เทคนิคการตั้งชื่อเครื่องหมายการค้า

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
30/01/2008
ที่มา: 
lawamendment.go. โดย พัฒเนธ น้อยฉายา

เทคนิคการตั้งชื่อเครื่องหมายการค้า


        ปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เครื่องหมายการค้า (Trademark) หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ ยี่ห้อหรือตราสินค้า เป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าของผู้ประกอบการ เครื่องหมายการค้าที่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคจำนวนมาก ย่อมช่วยในการเพิ่มยอดขายและในการขยายตลาด แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงประการต่อมาก็คือ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายมากน้อยเพียงใด หากสำรวจการใช้เครื่องหมายการค้าในปัจจุบัน จะพบว่าเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงหลายเครื่องหมาย ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน หรืออยู่ในระหว่างจดทะเบียน หรือเคยถูกปฏิเสธรับจดทะเบียนมาแล้ว หมายความว่า เครื่องหมายการค้าเหล่านั้น ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์ ผลร้ายที่ตามมาก็คือ เจ้าของเครื่องหมายการค้า จะไม่สามารถหาวิธีการเยียวยาแก้ไขความเสียหายของตนได้ หากมีใช้เครื่องหมายการค้าของตนในการปลอมแปลงสินค้า สาเหตุที่สำคัญของปัญหาดังกล่าวเกิดจาก การนำสินค้าออกวางตลาด โดยไม่ได้นำเครื่องหมายการค้าไปจดทะเบียนเสียก่อน เมื่อสินค้าติดตลาดแล้ว ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าถูกปฏิเสธรับจดทะเบียน เนื่องจากไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย เช่นเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ หรือลักษณะของสินค้าโดยตรง เป็นต้น วิธีการที่ถูกต้องก็คือ ผู้ประกอบการควรนำเครื่องหมายการค้า ไปจดทะเบียนเสียก่อนที่จะนำสินค้าออกวางตลาด การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับเครื่องหมายการค้านั้นว่า มีลักษณะบ่งเฉพาะเพียงพอหรือไม่ เทคนิคในการคิดค้นเครื่องหมายการค้า ให้ได้รับการจดทะเบียนมีดังนี้

        1. พยายามใช้คำหรือข้อความที่คิดค้นขึ้นเอง เช่น นำคำสองคำประสมกันจนเกิดเป็นคำใหม่ที่ไม่มีความหมาย เช่น เครื่องหมายการค้า "Jewelux" ใช้กับสินค้าอัญมณี มาจากการประสมคำว่า Jewel (เพชรพลอย) กับ Luxury (หรูหรา) ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์สามารถจดทะเบียนได้หรือประดิษฐ์คำใหม่ทั้งคำ เช่น เครื่องหมายการค้า "Gertos" ใช้กับสินค้ายาฆ่าเชื้อโรค อย่างไรก็ตาม การเขียน...นเสียงคำที่แสดงถึงคุณสมบัติ หรือลักษณะของสินค้าบางคำ ไม่ถือว่าเป็นคำเป็นประดิษฐ์ เช่น คำว่า "Klean" เขียนขึ้นโดย...นเสียงคำว่า "Clean (สะอาด)" ไม่ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์ ซึ่งรวมถึงการเติมเครื่องหมายยติภังค์ (-) ระหว่างกลาง เช่นคำว่า "fresh-up" ถ้าใช้กับสินค้าเครื่องดื่ม ก็ไม่ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์

        คำประดิษฐ์เป็นคำที่ได้รับการจดทะเบียนง่ายที่สุด เนื่องจากไม่สื่อให้เห็นถึงคุณสมบัติหรือลักษณะของสินค้า แต่อย่างไรก็ตามมีคำอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่คำประดิษฐ์ แต่เป็นคำที่โน้มน้าวใจของผู้บริโภคให้เลือกซื้อสินค้าได้ กล่าวคือเป็นคำที่ชวนให้ผู้บริโภคเกิดจินตนาการกับสินค้าชนิดนั้นได้ เช่นคำว่า "Disturbance Palace" (วังของสิ่งที่ชอบรบกวน)" ใช้กับสินค้า กับดักแมลงที่ก่อความรำคาญ ซึ่งสามารถรับจดทะเบียนได้ คำที่โน้มน้าวใจมักเป็นคำที่มีผลต่อผู้บริโภคในการจูงใจให้ถ ชื่อสินค้าที่ใช้คำโน้มน้าวใจสื่อความหมายถึงตัวสินค้ามากเกินไป จะถูกพิจารณาว่าเป็นคำที่เกี่ยวกับลักษณะ หรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ซึ่งต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน เช่นคำว่า "Windy (มีลมแรง)" ถ้าใช้กับสินค้าพัดลม เป็นต้น

