ชนเผ่าลาหู่ - วิถีชีวิตในหนึ่งรอบปี

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
20/12/2007
ที่มา: 
มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ http://www.hilltribe.org

ชนเผ่าละหู่ :วิถีชีวิตในหนึ่งรอบปี

เดือน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม ภาพ
มกราคม เกี่ยวหญ้าคาเพื่อนำมามุงหลังคา มุงหลังคาหรือซ่อมแซมบ้านทำความสะอาดในบ้าน
รอบๆบ้าน ให้น่าอยู่ เพื่อที่จะต้อนรับปีใหม่ลาหู่
(กินวอร์ลาหู่)
กุมภาพันธ์ หาของป่านำมาไว้ที่บ้าน เพื่อที่จะใช้ในช่วงปีใหม่เพราะว่าในช่วงปีใหม่ ไปหาของป่าไม่ได้ จึงจะต้องเตรียมก่อนปีใหม่ ประเพณีปีใหม่กินวอร์ชาวลาหู่เรียกว่า( เขาะจาเว ) เป็นเทศกาลสนุกสนาน มีการสร้างความประทับใจ ซึ่งกันและกัน ชาวบ้านจะอยู่ในหมู่บ้าน และจะเล่นกิจกรรมต่างๆ เช่น ตีลูกข่าง เล่นสะบ้า หรือ เต้นรำใต้ต้นวอร์ ผู้เฒ่าผู้แก่จากเล่านิทานให้เด็กๆฟัง เป็นต้น
มีนาคม ช่วงนี้เป็นช่วงที่หาของป่า เช่น เก็บดอกก๋ง เพื่อทำไม้กวาดหรือนำมาขายตามพ่อค้าแม่ค้า และหาเปลือกปอจะนำมาใช้ ตามปกติในช่วงนี้ไม่มีประเพณี และพิธีกรรมอะไร เป็นช่วงที่หาของป่าอยู่ ปลายเดือนเตรียมหาพื้นที่
ทำไร่ทำสวนกัน
เมษายน การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ถางไร่ และทำแนวกันไฟรอบๆ พื้นที่ของแต่ละคน 1.พิธีกรรม ก่อทราย ชาวลาหู่เรียกว่า(แซ่ก่อ)เป็นประเพณี ของทุกปีจะต้องทำ เพื่ออุทิศส่วนกุศล ขอขมาต่อสัตว์ต่างๆ ที่โดนฆ่าตายช่วงเวลาในการทำไร่ ทำสวนโดยไม่ตั่งใจ
2.เป็นพิธีกรรมทำศาลา ลาหู่ เรียกว่า( ศาละเตเว ) มีปีละครั้ง ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศล ขอพรเจ้าที่เจ้าทาง ว่าเมื่อเราไปหาของป่าขอให้เจ้าที่เจ้าทางช่วยดูแลเราด้วย
พฤษภาคม พรวนดิน ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด มีพิธีกรรมสวดมนต์ ก่อนการเพาะปลูกทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ เมล็ดพันธุ์สูญหายไป และขอพรว่าต้นกล้าออกมาอย่างงอกงาม
มิถุนายน เป็นช่วงปลูกข้าวไร่ และปลูกพืชพักในไร่ มีพิธีทำบุญต้นข้าวเป็นพิธีกรรมส่วนรวม ทำเมื่อต้นข้าว อายุประมาณ 30 วัน หรือ หลังจากการกำจัดวัชพืชครั้งที่หนึ่ง เพื่อขอให้ผีไร่ผีดอย ป้องกันไม่ให้หนูแมลง หรือสัตว์ป่ามากัดกิน หรือทำลายต้นข้าว
กรกฏาคม หาของป่า เช่น หาหน่อไม้ซาง หาเห็ดไม้ซาง สมาชิกในหมู่บ้านจะนัดวันดี ๆ หนึ่งวัน ไปลงแรงทำไร่ทำสวนให้กับผู้นำชุมชน เพื่อเป็นการตอบแทน และถือว่าเป็นกิจกรรม และทำให้กับผู้นำชุมชน มีกำลังใจในการทำงาน ให้กับชุมชนต่อไป ไม่มีพิธีกรรมใดๆทั้งสิ้นช่วงนี้
สิงหาคม ช่วงนี้หาหน่อไม้ไผ่และ หาหนอนไม้ไผ่ตามป่า ในเดือนนี้ไม่มีการประกอบพิธีกรรม เป็นช่วงที่หาหน่อไม้ไผ่ขายหรือมาเป็นอาหาร
กันยายน หาหนอนไม้ไผ่ เช่น ดักแด้ หาหน่อไม้ไร่ ก่อนจะถึงประเพณีกินข้าวใหม่ ชาวบ้านแต่ละหลังคาเรือน
หาผลผลิตจากในไร่ในสวนนำมาไว้ที่บ้านเช่น ฟักทอง ถั่งฝักยาว พริก มะเขือ
เป็นต้น
ตุลาคม
เตรีอมที่จะเก็บเกี่ยวข้าวไร่ ถึงประเพณีกินข้าวใหม่ ชาวลาหู่แต่ละบ้าน จะนำผลผลิต
ที่เพาะปลูกไว้ในไร่นั้น ๆ จะนำมาทำอาหารแล้ว มานั่งกินด้วยกัน
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมของลาหู่
พฤศจิกายน ช่วงนี้เก็บเกี่ยวผลผลิตตามไร่ ตามสวน ชาวบ้านจะมาช่วยกันเก็บเกี่ยวผลผลิตในไร่กัน
อยากมีความสุข
ช่วงนี้ไม่มีประเพณีและพิธีกรรมใดๆ เป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต จัดในไร่ ในสวนเพื่อนำมาเป็นอาหารในใช้ชีวิตประจำวัน
ธันวาคม ช่วงนี้เป็นการ พักผ่อน ปักเย็บเสื้อผ้า และทอผ้าไว้ใส่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ในเดือนนี้ไม่มีการประกอบพิธีกรรม เตรียมการต้อนรับ สิ่งใหม่ ๆ ทอผ้า เย็บผ้า เพื่อจะนำไปใช้ในช่วง เทศกาลปีใหม่ หรือกินวอร์ลาหู่

การปฏิบัติตามวิถีชีวิตในรอบปีของชาวลาหู่หมู่บ้านจะแล หมู่ที่ 11 ต. แม่ยาว อ. เมือง จ. เชียงราย นี้ขาดไม่ได้ เด็ดขาดพวกเขามีความเชื่อว่าอยู่มาได้จนถึง ปัจจุบันก็เพราะความอุดมสมบุรณ์ของป่า มีของป่าใช้ มีพื้นที่สำหรับ หาของป่าได้ตลอดทั้งปี และมีประเพณีวัฒนธรรมที่งดงาม วิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ชอบอยู่โดดเดี่ยวตามหุบเขา ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับใคร เพียงรำลึกว่าขอให้ลูกหลานมีความสุข และมีสุขภาพอนามัยที่ดีก็เป็นพอ.