข้าหลวงขึ้นไป เมืองพระพิษณุโลก หาเจ้าพระยาจักรีลงมาเฝ้า พอเจ้าพระยาจักรี ป่วยหายแล้ว ก็ลงมาเฝ้าณค่ายหลวงท่าโรง ครั้นได้ทรงฟังเสียง ปืนใหญ่น้อยณปากน้ำพิงหนาขึ้น จึงดำรัสสั่งเจ้าพระยาจักรีให้จัดแจง พลทหารรักษาค่ายท่าโรง เจ้าพระยาจักรีก็เกณฑ์กองพระยาเทพ อรชุน และพระพิชิตณรงค์ให้อยู่รักษาแล้ว กลับขึ้นไปเมืองพระ พิษณุโลก ครั้นค่ำเพลาสามยามก็เสด็จยกทัพหลวงลงมาณปาก น้ำพิง ครั้นเพลาสิบเอ็ดทุ่มพะม่ายกมาขุดสนามเพลาะ เข้าตี ค่ายพระยาธรรมไตรโลก พระยารัตนพิมลณคลองกระพวง ยิงปืน ระดมต่อรบกันเป็นสามารถ รุ่งขึ้นณวันพฤหัสบดีเดือนสี่ขึ้นสี่ค่ำ จึงเสด็จข้ามสะพานเรือก (สูญหายหน้า ๑๔๔) ครั้นเพลาบ่ายเสด็จไปทอดพระเนตรค่าย ที่รบคลองพระพวง แต่ค่ายมั่นออกไประยะทางยี่สิบสองเส้น ให้ตั้งค่ายขุดคลองเดิรตาม ปีกกาให้ถึงกัน ขณะนั้นดำรัสภาคโทษพระสุธรรมาจารย์ พระวิสาล สุธรรมเจ้ากรมกองอาจารย์ แล้วให้ทำราชการแก้ตัวเข้าตั้งค่ายประชิด ค่ายพะม่า กับกองทหาร กองเกณฑ์หัดสืบไป ในวันนั้นเพลาบ่าย ห้าโมงเศษ พะม่ายกออกปล้นค่ายกองทัพไทยได้รบกันเป็นสามารถ หลวงดำเกิงรณภพให้ยิงปืนใหญ่น้อยต้องพะม่าตายและลำบากมาก อนึ่งขุนหาญทะนายเลือกกองนอก รักษาค่ายให้เพลิงตกลงใน ถังดินดำ ติดขึ้นไหม้คนตายหลายคน และตัวขุนหาญนั้นก็ย่อท้อ ต่อการศึก จึงดำรัสให้ประหารชีวิตเสีย แล้วให้ข้าหลวงไปหาพระยา ยมราช ซึ่งตั้งค่ายอยู่ณวัดจันทน์ลงมาเฝ้า ตรัสสั่งให้พระยายมราช เป็นแม่ทัพ ถืออาชญาสิทธิ์บังคับทัพทั้งสิบทัพ ซึ่งตั้งรับพะม่าณคลอง กระพวงให้กล้าขึ้น ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนสี่ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ กลางคืนเพลา ประมาณยามเศษ อะแซหวุ่นกี้ใก้กละโปยกทัพข้ามแม่น้ำมาฟากตะวัน ออกเข้าปล่นค่ายกรมแสงใน คนสองร้อยสิบสี่คนตั้งค่ายอยู่ณวัดพริก ห้าค่าย ได้รบกันเป็นสามารถ พะม่าแหกเอาค่ายได้แตกทั้งห้าค่าย นายทัพนายกองและไพร่พลหนีกระจัดพรัดพรายกันไป จึงพระยาเทพ อรชุน พระพิชิตณรงค์ซึ่งรักษาค่ายท่าโรง บอกส่งคนซึ่งแตกลงมา แต่ค่ายวัดพริกทั้งนายไพร่หลายคนลงมาถวาย จึงดำรัสให้ประหาร ชีวิตหมื่นทิพหนึ่ง ไพร่สิบสามคน เป็นคนสิบสี่คน ตัดศีรษะเสียบไว้ ณประตูค่ายปากน้ำพิง แล้วดำรัสสั่งว่า แต่บรรดานายไพร่ซึ่งแตก พะม่ามานั้นได้ตัวมาเมื่อใดให้ฆ่าเสียใหิสิ้น แล้วข้าหลวงไปหากอง พระโหราธิบดี กองหลวงรักษ์มนเทียรซึ่งตั้งค่ายอยู่ณโคกสะดุด และกองพระยานครชัยศรีซึ่งตั้งค่ายอยู่ณโพธิ์ทับช้างนั้น ให้ยกไป ช่วยราชการทัพหลวงณปากน้ำพิง ครั้นณวันศุกรเดือนสี่ขึ้นสิบสองค่ำ จึงพระยานครสวรรค์บอก ลงมากราบทูลว่ ทัพพะม่าตั้งค่ายโอบลงมาถึงริมแม่น้ำ แล้วยก ข้ามไปตีค่ายวัดพริกฟากตะวันออกแตกเห็นว่าพะม่าจะวกหลัง จะขอ พระราชทานลาดทัพข้ามมาตั้งค่ายรับอยู่ฟากตะวันออก จึงดำรัสให้ กองมอญพระยากลางเมือง และกองพระโหราธิบดี และกองพระยา เทพอรชุน กองพระยาวิชิตณรงค์ ซึ่งตั้งอยู่ค่ายท่าโรงเข้ากองพระยา ยมราช ให้พระยายมราชเป็นแม่ทัพยกขึ้นไปตีทัพพะม่า ซึ่งเข้าตั้งอยู่ ณค่ายวัดพริกฟากตะวันออกนั้น และให้กองหลวงรักษ์มนเทียร ไป อยู่รักษาค่ายประชิดแทนพระยากลางเมืองณปากน้ำพิงฟากตะวันตก ฝ่ายพระยายมราชยกกองทัพไปตั้งค่ายประชิดค่ายพะม่าณวัด พริก พะม่ายกออกแหกค่ายพระยายมราช หักเอาค่ายได้ ในทัน ใดนั้นพระยายมราชขับพลทหาร เข้าตีพะม่าแตกชิงเอาค่ายคืนได้ พะม่าถอยไปเข้าค่ายวัดพริกตั้งรบกันอยู่ ขณะนั้นอะแซหวุ่นกี้ให้แมงแยยางูผู้น้อง ยกทัพใหญ่ลงมาตั้ง ค่ายโอบหลังค่ายหลวง ณปากน้ำพิงฟากตะวันออกเป็นหลายค่าย ได้ต่อรบกันเป็นสามารถ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงเห็นศึกหนัก เหลือกำลัง ถึงณวันพฤหัสบดีเดือนสี่แรมสิบค่ำ จึงให้ลาดทัพหลวง ถอยมาตั้งค่ายมั่นอยู่ณทางเข้าออก ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้เร่งให้ตะแคง มระหน่องปัญีแยข่องจอ และเจ้าเมืองตองอู นายทัพนายกองทั้งปวง ทำการติดเมืองพระพิษณุโลกกวดขันขึ้น ฝ่ายข้างในเมืองก็ขาด สะเบียงตวงเข้าแจกทหารมือละฝาเขนง ไพร่พลอิดโรยนักถอยกำลังลง เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ เห็นเหลือกำลังที่จะตั้งมั่นรักษาเมือง ไว้มิได้ ด้วยขัดสนสะเบียงอาหารนัก จึงบอกลงมากราบทู,ณค่าย หลวง แต่ยังเสด็จอยู่ณปากน้ำพิงว่า ในเมืองสิ้นสะเบียงจะขอพระ ราชทานล่าทัพออกจากเมือง ก็โปรดทรงอนุญาต เจ้าพระยาจักรี เจ้า พระยาสุรสีห์ จึงสั่งให้นายทัพนายกอง ซึ่งออกไปตั้งค่ายประชิดรับ พะม่าอยู่นอกเมืองทั้งสองฟากนั้นเลิกถอยเข้าในเมืองสิ้น พะม่าเข้า ตั้งอยู่ในค่ายไทยประชิดใกล้เมือง ให้ทำบันไดจะพาดกำแพงเตรียม การจะปีนปล้นเอาเมือง พลทหารซึ่งรักษาหน้าที่เชิงเทินระดมยิงปืน ใหญ่น้อยออกไปดังห่าฝน พะม่าจะเข้าปีนปล้นเอาเมืองมิได้ ต่างยิง ปืนโต้ตอบกันอยู่ทั้งสองฝ่าย ครั้นถึงณวันศุกรเดือนสี่แรมสิบเอ็ดค่ำ เจ้าพระยาทั้งสองจึง ให้เจ้าหน้าที่ระดมยิงปืนใหญ่น้อยหนาขึ้นกว่าทุกวัน เสียงปืนลั่น สนั่นไปมิได้ขาดตั้งแต่เช้าจนค่ำ แล้วให้เอาปี่พาทย์ขึ้นตีบนเชิงเทิน รอบเมือง ครั้นเพลาประมาณยามเศษ เจ้าพระยาทั้งสองก็จัดทหาร เป็นสามกอง กองหน้ากองหนึ่ง กองกลางให้คุมครอบครัวกองหนึ่ง กองหลังรั้งท้ายกองหนึ่ง แล้วยกกองทัพและครอบครัวทั้งปวง เปิด ประตูเมืองข้างด้านฟากตะวันออกให้พลทหารกองหน้ารบฝ่าออกไป เข้าหักค่ายพะม่าซึ่งตั้งล้อม พะม่าในค่ายต่อรบยิงปืนใหญ่น้อยออก มา พลทหารไทยก็หนุนเนื่องกันเข้าไปแหกค่ายพะม่าเข้าไปได้ ได้ รบกันถึงอาวุธสั้นแทงกันเป็นตะลุมบอน พะม่าแตกเปิดทางให้ เจ้า พระยาทั้งสองก็รีบเดิรทัพไปทางบ้านละมุงดอนชมพู และครอบครัว ทั้งปวงนั้น ก็แตกทัพกระจัดพรัดพรายตามกองทัพไปได้บ้าง พะม่า ก็ติดตามกองทัพไป และกองซึ่งรั้งหลังก็รอสะกัดต่อรบต้านทานที่ กลางทางเป็นสามารถ พะม่าก็ถอยกลับไปเมือง เจ้าพระยาทั้งสอง ก็เร่งเดิรทัพไปถึงเมืองเพ็ชรบูรณ์หยุดทัพอยู่ที่นั้น ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้แจ้งว่า ทัพไทยแหกหนีออกจากเมืองแล้ว ก็ขับพลทหารเข้าในเมืองให้จุดเพลิงเผาบ้านเรือน และอารามใหญ๋ น้อยทุกตำบลแสงเพลิงสว่างดังกลางวัน ให้ไล่จับผู้คนและครอบ ครัว ซึ่งยังตกค้างอยู่ในเมืองหนีออกไม่ทันนั้น และเก็บเอาทรัพย์สิ่ง สิน และเครื่องศาสตราวุธต่างๆแล้วตั้งอยู่ในเมือง อะแซหวุ่นกี้จึง ออกปากประกาศแก่นายทัพนายกองทั้งปวงว่า ไทยบัดนี้ฝีมือเข้มแข็ง นักไม่เหมือนไทยแต่ก่อน และเมืองพระพิษณุโลกเสียครั้งนี้ ใช่จะ แพ้ฝีมือเพราะทแกล้วทหารนั้นหามิได้ เพราะเขาอดเข้าขาดสะเบียง อาหารดอกจึงเสียเมือง และพะม่าซึ่งจะมารบเมืองไทยสืบไปภายหน้า นั้น ถ้าแม่ทัพมีสติปัญญาและฝีมือเพียงเสมอเรา ต่ำกว่าเรานั้น อย่ามาทำสงครามตีเมืองไทยเลยจะเอาชัยชำนะเขามิได้ แม้ดีกว่า เราจึงมาทำศึกกับไทยได้ชัยชำนะ พอข้างกรุงอังวะให้ม้าใช้ถือหนังสือลงมาถึงอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพ ว่าพระเจ้ามังระทิวงกต บัดนี้จิงกูราชบุตรพระชนม์ได้ ๒๕ ปี ได้เสวยราชสมบัติ แล้วฆ่ามังโปอนาวิงด่อ ซึ่งเป็นอาว์นั้นเสีย มีรับ สั่งให้หากองทัพกลับไปกรุงอังวะ อะแซหวุ่นกี้ได้แจ้งเหตุดังนั้น ก็ ให้เลิกทัพจากเมืองพิษณุโลก กวาดครอบครัวเดิรทัพไปทางเมือง สุโขทัยไปลงบ้านระแหงเมืองตาก ฝ่ายกองทัพเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งไปตั้งอยู่ เพ็ชรบูรณ์นั้นได้สะเบียงอาหารเลี้ยงไพร่พลบริบูรณ์ แล้วก็บอกลงมา กราบทูลว่ จะขอยกติดตามตีทัพพะม่าซึ่งเลิกถอยไป แล้วยกกอง ทัพกลับมาทางเมืองสระบุรี ขึ้นทางป่าพระพุทธบาทยกติดตามทัพพะม่า ไปทางเมืองสุโขทัย ขณะนั้นท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวง ซึ่ง ตั้งค่ายรบพะม่าอยู่ในที่ต่างๆ ก็บอกลงไปกราบทูลว่า พะม่าได้เมือง พระพิษณุโลกแล้วบัดนี้เลิกกลับไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระ โทมนัสน้อยพระทัยแก่ข้าศึกนัก ดำรัสให้หาหลวงศรสำแดงเข้ามา ถามหน้าพระที่นั่งว่า จะให้คุมเลกทหารเกณฑ์หัดไปตามรบพะม่าจะได้ หรือมิได้ หลวงศรสำแดงก้มหน้านิ่งเสียไม่กราบทูลประการใด ก็ทรง พระโพรธดำรัสให้ประหารชีวิตเสีย แล้วดำรัสให้พระยาพิชัยยกกลับ ไปบ้านเมืองให้พระยาพิชัยสงครามไปด้วย จัดแจงไพร่พลพร้อมแล้ว ให้ยกไปก้าวสะกัดติดตามตีพะม่าจงได้ แล้วให้กองพระยาเทพอรชุน พระยารัตนพิมล พระยานครชัยศรี พระยาทุกขราษฎร์เมืองพิษณุ โลก หลวงรักษ์โยธา หลวงอัคเนศรเป็นกองหน้า ให้พระยา สุรบดินทร์เจ้าเมืองกำแพงเพ็ชร เป็นแม่ทัพยกติดตามตีพะม่าไปทาง เมืองตาก ให้พระยาธิเบศร์บดีคุมกองอาสาจาม ยกติดตามพะม่า ไปทางเมืองสุโขทัย ครั้นณวันจันทร์เดือนหกแรมสิบเอ็ดค่ำปีวอกอัฐศก จึงพระ ราชสงครามนำเอาหนังสือมหาโสภีตะเจ้าอธิการวัดใหม่ เขียนใส่ใบ ตาลไปถวาย เป็นเรื่องความว่า พระพุทธทำนายมีในคัมภีร์พระธาตุ วงศ์ ข้อความว่าตรพกูลเสนาบดีจะได้เป็นกษัตริย์สี่พระองค์ เสวย ราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยา และพระองค์ที่สุดนั้นพะม่าจะยกมาย่ำยี พระนครจะเสียแก่พะม่า แล้วจะมีบุรุาพ่อค้าเกวียนจะได้เป็นพระยา ครองเมืองทิศใต้ชายทะเลชื่อเมืองบางกอก พระยาองค์นั้นจะได้สร้าง เมืองเป็นราชธานีขึ้นได้เจ็ดปี ในที่สุดเจ็ดปีนั้นพะม่าจะยกมาพยายาม กระทำสงครามอยู่สามปีในพระพุทธศักราชล่วงได้ ๒๓๒๐ ปี จุล ศักราชได้ ๑๑๓๙ ปี พระนครบางกอกจะเสียแก่พะม่าข้าศึก ให้เสด็จ ขึ้นไปอยู่ณเมืองละโว้ คือเมืองลพบุรีอันเป็นที่ชุมนุมพระบรมธาตุตั้ง อยู่ท่ามกลางแผ่นดินไทย ข้าศึกศัตรูจะทำร้ายมิได้เลย ครั้นทรง อ่านแล้วจึงดำรัสว่า ซึ่งจะละเมืองบางกอกเสียนั้นมิได้ แต่ปากสมณ ชีพราหมณ์ว่าแล้วจะทำตาม จะไปอยู่เมืองลพบุรีสักเจ็ดวันพอเป็นเหตุ ครั้นณวันจันทร์เดือนหกแรมสิบเอ็ดค่ำได้ข่าวว่า พระม่าข้าง ทางเมืองอุทัยธานียกแยกขึ้นไปเมืองเพ็ชรบูรณ์ จึงดำรัสให้พระยา พลเทพ หลวงเนาวโชติ จมื่นเสมอใจราช ยกกองทัพขึ้นไปเมือง เพ็ชรบูรณ์ ถ้าพะม่ายกไปพอจะต่อรบต้านทานได้ก็ให้สู้รบต้านทานไว้ ถ้าเหลือกำลังจงผ่อนครอบครัวสะเบียงอาหารลงไปกรุง แล้วให้กอง พระยานครสวรรค์ พระยาสวรรคโลก ยกไปติดตามพะม่าทางเมือง กำแพงเพ็ชรอีกทัพหนึ่ง และให้กองพระยายมราฃยกลงมาอยู่รักษา ค่ายหลวงณคลองบางเข้าตอก แต่ทัพหลวงเสด็จแรมอยู่คอยรับครัว ซึ่งแตกลงมาแต่เมืองพระพิษณุโลกอยู่สิบเอ็ดเวร ครั้นถึงณวันพฤหัสบดีเดือนหกแรมสิบสี่ค่ำ จึงเสด็จยาตราทัพ หลวงมาทางชลมารค หยุดประทับณค่ายมั่นเมืองนครสวรรค์ จึง ดำรัสให้ประหารชีวิตหลวงชาติสุรินทร์ ซึ่งหนีตาทัพลงมาแต่กอง พระยาธรรมไตรโลกนั้นเสีย แล้วให้แจกกฎหมายประกาศไว้สำหรับ ทัพทุกทัพทุกกองว่า ถ้าไพร่ตามนายมิทันให้ฆ่าเสีย ถ้าราชการ ตามเสด็จมิทัน ให้ลงพระราชอาชญาถึงสิ้นชีวิต ครั้นณวันเสาร์เดือนเจ็ดขึ้นค่ำหนึ่ง จึงเสด็จโดยทางชลมารค ล่องลงมาประทับแรมณพลับพลาค่ายมั่นบางแขม จึงหลวงวังเมือง นครสวรรค์ไปสืบราชการมากราบทูลว่า เห็นพะม่าตั้งอยู่ณเมือง กำแพงเพ็ชรประมาณสองพันเศษ ครั้นณวันพุธเดือนเจ็ดขึ้นห้าค่ำ จึงหมื่นชำนิคชสารมากราบ ทูลว่า พะม่าเผาเมืองพระพิษณุโลกเสียสิ้น ยังเหลืออยู่แต่วัดมหาธาตุ จึงดำรัสให้กองพระยายมราชยกไปทางแม่น้ำโพฟากตะวันตก ให้กอง พระยาราชสุภาวดี ยกไปทางฟากตะวันออก ให้พระยานครสวรรค์ ยกขึ้นไปบรรจบกัน ณวังพระธาตุข้ามพร้อมกันทีเดียว ไปตามตีทัพ พะม่า ณเมืองกำแพงเพ็ชรไปพร้อมกันตั้งค่ายอยู่ณบ้านโคน ครั้นณวันพฤหัสบดี เดือนเจ็ดขึ้นหกค่ำ จึงเสด็จยกกองทัพ หลวงกลับขึ้นไปประทับแรมณพลับพลาค่ายตะวันออกเหนือปากน้ำ ขลุม ให้ประหารชีวิตขุนสุนทรนุรัตน์ หมื่นสนั่นกับบ่าวคนหนึ่ง ซึ่ง หนีตาทัพตัดศีรษะเสียบไว้รหาดทราบหน้าค่ายหลวง ขณะนั้นหลวง วังไปสืบราชการณบ้านสามเรือนมากราบทูลว่ พะม่ายกลงไป ประมาณพันเศษ จึงดำรัสให้ข้าหลวงไปหากองพระยานครสวรรค์ ให้ ถอยทัพลงมาจากค่ายบ้านโคน มาเข้าในกองทัพหลวง จึงพระยา สุรบดินทร์ซึ่งยกไปตามพะม่าบอกลงมากราบทูลว่า พะม่าซึ่งตั้งอยู่ ณเมืองกำแพงเพ็ชรนั้นยกเลิกไปทางตะวันตกสิ้นแล้ว ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนเจ็ดแรมสิบสองค่ำ จึงเสด็จถอยทัพ หลวงลงมาประทับอยู่ณเมืองนครสวรรค์ จึงชาวด่านเมืองอุทัยธานี บอกลงมากราบทูลว่า ทัพพะม่ายกผ่านลงมาประมาณพันเศษ เผาค่าย ที่ด่านนั้นเสียแทลหลวงตาลำบากอยู่องค์หนึ่ง แล้วยกไปทางนารี จึง ดำรัสให้หลวงเสนาภักดี กองแก้วจินดายกติดตามไป ถ้าทันเข้าจง ตีให้แตกฉาน แล้วให้ยกตามไปจนถึงเมืองชัยโยค ครั้นณวันเสาร์เดือนเจ็ดขึ้นสิบสี่ค่ำ ปีวอกอัฐศก จงเสด็จยาตรา นาวาทัพหลวงมาโดยทางชลมารค กลับยังกรุงธนบุรีมหานคร ฝ่ายกองทัพพระยายมราช พระยาราชสุภาวดี ซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณบ้านโคนนั้น ครั้นแจ้งว่าทัพพะม่าณเมืองกำแพงเพ็ชรเลิกไป แล้ว แล้วได้แจ้งว่าทัพพะม่ากองหนึ่ง ยกลงไปทางเมืองอุทัยธานี จึงยกกองทัพผ่านลงมาทางด่านเขาปูน และด่านสลักพระ พบกอง ทัพพะม่าได้รบกันเป็นสามารถ และทัพพะม่ากองหนึ่ง กลับยก แยกเข้ามาตั้งอยู่ณเมืองนครสวรรค์ คอยรับกองทัพซึ่งไปหา สะเบียงอาหารณแขวงเมืองเพ็ชรบูรณ์ ครั้นณวันอังคารเดือนเจ็ดแรมสองค่ำ จึงพระยายมราช พระ ยาราชสุภาวดี บอกข้อราชการลงมากราบทูลณกรุงธนบุรี สมเด็จพระ พุทธเจ้าอยู่หัว จึงดำรัสให้ข้าหลวงไปหาพระเจ้าหลานเธอ กรมขุน อนุรักษ์สงครามเข้ามาจากเมืองเพ็ชรบุรี แล้วดำรัสให้พระเจ้าลูกเธอ กรมขุนอินทรพิทักษ์ ถือพลพันหนึ่งยกทัพเรือหนุนขึ้นไป ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนเจ็ดแรมสี่ค่ำ จึงเสด็จยาตรานาวาทัพ หลวงจากกรุงธนบุรีโดยทางชลมารคขึ้นไปประทับพลับพลา ค่ายเมือง ชัยนาทบุรีฟากตะวันออก แล้วโปรดให้พระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทร พิทักษ์ กลับลงมารักษากรุงธนบุรี จึงพระยายมราช พระยา ราชสุภาวดี บอกลงมากราบทูลว่า ตั้งค่ายประชิดรบทัพพะม่าณด่าน เมืองอุทัยธานีนั้น ขัดสนด้วยสะเบียงอาหารนัก บัดนี้ล่าทัพลงมาตั้ง อยู่ณดอนไก่เถื่อน ฝ่ายกองหม่อมอนุรุทธเทวาและหลวงเสนาภักดี กองแก้ว จินดาบอกลงมากราบทูลว่า ได้ยกติดตามพะม่าไปทางเมืองอุทัยธานี พบพะม่ากองหนึ่งยกลงมาทางแขวงเมืองสรรคบุรี ได้รบกันณบ้าน เดิมบางนางบวช รบกันเป็นสามารถ ทัพพะม่าแตกหนีลงไปทางแขวง เมืองสุพรรณบุรี จึงดำรัสว่าพะม่ามิได้ตามลงมาติดพันแล้ว แล้วก็เป็น เทศกาละได้ทำนาให้มีตราหากองทัพเมืองพิจิตร เมืองนครสวรรค์ เมืองอุทัยธานี ลงมายังค่ายหลวงเมืองชัยนาทบุรีให้สิ้น แล้วให้ มีตราไปถึงพระยายมราช พระยาราชสุภาวดี ซึ่งตั้งทัพอยู่ณดอนไก่ เถื่อน กับให้กองมอญพระยารามัญวงศ์ยกเติมไปอีกกองหนึ่งเป็นสาม พัน ให้ยกลงไปทางเมืองสุพรรณบุรี เมืองนครชัยศรี เมืองราชบุรี ถ้าพบทัพพะม่าให้ตีจงแตก ถ้าปะครัวเร้นซ่อนอยู่ในป่า ก็ให้กวาด ต้อนลงไปณกรุง แล้วดำรัสให้กองพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์ สงคราม กรมขุนรามภูเบศร์ และเจ้าพระยามหาเสนา ให้เร่ง ยกขึ้นไปตีพะม่าซึ่งตั้งอยู่ณเมืองนครสวรรค์ ครั้นณวันจันทร์เดือนแปดขึ้นค่ำหนึ่ง จึงเสด็จยกทัพหลวงหนุน ขึ้นไป แล้วเสด็จกลับในวันนั้น มาลงเรือพระที่นั่งณสรรพยาล่องลงมา ประทับแรมณบ้านงิ้ว ครั้นณวันพุธเดือนแปดขึ้นสามค่ำ จึงเสด็จ ยาตรานาวาทัพหลวงกลับยังกรุงธนบุรี ฝ่ายกองทัพพะม่าซึ่งตั้งอยู่ณด่านเมืองอุทัยธานั้น ขัดสนด้วย สะเบียงอาหารนักก็เลิกกลับไป แต่ที่เมืองนครสวรรค์นั้น พะม่าตั้งอยู่ ประมาณแปดร้อยเก้าร้อย คอยท่าพะม่าซึ่งไปเที่ยวหาเข้าณแขวง เมืองเพ็ชรบูรณ์ยังหาเลิกไปไม่ และกองทัพพระเจ้าหลานเธอกรมขุน อนุรักษ์สงคราม และกรมขุนรามภูเลศร์ และเจ้าพระยามหาเสนา ก็ ยกเข้าตีตั้งค่ายรบติดพันกันอยู่ จึงบอกลงมาให้กราบทูลณกรุงธนบุรี ครั้นถึงณวันเสาร์ เดือนเก้าขึ้นสิบสองค่ำปีวอกอัฐศก สมเด็จ พระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงเสด็จยกพยุหโยธานาวาทัพหลวง พร้อมด้วยพล ทหารสิบเอ็ดกองจากกรุงธนบุรีไปทางชลมารค เสด็จไปประทับณพลับ พลาค่ายเมืองชัยนาทบุรี พอกองทัพพระเจ้าหลานเธอตีทัพพะม่าแตก หนีไปทางเมืองกำแพงเพ็ชร จึงบอกลงมากราบทูลณเมืองชัยนาทบุรี ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนเก้าแรมสองค่ำ จึงดำรัสให้พระเจ้า หลานเธอกรมขุนรามภูเบศร์ กับเจ้าพระยาอินทรอภัยอยู่รักษาค่าย เมืองนครสวรรค์ แล้วเสด็จยกทัพหลวงไปโดยทางชลมารคถึงเมือง ตาก และพะม่าซึ่งแตกไปอยู่ในป่าดงนั้น กองทัพทั้งปวงจับมาถวาย สามร้อยสามสิบเศษ จึงดำรัสให้กองทัพทั้งปวงติดตามพะม่าไปจน ปลายด่านเมืองตาก ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนเก้าแรมเก้าค่ำ จึงเสด็จถอยทัพ หลวงกลับมาบ้านระแหง ทอดพระเนตรเห็นต้นเข้า ซึ่งพะม่า ทำนาไว้สั่งให้ถอนเสีย ครั้นณวันจันทร์เดือนเก้าแรมสิบสามค่ำ เสด็จถึงกรุงธนบุรี แล้วทรงพระวิตกถึงสมณะ ซึ่งขับต้อนลงมาแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือจึงให้ ผะเดียงสมเด็จพระสังฆราชไว้ว่า ถ้าพระสงฆ์อนุจรอารามใดขัดสน อาหารก็ให้มาเบิกเอาเข้าในฉางหลวงไปถวาย แล้วทรงพระราช ศรัทธาถวายสมณบริกขาร แก่พระสงฆ์อาคันตุกะทั้งปวงเป็นอันมาก และให้เลิกคนซึ่งรักษาหน้าที่เชิงเทินพระนครเสีย ให้ไปทำนา ทำไร่หากินตามภูมิลำเนา