พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/12/2007
ที่มา: 
พระราชประวัติ พระมหากษัตย์ 9 รัชกาล / ศิวรรณ คุ้มโห

รัชกาลที่ 6

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัว
ภาพ:Ram6.jpg

[แก้ไข] พระราชประวัติ


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ แต่สมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี โปรดเรียกว่า “ลูกโต” ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชบายที่จะส่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอไปศึกษาวิชาการต่างๆ ณ ต่างประเทศ โดยถือพระชนมายุเป็นเกณฑ์ในการเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มีพระชนมายุได้ 12 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ระหว่างที่ประทับอยู่ที่แอสคอตนั้น มีข่าวแจ้งว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิรุณหิศ สยามมงกุฎราชกุมารประชวรและเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2437 พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลพระกรุณาขอสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธกรมขุนเทพทวาราวดี ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร เพื่อรักษาโบราณขัตติยราชประเพณีและเพื่อป้องกันความไม่สงบของแผ่นดิน พระราชอิสริยยศที่ได้รับการ สถาปณานี้ทำให้ฐานะของพระองค์ในสายตาชาวต่างประเทศเปลี่ยนไปจากพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์หนึ่ง เป็นองค์รัชทายาทที่จะสืบทอดราชบัลลังก์กรุงสยามในอนาคต

เมื่อแรกสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าวิคติเรีย แห่งประเทศอังกฤษ ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เข้าเฝ้า ณ พระราชวังวินเซอร์ (Windsor Palace) เพื่อทรงแสดงความยินดีและพระราชทานเลี้ยงพระสุธารส สื่อมวลชนต่างก็ให้ความสนใจเสนอข่าวเกี่ยวกับพระราชจริยวัตรอยุ่เนื่องๆ แต่ก็ไม่ทำให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงหวั่นไหวไปกับพระราชอิสริยยสนี้ พระองค์ยังทรงเป็นเจ้าชายที่ทรงมีความสง่างามแต่อ่อนน้อมอยู่เสมอ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงตระหนักถึงภาระอันยิ่งใหญ่ในอนาคต จึงทรงพระราชอุตสาหะในการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างยิ่ง ทรงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองโดยตลอดเช่น เมื่อทรงว่างจากการเล่าเรียนก็ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการต่างๆ ในประเทศอังกฤษเช่น โรงงานอาวุธยุทธภัณฑ์ หรือเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศฝรั่งเศสและประเทศใกล้เคียง เพื่อทอดพระเนตรความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม ซึ่งอาจจะทรงนำไปใช้ประโยชน์ในประเทศไทยได้ จึงมีโอกาศทอดพระเนตรการแสดงละครชั้นเยี่ยมของโลกซึ่งเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก และทำให้ทรงมีงานอดิเรกอย่างหนึ่ง คือ การทรงพระราชนิพนธ์บทละครประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทละครพูดจนในที่สุดทรงมีความชำนาญและทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะแขนงนี้

แต่ในเรื่องการศึกษาวิชาการที่แท้จริงนั้นทรงมีพระราชประสงค์จะศึกษาวิชาทหารและได้เข้าศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียนนายร้อยแซนเฮิร์สต์ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจากแซนเฮิร์สต์แล้ว ทรงเข้ารับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม ที่นอร์ธแคมป์ ณ ออลเดอร์ชอต ในขณะนั้นได้เกิดสงครามระหว่างอังกฤษกับพวกดัทซ์เรียกว่า “สงครามบัวร์” ในแอฟริกาใต้ สมเด็จพระบรมโอราธิราชฯ ได้ทรงลงพระนามสมัครไปร่วมรบในแนวหน้ากับกรมทหารราบเบาเดอรัมที่ทรงสังกัดอยู่ แต่รัฐบาลอังกฤษไม่ยินยอมด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ดีทรงได้รัยการยกย่องจากชาวอังกฤษทั่วไปว่าทรงมีพระราชอัธยาศัยกล้าหาญ ซื่อตรงต่อหน้าที่และมิตรกองทัพเดียวกัน จากนั้นได้เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนปืนเล็กยาวที่เมืองไฮ้ท์ และทรงได้รับประกาศนียบัตรพิเศษและเหรียญแม่นปืน

