สภาอุณาโลมแดง

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
03/01/2008
ที่มา: 
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เว็บไซต์สภากาชาดไทย

ภาพ:กาชาด.jpg


        สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามหรือสภากาชาดสยาม ก่อตั้งปี พ.ศ. 2436 เพื่อช่วยเหลือทหารบาดเจ็บในกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสหรือที่เรียกว่า เหตุการณ์ ร.ศ. 112 ปัจจุบันเป็นกรมแผนที่ทหาร

 

[แก้ไข]
สภาอุณาโลมแดง

        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ก่อตั้งองค์กรการกุศล เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2436 (ร.ศ.112) ใช้ชื่อว่า "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" โดยดำเนินการช่วยทหารบาดเจ็บ ป่วยไข้จากการสู้รบ ทำหน้าที่ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ รักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยจากภัยสงคราม และภัยพิบัติต่างๆ


        เมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) มีกรณีพิพาท ระหว่าง ประเทศสยาม กับฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้ทวีความรุนแรงจนถึงมีการสู้รบ เป็นเหตุให้ทหาร บาดเจ็บล้มตายมาก ไม่มีองค์การกุศล ทำหน้าที่ช่วยเหลือ พยาบาลบรรเทาทุกข์ อย่าง เป็นล่ำเป็นสัน ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ได้ดำเนินการชักชวน และรวบรวมสตรีอาสาสมัครขึ้น และได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี พระนางเจ้าฯ พระวรราชเทวี พระนางเจ้าฯ พระราชเทวี และพระอรรคชายาเธอ ขอให้นำความขึ้น กราบบังคมทูล พระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้ง "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" ขึ้น เพื่อปฏิบัติการ บรรเทาทุกข์ทหารที่บาดเจ็บ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสว่า เป็นความคิดอันดี ตามแบบอย่างประเทศที่เจริญแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชูปถัมภ์ และพระบรมราชานุญาตให้เรี่ยไรได้เงินถึง ๔๔๓,๗๑๖ บาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาลในสมัยนั้น กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) เป็นสภาชนนี สมเด็จพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) เป็นสภานายิกา และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เป็นเลขานุการิณี สภาอุณาโลมแดง

 

[แก้ไข] จากสภาอุณาโลมแดง...ถึงสภากาชาดไทย

        8 พฤษภาคม เป็นวันกาชาดโลก สภากาชาดของประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วม สภากาชาดสากล มีภารกิจหลักในการช่วยบรรเทาทุกข์ บำรุงสุขแก่เพื่อนมนุษย์ โดยให้ความช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ผู้ประสบภัยพิบัติ ผู้ตกทุกข์ได้ยากภายในประเทศ นอกจากนี้สภากาชาดไทยยังให้ความช่วยเหลือไป ถึงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกด้วยโดยไม่แบ่งชั้น วรรณะ เชื้อชาติ ศาสนา และในโอกาสวันกาชาดโลก

ภาพ:คุณหญิงเปลี่ยน.jpg


คุณหญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์

 

        ปฐมเหตุแห่งการกำเนิดของสภากาชาดสยาม เท่าที่ปรากฏในหน้าบันทึกประวัติศาสตร์แทบทุกเล่มมุ่งตรงไปยังเหตุการณ์ เมื่อ ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 อันนับว่าเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นั่นคือ การเกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ กุลสตรีไทยผู้สูงศักดิ์ในสมัยนั้น ได้ดำเนินการชักชวนและรวบรวมสตรีอาสาสมัครขึ้น และได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี พระบรมราชเทวีในพระ-บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรม ราชานุญาตตั้ง "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" เพื่อปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ทหารที่บาดเจ็บ


        นับว่าท่านผู้หญิงเปลี่ยน เป็นสตรีที่ทันสมัย มีความคิดริเริ่ม เฉลียวฉลาดมีความสามารถในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่งท่านหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้ที่ได้ริเริ่มกิจการกาชาดขึ้น เป็นคนแรกในประเทศสยาม


        ครั้นต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งพระยุพราช ได้เสด็จกลับจากการศึกษาที่ประเทศอังกฤษ เสด็จผ่านประเทศญี่ปุ่นได้ทอดพระเนตรโรงพยาบาลของกาชาดญี่ปุ่น ทำให้ทรงพระดำริว่า ถ้าได้จัดโรงพยาบาลของกาชาดขึ้นในเมืองไทย ก็จะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง และเมื่อสมเด็จพระราชบิดา เสด็จสู่สวรรคาลัย พระองค์จึงได้ร่วมกับพระราชภราดาภคินีทรงบริจาคทรัพย์ร่วมกับทุนของสภาอุณาโลมแดงที่มีอยู่ สร้างโรงพยาบาลขึ้นในที่ดินส่วนพระองศ์แล้วโปรดเกล้าฯ ขนานนามตามพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" เพื่อเป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดา และให้โรงพยาบาลนี้เป็นของสภากาชาดสยาม เมื่อ พ.ศ. 2457 (ชื่อสภาอุณาโลมแดงและสภากาชาดนี้เรียกปะปนกันตลอด มา แต่เมื่อ พ.ศ. 2453 ชื่อสภาอุณาโลมแดงก็สูญไป คงใช้กันแต่สภากาชาดสยาม หรือสภากาชาดไทย ตามชื่อประเทศ ซึ่งเปลี่ยนจากสยามเป็นไทยมาจนบัดนี้)


        สำหรับการเข้าร่วมสภากาชาดสากลนั้น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้รับรอง สภากาชาดไทยเข้าในสากลสัญญา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2463 และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยว วงเดือนแดงระหว่างประเทศ (เดิมคือ สันนิบาตสภากาชาด) ได้รับสภากาชาดไทยเข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2464


ขอขอบคุณข้อมูลจาก