ครั้นณวันศุกเดือนสิบขึ้นค่ำหนึ่ง จึงพระยาราชภักดี และพระยาพลเทพ ซึ่งไปตามพะม่าทางเมืองเพ็ชรบูรณ์นั้น พบพะม่า ที่บ้านนายมได้รบกัน ตีทัพพะม่าแตกหนีไปทางเมืองอุทัยธานีจับเป็นได้ เก้าคนบอกส่งลงมาถวาย จึงโปรดให้มีตราไปถึงพระยาราชภักดี ให้ยกไปติดตามพะม่าซึ่งแตกหนีไปนั้น แต่กองพระยาพลเทพ ให้ยกกลับลงมาณกรุง ครั้นณวันเสาร์เดือนสิบขึ้นสี่ค่ำ กองพระยายมราช พระยาราช สุภาวดี พระยารามัญวงศ์ ยกติดตามพะม่าไปทางด่านสุพรรณบุรี ได้ตามตีพะม่าไปจนถึงด่านแม่ลำเมา จับเป็นได้สิบเจ็ดคน บอกส่งลงมาถวาย ครั้นณวันอาทิตย์เดือนสิบขึ้นห้าค่ำ จึงกองเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ และกองพระยาธิเบศร์บดี ซึ่งยกไปตามพะม่าทาง เมืองสุโขทัยนั้น จับเป็นได้สิบแปดคน กับทั้งเครื่องศาสตราวุธ เป็นอันมาก บอกส่งลงมาถวาย ครั้นณวันเสาร์เดือนสิบขึ้นสิบเอ็ดค่ำ จึงพระยานครสวรรค์ พระยาพิชัย ซึ่งยกติดตามพะม่าไปทางด่านเมืองตาก จับเป็นได้ สี่สิบเก้าคนบอกส่งลงมาถวาย และกองพระเจ้าหลานเธอกรมขุน อนุรักษ์สงครามและเจ้าพระยามหาเสนา บอกส่งพะม่าลงมา แต่แควเมืองกำแพงเพ็ชร สิบเอ็ดคนลงมาถวาย จึงดำรัสให้มี ตราหากองทัพทั้งปวงกลับลงมายังพระนครพร้อมกันแล้ว โปรดให้ เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ พระยาธรรมา คุมไพร่พลทั้งปวง ตั้งทำนาณทะเลตมฟากตะวันออกกรุงธนบุรี และทุ่งบางกะปิสามเสน ให้พระยายมราช พระยาราชสุภาวดีคุมไพร่ทั้งปวง ตั้งทำนาณทะเล ตมฟากตะวันตก และทุ่งกระแบน หนองบัวแขวงเมืองนครชัยศรี อนึ่งในเดือนสิบนั้น กะปิตันเหล็กอังกฤษเจ้าเมืองเกาะหมาก ส่งปืนนกสับเข้ามาถวายพันสี่ร้อยบอก กับสิ่งของเครื่องราช บรรณาการต่างๆ ถึงณวันจันทร์เดือนสิบแรมสิบสองค่ำปีวอกอัฐศก เพลาบ่าย สี่โมง นางพระยาช้างเผือกล้ม จึงดำรัสให้เอาศพไปฝังณวัดสามเพ็ง ที่ฝังศพเจ้าพระยาปราบไตรจักร แต่ก่อนนั้น ครั้นณวันศุกรเดือนสิบเอ็ดขึ้นสามค่ำ ข้าหลวงและกรม การเมืองนครศรีธรรมราชบอกเข้ามาว่า เจ้านราสุริยวงศ์ผู้ครองเมือง นั้นถึงพิราลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดให้เจ้านครกลับคืนออกไปครอง เมืองนครศรีธรรมราชดังเก่า พระราชทานเครื่องยศ และ ราชูปโภคเป็นอันมาก ฝ่ายกองทัพพระยาราชภักดี ยกติดตามพะม่าไปทางด่านเมือง อุทัยธานี พอฝนตกหนักน้ำนองท่วมป่าจะติดตามต่อไปลำบากนัก จึง ถอยทัพกลับมา แล้วบอกลงมากราบทูลณกรุงฯว่าพะม่ายกหนีไปโดย เร็วยกติดตามไปมิทัน สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบใน หนังสือบอกก็ทรงพระพิโรธ จึงให้ตำรวจลงเรือเร็วรีบขึ้นไปหากองทัพ พระยาราชภักดี กลับลงมายังพระนคร แล้วดำรัสให้ปรึกษาโทษ พระยาราชภักดี และนายทัพนายกองทั้งสิบนายซึ่งเป็นลูกกองนั้นว่า เกียจคร้านย่อท้อต่อราชการศึก ให้ประหารชีวิตเสียทั้งสิ้น พระยา ราชภักดีจึงกราบทูลว่า ราชการครั้งนี้โทษผิดแต่ข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียว ด้วยข้าพระพุทธเจ้าเป็นนายทัพ เมื่อและมิได้ไปแล้ว นายทัพนายกอง ทั้งปวงอยู่ในบังคับก็ต้องตามบังคับบัญชาถอยมาด้วยกันทั้งสิ้น จะขอรับ พระราชอาชญาตายแต่ตัวข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียว และนายทัพนายกอง ทั้งปวงนั้น ขอพระราชทานชีวิตไว้ ให้ทำราชการแก้ตัวสืบไปภายหน้า จึงดำรัสว่านายทัพนายกองทั้งปวงไม่ทัดทานกัน ลงใจพร้อมกีนทั้งสิ้น ครั้นจะไว้ชีวิตก็จะเป็นเยี่ยงอย่างกันสืบไป จงตายเสียด้วยกันทั้งสิ้น เถิด แล้วดำรัสให้เอาตัวพระราชภักดี และขุนนางมีชื่อทั้งสิบนาย ซึ่งเป็นลูกกองนั้นไปประหารชีวิตเสียสิ้น ฝ่ายข้างกรุงรัตนบุระอังวะพระเจ้ามังระสวรรค์คต อยู่ในราช สมบัติสิบสามปี จิงกูราชบุตรได้ครองราชสมบัติสืบไปในปีวอก อัฏฐศก ครั้นกองทัพอะแซปหวุ่นกี้ยกกลับไปถึง จึงเข้าเฝ้าทูลแถลง การณ์ซึ่งไปตีหัวเมืองไทยฝ่ายเหนือได้ทั้งสิ้น พระเจ้าจิงกูจาก็พระราช ทานบำเหน็จรางวัลแก่อะแซหวุ่นกี้ และนายทัพนายกองทั้งปวงโดย สมควรแก่ความชอบ ครั้นอยู่มาแชลงจาผู้น้องพระเจ้าจิงกูจา ซึ่งเป็น เจ้าเมืองแชลงอยู่ก่อนนั้น คิดกันกับอะตวนหวุ่นอำมาตย์เป็นกบฏต่อ พระเจ้าจิงกูจา พระเจ้าจิงกูจาให้จับแชลงจากับอะตวนหวุ่นอำมาตย์ ประหารชีวิตเสีย ยังแต่อาว์สามคน คือมังแวงตะแคงปะดุงหนึ่ง มังจูตะแคงปะคานหนึ่ง มังโพเชียงตะแคงแปงตะแลหนึ่ง มิได้ เลี้ยงเป็นเจ้า ให้แยกบ้านกันอยู่คนละบ้านไกลเมืองอังวะ แล้ว พระเจ้าจิงกูจาให้อำมะลอกหวุ่น และต่อหวุ่นกับพระยาอู่รามัญ ถือ พลหกพันยกไปตีเมืองเชียงใหม่อีก เข้าตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ พระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ ต่อรบพะม่าเหลือกำลังทิ้ง เมืองเสีย พาครอบครัวอพยพเลิกหนีลงมาอยู่เมืองสวรรคโลก แล้วบอกลงมาณกรุงธนบุรีกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ ฝ่ายข้างแผ่นดินเมืองญวนองเหียวหูเบืองเป็นเจ้าเมืองเว้ทำ สงครามกับเมืองตังเกี๋ยเป็นหลายปีมา และองเหียวหูเบืองมีบุตร ชายห้าคน ชื่อองดิกมูหนึ่ง องคางเบืองหนึ่ง องเทิงกวางหนึ่ง องเชียงชุนหนึ่ง องทางหนึ่ง และองดิกมูบุตรผู้ใหญ่มีบุตรชายชื่อ องหวางตนหนึ่ง องคางเบืองบุตรที่สองมีบุตรชายสามคน ชื่อองบาบา หนึ่ง องเชียงสือหนึ่ง องหมันหนึ่ง และองดิกมู องคางเบืองนั้น ถึงแก่กรรมก่อนองเหียวหูเบืองผู้บิดา ครั้นอยู่มาองเหียวหูเบือง เจ้าเมืองเว้ถึงพิราลัยแล้ว จึงองกวักพอขุนนางผู้ใหญ่ เป็นบิดาเลี้ยง องเทิงกวางได้ครองเมืองเว้ ขุนนางและราษฎรไม่เต็มใจ ครั้งนั้น อ้ายหยากเป็นโจรป่าอยู่ณแดนเมืองกุยเยิน ตั้งเกลี้ยกล่อมผู้คนจะตี เอาเมืองเว้ให้ได้ จะจับองเทิงกวาง และองกวักพอฆ่าเสีย จะยก องหวานตน บุตรองดิกมูขึ้นครองเมืองเว้ อาณาประชาราษฎรทั้งปวง เชื่อฟังยินดีด้วย มาเข้าเกลี้ยกล่อมเป็นอันมาก และอ้ายหยากนั้นมี น้องชายสองคน ชื่ออ้ายบายหนึ่ง อ้ายดามหนึ่ง จึงยกไพร่พลทั้งปวง มาตีเมืองเว้ ฝ่ายองกลิงเกลียมมหาอุปราชเมืองตังเกี๋ย ได้แจ้ง ข่าวว่าอ้ายหยากจะยกกองทัพไปตีเมืองเว้ด้วย และกองทัพอ้ายหยากตีด้าน หนึ่ง ทัพองกวักเหลาตีด้านหนึ่ง ฝ่ายองเทิงกวาง องหวักพอ จึง แต่งกองทัพออกไปต่อรบครั้งหนึ่งก็แตกถอยเข้าเมือง องเทิงกวาง องกวักพอเห็นจะต่อสู้เหลือกำลังก็ทิ้งเมืองเสีย พาองเชียงชุนหนึ่ง องบาบาหนึ่ง องเชียงสือหนึ่ งองหมันหนึ่ง หนีลงเรือแล่นมาทางท้อง ทะเลมาอยู่ณเมืองแซ่ง่อน และกองทัพอ้ายหยาก และทัพเมืองตังเกี๋ย ก็ตีเมืองเว้ได้ อ้ายหยากจับองหวางตน บุตรองดิกมูได้มิได้ตั้งให้ เป็นเจ้าเมืองเว้พาเอาตัวไปไว้เมืองกุยเยิน และองกวักเหลาแม่ทัพ เมืองตังเกี๋ย จังองทางได้ให้จำจองไว้ แล้วเก็บทรัพย์สิ่งสิน และคุมเอาตัวองทางเลิกทัพกลับไปเมืองตังเกี๋ย ฝ่ายว่าองหวางตนไปอยู่เมืองกุยเยิน คิดเกรงอ้ายหยากจะฆ่า เสีย จึงหนีลงเรือแล่นมาอยู่ณเมืองแซ่ง่อน และองเทิงกวางจึงคิดอ่าน กับญาติและขุนนางทั้งปวง จะยกองหวางตนขึ้นเป็นเจ้า จึงคิดจัดแจง กองทัพจะยกไปตีอ้ายหยากณเมืองกุยเยินยังมิทันได้ยกทัพไป ฝ่าย อ้ายหยากรู้ข่าว ก็ยกกองทัพรีบมาปล้นเมืองแซ่ง่อนแตก จับอง เทิงกวาง องหวางตนได้ให้ประหารชีวิตเสีย และองบาบา องหมัน หนีไปซุ่มซ่อนอยู่ในป่า อ้ายหยากให้พลทหารไปติดตามจับตัวได้ให้ ประหารชีวิตเสีย แต่องเชียงสือนั้นหนีได้ ไปตั้งซ่องสุมผู้คนอยู่ณ ป่าตำบลหนึ่ง และองเชียงชุนนั้น หนีมาอาศัยพระยาราชาเศรษฐีญวน ณเมืองพุทไธมาศ อ้ายหยากยกกองทัพมาตีเมืองพุทไธมาศ พระยา ราชาเศรษฐีญวน กับองเชียงชุนพาบุตรภรรยาสมัครพรรคพวกลงเรือ หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารณกรุงธนบุรี ทรงพระกรุณาให้รับไว้ แล้วพระราชทานบ้านเรือนให้อาศัยในพระนครฟากตะวันออก ฝ่ายองเชียงสือตั้งเกลี้ยกล่อมผู้คนได้เป็นอันมาก แล้วก็ยก เข้าตีอ้ายหยากคืนเอาเมืองแซ่ง่อนได้ อ้ายหยากถอยทัพไปตั้งซ่อง สุมรี้พลอยู่ณเมืองกุยเยิน แล้วเปลี่ยนชื่อชื่อองไก่เซิน อ้ายบาย น้องกลางเปลี่ยนชื่อชื่อององเวือง อ้ายดามน้องผู้น้อยเปลี่ยชื่อชื่อ องลองเยืองไปเป็นเจ้าเมืองเว้ ฝ่ายขุนนางทั้งปวงในเมืองแซ่ง่อน จึงยกองเชียงสือขึ้นเป็น เจ้าเมืองแซ่ง่อน ตั้งส้องสุมไพร่พลจะทำสงครามกับองไก่เซินสืบไป ฝายองเชียงชุนซึ่งเข้ามาอยู่ณกรุงธนบุรีนั้นมิได้มีจิตต์สวามิภักดิ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดชุบเลี้ยง คิดการจะหนีกลับคืนไปเมืองญวน ครั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ จึงให้จับตัวองเชียงชุน กับทั้งบุตรภรรยาสมัครพรรคพวก ประหารชีวิตเสียทั้งสิ้นด้วยกัน ในเดือนสิบสองนั้น เจ้าพระยาพิชัยราชาผู้เป็นเจ้าพระยาสวรรค