หลักกฎหมายปิดปาก (Estoppel)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
22/01/2008
ที่มา: 
www.dtl-law.com

หลักกฎหมายปิดปาก (Estoppel)
        Concept ของ หลักกฎหมายปิดปาก คือ การที่บุคคลหนึ่งมีสิทธิอยู่ตามกฎหมาย แต่กฎหมายกลับไม่ยอมให้เขากล่าวอ้างสิทธิเพื่อเรียกเอาประโยชน์ใดๆได้

        หลักกฎหมายปิดปากถือเป็นส่วนหนึ่งหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับหลักสุจริต ที่ปรากฎอยู่ในมาตรา 5 ของ ปพพ. ตัวอย่างของหลักกฎหมายปิดปาก เช่น

        มาตรา 407 กล่าวว่า บุคคลใดกระทำการตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ท่านว่าผู้นั้นหามีสิทธิที่จะได้รับคืนทรัพย์ไม่

ตัวอย่าง

        ก.เป็นหนี้ ข. ค.ซึ่งเป็นบุตรชายของ ก. ได้นำเงินของตนไปชำระหนี้ ข. แทน ก. และ ก. ก็ทราบ แต่ยังคงนำเงินไปชำระให้ ข. ในเวลาต่อมาอีก เช่นนี้ถือว่าหนี้ระงับแล้วตั้งแต่ ค. นำเงินของตนไปชำระหนี้ให้แก่ ข. เพราะการชำระหนี้นั้นบุคคลภายนอกชำระแทนได้ ก.ทราบว่าหนี้ระงับแล้วแต่ก็ยังสมัครใจนำเงินไปชำระ ก. ผู้ชำระหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินคืนเพราะกฎหมายเห็นว่าการสมัครใจกระทำ ไม่ถือว่าเป็นการทำให้ตนต้องเสียเปรียบ

        ซึ่งจะเห็นได้ว่า แม้ไม่มีความผูกพันอยู่จริง แต่ได้ฝ่าฝืนชำระหนี้ไป กฎหมายก็ไม่ยอมให้อ้างว่าไม่มีความผูกพัน เพื่อเรียกทรัพย์คืนแต่อย่างใด มาตรา


        มาตรา 411 บุคคลใดได้กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืน ข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ท่านว่าบุคคลนั้นหาอาจจะ เรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่

ตัวอย่าง

         ก. จ่ายเงินเพื่อซื้อยาบ้าจาก ข. แต่ข.ไม่ส่งยาบ้าให้ เช่นนี้ ก.ไม่มีสิทธิเรียกเงินจำนวนนั้นคืนเพราะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นต้น หรือเช่นชายมีภริยาอยู่แล้วแต่ได้ให้ทรัพย์สินแก่หญิงซึ่งมิใช่ภริยาตน โดยมีข้อตกลงว่าหญิงนั้นจะยอมเป็นภริยาน้อย เมื่อหญิงได้ทรัพย์ไปแล้วไม่ยอมอยู่กินด้วย ชายย่อมไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์คืนได้เพราะเป็นการฝ่าฝืนศีลธรรม เป็นต้น

        นอกจากนั้นแล้ว บุคคลผู้ชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้วก็ไม่มีสิทธิจะได้รับเงินที่ชำระหนี้คืน เพราะหนี้ที่ขาดอายุความก็คือหนี้ที่ล่วงเลยกำหนดเวลาฟ้องร้อง หรือหนี้ที่ลูกหนี้สามารถที่จะปฎิเสธการชำระหนี้ได้ แต่จริงๆหนี้นั้นยังมีอยู่

        หลักกฎหมายเหล่านี้ล้วนแต่เป็น ที่เป็นหลักกฎหมายทั่วไป(ในทางแพ่ง) เห็นไหมครับ กฎหมายปิดปากสนิทเลย อ้างไม่ได้แม้แต่นิดเดียว


--------------------------------------------------------------------------------


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

www.dtl-law.com

ประเภทของหน้า: บทความกฎหมาย