พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/12/2007
ที่มา: 
พระราชประวัติ พระมหากษัตย์ 9 รัชกาล / ศิวรรณ คุ้มโห

รัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพ:Ram4.jpg

[แก้ไข] พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ เด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17ตุลาคม พ.ศ. 2347 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินี

สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงได้ศึกษาวิชาการด้านต่าง ๆ ในการที่จะเป็นประโยชน์แก่การปกครองในอนาคต วิชาที่ทรงศึกษา ได้แก่ ตำราพิชัยสงคราม การฝึกหัดอาวุธ วิชาคหกรรม วิชาโหราศาสตร์โดยเฉพาะวิชาภาษาต่างประเทศ พระองค์ทรงโปรดศึกษามากเป็นพิเศษ อีกทั้งสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎทรงมีพระทัยสนใจในด้านพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ เมื่อพระชนมายุครบผนวช ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายในพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ. 2367โดยมีองค์สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงได้รับพระฉายาว่า

“วชิรญาณภิกขุ” ทรงประทับ ณ วัดมหาธาตุอยู่นาน 3 วัน แล้วจึงเสด็จไปจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)

หลังจากนั้นอีกเพียง 2 สัปดาห์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมชนกนาถทรงเสด็จสวรรคต แต่มิได้ทรงตรัสมอบพระราชสมบัติให้กับผู้ใด พระบรมวงศานุวงศ์จึงประชุมและลงมติในที่ประชุมว่า ควรอัญเชิญ พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบเทนสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎจึงมิได้ทรงลาผนวช และทรงผนวชอยู่ตลอดรัชกาลที่ 3 ทำให้ทรงมีเวลามากมายในการศึกษาหาความรู้ในวิชาการแขนงต่าง ๆ จนแตกฉาน โดยเฉพาะทรงมีโอกาสได้ศึกษาวิชาภาษาต่างระเทศจากบาทหลวง และมิชชันนารีที่เข้าเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ทำให้สามารถทรงพระอักษรและตรัสภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี และมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวจากต่างประเทศ ซึ่งพระองค์ได้ทรงนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการบริหารประเทศเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ทรงตรัสเวนคืนพระราชสมบัติให้แก่บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชสำนักชั้นผู้ใหญ ว่าจะเห็นควรให้ผู้ใดขึ้นครองราชสมบัติสืบแทนพระองค์ บรรดาข้าราชการและข้าราชสำนักจึงประชุม และมีมติอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ามงกฎขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตรย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ด้วยขณะนั้นพระองค์ยังทรงผนวชอยู่จึงจำเป็นต้องลาผนวชในเวลานั้นเอง

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองสิริราชสมบัติแล้ว ทรงสถาปนาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ขึ้นเป็น “สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดยมีฐานะเทียบเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัครมเหสี พระนามว่า สมเด็จพระเทพศิริน-ทรา บรมราชินี ทรงมีพระนามเดิมว่า รำเพย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 82 พระองค์ โดยประสูติจากพระอัครมเหสี 3 พระองค์ ได้แก่

1.สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5

2.สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล สิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระชนมายุ 10 พรรษา

3.สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ประสูติเมื่อ 13 มกราคม พ.ศ. 2399 เป็นต้นราชสกุล จักรพันธุ์สิ้นพระชนม์เมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 2443

4.สมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ ประสูติเมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 เสด็จทิวงคตเมื่อ13 มิถุนายน พ.ศ. 2470

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2411 เนื่องจากเมื่อทรงเสด็จกลับจากเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทรงประชวรด้วยโรคไข้ป่า และเสด็จสวรรคตเมื่อเสด็จถึงพระบรมมหาราชวัง รวมมีพระชนมายุ 64 พรรษาระยะเวลาที่ทรงครองอยู่ในราชสมบัตินาน 17 ปีเศษ

 