โลกลงมารับราชการอยู่ณกรุงฯ แต่งผู้เฒ่าผู้แก่เข้าไปขอน้องสาวเจ้า จอมฉิมพระสนมเอก เป็นบุตรีเจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ในพระ ราชวังจะมาเลี้ยงเป็นภรรยา ครั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรง ทราบ ก็ทรงพิโรธดำรัสว่า มันทำบังอาจจะมาเป็นคู่เขยน้อยเขย ใหญ่กับกูผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงดำรัสให้เอาตัวเจ้าพระยาพิชัยราชา ไปประหารชีวิตเสีย ตัดศีรษะมาเสียบประจานไว้ที่ริมประตูข้างฉนวน ลงพระตำหนักแพ อย่าให้ใครเอาเยี่ยงอย่างกันสืบไปภายหน้า ครั้นถึงณวันจันทร์เดือนอ้ายขึ้นแปดค่ำ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธา เสด็จไปทรงเจริญพระกรรมฐานณพระอุโบสถวัด บางยี่เรือใต้ แล้วทรงพระราชอุทิศถวายเรือโขมดยาปิดทองทึบลำหนึ่ง หลังคาบัลลังก์ดาดสีสักหลาดเหลือง คนพายสิบคน พระราชทาน เงินตราคนละตำลึก และผ้าขาวให้ลวชเป็นปะขาวไว้สำหรับพระ อาราม แล้วทรงถวายหีบปิดทองคู่หนึ่ง สำหรับใส่พระไตรปิฎก และวิธีอุปเทศพระกรรมฐานแล้ว ทรงตั้งพระสัตยาธิษฐานว่า เดชะ ผลทานบูชานี้ ขอจงยังพระลักขณปีติทั้งห้า ให้บังเกิดแก่ข้าพเจ้า แล้วอย่าได้อันตรธานและพระธรรมซึ่งยังมิได้บังเกิดขึ้นนั้น ขอจง บังเกิดภิยโยภาวะยิ่งๆขึ้นไป อนึ่งขอจงเป็นปัจจัยแก่พระปรมาภิเษก สัมโพธิญาณในอนาคตกาลภายภาคหน้า แล้วให้เชิญหีบพระไตร ปิฎกลงตั้งในบัลลังก์เรือสีนั้น ให้เกณฑ์เรือข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหารพลเรือนและเรือราษฎร แห่เรือหีบพระไตรปิฎกขึ้นไป ตามแม่น้ำถึงบางยี่ขัน แล้วแห่กลับคืนเข้าไปณวัดบางยี่เรือ เชิญหีบ พระไตรปิฎกขึ้นประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถดังเก่า แล้วให้พระ ราชาคณะ และเสนาบดีกำกับกันเอาเงินตราสิบชั่ง ไปเที่ยวแจก คนโซทั่งทั้งในกรุงนอกกรุงธนบุรีทั้งสิ้น ครั้นถึงณวันจันทร์เดือนอ้ายขึ้นสิบห้าค่ำ ทรงพระกรุณาให้ เชิญพระโกศพระอัฐิ สมเด็จพระพันปีหลวงกรมพระเทพามาตย์ลง เรือบัลลังก์ มีเรือแห่เป็นขบวนไปแต่พระตำหนักแพแห่เข้าไปวัดบาง ยี่เรือใต้ แล้วเชิญพระโกศขึ้นสู่พระเมรุนิมนต์พระสงฆ์สัตตัปกรณ์ พันหนึ่ง ทรงถวายไทยทานเป็นอันมาก ครบสามวันแล้วเชิญพระโกศ ลงเรือแห่กลับเข้าพระราชวัง และสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรง สมาทานอุโบสถศีล แล้วทรงเจริญพระกรรมฐานภาวนา เสด็จประทับ แรมอยู่ณพระตำหนักวัดบางยี่เรือใต้ห้าเวร ให้เกณฑ์ข้าราชการปลูก กุฎีร้อยยี่สิบหลัง แล้วให้บุรณปฏิสังขรณ์พระพุทธปฏิมากร และ พระอุโบสถเจดีย์วิหารให้บริบูรณ์สิ้นทั้งพระอาราม อนึ่งที่คูรอบ พระอุโบสถนั้นให้ชำระแผ้วถางขุดให้กว้างออกไปกว่าเก่า ให้ปลูก บัวหลวงทั้งรอบ แล้วให้นิมนต์พระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระมาอยู่ณกุฎี ซึ่งปลูกถวาย แล้วเกณฑ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทให้ปฏิบัติทุกๆ พระองค์ แล้วเสด็จไปถวายพระราชโอวาทแก่พระสงฆ์โดยอธิบาย ซึ่งพระองค์ทรงบำเพ็ยได้ ให้ต้องด้วยวิธีพระสมถกรรมฐานภาวนา จะ ได้บอกกล่าวแก่กุลบุตรเจริญในปฏิบัติศาสนาสืบไป แล้วทรงฐาปนา พระอุโบสถ และการเปรียญเสนาสนกุฎีณวัดหงส์สำเร็จบริบูรณ์ ครั้นณวันศุกรเดือนสามแรมแปดค่ำ กลางคืนเพลาสองยาม เสือเข้ากินเขมรซึ่งเฝ้าสวนหลังวัดบางยี่เรือ จึงมีพระราชดำรัสให้ พระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ และเจ้าพระยาจกรี พระยายมราช กับข้าหลวงทั้งปวงออกไปล้อมจับเสือ ให้วางยาเบือเสือกินเมาลง นอนอยู่ จึงแต่งคนเข้าไปแทงเสือนั้นตาย ครั้นถึงณวันจันทร์เดือนสามแรมสิบเอ็ดค่ำ เพลาบ่ายสามโมง เศษ บังเกิดลมพายุใหญ่ฝนห่าใหญ่ตก ลูกเห็บตกลงเป็นอันมาก โรงปืนและฉนวนน้ำประจำท่าหักพังทำลายลง และเหย้าเรือนใน พระนคร หักทำลายประมาณร้อยหลัง ครั้นณศุกรเดือนสี่ขึ้นค่ำหนึ่ง ทรงพระกรุณาให้หล่อปืน พระพิรุณณสวนมังคุด ในเดือนนั้นกรมการเมืองนครราชสีมาบอกลง มาว่า พระยานางรองคบคิดกันกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมือง จัมปาศักดิ์ กระทำการกำเริบเป็นกบฏ จึงมีพระราชดำรัสให้ เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพ ยกกองทัพขึ้นไปณเมืองนครราชสีมา แล้ว ให้กองหน้ายกไปจับตัวพระยานางรองมาได้ พิจารณาได้ความเป็น สัตย์ว่าคิดการกบฏ จึงให้ประหารชีวิตเสีย แต่เจ้าโอ เจ้าอิน กับอุปฮาดนั้น ยังตั้งส้องสุมผู้คนอยู่ณเมืองจัมปาศักดิ์ ไพร่พลมี มากทั้งลาวทั้งข่าประมาณหมื่นเศษ จึงบอกข้อราชการลงมากราบทูล ครั้นได้ทรงทราบจึงดำรัสให้เจ้าพระยาสุรสีห์คุมทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งปวง ยกขึ้นไปบรรจบกองทัพเจ้าพระยาจักรีแม่ทัพใหญ่ณเมืองนคร ราชสีมา เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ก็ยกกองทัพออกไปตีเมือง จัมปาศักดิ์ เมืองโขง เมืองอัตปือได้ทั้งสามเมือง จับตัวเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดได้ ให้ประหารชีวิตเสีย แล้วตั้งเกลี้ยกล่อมได้เขมรป่าดง เมืองตะลุง เมืองสุรินทร์ เมืองสังขุ เมืองขุขันธ์มาเข้าสวามิภักดิ์ทั้ง สี่เมือง ไพร่พลมากประมาณสามหมื่น จึงบอกข้อราชการลงมา กราบทูล สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระโสมนัส ดำรัสให้มีตรา หากองทัพกลับยังกรุงธนบุรี เจ้าพระยาทั้งสองก็เลิกกองทัพกลับ มาถึงพระนคร ในเดือนหกปีระกานพศกศักราช ๑๑๓๙ ปี จึงทรงพระกรุณา โปรดปูนบำเหน็จเจ้าพระยาจักรี ตั้งให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหา กษัตริย์ศึก พิลึกมหิมา ทุกนคราอาเดช นเรศวรราชสุริยวงศ์องอัคร บาทมุสิกากรบวรรัตนปรินายก ณกรุงเทพมหานครบวรทวาราวดี ศรีอยุธยา แล้วพระราชทานพานทองเครื่องยศเหมือนอย่างเจ้า ต่างกรม ใหญ่ยิ่งกว่าท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง ครั้นถึงณวันพฤหัสบดีเดือนเจ็ดแรมแปดค่ำ ปีระกานพศก สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเข้าทรงนั่งสมาธิ ให้โต๊ะแขกดูประมาณ ห้าบาท ออกจากที่ทรงนั่งแล้วตรัสถามโต๊ะแขกว่าเห็นเป็นประการใด โต๊ะแขกกราบทูลว่า ซึ่งทรงนั่งสมาธิอย่างนี้ อาจารย์ซึ่งได้เล่า เรียนมาแต่ก่อน จะได้พบเห็นเสมอพระองค์ดังนี้หามิได้ ถึงณวันพุธเดือนเจ็ดแรมสิบสี่ค่ำเพลาเช้า จึงสมเด็จพระ สังฆราชพระราชาคณะทั้งปวง เข้ามาถวายพระบาลีวิธีซึ่งเข้านั่ง ภาวนาสมาธิกรรมฐาน และโต๊ะริดโต๊ะทองโต๊ะนกแขกสามคน ก็เอาหนังสือแขกซึ่งนั่งรักษาสมาธิจิตต์เข้ามาอ่านถวาย ในวันนั้นมีหนังสือบอกเมืองนครศรีธรรมราช ส่งเข้ามากราบ ทูลว่า เมืองปัตตานีแข็งเมืองอยู่มิได้อ่อนน้อม ถึงปีหน้าเจ้านคร จะขอยกกองทัพออกไปตี จงมีพระราชดำริว่า มีราชการศึกพะม่า ขอกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ พระยาเชียงใหม่เลิกครัวอพยพลงมา ตั้งอยู่ณเมืองสวรรคโลก ยังมิได้ทันจัดกองทัพขึ้นไปตีทัพพะม่า ณเมืองเชียงใหม่ พะม่าเลิกทัพกลับไปเองโดยเร็ว ด้วยลือข่าวมาว่า มีศึกกระแชยกมาตีเมืองอังวะ ทั้งทัพฮ่อก็ยกมาด้วย จะตีเป็นศึกขนาบ เราคิดจะให้ราชทูตออกไปแจ้งราชกิจแก่พระเจ้ากรุงปักกิ่งว่า จะยก กองทัพขึ้นไปช่วยตีเมืองอังวะ ด้วยราชการสงครามยังติดพันกันมาก อยู่ โต้เจ้านครรอทัพไว้อ่าเพ่ออยกไปตีเมืองแขกก่อนเลย ต่อเมื่อ ใดราชการเข้ากรุงเทพมหานครสงบแล้ว จึงจะให้มีตรากำหนดการ ออกไป ให้กองทัพเมืองนครศรีธรรมราชยกออกไปตีเมือง ปัตตานีเมื่อนั้น แล้วตรัสประภาษถึงเรื่องพระกรรมฐานกับพระราชาคณะว่าพระ นาภีของพระองค์นั้นแข็งไปกระแหมบมิเข้า ผิดสามัญสัตวโลกทั้ง ปวงเป็นอัศจรรย์ แล้วดำรัสถามพระราชาคณะด้วยพระรูปและพระ ลักษณะว่า ทรงส่องพระฉายดูเห็นพระกายเป็นปริมณฑลฉะนี้ จะต้องด้วยพระบาลีประการใดบ้าง พระราชาคณะถวายพระพรว่า พระบาลีพระพุทธลักษณะนั้นว่า สมเด็จพระสัพพัญูมีพระกายเป็น ปรมณฑล ดุจปริมณฑลแห่งต้นไทรมิได้สูงต่ำยาวสั้น และพระกายซึ่ง สูงนั้นวัดเท่ากับวาของพระองค์ อนึ่งมีมังสะที่หนาแน่นนั้นเจ็ดแห่ง คือ หลังพระหัตถ์ซ้ายขวา หลังพระบาทซ้ายขวา พระอังสาทั้งสอง ซ้ายขวา กับลำพระสอเป็นเจ็ดแห่งด้วยกัน จึงทรงพระกรุณาสั่งให้ช่าง หล่อ หล่อพระพุทธรูปให้ต้องด้วยพระพุทธลักษณะจงพร้อมบริบูรณ์ทุก ประการ ให้สมเด็จพระสังฆราชเอาพระบาลีพระพุทธลักษณะออก บรรยายให้ช่างทำ สมเด็จพระสังฆราชจึงแปลพระบาลีพระพุทธลักษณะ ถวายว่า พระทวดึงสมาบุรุษลักษณะใหญ่นั้นสามสิบสองประการ คือ พระลักษณะอย่างนั้นๆ และพระอสีตยานุ พยัญชนะพระลักษณะน้อย นั้นแปดสิบประการคืออย่างนั้นๆ จึงส่องพระฉายทอดพระเนตรดู