ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
04/12/2007
ที่มา: 
กรมศิลปากร กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กฎกระทรวงวัฒนธรรม
 

ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

 ค่านิยมสร้างสรรค์ (Core Value)  คือ ค่านิยมที่ดีมีประโยชน์ต่อสังคมที่ได้รับการถ่ายทอด จากคนรุ่นหนึ่ง ไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง และยังหมายถึง ค่านิยมใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน และเข้ามาแทนที่ค่านิยม เก่าที่ไม่สามารถแก้ไข ปรับปรุงให้ดีขึ้นและ ไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมโลกาภิวัตน์ได้                  ดังนั้นคำว่า ค่านิยมสร้างสรรค์ จึงมีความหมายเป็นสองนัย คือ ค่านิยมที่เป็นคุณประโยชน์ และเป็นค่านิยม ที่ปรับปรุงพัฒนาขึ้นมาใหม


 

ทำไม ? ต้องมีค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                เพราะค่านิยมของสังคมจะเป็นวิถีของการจัดรูปแบบความประพฤติของสังคม สังคมจะดีต้องมีค่านิยมที่ดี แต่สาเหตุที่ต้องมีค่านิยมขึ้นใหม่เนื่องจาก ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และค่านิยมบางประการอาจจะไม่เหมาะ กับการทำงานในยุคปัจจุบัน ภายใต้สภาวะวิกฤติที่รัฐจำต้องมีการปฏิรูปในหลายๆด้าน ทั้งระบบบริหาร วิธีการ ทำงาน ระบบงบประมาณ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทัศนคติและค่านิยมในการปฏิบัติงาน

                ระบบราชการใหม่ตามแผนการปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ เน้นการเป็นระบบราชการที่มีสมรรถนะสูง มีคุณภาพและคุณธรรม เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงต้องเป็นผู้ที่มีทัศนคติและค่านิยม ในการทำงานที่สอดคล้องกับระบบราชการแนวใหม่โดยมีวัฒนธรรมการทำงานใหม่ที่เน้นความสามารถและผลงาน
เน้นความสุจริต ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นค่านิยมใหม่ที่สร้างสรรค์และเป็นค่านิยม ที่นำความ เจริญรุ่งเรืองและศานติสุขแก่ประเทศชาติอย่างยั่งยืน

เว็บไซด์ประเทศไทยใสสะอาด

 

            ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                ค่านิยมสร้างสรรค์ฯ เป็นคุณธรรมประจำใจที่จัดทำขึ้นให้เจ้าหน้าที่ของรัฐพึงยึดถือ เพื่อสร้างวัฒนธรรมการ ทำงานใหม่ ให้งานภาครัฐบังเกิดผลตามแนวทางของแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ ที่มุ่งสร้างคุณประโยชน์สูงสุด ให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ มี 5 ประการ ดังนี้

                1.  กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Moral Courage) หมายถึง ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม เสียสละ ยึดหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ ไม่โอนอ่อนตามอิทธิพลใดๆ

                2.  ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ (Integrity and Responsibility) หมายถึง ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรง ไปตรงมา แยกเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน มีความรับผิดชอบต่อประชาชน ต่อผลการปฏิบัติงานองค์การ และต่อการพัฒนาปรับปรุงระบบราชการ

                3.  โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparency and Accountability) หมายถึง ปรับปรุงกลไกการทำงาน ขององค์กร ให้มีความโปร่งใส มีวิธีการให้ประชาชนตรวจสอบได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในขอบเขตของกฎหมาย

                4.  ไม่เลือกปฏิบัติ (Nondiscrimination) หมายถึง บริการประชาชนด้วยความเสมอภาค เน้นความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และถูกต้อง ปฏิบัติต่อผู้มารับบริการด้วยความมีน้ำใจ เมตตา เอื้อเฟื้อ

                5.  มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result Orientation) หมายถึง ทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด เกิดผลดีต่อ หน่วยงานและส่วนรวม ใช้ทรัพยากรของทางราชการให้คุ้มค่าเสมือนหนึ่งการใช้ทรัพยากรของตนเอง เน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก มีการวัดผลลัพธ์ และค่าใช้จ่าย


            จะสร้างค่านิยมสร้างสรรค์ฯ ให้บังเกิดขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้อย่างไร

                ค่านิยมเป็นเรื่องของจิตใจ ใจจะชื่นชอบ ซาบซึ้งและเห็นคุณค่าในสิ่งใด ขึ้นกับเหตุปัจจัยทั้งภายใน และภายนอก

                เหตุปัจจัยภายใน ก็คือ ใจของเรานั่นเอง ใจจะตระหนักในคุณค่าของสิ่งใด เพียงการรับรู้ว่าเป็นสิ่งที่ ถูกต้องดีงาม อาจไม่เพียงพอ แต่หากได้คิดพิจารณา ไตร่ตรองจนเข้าใจใยคุณค่า และทดลองนำไปปฏิบัติอย่างมาก พอและต่อเนื่อง ใจจะซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งนั้นเพิ่มขึ้นโดยลำดับ

                ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนศึกษาและพิจารณาไตร่ตรองถึงความสำคัญของค่านิยมสร้างสรรค์ฯ ตั้งใจยึดมั่น ในความถูกต้อง อดทนอดกลั้นต่อสิ่งเย้ายวนและปัญหาอุปสรรคทั้งปวง และเพียรพยายามปฏิบัติตามหลักการ ดังกล่าวข้างต้นอย่างมากพอและต่อเนื่อง ค่านิยมสร้างสรรค์ฯจะเจริญงอกงามขึ้นในใจของทุกคน และใจที่เห็น คุณค่าก็จะเป็นเครื่องปกป้องคุ้มครองให้เรายึดมั่นในค่านิยมสร้างสรรค์ฯได้ตลอดไป

                เหตุปัจจัยภายนอก คือ สภาพแวดล้อม อันได้แก่ครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนร่วมงาน กฎระเบียบ และบรรยากาศในการทำงาน รวมทั้งสภาพของสังคมรอบข้าง ถ้าเหตุปัจจัยภายนอกดี ให้ความสำคัญและ ปกป้องเชิดชูผู้ที่ยึดมั่นในค่านิยมสร้างสรรค์ฯอย่างจริงจัง ก็จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติมีขวัญมีกำลังใจ และเชื่อมั่นที่จะ ยึดถือค่านิยมสร้างสรรค์ฯต่อไป

 Clip_3

                การที่จะให้ค่านิยมสร้างสรรค์ฯแต่ละข้อเกิดผลในทางปฏิบัติได้จริง ขึ้นอยู่กับแต่ละส่วนราชการจะต้อง นำแต่ละข้อไปขยายผลให้เกิดแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับลักษณะงานพื้นฐานของแต่ละองค์การ    โดยสะท้อน พฤติกรรมตามความหมายของค่านิยมสร้างสรรค์ฯ ที่ได้ให้ความหมายไว้แล้ว ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าว ควรให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์การ เป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างข้อกำหนด หรือข้อพึงปฏิบัติ ตาม ความหมายของค่านิยมสร้างสรรค์ฯนั้นด้วย เพื่อนำไปสู่การยอมรับ และถือปฏิบัติร่วมกันเป็นวัฒนธรรม ขององค์การต่อไป หากเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละคนมีวัฒนธรรมการทำงาน โดยยึดคุณค่าหลักของค่านิยม สร้างสรรค์ฯ  ผลดีก็จะขยายออกไปสู่ครอบครัว และสังคมโดยรวม และจะนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญ รุ่งเรืองถาวรสืบไป