[แก้ไข] พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


[แก้ไข] ด้านพระพุทธศาสนา

ทรงจัดตั้งนิกายใหม่ เรียกว่า “ธรรมยุติกานิกาย” ในปี พ.ศ. 2372 เนื่องด้วยพระองค์ท่านทรงผนวชอยู่เป็นเวลานาน ทั้งทรงแตกฉานเชี่ยวชาญในภาษมคธ บาลีและสันสฤต พระองค์จึงสามารถสอบสวนข้อความต่าง ในพระคัมภีร์พระไตรปิฏกทุกฉบับได้โดยละเอียด ตลอดจนสามารถเรียนรู้และกำหนดจดจำตามพระอรรถกถา ด้วยพระองค์เอง ซึ่งได้ความว่า คลาดเคลื่อนจากพุทธบัญญัติเป็นอันมากเมื่อพระองค์ไต่ถามศึกษาข้อปฏิบัติทรงทราบว่า ศาสนวงศ์นั้นได้หายมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแตกเสียให้แก่พม่าแล้ว จึงไม่มีสิ่งนำมาซึ่งความเลื่อมใส พระองค์จึงได้ค้นหาผู้รู้แนะนำ จนอยู่มาถึงวันหนึ่งก็ทรงทราบข่าวว่ามีพระมอญรูปหนึ่งมีความรู้แตกฉานในพระธรรมในพระธรรมวินัยและพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี ทรงได้มีโอกาสชักถามพระธรรมวินัยกับพระมอญรูปนี้ ท่านสามารถกราบทูลตอบคำถามได้อย่างคล่องแคล่วเป็นที่พอพระราชหฤทัยมากบังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงทรงตั้งพระทัยจะทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยในลัทธิของฝ่ายมอญ แต่เมื่อทรงใคร่ครวญแล้วหาจะมิได้เพราะเมื่อถ้าทรงประพฤติเช่นนั้นแล้วอาจก่อให้เกิดสังฆเภทได้ จึงเข้าไปกราบทูลลาพระสังฆราช ขอกลับวัดสมอรายอีกครั้ง และทรงโปรดให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิด ได้ร่วมกันจัดตั้งนิกายธรรมยุติกาขึ้นในครั้งนั้น ธรรมยุติกานิกายนี้พระสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎได้ทรงอนุเคราะห์สั่งสอนกุลบุตรและผู้มีศรัทธาในข้อวินัยวัตร และสุตตันตะปฏิบัติต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามพระธรรมวินัย จนกุลบุตรเหล่านั้นเกิดความศรัทธาและขอบรรพชาอุปสมบทประพฤติตามธรรมยุตินิกาย นับเป็นมหามหัศจรรย์แห่งพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง บนยอดให้ก่อสร้างพระเจดีย์ บรรจุพระเขี้ยวแก้วและพระบรมสารีริกธาติของพระพุทธเจ้าไว้บนยอด แล้วพระราชทานนามว่า “บรมบรรพต” การสร้างพระบรมบรรพตนั้นได้ค้างมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเสร็จสมบูรณ์

ในปี พ.ศ. 2403 โปรดให้จัดพิธีสมโภชพระสมุทรเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ เป็นเจดีย์ ทรงกลมแบบลังกาแทนพระเจดีย์เหลี่ยมย่อไม้สิบสองที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างค้างไว้ เพื่อสนองพระราชประสงค์จะให้สร้างปูชนียสถานไว้ที่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าเมืองสมุทรปราการเพื่อเป็นนิมิตหมายว่าประเทศสยามนั้นเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา และเพื่อที่บรรดาพุทธศาสนิกชนที่สัญจรผ่านจะได้สักการะเป็นสวัสดิมงคลแก่ตนเอง และยังทรงมีพระกรุณาให้สร้างวัดขึ้นใหม่อีกหลายแห่ง ได้แก่ วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐาราม วัดปทุมวนาราม เป็นต้น

 

[แก้ไข] ด้านการทำนุบำรุงประเทศ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาก เนื่องจากมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศมากขึ้น ทำให้บ้านเมืองในขณะนั้นดูคับแคบไปมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างถนนขึ้นมาอีกหลายสาย เพื่อการคมนาคมภายในประเทศจะได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นแม่กอง พระอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง เป็นนายงานดำเนินการก่อสร้าง ถนนเจริญกรุง ให้เป็นถนนสายหลักสายแรกและในการก่อสร้างครั้งนี้ได้บอกบุญแก่ผู้ที่ศรัทธาประสงค์จะร่วมสร้างสะพานข้ามคลองเชื่อมกับถนนครั้งนี้ด้วย และในปีต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระพรหมบริรักษ์เป็นนายงานจัดสร้างถนนเจริญกรุงต่อจากตอนใต้ เริ่มตั้งแต่หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามไปออกประตูสามยอดสะพานเหล็ก ถนนเจริญกรุงเส้นนี้มีความยาวถึง 25 เส้น 30 วา 3 ศอก กว้าง 4 วา ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 19,700 บาท

