พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/12/2007
ที่มา: 
พระราชประวัติ พระมหากษัตย์ 9 รัชกาล / ศิวรรณ คุ้มโห

รัชกาลที่ 2

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ภาพ:Ram2.jpg

[แก้ไข] พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ทรงมีพระนามเดิมว่า ฉิม พระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสาคร ในขณะนั้นพระราชบิดายังทรงดำรงพระยศเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ต่อมาพระราชบิดาได้เข้ามารับราชการสนองพระเดชพระคุณในสมเด็จพระเจ้าตากสิน แห่งกรุงธนบุรี จึงได้ย้ายครอบครัวเข้ามาอยู่ ณ บริเวณด้านใต้ของวัดระฆังโฆษิตาราม บ้านเดิมที่อัมพวาจึงว่างลง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้วนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อุทิศที่ดินบริเวณบ้านเดิมนั้น สร้างเป็นวัด ชื่อ วัดอัมพวันเจดิยาร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม พระคุณเจ้าพระราชสมุทรเมธี ได้อุทิศที่ดินบริเวณวัดจำนวน 10 ไร่ ให้กับมูลนิธิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ให้ดำเนินการก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ 2 ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม ในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยมีพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นองค์ประธานมูลนิธิฯ เมื่อพระราชบิดาย้ายเข้ามารับราชการ ทรงได้เข้ารับการศึกษาจากวัดระฆังโฆษิตาราม โดยฝากตัวเป็นศิษย์กับพระวันรัต (ทองอยู่) เมื่อครั้งพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้โดยเสด็จพระราชบิดา ไปราชการสงครามด้วย เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระราชบิดาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ พระนาว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” จึงได้รับการสถาปนาพระยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร เมื่อประชนมายุครบ 22 พรรษา ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และเสด็จไปจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ทรงจำพรรษาอยู่นาน 3 เดือน (1 พรรษา) จึงทรงลาผนวช

ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเลื่อนยศขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อปี พ.ศ. 2349 หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา จึงได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักร ทรงมีพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราช รามาธิบดีศรีสุนทรบรมมหาจักรพรรดิ ราชาธิบดินทร์ ธรณิณทราธิราช วัฒนากาศวราชวงศ์สมุทัยโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ธาดาธิบดีศรีสุวิบูลย์คุณอกนิฐฤทธิราเมศวรหันต์ บรมธรามิกราชาธิเบศร์ โลกเชษฐวิสุทธิรัตนมกุฎ ประเทศคตามหาพุทยางกูรบรมบพิตร” หรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันที่ 7 กันยาน พ.ศ. 2352

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระอัครมเหสีพระนามว่า “สมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี” ทรงพระนามเดิมว่า บุญรอด พระธิดาในพระเจ้าพี่นางเธอสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชโอรสและพระธิดารวม 73 พระองค์ โดยประสูติในพระมเหสี 3 พระองค์ ได้แก่

1. เจ้าฟ้าชายราชกุมาร สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ

2. สมเด็จเจ้าฟ้าชายมงกุฎ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4

3. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑามณี ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาอุปราชาใน รัชกาลที่ 4 และได้ประสูติในเจ้าจอมมารดาเรียม พระสนมเอก 3 พระองค์ ได้แก่

  • 2. พระองค์เจ้าชายป้อม สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
  • 3. พระองค์เจ้าชายหนูดำ สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเสด็จครองราชสมบัติอยู่จน พ.ศ. 2367 รวมครองอยู่ในสิริราชสมบัตินาน 15 ปี ก็ทรงพระประชวรด้วยพิษไข้ มิได้รู้สึกพระองค์จึงไม่ได้ทรงพระราชทานราชสมบัติให้แก่ผู้ใด ทรงพระประชวรด้วยพิษไข้อยู่ 3 วัน ก็เสด็จสวรรคต

 

[แก้ไข] พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

[แก้ไข] การทำนุบำรุงประเทศ

ด้วยในระยะแรกของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พม่ายังคงรุกรานประเทศไทยอย่างต่อเนื่องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองและป้อมปราการต่าง ๆ ขึ้น เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันข้าศึกที่จะยกเข้ามาทางทะเล ที่เมืองสมุทรปราการ และที่เมืองปากลัดโดยทรงมีพระราชบัญชาให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองสร้าง เมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นที่ปากลัด (ปัจจุบัน คือ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ) พร้อมป้อมปีศาจผีสิง ป้อมราหู และป้อมศัตรูพินาศ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้อพยพครอบครัวชาวมอญจากปทุมธานีมาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์ นอกจากนี้ยังทรงให้กรมหมื่นมหาเจษฏาบดินทร์เป็นแม่กองจัดสร้าง ป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราศึก ป้อมปราการ ป้อมกายสิทธิ์ ขึ้นที่เมืองสมุทรปราการ และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ไปคุมงานก่อสร้างป้อมเพชรหึงส์เพิ่มเติม ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ การสร้างเมืองหน้าด่านและป้อมปราการต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย ด้วยการที่จะป้องกันมิให้ข้าศึกเข้ามาถึงพระนครได้โดยง่าย ถือว่าทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล

 

[แก้ไข] ด้านการป้องกันประเทศ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พม่าได้ยกทัพเข้ามาตีไทยหลายครั้งเริ่มตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จเสวยราชย์ได้เพียง 2 เดือน ในขณะนั้นกาตริย์พม่าพระเจ้าปดุงได้แต่งตั้งแม่ทัพพม่า 2 นาย คือ แม่ทัพเรืออะเติ้งหงุ่นยกทัพเรือเข้ามาตีประเทศไทยทางหัวเมืองชายทะเลทางด้านตะวันตก และสามารถตีได้เมืองตะกั่วทุ่งและตะกั่วป่า และได้ล้อมเมืองถลางไว้ก่อนที่กองทัพไทยจะยกลงไปช่วย แต่เมื่อกองทัพไทยได้ยกลงไปช่วยก็สามารถพม่าแตกพ่ายไป ส่วนทางด้านทัพบก พระเจ้าปดุงได้แต่งตั้งแม่ทัพสุเรียงสาระยอ ยกกำลังมาทางบก เพื่อเข้าตีหัวเมืองทางด้านทิศใต้ของไทยและสามารถตีได้เมืองมะลิวัน ระนองและกระบี่ พระบาทสมเด้จพระพุทะเลิศหล้านภาลัยได้ส่งกองทัพและเกิดปะทะกับกองทัพที่ยกลงไปช่วย ทหารพม่าสู้กำลังฝ่ายไทยไม่ได้ก็แตกถอยหนีกลับไป

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2363 พระเจ้าปดุงกษัตริย์ได้เสด็จสวรรคต พระเจ้าจักกายแมงได้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าปดุง ก็คิดจะยกทัพมาตีไทยอีกโดยสมคบกับพระยาไทรบุรี ซึ่งเปลี่ยนใจไปเข้ากับฝ่ายพม่า แต่เมี่อทราบว่าฝ่ายไทยจัดกำลังทัพไปเตรียมรับศึกอย่างแข็งขันตามช่องทางที่พม่ายกเข้ามาพม่าเกิดกลัวว่าจะรบแพ้ไทย จึงยุติไม่ยกทัพเข้ามา พอดีกับพม่าติดการสงครามกับอังกฤษจึงหมดโอกาสที่จะมาตีไทยอีก

 

[แก้ไข] ด้านการปกครอง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงบริหารบ้านเมือง โดยการให้เจ้านายรับหน้าที่ในการบริหารงานราชการในกรมกองต่าง ๆ เท่ากับเป็นการให้เสนาบดีได้มีการปรึกษาข้อราชการก่อนที่จะนำความขึ้นกราบบังคมทูล ทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ผ่อนผันการเข้ารับราชการของพลเมืองชาย เหลือเพียงปีละ 3 เดือน (เข้ารับราชการ 1 เดือน แล้วไปพักประกอบอาชีพส่วนตัวอีก 3 เดือน สลับกันไป) นอกจากนี้ยังทรงรวบรวมพลเมืองให้เป็นปึกแผ่นมีหน่วยราชการสังกัดแน่นอก โดยพระราชทานโอกาสให้ประชาชนสามารถเลือกหน่วยราชการที่สังกัดได้ พระองค์ยังได้ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่มีความรูความสามารถได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ตนถนัด ในรัชกาลนี้จึงปรากฎพระนามและนามข้าราชการที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีกกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช (น้อย ณ นคร) ขุนสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นต้น

และด้วยทรงมีพระราชประสงค์ให้พลเรือนของพระองค์เป็นคนดี มีคุณภาพ จึงได้ทรงออกพระราชบัญญัติ เรื่อง ห้างเลี้ยงไก่ นก ปลากัด ไว้ชนและกัดเพื่อการพนัน กับออกพระราชกำหนดห้าใสุบฝิ่น ขายฝิ่น ซื้อฝิ่น พร้อมทรงกำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน ทำให้ประเทศไทยไม่เกิดสงครามฝิ่นแบบต่างชาติ

