ชนเผ่าลาหู่ - ลาหู่ลาบา หมู่บ้านจะแล

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
19/12/2007
ที่มา: 
มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ http://www.hilltribe.org


ชนเผ่าลาหู๋ :ลาหู่ลาบา

บ้านจะแล ชาวเขาเผ่าลาหู่ลาบา อพยพจากธิเบต เดินทางผ่านพม่าแล้วเข้ามาสู่ประเทศไทย อาศัยอยู่บริเวณดอยตุง เมื่อปี พ.ศ. 2513 อยู่ได้แค่ 2 ปี ก็อพยพเคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นฐานบริเวณดอยบ่อ อ. เมือง จ. เชียงราย โดยผู้นำในการอพยพคือ นายจะแล จะนะ อพยพมาเป็นจำนวน 13 หลังคาเรือน จึงเรียกชุมชนนี้ว่า
”ชุมชนจะแล” ปัจจุบันมี 62 หลังคาเรือน ตั้งอยู่บริเวณน้ำตกห้วยแม่ซ้าย หมู่ 11 ตำบลแม่ยาว
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย



ชุมชนจะแล
มีการทำไร่เลื่อนลอย และการทำนาแบบขั้นบันได เป็นชุมชนที่อยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยวแบบเดินป่า ซึ่งมีนักท่องเที่ยวมาพักค้างคืน หรือท่องเที่ยวแบบไป-กลับเป็นจำนวนมากช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2529 -2540 เนื่องจาก เป็นชุมชนที่มีการนับถือผี (พุทธ ในความหมายของคริสตจักร และชาวลาหู่เอง) และความเชื่อแบบชาวเขาเผ่าลาหู่แบบดั้งเดิม ยังคงมีวัฒนธรรมประเพณี ประกอบกับ สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ และสวยงาม นอกจากนั้นชุมชนยังมีการจัดการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ตามศักยภาพของชุมชนอีกด้วย ต่อมากรมป่าไม้มีนโยบายให้ย้ายชุมชนจากหัวต้นน้ำตกห้วยแม่ซ้าย ไปอยู่หมู่บ้านจะแลในปัจจุบัน ซึ่งเป็นพื้นที่ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) เมื่อต้นปี พ.ศ. 2542 โดยมาสมทบกับชาวเขาเผ่าลาหู่ที่อยู่มาก่อนแล้ว

สาเหตุในการย้ายถิ่นฐานลงมาอยู่
1. ทางราชการกำหนดว่าอยู่ในเขตของแหล่งท่องเที่ยว
2. ชาวบ้านก็คิดว่าอยู่ห่างไกลจากความเจริญจึงย้ายลงมา เพื่ออย่างพัฒนาในด้านความรู้ตนเองมากกว่าเดิม
3. ต้องการให้เด็ก ๆ มีการศึกษา และได้เรียนหนังสือเหมือนคนอื่นที่อยู่ในประเทศไทยู่
4. สรุปว่ามีข้อดีข้อเสียที่ย้ายลงมาครั้งนี้
- ข้อดี คือ เด็กได้เรียนหนังสือ
- การเดินทางสะดวกมากขึ้น
- ข้อเสีย คือ ไม่มีพื้นที่ทำมาหากิน
- ที่อยู่อาศัยไม่พอเพียง


ชุมชนมีความเข้มแข็งในการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณี ยึดถือความเชื่อแบบดั้งเดิม และมีการดำรงชีวิตแบบชาวเขาเผ่าลาหู่ลาบาจนถึงปัจจุบันยังคงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี และจะสืบทอดกันไปเพื่อลูกหลานในอนาคตต่อไป

พิพิธภัณฑ์ชาวเขาชุมชนจะแล
และการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเป็นทางออกหนึ่ง แทนที่ชุมชนจะเป็นฝ่ายตั้งรับ รอให้กระแสวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ชุมชนขอเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดเส้นทางวิถีชุมชน เพื่อดำรงความภาคภูมิใจ และความเป็นตัวตนของชนเผ่าตนเอง การสร้างแหล่งเรียนรู้ของคนหนุ่มสาวชนเผ่าที่เป็นผู้ถูกถ่ายทอด และเป็นผู้สืบสานทางวัฒนธรรมประเพณีดีงามไว้ ในขณะเดียวกันชุมชนขอมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของชุมชน ในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ เพื่อให้คนหนุ่มสาวสามารถอยู่ในชุมชนอย่างมีอาชีพ และรายได้ พอที่จะพึ่งตัวเองบนฐานจารีตประเพณีที่จะสืบทอดกันต่อไป


สิ่งของเครื่องใช้
ที่แสดงถึงวีถีชนเผ่า ได้ถูกเรี่ยไรกันภายในชุมชนเพื่อนำมาจัดแสดง ซุ้มดิน 4 หลัง เรือนไม้ไผ่ 2 เรือน สร้างจากเรี่ยวแรงชาวบ้านชุมชนจะแลนานนับกว่า 6 เดือน เพื่อเป็นซุ้มแสดงประเพณี วัฒนธรรม และวีถีชีวิต ห้องฉายภาพวิดีโอสารคดีชนเผ่า ร้านค้าชุมชน การรวมกลุ่มของคนในชุมชน และคนหนุ่มสาว เข้ามามีบทบาทต่อการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวชุมชน การจัดการด้านโฮมสเตย์ มัคคุเทศก์ท้องถิ่น การจัดกลุ่มการแสดงวัฒนธรรม และกลุ่มศิลปหัตถกรรม เพื่อรองรับผู้มาเยี่ยมเยือนที่อยากเรียนรู้สัมผัสกับวิถีชนเผ่า

หากท่านใดอยากเข้ามาชมพิพิธภัณฑ์ชาวเขาชุมชนบ้าน (จะแล) หมู่ที่11 ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย
รายละเอียดติดต่อได้ที่นี่
นางสาวปริสุทธา สุทธมงคล
อีเมล์: [email protected] หรือ [email protected]
web: www.hilltribetour.com, www.learnfromhilltribe.org
เบอร์โทร 053 737412-3 หรือ 07 175 8668