พระลักษณะในพระองค์สอบกับพระบาลีเห็นต้องด้วยพระพุทธลักษณะ คือพระกายสูงเท่ากับว่าของพระองค์ประการหนึ่ง มีเส้นพระอุณาโลม อยู่ที่ห่างพระขนงประการหนึ่ง มีพระอุทรเวียนเป็นทักษิณาวัฏประการ หนึ่ง มีพื้นพระปฤษฎางค์ เสมอประการหนึ่ง มีพระมังสะที่หนาพร้อม ทั้งเจ็ดแห่งประการหนึ่ง มีพระปรางอิ่มมิได้บกพร่องประการหนึ่ง แล้ว ให้ สมเด็จพระสังฆราช อ่านพระบาลีสอบกับพระลักษณะในพระองค์ไป ทุกๆลักษณะ ต้องพระพุทธลักษณะสิบสองประการ สิ่งที่ไม่ ต้องนั้นก็ตรัสบอกว่าไม่ต้อง ในเพลานั้นพระมหาอำมาตย์ ทูลเบิกพระยาวิเชียรปราการ เจ้าเมืองเชียงใหม่ลงมาเฝ้า จึงดำรัสว่าพะม่ามันเลิกทัพกลับไปเมือง เมืองมันมีศึกอยู่แล้ว พระยาวิเชียรปราการจะพาครอบครัวกลับไป เมืองเชียงใหม่ก็ไปเถิด แล้วทรงพระกรุณาให้หลวงวิจิตรนฤมล ปั้นประพุทธรูปให้ล ต้องด้วยพุทธลักษณะ พระสมาธิองค์หนึ่ง ยืนองค์หนึ่ง เป็น สองพระองค์ จะให้ช่างหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ แล้วดำรัสนิมนต์ พระเทพกระวีให้ออกไปกรุงกัมพูชาธิบดี ให้พระพรหมมุนีออกไป เมืองนครศรีธรรมราช ค้นพระคัมภีร์พระวิสุทธิมัคค์นำเข้ามาเป็น ฉะบับสร้างไว้ในกรุงธนบุรี อนึ่งพระอาลักษณ์นั้นกราบทูลถวายบังคมลาออกบวช ครั้น บวชแล้วทรงตั้งให้เป็นพระรัตนมุนีที่วิเศษ ตามนามเดิมชื่อแก้ว อนึ่งดำรัสสั่งปลัดวังให้หาชาวตลาดเรือตลาดบกเข้ามา ทรงพระ กรุณาตรัสทำนายว่า หญิงคนนั้นกับสามีคนนั้นจะอยู่ด้วยกันยือ ผัวเมียคู่นั้นจะอยู่ด้วยกันไม่ยืด หญิงคนนั้นราคะกล้า ยินดี ในกามคุณมาก หญิงคนนั้นราคะเบาบาง รักแต่ทรัพย์สิน หญิงคนนั้นใจบาป หญิงคนนั้นใจบุญพอใจทำการกุศล ทรง ทายชาวตลาดทุกๆคน ลุศักราช ๑๑๔๐ ปีจอสัมฤทธิศก จึงพระเจ้าหลานเธอกรม ขุนอนุรักษ์สงคราม ซึ่งออกไปรักษาเมืองเพ็ชรบุรี กับพระยา ทุกขราษฎร์กรมการ และพระกุยพระปราณบอกส่งคน บ่าวข้า ราชการซึ่งลามูลนายไปหากิน และหนีออกไปทั้งครอบครัวก็มี เป็นอันมาก ส่งเข้ามายังกรุงธนบุรี ทรงพระกรุณาให้ส่งให้แก่ เจ้าหมู่มูลนายทั้งปงตามหมู่ตามกรรม ในปีจอนั้นฝ่ายข้างกรุงศรีสัตนาคนหุต พระวอผู้หนึ่งเป็น อุปฮาด มีความพิโรธขัดเคืองมาตั้งอยู่ณหนองบัวลำพู ส้องสุมผู้คน ได้มากจึงสร้างขึ้นเป็นเมืองตั้งค่ายเสาไม้แก่น ให้ชื่อเมืองจัมปา นครแขวางกาบแก้วบัวบาน แล้วแข็งเมืองต่อพระเจ้ากรุงศรี สัตนาคนหุต พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต แต่งกองทัพให้ยกมาตี พระวอก็ต่อรบตีทัพล้านช้งแตกกลับไป แล้วพระวอแต่งให้ขุนนาง นำเครื่องราชบรรณาการขึ้นไปตีเมืองอังวะ ขอกองทัพพะม่าลงมา ตีกรุงศรีสัตนาคนหุต พระเจ้าอังวะให้แมงละแงเป็นแม่ทัพถือพล สี่พันยกลงมาจะตีกรุงศรีสัตนาคนหุต ทัพพะม่ามาถึงกลางทาง พระเจ้าล้านช้างได้ทราบข่าวศึก จึงแต่งท้าวเพี้ยให้นำเครื่อง บรรณาการไปให้แก่แม่ทัพพะม่า ขอขึ้นแก่กรุงอังวะ ให้กอง ทัพยกไปตีพระวอณเมืองหนองบัวลำพู ซึ่งเป็นกบฎแก่กรุงศรีสัตนา คนหุต แล้วนำทัพพะม่ามาพักพลณเมืองล้านช้าง พระเจ้าล้านช้าง แต่งต้อนรับแม่ทัพพะม่า แล้วจัดแจงกองทัพเข้าบรรจบทัพพะม่า แมงละแงแม่ทัพก็ยกทัพพะม่าทัพลาวไปตีเมืองหนองบัวลำพู พระวอ ต่อสู้เหลือกำลังก็ทิ้งเมืองเสีย พาครอบครัวอพยพแตกหนีไปตั้ง อยู่ตำบลดอนมดแดงเหนือเมืองจัมปาศักดิ์ แล้วแต่งท้าวเพี้ยถือศุภ อักษร และเครื่องบรรณาการมาถึงพระยานครราชสีมา ขอเป็น เมืองขึ้นข้าขอบขัณฑสีมากรุงเทพมหานครศรีอยุธยา เอาพระเดชา นุภาพสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเป็นที่พึ่งพำนักสืบไป พระยานครราช สีมาก็บอกส่งทูตและศุภอักษร เครื่องบรรณาการลงมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานสิ่งของตอบแทนไปแก่พระวอ แล้วโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ณดอนมดแดงนั้น ฝ่ายกองทัพพะม่าตีได้เมืองหนองบัวลำพูแล้ว ก็เลิกทัพกลับ ไปเมืองล้านช้าง พระเจ้าล้านช้างก็ให้ปูนบำเหน็จรางวัลแก่แมงละแง แม่ทัพ กับทั้งเครื่องราชบรรณาการส่งขึ้นไปถวายพระเจ้าอังวะ แล้วทูลถวายเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งพระเจ้าล้านช้างส่งมาถวาย และขอเป็นเมืองขึ้นเขตต์ขัณฑสีมากรุงรัตนบุระอังวะนั้น ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ทราบข่าว พระวอยกลงไป ตั้งเมืองอยู่ณดอนมดแดง จึงแต่งให้พระยาสุโภเป็นนายทัพยก พลทหารลงมาตีเมืองดอนมดแดง จับตัวพระวอได้ให้ประหารชีวิต เสีย แล้วก็เลิกกองทัพกลับไปเมืองล้านช้าง ฝ่ายท้าวก่ำบุตรพระวอแล้วท้าวเพี้ยทั้งปวง จึงบอกหนังสือ มาถึงพระยานครราชสีมาว่า กองทัพเมืองล้านช้างยกมาตีเมืองดอน มดแดงแตกฆ่าพระวอเสีย ข้าพเจ้าทั้งปวงมีกำลังน้อยสู้รบตอบแทน มิได้ จะขอทัพกรุงเทพมหานครยกไปตีเมืองล้านช้างแก้แค้น พระยา นครราชสีมา ก็บอกลงมายังกรุงธนบุรีกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระพิโรธดำรัสว่า พระวอเป็นข้า ขอบขัณฑสีมาเมืองเรา และพระยาล้านช้างมิได้ยำเกรงทำอำนาจมา ตีบ้านเมืองและฆ่าพระวอเสียฉะนี้ ควรเราจะยกกองทัพไปตีเมือง ล้านช้างให้ยับเยินตอบแทนแก้แค้นให้จงได้ ครั้นณเดือนอ้ายปีจอสัมฤทธิศก จงมีพระราชดำรัสให้สมเด็จ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพ กับเจ้าพระยาสุรสีห์ และท้าว พระยามุขมนตรีผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งในกรุง และหัวเมืองเป็นอันมาก พลทหารสองหมื่นสรรพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธพร้อมเสร็จ ให้ยก กองทัพไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต คือเมืองล้านช้าง ครั้นณ...วันได้มหามหุรติพิชัยฤกษ์ จึงสมเด็จเจ้าพระยามหา กษัตริย์ศึก และท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวง ก็กราบถวาย บังคมลายกกองทัพขึ้นไปชุมพลอยู่ณเมืองนครราชสีมา สมเด็จเจ้า พระยามหากษัตริย์ศึก จึงให้เจ้าพระยาสุรสีห์ผู้น้องแยกทัพลงไป ณเมืองกัมพูชาธิบดี ให้เกณฑ์พลเมืองเขมรหมื่นหนึ่งต่อเรือรบเรือไล่ ให้จงมากแล้วให้ขุดคลองอ้อมเขาลีผี ยกทัพเรือขึ้นไปตามลำแม่น้ำ ของ ไปบรรจบทัพบกพร้อมกันณเมืองล้านช้าง เจ้าพระยาสุรสีห์ก็ ยกกองทัพแยกลงไปณเมืองกัมพูชาเกณฑ์พลเขมรต่อเรือรบ ตาม บัญชาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกบังคับนั้น ส่วนสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกแม่ทัพใหญ่ ก็ยกกอง ทัพจากเมืองนครราชสีมา เดิรทัพไปถึงแดนเมืองล้านช้าง ให้กอง หน้ายกล่วงไปก่อน ตีหัวเมืองรายทางได้เป็นหลายตำบล ทัพใหญ่ ก็ยกติดตามไปภายหลัง ฝ่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ ครั้นต่อเรือรบเสร็จแล้ว ก็เกณฑ์พล เขมรและลาวทั้งปวงขุดคลองอ้อมเขาลีผี ซึ่งตั้งขวางแม่น้ำอยู่ใต้ เมืองโขงนั้น แล้วยกทัพเรือขึ้นมาทางคลองขุด มาณเมืองจัมปาศักดิ์ แล้วยกขึ้นมาตีเมืองนครพะนม และเมืองหนองคาย ซึ่งขึ้นแก่ เมืองล้านช้างได้ทั้งสองตำบล ฝ่ายเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ทราบว่า กองทัพไทยมาตีเมือง จึงแต่งแสนท้าวพระยาลาวทั้งปวง ให้ยกกองทัพมาต่อรบต้านทานเป็น หลายทัพหลายตำบล ได้รบกันเป็นสามารถ พลทหารลาวสู้รบ ต้านทานมิได้ ก็แตกฉานพ่ายหนีไปเป็นหลายครั้งหลายแห่ง ขณะนั้นพระเจ้าร่มขาวเจ้าเมอืงหลวงพระบาง เป็นอริอยู่กับ เจ้าเมืองล้านช้าง ด้วยเมืองล้านช้างไปเอากองทัพพะม่ามาตีเมือง หลวงพระบางแต่ก่อนนั้น ครั้นได้ทราบว่ากองทัพไทยมาตีเมือง ล้านช้าง ก็มีความยินดีนัก จึงแต่งขุนนางให้ยกกองทัพลงมาช่วย ตีเมืองล้านช้าง แล้วขอเป็นเมืองขึ้นพระมหานครศรีอยุธยา สมเด็จ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงให้กองพระยาเพ็ชรบูรณ์กำกับทัพเมือง หลวงพระบาง เข้าตีเมืองด้านข้างเหนือเมือง แล้วยกทัพใหญ่ไปตี เมืองพะโคและเวียงคุก ตั้งค่ายล้อมไว้ทั้งสองเมือง เจ้าเมืองขับ พลทหารต่อรบเป็นสามารถ จะเข้าหักเอาเมืองยังมิได้ ฝ่ายเจ้าพระยาสุรสีห์เข้าตั้งอยู่ณเมืองหนองคาย ให้ตัดศีรษะ ลาวชาวเมืองเป็นอันมาก เอาศีรษะลงใส่ในเรือ แล้วให้หญิงลาวคอน เรือขึ้นไป ให้ร้องขายศีรษะลาวที่หน้าเมืองพะโค ชาวเมืองเห็นก็มีใจ ทดท้อย่อหย่อนลง ทัพใหญ่ก็เข้าหักเอาเมืองพะโคและเวียงคุกได้ทั้ง สองเมือง สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงให้ยกทัพใหญ่มาตีเมือง พานพร้าว ซึ่งตั้งอยู่ฟากฝั่งตะวันตกตรงหน้าเมืองล้านช้างข้าม ชาว เมืองต่อรบเป็นสามารถ พลทหารไทยเข้าปีนปล้นเอาเมืองได้ ฆ่า ลาวล้มตายเป็นอันมาก แล้วให้ทัพเรือรับกองทัพทั้งปวง ข้ามไปฟาก ตะวันออกพร้อมกันเข้าตั้งค่ายล้อมเมืองล้านช้าง พระเจ้ากรุงศรี สัตนาคนหุตก็เกณฑ์พลทหารขึ้นประจำรักษาหน้าที่เชิงเทินรอบเมือง ป้องกันเมืองเป็นสามารถ แล้วให้เจ้านันทเสนราชบุตร ขี่ช้างพลาย คำเพียงอก สูงหกศอกสามนิ้ว คุมพลทหารยกออกจากเมืองมาตี ทัพไทยซึ่งตั้งค่ายล้อมอยู่ด้านข้างท้ายเมืองนั้น พลทหารไทยยกออก ตีทัพเจ้านันทเสนแตกพ่ายกลับเข้าเมือง พลลาวล้มตายเป็นอันมาก แต่รบกันอยู่ถึงสี่เดือน พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเห็นเหลือ กำลังจะต่อรบต้านทานทัพไทยมิได้ก็ทิ้งเมืองเสีย พาเจ้าอินทร์ เจ้า พรหมราชบุตร และข้าหลวงคนสนิทลอบลงเรือหนีไปณเมืองคำเกิด อันเป็นเมืองขึ้นแก่เมืองล้านช้าง กองทัพไทยก็เข้าเมืองได้ จับได้ตัว เจ้าอุปฮาดเจ้านันทเสนและราชบุตรีวงศานุวงศ์ชะแม่สนมกำนัล และ ขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง กับทั้งทรัพย์สิ่งสินและเครื่องสรรพ ศาสตราวุธปืนใหญ่น้อยเป็นอันมาก สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ให้กวาดขนข้ามมาไว้ณเมืองพานพร้าวฟากตะวันตก กับทั้งครอบครัว ลาวชาวเมืองทั้งปวง แล้วให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต และพระบางซึ่งสถิตอยู่ณพระวิหารในวังพระเจ้าล้านช้างนั้น อาราธนา ลงเรือข้ามฟากมาประดิษฐานไว้ณเมืองพานพร้าวด้วย แล้วให้สร้าง พระอารามขึ้นใหม่ณเมืองพานพร้าวอารามหนึ่ง และแต่งให้ขุนนาง ไทยลาว ไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองลาวทั้งปวงฝ่ายตะวันออกได้สิ้น แล้วแต่งหนังสือบอกให้ขุนหมื่นมีชื่อถือลงมายังกรุงธนบุรี กราบทูล ข้อราชการซึ่งตีกรุงศรีสัตนาคนหุตได้สำเร็จแล้ว ได้ทั้งพระพุทธ ปฏิมากรแก้วมรกต แต่พระเจ้าล้านช้างนั้นหนีไปไม่ได้ตัว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบในหนังสือบอกก็ทรงพระ โสมนัส ดำรัสให้มีตราหากองทัพกลับยังพระมหานคร สมเด็จเจ้า พระยามหากษัตริย์ศึกได้ทราบในท้องตราแล้ว จึงจัดแจงบ้านเมือง ตั้งให้พระยาสุโภ ขุนนางเมืองล้านช้างให้อยู่รั้งเมืองแล้วก็กวาด ครอบครัวลาวชาวเมือง กับทั้งราชบุตรธิดาวงศานุวงศ์ และขุนนาง ท้าวเพี้ยทั้งปวง กับทรัพย์สิ่งของเครื่องศาสตราวุธ แล้วช้างม้าเป็น อันมาก และเชิญพระพุทธปฏิมากรพระแก้ว พระบางขึ้นรถเลิกทัพ กลับยังกรุงธนบุรีโดยพระราชกำหนด และกองทัพมาถึงเมืองสระบุรี ในเดือนยี่ปีกุนเอกศกลุศักราช ๑๑๔๑ ปี จงบอกลงมากราบทูลพระ กรุณาให้ทราบ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำรัสให้ นิมนต์สมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะทั้งปวงให้ขึ้นไปรับพระพุทธ ปฏิมากรแก้วมรกตถึงเมืองสระบุรี แล้วให้แต่งเรือกิ่งเรือชัยขึ้นไปรับ พระพุทธรูปด้วย ครั้นพระมาถึงตำบลบางธรณี จึงเสด็จพระราชดำเนิร ขึ้นไปโดยทางชลมารค พร้อมด้วยขบวนนาวาพยุหะแห่ลงมาตราบ เท่าถึงพระนคร แล้วให้ปลูกโรงรับเสด็จพระพุทธปฏิมากรแก้ว พระบาง อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานไว้ณโรงพิมพระอุโบสถวัดแจ้งภายใน พระราชวังตั้งเครื่องสักการบูชาอันมโหฬาราธิการ แล้วมีงาน มหรสพถวายพระพุทธสมโภชครบสามวัน แล้วพระราชทานบำเหน็จ รางวัลแก่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก แล้วท้าวพระยานายทัพ นายกองทั้งปวง โดยสมควรแก่ความชอบในราชการสงครามนั้น ในปีกุเอกศกนั้น มหาดาบวชอยู่ณวัดพระรามกรุงเก่าประพฤติ การทุจจริตมิได้ตั้งอยู่ในศีลสังวรวินัย ประกอบการโกหกแจกน้ำมนต์ รดประชาชนทั้งปวง ล่อลวงให้เชื่อถือว่าเป็นผู้มีบุญ ผู้คนเข้าด้วย เป็นอันมาก แล้วคิดกำเริบเป็นกบฏต่อแผ่นดิน ตั้งแต่งชาวชนบท เป็นขุนนางทุกตำแหน่ง ยังขาดอยู่แต่ที่พระยายมราช จึงผู้รักษา กรุง กรมการบอกลงมากราบทูลพระกรุณา ครั้นได้ทรงทราบจึงโปรดให้ข้าหลวงขึ้นไปจับตัวมหาดากับทั้ง สมัครพรรคพวกทั้งสิ้นเอาลงมายังกรุงธนบุรีให้มหาดาผลัดผ้าขาวสึก แล้วลงพระราชอาชญาสิ้นทั้งพวกแล้วจำครบไว้ ครั้นได้ ทรงทราบว่าอ้ายดาผู้คดิมิชอบตั้งแต่งพรรคพวกเป็นขุนนางครบตาม ตำแหน่ง ยังขาดอยู่แต่ที่พระยายมราช ขณะนั้นพระยายมราชแขก เป็นโทษต้องรับพระราชอาชญาจำอยู่ในเรือนจำ จึงดำรัสว่าที่พระยา ยมราชของมันยังมิได้ตั้งขาดอยู่ให้เอาพระยายมราชของเราไปใส่ ให้มัน จงครบตำแหน่งขุนนาง แล้วให้เอาพระยายมราชและอ้ายดา กบฏ กับทั้งสมัครพรรคพวกทั้งปวง ซึ่งตั้งแต่งเป็นขุนนางนั้นไป ประหารชีวิตเสียที่หน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ ตัดศีรษะเสียบไว้ทั้งสิ้น ลุศักราช ๑๑๔๒ ปีขาลโทศก ทรงพระกรุณาให้พระยาคำแหง สงครามเจ้าเมืองนครราชสีมา ลงมารับราชการอยู่ณกรุงธนบุรี จึง โปรดให้หลวงนายฤทธิ์ผู้หลานสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็น พระยาสุริยภัยขึ้นไปครองเมืองนครราชสีมาแทน ให้นายต่าเรศผู้น้อง เป็นพระอภัยสุริยาปลัดเมือง แล้วให้นายพลพันน้องผู้น้อย เป็น หลวงนายฤทธิ์รับราชการสืบไป ครั้นณวันอังคารเดือนห้าขึ้นสิบสี่ค่ำ มีผู้เป็นโจทก์มาฟ้อง หลายคน ยกข้ออธิกรณ์พระพิมลธรรมวัดโพธาราม ด้วยข้ออทินนา ทานปาราชิก ยกอธิกรณ์พระธรรมโคดม พระอภัยสารทะวัดหงส์ และพระพรหมมุนีวัดบางยี่เรือ ด้วยข้อเมถุนปาราชิกกับศิษย์โดยทาง เว็จจมรรค พระยาพระเสด็จกราบทูลพระกรุณา ดำรัสสั่งให้ชำระคดี พระราชาคณะทั้งสี่องค์ได้ความเป็นสัตย์จึงให้สึกเสีย แต่พระธรรม โคดม และพระอภัยสารทะนั้น กลับบวชเข้าเป็นเถร และนายอิน พิมลธรรมโปรดตั้งให้เป็นหลวงธรรมรักษาเจ้ากรมสังฆการีขวา นาย อินพรหมมุนี โปรดตั้งให้เป็นหลวงธรรมาธิบดี เจ้ากรงสังฆการีซ้าย พระราชทานภรรยาหลวงราชมนตรีผู้ถึงแก่กรรม ให้เป็นภรรยาทั้ง สองคน แล้วโปรดให้พระธรรมเจดีย์วัดนาค เลื่อนเป็นพระพิมล ธรรมาอยู่ครองวัดโพธารามสืบไป แล้วโปรดให้พระญาณสมโพธิ วัดสลักเลื่อนเป็นพระธรรมเจดีย์ ครั้นถึงณวันพฤหัสบดีเดือนห้าแรมแปดค่ำเพลาบาย บังเกิด ธุมชาลในอากาศ และมหาวาตพายุใหญ่พัดมาแต่บุรพทิศ ครั้นณวันเสาร์เดือนเจ็ดขึ้นสิบห้าค่ำ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องใหญ่ ครั้นเสด็จแล้วทรงส่องพระฉายทอดพระเนตรเห็นพระ เกศาเหนือพระกรรฒเบื้องซ้ายยังเหลืออยู่เส้นหนึ่ง ก็ทรงพระพิโรธ เจ้าพนักงานชาวพระมาลาภูษาซึ่งทรงเครื่องนั้นว่า แกล้งทำประจาน พระองค์เล่น จึงดำรัสถามพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ว่าโทษ คนเหล่านี้จะเป็นประการใด กรมขุนอินทรพิทักษ์กราบทูลว่าเห็นจะไม่ ทันพิจารณา พระเกศาจึงหลงเหลืออยู่เส้นหนึ่ง ซึ่งจะแกล้งทำ ประจานพระองค์เล่นนั้นเห็ฯจะไม่เป็นเป็นแท้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระพิโรธพระเจ้าลูกเธอเป็นกำลัง ดำรัสว่าเข้ากันกับผู้ผิดกล่าว แก้กั้น แกล้งให้เขาทำประจานพ่อดูเล่นได้ไม่เจ็บแค้นด้วย จึงให้ ลงพระราชอาญาเฆี่ยนพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ร้อยที แล้วจำไว้ ให้เอาตัวชาวพระมาลาภูษาซึ่งทรงเครื่องทั้งสองคน กับทั้งพระยาอุทัยธรรมจางวางว่าไม่ดูแลตรวจตรากำกับ เอาไป ประหารชีวิตเสียทั้งสามคน ถึงณวันศุกร์เดือนเจ็ดแรมหกค่ำ ดำรัสสั่งให้รื้อตำหนักพระ เจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ แล้วริบเครื่องยศให้ถอดเสียจากยศ ครั้นนานมาหายพระพิโรธแล้ว จึงโปรดให้พ้นโทษ พระราชทาน เครื่องยศ แล้วให้คงยศดังเก่า พอพระชันษาครบอุปสมบท จึงโปรด ให้ออกมาทรงผนวชอยู่ณวัดหงงส์ ในปีชวดโทศกนั้น ฝ่ายข้างกัมพุชประเทศเกิดจราจล เป็นเหตุ ด้วยเจ้าฟ้าทลหะหมู กับพระยากระลาโหมชู พระยาเดโชแทน พระยา แสนท้องฟ้าพาง สี่คนคบคิดกันเป็นกบฏคุมสมัครพรรคพวกเข้าจับนัก พระองค์รามาธิบดีเจ้ากัมพูชาซึ่งตั้งอยู่ณเมืองพุทไธเพ็ชรนั้นฆ่าเสีย แล้วไปรับเอาราชบุตรธิดานักพระองค์ตน ผู้เป็นพระอุทัยราชา ซึ่งถึง พิราลัยนั้นมาเมืองบาพนม คือพระองค์เอง พระองค์มินชายสอง พระองค์อี พระองค์เภาหญิงสอง เชิญมาไว้ณเมืองพุทไธเพ็ชรแล้ว เจ้าฟ้าทลหะหมูตั้งตัวเป็นเจ้ามหาอุปราช พระยากระลาโหมเป็นสมเด็จ เจ้าพระยา พระยาเดโชเป็นพระองค์พระยา พระยาแสนท้องฟ้าเป็น พระยาจักรี นั่งเมืองรักษาเจ้าทั้งสี่องค์ว่าราชการแผ่นดิน ฝ่ายพระยายมราช และพระยาเขมรทั้งปวง ซึ่งเป็นข้านักพระ องค์พระรามาธิบดีนั้น จึงพากันหนีเข้ามาณเมืองปัตบอง แล้วบอกข้อ ราชการซึ่งบ้านเมืองเกิดจราจลนั้น เข้ามายังกรุงธนบุรีในเดือนยี่ ปีชวงโทศกกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำรัสให้ สมเด็๗เจ้า พระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพถืออาชญาสิทธิ์ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นทัพหน้า แล้วให้พระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ลาผนวช