        2. พยายามหลีกเลี่ยงการใช้คำสามัญทั่วไปมาเป็นเครื่องหมายการค้า เช่นคำที่เกี่ยวกับสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ประกอบการรายอื่นมีสิทธิที่จะใช้ได้ หรือคำสามัญที่ใช้กันแพร่หลายอยู่แล้วในการค้าทั่วไป คำดังกล่าวหากนำไปจดทะเบียน อาจไม่ได้รับการจดทะเบียน หรืออาจถูกสละสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้คำดังกล่าว ซึ่งหมายความว่า เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นไม่มีสิทธิห้ามผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ คำสามัญที่เกี่ยวข้องกับสินค้าบางอย่างจะจดทะเบียนโดยถือสิทธิในคำ ๆ นั้น แต่เพียงผู้เดียวไม่ได้ เช่นคำว่า "Gel (เจล)" เมื่อใช้กับสินค้าเครื่องสำอางจะเป็นคำสามัญ เนื่องจากเครื่องสำอางบางอย่างมีลักษณะเป็นเจล เช่นเครื่องหมายการค้า "Axe Gel" เมื่อใช้กับสินค้าครีมโกนหนวด อาจได้รับการจดทะเบียนได้ แต่ต้องสละสิทธิที่จะไม่ขอถือสิทธิในคำว่า Gel ซึ่งหมายความว่าผู้ประกอบการเครื่องสำอางรายอื่นก็ใช้คำว่า Gel ได้เช่น "Does Gel" หรือ "Beam Gel" เป็นต้น คำสามัญบางคำถือว่าเป็นคำสามัญสำหรับสินค้าทุกชนิด เช่นคำว่า "International (ระดับนานาชาติ) Super (เหนือกว่า) Best (ดีที่สุด) และ Brand (ตรา) เป็นต้น

        3. พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข ตัวอักษร เป็นเครื่องหมายการค้า เนื่องจากจะต้องประดิษฐ์ตัวอักษร หรือตัวเลขดังกล่าว ให้มีลวดลายพิเศษด้วย จึงจะได้รับการจดทะเบียนได้ แต่การจดทะเบียนก็ยังไม่สามารถห้ามผู้อื่นใช้ตัวเลขหรือตัวอักษร ในลักษณะธรรมดาหรือในลักษณะพิเศษอย่างอื่นได้ เช่น โคโลนจ์ 4711 แม้จะได้รับการจดทะเบียนเพราะเป็นตัวเลขที่มีลวดลายประดิษฐ์ แต่ผู้ประกอบการเครื่องสำอางรายอื่นก็ยังมีสิทธิใช้ตัวเลข 1, 4 และ 7 ได้หากไม่เป็นการใช้ที่มีลักษณะเป็นการ...นแบบ

        4. ไม่ควรใช้คำที่หวงห้ามสำหรับบุคคลโดยทั่วไป เช่นคำที่มีไว้เพื่อใช้สำหรับส่วนรวม หรือสำหรับองค์กร หรือสถาบันทางสังคมใดสถาบันหนึ่ง เช่น คำที่เกี่ยวกับชื่อหรือแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือคำที่เป็นชื่อขององค์กรระหว่างประเทศ หรือชื่อยาสามัญ ยกตัวอย่าง เช่น การตั้งชื่อร้านอาหารว่า "ร้านแควน้อย" ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำที่มีชื่อเสียงสายหนึ่ง คำดังกล่าวแม้อาจจะได้รับการจดทะเบียน แต่ก็อาจถูกเพิกถอนการจดทะเบียนได้ตลอดเวลา

        5. ควรนำคำที่คิดได้แล้ว ไปตรวจสอบความเหมือนคล้าย กับสารบบเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเครื่องหมายอื่นที่ตรงกัน หรือคล้ายกันในสินค้าจำพวกเดียวกัน หรือจำพวกใกล้เคียงกัน การตรวจสอบความเหมือนคล้ายจะใช้การพิจารณาที่ถ ตัว อักษรนำ และเสียงสระที่ลงท้าย เช่นคำว่า "OMEGA" มีตัวอักษรนำคือ "อ" และเสียงสระท้ายคือ "อา" คล้ายกับคำว่า "OMELA" เป็นต้น

        6. เมื่อจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้แล้ว ควรใช้เครื่องหมายการค้าอย่างถูกต้องด้วย กล่าวคือควรใช้ให้ตรงรูปแบบกับที่จดทะเบียนไว้ เพราะหากใช้ในรูปแบบอื่น ซึ่งบังเอิญไปคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น ก็อาจจะเป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นได้ การใช้เครื่องหมายการค้าควรระบุสัญญาลักษณ์ให้ผู้บริโภคทราบว่า คำดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าด้วย เช่นระบุคำว่า "เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน" "Registered Trademark" หรือ ? ให้ติดกับเครื่องหมายการค้า รวมทั้งพิมพ์เครื่องหมายการค้าให้เป็นตัวอักษรพิเศษ เช่น พิมพ์ตัวเอน หรือตัวหนา นอกจากนี้การใช้เครื่องหมายการค้ายังควรระบุตัวสินค้ากับเครื่องหมายการค้าด้วย เพื่อป้องกันมิให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเครื่องหมายการค้าเป็นชื่อชนิดสินค้า และจะทำให้เครื่องหมายดังกล่าวกลายเป็นคำสามัญในทางการค้า (Generic Term) เช่น ควรเขียนประโยคว่า "เครื่องถ่ายเอกสารซีร็อกซ์ ? มีความทันสมัยล้ำหน้าในงานเกี่ยวกับเอกสาร" แทนประโยคว่า "เครื่องซีร็อกซ์มีความทันสมัยล้ำหน้าในงานเกี่ยวกับเอกสาร" เป็นต้น

        เครื่องหมายการค้าที่ประดิษฐ์ขึ้นมาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาข้างต้น ย่อมจะทำให้ได้รับการจดทะเบียนได้ง่ายขึ้น เพราะมีลักษณะบ่งเฉพาะสำหรับการเป็นเครื่องหมายการค้า เมื่อผู้ประกอบการประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ และนำไปจดทะเบียนแล้ว ก็สามารถนำสินค้าออกวางตลาด และโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าได้อย่างเต็มที่ และมีความมั่นใจว่าเครื่องหมายการค้าของตน ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์


--------------------------------------------------------------------------------


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

lawamendment.go. โดย พัฒเนธ น้อยฉายา
ประเภทของหน้า: บทความกฎหมาย