อัตตลักษณ์ที่น่ารู้เกี่ยวกับพัฒนาการความเป็น“กติกาแห่งกฎ” ของรัฐธรรมนูญกับปัญหาพื้นฐานของการใช้กฎในระบบนิติรัฐของไทย

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
20/01/2008
ที่มา: 
เชาวนะ ไตรมาศ ศาลรัฐธรรมนูญ บทความกฎหมาย

อัตตลักษณ์ที่น่ารู้เกี่ยวกับพัฒนาการความเป็น“กติกาแห่งกฎ” ของรัฐธรรมนูญกับปัญหาพื้นฐานของการใช้กฎในระบบนิติรัฐของไทย
        ในบทความเรื่อง“อัตตลักษณ์ที่น่ารู้เกี่ยวกับพัฒนาการความเป็น“กติกาแห่งกฎ” ของรัฐธรรมนูญ : ปัญหาพื้นฐานของการใช้กฎในระบบนิติรัฐของไทย” นี้ ได้แบ่งเนื้อหาสำคัญออกเป็น 15 ส่วน ประกอบด้วย

ประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย
สถานภาพของรัฐธรรมนูญไทย
นัยของคำปรารภในรัฐธรรมนูญไทย
ความรุนแรงทางการเมืองกับรัฐธรรมนูญไทย
กระบวนการทางสังคม – การเมืองกับรัฐธรรมนูญไทย
อำนาจผู้ปกครองกับสิทธิเสรีภาพประชาชนในรัฐธรรมนูญไทย
ผู้ปกครองจากกองทัพ – ระบบราชการกับผู้ปกครองจากพรรคการเมืองในรัฐธรรมนูญไทย
ประชาธิปไตย เผด็จการ และกึ่งประชาธิปไตยกับรัฐธรรมนูญไทย
การเข้าสู่อำนาจและการพ้นจากอำนาจของผู้ปกครองกับรัฐธรรมนูญไทย
รูปแบบของรัฐสภากับรัฐธรรมนูญไทย
จำนวนรัฐบาลและกลุ่มอำนาจในรัฐบาลกับรัฐธรรมนูญไทย
พรรคการเมือง การเลือกตั้ง และรัฐประหารกับรัฐธรรมนูญไทย
แบบชั่วคราว และแบบถาวรกับรัฐธรรมนูญไทย
กำลังบังคับและความตกลงยินยอมกับที่มาของรัฐธรรมนูญไทย
อัตลักษณ์ที่น่ารู้เกี่ยวกับพัฒนาการความเป็นกติกาแห่งกฎของรัฐธรรมนูญกับปัญหาพื้นฐานของการใช้กฎในระบบนิติรัฐของไทย
ทั้งนี้ จะได้กล่าวถึงรายละเอียดของส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

[แก้ไข] 1.ประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย
        การปกครองของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งปกครองโดยบุคคลคนเดียวคือ พระมหากษัตริย์ สุโขทัยตอนต้น โดยเฉพาะในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้วางรูปการปกครองแบบพ่อปกครองลูก หรือระบอบปิตุลาธิปไตยนั้น ได้ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญ คือ หลักศิลาจารึก ซึ่งมีสาระหรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการปกครองหรือการใช้อำนาจของพระองค์ รวมถึงพันธะที่พระองค์ทรงมีต่อราษฎรและสิทธิเสรีภาพด้านต่าง ๆ ของราษฎรด้วยนั้น น่าจะอนุโลมได้ว่า หลักศิลาจารึกดังกล่าว เป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรของไทยฉบับแรกในช่วงสุโขทัยตอนปลายถึงอยุธยา ได้วางรูปการปกครองแบบเทวสิทธิ์หรือระบอบธรรมราชา พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจปกครองโดยมีพันธะผูกพันกับหลักธรรมคำสอนทางศาสนา โดยเฉพาะหลักทศพิธราชธรรม หรือบัญญัติ 10 ประการของกษัตริย์นั้น ก็น่าจะอนุโลมได้ว่าเป็น รัฐธรรมนูญแบบจารีตประเพณี เนื่องจากการใช้อำนาจปกครองของกษัตริย์นั้นต้องอิงอยู่กับจารีตปฏิบัติ ตามข้อบัญญัติต่าง ๆ ทั้งศาสนาและธรรมะของกษัตริย์ใน พ.ศ. 2475 ไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยคณะราษฎรผู้ก่อการได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกเรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 นำขึ้นกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้และประกาศใช้ในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว ส่วนรัฐธรรมนูญที่ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพ.ศ. 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2475

[แก้ไข] 2.สถานภาพของรัฐธรรมนูญไทย
 

 

ภาพ:พ.jpg

ภาพ:ตาราง1.jpg

ภาพ:ตาราง2.jpg

ภาพ:ตาราง3.jpg


[แก้ไข] 3.นัยของคำปรารภในรัฐธรรมนูญไทย
        ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 2475 เป็นนัยของการถ่ายโอนอำนาจระหว่างผู้ปกครอง คือ พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับคณะราษฎรในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

         ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม 2475 เป็นนัยของการประกาศความชอบธรรมแห่งอำนาจของกลุ่มผู้ปกครองใหม่ว่าเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ

        ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2489 เป็นนัยของความมุ่งมั่นของผู้ปกครองในการสร้างความทันสมัยทางการเมืองให้กับระบอบประชาธิปไตย

         ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) 2490 เป็นนัยของการลบล้างความชอบธรรมทางอำนาจของผู้ปกครองเก่ามาและสร้างความชอบธรรมใหม่ให้กับคณะปกครองที่ใช้กำลังบังคับเข้ามา

         ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2492 เป็นนัยของการปรับรื้อกรรมวิธีในกระบวนการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่เปิดกว้างของกระบวนการมีส่วนร่วม

         ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2475 แก้ไขเพิ่มเติม 2495 เป็นนัยของการดัดแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นฐานรองรับการสืบทอดอำนาจการปกครองของคณะผู้ปกครองที่ใช้กำลังบังคับเข้ามา

         ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร 2502 เป็นนัยของการสร้างความหวังเพื่อเปลี่ยนไปสู่อนาคตที่ดีกว่า โดยมอบอำนาจเด็ดขาดให้คณะผู้ปกครองที่ใช้กำลังบังคับเข้ามาเป็นผู้หยิบยื่นให้

         ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2511 เป็นนัยของการปฏิรูประบอบการปกครองโดยโน้มน้าวให้เห็นประโยชน์และความจำเป็นของการแยกอำนาจบริหารออกจากอำนาจนิติบัญญัติ

         ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร 2515 เป็นนัยของความระส่ำระส่ายของระบบรัฐสภา และความจำเป็นที่ผู้ปกครองจะต้องใช้อำนาจเผด็จการ

         ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2517 เป็นนัยของการประกาศถึงยุครุ่งอรุณแห่งสังคมใหม่ที่ประชาธิปไตยผลิบานอย่างเต็มรูปแบบ

         ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2519 เป็นนัยของการชี้ความล้มเหลวของการพัฒนาประชาธิปไตยและการเสนอแนวทางการปฏิรูปแนวใหม่ที่เป็นขั้นตอนเหมือนขั้นบันได

         ฉบับที่ 12 รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย 2520 เป็นนัยของการจัดระเบียบการจัดระเบียบสังคมใหม่โดยเร่งรัดและจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของการพัฒนาเสียใหม่

         ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2521 เป็นนัยของการเคารพสิทธิและความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครอง

         ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร 2534 เป็นนัยของการปรับรื้อกติกาการปกครองใหม่ให้แก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้และมีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของคณะผู้ปกครองที่ใช้กำลังบังคับเข้ามา

         ฉบับที่15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2534 เป็นนัยของการตอกย้ำถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมของการถ่ายโอนอำนาจจากพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เดิมว่าควรจะตกถึงมือประชาชนอย่างแท้จริง

         ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 เป็นนัยของการใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือปฏิรูปการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบส่วนร่วม โดยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้สามารถเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการแยกกลไกให้เป็นอิสระแยกจากกันระหว่างกลไกฝ่ายที่ใช้อำนาจ ฝ่ายที่ตรวจสอบอำนาจ และฝ่ายที่กำกับอำนาจและเรียกร้องสิทธิ

[แก้ไข] 4.ความรุนแรงทางการเมืองกับรัฐธรรมนูญไทย
         1) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 (2475) ได้มาโดยคณะราษฎรใช้กำลังบังคับจากพระมหากษัตริย์ โดยอ้างการขาดหลักวิชาของการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และเพื่อให้มีการถ่ายโอนอำนาจและจัดระเบียบการเมืองและการปกครองใหม่จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ

         2) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 (2490) ได้มาโดยคณะทหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือน โดยอ้างว่าทำการฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นเหตุให้ประชาชนเดือดร้อน จำเป็นต้องจัดตั้งรัฐบาลใหม่

         3) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 6 (2495) ได้มาโดยคณะทหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือน โดยอ้างภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์และนักการเมืองคอร์รัปชั่น และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์เริ่มแรกของการเปลี่ยนแปลงu3585 การปกครอง จึงต้องนำรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 มาใช้อีกครั้ง

         4) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 (2502) ได้มาโดยคณะทหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล โดยอ้างความรุนแรงของภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ ที่จำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยวิธีการปฏิวัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญเก่าไม่เอื้อให้กระทำได้จึงต้องยกเลิก เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนก่อนจึงจะทำรัฐธรรมนูญใหม่

         5) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 (2515) ได้มาโดยคณะทหารยึดอำนาจการปกครองโดยอ้างภัยคุกคามนอกประเทศและฝ่ายสภาก่อกวนฝ่ายบริหารเป็นการขัดขวางไม่ให้แก้ไขปัญหาของชาติได้ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่า

         6) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 (2519) ได้มาโดยคณะทหารยึดอำนาจการปกครองโดยอ้างภัยคุกคามสถาบันพระมหากษัตริย์ และความล้มเหลวของระบบรัฐสภา จำเป็นต้องใช้รัฐธรรมนูญใหม่ช่วยปฏิรูปการเมือง

         7) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 (2520) ได้มาโดยคณะทหารยึดอำนาจ โดยอ้างความแตกแยกของข้าราชการและความล่าช้าของขั้นตอนการพัฒนาประชาธิปไตย จำเป็นต้องใช้รัฐธรรมนูญใหม่เพื่อเร่งรัดให้เร็วขึ้น

