วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
03/12/2007
ที่มา: 
รักบ้านเกิดดอทคอม

นครชุม หรือ ชากังราว

โบราณสถานเมืองนครชุม

        รูปทรงและโครงสร้างของเมือง เมืองนครชุมตั้งอยู่บริเวณปากคลองสวนหมาก บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับเมืองกําแพงเพชรเกิด ขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 เพื่อทําหน้าที่เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจควบคุมเส้นทางการค.าของอาณาจักรสุโขทัย ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว่างประมาณ 400 เมตร ยาวประมาณ 2,900 เมตร กําแพงเมืองเป็นคันดิน สามชั้นเช่นเดียวกับเมืองสุโขทัย ในปัจจุบันกําแพงเมืองและโบราณสถานภายในเมืองถูกรื้อทําลายไปจนเกือบหมด จากการสร้างถนน การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย และการปรับพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก

ภาพ:นครชุม1.jpg

        กลางเมืองนครชุมมีพระเจดีย์วัดพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นเจดีย์แบบพม่า พระเจดีย์องค์นี้สมเด็จฯกรมพระยา ดํารงราชานุภาพทรงกล่าวว่า น่าจะเป็นพระมหาธาตุที่พระมหาธรรมราชาลิไททรงสถาปนาในปี พ.ศ.1900 ตามที่ กล.าวไว้ในศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) เจดีย์องค์เดิมเชื่อกันว่าเป็นทรงดอกบัวตูม หรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอนุญาตให้พ่อค้าไม่ชาวพม่าชื่อ พระยาตะก่าซ่อมแซม ปฏิสังขรณ์และก่อใหม่จนเป็นเจดีย์รูปแบบพม่า ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน กลุ่มโบราณสําคัญของเมืองนครชุมที่ยัง ปรากฏร่องรอยในปัจจุบัน ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศใต้ เป็นกลุ่มวัดเขตอรัญญิกของเมือง วัดสําคัญ เช่น วัดเจดีย์ กลางทุ่ง วัดหนองลังกา วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหม่องกาเล เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีโบราณสถานขนาดใหญ่คือ ป้อมทุ่งเศรษฐี ลักษณะป้อมรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเป็นแบบอิทธิพลจากตะวันตก สร้างในสมัยอยุธยา

        โบราณสถานสําคัญของเมืองนครชุม วัดพระบรมธาตุเจดียาราม เป็นวัดอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งตะวันออก กลางเมืองนครชุมมีเจดีย์แบบพม่า อยู่ 1 องค์ ด้านใต้มีพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัยและอยุธยาอยู่หลายองค์ วัดนี้สันนิษฐานว่า เดิมคงเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อย่างศิลปสุโขทัย แต่ปัจจุบันเป็นเจดีย์แบบพม่าเนื่องจากเศรษฐีพม่าผู้หนึ่งได้มา บูรณะไว้เมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว

         วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ ตัววัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกไม่ปรากฏแนว

 

ภาพ:นครชุม2.jpg

         กําแพงวัด แต่มีการขุดคูน้ำโดยรอบเพื่อแสดงขอบเขตวัด ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าอุทกสีมา อันเป็นการจัด ผังวัดที่นิยมกันมากในสมัยสุโขทัย

ภาพ:นครชุม3.jpg

         วัดซุ้มกอ ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศใต้ หรืออยู่เขตอรัญญิกของเมืองนครชุม ไม่ปรากฏแนวกําแพงวัด เดิมคงจะมีคูน้ำล้อมรอบเช่นเดียวกับวัดเจดีย์กลางทุ่ง เจดีย์ประธานเป็นลักษณะเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังฐาน แปดเหลี่ยมส่วนยอดเหนือองค์ระฆังขึ้นไปพังทลายลงหมดแล้วด้านหน้าเจดีย์ประธานมีฐานวิหารขนาดเล็ก 1 หลัง

ภาพ:นครชุม4.jpg

         วัดหนองพิกุล ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศใต้หรือเขตอรัญญิกของเมืองนครชุม แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำโดยรอบทั้ง 4 ด้าน หรือที่เรียกอุทกสีมา สิ่งก่อสร้างสําคัญ ภายในวัดคือ มนฑปรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสซึ่งทําหน้าที่เป็นเจดีย์ประธานตั้งอยู่หลังวิหาร มณฑปก่อฐานสูงประมาณ 1.50 เมตร ก่อผนังหนาทึบทั้งสามด้าน เว้นทางเข้าเฉพาะด้านหน้าด้านเดียว ภายในประดิษฐ์ฐานพระพุทธรูป ปูนปั้นขนาดใหญ่ เครื่องบนหลังคาสันนิษฐานว่าเป็นเครื่องไม่ ใช้กระเบื้องดินเผาแบบตะขอเป็นกระเบื้อง มุงหลังคา ปัจจุบันหักพังลงจนหมดแล้ว


ขอขอบคุณข้อมูลจาก