วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
16/12/2007
ที่มา: 
มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ http://www.hilltribe.org


ชนเผ่าเมี่ยน : การเกิด

การตั้งครรค์
เมี่ยนมีความเชื่อว่าระหว่างที่ทารกอยู่ในครรภ์ขวัญ หรือวิญญาณของเด็กจะมิได้อยู่ในท้องแม่ แต่จะสิงสถิตย์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ในบ้าน และจะย้ายเปลี่ยนที่ไปเรื่อย ๆ ในแต่ละเดือน คือ เดือนหนึ่งและเดือนเจ็ด จะอยู่ทีู่่ประตูบ้าน เดือนสองกับเดือนแปดอยู่ในเตาไฟ เดือนสามและเดือนเก้าอยู่ในครกตำข้าว เดือนสี่และเดือนสิบอยู่ในพื้นบ้านใกล้้ศาลพระภูม (หิ้งผี) เดือนห้าและเดือนสิบเอ็ดขวัญเด็กจะอยู่ที่เตียงนอน เดือนหกและเดือนสิบสองอยู่ในร่างหรือท้องแม่ เพื่อไม่ให้เกิดการแท้ง หรือเกิดเภทภัยที่จะทำให้เด็กพิการ จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่ทำสิ่งใด ๆ มากระทบกระเทือนขวัญของเด็ก เช่น ไม่เอามีดไปสับครกตำข้าว หรือไม่ราดน้ำที่ประตู และไม่บุกรุกเข้าไปในห้องนอนของหญิงมีครรภ์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ขวัญของทารกหนีหายไป

การคลอด

หมอตำแยจะรอให้เด็กออกมาทั้งตัว แล้วจะดึงรกมาวัดให้ยาวจากสะดือลงมาถึงหัวเข่าทารก แล้วเอาด้ายมามัดที่รกใกล้ ๆ กับสะดือ แล้วใช้เปลือกไม้ไผ่ตัดรก ส่วนที่ตัดยังไม่หมด เมื่อรกของเด็กแห้งแล้วหลุดออกมา ให้ นำมาใส่กล่อง หรือกระบอกไม้ไผ่นำมาเก็บไว้บนที่นอน และอุจจาระแรกของทารกจะต้องเอามาห่อเก็บไว้ หากมารดาเป็นหญิงที่ยังไม่ได้เข้าพิธีแต่งงาน เธอจะไม่คลอดลูกในบ้าน จะต้องไปคลอดในเพิงคลอด ซึ่งทำเตรียมไว้ที่บริเวณหน้าบ้านหรือข้างบ้าน เมื่อคลอดบุตรเด็กที่เกิดมาจะถือว่าผีให้มา ซึ่งทุกคนในครอบครัว ยินดีกับสมาชิกใหม่ี้นี้แต่สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว จะคลอดลูกในห้องนอนของตน
และ ถือว่าเป็นลูกคนโดยมีแม่ตัวเองหรือแม่สามีคอยดูแลช่วยเหลือ จากนั้นมารดาจึงอุ้มเด็กออกกลางแจ้งเพื่อให้เด็กเห็นเดือนเห็นตะวันเป็น สัญญาณ ว่าทั้งมารดาและทารกปลอดจากสิ่งที่คอยรังควาญทั้งหลายแล้ว พอถึงวันดีก็จะทำพิธีแจ้งวิญญาณบรรพบุรุษว่ามีคนมาเกิดเป็นสมาชิกใหม่ใน ครอบครัวแล้ว หลังจากการคลอดจะต้องฆ่าหมูเพื่อมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ถ้ายังไม่มีพิธีเซ่นไหว้จะห้ามคนอื่นเข้าบ้านเด็ดขาด โดยจะแขวนเครื่องหมายห้ามเข้าทำด้วยไม้ไผ่ที่ประตูหน้าบ้านเพื่อกันคนแปลก หน้าที่อาจมาเหยียบขัวญเด็กและอาจทำให้เด็กกระจองอแงได้ หลังคลอดมารดาจะต้องอยู่ไฟสักระยะหนึ่งก่อน ระหว่างนี้จะต้องกินแต่อาหารที่สุกและร้อนควรเป็นไก่ต้มสมุนไพรและข้าวแช่ เท่านั้น

แม้แต่ผักสดก็ไม่ควรทาน ในระยะ 10 วันแรก และในเดือนแรกจะต้องไม่ทำงานหนักหรือไปเข้าบ้านคนอื่นเขา เขาจะเจาะฝาห้องนอนเพื่อจะได้ไม่ต้องเดินเข้าออกประตูในบ้าน จนกว่าจะทำพิธีปัดสิ่งคอยรังควาญเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นอาจารย์ประกอบพิธีกรรมจะเลือกเอาวันดีทำพิธีตั้งชื่อ (ทิม เมี่ยน คู้) จะต้องตั้งภายใน 10 วัน หลังคลอดเด็กแรกเกิดจนถึง 12 ปี จะถือว่าเป็นวัยเด็กขวัญของเด็กเป็นแค่ เปี้ยง ถือเป็นขวัญที่ไม่ได้ผูกพันกับวิญญาณมากนัก เมื่อเด็กชายพ้นอายุ 12 ปี และเด็กหญิงอายุ 14 ปี จึงถือว่าพ้นวัยเด็ก จะต้องทำพิธี ชวด เปี้ยง เลี่ยม เมื่อผ่านพิธีนี้แล้วจึงถือว่าเป็นวัยหนุ่มสาว และขวัญของเด็ก (่เปี้ยง) จะถูกยกให้วิญญาณบรรพบุรุษของตระกูลรักษา และมีขวัญของผู้ใหญ่เรียกว่า เวิ่น แทน

พิธีคุ้มครองลูกและแม่ขณะตั้งครรภ์

* ทำพิธีแจ้เซด (ป้องกันการเจ็บป่วย)
* ทำพิธีบนบานเพื่อขอให้วิญญาณบรรบุรุษช่วยคุ้มครองแม่และลูกให้ปลอดภัย
* พิธีออนเปี่ยง (เพื่อป้องกันการแท้งลูก)

การดูแลแม่และลูกหลังคลอด

* ทำพิธีสาอุ๋ย (ทำทั้งตัวแม่และเด็ก)
* การทำพิธีทิมเมี้ยนคู้
* กรณีคลอดในโรงพยาบาล เมื่อถึงบ้านห้ามนำเด็กเข้าทางประตูต้องเข้าทางหน้าต่าง
* หลังคลอดลูกต้องนั่งอยู่ที่ข้างเตาไฟ 3 วัน 3 คืน และต้องต้มยาสมุนไพรอาบ
* เพื่อเป็นการขับสิ่งสกปรกออกจากร่างกายและเป็นการสมานแผลไปด้วย
* ช่วงอยู่เดือนห้ามอาบน้ำเย็นและอาหารที่สามารถรัปประทานได้ต้องต้มอย่างเดียว