สิทธิและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
21/01/2008
ที่มา: 
กระทรวงยุติธรรม

สิทธิและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๔๐ ถือว่าหัวใจสําคัญของการเมืองคือ ประชาชนจึงไดปรับการเมืองใหประชาชนไดมีสวนรวมในการปกครองประเทศมากขึ้น ด้วยการเพิ่มสิทธิเสรีภาพใหประชาชนในด้านต่าง ๆ พรอมทั้งทําใหสิทธิและเสรีภาพนั้นมีผลเป็นจริงในทางปฏิบัติ

         คําว่า “สิทธิ” พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ใหคําจํากัดความไวว่า หมายถึง อํานาจที่จะกระทําการใดๆ ได้อย่างอิสระ โดยไดรับการรับรองจากกฎหมาย ส่วนคําว่า “เสรีภาพ” หมายความว่าการที่บุคคลสามารถจะเลือกคิด ทํา พูด อย่างไรก็ตามความพอใจของตน

         และคําว่า “หน้าที่” หมายความว่า กิจที่ควรทํา กิจที่ตองทํา ซึ่งแตกต่างกันไปตามบทบาทของแตละคน เช่น พ่อแม่มีหน้าที่อบรมเลี้ยงดูลูก ส่วนลูกมีหน้าที่แสดงความกตัญูต่อพ่อแมนักเรียนมีหน้าที่เรียนหนังสือเหล่านี้เป็นต้น

         ฉะนั้นการคํานึงถึงสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของคนเราจึงเป็นสิ่งสําคัญที่ควรตระหนักรูและจะต้องไมล่วงล้าสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ซึ่งถือเปนปกติของสังคมที่จะกําหนดสิทธิเสรีภาพ และหนาที่ของบุคคลว่าจะใชทําอะไรก็ได ตราบเท่าที่ไมสร้างความเดือดร้อนใหแก่ผู้อื่นโดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ให้การรับรองสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ตลอดจนหน้าที่ของประชาชนคนไทยไวดังนี้

        สิทธิและเสรีภาพของประชาชนไทยตามรัฐธรรมนูญ

         ๑. การรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย คือการห้ามปฏิบัติต่อมนุษย์เยี่ยงสัตว์หรือเยี่ยงทาส เช่น จะนํามนุษย มาทดลองเหมือนสัตวไมได และจะใช้สิทธิที่ได้รับการรับรองนี้ทําสิ่งใดก็ได แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ประกอบด้วย

         มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมไดรับความคุ้มครอง

         มาตรา ๒๖ การใชอํานาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย สิทธิและเสรีภาพตามบท บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

         มาตรา ๒๗ สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรองไวโดยชัดแจ้ง โดยปริยาย หรือโดย คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมไดรับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใชบังคับกฎหมายและการตีความกฎหมายทั้งปวง

         มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย หรือ ใช้สิทธิและเสรีภาพของตนไดเท่าที่ไมละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไมเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไมขัดต่อศีลธรรมอันดีของ ประชาชน

         บุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว สามารถยกบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อใช้สิทธิทางศาล หรือยกขึ้นเป็นขัอต่อสูคดีในศาลได

         มาตรา ๒๙ การจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไวจะกระทํามิได เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญที่กําหนดวและเท่าที่จําเป็นเท่านั้นและจะกระทบกระเทือนสาระสําคัญแห่งสิทธิเสรีภาพนั้นมิได

         กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใชบังคับเป็นการทั่วไปและไมมุ่งหมายให้ใช้บังคับแก กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ใหอํานาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย

         บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสอง ใหนํามาใชบังคับกับกฎหรือขอบังที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วยอนุโลม

         ๒. การรับรองความเสมอภาคของบุคคล รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะใหความคุ้มครองประชาชนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มีความเปนธรรม และไมเลือกปฏิบัติกับคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ ประกอบด้วย

         มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไมว่าเหล่ากําเนิด เพศ หรือศาสนาใดย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอนี้

         มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและไดรับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

         การเลือกปฏิบัติโดยไมเป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื่อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไมขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทํามิได

         มาตรการที่รัฐกําหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมใหบุคคลสามารถใช สิทธิและ เสรีภาพไดเช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

