วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
30/01/2008
ที่มา: 
คัมภีร์ฮวงจุ้ย บ้านไหมทอง

ประวัติความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคล
        ความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคลตามคติทางศาสนาพราหมณ์ มีดังนี้

        เรื่องราวการกำเนิดพระชัยมงคลมีความเป็นมาในอวตารปางที่ 5 แห่งองค์พระนารายณ์หรือพระวิษณุเทพ ในยุคนั้นทั้งมนุษย์และทวยเทพ มีการไปมาหาสู่กันอย่างง่ายดายอยู่เสมอ แต่สมัยนี้ ติดต่อกันยากลำบาก เพราะมนุษย์สมัยนี้มีความดีน้อยลงมาก บรรดาทวยเทพจึงไม่ลงมาคบหาด้วย

        ในสมัยนั้นมีผู้เป็นใหญ่ที่สุดในมวลมนุษย์ ทรงพระนามว่า "ท้าวทศราช" ปกครองนคร "กรุงพาลี" ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า "พระนางสันทรทุกเทวี" มีโอรสด้วยกัน 9 พระองค์ คือ

1.พระชัยมงคล
2.พระนครราช
3.พระเทเพล (พระเทเพน)
4.พระชัยศพน์ (พระชัยสพ)
5.พระคนธรรพน์
6.พระธรรมโหรา (พระเยาวแผ้ว)
7.พระเทวเถร (พระวัยทัต)
8.พระธรรมมิกราช (พระธรรมมิคราช)
9. พระทาษธารา
        พระโอรสทั้ง 9 พระองค์ มีความสามารถและอานุภาพมาก ในฐานะเทพ ทั้ง 9 พระองค์ มีความสามารถเท่าเทียมกัน ท้าวทศราชทรงมอบหมายให้ทั้ง 9 พระองค์ ไปดูแลสถานที่ต่างๆ แทนพระองค์ ต่อมาท้าวทศราช เกิดความโลภมาก,เห็นแก่ตัว,เบียดเบียนมนุษย์ ปกครองบ้านเมืองอย่างไร้คุณธรรม กดขี่ข่มเหงราษฎรโดยไม่กลัวบาป จนได้รับความเดือดร้อนไปทั่วทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังรับสั่งให้พระโอรสทั้ง 9 พระองค์กระทำความผิดโดยเรียกร้องเครื่องเซ่นสังเวยต่างๆ จนราษฎรได้รับความลำบากทุกข์ยาก ไม่สามารถขัดขืนหรือหาทางออกได้

        เมื่อพระศิวะมหาเทพทรงทราบเรื่องราวความเป็นมาของความเดือดร้อนของมนุษย์ จึงมีโองการให้พระนารายณ์( พระวิษณุ ) อวตารลงมาปราบพระเจ้ากรุงพาลี เมื่อพระนารายณ์อวตารลงมาจนเติบใหญ่เป็นพราหมณ์น้อย มีวิชาความรู้ ได้เดินทางมาเฝ้าท้าวทศราช เมื่อท้าวทศราชเห็นพราหมณ์น้อยน่าเลื่อมใส และถามพราหมณ์น้อยว่า ต้องการอะไรเป็นการบูชา พราหมณ์น้อยจึงออกอุบายขอที่เพียง 3 ก้าวเท่านั้น ท้าวทศราชตรัสรับปาก พราหมณ์น้อยจึงขอให้ท้าวทศราชหลั่งน้ำอุทกธารา

        ในขณะที่กำลังหลั่งนั้น พระศุกร์ผู้เป็นอาจารย์ของท้าวทศราชรู้ทันอุบายของพราหมณ์น้อย ได้แปลงกายเข้าไปอุดรูน้ำไว้ พราหมณ์น้อยจึงเอาปลายหญ้าคาแยงเข้าถูกนัยน์ตาของพระศุกร์เข้า พระศุกร์เจ็บปวดจนทนไม่ไหวเหาะหนีไปน้ำจึงไหลออกมา