ต่อจากนั้นได้เสด็จเข้าศึกษาต่อทางด้านวิชาการด้านพลเรือน ณ ไคร์สเชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดตามหลักสูดรที่ทางมหาวิทยาลัยจัดถวายเป็นพิเศษ สำหรับเจ้านายและขุนนางระหว่างศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฯลฯ ขณะที่ทรงศึกษาได้รับการยกย่องชมเชยจากพระอาจารย์และคณบดีว่า มีพระปรีชาสามารถเฉียบแหลมมาก

เมื่อพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดได้ระหนึ่งคณบดีพาเจตและเรฟเวอเรนส์ ฮัสเซล พระอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยได้ถวายคำแนะนำให้พระราชนิพนธ์หนังสือสักเล่มเพื่อเป็นเกียรติยศที่เข้าศึกษา ณ สถาบันแห่งนี้ และเพื่อทดแทนการที่มิได้ทรงเข้าสอบไล่เพื่อรับปริญญาบัตรตามธรรมเนียมนิยมของเจ้านายที่ทรงรับการศึกษาในศถาบันแห่งนี้ ซึ่งพระบรมโอรสาธิราชทรงเห็นชอบด้วยวิธีเช่นนี้ จึงพระราชนิพนธ์หนังสือประวัติศาสตร์ยุโรป เรื่อง THE War of the Polish Succession ทรงศึกษาอยู่ ณ มหาลัยออกซฟอร์ดอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2440 และเสด็จออกจากกรุงลอนดอนเพื่อนิวัตกลับประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2445

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรด้วยพระโรคทางเดินอาหารขัดข้อง พระกระยาหารผ่านไม่ได้ พระอาการกำเริบในวันต่อ ๆ มาจนเกิดพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทร เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพิมาน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงสิริราชสมบัตินาน 15 ปี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองอยู่ในสิริราชสมบัตินาน 15 ปี ทรงมีพระราชธิดาพระองค์เดียว ที่ประสูติในสมเด็จพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

 

[แก้ไข] พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


[แก้ไข] ด้านการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า การที่จะนำบ้านเมืองไปสู่ความเจริญทัดเทียมกับนานาอารยประเทศได้นั้น การให้การศึกษาแก่พนกนิกรนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนซึ่งจะต้องทรงเร่งทำเป็นประการแรก ดังนั้นจึงได้ทรงพระมหากรุณาสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และได้พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ที่สวนกระจัง ต.สวนดุสิต ให้เป็นที่ตั้งโรงเรียน กับได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงินทุนและค่าใช้จ่ายของโรงเรียน นอกจากนั้นยังจัดตั้งโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้นอีก 2 แห่ง คือ โดรเรียนมหาดเล็กรักษาพระองค์ จ.เชียงใหม่ และโรงเรียนพรานหลวงกับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนโรงเรียนราชวิทยาลัยจากกระทรวงยุติธรรมมารวมเป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย

พระบาทมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงมุ่งจัดการศึกษาให้ประชาชนอ่านออกเขียนได้เท่านั้น แต่ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการให้การศึกษาด้านวิชาชีพด้วย พระองค์จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนพาณิชยกรรม โรงเรียนเพาะช่าง และโรงเรียนการฝึกหัดครูกสิกรรมชั้นประถมขึ้นอีก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา บังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปจนถึง 14 ปี เรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียน นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยมีกฎหมายค้ำประกันความมั่นคงในการจัดการศึกษาระดับนี้

ในด้านการจัดการระดับอุดมศึกษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกิจการการศึกษาของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ในปี พ.ศ. 2458 นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

จึงอาจกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผ้ที่วางรากฐานการศึกษาแผนใหม่ไว้ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา

 

[แก้ไข] ด้านการศาสนา

เพื่อเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนา สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้ทรงเป็นแม่กองชำระคัมภีร์อรรถกถา แล้วทรงบริจาคพระราชทรัพย์ให้จัดพิมพ์อรรถกถาพระวินัยปิฎก อรรถกถาอภิธรรมปิฎก และอรรถกถาพระสุตันตปิฎก บางคัมภีร์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง

ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เจริญพระชนมายุได้ 60 พรรษา ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายด้วยการบริจาคพระราชทรัพย์ให้พิมพ์อรรถกถา พระสุตันตปิฎกจนครสมบูรณ์ แล้วพระราชทานในพระราชอาราจักร 200 ชุด กับพระราชทานนานาประเทศ 400 ชุด เป็นผลให้สะดวกในการศึกษาพระปริยติธรรม เป็นอันมาก

นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับธรรมะไว้เป็นอันมาก ทั้งปาฐกถาเทศนาบทสวดมนต์ บทความสั้น ๆ และโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เช่น พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เทศนาเสือป่าประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรมและธรรมาธรรมะสงคราม เป็นต้น รวมถึงทรงพระราชนิพนธ์แปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทย เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น มงคลสูตร ที่นิยมมาจนถึงทุกวันนี้

ทั้งยังทรงพระกรุณาสั่งสอนธรรมแก่ทหารเสือป่า และลูกเสือด้วยพระองค์เองอย่างสม่ำเสมอ กับได้ทรงริเริ่มก่อตั้งกิจการอนศาสนาจารย์ขึ้นในกองทัพบก เพื่อเป็นที่ปรึกษาแก่บรรดาทหาร

สำหรับการบำรุงศาสนาด้านวัตถุนั้น แม้จะไม่โปรดให้สร้างวัด แต่ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ อยู่ตลอดรัชกาล วันที่สำคัญที่โปรดให้บูรณะได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนฯ วัดบวรนิเวศ วัดมหาธาตุ วัดพระพุทธบาท จ. สระบุรี และวัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐมเป็นต้น นอกจากนั้นบังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแก้วมรกตน้อย และพระนิรโรคันตรายตลอดจนโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระยืนปางห้ามสมุทร และพระราชทานนามใหม่ว่า “พระร่วงโรจนฤทธิศรีอินทราทิตย์ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราช ปูชนียบพิตร” ประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารโถงด้านหน้าองค์พระปฐมเจดีย์

 

[แก้ไข] ด้านเศรษฐกิจ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “คลังออมสิน” ขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนรู้จักการออมทรัพย์ และเพื่อความมั่นคงของเศรษฐกิจโดยส่วนรวม รวมทั้งทรงริเริ่มก่อตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทยขึ้น เป็นกิจการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศในปีเดียวกัน

นอกจากนั้นยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “สภาเผยแพร่พาณิชย์” ขึ้น โดยทรงนำหลักการของ BOARD OF TRADE ของอังกฤษที่มีฐานะเท่าเทียมกับกระทรวงพาณิชย์มาดัดแปลง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือแก่หน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่อุดหนุนและส่งเสริมการพาณิชย์ของประเทศ ตลอดจนให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจและเสนอช่องทางในการลงทุนกิจการใหม่ ๆ

รวมถึงการส่งเสริมการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมไทย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฤดูหาว ณ บริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สนามเสือป่า สวนสราญรมย์และวัดเบญจมบพิตร และได้ทรงเตรียมจัดงานแสดงศิลปหัตถกรรม ผลิตผลทางการเกษตร และอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ ชื่องาน “สยามพิพิธภัณฑ์” เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติ ตลอดจนเผยแพร่ให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจในสินค้าไทย แต่ยังมิทันได้จัดงานก็ทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน อย่างไรก็ตามประชาชนต่างก็ได้ประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่จากการเตรียมงานครั้งนี้ คือได้รับพระราชทาน สวนลุมพินี เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจจนถึงปัจจุบันนี้

 