         ๓. สิทธิในชีวิตและร่างกาย ประชาชนจะไดรับความคุ้มครองในชีวิตและร่างกายตามกฎหมาย โดยห้ามการทรมาน ทารุณกรรม หรือลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย ไรมนุษยธรรม ประกอบด้วย

         มาตรา ๓๑ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

         การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไรมนุษยธรรม จะกระทํามิได แตการลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ ไมถือว่าเปนการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไรมนุษยธรรมตามความในวรรคนี้

         การจับ คุมขัง ตรวจค้นบุคคล หรือการกระทําใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทํามิได เว้นแตโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

         มาตรา ๒๓๗ ในคดีอาญา การจับและคุมขังบุคคลใด จะกระทํามิได เว้นแตมีคําสั่งศาลหรือหมายศาล หรือผู้นั้นไดกระทําความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจําเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไมมีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติโดยผูถูกจับจะต้องไดรับการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับ โดยไม่ชักช้า กับจะต้องได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ถูกจับไววางใจทราบในโอกาสแรก และผูถูกจับซึ่งยังถูกควบคุมอยู ต้องถูกนําตัวไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแตเวลาที่ผู้ถูกจับนําตัวไปถึงที่ทําการของพนักงานสอบสวน เพื่อศาลพิจารณาว่ามีเหตุที่จะขังผูถูกจับไวตามกฎหมายหรือไม เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจําเป็นอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

         หมายจับหรือหมายขังบุคคลจะออกไดต่อเมื่อ

         (๑) มีหลักฐานตามสมควรว่าผูนั้นน่าจะไดกระทําความผิดอาญาร้ายแรงที่มีอัตราโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือ

         (๒) มีหลักฐานตามสมควรว่าผูนั้นน่าจะไดกระทําความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าผูนั้นจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นด้วย

         สิทธิเสรีภาพในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว ประชาชนจะไดรับความคุ้มครองในความเป็นอยู่ส่วนตัวมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกัน มีสิทธิที่จะเลือกเดินทางหรือเลือกอยูอาศัยที่ใดก็ไดในประเทศไทย ตลอดจนสิทธิของบุคคลอื่น ๆ ในครอบครัวไดรับความคุ้มครองด้วยเช่นกัน ประกอบด้วย

         มาตรา ๓๔ สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมไดรับความคุ้มครอง

         การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไมว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระทํามิได เว้นแตกรณีที่เป็นประโยชนต่อสาธารณชน

         มาตรา ๓๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน

         บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยูอาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุขการเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเคหสถานจะกระทํา มิได้เว้นแตโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

         มาตรา ๓๖ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัยภายใน ราชอาณาจักร

         การจํากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทํามิได เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน การผังเมือง หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว

         การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้บุคคล ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรจะกระทํามิได

         มาตรา ๓๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อกันถึงกัน รวมทั้งการกระทําด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อกันถึงกัน รวมทั้งการกระทําด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน จะกระทํามิได เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

         ๔. สิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล ประชาชนจะไดรับความคุ้มครองในทรัพย์สิน การสืบทอดมรดก และการเวนคืนอสังหาริมทรัพยต่างๆ จะทําโดยพลการไมได และจะต้องไดรับการชดใช้ค่าเสียหายจากการเวนคืนนั้นอย่างเป็นธรรม

         มาตรา ๔๘ สิทธิของบุคคลในทรัพยสินย่อมไดรับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจํากัดสิทธิเช่นว่านี้ ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ การสืบมรดกยอมไดรับความคุมครอง สิทธิของบุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

         มาตรา ๔๙ การเวนคืนอสังหาริมทรัพยจะกระทํามิได เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การอันจําเป็ในการปองกันประเทศ การไดมาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมือง การส่เสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม การพัฒนาการเกษตรหรือ การอุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชนสาธารณะอยางอื่น และตองชดใชคาทดแทนที่เปนธรรมภายในเวลาอันควรแกเจาของตลอดจนผูทรงสิทธิบรรดาที่ไดรับความเสียหายในการเวนคืนนี้ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         การกําหนดค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง ต้องกําหนดใหอย่างเป็นธรรม โดยคํานึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ การไดมา สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพยและความเสียหายของผูถูกเวนคืน

         กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพยต้องระบุวัตถุประสงคแห่งการเวนคืนและกําหนดระยะเวลาการเข้าใชอสังหาริมทรัพยไวใหชัดแจ้ง ถามิไดใชเพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าว ต้องคืนใหเจ้าของเดิมหรือทายาท

