วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
28/04/2009
ที่มา: 
บ้านทรงไทยดอทคอม www.bansongthai.com

เรือนไทยภาคใต้ 


ภาคใต้ของประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ ของประเทศ กล่าวคือ มีลักษณะเป็นแหลมหรือคาบสมุทรยื่นออกไปจนจรดประเทศมาเลเซีย ล้อมรอบด้วย ฝั่งทะเล โดยมีอ่าวไทยอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันออก และทะเลอันดามันอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตกมิพ

ด้านสภาพภูมิอากาศของภาคใต้เป็นอาณาบริเวณที่มีอากาศร้อนฝนตกชุก ความชื้นสูง มี 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนและฤดูฝน ในฤดูร้อนอากาศจะไม่ร้อนจัดเหมือนภาคอื่น ทั้งนี้เพราะได้รับ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศดังกล่าวนี้ มีอิทธิพลสำคัญ ต่อการกำหนดรูปแบบเรือนพักอาศัยของประชาชนในภาคใต้ เช่น การออกแบบรูปทรงหลังคาให้ลาดเอียงมาก เพื่อระบายน้ำฝนจากหลังคาการใช้ตอม่อหรือฐานเสาแทนที่จะฝังเสาเรือนลงไปใน ดินฯลฯ

ด้านสภาพสังคมและวัฒนธรรม ประชากรในภาคใต้มีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเหล่านี้มีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมจะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากประเทศเพื่อนบ้านที่มี อาณาเขตติดต่อกับภาคใต้ หรือ “เรือนไทยมุสลิม” มีลักษณะร่วมกับเรือนพักอาศัยทางตอนเหนือของมาเลเซีย

ลักษณะเรือนไทยภาคใต้ (เรือนไทยมุสลิม)

บ้านเรือนนับเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ เพื่อป้องกันอันตรายจากลมฟ้าอากาศและสัตว์ร้ายซึ่งเหมาะสมกับลักษณะ ภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ตลอดจนจารีตประเพณีทางสังคม และรูปแบบการดำเนินชีวิต

สำหรับเรือนไทยมุสลิม นอกจากจะสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ดังกล่าวแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศาสนาอิสลามที่มีต่อการสร้างบ้านเรือนอย่าง แท้จริง ทั้งในรูปแบบการใช้พื้นที่ การอยู่อาศัย การประกอบกิจกรรมในการดำรงชีวิต และการประดับตกแต่งตัวเรือนให้งดงาม

โดยทั่วไปเรือนมุสลิมเป็นเรือนแฝด และสามารถต่อขยายไปได้ตามลักษณะของครอบครัวขยาย โดยมีชานเชื่อมต่อกัน และมีการเล่นระดับพื้นเรือนให้ลดหลั่นกันไป เช่น พื้นบริเวณเฉลียงด้านบันไดหน้าแล้วยกพื้นไปเป็นระเบียง จากพื้นระเบียงจะยกระดับไปเป็นพื้นตัวเรือนจากตัวเรือนจะลดระดับไปเป็นพื้น ครัว จากพื้นครัวจะลดระดับเป็นพื้นที่ชักล้าง ซึ่งอยู่ติดกับบันไดหลัง

การลดระดับพื้นจะเห็นได้ชัดว่า มีการแยกสัดส่วนจากกันในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ บางตัวเรือนเมื่อสร้างตัวเรือนหลักเสร็จแล้ว ยังต้องกำหนดพื้นที่ให้เป็นบริเวณที่ใช้ทำพิธีละหมาด ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ต้องกระทำวันละ 5 ครั้ง

ส่วนการกั้นห้องเพื่อเป็นสัดส่วนเรือนไทยมุสลิมจะกั้นแต่ที่จำเป็นนอกนั้นจะ ปล่อยพื้นที่ให้โล่ง เพราะชาวไทยมุสลิมใช้เรือนเป็นที่ประกอบพิธีทางศสานา นอกจากนั้นยังไม่นิยมตีฝาเพดาน เพราะภาคใต้มีอากาศร้อนและฝนตกชุก อากาศจึงอบอ้าว และมักจะเว้นช่องลมใต้หลังคาให้ลมโกรกอยู่ตลอดเวลา

