ชนเผ่าลีซู - มาเรียนภาษาลีซูกับคนลีซูกันเถอะ

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
09/01/2008
ที่มา: 
มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์

ชนเผ่าลีซู : ภาษา

ความเป็นมาและต้นกำเนิดของภาษาลีซูนั้นไม่มีใน ประวัติศาสตร์ แต่จะเป็นในลักษณะการสืบทอดต่อ ๆ กันมามากกว่า การใช้ภาษาลีซูนั้นการสื่อสารและการพูดมากกว่า สำเนียงคำพูดของลีซูนั้น เสียงสั้นและสูง หรือบางคำก็ยาว พูดกับเด็กเล็กที่กำลังฝึกพูด จะใช้ภาษาพูดอีกแบบหนึ่ง เช่น ด่าด๋า คือ การยืน ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่เด็กสามารถพูดหรือ เอ่ยขึ้นมาเองตามธรรมชาติของเด็ก โดยไม่จำเป็นต้องสอนให้เด็กพูด ชนเผ่าลีซูมีความเชื่อกันว่า การร้องไห้และการหัวเราะของเด็กนั้น เหมือนกับเป็นวาจาที่เด็กพูดเอง โดยที่ผู้ใหญ่ไม่ต้องสอนให้พูด เช่น การร้องไห้ของเด็กก็เหมือนกับการพูดหรือบอกตนเองว่าตอนนี้ ฉันมีความรู้สึกไม่พอใจ หิว ไม่สบาย เป็นต้น

ภาษาสำหรับเด็กที่กำลังฝึกพูด และใช้สื่อสารกับคนรอบข้างมีอยู่ 4 หมวด
1) หมวดกิริยา

ภาษาลีซู
ความหมาย
อ๊ะคลือ
การทักทายของเด็ก เป็นคำแรกที่เด็กพูดได้
อ๊ะบลู่แบ
การแบกเด็กขึ้นหลัง เด็กจะพูดตอนที่เด็กขอขี่หลัง
ด่าด๋า
การยืน
โต่โต๋
การนั่ง
เอ่เอ๋
ถ่ายอุจจาระ
แนะแนะอ่ำ
การกิน
แอะแอ
สิ่งสกปรก
อ่ามิแบ
การนอนหลับ
ป่าตี้
หลนลงมาหรือตกลงมา
ด่าด๋าสู่ว
การหัดเดิน

2) หมวดนาม

ภาษาลีซู
ความหมาย
อ่าอ๋า
เนื้อ
จุ๊จุ๊
น้ำ
เบี่ยเบียะ
ขนม
หม่าหมา
กิน
ก๊ะก๊ะ
ไม้
โอ่โอ๋
ผลไม้
วี่วี
ดอกไม้

3) หมวดเครือญาติ

ภาษาลีซู
ความหมาย
อ๊ะบา
พ่อ
อ๊ะมา
แม่
จี้จิ
พี่สาว
โก้โก
พี่ชาย
อาปา อาหย๋า
ปู่ ย่า
อาปา อาผู่
่ตา ยาย

4) หมวดเรียกสัตว์เลี้ยง

ภาษาลีซู
ความหมาย
จิ๊จิ๊
ลูกไก่
อ๊ะแหวะนินิ
ลูกหมู
อ๊ะหน่าบิ๊บิ๊
ลูกหมา

http://www.hilltribe.org/thai/lisu/lisu-language.php