วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
03/12/2007
ที่มา: 
ธรรมมะไทย

พระเจ้าอนุรุทธมหาราช

        ในสมัยที่พระเจ้าอนุรุทธมหาราช กษัตริย์พุกามเรืองอำนาจ ทรงรวบรวมเอาพม่ากับรามัญเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง จนถึงลพบุรี และทวาราวดี พระเจ้าอนุรุทธทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทรงส่งเสริมทำนุบำรุพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ส่วนชนชาติไทย หลังจากอาณาจักรอ้ายลาวสลายตัว ก็ได้มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้า ถึงประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๙ ขุนท้าวกวาโอรสขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้า ได้สถาปนาอาณาจักรโยนกเชียงแสนในสุวรรณภูมิ หลังจากนั้นคนไทยก็กระจัดกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน เมื่อกษัตริย์พุกาม (กัมพูชา) เรืองอำนาจ คนไทยที่อยู่ในเขตอำนาจของขอม ก็ได้รับทั้งศาสนาและวัฒนธรรมของเขมรไว้ด้วย ส่วนทางล้านนาก็ได้รับอิทธิพลจากขอมเช่นเดียวกัน คือเมื่ออาณาจักรพุกามของกษัตริย์พม่าเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้ ดังเห็นว่ามีปูชนียสถานแบบพม่าหลายแห่ง และเจดีย์ที่มีฉัตรอยู่บนยอด และฉัตรที่ ๔ มุมของเจดีย์ ก็ได้รับอิทธิพลมาจากพุกามแบบพม่า

 

ภาพ:พระพิมพ์ดินเผา.JPG
พระพิมพ์ดินเผา ศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกาม อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖

ลัทธิหินยานอย่างพุกาม

        เมื่อ พ.ศ. 1600 พระเจ้าอนุรุทธมหาราช กษัตริย์ซึ่งครองประเทศพม่า ตั้งราชธานีอยู่ ณ เมืองพุกาม มีอานุภาพปราบปรามประเทศรามัญไว้มนอำนาจ แล้วขยายเขตเข้ามาถึงประเทศล้านนา คือมณฑลพายัพบัดนี้ ลงมาจนถึงเมืองลพบุรีและเมืองทวารวดี พระเจ้าอนุรุทธเป็นพุทธศาสนูปถัมภก ให้ประกาศพระพุทธศาสนาไปด้วยกันกับการแผ่นอาณาเขต ถึงสมัยนี้ พระพุทธศาสนาในอินเดียเสื่อมทรามจวนจะสูญอยู่แล้ว ด้วยถูกผู้ถือศาสนาพราหมณ์และพวกถือศาสนาอิสลามเบียดเบียน พวกชาวเมืองพุกามเดิม ก็ได้รับพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานอย่างเถรวาทมาจากแคว้นมคธ เหมือนกับประเทศเหมือนกัน ครั้งต่อมาเมื่อเหินห่างกับอินเดีย จึงเกิดเป็นลัทธิหินยานอย่างเมืองพุกามขึ้น เมื่อชาวเมืองพุกามมามีอำนาจปกครองประเทศไทยตอนข้างเหนือ ก็พาลัทธินั้นมาสั่งสอนจนแพร่หลายในฝ่ายเหนือ คือมณฑลพายัพบัดนี้

        ในยุคที่กล่าวนี้ ประจวบกับสมัยที่ชนชาติไทยเคลื่อนลงมาอยู่ในประเทศปัจจุบันนี้ เดิมชนชาติไทยตั้งภูมิลำเนาอยู่ในดินแดนอันทุกวันนี้ตกเป็นอาณาเขตของจีนข้างฝ่ายใต้ ที่เรียกว่ามณฑลฮุนหนำ มณฑลกุยจิ่ว มณฑลกวางใส ทั้ง 4 มณฑลมีบ้านเมือง และเจ้านายของตนเองปกครองแยกย้ายกันอยู่เป็นหลายอาณาเขต มูลเหตุที่ไทยจะย้ายภูมิลำเนาจากบ้านเมืองเดิมมาอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ก็เพราะถูกพวกจีนรุกรานชิงเอาดินแดนไปโดยลำดับ เริ่มต้น พ.ศ. 400 ไทยจึงพากันทิ้งถิ่นเดิมอพยพถอยร่นมาอยู่ในข้างตะวันตก และข้างใต้โดยลำดับถึงสมัยนี้ คือเมื่อสมัย พ.ศ.1600 มีชนชาติไทยเข้ามาอยู่ในแว่นแคว้นล้านนาและล้านช้างเป็นจำนวนมาก ชนชาติไทยเดิมก็นับถือพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว แต่เป็นพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานซึ่งได้แผ่เข้าไปถึงตั้งแต่อยู่ในบ้านเมืองเดิม ครั้นพระเจ้าอนุรุทธนำพระพุทธศาสนา ลัทธิหินยาน อย่างพุกามเข้ามาสอนในประเทศล้านนาและล้านช้าง ไทยจึงได้นับถือพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานตามแบบแผนเมืองพุกามแต่ครั้งกระนั้น ครั้งเมื่อล่วงสมัยพระเจ้าอนุรุทธมหาราช อำนาจเมืองพุกามและอำนาจของเสื่อมลงทั้ง 2 ฝ่าย พวกไทยก็มีอำนาจขึ้นในประเทศไทยเป็นลำดับมา ทั้งในส่วนข้างเหนือและส่วนข้างใต้ แต่ต่างกัน คือ ไทยส่วนข้างเหนือยังคงมีลัทธิธรรมเนียมประเพณีเป็นของไทยแท้อยู่เป็นอันมาก แต่ไทยส่วนข้างใต้ได้ปกครองประเทศซึ่งขอมได้เคยตั้งอยู่ช้านาน ขอมได้นำพระพุทธศาสนาและ ศาสนาพราหมณ์ ตลอดจนการใช้อีกษรและภาษาขอมขึ้นไปประดิษฐานไว้ ไทยได้มาปกครองพลเมืองซึ่งนิยมประพฤติตามขนบธรรมเนียมอย่างขอมอยู่โดยมาก จึงได้ใช้ตัวหนังสือและขนบธรรมเนียมอีกหลายอย่างไป ตามพวกขอม แต่วิสัยไทยเป็นผู้รู้จักเลือกเห็นขนบธรรมเนียมของชาวต่างประเทศอย่างใดดีและไม่ขัดต่อประโยชน์ของตนก็รับเอง ดังแก้ไข อักษรขอม เป็น อักษรไทย ขึ้นในสมัยของ พระเจ้ารามกำแหง กรุงสุโขทัย เป็นต้น การถือพระพุทธศาสนาของชนชาติไทยในระยะนี้จึงเกิดแยกกันเป็น 2 พวก คือ พวกที่อยู่ในล้านนาและล้านช้าง ถือพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานอย่างพุกามส่วนพวกข้างใต้ ตั้งแต่สุโขทัยลงมา ยังถือพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ตามพวกขอมอยู่ ดังนี้ เป็นยุคที่ 3

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก