ชนเผ่าเมี่ยน(เย้า) - ภาพวาดในพิธีศักดิ์สิทธิ์

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
18/12/2007
ที่มา: 
มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ http://www.hilltribe.org

ชนเผ่าเมี่ยน : ความเชื่อ:ภาพวาดในพิธีศักดิ์สิทธิ์
  

เมี้ยนฝัง - ภาพวาดในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ภาพวาดในพิธีกรรม "เมี้ยนฝัง" ของเมี่ยนเป็นภาพบนม้วนกระดาษตามแบบศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋า ภาพนี้ใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง โดยเมี่ยนจะนำมาติดกับฝาบ้านในบริเวณที่ทำพิธี หรืออาจจะแขนไว้นอกบ้านเฉพาะในบางพิธีกรรมก็ได้ ภาพเหล่านี้เป็นภาพวาดในลัทธิเต๋าแบบจีน ตามสำนักเต๋าที่เมี่ยนรับมานับถือ ภาพวาดเหล่านี้ส่วนหนึ่งถูกวาดให้มี่ลักษณะเป็นแบบเมี่ยน เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมความเป็นเมี่ยน ภาพวาดของผีบรรพบุรุษ (เจี๋ยฟิน) และหิ้งผีใหญ่ (ต้มหอยฟาน) จะมีคนเมี่ยนอยู่หลายจุด อีกภาพหนึ่งของเมี่ยนที่มีขนาดเล็กกว่าแสดงให้เห็น พ่านฮุ่ง ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของเมี่ยนเอง    

ภาพวาดในพิธีกรรมทางศาสนาของเมี่ยนจะทำความเข้าใจได้ง่าย ถึงแม้ว่าภาพวาดของเมี่ยนจะแสดงลักษณะของเทพยดาเหมือนกับลัทธิเต๋า
แต่ภาพวาดของเมี่ยนเป็นไปตามกฎที่เข้มงวดซึ่งจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ภาพวาด "เมี่ยนฝัง" ของเมี่ยน ครบชุดจะต้องประกอบด้วยภาพวาดหลักจำนวน 17 ภาพ
ภาพวาดหลักเหล่านี้ จะเป็นไปตามลำดับของเทพยดาที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และยังมีภาพ "ซานหยวน" หรือ "ซานควร" อีก 2 ภาพ
ภาพวาดที่สมบูรณ์จะประกอบด้วยภาพเล็กอีก 47 แบบ

* แบบแรก จะวาดบนกระดาษยาวจำลอง เป็นสะพานเพื่อให้วิญญาณข้ามสะพานนี้ เรียกว่า สะพานมังกร
* แบบที่ 2 เป็นหน้ากาก กระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 4-5 แผ่น (ใช้ติดกับหน้าผาก)
* แบบที่ 3 เป็นมงกุฎกระ เป็นตัวแทนองค์ผู้บริสุทธิ์ทั้งสาม เกียมกุย และมีภาพขนาดเล็กอีก 2 ภาพรวมอยู่ด้วย คือ แห้งเฝย จุจ้ง และเกียมเก็ง

ภาพเหล่านี้จะถูกห่อเก็บไว้ในห่อผ้าสีแดงหรือสีขาว เก็บไว้ในตระกร้าหวายกลม ที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษนั้นแล้วก็แขวนไว้ข้างหิ้งผี