[แก้ไข] ด้านการคมนาคม

ได้ทรงปรับปรุงและขยายกิจการรถไฟที่มีอยู่เดิม ให้สามารถสนองความร้องการของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟที่เคยแยกเป็น 2 กรมเข้าเป็นกรมเดียวกันเรียกว่า “กรมรถไฟหลวง” การสร้างอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดลอดถ้ำขุนตาลก็เป็นผลสำเร็จในรัชกาลนี้ทางเดินรถไฟระยะยาวต่าง ๆ ก็สำเร็จลงได้ในรัชกาลนี้ เช่น เส้นทางสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทรงเปิดเดินรถด่วนระหว่างประเทศสายใต้ติดต่อกับรถไฟมลายู(มาเลเซีย) ปีนังและสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อทางรถไฟทั้งหมดเข้ามาสู่สถานีศูนย์กลางที่กรุงเทพฯ (หัวลำโพง) การคมนาคมทางอากาศได้เริ่มขนส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทางอากาศเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เส้นทางกรุงเทพฯ-จันทบุรี และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กระทรวงทหารเรือจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขถาวรขึ้นที่ศาลาแดง ในกรุเทพฯ และที่สงขลา รวมทั้งใช้สัญญารับส่งโทรเลขเป็นภาษาไทยในเวลาต่อมา

 

[แก้ไข] ด้านส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาทดลองใช้ในหมู่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการสำนักอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2461 ได้ทรงสร้างเมืองจำลองชื่อ “ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณพระราชวังสวนดุสิต มีพรรคการเมือง รัฐบาล หนังสือพิมพ์รายวัน หนังสือพิมพ์รายปักษ์ ทดลองให้มีการเลือกตั้ง 2 แบบ คือ แบบ คือ แบบเลือกนคราภิบาลโดยตรง กับแบบเลือกตั้งเชษฐบุรุษของอำเภอต่างๆ ก่อน แล้วจึงเลือกตั้งนคราภิบาลจากเชษฐบุรุษเหล่านั้น ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ย้ายไปสร้าง ณ พระราชวังพญาไท และสลายตัวไปเมื่อเสด็จสวรรคต

นอกจากนั้นยังทรงปลูกฝังให้ประชาชนรู้จักใช้เสรีภาพ และการใช้เสรีภาพอย่างมีขอบเขตในระบอบประชาธิปไตยโดยพระราชทานเสรีภาพแก่หนังสือพิมพ์อย่างกว้างขวางในการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ หรือสังคม เป็นสมัยที่หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพยิ่งกว่ายุคใด มีหนังสือพิมพ์ออกรายวัน รายสัปดาห์และรายเดือน ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาจีน รวมถึง 149 ฉบับ

 

[แก้ไข] ด้านการป้องกันประเทศ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นในปี พ.ศ. 2454 โดยมีพระราชประสงค์ให้เจ้านาย ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนทั่วไปมีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมอย่างทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความสงบทั่วไปในเมือง เช่น ช่วยจับกุมผู้ร้าย ช่วยเหลือเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ล้อมวงที่ประทับเมื่อเสด็จไปที่เกิดเกตุที่มีคนพลุกพล่าน ตลอดจนเตรียมพร้อมไว้ป้องกันรักษาดินแดงในคราวที่จำเป็น ทั้งทรงมีพระราชดำริว่านอกจากการฝึกหัดเช่นนั้นจะเป็นการเสริมกำลังกาย และกำลังสติปัญญาของราษฎรให้ใช้ไปในทางที่เป็นประโยชน์ มีวินัย รู้จักเคารพกฎหมาย มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะอีกด้วย เสือป่ามี 2 พวก คือกองเสือป่าหลวง และกองเสือป่ารักษาดินแดน กิจกรรมสำคัญของเสือป่า คือการซ้อมรบ หรือประลองยุทธ์ซึ่งมักกระทำกันในต่างจังหวัด เช่น นครปฐม และราชบุรี โดยทรงเป็นจอมทัพและทรงนำการซ้อมรบด้วยพระองค์เอง

ในปีเดียวกันที่จัดตั้งกองเสือป่า ได้ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง คือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน เพื่อฝึกให้เยาวชนมีคุณสมบัติที่ดี มีความสามัคคี มีความมานะอดทน และเสียสละเพื่อส่วนรวม พร้อมทั้งพระราชทานคติพจน์แก่เสือป่าและลูกเสือไวว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” กิจการลูกเสือนี้ได้ขยายตัวเจริญรุ่งเรืองไปทั่วราชอาณาจักรจนกระทั่งทุกวันนี้ และได้มีวิวัฒนาการเป็นกองอาสารักษาดินแดน ลูกเสือชาวบ้านและเนตรานารี เป็นต้น

 

[แก้ไข] กบฎ ร.ศ. 130

ในปี พ.ศ. 2454 เกิดเหตุการณ์กบฏ ชื่อว่า กบฎ ร.ศ. 130 ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซ้อมรบกับกองทหารเสือป่าที่ จ.นครปฐม กบฏคณะนี้เป็นนายทหารชั้นผู้น้อยประมาณ 100 คน โดยมีจุดประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ความลับรั่วไหลถึงสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ จึงได้ดำเนินการจับกุมไว้ได้ และได้ตั้งศาลพิเศษพิจารณาคดีนี้ ผลของการตัดสินคดี คือ สั่งลงโทษประหารชีวิตนายทหารที่เป็นหัวหน้าก่อการกบฎ 3 นาย จำคุกตลอดชีวิต 20 นาย จำคุก 20 ปี 32 นาย ส่วนที่เหลือให้จำคุก 15 ปี และ 12 ปี ลดหลั่นกันไป

เมื่อตัดสินพิจารณาคดีเสร็จสิ้นลง จึงได้นำความตัดสิน ขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานความเห็นชอบตามที่เสนอทูลเกล้าฯ ถวายไปในตอนแรก เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับทราบ จึงมีพระราชปรารภ ความว่า

“เราไม่ได้มีจิตพยาบาทคาดร้ายแก่พวกนี้ เห็นควรลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินที่จะยกให้ได้”

ด้วยพระราชดำรัสดังนี้ ผู้ก่อการกบฎจึงได้รับการผ่อนโทษ ทำให้ไม่มีผู้ใดต้องโทษประหารชีวิตและในที่สุดทุกคนก็พ้นโทษจำคุกออกมา ในการที่ผู้ก่อการกบฏได้รับพระราชทานลดโทษนั้น ได้มีผู้ก่อการกบฎท่านหนึ่งได้เขียนไว้ว่า

“พระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพวกเรา ซึ่งนับว่าเป้นครั้งที่สำคัญอย่างยิ่งล้นก็คือ ได้พระราชทานชีวิตพวกเราไว้จากคำพิพากษาของกรรมการศาลทหาร โดยเรามิแน่ใจนักว่า หากมิใช่พระราชาพระองค์นี้ทรงเป็นประมุขแล้ว พวกเราจะได้พ้นจากการประหารชีวิตหรือไม่”

ด้วยเหตุการณ์ดังที่กล่าวมานั้น เป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างแน่ชัดที่สุดว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีน้ำพระทัยที่ผู้เป็นใหญ่ควรจะมี คือ ทศพิธราชธรรม

 

[แก้ไข] ด้านความสัมพันธกับต่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2457 ได้เกิดสงครามขึ้นในทวีปยุโรป เยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี บัลแกเรีย และตุรกี ซึ่งเป็นกลุ่มมหาอำนาจกลาง ได้ทำสงครามกับกลุ่มประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรที่ประกอบด้วย ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย เป็นผู้นำ ต่อมาประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมด้วย ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในตอนต้นของสงคราม ประเทศไทยได้ประกาศตนเป็นกลาง แต่ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ด้วยทรงเล็กเห็นประโยชน์ที่จะเกิดกับประเทศ และเพื่อความเยงธรรมของโลกเป็นส่วนรวมได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารอาสาสมัครเข้าร่วมรบในสมรภูมิทวีปยุโรปด้วย

การเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ นับเป็นพระราชวิจารณญาณที่ถูกต้องโดยแท้ เพราะเมื่อทหารฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยในสงคราม ประเทศไทยในฐานะผู้ชนะสงครามจึงมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ขอแก้ไขข้อสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คือ สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ซึ่งลิดรอนเอกราชทางการศาลของไทย และสนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของไทยสำหรับคนและสินค้าต่างด้าว ซึ่งทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบทางการค้าอย่างมาก ในการนี้ ได้ทรงมีพระกรุณาให้ ดร. ฟรานซีส บี แซร์ ชาวอเมริกันซึ่งเป็นที่ปรึกษาราชการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้มีอำนาจเต็มเดินทางไปเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นผลสำเร็จในระหว่างปี พ.ศ. 2476-2469 มีผลให้ไทยได้พ้นจากสภาวะเสียเปรียบจากสัญญาดังกล่าวมา

นอกจากนี้ยังขยายสัมพันธ์ทางการทูต โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีการแลกเปลี่ยนผู้ช่วยทหารเป็นครั้งแรก ทรงให้การรับรองประเทศเกิดใหม่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไทยเข้าเป็นสมาชิตขององค์การหรือสมาคมระหว่างประเทศ เช่น เป็นสมาชิกริเริ่มขององค์การสันนิบาตที่ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2463 เป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์ องค์การอนามัยโลก สภากาชาดไทย และยามใดที่ส่วนต่าง ๆ ของโดยได้รับความเดือนร้อนจากภัยพิบัติ ประเทศไทยก็เข้าร่วมกับนานาชาติ บริจาคเงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เกือบทุกครั้ง

 

[แก้ไข] ด้านการสาธารณสุข

ทรงมีพระราชหฤทัยโปรดศิลปะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะการละคร ตั้งแต่ครั้งยังทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นละครรำแบบไทยและบทละครพูดแม้เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้วก็ตาม ก็ยังทรงแสดงละครอยู่เสมอ เช่น ทรงแสดงเป็นนายมั่นปืนยาวในละครเรื่องพระร่วงและเป็นสังฆราชนิกายโรมันคาทอลิก ในเรื่องกุศโลบาย เป็นต้น

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปะการแสดงของไทย โดยรวมกรมที่เกี่ยวข้องกับการมหรสพทั้งในทางด้านนาฎศิลป์ และดุริยางคศิลป์มาไว้ในกรมที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ เช่น กรมโขน และพิณพาทย์มหาดเล็ก กรมปี่พาทย์หลวง และกองเครื่องเสียงฝรั่งหลวง เป็นต้น และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงละครหลวงไว้ในพระราชฐานทุกแห่ง นอกจากนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนพรานหลวง ในพระราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นสถานศึกษาทางด้านนาฎศิลป์และดนตรีอีกด้วย

 

[แก้ไข] ด้านจิตรกรรม

ทรงส่งเสริมการวาดภาพฝาผนัง เช่น ทรงให้ทดลองเขียนภาพเทพชุมนุมในห้องพระเจ้า ณ พระที่นั่งพิมานในพระราชวังสนามจันทน์ ก่อนที่จะนำไปวาดที่ฝาผนังพระวิหารทิศ วัดพระปฐมเจดีย์ ทั้งยังทรงพระกรุณาให้หาผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศด้านจิตรกรรมและประติมากรรม คือ PROF.C.FEROCI หรือท่านศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเข้าเฝ้า เพื่อส่งเสริมให้ศิลปินไทยได้เรียนรู้ศิลปะสากลขึ้น อันส่งผลต่อการพัฒนาแนวคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะไทยส่วนพระองค์สนพระทัยในการวาดภาพล้อ ทรงวาดภาพล้อไว้หลายชุด แล้วส่งไปพิมพ์ในหนังสือดุสิตสมิต ภาพล้อเหล่านี้ถ้าเป็นภาพล้อผู้ใด ผู้นั้นก็จะซื้อในราคาสูง เงินค่าภาพล้อจะพระราชานไปใช้ในกิจการกุศลทั้งสิ้น

 

[แก้ไข] ด้านสถาปัตยกรรม

พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีจำนวนนับพันและมีทุกประเภทวรรณศิลป์ ได้แก่ โขน ละคร นวนิยาย พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุศาสนีย์ฯ เทศนานิทานบทชวนหัว สารคดี บทความในหนังสือพิมพ์และร้อยกรอง นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษไว้หลายเรื่อง

พระนามแฝงที่ทรงใช้มีอยู่มากมายกว่า 100 นาม เป็นต้นว่า

  • อัศวพาหุ สำหรับบทความที่เกี่ยวกับเรื่องการเมือง
  • รามจิตต สำหรับงานพระราชนิพนธ์แปล
  • พระขรรค์เพชร สำหรับงานพระราชนิพนธ์บทละคร (ก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ)
  • ศรีอยุธยา สำหรับงานพระราชนิพนธ์ประเภทบทละคร (หลังเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ)
  • พันแหลม สำหรับพระราชนิพนธ์ เรื่องที่เกี่ยวกับทหารเรือ
  • นายแก้วนายขวัญ สำหรับพระราชนิพนธ์ ชุด นิทานนายทองอิน
  • นายราม ณ กรุงเทพฯ สำหรับทรงใช้ในฐานะทวยนาครแห่งดุสิตธานี
  • พระรามราชมุนี สำหรับตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดธรรมาธิปไตย ในดุสิตธานี
  • GENERAL MICHAEL D’ AYUTHYA สำหรับตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐใหม่ ที่ทรงทดลองอยู่
  • BROTHER CARLTON สำหรับลายพระราชหัตถเลขาถึงพระสหายในสหรัฐอเมริกา

นอกจากนามแฝงสำหรับพระองค์เอง พระองค์ยังพระราชทานนามแฝงให้กับบุคคลอื่นอีก เช่นนามเข็ม หมกเจ้า ประติสมิต ประเสริฐ ชาญคำนวณ หูผึ่งและโปรเฟซเซอร์ เป็นต้น พระราชนิพนธ์แต่ละเล่มของพระองค์ท่านนอกจากจะให้สาระและความเพลิดเพลินแล้วยังเต็มไปด้วยสุภาษิต ข้อคิดและคำคม เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน รัชสมัยของพระองค์นับเป็นการฟื้นฟูวรรณกรรมทุกประเภทของไทย

งานทางด้านหนังสือพิมพ์ ทรงพระราชนิพนธ์บทความสำคัญ ๆ ลงในหนังสือพิมพ์เช่น “ยิวแห่งบูรพทิศ” ในหนังสือพิมพ์สยามออบเซอร์เวอร์ และ “โคลนติดล้อ” ในหนังสือพิมพ์ไทย จนถึงมีผู้เขียนโต้ตอบให้ชื่อว่า “ล้อติดโคลน” ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯเดลิเมล์ ก็มิได้ทรงพระพิโรธแต่ประการใด แต่นายทหารผู้บังคับบัญชาเกรงว่า การที่นายทหารเรือผู้หนึ่งเขียนโต้แย้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเสนอขอย้ายนายทหารเรือท่านนั้นเสีย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมิได้ขัดข้องที่จะให้ย้ายตามที่เสนอไป และยังทรงพระราชทานสายสะพายปฐมาภรณ์มงกุฎสยาม เป็นของขวัญที่นายทหารเรือท่านนั้นกล้าโต้แย้งพระองค์ นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงใช้หนังสือพิมพ์เป็นสื่อทั้งในด้านข่าวาร แสดงความคิดเห็นและปลุกใจให้รักชาติ

 

[แก้ไข] สิ่งสำคัญที่ทรงริเริ่ม

พ.ศ. 2455 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ “พุทธศักราช” เป็นศักราชในราชการ เพราะทรงมีพระราชดำริว่าการใช้รัตนโกสินทร์ศกไม่สะดวกสำหรับเหตุการณ์ในอดีตก่อนตั้งศักราช

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ประกาศนับเวลาในราชการ โดยทรงกำหนดให้เปลี่ยนวิธีนับเวลาแบบโมงยามมาเป็นนับแบบสากลนิยม คือ แบ่งวันหนึ่งเป็น 24 ภาค แต่ละภาคเรียกว่า นาฬิกา และให้ถือว่าเที่ยงคืนเป็นเวลาเปลี่ยนวันใหม่ 1 เมษายน พ.ศ. 2463 ทรงให้ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้เวลาอัตราสำหรับประเทศไทยทั่วพระราชอาณาจักรเป็น 7 ชั่วโมง ก่อนเวลาที่กรีนิช ประเทศอังกฤษ

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาคำนำหน้านาม พุทธศักราช 2460 กำหนดให้ใช้คำนำหน้านามเด็กและสตรีให้เป็นระเบียบอย่างอารยประเทศ คือ ให้มีคำว่า เด็กชาย เด็กหญิง นาย นาง และนางสาว

ในปี พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ใช้นามสกุล และได้ทรงพระราชทานนามสกุลถึง 6,432 สกุล นามสกุลแรกที่ทรงพระราชทาน คือ สุขุม พระราชทานเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2456

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติศัพท์แทนคำภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ในสมัยนั้น เช่นตำรวจ ธนาคาร โทรเลข โทรศัพท์ บริษัท ราชนาวี จักรยาน บริการ วิทยุ อนุบาล เครื่องบิน ลูกเสือ สหกรณ์ เลขานุการ ห้องสมุด เป็นต้น

รวมถึงชื่อถนนหนทางต่าง ๆ ที่มีชื่อเป็นภาษาต่างประเทศ ทรงพระกรุณาเปลี่ยนชื่อใหม่ เช่น

  • ถนนช้างฮี้นอก 1 ซางฮี้ใน 1 ซางฮี้น่า 1 สามถนนนี้ตั้งแต่ลำน้ำเจ้าพระยาถึงถนนราชปรารภเปลี่นชื่อเป็นถนนราชวิถี
  • ถนนดวงตวันนอก 1 ดวงตวันใน 1 ดวงตวันน่า สามถนนี้ตั้งแต่ลำน้ำเจ้าพระยาถึงพนนราชปรารภ เปลี่ยนชื่อเป็น ถนนศรีอยุธยา
  • ถนนเบญจมาศนอก ตั้งแต่สะพานมัฆวาฬรังสรรค์ ถึงถนนพระลาน เปลี่ยนชื่อเป็น ถนนราชดำเนินนอก
  • ถนนประทัดทอง ตลอดทั้งสาย เปลี่ยนชื่อเป็น ถนนพระรามที่ 6
  • ถนนหัวลำโพงนอก ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงถึงถนนหลวงสุนทรโกษา เปลี่ยนชื่อเป็น ถนนพระราม 4

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างธงชาติขึ้นมาใหม่แทนธงช้าง ด้วยเหตุที่ทรงทอดพระเนตรเห็นผู้ชักธงกลับหัวช้าลงเป็นที่ไม่เหมาะสม จึงได้ทรงออกแบบธงใหม่ให้เป็นธง 3 สี ได้แก่ แดง ขาว น้ำเงิน มีความหมายแทนสถาบันสูงสุด 3 สถาบัน คือ ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ พระราชทานนามว่า “ธงไตรรงค์” และได้ทรงพระราชนิพนธ์ความหมายเกี่ยวกับธงไว้ดังนี้

ขอร่ำรำพันบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย

แห่งสีทั้งสมงามถนัด

ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์

และธรรมะคุ้มจิตใจไทย

แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้

เพื่อรักษาชาติศาสนา

น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมราชา

ธ โปรดเป็นของส่วนพระองค์

จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึ่งเป็นสีธง

ที่รักแห่งเราชาวไทย

ทหารอวตารนำไป ยงยุทธ์วิชัย

วิชิตก็ชูเกียรติสยามฯ

ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ชาติใดไม่มีหนังสือ ไม่มีตำนาน นับว่าเป็นเหมือนคนป่า” ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าออยู่จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ เปิดหอสมุดสำหรับพระนคร พ.ศ. 2459 หอสมุดพระนครนี้ได้พัฒนาให้เป็น หอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน

พ.ศ. 2466 ทรงให้ตราพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด ด้วยทรงมีพระราชประสงค์ให้คนไทยมีวิธีชั่ง ตวง วัด เป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศ และทรงกำหนดให้ใช้ระบบเมตริกแบบอารยประเทศตะวันตก

 

[แก้ไข] บทสรุป


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาชาติให้ก้าวขึ้นไปสู่ความเจริญทัดเทียมกับบรรดาอารยประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพระราชกรณียกิจทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ รวมถึงทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปวงชนชาวไทยจึงรวมในกัน ถวายพระราชสมัญญานามว่า “พระมหาธีรราชเจ้า” ทั้งยังทรงเป็นผู้ริเริ่มสิ่งสำคัญมากมายเช่นทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างธงไตรรงค์ คำนำหน้านามสตรีและเด็กและ รวมถึงสร้างเมือง “ดุสิตธานี” เพื่อปูพื้นฐานระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคง

ด้วยสำนึกพระมหากรุณาธิคุณ ทางสมาคมศิษย์เก่าวชิราวุธ ได้ทำการจัดสร้งพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้น ณ บริเวณลานด้านหน้าสวนลุมพินี

 


แหล่งอ้างอิง