การที่ตัวเรือนยกพื้นสูง ชาวไทยมุสลิมจึงสามารถใช้ใต้ถุนประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่ ส่งเสริมการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เช่น ใช้เป็นบริเวณประกอบอาชีพเสริม คือ ทำกรงนก สานเสื่อกระจูด หรืออาจใช้วางแคร่เพื่อพักผ่อน บางบ้านอาจกั้นเป็นคอกสัตว์ เป็นต้น

เนื่องจากประเพณีความเปฌนอยู่ของชาวไทยมุสลิมจะแยกกิจกรรมของชายและหญิง อย่างชัดเจน ตัวเรือนจึงนิยมมีบันไดไว้ทั้งทางขึ้นหน้าบ้านและทางขึ้นครัว โดยทั่วไปผู้ชายจะใช้บันไดหน้า ส่วนผู้หญิงจะใช้บันไดหลังบ้าน รวมทั้งเป็นการไม่รบกวนแขกในการเดินผ่านไปมา อีกด้วย

ลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมของเรือนไทยมุสลิม คือการสร้างเรือนโดยการผลิตส่วนประกอบของเรือนก่อน แล้วจึงนำส่วนต่าง ๆเหล่านั้นขึ้นประกอบกันเป็นตัวเรือนอีกทีหนึ่ง ขณะเดียวกัน เมื่อต้องการย้ายไปประกอบในพื้นที่อื่น ๆ ตัวเรือนก็สามารถแยกออกได้เป็นส่วน ๆ ได้เสาเรือนจะไม่ฝังลงดิน แต่จะเชื่อมยึดกับตอม่อหรือฐานเสาเพื่อป้องกันปลวก เนื่องจากมีความ ชื้นสูงมาก

นอกจากนี้เรือนไทยมุสลิมยังแยกส่วนที่อยู่อาศัย (แม่เรือน) ออกจากครัว โดยใช้เฉลียงเชื่อมต่อกัน ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าบริเวณแม่เรือนเป็นบริเวณที่สะอาด ส่วนบริเวณครัวนั้นสามารถทำสกปรกได้โดยง่ายและยังสามารถดับเพลิงได้สะดวก เมื่อเกิดเพลิงไหม้บริเวณครัว

โดยสรุป เรือนไทยมุสลิมมีลักษณะเฉพาะตัวที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ดังนี้

1. หลังคาเป็นหลังคาทรงสูง มีความลาดชัน เพื่อให้น้ำฝนไหลผ่านโดยสะดวก โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคาจั่วมนิลา มีการต่อชายคาออกไปคลุมบันได เนื่องจากฝนตกชุกมากในบริเวณภาคใต้

2. ไม่นิยมฝังเสาเรือนลงไปในดิน แต่จะใช้ตอม่อหรือฐานเสาที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ศิลาแลง หรือเสาก่ออิฐฉาบปูนรองรับ

3. วิธีสร้างเรือนจะประกอบส่วนต่าง ๆ ของเรือนบนพื้นดินก่อนแล้วจึงยกส่วนโครงสร้างต่าง ๆ ขึ้นประกอบเป็นตัวเรือนอีกทีหนึ่ง การสร้างเรือนวิธีนี้ทำให้สะดวกในการย้ายบ้าน ซึ่งนิยมย้ายบ้านทั้งหลังโดยใช้คนหาม โดยถอดส่วนที่มีน้ำหนักมากออกเสียก่อน เช่น ฝา กระเบื้องมุง หลังคา ฯลฯ

4. ไม่นิยมสร้างรั้วกั้นบริเวณเรือน แต่จะปลูกไม้ผล เช่น มะพร้าว มะม่วง ขนุน กล้วย เพื่อให้ร่มเงา และเป็นการแสดงอาณาเขตของบ้านเรือน ซึ่งนิยมสร้างแยกกันเป็นหลัง ๆ

5. การวางตัวเรือนจะหันหน้าเข้าหาเส้นทางสัญจรทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งสามารถรับลมบกและลมทะเลได้

6. นอกจากเรือนพักอาศัยแล้ว ยังมีอาคารประกอบบ้านเรือนอีก ได้แก่ “ศาลา” ซึ่งมีรูปทรงของหลังคาคล้อยตามความนิยมของรูปแบบเรือนพักอาศัย เช่น หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา ศาลาเหล่านี้จะสร้างขึ้นตามลักษณะการใช้สอย เช่น ใช้ประชุมหรือพบปะสังสรรค์ของชาวบ้านศาลาใช้สำหรับเป็นที่หลบแดดฝนระหว่าง เดินทาง

7. สถานที่หรืออาคารประกอบตัวเรือนจะอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพของชาวใต้ เช่น เรือนชาวนา จะมียุ้งข้าวขนาดเล็กสำหรับเก็บข้าวเปลือกไว้หน้าบ้าน เรือนชาวสวนยางพาราจะมีโรงสำหรับทำน้ำยางให้เป็นยางแผ่นและที่ตากยาง เรือนชาวประมงจะมีที่ตากปลา เป็นต้น

เรือนไทยมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้

1. เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัตตานีได้ชื่อว่าเป็นเมืองศูนย์กลางของวัฒนธรรม อิสลาม ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้นบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมดังกล่าวมีลักษณะที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ตลอดจนการดำรงชีวิตและที่สำคัญคือสถาปัตยกรรมเฉพาะถิ่น เนื่องจากปัตตานีมีพื้นที่ติดชายฝั่งตะวันออกคือ อ่าวไทย และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดยะลาและนราธิวาส หมู่บ้านของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานีจึงมีลักษณะหลากหลาย ทั้งหมู่บ้านชาวประมง ชาวสวนยางพารา ชาวนา และชาวสวนผลไม้ ทำให้รูปแบบการตั้งถิ่นฐานของ ชุมชนมีครบทั้งสามรูปแบบกล่าวคือ 1. แบบเป็นกระจุก

2. แบบกระจัดกระจาย

3. แบบเรียงรายไปตามแนวชายฝั่งทะเล หรือเส้นทางสัญจร

ในฐานะที่ปัตตานีเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้านจึงมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย คือ นอกจากจะเป็นเรือนไม้ยกพื้นใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะร่วมทางสถาปัตยกรรมพื้นฐานของภูมิภาคศูนย์สูตรแล้ว ยังมีลักษณะรูปทรงหลังคาที่โดเด่นเป็นพิเศษ

โดยทั่วไปหลังคาเรือนไทยมุสลิมจะมี 3 ลักษณะ ดังนี้คือ

1. หลังคาปั้นหยา หรือหลังคาลีมะ คำว่า “ลีมะ” แปลว่า “ห้า” หมายถึงหลังคาที่นับสันหลังคาได้ 5 สัน เป็นรูปทรงหลังคาที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคมของชาวตะวันตก หลังคาทรงปั้นหยานี้นับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ และพบได้โดยทั่วไปในจังหวัดภาคใต้โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี

2. หลังคาจั่วมนิลา ชาวมุสลิมเรียกว่า “ บาลานอ” ซึ่งหมายถึงชาวฮอลันดาหลังคาแบบนี้เชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรม ของชาวฮอลันดา เป็นหลังคาที่มีโครงสร้างเช่นเดียวกับหลังคาปั้นหยา แต่เป็นหลังคาปั้นหยาที่มีจั่วติดอยู่ เพื่อระบายอากาศและดูสวยงาม

หลังคาบลานอนี้จะมีรูปแบบที่สวยงามกว่าแบบอื่น เหมาะที่จะมีจั่วอย่างน้อย 3 จั่วโดยมีหลังคาจั่วแฝด และมีจั่วขนาดเล็กสร้างคุมเฉลียงบ้านติดกับบันไดทางขึ้น เพื่อใช้รับรองแขกอย่างไม่เป็นทางการ

