ชนเผ่าลีซู - เหล้าข้าวโพด

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
09/01/2008
ที่มา: 
มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ http://www.hilltribe.org

ชนเผ่าลีซู : เหล้าข้าวโพด

ประวัติศาสตร์เหล้าลีซู

ในยุคแรกของการผลิตเหล้าของชนเผ่าลีซู
จะมีขั้นตอนการผลิตเหล้าที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เพียงแต่นำข้าวสาร (ข้าวเหนียว) และข้าวโพดแห้ง ไปแค่น้ำ 1 ข้ามคืน เสร็จแล้วนำมาต้มข้าวเหนียวให้สุก ต้มข้าวเหนียวสุกแล้วต่อด้วยข้าวโพด ต้มข้าวโดพให้เปลือย จากนั้นเอาข้าวโดพที่ต้มสุกแล้วนำไปล้างน้ำแล้วมาผสมกัน หมักไว้ในโอ่งไม้ (ลูทวู) ประมาณ 4-5 เดือน จากนั้นมาตักน้ำที่เกิดจากการหมักข้าวกับข้าวโดพตักกินแต่น้ำ(เหล้า)

ในยุคที่สองของการผลิตเหล้าของเผ่าลีซู
เริ่มมีการนำข้าวกับข้าวโดพที่หมักไว้มาต้ม กลั่นเฉพาะน้ำที่เกิดจากความร้อนมาเป็นเหล้า วิธีนี้สามารถเก็บรักษาเหล้าไว้ได้นาน ไม่ทำให้เหล้าเลื่อมคุณภาพ

ในยุคที่สาม
เป็นการพัฒนาต่อเนื่องมาจากยุคแรกและยุคที่สอง เนื่อจากกระบวนการหมักข้าวและข้าวโดพในทั้งสองยุค ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน กว่าจะหมักข้าวและข้าวโดพได้พอจะกลั่นเป็นน้ำ จึงมีผู้รู้ในด้านการผลิตเหล้าได้ทำการคิดค้นวิธีการย่นระยะเวลาการหมัก ข้าวและข้าวโดพให้สั้นลง การคิดค้นวิธีนี้ได้มีการทดอลงด้วยวิธีต่างๆและหลายๆปี เพื่อช่วยย่นระยะเวลาการหมักเหล้าให้เร็วขึ้น ผู้รู้ด้านยาสมุนไพรได้ทดองดองสมุนไพรกับเหล้า สามารถสรรพคุณของยาสมพุนไพรไว้ได้นาน ดังนั้นผู้รู้ด้านการผลิตเหล้า และได้ร่วมมือกับผู้รู้ด้านยาสมุนไพรพื้นบ้าน ได้ทอลองคิดค้นกันการผสมตัวยาสมุนไพรเข้ากับส่วนผสมการทำแป้งหัวเชื้อเหล้า เพื่อให้เหล้ามีคุณสมบัติในการเป็นยาสมุนไพร จนถึงปัจจุบันนี้มีการพัฒนาการผลิตเหล้าสมุนไพรมาเรื่อยๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ชนเผ่าลีซูมีการผลิตเหล้าโพดจะติดบ้านไว้ทุกครัวเรือน และมีความเชื่อว่า"เหล้า" คือ น้ำบริสุทธิ์ เช่น ในกรณีมีแขกมาเยี่ยมบ้าน เจ้าบ้านจะเอาเหล้าออกมาให้แขกดื่ม เพื่อเป็นการแสดงน้ำใจและสื่อถึงความยินดีอย่างยิ่งที่แขกให้เกียรติเดิน ทางไกลมาเยี่ยมถึงบ้าน "เหล้า"จะมีบทบาทต่อสังคมลีซูมาก เพราะเหล้าเป็นสื่อในการติดต่อกับดวงวิญญาณของบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยังมีความสำคัญต่อการความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในสังคมด้วยกัน ยาสมุนไพรสำหรับรักษาการเจ็บป่วยหางกาย จะสังเกตุได้จากการแพทย์พื้นบ้านชของชนเผ่าลีซู เหล้านั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการรักษาควบคู่กับยาสมุนไพรตัวอื่นๆ เหล้ายังมีคุณสมบัติในการเร่งการออกฤธิ์ของยาสมุนไพรตัวอื่นๆด้วย ดังนั้นหมอสมุนไพรลีซูจึงนิยมนำเหล้ามาผสมกับยาสมุนไพร เพื่อรักษาอาการเห็นผลเร็วขึ้น



พิธกรรม/ความเชื่อ
ความ เชื่อที่ว่ากัน"เหล้า"เป็นน้ำบริสุทธิ์และศักดิ์ทธิ์ที่กลั่นออกมาจาก ข้าวโพด ดังนั้น เหล้ากับวิถีชีวิตของชนเผ่าลีซูจะผูกพันกันและงานพิธีกรรมทางความเชื่อของ ชนเผ่าลีซู มีความเชื่อกันว่าเกี่ยวข้องกับเหล้า สามารถสังเกตุได้ถึงความสำคัญของเหล้า จากพิธีกรรมต่างๆของชนเผ่าลีซู มีดังนี้