ต่อมาพระองค์ท่านโปรดเกล้าฯ ให้บริษัทพระพรหมบริรักษ์เป็นแม่กองจัดสร้างถนนบำรุงเมืองมีระยะทาง 24 เส้น 24 วา 2 ศอก ใช้งบประมาณในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 15,092 บาท และสร้างถนนเฟื่อง-นครขึ้นอีกสายมีความยาว 50 เส้น ใช้เงินงบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 20,042 บาท เมื่อสร้างถนนเสร็จแล้วโปรดเกล้าฯให้สร้างถึงแถวขึ้นสองข้างถนน อุทิศให้เป็นสมบัติของวัดบวรนิเวศน์ฯ 1 แถว และวัดราชประดิษฐฯ อีก 1 แถว

พ.ศ.2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เจ้าภาษีฝิ่นขุดคลองภาษีเจริญ โดยเริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกใหญ่ ริมวัดปากน้ำด่านไปจนจดแม่น้ำเมืองนครชัยศรี เป็นเส้นทางยาว 620 เส้น กว้า 7 วา ลึก 5 ศอก สิ้นเงินงบประมาณเป็นค่าขุดทั้งสิ้น 112,000บาท ซึ่งเป็นเงินที่เรียกเก็บจากภาษีผิ่นทั้งสิ้น

เมื่อครั้งที่ยังทรงผนวชอยู่ได้เสด็จธุดงค์ไปจนถึงเมืองเพชรบุรี ได้ทรงพบที่ราบกว้างบนยอดเขาซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองเพชรบุรีได้เป็นอย่างดีเป็นที่พอพระราชฆฤทัยมาก เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วงบุนนาค) สมุหพระกลาโหม เป็นแม่กองก่อสร้าง และพระพิไสยศรีสวัสดิ์ (ท้วม บุนนาค) ปลักเมืองเพชรบุรี เป็นนายงานก่อสร้าง สร้างพระราชวังขึ้นที่เขามหาสมณะ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเขามหาสวรรค์) พระราชวังแห่งนี้มีพระที่นั่งด้วยกันหลายแห่ง ได้แก่ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาทเป็นปราสาทหลังน้อย ยอดปรางค์สร้างขึ้นด้วยพระราชดำริว่า “พระราชวังใหญ่แต่โบราณมา เช่น พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่เมืองลพบุรี ย่อมมีปราสาท” จึงทรงสร้างปราสาทขึ้นหลังนี้ขึ้นมาพอสังเขป ภายในปราสาทแห่งนี้ปัจจุบันได้ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในชุดฉลองพระองค์ที่มีพระราชดำริขึ้นแบบใหม่และทรงชุดนี้เสด็จออกรับทูตานุทูตมาแล้ว พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาย พระกัตถ์ซ้ายทรงหนังสือประทับยืนภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร หอชัชวาลย์เวียงชัย หอนี้สร้างเป็นรูปวงกลมคล้ายกระโจมไฟ มีบันไดเวียนภายในขึ้นข้างบนหลังคา หลังคาเป็นรูปโดมมุงด้วยกระจกโค้ง ภายในโดมห้องโคมไฟ กลางคืจุดแล้วส่องเห็นไปได้ไกลถึงชายทะเลนักเดินเรือได้อาศัยแสงโคมนี้เป็นประภาคารที่หมายนำเรือเข้าอ่าวบ้านแหลมในเวลากลางคืนราษฎรเรียกว่า “กระโจมแก้ว” เนื่องจากหอชัชวาลย์เวียงชัยมีลักษณะคล้ายหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์จึงสันนิษฐาน กันว่ามีพระราชประสงค์จะใช้เป็นสถานที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ เนื่องทรงสนพระทัยด้านดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ยังมีพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งปราโมทย์มไหศวรรย์ พระที่นั่งสันฐาคารสถานพระที่นั่งพิมานเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งราชธรรมสภา พระที่นั่งเพชรมเหศวร์ และพระที่นั่งจัตุเวทประดิษฐ์พจน์เป็นต้น ทั้งนี้เริ่มลงมือก่อสร้างในปี พ.ศ. 2398 และก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2403 และพระราชทานนามพระราชวังแห่งนี้ว่า “พระนครคีรี” (หรือรู้จักกันดีในนาม เขาวัง) นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระพุทธเจดีย์ และพระธาตุจอมเพชรขึ้นบนยอดเขาแห่งนี้ด้วย

 

[แก้ไข] ด้านการปกครอง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้มีการจัดตั้งตำรวจนครบาลขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หัวแดงแข้งดำ” พร้อมด้วยทรงจัดตั้งศาลสถิตย์ยุติธรรมขึ้น พร้อมด้วยทรงโปรดเกล้าฯ ให้แก้กฎหมายให้ทันสมัยและเป็นสากลมากขึ้น โดยได้ทรงประกาศพระราชบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ มากมายถึง 500 ฉบับ

 

[แก้ไข] ด้านการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจ้างแหม่มแอนนา เลียวโนเว็นส์ หญิงหม้ายชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์เข้าสอนภาษาอังกฤษให้แก่พระราชโอรสในพระบรมมหาราชวัง ด้วยตระหนักว่าต่างชาติเริ่มเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศไทยมากขึ้น จำเป็นที่ต้องเข้าใจภาษาต่าง ประเทศในการติดต่อกับต่างประเทศ

 

[แก้ไข] ด้านดาราศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความเชี่ยวชาญในวิชาโหราศาสตร์และดาราศาสตร์อย่างมากอีกแขนงหนึ่ง ทรงสามารถคำนวณวันเวลาที่จะเกิดสุริยุปราคาล่วงหน้าถึง 2 ปี ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยทรงพยากรณ์การเกิดสุริยุปราคาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน ๑๐ พ.ศ. 1 2411 (วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2411) เวลาตั้งแต่ 10.85 น. ถึง 11.30 น. เป็นสุริยุปราคามืดเต็มดวงตั้งแต่เมืองปราณบุรีลงไปจนถึงเมืองชุมพร และสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ณ บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตามพิกัดภูมิศาสตร์ที่ 99 องศา 40 ลิปดา 20 พิลิปดาตะวันออก เส้นรุ้ง 11 องศา 41 ลิปดา 40 พิลิปดาเหนือจะเห็นดวงจันทร์เข้าจับดวงอาทิตย์จากทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วออกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในเวลา 11.42 นาฬิกา ซึ่งพระองค์ได้เสด็จไปพักแรม ณ-บริเวณดังกล่าวด้วย เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาโดยมีชาวต่างประเทศที่ทราบข่า เช่น เวอร์แฮรี่ ออด เจ้า-เมืองสิงคโปร์ และคณะดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสร่วมโดยเสด็จเพื่อสังเกตการณ์ด้วย และเหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่ทรงคำนวณไว้โดยแม่นยำ ถือว่าทรงเป็นนักดาราศาสตร์ชาวไทยคนแรก โดยประชาชนชาวไทยได้ถวายพระราชสมัญญานามให้พระองค์เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” โดยกำหนดให้วันที่พระองค์ทรงคำนวณการเกิด – สุริยุปราคาเป็นวันวิทยาศาสตร์ประจำชาติด้วย

นอกจากนี้ ในแผ่นดินของพระองค์ได้มิดาวหางปรากฏมาถึง 3 ดวง ด้วยกัน ได้แก่

1. ดาวหางฟลูเกอร์กูส์ (FLAUGERGUES) ค้นพบเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2353 โดยชาวฝรั่งเศลชื่อ ฟลูเกอร์กูส์ ดาวหางดวงนี้มีคาบวงโคจร 3094 ปี เมื่อดาวหางดวงนี้มาปรากฏ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวทรงจำได้ว่าเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์นั้นทรงได้ทอดพระเนตรเห็นดวงหางดวงนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว และได้ทรงศึกษาเรื่องราวของดาวหางดวงนี้จากหนังสือของนักดาราศาสตร์ชาวต่างประเทศ จึงได้มีพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับดาวหางว่า “ดาวหาง………เป็นของโคจรไปมานานหลายปี แล้วก็กลับมาให้เห็นในประเทศข้างนี้อีก กล่าวคือดาวหางกลับมาเป็นรอบ ๆ นั้นเอง”

2. ดาวหางโดนาติ (DONATI) เป็นดาวหางดวงใหญ่ ค้นพบครั้งแรกเมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2401 มีคาบโคจร 1950 ปี ค้นพบโดยชาวอิตาลี ชื่อ โดนาติ และมาปรากฏให้ชาวไทยได้เห็นในปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าประชาชนจะพากันตกในจึงทรงออก “ประกาศดาวหางขึ้นอย่าวิตก” โดยอธิบายว่าดาวหางเป็น ปรากฏการณ์ธรรมชาติเท่านั้น

3. ดาวหางเทบบุท (TEBBUTT) ค้นพบโดยชาวออสเตรเลีย ชื่อ เทบบุท เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2404 มีคาบโคจร 409.4 ปี ดาวหางเทบบุทเป็นดาวหางดวงใหญ่ หางยาวและสว่างกว่าดาวหางโดนาติ และมาปรากฏให้ชาวไทยได้เห็นในปีเดียวกันนั้น ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นกลัวจนกล่าวขานกันว่าอาจเกิดเหตุการณ์อาเพทอย่างใดอย่งหนึ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ “ประกาศดวงหางปีระกาตรีศก” ออกประกาศล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ประชาชนตื่นกลัว พร้อมด้วยทรงแนะนำอุบายต่าง ๆ เพื่อป้องกันเหตุร้ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น หากเกรงว่าปีนั้นจะเกิดความแห้งแล้งก็รีบปลูกข้าวเสียตั้งแต่ต้นฤดูฝน หรือหากตื่นกลัวไข้ทรพิษระบาดก็ให้ – ประชาชนรีบไปรับการปลูกฝี และรักษาความสะอาดของบ้านเมืองที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันเชื้อโรค

ในปี พ.ศ. 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้าง พระที่นั่ง – ภูวดลทัศไนย เพื่อให้เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตราฐานของไทย พระที่นั่งภูวดลทัศไนยเป็นอาคารทรงยุโรปสูง 5 ชั้น ด้านบนติดนาฬิกาใหญ่ทั้ง 4 ด้าน ตั้งอยู่บนเส้นแวงที่ 100 องศา 29 ลิปดา ตะวันออกซึ่งถือว่าเป็น ตำแหน่งทางวิทยาศาสตร์ชุดแรกของไทย ด้วยทรงมีเหตุผลดังที่ปรากฎในประกาศในพระราชกำหนดเวลาดังนี้

[แก้ไข] พระราชกำหนดเรื่องนาฬิกา

มีพระราชกำหนดบังคับไว้เป็นแน่แก่กรมพระโหรหน้าหลังในพระบรมมหาราชวัง ในพระบวรราชวัง และชาวพนักงานรักษานาฬิกาตีทุ่มยามในที่ทุกแห่งให้รู้แน่ในลักษณะที่จะหมุนนาฬิกาผ่อนทุ่มยามให้เป็นไปตามเทศาจารีต และฤดูพระอาทิตย์ที่ยักย้านไปตามสมควรแก่ประเทศนี้ให้พึงรู้ความชี้แจงก่อนว่า แต่เดิมทีคนโบราณในประเทศนี้มีสติที่จะสังเกตุแลปัญญาที่จะรู้เหตุผลในที่จะกำหนดกาลเวลาทุ่มโมงให้เรียบร้อยแน่นอนนั้นยังหยาบนัก รู้จักแต่ความมืดเป็นกลางคืน สว่างเป็นกลางวัน แลว่ากลางคืนก็ 12 ทุ่ม แลกลางวันก็ 12 โมง เท่ากันเป็นนิจ จึงได้ตั้งแบบอย่างเป็นตำรารู้ทั่วกันเป็นอันขาดมาเสียให้ตีกลางคืน 12 ทุ่ม กลางวัง 12 โมง เสมอไปสว่างเมื่อไรจึงย่ำคำ ได้จนวันไรมืดฝนเวลาเย็นก็ด่วนย่ำค่ำเร็วไป มืดฝนเวลาย่ำรุ่งก็สายเกินไป ไม่แน่นอนว่าที่แท้กลางคืนกลางวันไม่เท่ากันทุกฤดูผ่อนไปผ่อนมาอยู่ เพราะพระอาทิตย์เมื่อเวลาเที่ยงจะตั้งตรงศรีษะคนยืนในประเทศนี้เป็นนิจทุกวันก็หามิได้ ย่อมปัดขึ้นเหนือทุกวัน แล้วปัดมาข้างใต้ทุกวันตามฤดูกาลตลอดปี การที่เป็นอย่างนี้ผู้จะสังเกตุให้รู้ก็น้อยตัวนักเป็นแต่สำคัญกันโดยมาก ว่าเวลาเที่ยงแล้วแดดก็ตรงศรีษะคนยืนกลางแจ้งทุกวัน ผู้ที่จะรู้การที่อาทิตย์เที่ยงผันไปเหนือใต้ดังนั้นจะมีอยู่บ้างก็แต่โหรที่เรียนรู้มาสฉายาหรือชาววัดที่มีคติอาจารย์ถือตำราเหยียบชั้นฉันเพลบ้าง หรือชาวบ้านที่มักสังเกตเล็กน้อย สังเกตแดดที่เข้ามาทางหน้าต่างผันไปผันมา หรือเงาเหย้าเรือนเมื่อเวลาเที่ยงไปข้างเหนือมากในฤดูหนาว ร่มไปข้างใต้ในฤดูร้อน ที่ต่อกับฤดูฝนก็ว่ากันอยู่บ้าง ว่าอาทิตย์เที่ยงผันเหนือผันใต้ ถึงกระนั้นก็ไม่มีใครสำคัญตอลดไปว่ากลางคืนกลางวันไม่เท่ากันทุกฤดูดังว่านี้เลย เพราะลงใจเชื่อเป็นหนึ่งว่านาฬิกาตี 12 ทุ่ม 12 โมง อยู่เป็นนิจมิได้ผิดเลย

ฝ่ายชาวนาฬิกาที่ใช้นาฬิกาขันลอยน้ำเฝ้าดูอยู่เป็นนิจนั้นเห็นเข้าใจได้บ้างว่าลางฤดูกลางวันมากไปกลางคืนน้อยลางฤดูทุ่มโมงกลางวันกลางคืนเสมอเท่ากันทุกขัน ถึงกระนั้นจะยักย้ายธรรมเนียมใหม่ คือ ให้เอกกลางวันเป็น 13 โมง 14 โมง กลางคืน เป็น 10 โมง 11 โมง หรือจะย่ำค่ำต่อวันย้ำรุ่งต่อสายตามขณะขันจมเป็นจริงนั้นก็ไม่ได้ ไม่มีใครเชื่อกลับดิเตียนว่านาฬิกาไม่ถูก ชาวนาฬิกาก็ต้องหนุน ล่ม ๆ ผิด ๆ ถูก ๆ ไปจะจัดแจงให้เรียบร้อยเสมอกันก็ไม่ได้ เพราะไม่รู้จักลักษณะพระอาทิตย์โคจรตามฤดูกาลเป็นเที่ยงได้ ไม่มีใครวางกำหนดให้ตามฤดู เพราะฉะนั้นทุ่มโมงหลายแห่งก็ดีไม่ถูกกันผิดกันหลายบาทนาฬิกา แต่คนทั้งปวงในพระนครโดยมาก ก็เชื่อว่าทุ่มโมงในพระบรมมหาราชวังในพระบวรราชวังถูกต้องแน่นอนเป็นนิจ เพราะมีผู้พนักงานผลัดเปลี่ยนกันเฝ้าดูแลตรวจตรา แลมีโหราจารย์ดูแลอยู่ ฝ่ายพนักงานเมื่อจะบอกบาทนาฬิกาตามฤกษ์ยามโหรให้ในกาลใด ๆ เมื่อฤดูต้องหนุน ต้องล่ม ก็คะเนบอกบาทขาด ๆ เกิน ๆ ผิดๆ ไปคงให้ได้แต่ความแต่ว่าโมงละ10 บาท อยู่นั้นเอง ดูการฟั่นฟือนเลื่อนเปื้อนเลอะเทอะนักหนาเป็นที่อัปยศอดสูแก่แขกเมืองคนนอกประเทศที่เขาใช้นาฬิกากล ใส่พกติดตัวเที่ยวมาเที่ยวไป เขาจะได้ยินทุ่งโมงตีสั้น ๆ ยาว ๆ ผิดไปกว่าทุ่มโมงที่จริงนั้น จะเป็นเหตุให้เขาหัวเราะเยาะเย้ยได้ ว่าเมืองเราใช้เครื่องมือนับทุ่มโมง เวลาหยาบคายนักไม่สมควรเลย เพราะเหตุฉะนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพิจารณาตรวจตราคำนวณความดำเนินพระอาทิตย์ในฤดูทั้งปวงสอบกับนาฬิกาที่ดีมาหลายปี ทรงทราบถ้วนถี่ทุกประการแจ้งในพระราชหฤทัยแล้ว (คัดจาก ประกาศรัชกาลที่ 4 ฉบับที่ 306 พ.ศ.2411)