นอกจากนั้นช่างไม้ยังแสดงฝีมือเชิงช่างในการประดิษฐ์ลวดลายด้วยการแกะสลัก ไม้ ปูนปั้น เป็นลวดลายประทับยอดจั่ว และมีการเขียนลายบนหน้าจั่ว หรือตีไม้ให้มีลวดลายเป็นแสงตะวัน

3. หลังคาจั่ว ชาวมุสลิมเรียกว่า “แมและ” เชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากเรือนไทยภาคกลาง แต่จะมีข้อแตกต่างไปจากภาคกลาง แต่จะมีข้อแตกต่างไปจากภาคกลาง ตรงที่มีปั้นลมปีกนกที่ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบสถาปัตยกรรมจากมาเลเซีย ไม่เหมือนปั้นลมไทย ซึ่งปลายปั้นลมทั้งสองข้างจะมีเหงาปั้นลมประดับอยู่

นอกจากหลังคาทั้ง 3 แบบ ดังกล่าวแล้ว เรือนชาวไทยมุสลิมโบราณในจังหวัดปัตตานียังมีลักษณะเด่น คือ การประดิษฐ์ลวดลายไม้แกะสลักทั้งบริเวณช่องลมและประดับฝาเรือนอีกด้วย

2. เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดยะลา

เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดยะลาเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงหลังคาทรงจั่วมนิลาและทรง ปั้นหยา แต่ตรงจั่วมนิลาจะพบมากกว่าทรงปั้นหยาเรือนหนึ่ง ๆ จะมีทางขึ้นเรือนอย่างน้อยสองทางเสมอ เนื่องจากเวลามีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีต่าง ๆ จะมีการแยกเพศระหว่างชายและหญิง เมื่อมีแขกมาในงาน ถ้าเป็นชายจะขึ้นเรือนทางด้านหน้า ส่วนหญิงจะขึ้นเรือนทางด้านข้างหรือด้านหลัง

3. เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดนราธิวาส

เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดนราธิวาสมีรูปทรงของเรือนเหมือนเรือนไทยมุสลิมทั่ว ไปคือ เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง เสาจะวางอยู่บนตอม่อ บางบ้านทำเป็นตอม่อซีเมนต์หล่ออย่างแข็งแรง บางบ้านก็ใช้เสาไม้ขนาดใหญ่ทำตอม่อ

รูปทรงหลังคาทรงไทยมุสลิมในนราธิวาสจะแตกต่างจากจังหวัดปัตตานีและยะลา ตรงที่หลังคาเป็นทรงจั่วมนิลาทรงสูง เล็ก และมีหลังคาทอดกว้างออกไปในลักษณะจั่วเดียวหรือซ้อนรวมกัน 2 จั่ว แล้วแต่ขนาดของเรือนว่าเล็กใหญ่แค่ไหน ซึ่งมีทั้งหลังคากระเบื้องและสังกะสี

ส่วนการใช้พื้นที่เรือนและบริเวณบ้านมีลักษณะเดียวกับเรือนในยะลาและปัตตานี เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรที่มีลักษณะวัฒนธรรมแบบเดียวกัน

4. เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดสตูล

เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดสตูลมีลักษณะหลังคาเป็นแบบจั่วยกสูงและลาดเอียงไปใน แนวชายคาทั้งสองด้าน มีลักษณะเหมือนปีกนก เพื่อให้น้ำฝนไหลผ่านได้สะดวก ความพิเศษของเรือนไทยมุสลิมในจังหวัดสตูลอยู่ที่ไม่มีฝ้าเพดาน แต่จะนิยมทำช่องลมไว้ใต้จั่ว

แม่เรือนหรือตัวเรือนหลักจะไม่มีเฉลียงหรือระเบียง มีบันไดพาดขึ้นบ้านได้ทันที ทั้งนี้เพราะเป็นข้อห้ามตั้งแต่ครั้งโบราณว่า เรือนเจ้านายระดับสูงเท่านั้นจึงจะมีระเบียงหรือเฉลียง ส่วนเรือนชาวบ้านสามัญจะต้องไม่เลียนแบบเรือนเจ้านาย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเรือนชาวบ้านได้มีการต่อเติมเพิ่มเฉลียงขึ้นให้คลุมบันได เพื่อป้องกันฝนสาดและสะดวกในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่

