ราชาศัพท์ - วิกิพีเดีย

  • : Function split() is deprecated in /home/openbase/domains/openbase.in.th/public_html/modules/filter/filter.module on line 1206.
  • : Function split() is deprecated in /home/openbase/domains/openbase.in.th/public_html/modules/filter/filter.module on line 1206.
วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
27/03/2009
ที่มา: 
วิกิพีเดีย - ราชาศัพท์ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C

ราชาศัพท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก คำราชาศัพท์)

ราชาศัพท์ เป็นระเบียบการใช้คำพูดของไทยให้
สุภาพตามชั้นของบุคคลซึ่งแบ่งเป็นห้าชั้น ได้แก่ 1) พระราชา 2) เจ้านาย
หรือพระราชวงศ์ 3) พระสงฆ์ของศาสนาพุทธ 4) ข้าราชการ และ 5) สุภาพชนทั่วไป

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

[แก้] ความเห็นของนักภาษาศาสตร์ไทย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพมีลายพระหัตถ์ไปถึงพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า
"...ราชาศัพท์ดูเป็นคำที่ผู้เป็นบริวารชนใช้สำหรับผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่...มี
เค้าจะสังเกตในคำจารึกและหนังสือเก่าเห็นได้ว่า
ราชาศัพท์ใช้ในกรุงศรีอยุธยาดกกว่าที่อื่น ยิ่งเหนือขึ้นไป (หมายถึง
ในสมัยก่อนอยุธยา) ยิ่งใช้น้อยลงเป็นลำดับ" โดยทรงสันนิษฐานด้วยว่า
ราชาศัพท์เกิดขึ้นในอาณาจักรละโว้สมัยที่เขมรปกครอง ส่วนในประเทศไทยในนั้นน่าจะริเริ่มแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่ง
กวาดต้อนชาวเขมรเข้ามาเป็นชนชั้นล่างในราชอาณาจักรอยุธยามาก
ราชาศัพท์ในไทยจึงเป็นคำที่ชนชั้นล่างใช้แก่ชนชั้นสูงกว่า
และยังแสดงพระวิจารณ์อีกว่า "...เมื่อแรกตั้งราชาศัพท์
ภาษาที่ใช้กันในพระนครศรีอยุธยายังสำส่อน
เลือกเอาศัพท์ที่เข้าใจกันมากมาใช้ และ...ในครั้งแรกจะไม่มีมากมายนัก
ต่อมาภายหลังจึงคิดเพิ่มเติมขึ้นด้วยเกิดคิดเห็นว่าของเจ้าควรจะผิดกับของ
ไพร่ให้หมด..." [1]

พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ราชบัณฑิต
มีพระปาฐกถาเรื่อง "กถาเรื่องภาษา" ว่า
"...นอกจากคำพูดและวิธีพูดทั่วไปแล้วยังมีคำพูดและวิธีพูดสำหรับชนเฉพาะหมู่เฉพาะเหล่าอีกด้วย เช่น ราชาศัพท์ของเรา เป็นต้น ฝรั่งไม่มีราชาศัพท์เป็นคำตายตัว แต่มีวิธีพูดยกย่องชั้นพระมหากษัตริย์หรือชั้นผู้ดีเหมือนกัน แต่วิธีพูดเช่นนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว โดยมากมักจะเป็นวิธีพูดอย่างสุภาพเท่านั้นเอง"[2]

[แก้] ตัวอย่างคำราชาศัพท์ที่มักใช้ผิด

  • ทรง : คำว่า ทรง โดยปกติจะนำหน้า กริยาที่เป็นคำสามัญ เช่น ทรงสร้าง,
    ทรงซ่อมแซม, ทรงบูชา.. แต่ไม่ใช่ ทรง นำหน้าคำราชาศัพท์อื่น เช่น
    ทรงเสด็จ, ทรงพระราชทาน, ทรงสวรรคต, ทรงทอดพระเนตร ฯลฯ เหล่านี้ใช้ไม่ได้
  • พระราชเสาวนีย์ : คำนี้หมายถึง คำสั่งของพระราชินี มักใช้ผิด เรียกคำพูดของพระราชินี

ข้างต้นนี้เป็นตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้น ควรตรวจสอบหรือแนะนำเพิ่มเติมสำหรับ "รายการคำราชาศัพท์" ที่ วิกิพจนานุกรม - รายการคำราชาศัพท์

[แก้] คำสุภาพ

คำสุภาพ คือคำราชาศัพท์สำหรับชั้นสุภาพชน
เป็นการเปลี่ยนถ้อยคำต่างๆ ให้เหมาะสมสำหรับสื่อสารกับผู้ที่อาวุโสกว่า
คำสุภาพมีลักษณะทั่วไปดังนี้

  1. ไม่เป็นคำอุทานที่ไม่สุภาพ เช่น โว้ย เว้ย หรือคำสบถ เช่น ให้ตายห่า ให้ฉิบหายวายวอด หรือการพูดกระชากเสียง เช่น เปล่า ไม่ใช่ เป็นต้น
  2. ไม่เป็นคำผวน คือเมื่อผวนหางเสียงกลับมาไว้ข้างหน้าแล้ว คำนั้นจะกลับเป็นไม่สุภาพทันที เช่น ผักบุ้ง ผวนเป็น พุ่งบัก เป็นต้น
  3. ไม่มีการใช้คำที่ถือว่าหยาบโลน เช่น ไอ้, อี, ขี้ ฯลฯ โดยจะเปลี่ยนคำศัพท์ไปเป็นคำอื่น เป็น สิ่ง, นาง, อุจจาระ ฯลฯ หรือไม่ก็ตัดออกไปเลย เช่น อีเลิ้ง เป็น นางเลิ้ง ดอกขี้เหล็ก เป็น ดอกเหล็ก เป็นต้น

ความหมายที่แท้จริงของ "คำหยาบ"
หาใช่หมายถึงเฉพาะคำโลนหรือคำที่ใช้ในการกล่าวผรุสวาจาเท่านั้นไม่ที่ถูกแล้วน่าจะเรียกว่า "คำสามัญ" มากกว่า เช่น คำว่า ตีน, กิน, เดิน,นอน ก็ไม่น่าจะเป็นคำหยาบอะไร แต่การนำคำเหล่านี้ไปใช้พูดกับผู้คนที่อาวุโสกว่า คำเหล่านั้นจะถือเป็น
"คำหยาบ" ต้องเปลี่ยนใช้คำอื่น เช่น จะพูดว่า "ตีน"
ก็ต้องเปลี่ยนเป็นคำว่า "เท้า" เป็นต้น [3]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ สาส์นสมเด็จ ฉบับองค์การค้าคุรุสภาพิมพ์จำหน่าย, เล่ม 23. (2505). พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา. หน้า 106-107.
  2. ^ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือ "ราชาศัพท์". (2545) ราชาศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่สอง). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์ชวนพิมพ์. หน้า 3.
  3. ^ ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา. การใช้ถ้อยคำและราชาศัพท์

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

 

ราชาศัพท์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ราชาศัพท์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา