วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
04/12/2007
ที่มา: 
โรงเรียนพระกุมารร้อยเอ็ด กลุ่มสาระกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เว็บไซต์ส่วนบุคคลลูกเสือไทย

จาก คลังปัญญาไทย, สารานุกรมฟรี

Jump to: navigation, search

        จากการที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงสถาปนากิจการลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จึงได้ยึดถือ วันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งได้จัดให้มีการเดินสวนสนามของลูกเสือ ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี ในแต่ละปีจะมีลูกเสือทั้งในส่วนกลางและปรืมณฑล มาร่วมเดินสวน สนาม ประมาณ 10,000 คน เพื่อแสดงความเคารพและกล่าวทบทวนคำปฏิญาณ ต่อองค์พระประมุข คณะลูกเสือแห่งชาติ เพื่อประกาศความเป็นลูกเสืออย่างแท้จริง

 

ภาพ: Ppopopopop.JPG
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

สารบัญ

[ซ่อนสารบัญ]

[แก้ไข]
ลูกเสือ

        การลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ที่อาฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี Browmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 บี พี จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ

        พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง

        จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง”

        ปี พ.ศ. 2463 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย จำนวน 4 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 (1st World Scout Jamboree) ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกของโลก ณ อาคารโอลิมเปีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

        ปี พ.ศ. 2465 คณะลูกเสือไทย ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลก ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 31 ประเทศ ประเทศทั้ง 31 ประเทศนี้ นับเป็นสมาชิกรุ่นแรก หรือสมาชิกผู้ก่อการจัดตั้ง (Foundation Members) สมัชชาลูกเสือโลกขึ้นมา

        ปี พ.ศ. 2467 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย 10 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก

        ปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2468

[แก้ไข] ประวัติศาสตร์ลูกเสือไทย

พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911)

- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454

พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920)

- ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ณ ประเทศอังกฤษ

พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922)

- คณะลูกเสือแห่งชาติ เข้าเป็นสมาชิกสมัชชาลูกเสือโลก

พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924)

- ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก

พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927)

- จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Jamboree)

พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956)

- เป็นสมาชิกของสำนักงานลูกเสือภาคตะวันออกไกล ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้น ขณะนั้นมีประเทศสมาชิกอยู่ 10 ประเทศ

พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961)

- เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีการลูกเสือไทย

พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962)

- เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 3 (3rd Far East Scout Conference) ณ ศาลาสันติธรรม

[แก้ไข] คำปฏิญาณของลูกเสือ

“ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า”

ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ

ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

[แก้ไข] กฎของลูกเสือ

ข้อ ๑ ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้

ข้อ ๒ ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ข้อ ๓ ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ

ข้อ ๔ ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสือทั่วโลก

ข้อ ๕ ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย

ข้อ ๖ ลูกเสือมีความเตตากรุณาต่อสัตว์

ข้อ ๗ ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ

ข้อ ๘ ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความลำบาก

ข้อ ๙ ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์

ข้อ ๑๐ ลูกเสือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ

[แก้ไข] เดี๋ยวเดียว เจอะกันประเดี๋ยวเดียว (ซ้ำ)

สนิทสนมกลมเกลียว เดี๋ยวเดียวก็รักกันได้

แปลกใจ เรารักกันได้อย่างไร (ซ้ำ)

เรารักกันได้ เพราะลูกเสืออย่างเดียว ... จากเพลง “สวัสดี”

[แก้ไข] ประวัติลูกเสือโลก

         กิจการลูกเสือโลกเป็นขบวนการฝึกอบรมเยาวชนที่กว้างขวางไปทั่วโลก และกำลังก้าวหน้ารุ่งเรืองขึ้นไป มีสมาชิกลูกเสือมากกว่า 16 ล้านคน ใน 150 ประเทศ และดินแดนต่างๆ การลูกเสือเป็นขบวนการอาสาสมัคร ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และเป็นการจัดการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เปิดบริการเพื่อคนต่างวัยต่างวุฒิทั่วไป วัตถุประสงค์ของการลูกเสือก็เพื่อช่วยบุคคลในการพัฒนาตนเองทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และคุณธรรม

[แก้ไข] ประวัติของการกำเนิดลูกเสือโลก

         ผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกคือ ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ แห่ง กิลเวลล์ ซึ่งสมาชิกในวงการลูกเสือโลก เรียกชื่อของท่านว่า บี.พี. ท่านเป็นชาวอังกฤษ เกิดในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400

[แก้ไข] การทดลองการฝึกอบรมเด็กชายของ บี.พี.

        ในปี พ.ศ. 2450 ขณะนั้น บี.พี. มีอายุ 50 ปี ครบเกษียณอายุราชการ จึงปลดเป็นทหารกองหนุนและได้รับยศเป็น นายพลโท บี.พี. ได้เริ่มทดลองการฝึกอบรมเด็กชายเพื่อให้เป็นพลเมืองดีตามแบบใหม่ของท่าน คือนำเด็กชาย 21 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่ เกาะบราวน์ซี เป็นเวลา 9 คืน ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม ถึงเช้าวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2450 โดยท่านรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการฝึกอบรม

        ภายหลังจากการทดลองอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซีแล้ว ในปี พ.ศ. 2501 บี.พี. ได้รีบเรียบเรียงและจัดพิมพ์หนังสือคู่มือการฝึกอบรมลูกเสือขึ้นออกจำหน่าย ให้ชื่อว่า "Scouting For Boys" ซึ่งนายอภัย จันทวิมล ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายวิชาการได้แปลไว้ว่า "การลูกเสือสำหับเด็กชาย" หนังสือเล่มนี้ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการลูกเสือ สาระสำคัญของการลูกเสือ คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ คติพจน์ลูกเสือ รหัสและการแสดงความเคารพของลูกเสือ การจับมือซ้ายแบบลูกเสือ เครื่องแบบของลูกเสือ และแนวการฝึกอบรมลูกเสือด้วยวิธีต่างๆ เช่น ระบบหมู่ การเล่นเกมส์ การร้องเพลง และการเดินทางไกลอยู่ค่ายพักแรม เป็นต้น

        หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมจากเด็กอังกฤษ ตลอดจนประชาชนทั่วไป สามารถจำหน่ายได้ดีจนต้องจัดพิมพ์ถึง 5 ครั้งในปีนั้นเอง

        ปัจจุบัน วงการลูกเสือทั่วโลกถือว่าการทดลองอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี เป็นการเริ่มต้นของการลูกเสือโลก และถือว่า บี.พี. เป็นบิดาแห่งลูกเสือโลก

[แก้ไข] การเริ่มต้นของกิจการลูกเสือโลก

        ในการดำเนินการลูกเสือขั้นต้น บี.พี. ได้จัดตั้งสำนักงานเล็กๆ ขึ้นแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอนเพื่อให้คำชี้แจงและแนะนำเกี่ยวกับกิจการลูกเสือ ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2452 บี.พี. ได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารงานลูกเสือชุดแรกขึ้น โดย บี.พี. รับหน้าที่เป็นประธานกรรมการ

        บี.พี. ได้ไปบรรยายเรื่องการลูกเสือตามเมืองต่างๆ ในอังกฤษ ได้ผลเกินความคาดหมาย พวกเด็กทั่วประเทศได้มีความเลื่อมใสในวีรบุรุษแห่งเมืองมาฟอีคิง ในสมัยที่ บี.พี. ยังรับราชการทหารอยู่ บี.พี. ได้สร้างวีรกรรมทางทหารที่เมืองมาฟอีคิงในแอฟริกาใต้ไว้ ทำให้ บี.พี. มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือในประเทศอังกฤษในสมัยนั้น จึงได้รวบรวมกันเข้าจัดตั้งหมู่ลูกเสือขึ้นนับเป็นจำนวนพัน ส่วนผู้ใหญ่ที่มีศรัทธาในการลูกเสือก็สมัครเข้ารับหน้าที่เป็นผู้กำกับลูกเสือ และเข้าช่วยเหลือกิจการลูกเสือด้วยประการต่างๆ