ประเพณีและความเชื่อในการสร้างเรือนของชาวไทยมุสลิม

ประเพณีและความเชื่อในการสร้างบ้านเรือนของชาวไทยมุสลินในอดีตจะมีพิธีกรรม หลายอย่าง เข้าใจว่าได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์เพราะตามบันทึกประวัติศาสตร์ก่อนหน้า ที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามามีอิทธิพลประชาชนในดินเแดนแถบนี้นับถือศาสนาพุทธมา ก่อน

ดังนั้น เมื่อศาสนาอิสลามเข้าหา แม้ประชาชนในแถบนี้จะนับถือศาสนาอิสลามแล้วก็ตาม แต่ประเพณีต่างๆ ของศาสนาพุทธและพราหมณ์บางอย่างก็ยังเป็นที่ยึดถือและปฏิบัติอยู่

ประเพณีการสร้างเรือนไทยมุสลิมมีขั้นตอนและพิธีกรรมที่น่าสนใจดังต่อไปนี้คือ

1. สถานที่สร้างเรือน

การเตรียมสถานที่สร้างเรือนจะต้องเป็นพื้นดินราบเสมอกันในบริเวณที่จะสร้าง เรือน ส่วนนอกบริเวณดังกล่าวทางทิศเหนือต้องเป็นที่ดอนหรือเนิน และทางทิศใต้ต้องเป็นพื้นที่ต่ำกว่า อาจจะเป็นพื้นที่นาข้าว ส่วนทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกต้องเป็นพื้นที่เสมอกันกับพื้นที่สร้างเรือน

ถ้าเลือกพื้นที่ในลักษณะเช่นนี้เป็นที่สร้างเรือนแล้ว เชื่อกันว่าเมื่อสร้างเรือนอยู่ ชีวิตครอบครัวจะรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข การทำมาหากินจะมีโชคลาภ ได้ทรัพย์สมบัติเพิ่มพูนและฐานะจะดีขึ้นตามลำดับ

แต่ถ้าหาพื้นที่ในลักษณะดังกล่าวไม่ได้ เมื่อตัดสินใจสร้างเรือนในพื้นที่ใดให้หาไม้ไผ่อ่อนที่จังไม่แตกกิ่งใบ ตัดเอาแต่ด้านโคนมีความยาว 1 วา โดยวัดความยาวด้วยมือของผู้ที่จะสร้างเรือนจากปลายนิ้วมือขวาถึงปลายนิ้วมือ ซ้าย

จากนั้นนำไปปักตรงใจกลางพื้นที่ที่จะสร้างเรือนในเวลาพลบค่ำให้ลึกลงในดิน ประมาณครึ่งศอก โดยก่อนจะปักไม้ไผ่ดังกล่าวจะต้องอ่านคัมภีร์อัลกุรอานในบท “อัลฟาตีฮะห์” 1 จบ แล้วอ่านคำสรรเสริญพระเกียรติพระบรมศาสดามูฮัมหมัด ที่เรียกว่า “เศาะลาวาด” อีก 3 จบ เสร็จแล้วให้อธิษฐานขอให้พระอัลเลาะห์ได้โปรดประทานให้รู้อย่างหนึ่งอย่างใด ว่า พื้นที่ที่ตั้งใจสร้างเรือนจะเป็นสิริมงคลหรืออัปมงคล

เมื่ออธิฐานจบถึงปักไม้ไผ่ทิ้งไว้จนรุ่งเช้า แล้วจึงนำไม้ไผ่มาวัดความยาวใหม่ หากปรากฏว่าไม้ไไผ่ยาวกว่าเดิมถือว่าพื้นที่นี้ดีหากสั้นกว่าเดิมถือว่าไม่ ดีถ้าสร้างเรือนอยู่ครอบครัวจะแตกแยกการทำมาหากินไม่เจริญก้าวหน้าและมี อาถรรพ์

นอกจากนี้ควรเลี่ยงการปลูกเรือนคร่อมจอมปลวกตอไม้ใหญ่หรือคลอง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการปลูกเรือนใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ดิน สุสาน และพื้นที่รูปลิ้น มีนาขนาบทั้งสองข้าง

2. ทิศทางของเรือน

สำหรับทิศทางของเรือนชาวมุสลิมเชื่อกันว่าไม่ควรสร้างขวางดวงตะวัน เพราะจะทำให้ ผู้อาศัยหลับนอนมีอนามัยไม่ดี ไม่มีความจีรังยั่งยืนทางที่ดีที่สุดคือหันหน้าบ้านไปทางทิศตะวันออก หลังบ้านอยู่ทางทิศตะวันตก

อย่างไรก็ตาม ชาวมุสลิมสมัยก่อนนิยมสร้างเรือนหันหน้าบ้านไปทางทิศเหนือหรือทางถนนเพื่อ การสัญจร ส่วนห้องนอนต้องอยู่ทางทิศตะวันตก บางบ้านนิยมสร้างเรือนข้าว โดยเชื่อว่าเรือนข้าวมีความสำคัญต่อครอบครัว เพราะเปฌนเครื่องวัดฐานะความมั่นคงของเจ้าบ้านทำให้เกิดความเชื่อถือใน เรื่องทิศทางและทำเลที่ปลูกสร้างเรือนข้าวต่อมา โดยเชื่อกันว่าการปลูกเรือนข้าวไว้ทางทิศตะวันออกหรือทิศใต้ของเรือนอาศัย จะทำให้มีข้าวอุดมสมบูรณ์

3. ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน

การเลือกฤกษ์ยามในวันลงเสาเรือน เจ้าของบ้านยังต้องไปหาฤกษ์จากผู้รู้เช่น โต๊ะอิหม่าน ซึ่งโดยมากวันที่ ที่เป็นมงคลในการเริ่มลงเสาเรือนจะถือปฏิบัติกันหลายวิธี และวิธีหนึ่งที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไปคือ การนับธาตุทั้งสี่อัน ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งมีความหมายดังนี้คือ

“ดิน” หมายถึง การทำงานเป็นไปอย่างช้า ๆ อาจจะพบปัญหาและอุปสรรค

“น้ำ” หมายถึง การทำงานอยู่ในสภาพเยือกเย็นได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น

“ไฟ” หมายถึงการทำงานอยู่ในสภาพอารมณ์ร้อนการทำงานมีปัญหาและการทะเลาะเบาะแว้งในเครือญาติหรือเพื่อนร่วมงาน

“ลม” หมายถึงการทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว ราบรื่น ไม่ค่อยมีปัญหา มีโชคลาภและ อารมณ์เย็น

การนับวันว่า วันไหนจะตกตรงกับธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม จะต้องนับตามวันทางจันทรคติดัง ต่อไปนี้

ดิน
น้ำ
ไฟ
ลม
ขึ้น 1 ค่ำ
ขึ้น 2 ค่ำ
ขึ้น 3 ค่ำ
ขึ้น 4 ค่ำ
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
แรม 1 ค่ำ
แรม 2 ค่ำ
แรม 3 ค่ำ
แรม 4 ค่ำ
แรม 5 ค่ำ
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
   

วันที่นิยมสร้างเรือน ได้แก่ วันอาทิตย์ วันอังคาร วันพฤหัสบดี ส่วนวันที่ต้องห้าม คือ วันพุธ วันเสาร์ และไม่นิยมสร้างในวันศุกร์และวันพุธปลายเดือน ทั้งนี้การนับวันของชาวไทยมุสลิมจะ นับเวลาขึ้นวันใหม่ ตั้งแต่เวลา 18.01 น. ไปจนถึงเวลา 18.00 น. ของวันต่อไป

นอกจากนี้ การสร้างเรือนของชาวมุสลิมจะไม่นิยมสร้างในข้างแรมของแต่ละเดือน แต่จะนิยมสร้างข้างขึ้น

สำหรับเดือนที่ถือว่ามีสิริมงคลในการเริ่มก่อสร้างเรือนมีเพียง 6 เดือนเท่านั้น ได้แก่