         การคืนอสังหาริมทรัพยใหเจ้าของเดิมหรือทายาทตามวรรคสามและการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใชไป ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

         ๕. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษาหาความรู ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกศึกษาหาความรู และรัฐจะ ต้องมีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานใหเปล่าอย่างน้อย ๑๒ ป

         มาตรา ๔๒ บุคคลยอมมีเสรีภาพในทางวิชาการ

         การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมไดรับ คุ้มครอง ทั้งนี้เท่าที่ไมขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

         มาตรา ๔๓ บุคคลยอมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองป ที่รัฐจะต้องจัดใหอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไมเก็บค่าใชจ่าย

         การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคํานึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใตการกํากับดูแลของรัฐ ย่อมไดรับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         ๖. สิทธิในการไดรับการรักษาพยาบาล ประชาชนทุกคนจะไดรับการบริการสาธารณสุข ที่ไดมาตรฐานอย่างเท่าเทียมกัน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาฟรีจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ

         มาตรา ๕๒ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ไดมาตรฐาน และ ผู้ยากไรมีสิทธิไดรับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         การบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้อง ส่งเสริมใหองค์กรปกครองท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทําได

         การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย รัฐต้องจัดใหแกประชาชนโดยไมคิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         ๗. สิทธิในการใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติ ประชาชนมีสิทธิที่จะจัดการดูแล ส่งเสริมคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับรัฐและชุมชน และโครงการใด ๆ ก็ตามที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง จะต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบเสียก่อนจึงจะดําเนินการได

         มาตรา ๕๖ สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบํารุงรักษา และการได้ประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อใหดํารงชีพอยูได้อย่างปกติและต่อเนื่อง ในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อใหเกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยสวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของตนย่อมไดรับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         การดําเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อใหเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อมจะกระทํามิไดเว้นแตจะไดศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไดให้องค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมใหความเห็นประกอบก่อนมีการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ย่อมได้รับความคุ้มครอง

         ๘. สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะและข้อมูลทางราชการ ประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นสาธารณะของหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานอื่น ๆ มีสิทธิขอข้อมูล คําชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐในการดําเนินโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู ตลอดจนมีสิทธิในการทําประชาพิจารณ


         มาตรา ๕๘ บุคคลยอมมีสิทธิไดรับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงาน ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นเว้นแตการเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนไดเสียอันพึงไดรับความคุ้มครองของ บุคคลอื่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         มาตรา ๕๙ บุคคลยอมมีสิทธิไดรับข้อมูล คําชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนการอนุญาตหรือการดําเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนไดเสียสําคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่นและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ

         มาตรา ๖๐ บุคคลยอมมีสิทธิส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการทางการปกครอง อันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         ๙. สิทธิในการแจ้งความร้องทุกขประชาชนมีสิทธิร้องทุกขในเรื่องต่างๆ และมีสิทธิฟ้อง หน่วยงานของรัฐได

         มาตรา ๖๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกขและไดรับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลา อันสมควร ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         มาตรา ๖๒ สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการ ส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจากการกระทําหรือการละเว้นการกระทําของข้าราชการพนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยงานนั้น ย่อมไดรับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         ๑๐. สิทธิของบุคคลวัยต่างๆ สิทธิของเด็ก คนชรา และคนพิการ จะไดรับความคุ้มครอง โดยเด็กจะไดรับการดูแลและคุ้มครองโดยรัฐจากความโหดรายทารุณ คนชราและคนพิการมีสิทธิไดรับความช่วยเหลือจากรัฐตามความเหมาะสม

         มาตรา ๕๓ เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิไดรับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใชความรุนแรงและการปฏิบัติอันไมเป็นธรรม

         เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแล มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         มาตรา ๕๔ บุคคลซึ่งมีอายุเกิน ๖๐ ปบริบูรณ และไมมีรายไดเพียงพอแกการยังชีพมีสิทธิไดรับการช่วยเหลือจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         มาตรา ๕๕ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพมีสิทธิไดรับสิ่งอํานวยความสะดวกอันเปนสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ


         ๑๑. สิทธิของผูบริโภค

         มาตรา ๕๗ สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องบัญญัติให้มีองคการอิสระซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทําหน้าที่ใหความเห็นในการตรากฎหมาย กฎ และข้อบังคับ และใหความเห็นในการกําหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

         ๑๒. สิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ในการอนุรักษและฟินฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญา ศิลปะ และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการบํารุงรักษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น

         มาตรา ๔๖ บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟินฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบํารุงรักษาและการใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         มาตรา ๗๙ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนใหประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บํารุงรักษา และใช้ประโยชน จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริม บํารุงรักษา และคุ้มครองสิ่งแวดลอมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุมและกําจัดภาวะมลพิษที่มีผลตอสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

         มาตรา ๒๙๐ เพื่อสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม องคกรปกครองสวนทองถิ่นยอมมีอํานาจหนาที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         กฎหมายตามวรรคหนึ่งอยางนอยตองมีสาระสําคัญดังตอไปนี้

         (๑) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดลอมที่อยูในเขตพื้นที่

         (๒) การเขาไปมีสวนรวมในการบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมที่อยูนอกเขตพื้นที่ เฉพาะในกรณีที่อาจมีผลกระทบตอการดํารงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของตน

         (๓) การมีสวนรวมในการพิจารณาเพื่อริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมใดนอกเขตพื้นที่ซึ่งอาจมีผลกระทบตอคุณภาพสิ่งแวดลอม หรือสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่

         ๑๓. สิทธิของผูตองหาในคดีอาญา ประชาชนจะตองไมรับโทษอาญายกเวนถามีการทําความผิดตามที่กฎหมายระบุไว และผูตองหามีสิทธิจะใหทนายความเขาฟงการสอบสวนได ตลอดจนถาศาลตัดสินวาจําเลยไมมีความผิด ก็มีสิทธิจะเรียกรองคาชดใชตาง ๆ จากรัฐได

         มาตรา ๓๒ บุคคลจะตองไมรับโทษอาญา เวนแตจะไดกระทําการอันกฎหมายที่ใชอยูในเวลาที่กระทํานั้นบัญญัติเปนความผิดและกําหนดโทษไว และโทษที่จะลงแกบุคคลนั้นจะหนักกวาโทษที่กําหนดไวในกฎหมายที่ใชอยูในเวลาที่กระทําความผิดมิได


         มาตรา ๓๓ ในคดีอาญา ตองสันนิษฐานไวกอนวาผูตองหาหรือจําเลยไมมีความผิด

         กอนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงวาบุคคลใดไดกระทําความผิด จะปฏิบัติตอบุคคลนั้นเสมอเปนผูกระทําความผิดมิได

         ๑๔. สิทธิของบุคลากรรัฐ

         มาตรา ๖๔ บุคคลผูเปนทหาร ตํารวจ ขาราชการ เจาหนาที่อื่นของรัฐ พนักงานสวนทองถิ่น และพนักงานหรือลูกจางขององคการของรัฐ ยอมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเชนเดียวกับบุคคลทั่วไป เวนแตที่จํากัดในกฎหมาย กฎหรือขอบังคับที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมาย เฉพาะในสวนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจรรยาบรรณ

         ๑๕. เสรีภาพในการนับถือศาสนา ประชาชนจะเลือกนับถือศาสนาใดก็ไดที่ไมขัดตอความสงบเรียบรอยของบานเมือง

         มาตรา ๓๘ บุคคลยอมมีเสรีภาพบริบูรณในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และยอมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตนเมื่อไมเปนปฏิปกษตอหนาที่ของพลเมืองและไมเปนการขัดตอความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

         การใชเสรีภาพดังกลาวตามวรรคหนึ่งบุคคลยอมไดรับความคุมครองมิใหรัฐกระทําการใดๆ อันเปนการลิดรอนสิทธิหรือเสียประโยชนอันควรมีควรไดเพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยม ในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกตางจากบุคคลอื่น

         ๑๖. เสรีภาพในการประกอบอาชีพการงาน ประชาชนสามารถประกอบอาชีพใดก็ไดโดยสุจริตแตตองอยูในขอบเขตของความสงบเรียบรอยของสังคม

         มาตรา ๕๐ บุคคลยอมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแขงขันโดยเสรีอยางเปนธรรม

         การจํากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทํามิได เวนแตโดยอาศัยตามบทบัญญัติแหงกฎหมายเฉพาะเพื่อประโยชน ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุมครองประชาชนในดานสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพการคุมครองผูบริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือ สิ่งแวดลอม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อปองกันการผูกขาดหรือขจัดความไมเปนธรรมในการแขงขัน

         มาตรา ๕๑ การเกณฑแรงงานจะกระทํามิได เวนแตโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมายเฉพาะเพื่อประโยชนในการปองปดภัยพิบัติสาธารณะ อันมีมาเปนการฉุกเฉิน หรือโดยอาศัยอํานาจตามบท บัญญัติแหงกฎหมายซึ่งกระทํามิได ในระหวางเวลาที่ประเทศอยูในภาวะสงครามหรือการรบ ในระหวางเวลาที่มีการประกาศสถานการณฉุกเฉินหรือประกาศใชกฎอัยการศึก

         ๑๗. เสรีภาพทางการเมือง ประชาชนมีเสรีภาพในการวมตัวกันตั้งพรรคการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย

         มาตรา ๔๗ บุคคลยอมมีเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งเปนพรรคการเมืองเพื่อสรางเจตนารมณทางการเมืองของประชาชน และเพื่อดําเนินกิจการในทางการเมืองใหเปนไปตามเจตนารมณนั้น ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุขตามที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญนี้

         การจัดองคกรภายใน การดําเนินกิจการ และข้อบังคับของพรรคการเมือง ต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

         การจัดองคการภายในกิจการและข้อบังคับของพรรคการเมืองต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย ทรงเป็นประมุข

         สมาชิกสภาผูแทนราษฎรซึ่งเปนสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารของพรรค การเมืองหรือสมาชิกพรรคการเมืองตามจํานวนที่กําหนดในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค การเมืองซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองนี้ตนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตาม รัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแหงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริยเป็นประมุขมีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

         ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีมติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับหลักการ พื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้มติหรือ ข้อบังคับนั้นเป็นอันเลิกไป

         ๑๘. เสรีภาพของสื่อมวลชน สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเสนอข่าวสาร ไดอย่างอิสระแต่จะต้องอยู่ในขอบเขตของจรรยาบรรณในอาชีพ

         มาตรา ๔๑ พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอขาวและความคิดเห็นภายใตข้อจํากัดตามรัฐธรรมนูญ โดย ไมตกอยู่ภายใต้อาญัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณแห่งการประกอบอาชีพ

         ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ในกิจการวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน ย่อมมีเสรีภาพเชนเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่ง


         ๑๙. ขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพ

         มาตรา ๖๓ บุคคลที่จะใชสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อใหไดมาซึ่งอํานาจในการ ปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิไดเป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญนี้ มิได

         ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทําการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้เห็นการกระทําดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องใหอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคําร้องขอใหศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่ง

         ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการใหพรรคการเมืองใดเลิกกระทําการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได

         หน้าที่ของชนชาวไทย รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไดกําหนดหน้าที่ของประชาชนไทยไวดังนี้

         มาตรา ๖๖ บุคคลมีหน้าที่รักษาไวซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้

         มาตรา ๖๗ บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

         มาตรา ๖๘ บุคคลมีหน้าที่ไปใชสิทธิเลือกตั้ง

         บุคคลซึ่งไมไปเลือกตั้งโดยไมแจ้งเหตุอันสมควรที่ทําใหไมอาจไปเลือกตั้งได้ย่อมเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ

         การแจ้งเหตุที่ทําใหไมอาจไปเลือกตั้ง และการอํานวยความสะดวกในการไปเลือกตั้งใหเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

         มาตรา ๖๙ บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศรับราชการทหารเสียภาษีอากรช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ ปกปอง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

         มาตรา ๗๐ บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการสวนทองถิ่น และเจาหนาที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดําเนินการใหเป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชนส่วนรวม อํานวยความสะดวกและใหบริการแก่ประชาชน

         ในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนบุคคลตามวรรคหนึ่งต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง

         ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งละเลย หรือไมปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง บุคคลผู้มีส่วนไดเสียย่อมมีสิทธิขอใหบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือผู้บังคับบัญชาของบุคคล ดังกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลและขอใหดําเนินการใหเป็นไปตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได

 

 

--------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

กระทรวงยุติธรรม

ประเภทของหน้า: บทความกฎหมาย