โปรดยกกองทัพกับพระยากำแหงสงครามเจ้าเมืองนครราชสีมาเก่า เป็น เกียกกายกองหนุน พระยานครสวรรค์ เป็นยกกระบัตรทัพ พระเจ้า หลานเธอกรมขุนรามภูเบศร์ เป็นกองหลัง พระยาธรรมา เป็นกอง ลำเลียงทั้งหกทัพเป็นคนหมื่นหนึ่งยกไปตีเมืองพุทไธเพ็ชร จับเจ้าฟ้า ทลหะและขุนนางพรรคพวกซึ่งเป็นกบฏนั้นฆ่าเสียให้สิ้น ปราบปราม แผ่นดินให้ราบคาบแล้ว ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกตั้งพระ เจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ อยู่ครองเมืองกัมพูชาธิบดีสืบไป ครั้นถึงณวันได้มหาพิชัยนักษัตรฤกษ์ จึงพระเจ้าลูกเธอพระ เจ้าหลานเธอทั้งสองพระองค์ และสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับ ท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวง ก็กราบถวายบังคมลายกขึ้นไปยัง เมืองนครราชสีมา แล้วเดิรทัพไปณกัมพุชประเทศ สมเด็จเจ้า พระยามหากษัตริย์ศึกไปตั้งทัพใหญ่อยู่ณเมืองนครเสียมราช ได้กอง ทัพเจ้าพระยาสุรสีห์ยกไปทางเมืองปัตบอง ฟากทะเลสาบข้างตะวัน ตก เอากองทัพเขมร พระยายมราช และพระยาเขมรทั้งปวงยกออก ไปตีเมืองพุทไธเพ็ชร ทัพพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ และ พระยากำแหงสงครามก็ยกหนุนออกไป และให้ทัพพระเจ้หลานเธอ กรมขุนรามภูเบศร์ และทัพพระยาธรรมนยกไปทางฟากทะเลสาปฝ่าย ตะวันออก ไปตั้งทัพอยู่ณเมืองกำพงสวาย ฝ่ายเจ้าฟ้าทลหะซึ่งตั้งตัวเป็นเจ้าฟ้ามหาอุปราช และสมเด็จเจ้า พระยารู้ว่ากองทัพไทยยกออกมามากก็ตกใจกลัว มิได้ตั้งอยู่สู้รบพา ครอบครัวหนีลงไปอยู่ณเมืองพนมเพ็ญ แล้วบอกลงไปขอกองทัพ ญวนเมืองแซ่ง่อนมาช่วย ทัพญวนก็ยกทัพเรือมาณเมืองพนมเพ็ญ กองทัพเจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกตามลงไปณเมืองพนมเพ็ญ ตั้งค่ายรอ กันอยู่ยังมิได้รบกัน กองทัพพระเจ้าลูกเธอก็ยกหนุนลงไปตั้งอยู่ ณเมืองพุทไธเพ็ชร ฝ่ายราชการกรุงธนบุรีนั้นผันแปรต่งๆ เหตุพระเจ้าแผ่นดินทรงนั่ง กรรมฐานเสียพระสติ พระจริตนั้นก็ฟั่นเฟือนไป ฝ่ายพระพุทธจักร และ อาณาจักรทั้งปวงเล่า ก็แปรปรวนวิปริตมิได้ปกติเหมือนแต่ก่อน ครั้นลุศักราช ๑๑๔๓ ปีฉลูตรีศก ทรงพระกรุณาให้แต่งทูตา นุทูตจำทูลพระราชศาสน์ คุมเครื่องราชบรรณาการลงสำเภาออกไป ณเมืองจีน เหมือนตามเคยมาแต่ก่อน และปีนั้นโปรดให้ หลวงนายฤทธิ์เป็นอุปทูตออกไปด้วย ครั้นถึงณวันอาทิตย์เดือนเก้าแรมหกค่ำ สมเด็จพระพุทธเจ้า อยู่หัวเสด็จออกณโรงพระแก้ว ให้ประชุมพระราชาคณะพร้อมกัน และพระองค์มีพระสติฟั่นเฟือนถึงสัญญาวิปลาน สำคัญพระองค์ว่าได้ โสดาปัตติผล จึงดำรัสถามพระราชาคณะว่า ประสงฆ์บุถุชน จะ ไหว้บพเคารพคฤหัสถ์ ซึ่งเป็นพระโสดาบันบุคคนั้น จะได้หรือมิได้ ประการใด และพระราชาคณะที่มีสันดานโลเล มิได้ถือมั่นในพระ บาลีบรมพุทโะวาท เกรงพระราชอาชญา เป็นคนประสมประสาน จะ เจรจาให้ชอบพระอัธยาศัยนั้นมีเป็นอันมาก มีพระพุทธโฆษาจารย์วัด บางว้าใหญ่ พระโพธิวงศ์ พระรัตนมุนีวัดหงส์เป็นต้นนั้นถวายพระพร ว่า พระสงฆ์บุถุชน ควรจะไหว้นบคฤหัสถ์ ซึ่งเป็นโสดาบันนั้นได้ แต่สมเด็๗พระสังฆราชวัดบางว้าใหญ่ พระพุทธาจารย์วัดบางว้าน้อย พระพิมลธรรมวัดโพธาราม สามพระองค์นี้สันดานมั่นคงคือพระพุทธ วจนะโดยแท้ มิได้เป็นคนสอพลอประสมประสาน จึงถวายพระพรว่า มึงมาตรว่าคฤหัสถ์เป็นพระโสดสบันก็ดีแต่เป็นหีนเพศต่ำ อันพระ สงฆ์ถึงเป็นบุถุชน ก็ตั้งอยู่ในอุดมเพศอันสูง เหตุทรงผ้ากาสาวพัสตร์ และพระจตุปาริสุทธศีลอันประเสริฐซึ่งจะไหว้นบ คฤหัสถ์อันเป็นพระ โสดาบันนั้นมิบังควร สมเด็๗พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงพระพิโรธว่า ถวาย พระพรผิดจากพระบาลี ด้วยพวกที่ว่าควรนั้นเป็นอันมาก ว่าไม่ควร แต่สามองค์เท่านี้ จึงดำรัสให้พระโพธิวงศ์พระพุทธโฆษา เอาตัว สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธาจารย์ พระพิมลธรรม กับฐานา เปรียญอันดับ ซึ่งเป็นอันเตวาสิก สัทธิงวิหาริก แห่งพระราชาคณะ ทั้งสามนั้น ไปลงทัณฑกรรมณวัดหงส์ทั้งสิ้น แต่พวกพระราชาคณะ ให้ตีหลังองค์ละร้อยที พระฐานาเปรียญให้ตีหลังองค์ละห้าสิบที พระ สงฆ์อันดับให้ตีหลังองค์ละสามสิบที แต่พระสงฆ์ซึ่งตั้งอยู่ในศีลใน สัตย์พวกว่าไหว้ไม่ได้นั้นทั้งสามพระอาราม เป็นพระสงฆ์ถึงห้าร้อยรูป ต้องโทษถูกตีทั้งสิ้น และพวกพระสงฆ์ทุศีล อาสัตย์อาธรรมว่าไหว้ ได้มีมากกว่ามากทุกๆอาราม และพระราชาคณะทั้งสามพระองค์ กับพระสงฆ์ อันเตวาสิกซึ่งเป็นโทษทั้งห้าร้อยนั้น ให้ไปขนอาจมชำระ เว็จกุฎีวัดหงส์ทั้งสิ้นด้วยกัน แล้วให้ถอดพระราชาคณะทั้งสามนั้น จากสมณฐานันดรศักดิ์ลงเป็นอนุจร จึงตั้งพระโพธิวงศ์ เป็นสมเด็จ พระสังฆราช พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นพระวันรัต ครั้นนั้นมหาภัย พิบัติบังเกิดในพระพุทธศาสนาควรจะสังเวชยิ่งนัก บรรดาคนทั้งหลาย ซึ่งเป็นสัมมาทิฏฐิ นับถือพระรัตนตรัยนั้น ชวนกันสลดจิตต์คิด สงสารพระพุทธศานา มีหน้านองไปด้วยน้ำตาเป็นอันมาก ที่มี ศรัทธาเข้ารับโทษให้ตีหลังตนแทนพระสงฆ์นั้นก็มี และเสียงร้อง ไห้ระงมไปทั่วทั้งเมืองเว้นแต่พวกมีมิจฉาทิฏฐิ ตั้งแต่นั้นมาพระราชา คณะพวกพวลอลลัชีมีสันดาบบาปที่ว่าไหว้คฤหัสถ์ใดนั้น ก็เข้าเฝ้า กราบถวายบังคมหมอบกรานเหมือนข้าราชการฆราวาส จึงดำรัสสั่ง พระสังฆราชใหม่ ให้เอาตัวพระราชาคณะซึ่งเป็นโทษถอดเสียจาก ที่ทั้งสามองค์นั้น คุมตัวไว้ณวัดหงส์ อย่าให้ปล่อยตัวไปวัดของตน แล้วให้พระญาณไตรโลกวัดเลียบ มาอยู่ครองวัดโพธาราม แล้ว ดำรัสสั่งพระรัตนมุนี ให้ขนานพระนามใหม่ พระรัตนมุนีจึงขนาน พระนามถวายให้ต้องด้วยอัธยาศัยว่า สมเด็จพระสยามยอดโยคาวจน บวรพุทธางกูล อดุลยขัตติยราชวงศ์ ดำรงพิภพกรุงเทพมหานคร บวร ทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานี บุรีรมย์อุดมราช นิเวศน์มหาสถาน ก็ชอบต้องด้วยพระอัธยาศัยสมด้วยพระทัยปรารถนานั้น ในขณะนั้นบ้านเมืองก็เกิดจลาจลเดือดร้อน ทั้งฝ่ายพระ พุทธจักร พระพุทธศาสนาก็เศร้าหมอง ฝ่ายพระราชอาณาจักรประชา ราษฎรก็ได้ความเดือดร้อนด้วยทุกขภัย เพราะพระเจ้าแผ่นดินมิได้ ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมสุจริต คิดให้นัยแก่คนพาลให้ร้องฟ้องข้า ทูลละอองฯผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งข้างหน้าข้างใน และราษฎรทั้งหลายว่า ขายเข้าขายเกลือและหน่องาเนื้อไม้ สิ่งของต้องห้ามทั้งปวงต่างๆ เอา ลงสำเภา ไม่ขายว่าขาย และฟ้องว่าชายหญิงผู้นั้นๆเป็นโจรลักพระ ราชทรัพย์เงินทองในท้องพระคลัง ไม่ลักว่าลัก ล้วนแต่ควมเท็จ ไม่จริง แกล้งใส่ความใส่โทษเอาเปล่าๆทั้งนั้น แล้วให้ลงพระราช อาชญาโบยตีจองจำ และให้ทำโทษเจ้าจอมข้างในว่า ลักเงินเหรียญ ในพระคลังในหายไปกำปั่นหนึ่ง ให้โบยตีและจำไว้เป็นอันมาก แล้ว ให้เอาตัวเจ้าจอมโนรีชาวคลัง ขึ้นย่างเพลิงจนถึงแก่ความตาย ขณะนั้นพวกคนพาลเป็นโจทก์ถึงสามร้อยสามสิบสามคน มีพันศรี พันลาเป็นต้นนำเอาฟ้องมายื่นกับขุนโยธาบดี เจ้ากรมทะนายเลือก หอกซ้าย ให้กราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินทรงพิพากษา กลับเอาเท็จเป็นจริงบังคับว่า ถ้าโจทก์สาบานได ให้ปรับไหมลงเอาเงิน แก่จำเลย ตามคำโจทก์หามากและน้อย ถ้าจำเลยมิรับให้เฆี่ยน ขับผูกถือตบต่อยติดไม้และย่างเพลิง บ้างตายบ้างลำบากเป็นอันมาก และล่อลวงให้ลุแก่โทษเปล่าๆ ว่า ขายสิ่งของต้องห้ามสิ่งนั้นๆไป ต่างประเทศ เป็ฯเงินเหรียญ เงินกูบ้างคนละเท่านั้นๆ สำคัญว่าสิ้น โทษแล้ว ครั้นให้มีผู้ฟ้องอีก กลับให้พิจารณา ถ้าสิ่งของต้อง ในลุแก่โทษมากน้อยเท่าใด ให้หักเสียเท่านั้น ที่เหลือและต่างกัน ออกไปให้ปรับไหม แม้นรับตามฟ้องให้ปรับทวีคุณ เอาเงินสองเท่า ถ้าไม่รับลงหวายต้องรับ ให้ปรับจตุรคูณ เอาเงินสี่เท่า ที่คนมีก็ได้ ให้ ที่คนจนขัดสนต้องทนให้เฆี่ยนไปทุกวันทุกเวลากว่าจะได้ทรัพย์ บ้างตายบ้างลำบากยากแค้นทั่วไปจนหัวเมืองเอก เมืองโท เมืองตรี เมืองจัตวาทั้งสิ้น เร่งรัดเอาทรัพย์ส่งเป็นของหลวง คนทั้งหลาย มีหน้าตาคร่ำไปด้วยน้ำตาที่หน้าชื่นใจบานอยู่แต่ฝ่ายคนพาลที่เป็นโจทก์ พรรคพวกโจทก์ จึงโปรดตั้งพันศรีเป็นขุนจิตรจุล ตั้งพันลาเป็น ขุนประมูลพระราชทรัพย์ เป็นนายกองพวกโจทก์ทั้งนั้น และครั้นนั้น เสียงร้องครางพิลาปร่ำไรเซ็งแซ่ไปในพระราชวัง ฟังควรจะสังเวช เหมือนอย่างในยมโลก ที่ทิ้งเหย้าเรือนเสีย ยกครอบครัวอพยพหนี เข้าป่าดงไปก็มีเป็นอันมาก บ้านเรือนร้างว่างเปล่าอยู่ทุกแห่งทุกตำบล อนึ่งทรงสงสัยแคลงชาวพระคลังข้าราชการต่างๆว่า ลักฉกพระราช ทรัพย์สิ่งของในท้องพระคลังทั้งปวง จึงจัดเอาพระราชาคณะพวก อลัชชีเหล่านั้นมากำลังคลังคลังละองค์ทุกๆพระคลัง มิได้ไว้ พระทัยพวกชาวคลังคฤหัสถ์ทั้งสิ้น ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนสิบสองแรมค่ำหนึ่ง บังเกิดทุนิมิตต์ บนอากาศเมฆปรากฎเป็นคันกระแพงฝ่ายทิศบูรพ ครั้นณวันอาทิตย์เดือนอ้ายแรมเก้าค่ำ มีผู้เป็นโจทก์มา ฟ้องพระยาราชาเศรษฐีว่าคิดจะหนีไปเมืองพุทไธมาศ จึงดำรัสให้ จับตัวพระยาราชาเศรษฐีญวน กับพวกญวนให้ประหารชีวิตเสีย สามสิบคนด้วยกัน ครั้นณวันพุธเดือนยี่แรมสิบสองค่ำ ให้ประหารชีวิตคนโทษ เก้าคน ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนสามขึ้นสิบสองค่ำ ให้ประหารชีวิต จีนลูกค้าแปดคน ครั้นณวันจันทร์เดือนสามแรมสองค่ำ ให้ประหารชีวิตคน ทิ้งไฟเจ็ดคน ครั้นณวันอังคารเดือนสี่แรมเจ็ดค่ำ เพลาพระอาทิตย์อัสดงคต บังเกิดทุนนิมิตต์บนอากาศ เมฆปรากฎเป็นลำพู่กันฝ่ายทิศประจิม ครั้นณวันพุธเดือนสี่แรมแปดค่ำ กลางคืนเพลาสิบทุ่ม ดาวอนุราธเข้าในดวงพระจันทร์ตลอดไป ในแรมเดือนสี่ปีฉลูตรีศกนั้น จึงนายบุญนาก นายบ้านแม่ลา แขวงกรุงเก่า กับขุนสุระ คิดอ่านกันว่า บ้านเมืองเป็นจลาจล เดือดร้อนทุกเส้นหญ้า เพราะพระเจ้าแผ่นดินไม่เป็นธรรม กระทำ ข่มเหงเบียดเบียฬประชาราษฎรเร่งเอาทรัพย์สิ่งสิน เมื่อแผ่นดินเป็น ทุจจริตดังนี้ เราจะละไว้มิชอบควรจะชักชวนส้องสุมประชาชนทั้งปวง ยกลงไปตีกรุงธนบุรี จับพระเจ้าแผ่นดินผู้อาสัตย์สำเร็จโทษเสีย แล้วจะถวายสมบัติแก่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ให้ครอบ ครองแผ่นดินสืบไป การจลาจลจึงจะสงบราบคาบ แผ่นดินจึงจะอยู่เย็น เป็นสุข จึงชักชวนส้องสุมชาวชนบททั้งปวงยินดีมาเข้าด้วยเป็น อันมาก นายบุญมากกับขุนสุระ ก็ยกพวกพลลงไปในเพลากลางคืน เข้าปล้นจวนพระพิชิตณรงค์ ซึ่งเป็นผู้รักษากรุงเก่าตั้งกองเร่งเงิน ชาวเมืองทั้งปวงอยู่นั้น จับได้ตัวผู้รักษากรุง กับกรมการฆ่าเสีย และกรมการซึ่งหนีรอดนั้น ก็รีบลงมากรุงธนบุรีกราบทูลว่า กรุงเก่า เกิดพวกเหล่าร้ายเข้าฆ่าผู้รักษากรุงและกรมการเสีย ขณะนั้นพระยาสรรคบุรีลงมาอยู่ณกรุงธนบุรี พระเจ้าแผ่นดิน จึงดำรัสให้พระยาสรรคบุรีขึ้นไปณกรุงเก่า พิจารณาจับตัวพวกกบฎ เหล่าร้ายให้จงได้ และพระยาสรรค์ก็ขึ้นไปณกรุงเก่ากลับไปเข้า พวกนายบุญมาก ขุนสุระ จึงมอบให้ พระยาสรรค์เป็นนายทัพยกลงมาตีกรุงธนบุรี และจัดแจงพวกทหาร ให้ใส่มงคลแดงทั้งสิ้น ครั้นณวันเสาร์เดือนสี่แรมเก้าค่ำปีฉลูตรีศก กองทัพพระยา สรรค์ยกลงมาถึงพระนคร ครั้นเพลาสิบทุ่มจึงให้พวกพลทหารโห่ ร้องยกเข้าล้อมกำแพงพระราชวังให้รอบ ตัวพระยาสรรค์เข้าตั้งกอง อยู่ณริมคุกฟากเหนือคลองนครบาลที่พวกกรมเมือง ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินทราบว่า ข้าศึกมาล้อมพระราชวัง และ พระยาสรรค์ซึ่งใช้ไปจับพวกกบฎนั้น กลับเปนนายทัพยกลงมา จึง สั่งข้าราชการซึ่งนอนเวรประจำซองอยู่นั้น ให้เกณฑ์กันขึ้นประจำ รักษาหน้าที่เชิงเทินรอบพระราชวัง ให้ยิงปืนโต้ตอบกันทั้งสองฝ่าย ต่อรบกันอยู่จนรุ่ง ครั้นณวันอาทิตย์เดือนสี่แรมสิบค่ำ พระเจ้าแผ่นดินจึงให้ออก ไปนิมนต์พระสังฆราช พระวันรัต และพระรัตนมุนีเข้ามา แล้ว ให้ออกไปเจรจาความเมืองกับพระยาสรรค์ รับสารภาพผิดยอมแพ้ ขอแต่ชีวิตไว้จะออกบรรพชา พยะยาสรรค์ก็ยอม ในวันนั้นค่ำลงเพลายามเศษ พระเจ้าแผ่นดินจึงทรง ผนวชณพระอุโบสถวัดแจ้ง ภายในพระราชวัง และเสด็จดำรงราช อาณาจักรอยู่ในพระราชสมบัติได้สิบห้าปี ก็เสียพระนครแก่พระยา สรรค์ พระยาสรรค์จึงจัดพลทหารให้ไปตั้งล้อมพระอุโบสถวัดแจ้ง ไว้แน่นหนา มิให้พระเจ้าแผ่นดินซึ่งบรรพชานั้นหนีไปได้ แล้ว ให้จับขุนอนุรักษ์สงคราม พระเจ้าหลาานเธอ และวงศานุวงศ์ ทั้งปวง มาจำไว้ในพระราชวังทั้งสิ้น ครั้นรุ่งขึ้นณวันจันทร์เดือนสี่แรมสิบสามค่ำ วันจ่ายตรุษนั้น พระยาสรรค์จึงเข้าพระราชวัง กับทั้งหลวงเทพผู้น้องเข้าอยู่ณท้อง พระโรงว่าราชการแผ่นดิน ให้ถอดนักโทษทั้งข้าราชการฝ่ายหน้า ฝ่ายในและราษฎรซึ่งอยู่ในเรือนจำนั้นออกสิ้น ฝ่ายคนทั้งหลายซ่งต้องโทษได้พ้นโทษแล้ว ชวนกันโกรธ แค้นพวกโจทก์ก็เที่ยวไล่จับพวกโจทก์ มีพันศรีพันลาเป็นต้น ฆ่าฟัน เสียเป็นอันมาก พวกโจทก์หนีไปเที่ยวซุ่มซ่อนอยู่ณวัดบ้างบ้านบ้าง ทุกแห่งทุกตำบล ที่รอดเหลืออยู่นั้นน้อย ที่ตายนั้นมาก เกิดฆ่าฟัน กันไปทุกแห่งทุกตำบลทั่วทั้งเมือง ลุศักราช ๑๑๔๔ ปีขาลจัตวาศก ถึงณวันอังคารเดือนห้าขึ้น หกค่ำเพลาเที่ยงเห็นพระจันทร์ปรากฎในกลางวัน และในกรางคืน วันนั้น ดาวกฤษฎีกาเข้าในดวงพระจันทร์ แต่ก่อนพระยาสรรค์ยังไม่เข้าตีกรุงธนบุรีนั้น ฝ่ายพระยา สุริยอภัยผู้ครองเมืองนครราชสีมาได้ทราบว่า แผ่นดินเป็นจลาจลมี คนขึ้นไปแจ้งเหตุ จึงออกไปณเมืองนครเสียมราบ แถลงการ แผ่นดินเกิดยุคเข็ญนั้นแก่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก สมเด็จ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงให้พระยาสุริยอภัยรีบยกกองทัพลงไปกรุง ธนบุรีก่อน แล้วจะยกทัพใหญ่ตามลงไปภายหลัง พระยาสุริยอภัยก็ กลับมาณเมืองนครราชสีมา ให้พระอภัยสุริยาปลัดผู้น้องอยู่รักษา เมือง แล้วก็จัดแจงกองทัพได้พลไทยลาวพันเศษ ก็รีบยกลงมา ณกรุงธนบุรี และกองทัพเมืองนครราชสีมา มาถึงกรุงธนบุรี ณวัน ศุกรเดือนห้าขึ้นเก้าค่ำ พอพระยาสรรค์ตีกรุงได้เข้านั่งเมืองอยู่แล้ว ครั้นพระยาสรรค์ได้แจ้งว่า พระยาสุริยอภัยยกทัพลงมา จึง ให้ไปเชิญมาปรึกษาราชการณท้องพระโรงในพระราชวัง แจ้งการทั้งปวง ให้ทราบ แล้วว่าจัดแจงบ้านเมืองไว้จะถวายแก่สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึกให้ครอบครองแผ่นดินสืบต่อไป และพระยาสุริยอภัย กับพระยาสรรค์ จึงปรึกษากันให้สึกเจ้าแผ่นดินออกแล้วพันธนาไว้ ด้วยเครื่องสังขลิกพันธ์ และพระยาสุริยอภัยก็ไปตั้งกองทัพอยู่ณบ้าน เดิม ที่บ้านปูนเหนือสวนมังคุด ครั้นภายหลังพระยาสรรค์กลับคิดจะเอาราชสมบัติเอง จึงคิด กันกับเจ้าพระยามหาเสนา และพระยารามัญวงศ์จักรีมอญเข้าด้วย พระยาสรรค์เอาเงินตราในท้องพระคลัง ซึ่งเร่งรัดของคนทั้งปวงมา ไว้นั้น ออกแจกขุนนางข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายในและทหารเป็น อันมาก ในขณะนั้นบรรดาขุนนางข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงแตก ออกเป็นสองพวก ที่ได้บำเหน็จรางวัลก็เข้าเป็นพวกพระยาสรรค์ ที่ นับถือบุญญาบารมีสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ก็มิได้รับรางวัล ของพระยาสรรค์ มาเป็นพวกข้างพระยาสุริยอภัย ครั้นณวันอังคารเดือนห้าแรมห้าค่ำ พระยาสรรค์ กับเจ้าพระ ยามหาเสนา และพระยารามัญวงศ์ จึงคิดกันให้ถอดกรมขุนอนุรักษ์ สงครามหลานเธอออกจากเวรจำ แต่งให้เป็นนายทัพคุมขุนนางและ ไพร่ยกไปบ้านพระยาสุริยอภัย แต่เพลาพลบค่ำตั้งค่ายวางคนรายโอบ ลงมาวัดบางว้า เพลาสามยามจุดไฟขึ้นณบ้านปูนแล้วยกลงมา ฝ่าย พระยาสุริยอภัยก็มิได้สะดุ้งตกใจ ให้ขุนนางและไพร่พลยกออกต่อรบ รายคนออกไปให้วางปืนตับ พวกพลข้ามขุนอนุรักษ์สงคราม ก็ ยิงปืนรบโต้ตอบกันอยู่ทั้งสองฝ่าย ครั้นเห็นเพลิงไหม้ลามมาใกล้ คฤหฐานที่อยู่ พระยาสุริยอภัยจึงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ข้าพเจ้าได้ บำเพ็ญศีลทานการกุศลสิ่งใดๆ ก็ตั้งใจปรารถนาพระโพธิญาณสิ่ง เดียว เดชะดำนาจความสัตย์นี้ ขอจงยังพระพายให้พัดกลับขึ้นไป อย่าให้เพลิงไหม้มาถึงบ้านเรือนข้าพเจ้าเลย พอขาดคำอธิษฐานลง ลมก็บันดาลพัดกลับขึ้นไป เพลิงก็ไหม้อยู่แต่ภายนอก มิได้ติดลาม เข้ามาในบ้านเห็นประจักษ์แก่คนทั้งปวง แต่รบกันอยู่จนรุ่งขึ้นเห็นตัว กัน จึงรู้ว่ากรมขุนอนุรักษ์สงครามยกมารบ แต่รบกันอยู่จสถึงเพลา ห้าโมงเช้าในวันพุธเดือนเก้าแรมหกค่ำ ทัพข้ามกรมขุนอนุรักษ์ สงคราม จึงแตกพ่านหนีไปข้ามคลองบากกอกน้อย พระยาสุริยอภัย ได้ชัยชำนะแล้ว ให้พลทหารติดตามไปจับตัวกรมขุนอนุรักษ์สงคราม มาได้ ในทันใดนั้นให้จำครบไว้ สืบเอาพวกเพื่อนได้เป็นอันมาก เอา ตัวจำครบไว้ทั้งสิ้น และครั้นนั้นกองรามัญก็แตกกันออกเป็นสองพวก ที่มาเข้าด้วยพระยาสุริยอภัยนั้น คือกองพระยาพระราม พระยา เจ่ง ที่ไปเข้าด้วยพระยาสรรค์นั้นคือกองพระยารามัญวงศ์ กับกอง พระยากลางเมือง ฝ่ายพระยาสรรค์รู้ว่า ทัพกรมขุนอนุรักษ์สงครามแตก พระยาสุริยอภัยจับตัวไปได้ ก็คิดเกรงกลัวย่อท้อมิอาจยกออกไปรบอีก ก็รักษาตัวอยู่แต่ในพระราชวัง พระยาสุริยอภัยก็ให้ตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณบ้าน แล้วจัดแจงพลทหารตั้งรายกองทัพลงมาจนถึงคลองนครบาล ฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อให้พระยาสุริยอภัย ยกมาแล้ว จึงแต่งหนังสือบอกข้อราชการแผ่นดินอันเป็นจลาจล ให้ คนสนิทถือลงไปแจ้งแก่เจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งลงไปตั้งทัพอยู่ณเมือง