วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
24/04/2009
ที่มา: 
ซิลด์ไทยแลนด์ดอทคอม http://www.silkthailand.com/articles/article2.htm

ข้อมูลเกี่ยวกับไหม  

 

ไหมเป็นแมลงประเภทผีเสื้อกลางคืน ที่กิน ใบหม่อนเป็นอาหาร โดยมี

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombyx mori Linn.
ชื่อ สามัญ คือ silkworm วงศ์ Bombicidae

การเจริญเติบโตของไหม จะมี การเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างสมบูรณ์ ใน 4 ขั้นตอน คือ ระยะไข่ ระยะตัวหนอน ระยะดักแด้ และระยะผีเสื้อ ตัวหนอนในช่วงสุดท้าย จะพ่นใยไหม เพื่อทำรังห่อหุ้มตัวแล้วลอกคราบกลายเป็นดักแด้ ใยไหมจัดเป็นเส้นใยตามธรรมชาติที่มีความเหนียวมากที่สุด

  • ลักษณะทั่วไปของไหม

ไหมเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบวงจรชีวิตสมบูรณ์ (Complete Metamorphosis)คือมีระยะไข่หนอนดักแด้และผ
ีเสื้อซึ่งในแต่ละระยะการเจริญเติบโตนั้นมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไปไหมสามารถเลี้ยงได้ในทุกภาคของประเทศไทย
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยงไหมระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ระหว่างร้อยละ 70-85

  • พันธุ์ที่นิยมในปัจจุบันได้แก่

1.พันธุ์ไหมไทยลูกผสม ได้แก่พันธุ์กสก.2 กสก.6 และดอกบัว
2.พันธุ์ไหมลูกผสมต่างประเทศได้แก่ พันธุ์กสก.1 และกสก.5
นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ที่ผลิตโดยบริษัทเอกชน เช่น พันธุ์จุลไหมไทย พันธุ์จิมทอมสัน

  • การดูแลรักษา

1. ให้ใบหม่อนที่เหมาะสมกับวัยของหนอนไหม
2. ขยายพื้นที่เลี้ยงไหม
3. โรยสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดเชื้อรา
4. โรยปูนขาวหรือแกลบเผาเพื่อลดความชื้น
5. คัดเลือกรังไหมเพื่อแยกรังดีรังเสียก่อนการจำหน่าย

  • ระยะเวลาการเลี้ยงไหม

จากไหมแรกฟักจนเป็นรังไหม 24-29 วัน
ระยะเป็นตัวหนอนประมาณ 19-22 วัน
ระยะไหมพ่นเส้นใยทำรังเสร็จประมาณ 2 วัน
ระยะไหมพ่นเส้นใยจนกระทั่งเก็บผลผลิตรังไหมประมาณ 5-7 วัน
จำนวนไข่ไหม/โรงเลี้ยงไหม
-ไข่ไหม 2 กล่อง/โรงเลี้ยงไหมขนาด 6x8 เมตร
-ไข่ไหม 6 กล่อง/โรงเลี้ยงไหมขนาด 8x16 เมตร

  • ศัตรูไหมที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

โรคมัสคาดิน
โรคแอสเปอร์จิลลัส
เกิดจากเชื้อราเข้าทำลายหนอนไหม ป้องกันกำจัด โดยทำความสะอาดอุปกรณ์ และฉีดพ่นฟอร์มาลีน 3% ก่อนและหลังการเลี้ยงไหม แยกหนอนไหมที่มีอาการผิดปกติออกทำลาย โรยสารเคมีจำพวกฟอร์มาดีไฮด์ป้องกันเชื้อราบนตัวหนอนไหมตามคำแนะนำ

โรคเพบริน เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ติดต่อโดยการถ่ายทอดจากแม่ผีเสื้อที่เป็นโรค ป้องกันกำจัดโดยตรวจโรคแม่ผีเสื้อที่วางไข่ ถ้าพบโรคให้ทำลายไข่ไหมทันที ฉีด พ่นอุปกรณ์และโรงเลี้ยงด้วยฟอร์มาลีน 3% ก่อนและหลังการเลี้ยงไหมทุกครั้ง
แมลงวันลาย มด และจิ้งจก ควรทำห้องเลี้ยงไหมให้สามารถป้องกันศัตรูเหล่านี้ได้

      

  • สถานการณ์ทั่วไป

ประเทศไทยมีการส่งเสริมการเลี้ยงไหม 2 ชนิด คือ การเลี้ยงไหมพันธุ์ไทย หรือ ไทยลูกผสม เพื่อผลิตเส้นไหม
และการเลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ เพื่อผลิตรังไหมส่งจำหน่ายโรงงานสาวไหม โดยในปี 2540 มีการส่งออก
เส้นไหม 495.4 ตัน และนำเข้าประมาณ 229.9 ตัน และมูลค่าส่งออกผ้าไหมประมาณ 500 ล้านบาท
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมยังมีลู่ทางที่จะพัฒนาการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและเป็นอาชีพ
เกษตรอาชีพหนึ่งที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ในแต่ละปีเป็นจำนวนไม่น้อย อีกทั้งสามารถก่อให้เกิดราย
ได้ประมาณ 6-8 ครั้ง/ปี

  • เทคโนโลยีการเลี้ยงไหม

วิธีการเลี้ยงไหม
1. เตรียมแปลงหม่อนและอุปกรณ์การเลี้ยงไหม ได้แก่ โต๊ะหรือชั้นเลี้ยงไหม ตาข่ายถ่ายมูลไหม ตะกร้าเก็บใบหม่อน จ่อ มีด เขียง ตะแกรงร่อนยา ขนไก่ ตะเกียบ เครื่องพ่นสารเคมี น้ำยาฟอร์มาลีน สารโรยตัวไหม ปูนขาว
2. เตรียมโรงเลี้ยงไหม และทำความสะอาดโรงเลี้ยงพร้อมอุปกรณ์
3. จัดทำแผนความต้องการไข่ไหมทั้งปี
4. การเลี้ยงไหมวัยอ่อน วัย 1-3 โดยใช้พื้นที่เลี้ยงประมาณ 4 ตารางเมตร/กล่อง หรือ 5,000 ตัว/ตารางเมตร
5. การเลี้ยงไหมวัยแก่ วัย 4-5 จนถึงไหมทำรัง ใช้พื้นที่เลี้ยงประมาณ 20-24 ตารางเมตร/กล่อง
6. เก็บไหมสุกเข้าจ่อ
7. เก็บรังไหมหลังจากไหมทำรังแล้ว 5-7 วัน     
      

  • การขนส่งไข่ไหม

ไม่ควรวางไข่ไหมทับกันมากเกินไป หรือนำไปไว้ในที่ไม่มีการถ่ายเทอากาศ
กระเป๋าหรือภาชนะใส่ไข่ไหมจะต้องสะอาดและมีช่องระบายอากาศและควรให้แผ่นไข่ไหมอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับพื้น
ไม่ควรขนย้ายไข่ไหมปนไปกับสารพิษ เช่น สารกำจัดแมลง น้ำมัน
ระวังควันพิษจากบุหรี่ซึ่งเป็นอันตรายต่อไข่ไหม
ควรขนย้ายในช่วงเวลาเช้า เย็น หรือกลางคืน ตวรหลีกเลี่ยงการขนส่งไข่ไหมในช่วงกลางวันซึ่งมีอุณหภูมิและมีแสงแดด เพราะถ้าไข่ไหมถูกแสงแดดโดยตรงจะทำให้ตัวอ่อนในใข่อ่อนแอและตายได้

ที่มาของข้อมูล กรมส่งเสริมการเกษตร

กลับไปยังหน้า รวม link บทความ และสาระความรู้เรื่องผ้าไหม จากเว็บไซต์ซิลด์ไทยแลนด์ดอทคอม