การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
15/01/2008
ที่มา: 
กรมทรัพย์สินทางปัญญา บทความกฎหมาย

การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
        1. ในปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศคู่ค้าสำคัญหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น

        2. การจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ นี้ จะช่วยขจัดปัญหาอุปสรรคทางการค้า เปิดเสรีการค้าระหว่างกันทั้งด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน รวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ จึงเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน

        3. ในการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ จะครอบคลุมการเจรจาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นเรื่องที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่าจะเจรจาครอบคลุมทรัพย์สินทางปัญญาในทุกเรื่อง เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดเมนเนมและการบังคับใช้กฎหมาย

        4. สำหรับหลักการและแนวทางการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี มีลักษณะดังนี้

         4.1 หลักการเจรจา

         1 เพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนระยะยาวระหว่างกัน

         2 ไม่ใช่การขอหรือให้แต่ฝ่ายเดียว

         3 ให้เกิด win-win situation

         4 อิงหลักการ WTO โดยเฉพาะมาตรา 24 ของ GATT ซึ่งต้องครอบคลุมมูลค่าการค้าให้ได้มากที่สุด (substantial coverage)

        4.2 แนวทางการเจรจา

         1 เปิดครอบคลุมทุกสาขา (comprehensive approach)

         2 ไทยเป็นผู้ยกร่าง text ในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์สำคัญของไทย

         3 คำนึกถึงข้อแตกต่างของกฎระเบียบและแนวปฏิบัติของมลรัฐกับรัฐบาลกลางสหรัฐฯ

        5. ขณะนี้การเจรจารอบแรกมีกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2547 ณ มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกาแก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Sunday, 30 April 2006 )

[แก้ไข] การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาและองค์กรระหว่างประเทศ
        1. สนธิสัญญาและองค์กรที่ไทยเข้าเป็นภาคีแล้ว

         1.1 ภาคีสนธิสัญญาภายใต้องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)

         1 WIPO Convention ตั้งแต่ปี 2532 (1989)

         2 Berne Convention (Literary and Artistic Works) ตั้งแต่ปี 2538 (1995)

         1.2 ภาคีสนธิสัญญาภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)

         1 TRIPS Agreement ตั้งแต่ปี 2538 (1995)

         1.3 สมาชิกขององค์กร/สนธิสัญญาอื่น

         1 APEC ตั้งแต่ปี 2532 (1989)

         2 ASEAN ตั้งแต่ปี 2510 (1967)

        2. สนธิสัญญาด้านทรัพย์สินทางปัญญาอื่นที่ไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี

         2.1 Brussels Convention Relating to the Distribution of Program-Carrying Signals Transmitted by Satellite

         2.2 Convention for the Protection of Producers of Phonograms Against Unauthorized Duplication of Their Phonograms

         2.3 Madrid Agreement for the Repression of False and Deceptive Indications of Source on Goods

         2.4 Nairobi Treaty on the Protection of the Olympic Symbol

         2.5 Paris Convention for the Protection of Industrial Property

         2.6 Patent Law Treaty (PLT)

         2.7 Rome Convention for the Protection of Performers, Producers of Phonograms and Broadcasting Organizations

         2.8 Trademark Law Treaty (TLT)

         2.9 Washington Treaty on Intellectual Property in Respect of Integrated Circuits

         2.10 WIPO Copyright Treaty (WCT)

         2.11 WIPO Performances and Phonograms Treaty (WPPT)

         2.12 Budapest Treaty on the International Recognition of the Deposit of Microorganisms for the Purposes of Patent Procedure

         2.13 Hague Agreement Concerning the International Deposit of Industrial Designs

         2.14 Lisbon Agreement for the Protection of Appellations of Origin and their International Registration

         2.15 Madrid Agreement Concerning the International Registration of Marks

         2.16 Patent Cooperation Treaty (PCT)

         2.17 Locarno Agreement Establishing an International Classification for Industrial Designs

         2.18 Nice Agreement Concerning the International Classification of Goods and Services for the Purposes of the Registration of Marks

         2.19 Strasbourg Agreement Concerning the International Patent Classification

         2.20 Vienna Agreement Establishing an International Classification of the Figurative Elements of Marks

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Sunday, 30 April 2006 )


--------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ประเภทของหน้า: บทความกฎหมาย