พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/12/2007
ที่มา: 
พระราชประวัติ พระมหากษัตย์ 9 รัชกาล / ศิวรรณ คุ้มโห

รัชกาลที่ 8

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ภาพ:Ram8.jpg

[แก้ไข] พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนีพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่องทรงพระราชสมภพ ทรงมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เมื่อพระชนมายุได้ 3 เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมราชชนกไปต่างประเทศจนกระทั่งอายุได้ 3 พรรษา จึงได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทย และทรงเข้าประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกนาถทิวงคต ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้เสด็จกลับยุ โรปเพื่อศึกษาต่อในชั้นประถม ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


โดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาลงวันที่ มีนาคม พ.ศ. 2477 ทรงสละราชสมบัติแต่บัดนี้เป็นต้นมา และสภาผู้แทนราษฎรได้รับทราบแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (10 ธันวาคม 2475) มาตรา 9 ว่าด้วยการสืบราชสมบัติท่านว่าให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 และประกอบด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสิทธิ์ที่จะทรงสมมติเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์องค์ที่1 ในลำดับพระราชสันตติดังได้แถลงไว้ในมาตราที่ 9 แห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467

สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2477 แสดงความเห็นชอบในการที่จะอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชสมบัติต่อไปตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม มาตรา 8 และ คณะรัฐมนตรีได้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลโดยทางโทรเลข ให้ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันและเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ

จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ขึ้นครองราชย์ สืบสันตติวงศ์ ตั้งแต่วันและเวลานี้เป็นต้นไป

ประกาศมา ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2477

(ลงนาม)

นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

นายกรัฐมนตรี


จากประกาศ จึงได้ทรงขึ้นครองราชสมบัติ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 แต่ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งได้แก่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจา-ตุรนต์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา และเจ้าพระยายมราช ทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ

ในระหว่างนี้ได้ทรงย้ายไปศึกษาในโรงเรียน นูแวล เดอลา ซืออีส โรมองค์ และยังคงมีพระอาจารย์ถวายอักษรไทย ณ พระตำหนังที่ประทับอยู่ ในครั้งนี้นอกจากจะศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ของพระมหากษัตริย์แล้ว ยังทรงศึกษาภาษาต่างประเทศอีกถึง 4 ภาษี คือ ภาษาฝรั่งเศล อังกฤษ เยอรมนี และสเปน ยิ่งไปกว่านั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงส่งเสริมให้โปรดการกีฬา อาทิ ว่ายน้ำ ฮ็อกกี้ สกี สเกตน้ำแข็ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัอานันทมหิดล การสะสมแสตมป์และรูปเรือรบ ทั้งยังโปรดศึกษาหาความรู้ในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่ทรงปล่อยเวลาว่างให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้ทรงเป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไปที่ได้มีโอกาสพบเห็น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 13 พรรษาการเสด็จนิวัตครั้งนี้โดยทางเรือชื่อ มีโอเนีย พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอและสมเด็จพระอนุชา ซึ่งเมื่อเสด็จถึงปีนัง ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์สเตรทเอคโคดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า

“ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่จะได้เดินทางกลับสู่ประเทศอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า และในอันที่จะได้เห็นประชาราษฎร์ของข้าพเจ้าเอง”

ตลอดระยะเวลา 2 เดือน ที่ทรงเสด็จประทับอยู่ในเมืองไทย ได้ทรงออกเยี่ยมราษฎร์ในที่ต่าง ๆหลายแห่ง เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด จากนั้นได้ทรงเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอรแลนด์

หลังจากเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยครั้งแรกแล้ว ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานการณ์ของโลกอยู่ในขั้นวิกฤต การคมนาคมติดต่อระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศขัดข้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจึงมิได้เสด็จนิวัติกลับสู่ประเทศไทยอีกเป็นเวลานาน เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ และเหลือเวลาอีกประมาณอีก 3 ปี ก็ทรงได้รับปริญญาเอก ก็ได้เสด็จนิวัติกลับประเทศไทยอีกครั้ง โดยเสด็จถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ 2488 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว

ในการเสด็จนิวัตเมืองไทยครั้งนี้ เดิมทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่ในเมืองไทยเพียง 1 เดือนจากนั้นจะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอรแลนด์ เพื่อให้ทันการเปิดภาคเรียนใหม่ในกลางเดือนมกราคมแต่เนื่องจากทรงมีพระราชกรณียกิจในฐานะประมุขของประเทศมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นของชาติและพสกนิกร ทำให้ทรงเลื่อนเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ออกไปเป็นวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2498

พระราชภารกิจของพระองค์เริ่มตั้งแต่ ทรงเสด็จออกรับการตรวจพลสวนสนามของฝ่ายพันธมิตรในประเทศไทยพร้อมด้วยลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน แม่ทัพใหญ่ของอังกฤษ อันเป็นผลให้ภาพพจน์และฐานะของประเทศที่ยอมรับแก่ประเทศทางตะวันตกที่เป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งก่อนหน้านี้ฐานะของประเทศไทยไม่ค่อสู้ดีนักเนื่องจากในระหว่างสงครามโลก ประเทศต้องอยู่ในภาวะจำยอมที่จะต้องให้ความร่วมมือแก่กองทัพญี่ปุ่น ซึ่งเป็นฝ่ายอักษะ ทำให้เมื่อสงครามสงบแล้ว มีประเทศพันธมิตรหลายชาติไม่พอใจและถือโอกาสข่มขู่ไทย

อีกพระราชกิจหนึ่งที่มีความสำคัญ คือการพระราชทานพระราชวินิจฉัยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่รัฐสภาได้ร่างขึ้น พร้อมกับได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และได้ทรงพระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ให้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศในวันเสด็จเปิดสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง จีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจที่อยูข้างฝ่ายชนะสงครามทำให้ชาวจีนบ้างกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยทำการเรียกร้องสิทธิบางประการจากรัฐบาลไทย ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างชาวไทยกับชาวจีน จนถึงขั้นก่อความไม่สงบและมีการรุมทำร้ายร่างกายคนไทยที่เรียกว่า “เสี๊ยพะ” อยู่เนื่องๆเหตุการณ์นี้ได้ทวีความรุนแรงและขยายพื้นที่อย่างกว้างขวางออกไปมากขึ้นจนเกือบจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง เมื่อความบาดหมางระหว่างชาวไทยและชาวจีนนี้ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ทรงหาวิธีแก้ไขด้วยพระองค์เอง โดยทรงตระหนักว่าถ้าเสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนท้องถิ่นชาวจีนที่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมจะสามารถประสานรอยร้าวที่มีอยู่ ให้สนิทแน่นแฟ้นขึ้นได้ จึงทรงกำหนดการเสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระจ้าน้องยาเธอ ข่าวการเด็จสำเพ็งครี้งนี้เป็นข่าวใหญ่ที่สร้างความตื่นเต้นยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่พ่อค้าชาวจีนและพ่อค้าอินเดียที่อาศัยอยู่แถบนั้น เพราะเป็นครั้งแรกที่มีพระมหากษัตริย์เสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการ การเสด็จเยี่ยมเยียนครั้งนี้ทรงใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมง เพราะมีชาวจีนมาเฝ้าทูละอองธุลีพระบาทมากมายและการรับเสด็จก็เป็นไปอย่างมโหฬารด้วยความจงรักภักดีและเคารพบูชาอย่างสูง ตลอดระยะทางที่เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทไม่น้อยกว่า 3 กิโลเมตร ทรงไต่ถามทุกข์สุขและการทำมาหากินของผู้ที่เฝ้ารับเสด็จด้วยพระอิริยาบถและพระพักตร์ที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตากรุณาเป็นที่ประทับใจอย่างยิ่งแก่ผู้รับเสด็จ จนเกิดความรู้สึกว่าทั้งชาวไทยและชาวจีนต่างก็เป็นประชาชนที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล ซึ่งนับตั้งแต่บัดนั้นมาความร้าวฉานและความบาดหมางต่าง ๆ ระหว่างชาวไทยและชาวจีนก็หมดสิ้นไป ปัญหาซึ่งกำลังจะกลายเป็นความยุ่งยากทางการเมืองเป็นอันยุติลงได้ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในการเสด็จประพาสสำเพ็งครั้งนี้

 

[แก้ไข] พระราชกรณียกิจที่สำคัญในระหว่างการเสด็จนิวัตประเทศครั้งที่ 2

โดยสรุปพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ดังต่อไปนี้

  • วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานพระอัฐและพระบรมอัฐสมเด็จบุรพมหากษัตริยาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
  • วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2488 พระราชทานกระแสพระราชดำรัสทางวิทยุกระจายเสียงแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ ดังมีพระราชดำรัสบางสวนดังนี้

“ในเวลาที่ข้าพเจ้าเล่าเรียนอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้าพเจ้ามีความคิดถึงท่านอยู่เสมอ จึงได้พยายามเล่าเรียนให้ดีที่สุดที่จะทำได้ เพื่อมาอยู่ร่วมมือกับท่านทุกคนในการส่งเสริมความเจริญของบ้านเมืองเรา ท่านทั้งหลายคงเห็นอยู่ว่า แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงไปแล้ว คามทุกข์ยากก็ยังมีอยู่ทั่วไปซึ่งรวมถึงบ้านเมืองไทยที่รักของเราด้วย แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าคนไทยทุกคนถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมืองก้จะผ่านพ้นไปได้ ข้าพเจ้าจึงขอร้องให้ท่านทุกคนได้ช่วยกันทำหน้าที่ของตนโดยแข้งขัน และขอให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกันจริง ๆ เพื่อชาติจะได้ดำรงอยู่ในความวัฒนาการสืบไป……..”

  • วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2488 พระราชทานเลี้ยงน้ำชาแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ณ สวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวัง
  • วันที่ 28-29 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมข้าวไทยกับทีมท่าพระจันทร์
  • วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2488 – วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุสลในวันขึ้นปีใหม่
  • วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมแผนที่ทหารบกฉายพระบรมฉายาลักษณ์
  • วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินวัดเบญจมบพิตร
  • วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามสหประชาชาติ พร้อมด้วยลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน ณ ท้องสนามหลวงและถนนพระราชดำเนิน
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันเทนนิส ณ สโมสรศิษย์เก่าเทพศิรินทร์
  • วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2489 เสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังสวนไกลกังวล
  • วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2489 เสด็จนิวัตกลับพระนคร ทรงเสด็จมนัสการพระปฐมเจดีย์ และเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ทำการรัฐบาลและได้เสด็จสู่บัลลังก์ศาล จ.นครปฐม
  • วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ 2489 เสด็จทอดพระเนตรเรือดำน้ำและเรือปืนศรีอยุธยาต่อมาไม่ทราบวันที่แน่นอน ทรงเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานอุทิศถวายสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาดา ณ วัดราชาธิวาส เสด็จพระราชพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระราชวังโบราณ จ.พระนครศรีอยุธยา
  • วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
  • วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวันที่ระลึกมหาจักรี ทรงสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
  • วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก่ ลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบตเตน
  • วันที่ 22 เมษายน พ.ศ 2489 เสด็จพระราชดำเนินโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสถานเสาวภา
  • วันที่ 23 เมษายน พ.ศ 2489 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์
  • วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2489 ลอร์ด ดินเสิร์น เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
  • วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกองทัพอากาศ
  • วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จประพาสเยี่ยมประชาชน ณ จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานี
  • วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรไทย ฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
  • วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศนายร้อยโททหารมหาดเล็กแด่สมเด็จพระราชอนุชา
  • วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน จ.สมุทรสาคร
  • วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์
  • วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน จ.ฉะเชิงเทรา และเสด็จประทับบัลลังก์ ณ ศาล จ.ฉะเชิงเทรา
  • วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม ร.พัน 1 รอ.
  • วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนเทพศิรินทร์ อันเป็นสถานศึกษาเมื่อครั้งทรงพระเยาว์
  • วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมอู่ทหารเรือและทรงขับเรือยามฝั่ง
  • วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เสด็จประพาสสำเพ็ง
  • วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน ณ สถานีเกษตรกลางบางเขนและได้ทรงหว่านเมล็ดธัญญาหารทงในแปลงงานสาธิตด้วย (เป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จสวรรคต)

 

[แก้ไข] ด้านพระพุทธศาสนา

แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จะทรงเจริญวัยในดินแดนที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็ทรงได้รับการอบรมให้ซาบซึ้งในพระพุทธศาสนาและความเป็นไทย ทรงใฝ่พระทัยและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะตั้งแต่คราวเสด็จนิวัตพระนครครั้งแรก และทรงโปรดที่สนทนาวิสาสะกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรวัดสำคัญ ๆ อยู่เสมอ กับทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสด็จกลับไปศึกษาต่ออีกเพียงปีครึ่ง เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาแล้วทรงมีพระราชกุศลที่จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงโปรดการเสด็จออกไปเยี่ยมเยียนและทอดพระเนตรทุกข์สุขของพสกนิกร ทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง ทุกครั้งที่เสด็จจะทรงโปรดให้ประชาชนเข้าเฝ้าโดยใกล้ชิด และทรงมีพระราชดำรัสถามถึงความเป็นอยู่ การทำมาหากินและปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ของประชาชนเหล่านั้น และเมื่อวันที่จะเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ก็ยิ่งทรงโปรดการเสด็จประพาสเยี่ยมเยียนพสกนิกรในจังหวัดต่าง ๆ มากขึ้น พระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายที่ทรงปฏิบัติ คือทรงหว่านข้าวลงในแปลงนาด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นบำรุงขวัญและเป็นสิริมงคลแก่การทำนาของไทเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมกิจการของชาวเกษตรกรกลางบางเขน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2489

 

[แก้ไข] เหตุการณ์สำคัญ


แม้ว่ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจะมีระยะเวลาสั้น แต่ก็มีเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น ได้แก่

1. เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2482 รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจาก ประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย โดยมีเหตุผลว่า คำว่าสยามมักใช้กันแต่ในวงราชการ และในชาวต่างประเทศ ส่วนคนไทยนั้นนั้นโดยเฉพาะชาวบ้านไม่ค่อยใช้คำว่าสยาม แต่ใช้คำว่าไทย อีกประการหนึ่ง การขนานนามประเทศส่วนมากมักเรียกตามเชื่อชาติของคนเจ้าของประเทศนั้นคนไทยมีเชื้อสายไทย ควรชื่อประเทศให้ตรงกับเชื้อชาติ ต่อมาในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2489 รัฐบาลไทย ซึ่งมีนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีประกาศการใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ อย่างเป็นทางการ โดยที่ชื่อของประเทศไทย ที่นิยมเรียกกันในต่างประเทศว่า SIAM จนแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันมาช้านาน ฉะนั้นจึงให้ใช้ชื่อประเทศในภาษาอังกฤษว่า SIAM รวมถึงชื่อประชาชนและชื่อสัญชาติว่า SIAMESE สำหรับใช้ในภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ให้ใช้ได้โดยอนุโลม ส่วนชื่อในภาษาไทยนั้นให้ใช้ชื่อ ไทย ตามเดิม

2. กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ได้มีประกาศเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2483 ให้ใช้วันที่ 1มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยมีเหตุผลว่าชาติไทยแต่โบราณมา ได้กำหนดวันขึ้นปีใหม่ในเดือนอ้าย ต่อมาคตินิยมแบบพราหมณ์แพร่หลายเข้ามา การกำหนดเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ ประกอบกับประเทศที่เจริญแล้วทางตะวันตกถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ฉะนั้นเพื่อความสะดวกในการติดต่อกับต่างประเทศ จึงเริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

3. การสร้างอนุสาวรีย์ ในรัชกาลนี้ มีการสร้างอนุสาวรีย์ที่สำคัญ คือ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สร้างขึ้นที่กึ่งกลางถนนราชดำเนินกลาง ช่วงที่ถนนดินสอติดต่อกับถนนประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์นี้รัฐบาลได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ได้มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ลักษณะเด่นของอนุสาวรีย์นี้ คือ พานรัฐธรรมนูญตั้งอยู่กลางป้อมอนุสาวรีย์ รอบอนุสาวรีย์มีปีก 4 ด้าน

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นบนถนนประชาธิปัตย์ ตอนถนนพญาไทกับถนนราชวิถีกรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งได้สละชีพเพื่อชาติมีพิธีเปิดวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ 2485 อนุสาวรีย์นี้สร้างเป็นรูปดาบปลายปืน 5 แฉก บานเป็นวงกลมและมีรูปทองแดงเป็นทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจสนาม และพลเรือน เดิมจารึกชื่อผู้ที่เสียชีวิตในการรบในสมรภูมิอินโดจีนจำนวน 59 นาย ในภายหลังได้จารึกชื่อทหารที่เสียชีวิตในสงครามเกาหลีเพิ่มขึ้นด้วย

4. สะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่ชื่อว่า สะพานข้ามแม่น้ำแคว และรถไฟสายมรณะ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นที่ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ขอเดินทัพผ่านประเทศไทยในการทำสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และได้ยกพลขึ้นบกอย่างกะทันหันตามจังหวัดชายทะเลของไทยประเทศไทยจำยอมต้องให้ญี่ปุ่นผ่าน ญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟจากทางสายใต้ที่ชุมทางหนองปลาดุก จ.ราชบุรีผ่าน จ.กาญจนบุรี เพื่อต่อไปยังพม่า เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงยุทธสัมภาระไปพม่าและอินเดีย ในการสร้างทางรถไฟสายนี้ ญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและว่าจ้างกรรมกร สร้างอย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากทางรถไฟจะต้องผ่านเทือกเขาและป่าทึบ อากาศร้อนจัดและหนาวจัดทั้งมีไข้ป่าชุกชุม เชลยศึกและกรรมกรขาดแคลนอาหารและยา เจ็บป่วยล้มตายเป็นจำนวนมากทุกวัน ทางรถไฟเส้นนี้จึงถูกขนานนามว่า ทางรถไฟสายมรณะ

ในการสร้างทางรถไฟสายนี้ ได้สร้างสะพานเพื่อใช้ข้ามแม่น้ำด้วย ชื่อว่า สะพานข้ามแม่น้ำแควสะพานนี้สร้างเสร็จเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. 2486 ต่อมาเมื่อฝ่ายญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยได้ซื้อทางรถไฟสายนี้จากฝ่ายสัมพันธมิตร

และเนื่องจากใกล้กำหนดเวลาเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์ ประกอบกับทรงพระประชวรเกี่ยวกับพระนาภีอาหารไม่ย่อย เนื่องจากทรงเหน็ดเหนื่อยตรากตรำพระวรกายในการปฏิบัติภารกิจ จึงทรงงดเสด็จออกงานต่าง ๆ ตามหมายกำหนดการ จนกระทั่งถึงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาเช้ามีเสียงปืนดังขึ้น มหาดเล็กห้องบรรทมวิ่งเข้าไปดู และเห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดอยู่บนพระที่บรรทม และเสด็จสวรรคตแล้ว ในชั้นแรกรัฐบาลได้แถลงการณ์ถึงสาเหตุที่ทรงสวรรคตว่าเป็นอุปัทวเหตุ แต่ต่อมาได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น จนรัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และผลจากการสอบสวนได้ความว่าการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเกิดการลอบปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 รวมทรงมีพระชนมายุได้ 21 พรรษาและทรงครองอยู่ในราชสมบัติได้ 12 ปี

 

[แก้ไข] งานพระราชพิธีพระบรมศพ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดพระราชพิธีถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ 2493 ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง ประชาชนทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมาถวายพระบรมศพอยางเนืองแน่นและด้วยความเศร้าสลดเป็นอย่างยิ่ง

 

[แก้ไข] บทสรุป


แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จะทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้ไม่นานนักแต่ด้วยน้ำพระทัยที่ทรงห่วงใยในพสกนิกร ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ในขณะที่ทรงนิวัตกลับประเทศไทยนั้นทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการเยี่ยมพสกนิกรของพระองค์ทุกวัน โดยมิทรงได้หยุดพัก จนเกิดอาการประชวรขึ้น และเมื่อเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนในเวลาอันมิควรนั้น นำความเศร้าโศกเสียใจเกิดขึ้นทั่วแผ่นดินเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทรงมีพระอัธยาศัยที่เมตตาต่อประชาชนชาวไทยยิ่งนัก และด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ปวงชนจึงรวมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นมาเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์สถาน ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม


แหล่งอ้างอิง