        หลังจากนั้นพราหมณ์น้อยก็แสดงอิทธิฤทธิ์กลับคืนสู่ร่างเดิมซึ่งใหญ่โตกว่าปราสาทราชมณเฑียร เมื่อย่างก้าวเพียง 3 ก้าว ก็กินอาณาบริเวณกรุงพาลีทั้งหมด ท้าวทศราชเห็นก็ทรงก้มกราบลงขอขมาพระนารายณ์ทันที ( พราหมณ์น้อย ) พระนารายณ์ ทรงขับไล่ท้าวทศราช,พระนางสันทรทุกเทวีและพระโอรสทั้ง 9 พระองค์ ให้ไปอยู่นอกเขตป่าหิมพานต์ นับจากนั้นราษฎรก็อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข

        ฝ่ายท้าวทศราช,พระมเหสีและพระโอรส ต้องพบกับความยากลำบากแสนสาหัส ด้วยสภาพเช่นนี้ทำให้ท้าวทศราชและพระโอรสสำนึกถึงความผิดของตนที่ได้กระทำไว้แต่หนหลัง ท้าวทศราชจึงได้พาพระโอรสทั้ง 9 ไปเข้าเฝ้าพระนารายณ์เพื่อขออภัยโทษและแสดงความสำนึกผิดอย่างแท้จริงและปวารณาตนว่าจะตั้งอยู่ในศีลธรรม ประกอบกรรมดี มีจิตใจเผื่อแผ่ พระนารายณ์เห็นจิตอันแรงกล้าจึงอภัยโทษให้และอนุญาตให้ท้าวทศราชและพระโอรสทั้ง 9 กลับมาอยู่ที่กรุงพาลีได้ดังเดิม แต่ไม่ใช่ฐานะกษัตริย์ แต่ให้ประทับอยู่บนศาลที่มีเสาเพียง 1 เสาปักลงบนผืนดิน และจะต้องปฏิบัติตามคำสัญญาอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะไม่ให้อยู่ในโลกอีกต่อไป

[แก้ไข] ความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคลตามคติทางพระพุทธศาสนา
        ตำนานความเป็นมาของพระภูมิไนพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงเป็นพระโพธิ์สัตว์ เสด็จออกบวช และประทับบำเพ็ญญาณสมาบัติใต้ต้นไทรใหญ่ จนตกกลางคืนก็ปรากฎภูมิเทวดาทรงพระนามว่า พระเจ้ากรุงพาลี ซึ่งไม่พอใจที่พระโพธิ์สัตว์มาบำเพ็ญบารมีในถิ่นตนจึงขับไล่ พระโพธิ์สัตว์จึงขอพื้นดินของพระเจ้ากรุงพาลี 3 ก้าวเพื่อใช้บำเพ็ญบารมีต่อไป

        ฝ่ายพระเจ้ากรุงพาลีเห็นว่าเล็กน้อยจึงถวายให้ พระโพธิ์สัตว์ก็ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ก้าว 3 ก้าว ก็กินอาณาบริเวณพื้นที่ของพระเจ้ากรุงพาลีจนหมดสิ้น ทำให้พระเจ้ากรุงพาลีไม่มีที่อาศัยต้องออกไปอยู่นอกเขตมนุษย์ ทำให้ลำบากยากเข็ญจนทนไม่ไหว จึงให้คนใช้ 3 คน( นายจันถี,นายจันทิศและนายจันสพ)

        พระเชิงเรือนไปขอแบ่งที่ดินจากพระโพธิ์สัตว์ พระโพธิ์สัตว์ก็ทรงประทานให้และทรงสั่งสอนให้พระเจ้ากรุงพาลีตั้งมั่นในความสุจริตไม่เบียดเบียนผู้อื่น คอยคุ้มครองมนุษย์และสัตว์โลกตลอดไปและหากกระทำการมงคลใดๆ จะต้องทำพิธีบูชาพระเจ้ากรุงพาลีในฐานะเจ้าของที่ จึงจะประสบความสำเร็จมีความสุข,เจริญรุ่งเรือง

[แก้ไข] ความเป็นมาของพระภูมิตามคติพราหมณ์และคติพุทธ
        มีความคล้ายคลึงกัน โอรสแต่ละพระองค์ของท้าวทศราช จะต้องมีหน้าที่คอยปกครองดูแลสถานที่ต่างๆ แตกต่างกันไป ดังนี้

1.พระชัยมงคล ทรงฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์หรือเทพารักษ์โดยทรงสวมชฎาทรงสูง สวมพระภูษาห้อยชายมีสายธุรำ และสายสังวาลย์ ทรงสวมกำไล,ปั้นเหน่งและพาหุรัด สวมฉลองพระบาทเชิงงอน พระหัตถ์ซ้ายทรงถือถุงเงิน พระหัตถ์ขวาทรงถือพระขรรค์ ปกครองดูแลเคหสถานบ้านเรือนและร้านโรงต่างๆ
2.พระนครราช ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคลแต่พระหัตถ์ซ้ายถือช่อดอกไม้ ดูแลปกครองป้อม,ค่าย,ประตูเมือง,หอรบและบันไดต่างๆ
3.พระเทเพล หรือ พระเทเพน ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือหนังสือหรือคัมภีร์ ปกครองดูแลฟาร์ม,ไร่และคอกสัตว์ต่างๆ
4.พระชัยศพน์ หรือพระชัยสพ ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ขวาถือหอก พระหัตถ์ซ้ายวางแนบอยู่บริเวณพระสะเอว ปกครองดูแลเสบียง,คลังและยุ้งฉางต่างๆ
5.พระคนธรรพน์ ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือผะอบ ปกครองดูแลพิธีวิวาห์, เรือนหอและสถานบันเทิงต่างๆ
6.พระธรรมโหรา หรือ พระเยาวแผ้ว ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายแพนหางนกยูง ปกครองดูแลโรงนา,ป่าเขา,ลำเนาไพรและเรือกสวนต่างๆ
7.พระเทวเถร หรือ พระวัยทัต หรือ พระเทวเถรวัยทัต ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคลแต่พระหัตถ์ขวาถือธารพระกร ( ไม้เท้า ) ปกครองดูแลปูชนียสถาน,เจดีย์และวัดวาอารามต่างๆ
8.พระธรรมมิกราช หรือ พระธรรมมิคราช ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือพวงมาลา ปกครองดูแลกิจต่างๆ อันเกี่ยวกับพืชพันธุธัญญาหารทั้งปวงและพระราชอุทยาน
9. พระทาษธารา ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ไม่ได้ถืออะไร ปกครองดูแลบึง, ห้วยหนอง,คลองและลำธารต่างๆตลอดจนน้ำที่ตกลงมาจากฟ้า
การตั้งศาลพระภูมิ

        สิ่งที่ต้องคำนึงในการตั้งศาลพระภูมิ คือ สถานที่ตั้ง,ทิศทาง,วันและฤกษ์ตั้ง,ความสูงของศาลพระภูมิและผู้ประกอบพิธีกรรมการตั้งศาลพระภูมิ

[แก้ไข] สถานที่ที่ตั้งศาล
        สถานที่ที่ตั้งศาล มีหลักการพิจารณาดังนี้

1.ที่ตั้งศาลต้องเป็นบริเวณพื้นดิน มิใช่บริเวณเดียวกับพื้นของตัวบ้าน
2.หากไม่มีพื้นที่ที่เป็นพื้นดิน สามารถทำการตั้งศาลบนชั้นดาดฟ้าได้ แต่ส่วนใหญ่ศาลที่ตั้งบนดาดฟ้าจะเป็นศาลเทพต่างๆ เช่นพระพรหม หรือ พระนารายณ์ มิใช่พระภูมิเจ้าที่
3.จุดที่ตั้งของศาลต้องไม่ถูกเงาของตัวบ้านทอดลงมาทับ
4.ที่ตั้งของศาลควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
5.อย่าตั้งศาลให้อยู่ใกล้กับตัวบ้านมากนัก
6.อย่าหันหน้าศาลเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
7.ไม่ควรตั้งศาลให้หันหน้าตรงกับประตูหน้าบ้าน
8.ตั้งศาลให้ห่างจากรั้วหรือกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร
9.ถ้าสามารถยกพื้นที่ตั้งศาลให้สูงขึ้นสัก 1 คืบ จากพื้นดินได้ ก็เหมาะสมอย่างยิ่ง
10.ความสูงของศาล ควรสูงเหนือระดับสายตาของผู้เป็นเจ้าของบ้านขึ้นไปเล็กน้อย
[แก้ไข] ทิศทางการหันหน้าศาลพระภูมิสู่ทิศมงคล
1.ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ทิศอีสาน เป็นทิศที่ดีที่สุดหากตั้งศาลหันไปทิศนี้บ้านนั้นจะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป
2.ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นทิศที่ดีอันดับ 2 หากตั้งศาลหันไปทิศนี้บ้านนั้นจะมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 100 ปี หลังจากนั้น จะมีแต่เสื่อมลงๆจนถึงขั้นหาความสุขความเจริญไม่ได้
3.ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ทิศอาคเณย์ เป็นทิศที่ดีอันดับ 3 หากตั้งศาลหันไปทิศนี้บ้านนั้นจะมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 50 ปี หลังจากนั้น จะมีแต่เสื่อมลงๆ จนถึงขั้นหาความสุขความเจริญไม่ได้
[แก้ไข] ทิศต้องห้ามในการตั้งศาลพระภูมิ
        ทิศต้องห้ามในการตั้งศาลพระภูมิ คือ ทิศตะวันตกและทิศใต้

        เมื่อหาทิศทางตั้งศาลได้แล้วจะต้องพูนดินให้สูง 1 คืบ เกลี่ยดินด้วยมือและทุบให้แน่น ห้ามใช้เท้าเด็ดขาด และเตรียมน้ำมนต์ไว้พรมบริเวณพื้นดินเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ น้ำมนต์ที่ว่านี้เรียกว่า " น้ำมนต์ธรณีสาร " น้ำมนต์ธรณีสารนี้ ทำได้โดยนำน้ำธรรมดาไปให้พระท่านสวดพระพุทธมนต์ทำเหมือนน้ำมนต์ทั่วไปแต่ต่างกัน ตรงที่ให้ท่านนำใบไม้ต้นธรณีสารมาใส่ลงในน้ำที่จะทำน้ำมนต์

[แก้ไข] วันและฤกษ์ตั้งศาล
        มีความสำคัญมาก ควรเลือกวันที่ดีและมีความเป็นสิริมงคลเพื่อให้ประสิทธิ์ผลในทางมงคล แก่ผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือนนั้นสืบต่อไป วันต่อไปนี้ถือเป็นวันที่เป็นมงคลฤกษ์ แต่ถ้าวันข้างขึ้น หรือข้างแรมดังกล่าวไปตรงกั วันต้องห้ามของเดือนใด ให้เลี่ยงไปใช้วันอื่นเสีย

วันข้างขึ้น วันข้างแรม 
2 ค่ำ 2 ค่ำ 
4 ค่ำ 4 ค่ำ 
6 ค่ำ 6 ค่ำ 
9 ค่ำ  9 ค่ำ 
11 ค่ำ 11 ค่ำ 

 


[แก้ไข] เวลาฤกษ์อันเป็นมงคล
วัน เวลา 
วันอาทิตย์ 6.09 น. - 8.19 น 
วันจันทร์ 8.29 น. - 10.39 น. 
วันอังคาร 6.39 น. - 8.09 น. 
วันพุธ 8.39 น. - 10.19 น. 
วันพฤหัสบดี 10.49 น. - 11.39 น. 
วันศุกร์ 6.19 น. - 8.09 น. 
วันเสาร์ 8.49 น. - 10.49 น. 

[แก้ไข] วันต้องห้าม
เดือน วันต้องห้ามคือ 
เดือนอ้าย (ธันวาคม) วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ 
เดือนยี่ (มกราคม) วันพุธ และวันศุกร์ 
เดือน 3 (กุมภาพันธ์) วันอังคาร 
เดือน 4 (มีนาคม) วันจันทร์ 
เดือน 5 (เมษายน) วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ 
เดือน 6 (พฤษภาคม) วันพุธ และวันศุกร์ 
เดือน 7 (มิถุนายน) วันอังคาร 
เดือน 8 (กรกฎาคม) วันจันทร์ 
เดือน 9 (สิงหาคม) วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ 
เดือน 10 (กันยายน) วันพุธ และวันศุกร์ 
เดือน 11 (ตุลาคม) วันอังคาร 
เดือน 12 (พฤศจิกายน) วันจันทร์ 

        จะสังเกตได้ว่า จะไม่ปรากฏว่ามี วันอาทิตย์ เป็น ข้อห้ามเลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ยึดเอาวันอาทิตย์เป็นวันที่ดีที่สุดสำหรับการตั้งศาล เพราะคนโบราณถือกันว่า วันอาทิตย์นั้นแม้จะจะเป็นวันที่มีกำลังแรงดี แต่เป็นวันแรงและวันร้อน ไม่เหมาะที่จะทำการตั้งศาล เพราะบ้านอาจจะ ร้อน จรปราศจากความร่มเย็นเป็นสุข แต่ ถ้าหากผู้กระทำพิธีมีเคล็ดมีมนตร์แก้ความร้อนของวันได้ ก็สามารถคิดทำการตั้งศาลในวันนี้ได้ตามความสะดวก

[แก้ไข] ความสูงของศาล
        ขึ้นอยู่กับ ตัวเจ้าของบ้าน โดยให้ระดับฐานหรือชานชาลาพระภูมิอยู่เหนือระดับปาก (บางตำราว่าอยู่เหนือคิ้วพอดี ) ของผู้เป็นเจ้าของบ้าน ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าบ้าน ก็ควรจะตั้งศาลพระภูมิขึ้นใหม่

        การใช้ศาลพระภูมิร่วมกัน กรณีที่เป็นหมู่บ้าน,ชุมชนหรือตึกแถว ให้ยึดเอาความสูงจาก เจ้าของผู้สร้างเริ่มแรก หรือหัวหน้าชุมชนนั้นๆ โดยให้เป็นตัวแทนเพื่อมาทำการยกศาลพระภูมิขึ้นเพื่อบอกกล่าวและสักการะ ขอให้ท่านดูแลปกปักษ์รักษาให้คุณ ให้โชคลาภ ความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้อยู่อาศัยทุกคน

[แก้ไข] การปักเสาตั้งศาล
ต้        องเตรียมหลุมให้เสร็จก่อนเริ่มพิธี (ค่อยมีพิธีในวันรุ่งขึ้น) โดยต้องเตรียมของดังนี้พานครู 1 พาน ใช้สำหรับใส่ข้าว ธูป เทียนขาว ดอกไม้หรือพวงมาลัยสด เหล้า บุหรี่ ผ้าขาว เงิน 6 สลึงหรือ 99 บาท

[แก้ไข] รายการของมงคลใส่หลุม
1.เหรียญเงิน 9 เหรียญ
2.เหรียญทอง 9 เหรียญ ( เหรียญสลึงหรือ 50 สตางค์ ก็ได้ )
3.ใบเงิน 9 ใบ
4.ใบทอง 9 ใบ
5.ใบนาค 9 ใบ
6.ใบรัก 9 ใบ
7.ใบมะยม 9 ใบ
8.ใบนางกวัก 9 ใบ
9.ใบนางคุ้ม 9 ใบ
10.ใบกาหลง 9 ใบ
11.ดอกบานไม่รู้โรย 9 ดอก
12.ดอกพุทธรักษา 9 ดอก
13.ไม้มงคล 9 ชนิด
14.แผ่น เงิน,ทอง,นาค 1 ชุด
15.พลอยนพเก้า 1 ชุด
        การกลบหลุมนั้นให้ใช้มือกด ห้ามใช้เท้าโดยเด็ดขาด