         8) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 14 (2534) ได้มาโดยคณะทหารยึดอำนาจ โดยอ้างว่าคณะรัฐบาลใช้อำนาจข่มเหงข้าราชการ คอร์รัปชั่น เป็นเผด็จการรัฐสภาและแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม จึงต้องใช้รัฐธรรมนูญใหม่รองรับการใช้อำนาจของคณะทหารที่เข้ามาปกครองแทนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

[แก้ไข] 5.กระบวนการทางสังคม – การเมืองกับรัฐธรรมนูญไทย
         ฉบับที่ 1 (27 มิถุนายน 2475) เป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย

         ฉบับที่ 2 (10 ธันวาคม 2475) เป็นกระบวนการสร้างรากฐานอำนาจทางการเมืองของผู้ปกครองรุ่นบุกเบิกประชาธิปไตย

         ฉบับที่ 3 (10 พฤษภาคม 2489) เป็นกระบวนการต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนในกลุ่มอำนาจคณะราษฎร

         ฉบับที่ 4 (9 พฤศจิกายน 2490) เป็นกระบวนการที่สถานการณ์ช่วงชิงอำนาจทางการเมืองตกอยู่ในกลุ่มอำนาจฝ่ายทหาร

         ฉบับที่ 5 (23 มีนาคม 2492) เป็นกระบวนการที่กลุ่มอำนาจฝ่ายทหารที่กุมอำนาจการปกครองพยายามอิงความชอบธรรมทางอำนาจกับระบอบประชาธิปไตย

         ฉบับที่ 6 (8 มีนาคม 2495) เป็นกระบวนการที่กลุ่มทหารล้มเหลวในกระบวนการประชาธิปไตยและพยายามรักษาอำนาจโดยกลับไปใช้อำนาจการปกครองแบบผสมผสานระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตย

         ฉบับที่ 7 (28 มกราคม 2502) เป็นกระบวนการที่ผู้นำทหารในกองทัพกุมอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองแบบเผด็จการเต็มรูปแบบ

         ฉบับที่ 8 (20 มิถุนายน 2511) เป็นกระบวนการที่ผู้นำทางทหารประสบความล้มเหลวในการใช้อำนาจปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

         ฉบับที่ 9 (15 ธันวาคม 2515) เป็นกระบวนการที่ผู้นำทางทหารผนึกกำลังกันสร้างความแข็งแกร่งทางอำนาจของผู้ปกครอง ใช้อำนาจแบบเผด็จการ

         ฉบับที่ 10 (7 ตุลาคม 2517) เป็นกระบวนการที่กลุ่มอำนาจทางทหารแตกแยกและอ่อนกำลัง เปิดโอกาสให้กลุ่มอำนาจฝ่ายพลเรือนเข้าใช้อำนาจปกครองและการเปิดกว้างของกระบวนการประชาธิปไตยของประชาชน

         ฉบับที่ 11 (22 ตุลาคม 2519) เป็นกระบวนการที่กลุ่มอำนาจฝ่ายพลเรือนสูญเสียอำนาจให้ฝ่ายทหาร และกระบวนการประชาธิปไตยชะงักงัน พลังประชาชนถูกปราบปรามโดยกลไกรัฐ

         ฉบับที่ 12 (9 พฤศจิกายน 2520) เป็นกระบวนการที่กลุ่มผู้นำฝ่ายทหารพยายามสืบทอดอำนาจการปกครองโดยการปิดกั้นกระบวนการประชาธิปไตยให้ค่อย ๆ ชะลอตัวลง

         ฉบับที่ 13 (22 ธันวาคม 2521) เป็นกระบวนการที่ประนีประนอมระหว่างกลุ่มอำนาจฝ่ายทหารและพลเรือน โดยใช้อำนาจการปกครองร่วมกันภายใต้ระบอบกึ่งประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการ

         ฉบับที่ 14 (1 มีนาคม 2534) เป็นกระบวนการขัดแย้งทางอำนาจและผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มอำนาจรัฐบาลพลเรือนกับกลุ่มอำนาจทางทหารในกลไกกองทัพ

         ฉบับที่ 15 (9 ธันวาคม 2534) เป็นกระบวนการสืบทอดอำนาจของผู้นำทหารในกองทัพโดยถ่ายโอนอำนาจการปกครองไปให้กลไกพรรคการเมืองเป็นฝ่ายรองรับความชอบธรรม

         ฉบับที่ 16 (11 ตุลาคม 2540) เป็นกระบวนการปฏิรูปการเมืองตามความเรียกร้องต้องการของขบวนการประชาธิปไตยในภาคประชาชน ซึ่งมุ่งจำกัดควบคุมตรวจสอบอำนาจรัฐและขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน

[แก้ไข] 6.อำนาจผู้ปกครองกับสิทธิเสรีภาพประชาชนในรัฐธรรมนูญไทย
         ฉบับที่ 1 (27 มิถุนายน 2475) เน้นอำนาจผู้ปกครองโดยเฉพาะคณะราษฎรและสภาผู้แทนราษฎร ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยแต่ไม่มีการรับรองสิทธิเสรีภาพประชาชน

        ฉบับที่2 (10 ธันวาคม 2475) เน้นอำนาจผู้ปกครองแต่รัฐบาลโดยคณะราษฎรเริ่มผ่อนคลายอำนาจการปกครองไปสู่พระมหากษัตริย์และรัฐสภามากขึ้น พร้อมกับเริ่มขยายสิทธิของประชาชนตามคุณวุฒิทางการศึกษา

         ฉบับที่ 3 (10 พฤษภาคม 2489) เน้นเปิดช่องอำนาจการปกครองให้ผู้นำฝ่ายพลเรือน สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนมุ่งใช้เป็นเครื่องมือช่วงชิงอำนาจของผู้นำฝ่ายพลเรือน

         ฉบับที่ 4 (9 พฤศจิกายน 2490) เน้นการเพิ่มพูนอำนาจให้แก่ผู้ปกครองฝ่ายทหารและข้าราชการ มุ่งลิดรอนสิทธิทางการเมืองของประชาชน

         ฉบับที่ 5 (23 มีนาคม 2492) เน้นอำนาจผู้ปกครองที่ตัวผู้นำและการถ่ายเทอำนาจให้โน้มเอียงไปทางรัฐสภาด้วย สิทธิของประชาชนยังไม่มีอุปกรณ์เกื้อกูลให้ยกระดับขึ้นได้

         ฉบับที่ 6 (8 มีนาคม 2495) เน้นการสืบทอดอำนาจของผู้ปกครองที่เป็นผู้นำทหาร สิทธิของประชาชนถูกจำกัดให้มีและใช้เพื่อรองรับการเข้าสู่อำนาจของผู้ปกครอง

         ฉบับที่ 7 (28 มกราคม 2502) เน้นอำนาจเบ็ดเสร็จของผู้ปกครองโดยเฉพาะตัวผู้นำรัฐบาล สิทธิของประชาชนถูกปิดกั้นโดยสิ้นเชิง

         ฉบับที่ 8 (20 มิถุนายน 2511) เน้นอำนาจสูงสุดของคณะรัฐบาลเหนือรัฐสภาและการเพิ่มพูนอำนาจผู้ปกครองโดยฐานสมาชิกแต่งตั้งอีกชั้นหนึ่งด้วย สิทธิทางการเมืองของประชาชนมีเพียงรูปแบบแต่ไร้อำนาจที่แท้จริง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคานอำนาจรัฐบาลและสมาชิกแต่งตั้งไม่ได้

         ฉบับที่ 9 (15 ธันวาคม 2515) เน้นอำนาจเด็ดขาดของผู้ปกครองสิทธิประชาชนถูกปิดกั้น

         ฉบับที่ 10 (7 ตุลาคม 2517) เน้นการจำกัดอำนาจของผู้ปกครองและส่งเสริมสิทธิของประชาชน

         ฉบับที่ 11 (22 ตุลาคม 2519) เน้นส่งเสริมอำนาจเบ็ดเสร็จของผู้ปกครอง โดยกำหนดระยะเวลาให้มีการผ่อนคลายเป็นขั้นตอน สิทธิประชาชนถูกลิดรอน

         ฉบับที่ 12 (9 พฤศจิกายน 2520) เน้นความมั่นคงแข็งแกร่งของอำนาจฝ่ายปกครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกลิดรอน

         ฉบับที่ 13 (22 ธันวาคม 2521) เน้นการขยายตัวของอำนาจฝ่ายปกครองให้มีพื้นที่รองรับทั้งทหาร ข้าราชการ และพรรคการเมือง สิทธิทางการเมืองของประชาชนยังขาดอุปกรณ์เกื้อกูล

         ฉบับที่ 14 (1 มีนาคม 2534) เน้นอำนาจเด็ดขาดของผู้ปกครองสิทธิประชาชนถูกลิดรอน

         ฉบับที่ 15 (9 ธันวาคม 2534) เน้นอำนาจปกครองของฝ่ายพรรคการเมืองโดยสงวนตำแหน่งผู้นำไว้ให้ผู้นำฝ่ายทหาร สิทธิประชาชนยังขาดอุปกรณ์เกื้อกูล

         ฉบับที่ 16 (11 ตุลาคม 2540) เน้นการปฏิรูปประชาธิปไตยทางการเมืองโดยมุ่งจำกัด ควบคุมตรวจสอบอำนาจรัฐและการขยายขอบเขตของสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการรับรองสิทธิความเป็นคน สิทธิความเป็นพลเมือง และสิทธิความเสมอภาค

[แก้ไข] 7.ผู้ปกครองจากกองทัพ – ระบบราชการกับผู้ปกครองจากพรรคการเมืองในรัฐธรรมนูญไทย 

ภาพ:ตาราง5.jpg

[แก้ไข] 8.ประชาธิปไตย เผด็จการ และกึ่งประชาธิปไตยกับรัฐธรรมนูญไทย

ภาพ:ตาราง6.jpg

ภาพ:ตาราง7.jpg

[แก้ไข] 9.การเข้าสู่อำนาจและการพ้นจากอำนาจของผู้ปกครองกับรัฐธรรมนูญไทย

ภาพ:ตาราง10.jpg

[แก้ไข] 10.รูปแบบของรัฐสภากับรัฐธรรมนูญไทย

ภาพ:ตาราง11.jpg

ภาพ:ตาราง12.jpg

[แก้ไข] 11.จำนวนรัฐบาลและกลุ่มอำนาจในรัฐบาลกับรัฐธรรมนูญไทย

ภาพ:131313.jpg

[แก้ไข] 12.พรรคการเมือง การเลือกตั้ง และรัฐประหารกับรัฐธรรมนูญไทย

ภาพ:ตาราง14.jpg

[แก้ไข] 13.แบบชั่วคราว และแบบถาวรกับรัฐธรรมนูญไทย

ภาพ:ตาราง15.jpg

[แก้ไข] 14.กำลังบังคับและความตกลงยินยอมกับที่มาของรัฐธรรมนูญไทย

ภาพ:ตาราง16.jpg 
[แก้ไข] 15.อัตตลักษณ์ที่น่ารู้เกี่ยวกับพัฒนาการความเป็น“กติกาแห่งกฎ” ของรัฐธรรมนูญกับปัญหา
พื้นฐานของการใช้กฎในระบบนิติรัฐของไทย

รัฐธรรมนูญไทยเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญไทยมีหลายฉบับ อีกทั้งเปลี่ยนแปลงเร็วในแง่เวลา และเปลี่ยนแปลงมากในแง่เนื้อหาสาระด้วย
รัฐธรรมนูญไทยมีอายุใช้งานนานสุด 13 ปี 5 เดือน และเร็วสุด 5 เดือน 13 วัน
รัฐธรรมนูญไทยมีอายุใช้งานเฉลี่ยฉบับละ 4 ปี
รัฐธรรมนูญไทยมีทั้งฉบับชั่วคราว และฉบับถาวร โดยที่ฉบับชั่วคราวสามารถมีอายุใช้งานได้นานถึง 9 ปี 4 เดือน 22 วัน ขณะที่ฉบับถาวรบางฉบับมีอายุเพียง 1 ปี
รัฐธรรมนูญไทu3618 ยมีถึง 3 ระบอบ คือ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เผด็จการและกึ่งประชาธิปไตย โดยรัฐธรรมนูญเผด็จการมีอายุใช้งานรวมมากที่สุดถึง 36 ปี 3 เดือน 9 วัน
รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่เอื้อต่อการเข้าสู่อำนาจและการสืบทอดอำนาจของผู้ปกครอง โดยอาศัยกำลังบังคับซึ่งเป็นวิถีทางของการใช้ความรุนแรง
รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่เน้นส่งเสริมอำนาจของผู้ปกครองมากกว่าการรับรองและประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน
รัฐธรรมนูญไทยทั้ง 16 ฉบับ มีที่มาจากการใช้กำลังบังคับ 8 ฉบับ และจากความตกลงยินยอม 8 ฉบับ
รัฐธรรมนูญไทยมีที่มาจากผู้ปกครองเกือบทั้งสิ้น
รัฐธรรมนูญไทยมีบทบัญญัติมากที่สุด 336 มาตรา และน้อยที่สุด 20 มาตรา
รัฐธรรมนูญไทยมีที่มาเริ่มแรกจากการสถาปนาระบอบการปกครองใหม่
รัฐธรรมนูญไทยทั้งเริ่มแรกและส่วนใหญ่มาจากการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจของผู้ปกครอง
รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดจุดเริ่มต้นหรือจุดเปลี่ยนของการสร้างวิวัฒนาการใหม่ในทางการเมืองการปกครอง
รัฐธรรมนูญไทยที่ผ่านมาจะลิดรอนสิทธิของประชาชนมากกว่าส่งเสริมและเป็นอุปกรณ์เกื้อกูลสิทธิของประชาชน
รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่ยังขาดความเป็นกฎหมายสูงสุด
รัฐธรรมนูญไทยมีเนื้อหาสาระและเจตนารมณ์โน้มเอียงไปทางหลักรัฐธรรมนูญนิยมแต่ในทางปฏิบัติมักนำไปใช้ไม่สอดคล้องสนองตอบต่อหลักการของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญไทยมักจะอิงกับหลักการสิทธิ ประชาชนเกิดขึ้นมาทีหลังรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญไทยมีแนวโน้มอิงหลักปฏิบัติได้หรือเน้นปฏิบัตินิยมมากกว่าหลักความสมบูรณ์แบบหรือเน้นอุดมคตินิยม
รัฐธรรมนูญไทยอยู่ใต้กระแสการเมืองมากกว่าการเป็นปัจจัยอุปกรณ์ในการกำหนดวิวัฒนาการทางการเมือง หรือเป็นกระจกสะท้อนการเมืองมากกว่าเป็นกลไกกำกับควบคุมการเมือง
รัฐธรรมนูญไทยให้ความสำคัญกับสิทธิในการแข่งขันเข้ากุมอำนาจของผู้ปกครองมากกว่าสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจ
รัฐธรรมนูญไทยให้ความสำคัญการใช้อำนาจเพื่อการปกครองของผู้ปกครองมากกว่าการประกันสิทธิอำนาจของประชาชนในฐานะผู้ควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครอง
รัฐธรรมนูญไทยมุ่งตอบสนองเจตนารมณ์ของผู้ปกครองมากกว่ามุ่งบรรลุเจตจำนงของประชาชน
รัฐธรรมนูญไทยมีฐานะเป็นเครื่องมือของผู้ปกครองมากกว่าฐานะของกฎหมายและการเป็นองค์ประกอบร่วมของระบบการเมือง
รัฐธรรมนูญไทยส่วนน้อยที่รับรองให้มีพรรคการเมือง ส่วนใหญ่ไม่รับรองให้มี16
รัฐธรรมนูญไทยมีภาพลักษณ์เหมือนเป็นพินัยกรรมอำนาจของชนชั้นนำทางการเมือง
รัฐธรรมนูญไทย (ฉบับปัจจุบัน) เน้นการปฏิรูปการเมืองในรูปแบบและทิศทางที่ก้าวหน้ากว่าในอดีตมาก
รัฐธรรมนูญไทย (ฉบับปัจจุบัน) ก่อให้เกิดจุดเปลี่ยนในการสร้างวิวัฒนาการใหม่ทางการเมืองการปกครองโดยสร้างระบบการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของประชาชน (strong participation)ในระบอบประชาธิปไตยแบบส่วนร่วม(participatory democracy) ซึ่งเห็นได้จากผลสัมฤทธิ์ของการมีส่วนร่วมทางการเมือง (political efficacy) ในภาคพลเมืองที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
รัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันยังคงเผชิญอยู่กับภาวะวิกฤติความชอบธรรมในชั้นของการสร้างความเป็นสถาบัน (institutionalization) ของโครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองการปกครอง(fundamental structure) อยู่อีกต่อไป ได้แก่ วิกฤติความชอบธรรมในการสร้างความเป็นสถาบันของ
การจัดระเบียบองค์กรอำนาจทางการเมืองการปกครอง
การสร้างความเห็นพ้องในระบอบการเมืองการปกครอง
การสร้างความศักดิ์สิทธิ์ในสภาพบังคับของรัฐธรรมนูญ
การสร้างผลึกของระบบกฎหมายและการปกครองโดยกฎหมาย
การสร้างกฎเหล็กของระบบนิติรัฐ และ
การสร้างอุดมการณ์ของลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม
        ซึ่งปัจจัยปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะสร้างความเปราะบางแกว่งไกวของระบบการเมืองไทยไปพร้อม ๆ กับความไร้เสถียรภาพของรัฐธรรมนูญเอง อันเป็นบททดสอบถึงสภาวะทวิลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐธรรมนูญกับการเมือง ตามกรอบความสัมพันธ์ที่ว่าแท้ที่จริงแล้ว รัฐธรรมนูญเป็นเพียงกระจกสะท้อนภาพของการเมือง ตามคำกล่าวที่ว่า“การเมืองเป็นเช่นไร – รัฐธรรมนูญก็พึงเป็นไปเช่นนั้น” หรือแท้ที่จริงแล้ว รัฐธรรมนูญเป็นกลไกกำกับควบคุมการเมืองตามคำกล่าวที่ว่า “รัฐธรรมนูญเป็นเช่นไร – การเมืองก็พึงเป็นไปเช่นนั้น” หรือไม่ ซึ่ง ปริศนาสำคัญของกรอบความสัมพันธ์ดังกล่าวก็คือมีข้อสงสัยว่าประสบการณ์จากการใช้รัฐธรรมนูญของ ไทยทั้ง 16 ฉบับ ที่ผ่านมานั้น เรากำลังใช้รัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมือง หรือใช้การเมืองปฏิรูปรัฐธรรมนูญ หากสังคมไทยยังไม่สามารถคลี่คลายปัญหาพื้นฐานเหล่านี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้เสียก่อน ก็จะดูเหมือนว่าเรายังเดินย้ำรอยเดิมอยู่ในวังวนของการใช้รัฐธรรมนูญกันอย่างสิ้นเปลือง หลายฉบับโดยที่เรายังไม่ได้มีการเริ่มต้นในการสร้างกติกาพื้นฐานของการใช้กฎหรือการใช้รัฐธรรมนูญหรือการสร้างกติกาแห่งกฎ (The rule of rule) ขึ้นมายึดถือรวมกันได้เสียก่อนเลย ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการเอาไข่มาบริโภคเป็นอาหารกันโดยที่ยังไม่รู้ว่าจะเลี้ยงไก่ให้ออกไข่ที่มีคุณค่าของทางโภชนาการได้อย่างไรเช่นเดียวกันกับการเอารัฐธรรมนูญมาใช้เป็นกฎหมายแต่ยังไม่ได้สร้างกติกาในการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้เหมือนกับการ “ใช้กฎโดยที่ยังไม่มีกติกา” กล่าวอีกนัยก็คือ “รัฐธรรมนูญมีความเป็นกฎหมายสูงสุด แต่ไม่มีความเป็นสถาบันทางการเมือง” นั่นเอง ซึ่งเป็นผลให้“รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายได้แต่เป็นกติกาทางการเมืองไม่ได้” ทำให้รัฐธรรมนูญขาดสถานะสำคัญของความเป็นสถาบันทางการเมือง หากเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไปเรื่อย ๆ วัฒนธรรมการแก้กฎก็จะเข้ามาแทนที่การแก้คน เข้า ทำนอง “กฎเท่านั้นที่ผิด คนไม่มีวันผิด” ไม่ต่างจากการปกครองโดยคนแทนการปกครองโดยกฎหมาย รัฐธรรมนูญก็จะกลายเป็นแพะรับบาปอยู่ต่อไป จนไม่มีใครรู้สึกตระหนักในความเคารพศรัทธาและการ หวงแหนปกป้องรัฐธรรมนูญเลย รัฐธรรมนูญก็จะขาดความหมายไร้คุณค่าไปในที่สุด

         30) รัฐธรรมนูญไทยหากจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ควรให้ความสำคัญกับวิธีการใน การเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ทัดเทียมกับการให้ความสำคัญกับเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญด้วย เพราะ รัฐธรรมนูญเป็นกติกาสูงสุดทางการเมืองการปกครองที่จำเป็นต้องอาศัยความเห็นพ้องของคนส่วนใหญ่ เป็นรากฐานสำคัญ การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญไทยในอดีตมักละเลยถึงวิธีการในการจัดทำจึงเป็นการได้มา ซึ่งรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ผ่านการมีส่วนร่วมในการแสดงเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ ไม่ได้ตั้งอยู่บน ฐานรองรับของการใช้เหตุผล ความต้องการ เป้าหมาย คุณธรรมและผลประโยชน์ของคนหมู่มากที่ แท้จริง รัฐธรรมนูญจึงไม่มีเจ้าภาพหลักของคนหมู่มากที่จะเข้ามามีความเป็นเจ้าของร่วมกัน

         31) รัฐธรรมนูญไทยในอนาคตควรให้ความสำคัญกับการสร้างความสามารถในการทำหน้าที่พื้นฐาน คือ สามารถใช้เป็นกลไกในการบังคับใช้เพื่อกำกับควบคุมระบบการเมืองได้ และการสร้างความสามารถในการu3607 ทำประโยชน์พื้นฐาน คือ สามารถใช้เป็นกลไกในการบังคับใช้เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาและผลักดันการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายได้ บทเรียนจากประสบการณ์ของการใช้รัฐธรรมนูญในอดีตล้วนสะท้อนให้เห็นปัญหาร่วมอยู่ใน 2 ด้าน ดังกล่าวเป็นสำคัญ กล่าวคือ ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นประชาธิปไตย เผด็จการ หรือกึ่งเผด็จการ – กึ่งประชาธิปไตยก็ตาม ต่างก็ประสบ ปัญหาเดียวกันคือ

รัฐธรรมนูญทำหน้าที่พื้นฐานในการควบคุมระบบการเมืองไม่ได้ และ
รัฐธรรมนูญทำประโยชน์พื้นฐานในการผลักดันการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศไม่ได้ เข้าทำนองปัญหาหนีเสือปะจระเข้ คือ รัฐธรรมนูญแบบไหนก็ใช้ไม่ได้ หากหวังจะสร้างรัฐธรรมนูญที่ดีเลิศขึ้นมาใช้
ก็จะเจอปัญหาว่าทำหน้าที่พื้นฐานไม่ได้เพราะเอาไปใช้บังคับในการกำกับควบคุมการเมืองไม่ได้ ในทางกลับกันหากหวังจะสร้างรัฐธรรมนูญที่ไม่หวังจะให้ดีเลิศเพียงแต่หวังว่าจะพอปฏิบัติได้ขึ้นมาใช้ ก็จะเจอ ปัญหาว่าทำประโยชน์พื้นฐานไม่ได้ เพราะแม้จะเอาไปใช้บังคับตามความต้องการทางการเมืองได้ แต่ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรตามมา เนื่องจากผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศไม่ได้

         32) รัฐธรรมนูญไทยในอนาคต ควรดำเนินจุดหมายให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้รัฐธรรมนูญสามารถสร้างกลไกอัตโนมัติขึ้นมาใช้ในการปรับแก้และรักษาตัวเองให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนได้ในทุกสภาวะการณ์ทางการเมือง ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ

         (1) การสร้างกติการ่วมของสังคมในการมีและใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนยอมรับอำนาจบังคับในความเป็นกฎหมายสูงสุดและความเป็นกฎหมายพื้นฐานทางการเมืองการปกครองของรัฐธรรมนูญเสียก่อน

         (2) การสร้างความเชื่อถือร่วมของสังคมในการมีและใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนมีความเคารพศรัทธา หวงแหนและปกป้องรักษาความมั่นคงมีเสถียรภาพของรัฐธรรมนูญเสียก่อน

         (3)การสร้างสำนึกร่วมของสังคมในการมีและใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนยึดถือแก่นสาระสำคัญที่การทำหน้าที่และการส่งประโยชน์ของรัฐธรรมนูญว่าเป็นสาระสำคัญแทนการยึดถือแต่รายละเอียดของรัฐธรรมนูญเสียก่อน

         (4) การสร้างวัฒนธรรมร่วมของสังคมในการมีและใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนเห็นแก่กฎมากกว่าเห็นแก่คน เห็นว่าการแก้ไขพฤติกรรมของคนจำเป็นกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

