วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
04/12/2007
ที่มา: 
เว็บไซต์พระประถมเจดีย์ ธรรมะไทย

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

        วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด ราชวรมหาวิหาร แต่ ชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า "วัดใหญ่" ตั้งอยู่ตลอดแนวถนนขวาพระ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม สังกัดในคณะสงฆ์ ภาค ๑๔ ประเภทมหานิกาย วัดพระปฐมเจดีย์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น ๒ เขต คือ เขตพุทธาวาส ซึ่งเป็น ที่ตั้งองค์ พระปฐมเจดีย์ และเขตสังฆาวาส ซึ่งเป็นที่จำพรรษาของ พระภิกษุสามเณร

[แก้ไข] ประวัติ

        แต่เดิมมาวัดนี้ในสมัยโบราณมีชื่อว่า "วัดพระประธม" บ้างมีชื่อว่า "วัดพระบรรทม" บ้างมี ชื่อว่า "วัดพุทธปรมธาตุ" บ้างครั้นมาถึงในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในยุคที่ทรงเริ่ม ปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ครั้งใหญ่ตั้งแต่ปี พ. ศ.๒๓๙๖ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงพิจารณาลักษณะการ ก่อสร้างและสภาพโดยทั่วไป ทรงพิเคราะห์เห็นว่า น่าจะเป็นพระสถูปเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งประเทศอินเดียยุคโบราณที่ได้ มีการส่งพระสมณทูตมีพระโสณะและพระ อุตตระเป็นต้นเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาในพื้นที่แถบนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดิน แดนสุวรรณภูมิสมัยนั้นประมาณพ.ศ.๒๓๕- ๓๐๐และมีการสร้างพระสถูปเจดีย์ไว้บรรจุพระ บรมสารีริกธาตุเป็นหลักฐานรูปทรงพระ สถูปเจดีย์ในยุคแรกที่สร้างนั้นทรงเห็นว่ามีรูปทรงเหมือนเป็นอย่างเดียวกับพระสถูปา รามเจดีย์ในอนุราธบุรีในเกาะสิงหลทวีปหรือ ประเทศลังกาในบัดนี้ทรงเชื่อมั่นว่าเป็นพระ เจดีย์ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกในพื้นที่แถบนี้และเป็นวัดแรกด้วยพระองค์จึงได้ทรงพระราช ทานนามพระสถูปเจดีย์แห่งนี้ว่าพระปฐมเจดีย์และพระราชทานนามวัดว่า"วัดพระปฐมเจดีย์"

[แก้ไข] รายละเอียดเกี่ยวกับพระปฐมเจดีย์

        สูงจากพื้นดินถึงยอดมงกุฏ ๑๒๐.๔๕ เมตร ฐานโดยรอบวัด ๒๓๕.๕๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางวัดโดยรอบ ๕๖.๖๔ เมตร จากปากระฆังถึงสี่เหลี่ยมสูง ๑๘.๓๐ เมตร สี่เหลี่ยมด้านละ ๒๘.๑๐ เมตร ปล้องไฉนทั้งหมดมี ๒๗ ปล้อง เสาหารมี ๑๖ ต้น คตพระระเบียงโดยรอบ ๕๖๒ เมตร กำแพงแก้วชั้นในโดยรอบ ๙๑๒ เมตร ซุ้มระฆังบนลานองค์พระปฐมเจดีย์ ๒๔ ซุ้ม

[แก้ไข] ประวัติ

        พระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่ในตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม นับว่าเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในไทย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณทูตมา เผยแผ่พระศาสนา นักปราชญ์ทางโบราณคดีเห็นพ้องกันว่า พระโสณ เถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูตและมาตั้งหลักฐานประกาศหลัก ธรรมคำสอนที่นครปฐมป็นครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ ๓ และได้สร้าง พระเจดีย์ทรงบาตรว่ำ แบบเจดีย์สาญจิไว้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ขณะผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ทรงเห็นเป็น เจดีย์ยอดปรางค์ สูง ๔๒ วา เมื่อทรงลาผนวช ได้เสวยราชสมบัติแล้ว ในราว พ.ศ. ๒๓๙๖ ได้โปรดให้ก่อพระ เจดีย์ใหม่ห่อหุ้ม องค์เดิมไว้สูง ๑๒๐ เมตร กับ ๔๕ เซนติเมตร พร้อมสร้างวิหารและคตพระระเบียงโดยรอบ งานไม่ทันแล้วเสร็จก็ สวรรคต ต่อมารัชกาลที่ ๕ โปรดให้ปฏิสังขรณ์ จัดสร้างหอระฆัง และประดับกระเบื้องจน สำเร็จ เมื่อถึงรัชกาลที่ ๖ ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ ผนังรื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือสร้างใหม่ เพื่อ ประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนียบพิตร และรัชกาลที่ ๗ โปรดให้ สร้างพระอุโบสถใหม่

        นับแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อเติมใน ครั้งนั้นแล้ว จนบัดนี้เป็นเวลาร้อยปีเศษ มิได้มีการบูรณะครั้งใหญ่เลย นอกจากซ่อมแซมเล็กน้อย ที่ชำรุดเป็นบางส่วนเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ทางวัดพบว่าตัวองค์พระปฐมเจดีย์มีรอยร้าวแตกร้าวหลาย แห่ง กระเบื้องที่ประดับหลุดร่วงลงมา จึงได้แจ้งเรื่องไปยังรัฐบาลสมัย นั้น ทางรัฐบาลเองก็ได้ส่งเรื่องต่อไปยังกระทรวงมหาดไทยให้เป็นผู้ พิจารณาดำเนินการและมอบให้กรมโยธาธิการส่งช่างผู้เชี่ยวชาญไปทำ

        การสำรวจตรวจสอบซึ่ง ใช้เวลาอยู่ประมาณ ๙ ปี และในที่สุดลงความเห็นว่าองค์พระปฐม เจดีย์ มีความชำรุด มาก ควรดำเนินการบูรณะเป็น การด่วน เมื่อรัฐบาลได้ทราบความจริงและ พิจารณาเห็นว่าพระมหาเจดีย์แห่ง นี้เป็น เจดีย์สำคัญ เป็นสมบัติที่มีค่ายิ่ง สมควรที่จะต้องรักษาให้ยืนยงคงอยู่ตลอดไป จึงได้อนุมัติงบประมาณ ให้กรมโยธาธิการกระทรวงมหาดไทย เป็น เจ้าของโครงการระยะที่ ๑-๒ และกรมศิลปากร กระทรวง ศึกษาธิการ เป็นเจ้าของโครง การระยะที่ ๓ ได้ลงมือทำการ ซ่อมแซมบูรณะมาตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๑๘ สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๒๔ สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเป็น จำนวนเงิน ๒๔,๖๒๕,๓๗๕ บาท องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพ สักการบูชาของ บรรดา พุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึง วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ รวม ๙ วัน ๙ คืน เป็น ประจำทุกปี องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่ รูประฆังคว่ำ ปากผายมหึมา โครงสร้างเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นมหึมาก่ออิฐ ถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ ประกอบด้วยวิหาร ๔ ทิศ กำแพงแก้ว ๒ ชั้น

 

[แก้ไข] พระร่วงโรจนฤทธิ์

        ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ดำรง พระยศเป็นสมเด็จพระยุพราช ได้เสด็จ ตรวจค้นโบราณสถานในมณฑล ฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ พบพระพุทธรูปชำรุดองค์หนึ่งจมในพื้น วิหาร วัดโบราณในเมืองศรีสัชนาลัย โปรดให้ขุดขึ้น พบพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทที่ยังดีไม่ชำรุดมีลักษณะ งดงามต้องตาม พระราชหฤทัย จึงโปรดให้เชิญลงมากรุงเทพมหานคร ครั้งเสด็จเถลิง ถวัลยราชสมบัติ จึงโปรด ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทำรูปหุ่นขี้ผึ้ง ปฏิสังขรณ์ปั้นให้เสร็จบริบูรณ์เต็มองค์ ตั้งการพระราชพิธี เททองที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ เป็นพระยืนปางห้ามญาติ หล่อ ด้วยโลหะ ครั้นแล้วเสร็จ อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่ซุ้มวิหารทิศ ตรงบันได ใหญ่เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ทรงถวายพระนาม ว่า "พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร" สูงจากพระเกศาถึงพระบาท ๑๒ ศอก ๔ นิ้ว และทรง พระกรุณาโปรดเกล้าในพระราชพินัยกรรม ให้บรรจุพระอังคารของพระองค์ท่านไว้ในใต้ฐานพระนี้ด้วย

[แก้ไข] ที่อยู่

        วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหารตั้งอยู่ในตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

[แก้ไข] ความสำคัญ

        "องค์พระปฐมเจดีย์", พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ๑ ใน ๖ ของไทย

[แก้ไข] สังกัดคณะสงฆ์

มหานิกาย

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

เว็บไซต์พระประถมเจดีย์

ธรรมะไทย


ภาพประกอบทางอินเตอร์เน็ต