[แก้ไข] ผู้ประกอบพิธีกรรมการตั้งศาลพระภูมิ
        ควรจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมีศีลธรรม ทำบุญทำทานประจำ มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม จะทำให้การตั้งศาลพระภูมิบังเกิดผลดี มีความเจริญรุ่งเรืองแก่เจ้าของบ้าน หรือเจ้าบ้านจะเป็นผู้กระทำพิธีกรรมก็ได้ โดยศึกษาขั้นตอนพิธีกรรมต่างๆ และให้ถือศีลกินเจ 7 วัน ( 3,5,7 วันก็ได้ หรือมากกว่านี้ก็ได้ )

[แก้ไข] ส่วนประกอบสำคัญของศาลพระภูมิ
        จะเหว็ดศาลพระภูมิ จะเป็นรูปพระภูมิอยู่ในแผ่นคล้ายแผ่นเสมา มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือถุงเงินหรือสมุด(หนังสือ) และการปลุกเสกจะเหว็ดให้เป็นองค์พระภูมิมีดังนี้ บรรจุธาตุทั้ง 6 คือ บรรจุพระพุทธคุณ,บรรจุพระธรรมคุณ,บรรจุพระสังฆคุณ ตลอดเทวคุณและวิญญาณธาตุเข้าไปในจะเหว็ดจากที่เรียกว่า จะเหว็ดเมื่อปลุกเสกแล้วก็จะเรียกว่า "พระภูมิ" บริวารของพระภูมิจะมี

1.ตุ๊กตาชาย-หญิง อย่างละ 1 คู่
2. ตุ๊กตาช้าง-ม้า อย่างละ 1 คู่
3.ละครยก 2 โรง
[แก้ไข] เครื่องประดับตกแต่งก็จะประกอบด้วย
1.แจกัน 1 คู่
2. เชิงเทียน 1 คู่
3.กระถางธูป 1 ใบ
4. ผ้าผูกจะเหว็ด 1 ผืน
5.ผ้าพันศาล 1 ชุด (ผ้าแพร 3 สี คือ สีเขียว,สีเหลืองและสีแดง)
6.ฉัตรเงิน-ทอง 2 คู่
7. ด้ายสายสิญจน์ 1 ม้วน
8.ผ้าขาว 1 ผืน
9. ทองคำเปลว
10.แป้งเจิม 1 ถ้วย
11.ดอกบัว 9 ดอก
12.ดอกไม้ 7 สี(มาลัย 7 สี )
[แก้ไข] เครื่องสังเวยสำหรับตั้งศาล
        จะประกอบด้วยอาหารคาวหวานดังนี้

1.หัวหมู 1 หัว
2.ไก่ต้ม 1 ตัว
3.เป็ด 1 ตัว
4.ปลานึ่ง 1 ตัว
5.ปู หรือ กุ้ง 1 จาน
6.บายศรีปากชามยอดไข่ 1 คู่
7.น้ำจิ้ม 2 ถ้วย
8.ข้าวสวย 2 ถ้วย
9.เหล้า 1 ขวด
10.น้ำชา 2 ถ้วย
11.น้ำสะอาด 2 แก้ว
12.มะพร้าวอ่อน 1 คู่
13.ขนมต้มแดง 2 จาน
14.ขนมต้มขาว 2 จาน
15.ขนมถั่วงา 2 จาน
16.ขนมถ้วยฟู 2 จาน
17.ขนมหูช้าง 2 จาน
18.เผือก-มันต้ม 2 จาน
19.ฟักทอง 2 ผล
20.แตงไทย 2 ผล
21.ขนุน 2 จาน
22.สับปะรด 2 ผล
23.กล้วย 2 หวี
24.ผลไม้ 5 ชนิด 2 จาน
25.พานหมาก พลู บุหรี่ 1 คู่
        **ถ้าขนาดบ้านและศาลพระภูมิเล็ก ก็สามารถใช้สับปะรดเพียง 1 ผลได้แต่จัดแบ่งเป็น 2 จาน *

[แก้ไข] เครื่องสังเวยสำหรับตั้งศาลมังสวิรัติ
1.มะพร้าวอ่อน 1 คู่
2.ถั่วคั่ว 2 จาน
3.งาคั่ว 2 จาน
4.เผือก-มันต้ม 2 จาน
5.ขนมต้มแดง 2 จาน
6.ขนมต้มขาว 2 จาน
7.ขนมถั่วงา 2 จาน
8.ขนมถ้วยฟู 2 จาน
9.ฟักทอง 2 ผล
10.แตงไทย 2 ผล
11.ขนุน 2 จาน
12.สับปะรด 2 ผล
13.สับปะรด 2 ผล
14.ผลไม้ 5 ชนิด 2 จาน
15.พานหมาก พลู บุหรี่ 1 คู่
16.น้ำสะอาด 2 แก้ว
17.ข้าวสวย 2 ถ้วย
18.น้ำชา 2 ถ้วย
19.นม 2 ถ้วย
20.เนย 2 ถ้วย
[แก้ไข] ผลไม้ที่ห้ามนำถวาย
1. มังคุด
2. ละมุด
3. ระกำ
4.มะเฟือง
5.มะไฟ
6.น้อยโหน่ง
7. น้อยหน่า
8.กระท้อน
9.ลูกท้อ
10.ลูกจาก
11.ลูกพลับ
12.มะขวิด
13.มะตูม
14.พุทรา
15.ลางสาด
        คนไทยโบราณมีความเชื่อว่าผลไม้ทั้ง 15 ชนิดนี้เป็นอัปมงคล ไม่ควรนำมาถวายเป็นเครื่องสังเวยหน้าศาลพระภูมิเป็นอันขาด

[แก้ไข] ส่วนฤกษ์ที่ห้ามยกศาลโดยเด็ดขาด
ฤกษ์คนจน จะทำให้ตกต่ำไม่เจริญก้าวหน้า
ฤกษ์โจร จะถูกโจรผู้ร้ายเบียดเบียน
ฤกษ์นักการเมือง จะถูกโยกย้ายบ่อย อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง
ฤกษ์พระสงฆ์ ไม่เหมาะกับชาวบ้านให้งดเว้น เพราะถือเป็นฤกษ์ขัดลาภ
        ถ้าเป็นวันดีตามโบราณจะเป็นวันที่ตรงกับข้างขึ้นหรือข้างแรม ๒, ๔, ๖, ๙, ๑๑ ค่ำ ส่วนวันเดือนที่ห้ามยกศาลมีวันพฤหัสบดี วันเสาร์เดือน ๑, ๕, ๙ วันพุธ วันศุกร์เดือน ๒, ๖, ๑๐ วันอังคารเดือน ๓, ๗, ๑๑ และวันจันทร์เดือน ๔, ๘, ๑๒

        เมื่อหาฤกษ์งามยามดีแล้ว จึงหาที่ตั้งศาลตามตำรากล่าวว่าต้องเป็นที่ที่สะอาด เงาบ้านไม่ควรทับศาล และเงาศาลไม่ควรทับบ้านเช่นกัน เพราะจะเป็นการหมิ่นพระภูมิ ถือเป็นอัปมงคล และห้ามหันหน้าเจว็ดตรงทางเข้าบ้าน เพราะถือว่าเป็นการเหยียบศรีษะพระภูมิท่าน บริเวณที่ดินที่จะใช้ตั้งศาล ควรมีความกว้างยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ๔ x ๔ ยกพื้นให้เหนือพื้นดินประมาณ ๑ คืบ ให้มีพื้นที่พอเดินรอบศาลได้

[แก้ไข] วิธีบูชาศาลพระภูมิ
        ต้องเข้าทางปลายเท้าถือเป็นเคล็ดตามข้อดังนี้

วันอาทิตย์ - เข้าทางทิศตะวันตก
วันจันทร์ - เข้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
วันอังคาร - เข้าทางทิศเหนือ
วันพุธ - เข้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
วันพฤหัส - เข้าทางทิศตะวันออก
วันศุกร์ - เข้าทางทิศใต้
วันเสาร์ - เข้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

คัมภีร์ฮวงจุ้ย

บ้านไหมทอง


ประเภทของหน้า: ศาสนาพุทธ