        ต่อมากิจการลูกเสือได้เริ่มขยายตัวไปยังประเทศต่างๆ ในเครือจักรภพอังกฤษ คือ แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ต่อจากนั้นจึงไปสู่อินเดียในปี พ.ศ. 2452

        ชิลี เป็นประเทศแรกนอกเครือจักรภพอังกฤษทีได้จัดตั้งกองลูกเสือขึ้นในปี พ.ศ. 2452 และต่อมาในปี พ.ศ. 2453 อเมริกาก็ได้จัดตั้งกองลูกเสือขึ้น

        ส่วนในยุโรปและทวีปอื่นๆ ก็ได้จัดตั้งกองลูกเสือเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาคณะลูกเสือไทยขึ้น เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454

[แก้ไข] การดำเนินงานขององค์การลูกเสือโลก

        องค์การลูกเสือโลกมีหน่วยงานหลักและสำคัญอยู่ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานลูกเสือโลก คณะกรรมการลูกเสือโลก และสมัชชาลูกเสือโลก โดยแต่ละหน่วยงานก็มีอำนาจหน้าที่เฉพาะของตน แต่ดำเนินงานอย่างประสานงานกันระหว่างหน่วยงานทั้ง 3

[แก้ไข] การประชุมลูกเสือโลกครั้งแรก

        ในปี พ.ศ. 2463 มีการประชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรกที่ โอลิมเปีย ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีลูกเสือประมาณ 1,050 คน จาก 20 ประเทศที่เข้าร่วมชุมนุมระหว่างการชุมนุม ที่ประชุมผู้แทนลูกเสือประเทศต่างๆ ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกทุก 2 ปี และให้จัดตั้งสำนักงานลูกเสือนานาชาติที่กรุงลอนดอน เพื่อให้ทำหน้าที่ประสานงานและส่งเสริมกิจการลูกเสือทั่วโลกในวันสุดท้ายของงานชุมนุมมีพิธีประกาศแต่งตั้งให้ บี.พี. เป็นประมุขของลูกเสือโลก และต่อมาในปี พ.ศ. 2473 เลดี้ เบเดน โพเอลล์ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นประมุขลูกเสือหญิงแห่งโลก

[แก้ไข] การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารลูกเสือโลก

[แก้ไข] การจัดตั้งสำนักงานลูกเสือโลก

        หน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับลูกเสือโลกโดยมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของสมัชชาและคณะกรรมการลูกเสือโลก ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2463 เรียกว่า สำนักงานลูกเสือนานาชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 ได้ย้ายสำนักงานไปอยู่ที่กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา และเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานลูกเสือโลก ในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เมื่อปี พ.ศ. 2504

        ต่อมาภายหลังการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกที่เมืองซีแอตเติล ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการตกลงกันให้ย้ายสำนักงานลูกเสือโลกอีกครั้งหนึ่ง ไปตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 1 ฑฤษภาคม พ.ศ. 2511

        สำนักงานลูกเสือโลกมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชา ปัจจุบัน จาคส์ เมอริยอง เป็นกรรมการและเลขาธิการคณะกรรมการลูกเสือโลกโดยตำแหน่ง มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 40 คน เป็นผู้ช่วย มีสำนักงานสาขาอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ของโลกอีก 5 แห่ง คือ

        เขตอินเตอร์-อเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองซานโฮเซ ประเทศคอสตาริกา

        เขตเอเชีย-แปซิฟิก ตั้งอยู่ที่เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

        เขตอาหรับ ตั้งอยู่ที่เมืองไคโร ประเทศอียิปต์

        เขตยุโรป ตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

        เขตแอฟริกา ตั้งอยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา

[แก้ไข] คณะกรรมการลูกเสือโลก

        คณะกรรมการลูกเสือโลกประกอบด้วยบุคคล 12 คน จากประเทศสมาชิก 12 ประเทศ เลือกตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาลูกเสือ กรรมการลูกเสือโลกอยู่ในตำแหน่งคนละ 6 ปี และเลือกตั้งกันเองเป็นประธาน และรองประธานในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกทุกๆ 3 ปี จะมีกรรมการพ้นจากตำแหน่ง 6 คน และจะเลือกตั้งกรรมการลูกเสือเข้าแทนที่ โดยวิธีออกเสียงโดยคะแนนลับจากที่ประชุมใหญ่ ซึ่งมีผู้แทนมาจาก 149 ประเทศ โดยปกติคณะกรรมการลูกเสือโลกจะมีการประชุมอย่างน้อยปีละครั้ง ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

[แก้ไข] อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการลูกเสือโลก ดังนี้

  1. ส่งเสริมกิจการลูกเสือทั่วโลก
  2. แต่งตั้งเลขาธิการของสำนักงานลูกเสือโลก
  3. ควบคุมการปฏิบัติงานของสำนักงานลูกเสือโลก
  4. จัดหาเงินทุนสำหรับส่งเสริมกิจการลูกเสือ
  5. ให้เครื่องหมายลูกเสือสดุดีของคณะกรรมการลูกเสือโลกแก่ผู้ที่ได้มีส่วนช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างดีเด่น

[แก้ไข] หน้าที่ของสำนักงานลูกเสือโลก ดังนี้

  1. ดำเนินการตามมติที่ประชุมสมัชชาคณะกรรมการลูกเสือโลก
  2. ติดต่อกับประเทศสมาชิก และองค์การที่เกี่ยวข้อง
  3. ประสานงาน
  4. ส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือโดยทั่วไป

[แก้ไข] ดังนั้น งานของสำนักงานลูกเสือโลกจึงอาจจำแนกเป็นส่วนใหญ่ ดังต่อไปนี้

  1. ให้คำชี้แจงแนะนำแก่ประเทศสมาชิก และองค์การที่เกี่ยวข้อง
  2. ช่วยเหลือการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือในประเทศสมาชิก
  3. จัดการประชุมสมัชชาและการชุมนุมลูกเสือโลก
  4. การเยี่ยมเยือน และการช่วยเหลือโดยตรง
  5. การจัดพิมพ์เอกสารและการค้นคว้า

[แก้ไข] สมัชชาลูกเสือโลก

        สมัชชาลูกเสือโลก คือที่ประชุมของผู้แทนคณะลูกเสือประเทศต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 149 ประเทศ (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2543) เป็นผู้แทนของลูกเสือประมาณ 20 ล้านคน

        ประเทศสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมได้ไม่เกินประเทศละ 6 คน ซึ่งมาจากองค์การผู้แทนเพียงองค์การเดียวของประเทศ และมีคะแนนเสียงประเทศละ 6 คะแนนสมัชชาลูกเสือโลกมีอำนาจและหน้าที่ในการรับสมาชิกใหม่ ซึ่งจะต้องยื่นใบสมัครและรับรองว่าจะปฏิบัติตามจุดหมายและหลักสำคัญของการลูกเสือ เป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิการเมืองใดๆ เป็นองค์การที่รับสมัครด้วยความสมัครใจ

สำหรับสถานที่ประชุมสมัชชาลูกเสือโลกแต่ละคราว จะมีประเทศต่างๆ ขอเชิญไปประชุมในประเทศของตนเอง และสมัชชาลูกเสือโลกเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะเลือกไปประชุมที่ประเทศใด