 

[แก้ไข] ด้านประเพณีและวัฒนธรรม

จากการที่พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเข้าใจในความต้องการของประชาชนว่าต้องการที่จะเข้าเฝ้าเพื่อชมพระบารมีอย่างใกล้ชิดและเปิดเผย เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้วจึงยกเลิกพิธีการกีดกันห้ามประชาชนที่เข้าเฝ้าหรือจ้องมองพระเจ้าแผ่นดิน และเลิกบังคับให้ประชาชนปิดประตูหน้าต่างสองข้างทางที่เสด็จพระราชดำเนินผ่าน และโปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนเข้าเฝ้าได้โดยทั่วถึง กับทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ประชาชนถวายฎีการ้องทุกข์กับพระหัตถ์อีกด้วย

นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ชาวต่างประเทศได้เข้าเฝ้าในพระบรมมหาสมาคมเนื่องในงานพระราชพิธีต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกเป็นต้นมา

 

[แก้ไข] ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

เมื่อเริ่มต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่ประเทศมหาอำนาจนิยม ลัทธิการล่าอาณานิคมเป็นอย่างมาก การเข้าล่าประเทศต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่แถบทวีปแอฟริกาและต่อด้วยประเทศในแถบทวีปเอเซีย โดยอาศัยวิธีทางการทูตเข้ามาเจรจาขอทำสัญญา ซึ่งประเทศมหาอำนาจเหล่านี้จะได้รับผลประโยชน์มากมาย และถ้าหากประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าไม่ยอมทำตามสัญญาประเทศมหาอำนาจเหล่านั้นก็จะใช้กำลังบังคับให้ยอมปฏิบัติตาม ซึ่งก็กระทำสำเร็จมาแล้วหลายประเทศทั้งในแถบเอเซียและแอฟริกาใต้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประมาณสถานการณ์และกำลังของประเทศได้อย่างถูกต้อง จึงทรงยอมผ่อนปรณติดต่อกับประเทศตะวันตก และทรงใช้นโยบายทางการทูตยอมเสียสละผลประโยชน์ส่วนน้อย เพื่อรักษาเอกราชของประเทศโดยทรงยินยอมทำสนธิสัญญากับประเทศตะวันตกเหล่านั้น

ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย โดยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระบรมราชินี แห่งประเทศอังกฤษได้ส่งราชทูต ชื่อ เซอร์ จอห์น บาวริ่ง นำพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาขอเจริญทางพระราชไมตรีด้วย ในปี พ.ศ. 2398 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงต้อนรับคณะราชฑูตจากอังกฤษอย่างสมเกียรติสนธิสัญญาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระนามกับประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2398 หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า สนธิสัญญาบาวริ่ง

ต่อมาไม่นานนัก สหรัฐอเมริกาในสมัยนายพลแจ็คสัน เป็นประธานาธิบดี ได้ส่งนายเทาน์เซนต์ฮาริส เข้ามาขอทำสนธิสัญญาการค้าตามอย่างอังกฤษ ซึ่งไทยก็ยินยอมทำตามโดยดี นอกจากนี้ไทยยังทำสนธสัญญาในทำนองเดียวกันนี้กับประเทศฝรั่งเศล โปรตุเกส เยอรมนี อิตาลี และประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย เช่น เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สวีเดนและนอร์เวย์ อย่างไรก็ดี การที่ไทยได้ทำสนธิสัญญากับต่างประเทศนั้นก็เกิดข้อดีกับประเทศไทยอยู่บ้างกล่าวคือ

1. ทำให้ประเทศไทยรักษาความเป็นเอกราอยู่ได้ตลอดมา

2. การยกเลิกระบบการค้าแบบผูกขาดมาเป็นการค้าแบบเสรีทำให้เศรษฐกิจของประเทศรุ่งเรืองไปอย่างรวดเร็ว

3. การติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ทำให้ไทยมีโอกาสได้รับวิทยาการที่ทันสมัยเข้ามาเพื่อพัฒนาปรับปรุงประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น

นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงส่งคณะทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ เป็นการตอบแทนเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2400 ในรัชสมัยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระบรมราชินี โดยมี พระยาสรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นราชทูต เจ้าหมื่นสรรเพชรภักดี (เพ็ง เพ็ญกุล) เป็นอุปทูต

ในปี พ.ศ. 2403 ไทยก็ได้ทำการส่งคณะทูตอีกชุดหนึ่งไปยังฝรั่งเศส โดยมีพระยาศรีพิพัฒน์เป็นราชฑูต เจ้าหมื่นไวยวรนารถเป็นอุปทูต อัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปถวายแต่พระเจ้านโปเลียนที่ 3

 

[แก้ไข] การเปลี่ยนชื่อประเทศ

ในปีพ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นว่า ควรเปลี่ยนชื่อประเทศจากชื่อเดิม กรุงศรีอยุธยา เป็นสยาม เนื่องจากรุงศรีอยุธยาเป็นชื่อของราชธานีเดิม เมื่อเปลี่ยนที่ตั้งราชธานีแล้ว ควรมีการเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อเป็นการแสดงให้รู้ว่ามีการย้ายเมืองหลวงมาในสถานที่ใหม่แล้ว และในเวลานั้นมีต่างประเทศเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีหลายประเทศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงประกาศชื่อประเทศขึ้นใหม่มีนามว่าสยาม

 

[แก้ไข] การออกราชกิจจานุเบกษา

ด้วยทรงมีพระราชประสงค์ในการที่จะประกาศข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้กับราษฎรได้รับรู้ข่าวสารด่าง ๆ จากหน่วยราชการ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาขึ้น และจัดสร้างโรงพิมพ์อักษรพิมพ์การพิมพ์อักษรพิมพ์การขึ้นในพระบรมมหาราชวัง หนังสือราชกิจจานุเบกษา พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2400 เนื้อความในหนังสือราชกิจจานุเบกษานั้นส่วนหนึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และส่วนหนึ่งเป็นข่าวสารต่าง ๆ ของทางราชการ หนังสือราชกิจจานุเบกษาพิมพ์อยู่ได้เพียงปีเศษก็ต้องหยุดไป เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกรณียกิจมากขึ้น ไม่มีเวลาในการพระราชนิพนธ์งาน

 

[แก้ไข] พระสยามเทวาธิราช

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงมีพระราชดำริในว่า ประเทศสยามได้รอดพ้นจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกือบจะสูญเสียบ้านเมืองมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็รอดพ้นมาได้ด้วยดี น่าจะเป็นด้วยเทวานุภาพแห่งเทพยาดาคุ้มครอง จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้าง พระสยามเทวาธิราช เป็นพระหล่อด้วยทองคำทั้งองค์สูง 8 นิ้ว องค์พระสยามเทวาธิราชได้ประดิษฐานอยู่ในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์มีจารึกที่ผนังเรือนแก้วเป็นอักษรจีนแปลความได้ว่า “ที่สถิตย์แห่งพระสยามเทวาธิราช”

 

[แก้ไข] บทสรุป


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ด้วยทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างมากในการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะทางด้านดารา ศาสตร์และโหราศาสตร์ นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองหลายประการ เป็นต้นว่า ทรงทำนุบำรุงบ้านเมือง สร้างถนนขึ้นมาใหม่หลายสาย เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนเฟื่องนคร เป็นต้น ทางด้าน พระพุทธศาสนาทรงริเริ่มให้มีการจัดตั้งนิกายใหม่ ชื่อว่า “ ธรรมยุติกานิกาย” รวมถึงสร้างและ ปฏิสังขรณ์วัดขึ้นมาใหม่ เช่น วัดสระเกศ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างภูเขาทอง พระปฐมเจดีย์ วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐารามเป็นต้น ด้านวิทยาศาสตร์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงพิมพ์เพื่อจัดพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา สร้างโรงกษาปณ์ เพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้แทนเงินพดด้วง

แต่ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในด้านนี้ ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้น ณ บริเวณด้านหน้าของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม


แหล่งอ้างอิง