ภารกิจ/หน้าที่ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
08/12/2007
ที่มา: 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

ภารกิจ/หน้าที่

 

                    

                 สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่

(ก) ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และวิจัยเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม จากหลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และวัตถุทางชาติพันธุ์ เพื่อพัฒนาเป็นข้อมูลวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ

(ข) ดำเนินการสำรวจ แสวงหา และรวบรวมมรดกศิลปวัฒธรรมของชาติที่เป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ทั้งแบบประเพณีและร่วมสมัย และวัตถุทางชาติพันธุ์ รวมทั้งหลักฐานที่แสดงเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของชาติ

(ค) วางระบบการบริหารจัดการโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และวัตถุทางชาติพันธุ์ตามกระบวนการของศาสตร์พิพิธภัณฑสถานวิทยา และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการสงวนรักษาและการศึกษา

(ง) ดำเนินการสงวนรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติตามหลักการอนุรักษ์โบราณวัตถุศิลปวัตถุและวัตถุทางชาติพันธุ์ด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์

(จ) ส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า

(ฉ) เป็นศูนย์ข้อมูลด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและวัตถุทางชาติพันธุ์เพื่อการเผยแพร่และการบริการในระบบสารสนเทศ

(ช) ควบคุม ดูแล รักษา อนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ รวมทั้งปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

(ซ) วางแผนการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานขึ้นในท้องถิ่น

(ฌ) บริหารจัดการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่กรมศิลปากรเพื่อสมทบทุนเข้ากองทุนโบราณคดี

(ญ) พัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ตลอดจนชุมชนให้มีการประสานร่วมกันในการอนุรักษ์และสืบทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานตามพระราชบัญญัติการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น มาตรา 17 ข้อ 20

(ฎ) ประสานและเปลี่ยน และร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และพิพิธภัณฑสถานต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศและสถาบันอื่น ๆ ในการพัฒนากิจการแลกเปลี่ยนนิทรรศการ การนำนิทรรศการไปจัดแสดง ณ ต่างประเทศ การประชุมสัมมนาทางด้านพิพิธภัณฑสถานวิทยา เทคนิคพิพิธภัณฑ์ และการอนุรักษ์ทางวิทยาศาสตร์

(ฏ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

1. อำนวยการและประสานงานกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ
2. บริหารงานทั่วไป : ธุรการ การเงิน พัสดุ
3. บริหารงบประมาณตามแผนงานและโครงการ รวมทั้งกองทุนโบราณคดี
4. ควบคุมการนำเข้าหรือส่งออกโบราณวัตถุศิลปวัตถุ

1. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยเรื่องราวของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม จากหลักฐานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และวัตถุทางชาติพันธุ์ โดยแบ่งสาขาของความเชี่ยวชาญดังนี้
- สาขาโบราณคดีและประวัติศาสตร์
- สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ
- สาขามานุษยวิทยาและชาติพันธุ์
2. ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยด้านพิพิธภัณฑ์ศาสตร์ เพื่อพัฒนากิจการพิพิธภัณฑ์
3. เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาสังคม
4. เป็นผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดอายุสมัย ตรวจพิสูจน์ และประเมินค่าโบราณวัตถุศิลปวัตถุ
5. ให้คำปรึกษา แนะนำด้านวิชาการต่าง ๆ กับพิพิธภัณฑสถานท้องถิ่น สถานศึกษา และหน่วยงานที่ต้องการ

1. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย เพื่อการจำแนกวัตถุ
2. วางระบบ จัดทำ และตรวจสอบทะเบียนวัตถุทุกประเภทในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ
3. พัฒนาระบบฐานข้อมูลทะเบียนวัตถุให้มีมาตรฐานอยู่ในระบบสารสนเทศเดียวกันทั้งประเทศ
4. สำรวจขึ้นทะเบียนวัตถุที่มีคุณค่าเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ ที่อยู่ในความครอบครองของวัดและเอกชนทั่วราชอาณาจักร
5. บริหารจัดการการดำเนินงานในคลังกลาง ตามกระบวนการทางพิพิธภัณฑ์ศาสตร์
6. สนับสนุนวัตถุและข้อมูลทางวิชาการในการจัดตั้งและปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ
7. จัดระบบคลังกลางให้เป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อการศึกษาในสังคม
8. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลภาพถ่าย เอกสาร และสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ

1. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อหาสาเหตุและกระบวนการเสื่อมสภาพของโบราณวัตถุศิลปวัตถุ และวัตถุทางชาติพันธุ์ อันเป็นสมบัติทางศิลปวัฒธรรมของชาติ
2. เป็นศุนย์ปฏิบัติการอนุรักษ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับสมบัติทางศิลปวัฒธรรมทุกประเภทในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทุกแห่ง รวมทั้งหน่วยงานอื่นของกรมศิลปากร
3. บริการการศึกษา ฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4. ประสาน แลกเปลี่ยนและให้ความร่วมมือกับพิพิธภัณฑสถาน และหน่วยงานทางศิลปวัฒธรรมอื่น ๆ ในภูมิภาค ด้านการอนุรักษ์สมบัติทางศิลปวัฒนธรรม

1. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประสิทธิภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ
2. วางยุทธศาสตร์การควบคุมมาตรฐานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ
3. ส่งเสริมและพัฒนากิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทุกด้าน
4. กำกับ ดูแลและให้คำปรึกษาในการจัดตั้งและดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
5. วิเคราะห์ข้อมูล ประสานงานกับสถานศึกษาในการจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา
6. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อจัดทำนวัตกรรมพิพิธภัณฑสถานเพื่อการศึกษา
7. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรพิพิธภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (1-46)

1. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย สำรวจ รวบรวมและเก็บรักษา โบราณวัตถุศิลปวัตถุและวัตถุทางชาติพันธุ์ที่เป็นฐานของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
2. จัดทำทะเบียนวัตถุทุกประเภทในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อการควบคุมและการรักษาความปลอดภัย และเพื่อเป็นข้อมูลทางด้านวิชาการ
3. นำเสนอนิทรรศการถาวร ชั่วคราวและผลิตเอกสารทางวิชาการเพื่อเผยแพร่
4. บริการการศึกษาสำหรับผู้เข้าชมด้วยนวัตกรรมและสื่อทุกสื่อ
5. ดำเนินการตรวจพิสูจน์ ประเมิณคุณค่าของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและวัตถุทางชาติพันธุ์
6. ควบคุมและประสานการนำเข้าและส่งออกโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักร กำกับดูแลการประกอบการค้าโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่อยู่ในข่ายการควบคุมตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2535)
7. ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือทางวิชาการ
8. การควบคุมการบริหารทั่วไปในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