ในช่วงที่ทรงขึ้นครองราชสมบัติใหม่ ๆ นั้น สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ กรมขุนกษัตรานุชิต ราชโอรสในพระเจ้าตากสินมหาราชกับพวก ซึ่งได้แก่ เจ้าพระยาพนเทพ บุนนาค) โอรสทั้ง 6 พระองค์ของกรมขุนกษัตรานุชิต รวมทั้งพระราชโอรส กับพระราชธิดาอีกหลายพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คิดกบฎชิงราชสมบัติ ทรงโปรดให้ทำการสอบสวนเมื่อปรากฎว่ามีความผิดจริง จึงรับสั่งให้ประหารชีวิตเสียทั้งหมด

 

[แก้ไข] ด้านการบำรุงพระศาสนา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างศาสนาสถาน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่หลายวัด ได้แก่ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดชัยพฤกษ์มาลา วัดโมฬีโลก วัดหงสาราม และวัดพระพุทธบาทที่สระบุรี ที่สร้างค้างไว้ ตั้งแต่เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม โดยสร้างพระอุโบสถ พระปรางค์ พร้อมทั้งพระวิหารขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพระอารามประจำรัชกาล

ในปี พ.ศ. 2353 ได้ทรงจัดสมณทูตจำนวน 8 รูป ออกไปยังประเทศลังกาเพื่อค้นหาพระไตรปิฏกซึ่งชำรุดเสียหายเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยามาเพิ่มเติมและตรวจสอบกับพระไตรปิฎกฉบับที่มีการสังคายนาใหม่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทะยอดฟ้าจุฬาดลก พร้อมกับดูความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา เม่อคณะสมณฑูตกลัยมาได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งถือกันว่าเป็นเชื้อสายของต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ที่พระพุทธคยาในอินเดียและได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้นำไปปลูกที่เมืองนครศรีธรรมราช 2 ต้น ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม 1 ต้น ที่วัดสระเกศ 1 ต้น และที่เมืองกลันตันอีก 1 ต้น

การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์ในรัชกาลนี้ทรงรุ่งเรืองเป็นอันมาก โดยทรงโปรดให้แก้ไขหลักสูตรจากปริญญาตรี โท เอก มาเป็นเปรียญธรรม 3 ประโยค ถึง 9 ประโยค ทำให้พระภิกษุสามเณร ตลอดจนนักศึกษาที่มีความรู้ภาษาบาลีแตกฉานยิ่งขึ้น กับได้ทรงออกพระราชกำหนดให้พลเมืองทำวิสาขบูชา ห้ามล่าสัตว์ 3 วัน และตั้งโคมแขวนตั้งเครื่องสักการะบูชา รักษาอุโบสถศีล ถวายอาหารบิณฑบาต ทำทาน ปล่อยสัตว์ สดับพระธรรมเทศนาเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน

 

[แก้ไข] ด้านศิลปวัฒนธรรม

ในด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์ นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมเนื่องด้วยภาพที่ทรงแกะสลักนั้น ทั้งสัตว์ต่ างๆเช่น เสือ หมี ช้าง นกและพืชพรรณไม้ ดูเหมือนจะสามารถเคลื่อนไหวได้จริง ๆ ได้ทรงแกะสลักศรีษะหุ่นด้วยไม้สัก 1 คู่ เรียกว่า พระยารักน้อยและพระยารักใหญ่ ในปัจจุบันงานศิลปะทั้ง 2 ชิ้นนี้ เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้ได้ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระประธานวัดอรุณราชวรารามด้วยพระองค์เองอีกด้วย

 

[แก้ไข] ด้านดนตรี

ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การดนตรีทั้งในการสร้งเครื่องดนตรีและการเล่นพระองค์ทรงเชี่ยวชาญในการสีซอสามสาย ได้พระราชทานซอคู่พระหัตถ์ว่า ซอสายฟ้าฟาด และได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลง บุหลันลอยเลื่อน หรือ เรียกว่าเพลงพระสุบินนิมิต ซึ่งเป็นที่ไพเราะและได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

 

[แก้ไข] ด้านวรรณคดี

อาจกล่าวได้ว่า รัชสมัยของพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ละครรำรุ่งเรืองถึงขีดสุด ด้วยพระองค์ทรงกวีเอก ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเล่ม เป็นต้นว่า รามเกียรติ์ ตอนลักสีดา จนถึงวานรถวายพล ตอนพิเภกสวามิภักดิ์ ตอนนางลีดาลุยไฟ ได้ทรงปรับปรุงจากบทความเดิมให้มีความไดเราะเหมาะสำหรับการแสดงดขน และได้ทรงพระราชนิพนบทพากย์โขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย ตอนศึกอินทรชิตหักคอช้างเอราวัณ เป็นบทเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วพบนางพิมพ์ ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง

ส่วนพระราชนิพนธ์ เรื่อง อิเหนา นั้นทรงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีใสโมสรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเป้นยอกของกลอนบทละครรำ ด้วยเป็นเนื้อเรื่องที่ดีทั้งเนื้อความและทำนองกลอน

ส่วนบทละครนอก พระสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาด้วยกัน 1 เรื่อง ได้แก่

1.ไชยเชษฐ์ เป็นเรื่องราวเสียดสีในราชสำนัก

2. สังข์ทอง เค้าเรื่องเกี่ยวกับการเสียดสี่เรื่องราวในพระราชสำนัก

3. มณี

4. ไกรทอง เดิมเป็นนิทานพื้น

5. คาวี มีเนื้อเรื่องเหมือนกับเสือโคคำฉันท์

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเห่เรือ เรื่อง กาพย์เห่เรือขมเครื่องคาวหวาน ซึ่งมีความไพเราะและแปลงใหม่ไม่ซ้ำแบบกวีท่านใด เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 58 ตอน คือเห่ชมเครื่องคาว เห่ชมผลไม้ เห่ชมเครื่องหวาน เห่ครวญเข้ากับนักขัตฤกษ์ และบทเจ้าเซ็นบทเห่นี้เข้าในกันว่าเป็นการชมฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ในเรื่องการทำอาหาร

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ยกย่อง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องด้วยทรงสร้างสรรค์วรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมไว้เป็นมรดกของชาติจำนวนมาก และรวมถึงทรงปกครองบ้านเมืองให้ราษฎรได้อยู่เย็นเป็นสุขอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร

และเนื่องด้วยในรัชกาลนี้ มีช้างเผือกมาสู่พระบารมีถึง 3 เชือก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงมีพระราชดำริให้แก้ไขธงชาติไทยจากที่เคยใช้ธงแดงมาตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้ทำเป็นรูปช้างเผือกอยู่ในวงจักรติดในธงพื้นแดง ซึ่งใช้เป็นธงชาติสืบต่อกันมาจนถึงรัชกาลที่ 6

 

[แก้ไข] ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงดำเนินนโยบายการบริหารประเทศแบบผ่อนสั้นผ่อนยาว เป็นมิตรไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ ทำให้ในรัชสมัยของพรองค์ปราศจากสงครามประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้อย่างสุขสงบ และในรัชสมัยนี้มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้นมีความมั่นคงและเจริญขึ้นเป็นอย่างดี

ในปี พ.ศ. 2352 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาดลกมหาราช ทรงเสด็จสวรรคตพระเจ้าเยียลอง พระเจ้าแผ่นดินญวน ได้ส่งทูตเข้ามาถวายบังคมพระบรมศพ พร้อมกับมีพระราชสาสน์มาขอเมืองพุทไธมาศคืน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเห็นว่าไทยมิได้ส่งทหารไปดูแลเลยจึงทรงตกลงคืนให้ ทำให้สัมพันธภาพกับญวนเป็นไปได้ด้วยดี

สมเด็จพระอุทัยราชาเจ้าเขมร ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงให้การอุปถัมภ์นั้น เกิดผูกใจเจ็บกับไทยตั้งแต่ถูกติเตียนเรื่อง ที่อุกอาจเข้าเฟ้าโดยพลการ จึงมีความคิดที่จะกระด้างกระเดื่องต่อประเทศไทย โดยเริ่มจากการไม่เข้าพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาดลกมหาราชด้วยตนเอง และเมื่อคราวกรุงเทพฯ มีศึกกับพม่าก็ไม่ยอมยกทัพมาช่วยเหลือ แลละสมเด็จพระอุทัยราชาก็หันไปพึ่งอำนาจจากญวนแทน โดยแม้จะส่งเครื่องราชบรรณาการมายังไทย แต่อำนาจของไทยในเขมรก็เสื่อถอยลงตามลำดับเป็นต้นมา

เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาหาราช ได้แสดงความจงรักภักดีตลอดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยด้วยดี โดยช่วยเป็นหูเป็นตาดูแลหัวเมืองของไทยในแถบนั้นจนสิ้นรัชกาลที่ 2

เพื่อให้การติดต่อค้าขายกับประเทศจีนเป็นไปได้โดยสะดวก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงแต่งตั้งทูตอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการ ไปเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าเจี่ยเข่ง พระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์เซ็ง ณ กรุงปักกิ่ง ต่อมาพระเจ้าเจี่ยเข่งสิ้นพระชนม์ ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งราชทูตไทยไปเคารพพระบรมศพ และเจริญพระราชไมตรีต่อพระเจ้าตากวางได้สืบราชสมบัติแทน

โปรตุเกสกับไทยได้เคยมีการติดต่อค้าขายกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อบ้านเมืองเกิดสงครามกับพม่า โปรตุเกสก็พากันออกไปค้าขายที่เมืองอื่น ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2363 พระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกสก็ได้ส่งทูตเข้ามาขอทำสัญญาทางพระราชไมตรี เพื่อความสะดวกในการติดต่อค้าขาย

 

[แก้ไข] มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

เนื่องในมหามงคลสมัยครบรอบ 200 ปีแห่งการเสด็จพระราชสมภพในปี พ.ศ. 2310 มูลนิธิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ขึ้นที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อเป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจุดเด่นของอุทยานแห่งนี้ คือ เรือนไทยภาคกลางขนาดกลาง 5 หลัง เป็นแบบเรือนไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์และหอสมุด เรือนไทยที่เป็นพิพิธภัณฑ์แบบชาติพันธุ์วิทยา แสดงความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เรือนไทยแฝดหลังกลางเป็นเรือนประธานจัดแสดงศิลปวัตถุที่นิยมกันในสมัยนั้น โดยเฉพาะสมัยรัชกาลที่ 2 เช่น เครื่องเบญจรงค์ หัวโขน ตัวหุ่นกระบอกนางผีเสื้อสมุทร เป็นต้น เครื่องใช้ประจำวัน เช่น โม่หินใช้สำหรับโม่แป้ง หินบดยา ขันสาคร เป็นต้น

เรือนต่อไมาได้จัดแสดงตู้หุ่นวรรณคดีตามบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ละตู้มีความสวยงามและประณีต บทละครที่นำมาจัดแสดง ได้แก่ สังข์ทอง ตอนพระสังข์เที่ยวชมปราสาทนางพันธุรัตน์ ในขณะที่นางยักษ์ไม่อยู่ได้พบบ่อเงินบ่อทองจึงลองเอกนิ้วจุ่มดู ตู้บทละครนอก เรื่องมณีพิชัย จัดทำตอน พระอินทร์แปลงนางยอพระกลิ่นให้เป็นพราหมณ์ พระมณีพิชัยต้องตามนางยอพระกลิ่นเข้าไปอยู่ในป่า เพื่อลองในพระสวามี พราหมณ์จึงแปลงร่างเป็นผู้หญิงสาวออกมาเดินให้พระมณีพิชัยเห็น

ส่วนเรือนไทย 2 หลัง ทางปีกขวาจัดเป็นห้องผู้ชายไทย มีเตียงนอน อุปกรณ์เขียนอ่าน พระพุทธรูปบูชา ฉากลายจีน อาวุธ เช่น โล่ เขน เป็นต้น ปีกซ้ายจัดเป็นห้องผู้หญิงไทย มีเตียงนอนเครื่องเย็บปักถักร้อย เครื่องอัดกลีบผ้า คันฉ่อง เป็นต้น ที่ชานเรือนจัดไม้กระถางไม้ดอก อ่างบัว แบบเรือนไทยในเรื่องขุนช้างขุนแผน เรือนไทยอีกหลังหนึ่งจัดเป็นหอสมุด สร้างในน้ำตามแบบหอไตรสมัยโบราณตามวัดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการป้องกันปลวก แมลงและอัศคีภัย และเพื่อให้ความเย็นรักษาหนังสือหอสมุดแห่งนี้ได้รวบรวมหนังสือพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและผลงานของกวีร่วมสมัย เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร นายรินทร์ธิเบศร์ สุนทรภู่ เป็นต้น อุทยานแห่งนี้จึงนับว่าเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมของไทยอย่างยิ่ง

 

[แก้ไข] บทสรุป

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถือว่าเป็นแผ่นดินทองแห่งวรรณกรรมด้วยทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในด้านศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาปัตยกรรม วรรณกรรรม รวมถึงนาฎกรรม ดังจะเห็นได้จากมรดกทางวัฒนธรรมที่พระองค์เป็นผู้สร้างไว้ให้กับอนุชนรุ่นหลัง อุทยานพระบรมราชานุสาวรียืเป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้อย่างชัดเจนที่สุด และในอุทยานพระบรมราชานุสาวรีย์ เป็นที่ตั้งของ พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานอยู่ ณ ที่นั้นด้วย

 


แหล่งอ้างอิง