1) เดือนซอฟาร์ เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะมีโชคลาภได้ทรัพย์สมบัติ

2) เดือนยามาดิลอาวัล เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะมีโชคลาภ มีบริวารมากเป็น ที่ รู้จักในวงสังคม

3). เดือนซะบัน เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะได้รับยศศักดิ์และเกียรติเป็นที่เคารพ นับถือจากสังคมทั่วไป

4) เดือนรอมฎอน เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะมีโชคลาภและความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น

5) เดือนซุลกีฮีเดาะห์ เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะมีโชคลาภอย่างมหาศาล ทรัพย์สมบัติที่ได้มาจะได้สืบทอดถึงลูกหลานด้วยพร้อมกันนี้ญาติพี่น้องและ มิตรสหายจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดยิ่งขึ้นอาหารการกินสมบูรณ์ตลอด

ส่วนเดือนอื่น ๆ อีก 6 เดือน ถือว่าเป็นเดือนไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงการลงเสาเรือน เพราะจะพบกับอุปสรรคต่าง ๆ ไม่จบสิ้น

4. การยกเสาเอก

โดยปกติบ้านหลังหนึ่งจะมี 6 เสา เวลาลงเสาจะลงหมดทั้ง 6 เสาพร้อมกัน แต่ถือว่าเสากลางด้านทิศเหนือเป็นเสาเอก ซึ่งเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “เตียงซือรี” ก่อนลงเสาทั้ง 6 ต้องใช้เหรียญบาทติดไว้ที่โคนทุกเสา แต่ถ้าเจ้าของบ้านเป็นคนฐานะดี อาจติดทองคำด้วย ทั้งนี้ด้วยความเชื่อว่าเมื่อติดเหรียญหรือทองคำที่โคนเสาแล้ว จะได้นั่งบนกองเงินกองทอง ทำมาหากินดี มีเงินเหลือเก็บและฐานะดีขึ้นเรื่อย ๆ

สำหรับเสาเอก เวลาลงเสาจะต้องเอาผ้าแดง 1 ผืน ก้านมะพร้าวที่มีใบ 3-4 ใบ จำนวนหนึ่งต้น รวงข้าวประมาณ 1 กำมือ ทองคำจำนวนหนึ่งโดยปกติใช้สร้อยคอทองคำหนัก 2 สลึง 1 เส้น ผูกไว้ที่เสาเอกเป็นเวลา 3 วันจึงเอาออก (ส่วนทองคำหลังจากลงเสาแล้วจะเอาออกทันทีเพราะกลัวขโมย)

5. การสร้างเรือน

เมื่อเจ้าของเรือนตกลงเลือกสถานที่สร้างได้แล้ว ก็ถึงขั้นตอนการสร้างเรือน โดยเจ้าของบ้านจะต้องตกลงกับช่างไม้ในเรื่องขนาดแบบเรือน ค่าใช้จ่าย และอื่น ๆ เพราะเรือนที่สร้างจะไม่มีการเขียนแบบแปลน แต่อาศัยความชำนาญของช่างแต่ละคนโดยทั่วไปจะมีแบบและขั้นตอนการสร้างดังนี้

5.1 ขนาดของตัวเรือนขึ้นอยู่กับจำนวนเสา โดยมากนิยมสร้างเสา 6,7 และ 12 เสา สำหรับตัวเรือนแต่เดิมนิยมสร้างเป็นเรือนแฝดมีชานกลางเชื่อมตัวเรือนหลัก เข้ากับครัวแต่ต่อมานิยมสร้างเป็นตัวเรือนเดี่ยว

ความกว้างของเรือนนิยมสร้าง 7หรือ 9 หรือ 10 ศอก แต่ไม่นิยมสร้างเรือน 8 ศอก โดยวัดจากช่วงข้อศอกถึงปลายนิ้วกลาง ยกเว้นข้อศอกสุดท้ายจากกำมือ ส่วนบันไดนิยมความกว้างเป็นเลขคี่ เช่น 3, 5,7 จะไม่นิยมลงเลขคู่ เพราะถือว่าเป็นบันไดผี นำความอัปมงคลมาสู่ผู้อยู่อาศัย

5.2 ความสูงของตัวเรือน นิยมสร้างโดยยกพื้นใต้ถุนสูงพอคนลอดได้หรือไม่เกิน 2 เมตร เพื่อใช้ใต้ถุนเป็นที่เก็บของทำเป็นคอกเลี้ยงสัตว์ที่นั่งเล่น และใช้เป็นที่ประกอบอาชีพเสริม เช่น สานเสื่อ ทำกรงนกเขาชวา ฯลฯ

5.3 พื้นเรือน มักตีพื้นลดหลั่นกันตามประเภทการใช้สอยโดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับได้แก่ จากบันไดสู่ชาน จากชานสู่ระเบียงใช้เป็นที่รับแขก จากระเบียงยกระดับสูงขึ้นเป็นพื้นห้องโถงใหญ่และห้องนอน ลดระดับลงมาเป็นพื้นครัว ถ้าครอบครัวฐานะดีจะใช้ไม้กระดานตีให้ห่าง เพื่อระบายลมและเทน้ำทิ้ง ถ้าครอบครัวฐานะยากจนจะใช้ไม้ไผ่ตีเป็นฟากจากครัวลดระดับลงมาเป็นชานซัก ล้างอยู่ติดกับบันไดหลังบ้าน

5.4 การกั้นห้องและพื้นที่สำหรับละหมาดเรือนไทยมุสลิมจะกั้นห้องเฉพาะใช้นอนเท่า นั้นนอกนั้นปล่อยเป็นพื้นที่โล่ง ใช้เป็นที่รับแขกและพิธีต่าง ๆ เช่น แต่งงาน งานเมาลิด ฯลฯ แต่เนื่องจากบัญญัติของศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมจะต้องทำละหมาดทุกวัน ๆ ละ 5 ครั้ง ทุกบ้านจึงต้องกั้นพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ทำละหมาดโดยใช้เกณฑ์ดังนี้คือ

5.4.1 ต้องมีฝากหรือผ้าม่านกั้นไม่ให้คนเดินผ่าน

5.4.2 ต้องอยู่บนเรือน

5.4.3 ต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันตก

5.5 การสร้างตัวเรือนหลัก เมื่อทำพิธียกเสาเอกแล้ว จะยกเสาที่เหลือขึ้น จากนั้นจึงติดตั้งโครงสร้างเรือน โดยประกอบโครงหลังคาบนดินก่อน แยกประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน ตีนแปแล้วขึ้นมุงหลังคาก่อนวางตงแล้วตีพื้น จากนั้นจึงตีราวฝา ติดตั้งวงกบประตู หน้าต่างตีนฝา แล้วต่อระเบียงหน้าบ้าน ต่อครัวไปทางด้านหลัง เมื่อเสร็จตัวเรือนแล้วจึงติดตั้งบันไดหน้าบ้านและหลังบ้าน

เมื่อสร้างเรือนเสร็จแล้วนิยมขุดบ่อน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภค โดยนิยมขุดบ่อไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน และสร้างที่อาบน้ำไว้บริเวณใกล้บ่อน้ำ เพราะแต่เดิมไม่นิยมสร้างส้วมหรือห้องน้ำไว้ในตัวเรือน

5.6 การประดับตกแต่งตัวเรือน เรือนไทยมุสลิมดั้งเดิมจะไม่ทาสีแต่จะใช้น้ำมันไม้ทาไม้ทาเพื่อป้องกันปลวก ส่วนการประดับตกแต่งตัวเรือนขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้าของบ้าน หากมีฐานะดีจะประดับตัวเรือนด้วยไม้ฉลุเป็นลวดลายประดับยอดจั่ว ช่องลมและเชิงชาย

ขอขอบคุณและอ้างอิงแหล่งที่มา : บ้านทรงไทยดอทคอม www.bansongthai.com


  กลับไปหน้ารวม link เรือนไทยทุกภาค ข้อมูลจากบ้านทรงไทยดอทคอมที่นี่

 

ไฟล์แนบขนาด
bansongthai001.pdf204.11 KB