วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
06/05/2009
ที่มา: 
บ้านทรงไทยดอทคอม www.bansongthai.com

การสร้างบ้านแบบทรงปั้นหยา

เรือนปั้นหยา เป็นเรือนไม้แบบยุโรป มุงหลังคาด้วยกระเบี้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบพีระมิด ไม่มีหน้าจั่ว มีคำทำทายเล่นระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ กล่าวถึงเรือนปั้นหยาว่า"เรือนปั้นหยา ทาสีเขียว เด็กคนเดียวนอนมุ้งขาว" คำเฉลยก็คือ"น้อยหน่า" ผลน้อยหน่าเป็นเกล็ดเหมือนกระเบื้องมุงหลังคาปั้นหยา ทาสีเขียวคือผลไม้ชนิดนี้เปลือกสีเขียว เด็กคนเดียวคือเมล็ด นอนมุ้งขาวคือเนื้อน้อยหน่า สีขาวข้างในหุ้มเมล็ดอยู่ทุกเมล็ด เรือนปั้นหยาปรากฏมีอยู่ที่หลังคาพระราชวังต่างๆที่สร้างในสมัยต้นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นแบบปั้นหยา จากเรือนปั้นหยาได้วิวัฒนาการมาเป็น เรือนมะนิลา คือ บางส่วนเป็นเรือนหลังคาปั้นหยาแล้วเปิดบางส่วนให้มีหน้าจั่ว ในสมัยที่เรือนแบบมะนิลา(ซึ่งคงจะแพร่หลายมาจากเมืองมะนิลา)เข้ามาสู่ความ นิยมอย่างแพร่หลาย อันตรงกับสมัยที่สถาปัตยกรรมแบบเรือนขนมปังขิง(Ginger Bread)แพร่หลายเข้ามาด้วย ลักษณะเรือนขนมปังขิงนี้เป็นชื่อเรียกสากลทับศัพท์ว่า"จินเจอร์ เบรด"อันมีที่มาจากขนมปังขิงสมัยโบราณของชาวตะวันตก ซึ่งตบแต่งหรูหราฟู่ฟ่า มีครีบระบายแพรวพราว เรือนมะนิลาหรือเรือนขนมปังขิงก็ดี ซึ่งผสมกันอันมีส่วนประกอบด้วยลายฉลุอย่างงดงาม เป็นเรือนที่ผู้คนส่วนใหญ่สนใจ และศิลปะลวดลายหรูหราเป็นลายแกะสลัก ฉลุแบบขนมปังขิง เช่น ตู้และเฟอร์นิเจอร์กับการตกแต่งภายใน นิยมสร้างในหมู่คหบดี ขุนนาง และชนชั้นกลางทั่วไป


พระที่นั่งหลังหนึ่งที่เกาะสัชัง ก่อเป็นตึก ตรงหน้าจั่วเป็นลายฉลุ ศิลปะรัชกาลที่ 5

 

อาคารหลังคาปั้นหยา มีคอสองด้วย สมัยรัชกาลที่ 5



บ้านชั้นเดียวหลังคาปั้นหยา สมัยรัชกาลที่ 5

 

ลูกกรงฉลุไม้ ที่อาคารริมถนนสายเลียบแม่น้ำ จันทบุรี


อ้างอิงต้นฉบับ :
http://www.bansongthai.com/content/view/86/31/1/1/