วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/05/2009
ที่มา: 
บ้านทรงไทยดอทคอม www.bansongthai.com

บ้านเรือนไทยภาคตะวันออก

บทความนี้คัดลอกมาจากบทความเรื่อง House Pattern In Eastern Area ของ คุณพรศิริ ภู่เกิด นัก ศึกษาวิชาเอกการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมี รองศาสตราจารย์บุญเดิม พันรอบ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ผมเห็นว่ามีประโยชน์ ผมเลยขอนำมาลงเพื่อใหเป็นที่ศึกษาค้นคว้าต่อไป เป็นบทความมที่นำเสนอสถาปัตยกรรมการสร้างบ้านที่อยู่อาศัยในภาคตะวันออก โดยการแบ่งการศึกษาออกเป็นสถาปัตยกรรมการสร้างบ้านแบบต่างๆ ได้แก่

รูปแบบแรก การสร้างบ้านแบบเรือนไทยเดิม
รูปแบบที่สอง การสร้างบ้านแบบทรงปั้นหยา
รูปแบบที่สาม การสร้างบ้านทรงมะนิลา
รูปแบบสุดท้าย การสร้างบ้านแบบพื้นบ้านภาคตะวันออก

การศึกษาพบว่าการสร้างบ้านแบบเรือนไทยเดิมภาคตะวันออกมีทั้งบ้านที่อยู่ใน เขตชุมชนเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี และเรือนแพหรือเรือนริมน้ำบริเวณริมน้ำบางปะกง รูปแบบที่สอง การสร้างบ้านแบบทรงปั้นหยา พบบริเวณชุมชนเมืองคู่ไปกับบ้านทรงไทยเดิม และรูปแบบที่สามการสร้างบ้านทรงมนิลา บริเวณชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว รูปแบบสุดท้ายบ้านแบบพื้นเมืองภาคตะวันออก ประกอบด้วย บ้านชาวประมงและเรือนริมน้ำ เรือนร้านค้าริมทาง บ้านชาวนาเกลือ และบ้านชาวสวนในแถบชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทราและตราด

อาณาบริเวณที่เรียกว่า ภาคตะวันออก ของประเทศไทยนั้น จากสภาพภูมิศาสตร์จะพบว่าส่วนหนึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ โดยมีอีกส่วนหนึ่งยื่นออกไปต่อเนื่องกับชายทะเลบริเวณก้นอ่าวไทยบางส่วนมี ความเหมาะสมสำหรับเป็นที่จอดเรือ และเมืองค้าขาย บางส่วนก็มีความเหมาะสมกับการทำประมง บางพื้นที่ก็เหมาะกับการทำนาเกลือ บางพื้นที่ก็เหมาะกับการทำอาชีพกสิกรรมต่างๆ ขณะเดียวกันก็มีลำน้ำสำคัญๆ ไหผ่าน ดังนั้นชุมชนที่เกิดขึ้นในบริเวณท้องที่ภาคตะวันออกนี้ จึงมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไปหลายลักษณะไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรม ประเพณี การประกอบอาชีพ ตลอดจนกลุ่มคนที่หลากหลายกลุ่ม หลากหลายเชื้อชาติ ที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่แถวภาคตะวันออกในหลายช่วงเวลา ที่ต่อเนื่องกัน

การกำหนดส่วนที่เป็นภาคตะวันออกนั้น จะประกอบด้วย จังหวัดต่างๆ คือ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ส่วนพื้นที่ของจังหวัดซึ่งอยู่ติดกับชายทะเลภาคตะวันออก หรือภาคตะวันออกของอ่าวไทยนั่นเอง

หากกำหนดแบ่งกว้างๆแล้ว อาณาบริเวณภาคตะวันออกนั้น ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่โดยทั่วไปแล้ว จะเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน หากจะมีส่วนที่แตกต่างกันออกไปก็มักจะปรากฏอยู่ในลักษณะ ที่เป็นข้อปลีกย่อยของกลุ่มชนในพื้นที่นั่นเอง ทั้งนี้เนื่องจากศิลปวัฒนธรรมต่างๆ นั้นส่วนใหญ่จะหลั่งไหลมาจากเมืองศูนย์กลาง คือ เมืองหลวง ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลกันนัก และประการสำคัญ คือ มีเส้นทางคมนาคมที่สามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกสบาย ทั้งทางบก และทางน้ำ จะเป็นเหมือนสื่อที่สำคัญในการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับเมืองศูนย์ กลาง ให้ได้ความกลมกลืนกัน จนแทบจะแยกกันให้ชัดเจนได้ยาก

อ้างอิงต้นฉบับ : http://www.bansongthai.com/content/view/86/31/