วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
04/12/2007
ที่มา: 
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

 

จาก คลังปัญญาไทย, สารานุกรมฟรี

Jump to: navigation, search

ภาพ:154894789.jpg


        ธรณีพิบัติภั หมายถึง ภัยธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยา เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ หลุมยุบ (sinkhole) ดินถล่ม (landslide) หิมะถล่ม ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น

สารบัญ

[ซ่อนสารบัญ]

[แก้ไข] ธรณีพิบัติภัย

        ธรณีพิบัติภัย เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับ lithosphere, hydrosphere และ /หรือ atmosphere ซึ่งสามารถปลดปล่อยพลังงานจำนวนมหาศาลออกมา ซึ่งเมื่อเกิดผลกระทบต่อมนุษย์และทรัพย์สินแล้วเกิดความเสียหาย หรือสูญเสีย ได้แก่ แผ่นดินไหว การกัดกร่อนพังทลายรูปแบบต่างๆ เช่น ดินถล่ม โคลนถล่ม หลุมยุบ หินหล่น ภูเขาไฟระเบิด และ tsunami เป็นต้น

 

ภาพ:11626.jpg

 

[แก้ไข] ประเทศไทยมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย

  • แผ่นดินไหว
  • คลื่นสึนามิ
  • ดินถล่ม
  • หลุมยุบ
  • แผ่นดินทรุด

        กรมทรัพยากรธรณีมีแนวนโยบายอย่างไรในการจัดการเกี่ยวกับธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี เป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเกี่ยวกับเรื่องธรณีพิบัติภัย ซึ่งมีแนวนโยบายดังนี้

  • สำรวจ ศึกษา เกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยงภัย และจัดแบ่งเขตพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณะชน
  • ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับธรณีพิบัติภัย และวิธีการลดความสูญเสีย อบรม จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังภัย ให้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย

 

ภาพ:132154.jpg

 

[แก้ไข] ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยงต่อธรณีพิบัติภัยทั่วประเทศ

        ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีมีข้อมูลในเบื้องต้นเกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัยทั่วประเทศ ในส่วนของพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม พื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว และพื้นที่เสี่ยงภัยหลุมยุบในบางบริเวณ ส่วนธรณีพิบัติภัยด้านอื่นๆ ทางกรมฯ กำลังเร่งดำเนินการสำรวจเพื่อวางแผนการจัดการให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชน

 

[แก้ไข] เหตุการณ์ธรณีพิบัติที่รุนแรงที่สุดในไทย

        ธรณีพิบัติภัยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.47 ที่ผ่านมา ซึ่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน อย่างประเมินค่าไม่ได้ จึงได้จัดการสัมมนาให้เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่อง ธรณีพิบัติภัยแก่กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประชุมทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้รับทราบเกี่ยวกับการเกิดธรณีพิบัติภัย รวมทั้งการหลบหนีซึ่งจะเกิดประโยชน์ในการขยายผล ในการแจ้งให้ประชาชนในพื้นที่ ได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อเกิดธรณีพิบัติภัย

        อย่างไรก็ตาม สำหรับเป้าหมายที่ตั้งไว้จากการสัมมนา และฝึกอบรมให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว ตั้งไว้ที่ 5,000 คน ตอนนี้ทำได้ 4,000 คน ตั้งแต่ภาคธุรกิจ ภาคราชการ ภาคการศึกษา และภาคประชาชน ใน 4 กลุ่มเป้าหมายนี้ซึ่งทำไปได้ 80% และยังหวังว่า 4,000 คน นี้ จะไปขยายต่อ และเมื่อ ครบ 5,000 คน ตามเป้าภายในเดือน กันยายน 2548 จะขยายองค์ความรู้ไปสู่วงกว้างได้มากขึ้น ซึ่งการประชุมในวันนี้จะเน้นไปที่กลุ่ม นักเรียน นักศึกษา ประชาชนในท้องถิ่นเป็นหลัก เพราะกลุ่มนักศึกษา จะสามารถที่จะขยายผลไปยังครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อฝูง ที่อยู่ในพื้นที่ว่าสาเหตุการเกิดธรณีพิบัติภัยเกิดอย่างไร มีวิธีป้องกันแก้ไขอย่างไร และมีวิธีรับแจ้งการเตือนภัย และหลบหนีอย่างไร ที่จะทำให้สามารถเอาชีวิตรอดมาได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- กรมทรัพยากรธรณี

- สงขลาทูเดย์ดอทคอม

- วิกิพีเดีย