[แก้ไข] ประวัติลูกเสือไทย

         กิจการลูกเสือไทยถือกำเนิด โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งพระองค์มีพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ได้เสด็จไปศึกษา ณ ทวีปยุโรป ทรงศึกษา ภาษาอังกฤษ ณ แอสกอต ศึกษาวิชาฝ่ายพลเรือนในมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดและวิชาทหารบกที่โรงเรียนแซนด์เฮิสต์ ทรงศึกษาอยู่นาน ถึง ๙ ปี และระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ ได้ทรงเรียนรู้ถึงการสู้รบ เพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง ของลอร์ด เบเด็ล โพเอลล์ โดยใช้กองทหารเด็กเป็นกำลังช่วยเหลือ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลดีมาก เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย เมื่อ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๕ ในเวลานั้นทรงมีพระชนมายุ ๒๒ พรรษา เมื่อทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งกองเสือป่าเมื่อวันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ทรงพระราชทานคำขวัญว่า " แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ ศัตรูกล้ามาประจัญ จะอาจสู้ริปูสลาย" และหลังจากนั้นอีก ๒ เดือน ทรงจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นในประเทศไทย เป็นครั้งแรกที่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน) เมื่อ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ ๒๔๕๔( B.- P. จัดตั้งกองลูกเสือครั้งแรกของโลกเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๑ ที่ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันสำนักงานลูกเสือโลกตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การลูกเสือโลก 149 ประเทศ จำนวนสมาชิกลูกเสือมากกว่า 27 ล้านคน สำรวจเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ ) ขนานนามว่า กองลูกเสือกรุงเทพฯที่ ๑ และถือว่า วันที่ ๑ กรกฎาคม เป็นวันกำเนิดลูกเสือไทย ทรงพระราชทานคติพจน์ให้แก่คณะลูกเสือแห่งชาติว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์" ลูกเสือคนแรกคือ " นายชัพพ์ บุนนาค " (ต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น นายลิขิต สารสนอง) เพราะเป็นผู้กล่าวคำปฎิญาณของลูกเสือได้เป็นคนแรก จึงมีพระบรมราชโองการว่า "อ้ายชัพพ์เอ็งเป็นลูกเสือแล้ว" พระองค์ทรงดำริที่จะก่อตั้ง " เนตรนารี " หรือที่เรียกว่า ลูกเสือหญิง ขึ้นมาด้วย พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือชื่อ " แบบสั่งสอนเสือป่าและลูกเสือ " เพื่อใช้เป็นแบบเรียนในการอบรมลูกเสือต่อไป กิจการลูกเสือไทย กิจการลูกเสือเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินการด้วยพระองค์เอง เป็นต้นว่า ทรงตราระเบียบข้อบังคับลักษณะการปกครอง ทรงฝึกอบรมสั่งสอนด้วยพระองค์เองโดยตลอด ในระหว่างรัชกาลของพระองค์ ทรงพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะลูกเสือแห่งชาติดังนี้ ทรงจัดตั้งสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ และพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสภานายก ทรงวางนโยบายให้มีการจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นในโรงเรียนต่างๆ ทรงพระราชนิพนธ์แบบสั่งสอนเสือป่าและลูกเสือบทเพลงรักชาติบ้านเมือง ทรงรับกองลูกเสืออังกฤษ The South-west London Troop ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และให้เป็นกองลูกเสือในพระองค์แห่งพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม (The King of Siam's Own ) กับพระราชทานตราเครื่องหมายประจำกองด้วย เป็นรูปช้างเผือกยืนบนธงพื้นสีแดง ซึ่งเป็นรูปคล้ายธงช้างเดิม ต่อมากกองลูกเสือนี้ได้ขยายตัวเป็นกลุ่มและเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น The First Balham and Tooting Scout Group. (The King of Siam's Own) โดยยังคงใช้ตราช้างยืนบนพื้นสีแดง เป็นตราประจำกลุ่มสืบมาและใช้ชื่อย่อของกลุ่มว่า K.S.O. ซึ่งย่อมาจากคำว่า The King of Siam's Own

  • พ.ศ. ๒๔๕๕ ขยายกิจการลูกเสือไปตามมณฑลต่างๆ ทั้ง ๑๘ มณฑล รวมมีกองลูกเสือ ๑๖๒ กอง
  • พ.ศ. ๒๔๕๖ โปรดให้กองลูกเสือบางกองเข้าฝึกซ้อมร่วมกับกองเสือป่าเสนาหลวงรักษาพระองค์ พระองค์ทรงเข้าร่วมซ้อมรบด้วยพระองค์เอง ในคืนที่มีการซ้อมรบพระองค์ได้ออกลาดตระเวณและถูกลูกเสือมณฑลนครชัยศรีจับตัวและยึดพระมาลาไปได้ พระอค์มิได้ทรงกริ้วแต่อย่างใด กลับชมเชยและมีพระบรมราชโองการประกาศชมเชยลูกเสือนครชัยศรีและยกย่องให้เป็นลูกเสือหลวง พระราชทานขลิบหมวกสีเหลืองประดับด้วยขนนกปักติดไว้ด้วย และเป็นลูกเสือรักษาพระองค์(ผู้ที่จับพระองค์ได้คือ นายหมู่สนิท บริสุทธิ์ ลูกเสือแห่งกองมณฑลนครชัยศรี)
  • พ.ศ. ๒๔๕๗ พระราชทานธงประจำกองแก่กองลูกเสือมณฑลกรุงเทพฯและกองลูกเสืออื่นๆ กองลูกเสือที่ได้รับพระราชทานธงประจำกองในรัชกาลของพระองค์ นอกจากกองกรุงเทพฯที่ ๑ (ลูกเสือหลวง) ดังกล่าวแล้ว ก็ได้แก่ กองลูกเสือมณฑลกรุงเทพพระมหานคร ลูกเสือกองมณฑลนครชัยศรีที่ ๑ (พระปฐมวิทยาลัย) พระราชทานเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ เนื่องในการเสด็จทอดพระเนตรการประลองยุทธเสือป่าและลูกเสือ กองลูกเสือมณฑลนครศรีธรรมราช พระราชทานเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ในคราวเสด็จประพาสปักษ์ใต้ กองลูกเสือมณฑลปัตตานี พระราชทานเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๘ กองลูกเสือมณฑลภูเก็ตพระราชทานเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ และกองลูกเสือมณฑลราชบุรี พระราชทานเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗
  • วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗ พระราชทานเหรียญราชนิยมให้แก่ลูกเสือโทฝ้าย บุญเลี้ยง แห่งกองลูกเสือมณฑลสุราษฎร์ที่ ๑ อายุ ๑๔ ปี ซึ่งได้ช่วยชีวิตชายชราและเด็กหญิงผ่องให้รอดพ้นจากความตาย เมื่อเรือโดยสารล่ม
  • พ.ศ. ๒๔๕๘ โปรดให้มีการประชุมสภานายกกรรมการจัดการลูกเสือมณฑลต่างๆ พร้อมด้วยสภากรรมการกลางขึ้นเป็นครั้งแรก ณ สโมสรเสือป่าสวนดุสิต และได้เสด็จมาประทับเป็นประธานที่ประชุมด้วยพระองค์เอง โปรดให้ตั้ง " กองฝึกหัดผู้กำกับลูกเสือในพระบรมราชูปถัมภ์" ขึ้นในบริเวณสโมสรเสือป่า เป็นสำนักศึกษาวิชาผู้กำกับลูกเสือทั่วไป
  • พ.ศ. ๒๔๖๓ ส่งผู้แทนลูกเสือไทย ๔ คน เข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรกที่ โอลิมเปีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
  • พ.ศ. ๒๔๖๕ คณะลูกเสือไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกคณะลูกเสือโลก เป็นประเทศที่ ๓ ของโลก
  • วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก