พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
04/12/2007
ที่มา: 
ซีเอ็ดดอทเน็ต คุณ พิริยะ ตระกูลสว่าง

 พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ที่ ๒๘ มีพระนามเดิมว่า “ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ “

สารบัญ

[ซ่อนสารบัญ]

[แก้ไข]
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ภาพ:กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์1.JPG

[แก้ไข] พระประสูติกาล

ภาพ:กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์2.JPG

        กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๓ เวลา ๑๕.๕๗ น. ตรงกับแรม ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ เป็นพระลูกยาเธอองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ( วร บุญนาค) สมุหพระกลาโหมในรัชกาลที่ ๕

        พระองค์ทรงมีพระกนิษฐาและพระอนุชา ร่วมพระมารดา ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา ( สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ ) และพระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธุ์ ( ต่อมาได้ดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส - ต้นราชสกุล สุริยง )

         สมรสพระราชทาน รัชกาลที่ ๕ ทรงสู่ขอพระราชธิดาองค์โต - หม่องเจ้าหญิงทิพยสัมพันธุ์ ของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงค์ ในอภิเษกสมรสกับเสด็จในกรมฯ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๓ พระองค์ทรงมีโอรส และพระธิดา ๓ พระองค์คือ

        ๑. มจ. เกียรติ อาภากร ประสูติและสิ้นชีพิตักษัยในวันเดียวกัน

        ๒. (พล.ท. , พล.ร.ท., พล.อ.ท) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา

        ๓. พล.อ.ท. มจ.รังษิยากร อาภากร

[แก้ไข] บรรดาหม่อมของเสด็จในกรม

        ๑.หม่อมกิม

        ๒. หม่อมแฉล้ม

        ๓. หม่อมเมี้ยน

        ๔. หม่อมช้อย

        ๕. หม่อมแจ่ม ( น้องร่วมมารดาเดียวกับหม่อมเมี้ยน)

[แก้ไข] การศึกษาเมื่อทรงพระเยาว์

ภาพ:กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์3.jpg

        ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง สมัยนั้นเป็นสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มจัดการศึกษาในรูป โรงเรียน ทรงเลือกเฟ้นหาครูดีมาถวายพระอักษรแด่พระเจ้าลูกยาเธอทั้งหลาย เช่น พระศรีสุนทรโวหาร, หม่อมเจ้าประภากร ( ต้นราชสกุลมาลากุล ), พระยาอิศรพันธุ์โสภณ ( หนู อิสรางกูร ) พระองค์เจ้าอาภากร ศึกษาวิชาภาษาไทยกับ พระยาอิศรพันธุ์โสภณ ( หนู อิสรางกูร ) และศึกษาวิชาภาษาอังกฤษกับ มิสเตอร์ โรเบิร์ต มอแรนต์ ซึ่งเป็นหลานของฟลอเรนซ์ ไนติงเกิล ทรงเข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนหลวง ณ พระตำหนักสวนกุหลาบจนถึง พิธีโสกันต์ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ( ร.ศ. ๑๑๑ ) พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

คำสอนของพระองค์เตี่ย

"ตอกตะปูลงตรงนะเจ้าเด็ก
เสียงเป๊กตีตรง ลงที่หัว
เมื่อเจ้าตีเหล็กนะเจ้าเด็ก
เจ้าอย่ากลัว ตีเมื่อตัวเหล็กยังแดง
เป็นแสงไฟ เมื่องานมีที่ต้องทำ นะเจ้าเด็ก
เป็นข้อเอกทำจริง ไม่ทิ้งไถล
ที่เขาขึ้นยอดได้ สะบายใจ
ก็เพราะได้ปีนเดิน ขึ้นเนินมา
ถ้าเด็กใดยืนแช อยู่แต่ล่าง
แหงนคว้างมองแล สู่เวหา
จะขึ้นได้อย่างไร นะลูกยา
ทำแต่ท่าแต่ไม่ลอง ทำนองปีน
ถึงหกล้มหกลุก นะลูกแก้ว
อย่างทำแซ่วเสียใจ ไม่ถวิล
ลองเถิดลองอีกนะ อย่าราคิน
ที่สุดสิ้นเจ้าคงสม อารมณ์เอย."

[แก้ไข] การออกจากราชการ

        พระองค์ได้ออกจากราชการเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๕๔ เนื่องจากกรณีที่ถูกคิดว่า พระองค์จะคิดล้มราชบังลังค์ ร. ๖ ซึ่งพระองค์ก็ยิงยอมเพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย ตั้งแต่นั้นพระองค์ก็ศึกษาและเขียนตำรายา จึงได้สมญาว่า "หมอพร" พระองค์ได้เสด็จไปรักษาคนไข้ทั่วไป โดยมีตำรวจสะกดรอยตามไปดูด้วย แต่พระองค์ก็หายตัวทุกครั้งเมื่อรักษาเสร็จ

        แม้การออกจากราชการมิได้ทำให้อำนาจของพระองค์หมดไป เมื่อครั้งพระองค์เสด็จไปตรวจตราปืนที่ป้อมพระจุลฯ พบว่า มีจุดที่ต้องแก้ไขทั้ง ๖กระบอก จึงรับสั่งให้คนดูแลเอากระดาษมา แล้วเขียนบันทึกถึงกรมพระนครสวรรค์ เสนาบดีทหารเรือ กรมพระนครสวรรค์ได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่าเคร่งครัด และทำบันทึกการแก้ไขไว้เพื่อป้องกันการเข้าถึงพระเนตรพระกรรณ์ของ ในหลวง ร. ๖ แล้วเกิดความเดือดร้อนกันเสด็จเตี่ยในภายหลัง

ภาพ:กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์4.JPG

[แก้ไข] กลับเข้ารับราชการ

ภาพ:กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์5.JPG

        ในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กลับเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือ แล้วพระราชทานยศให้เป็นพลเรือโทตามลำดับ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระองค์ได้จับเรือเชลยได้ ๖ ลำ หลังจากนั้นก็ทรงทูลขอที่ดินสร้างฐานทัพเรือสัตหีบ และทรงซื้อเรือรบหลวงพระร่วง ซึ่งพระองค์เดินทางไปรับเรือด้วยพระองค์เอง และขับเรือกลับมายังแผ่นดินสยาม นับเป็นคนไทยคนแรกที่สามารถบังคับเรือได้ไกล

ภาพ:อาทิตย์ดับที่หาดทรายรี.JPG
อาทิตย์ดับที่หาดทรายรี

 

ภาพ:กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์6.JPG

        เสด็จในกรมฯ ทรงรับตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงทหารเรือไม่กี่วัน ได้กราบบังคมลาราชการออกไป เพราะมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ และประชวรโรคภายใน ทางกระทรวงทหารเรือได้ถวายเรือหลวงเจนทะเลเป็นพาหนะ พร้อมนายแพทย์ประจำพระองค์ตามเสด็จไปที่ด้านใต้ปากน้ำเมืองชุมพร ซึ่งเป็นที่ที่พระองค์จองไว้เพื่อทำสวน ขณะประทับอยู่ก็เป็นไข้หวัดใหญ่เนื่องจากตากฝน ประชวรอยู่ได้ ๓ วันก็ชิ้นพระชนม์ที่ตำบลหาดทรายรี ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖ สิริพระชนมายุ ๔๔ พรรษา

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๖

 

ภาพ:ตราประจำพระองค์.JPG
ตราประจำพระองค์ เข้าใจว่า ทรงนำมาจากตราใน
"ธงประจำนายเสือป่าชั้นสัญญาบัตร"
ซึ่งพระองค์ได้รับพระราชทานเมื่อทรงดำรงพระยศเป็น นายหมู่เอก ในกองเสือป่า
เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๓๐ ( พ.ศ. ๒๔๕๔ )


ขอขอบคุณข้อมูลจาก