         (5) การสร้างความเป็นเจ้าของร่วมของสังคมในการมีและใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนตระหนักในความจำเป็นของการสร้างรากฐานความเห็นพ้องของคนหมู่มาก ตระหนักถึงความจำเป็นในการเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนวิธีของการจัดทำรัฐธรรมนูญเท่า ๆ กับเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้รัฐธรรมนูญสะท้อนถึงเจตนารมณ์ทั่วไปของคนส่วนใหญ่ได้มากขึ้น และจะส่งผลเกื้อกูลให้รัฐธรรมนูญ มีความสอดคล้องกับพื้นฐานความต้องการ เหตุผล ผลประโยชน์ คุณธรรม และเป้าหมายของคนหมู่มากได้อย่างแท้จริงด้วย

         33) รัฐธรรมนูญไทยในอนาคตควรได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายเสมือนเป็นทรัพย์สินกลางของแผ่นดินร่วมกันของคนทั้งประเทศและอุดมการณ์สูงสุดของรัฐธรรมนูญ ควรบรรลุถึงเป้าหมายบั้นปลายที่การสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่คนจำนวนมากที่สุด (The Greatest Utilities forthe Greatest Numbers) ได้อย่างแท้จริง

         34) รัฐธรรมนูญไทยในอนาคตควรน้อมนำเอาพระปฐมบรมราชโองการของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงตรัสไว้ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” มาใช้เป็นหลักยึดในการกำหนดเจตนารมณ์เป้าหมายของรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วนสมบูรณ์ คือ

         (1) มีองค์ประกอบของมรรค(means) ที่มีธรรม(justice) เป็นเครื่องกำกับควบคุมอยู่ และ

         (2)มีองค์ประกอบของผล(end) ที่มีประโยชน์ของประชาชน(people interests) เป็นเครื่องมือกำหนดจุดหมายปลายทางอยู่โดยที่ตั้งอยู่บนฐานของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ความยุติธรรมและความชอบธรรม สามารถเอื้ออำนวยต่อการสร้างประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง

         35) รัฐธรรมนูญไทยในอนาคตควรกำหนดเป้าหมายหลักที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของประเทศให้ชัดเจนโดยการบูรณาการเป้าหมายย่อยของภาคส่วนต่างๆให้เกิดดุลยภาพร่วมกันทั้งเป้าหมายของรัฐเป้าหมายของสังคม เป้าหมายของการเมืองการปกครอง เป้าหมายของเศรษฐกิจเป้าหมายของวัฒนธรรม เป้าหมายของประชาสังคม และเป้าหมายของความสัมพันธ์กับต่างประเทศ จากนั้นจึงวางเค้าโครงของหน้าที่และบทบัญญัติให้สอดคล้องกับเป้าหมายสูงสุดที่เป็นเป้าหมายหลักและเป้ารองของภาคส่วนต่างๆ กล่าวคือ ต้องมีการจัดองค์ประกอบให้มีความเป็นเอกภาพร่วมกันระหว่างส่วน ที่เป็นเป้าหมาย ส่วนที่เป็นเค้าโครง และส่วนที่เป็นบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เช่น การกำหนดเป้าหมายของหลักประเทศและเป้าหมายย่อยของแต่ละภาคส่วนขึ้นก่อนเป็นลำดับแรก แล้วจึงนำเอาเป้าหมาย เหล่านี้มากำหนดเป็นเค้าโครงหรือโครงสร้างและหน้าที่ ที่สัมพันธ์กันอย่างสอดคล้องไม่ขัดกันแต่ให้เป็นอุปกรณ์เกื้อกูลซึ่งกันสามารถบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดของประเทศร่วมกันเสียก่อน จากนั้นจึงจะวาง บทบัญญัติขึ้นมารองรับในภายหลัง ซึ่งจะทำให้รัฐธรรมนูญใหม่มีสถานะเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีพลังที่เข้มแข็งและหวังผลทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างแท้จริง สมกับ หลักปรัชญาของรัฐธรรมนูญที่ต้องสามารถทำหน้าที่พื้นฐานที่สำคัญได้ คือ การเป็นสถาบันหลักทางการเมืองและเป็นกฎหมายแม่บทในการขับเคลื่อนพัฒนาการใหม่ให้แก่ประเทศและประชาชนได้อย่างมี พลวัตสามารถกำกับการควบคุมวิถีครรลองของการเมืองการปกครองและกำกับการคุ้มครองวิถีชีวิตของประชาชนพลเมืองและสามารถบรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ของทุกภาคส่วนอย่างมีดุลยภาพซึ่งจะส่งผล ทางอ้อมให้รัฐธรรมนูญใหม่ได้รับการพิทักษ์ปกป้องจากทุกภาคส่วนอย่างมั่นคงมีเสถียรภาพเพราะรัฐธรรมนูญเป็นเสมือนเบ้าหลอมใหญ่ในการอำนวยผลประโยชน์ร่วมของทุกฝ่ายให้อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งเป็นการสมานความแตกต่างของแต่ละภาคส่วนให้มีจุดร่วมเดียวกัน อันนำไปสู่สังคมสมานฉันท์ที่แท้จริงได้ สังคมนิติรัฐของไทยจะสามารถหยั่งรากวัฒนธรรมการปกครองโดยกฎหมาย ให้มีความยั่งยืนต่อไปได้ใน ระยะยาว


--------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ศาลรัฐธรรมนูญ
เชาวนะ ไตรมาศ

ประเภทของหน้า: บทความกฎหมาย