พิธีแจ้งเกิดเด็กทารก
ชนเผ่าลีซู จะบูชาดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ด้วยเหล้าเพื่อเป็นเสื่อในการอันเชิญให้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษมาร่วมเป็น สักขีพยานใน การแจ้งเกิดสมาชิกใหม่ แขกที่มาร่วมงานจะมีการเทน้ำ เงินทอง (น้ำเหล้าผสมกับน้ำเปล่า) ให้พ่อแม่ของเด็กเพื่อนำไปชำระร่างกายเด็ก มีความเชื่อว่าน้ำบริสุทธิ์"เหล้ากลั่น"สามารถล้างสิ่งสกปรกและสิ่งชั่ว ร้ายที่อยู่ในร่างของเด็กทากรได้

พิธีทำบุญเรียกขวัญ
ในงานพิธีทำบุญเรียกขวัญ เจ้าภาพที่จัดงานจะต้องมีการเชิญหมอพิธีหรือผู้สว ในขณะที่เชิญหรือขอความช่อยเหลือให้หมอพิธีช่วยมาสวดเรียกขวัญ เจ้าภาพจะต้องนำเหล้าไป 1 ขวด เพื่อไปขอความช่วยเหลือจากหมอสวด

พิธีงานขึ้นปีใหม่
ชนเผ่าลีซูทำงานกันอย่างเต็มที่แล้ว จะมีการฉลองแสดงความยินดีกับผลผลิตที่ได้แต่ละปี ในงานปีใหม่นี้จะมีการฉลองกันอย่างสนุกสนานและ มีการตัดเย็บเสื้อผ้าใหม่ๆและมีการทำพิธีขอบคุณเทพเจ้าต่างๆ ช่วยปกป้องภัยอันตรายและช่วยดูแลผลผลิตด้วยดีเสมอมา พิธีขอบคุณเทพเจ้าต่างๆนั้นจะมีการบูชา เพื่อเป็นการขอบคุณหนึ่งในสิ่งของที่จะบูชาให้เทพเจ้าและดวงวิญญาณของ บรรพบุรุษนั้น คือ เหล้า ที่ผลิตจากข้าวโพดในรอบปีและต้องเป็นเหล้าที่ครอบครัวตนเองต้มเอง

พิธีงานศพ
ในพิธีงานศพของชนเผ่าลีซ มีความเชื่อกันว่าญาติพี่น้องจะต้องนำเหล้าข้าวโพดที่ผลิตได้ผู้เชี่ยวชาญ ในการต่อโลงศพญาติพี่น้องของผู้ตายจะต้องเดินทางเข้าไปป่า เพื่อไปเลือกต้นไม้ที่เหมาะแก่การต่อโลงศพ จากนั้นเอาเหล้าไปประกอบพิธีขอต้นไม้จากเทพเจ้าที่ประจำต้นไมเพื่อมาต่อโลง ศพให้ผู้ตาย หลังจากได้โลงศพแล้วประกอบพิธีศพตามประเพณี ในวันที่จะนำศพไปเผาญาติผู้ตายจะต้องยกจอกเหล้าไปขอเชิญชายวัยฉกรรจ์ต่าง ตระกูล มาช่วยกันแบกโลงศพออกจากบ้านไปยังสถานที่ที่เผาและฝังศพ

การดูแลสุขภาพด้วยเหล้าสมุนไพร
เหล้า เป็นสารที่มีคุณสมบัติสามารถสภาพสรรพคุณของยาสมุนไพรและ สามารถเป็นพาหะที่สามารถนำฤทธิ์ยาสมุนไพรให้แทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังและกล้าม เนื้อได้อย่างรวดเร็ว ยังสามารถกระตุ้นให้ฤทธิ์ยาสมุนไพรร่างกายออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น หมอสมุนไพรของชนเผ่าลีซูนิยมผสมเหล้ากับยาสมุนไพรอีกหลายๆชนิด เพื่อรักษาโรคต่างๆ มีดังนี้

สมุนไพรเชื่อมกระดูกหัก
ใช้สมุนไพรเชื่อมกระดูก ผสมกับเหล้าข้าวโพดเพื่อให้เหล้าเข้าไปกระตุ้นการออกฤทธิ์ยาสมุนไพรเชื่อม กระดูก แล้วนำสมุนที่ผสมเหล้าข้าวโพดมาปก แล้วปิดตรงบริเวณที่กระดูกหัก ยาสมุนไพรลดอาการปวดข้อและคลายกล้มเนื้อ ผสมกับแป้งเหล้าแล้วให้ผู้ปวดกล้ามเนื้อดื่มเป็นยา ส่วนคนที่ไม่ดื่มเหล้าหรือผู้ปวดที่เป็นเด็ก เอานำผ้าฝ้ายบางๆวางลงบนกล้ามเนื้อที่ปวดแล้วนำเหล้าข้าวโพดเทลาดบนผืนผ้า ที่เตรียมไว้แล้วจุดไฟเผา เปลวไฟลุกผู้ป่วยจะรู้สึกอุ่นๆส่วนผ้ากับผิวหนังจะไม่โดนไหม้

สมุนไพรแก้ช้ำใน บำรุงเลือด บำรุงร่างกาย เจริญอาหาร
ในสตรีหลังคลอดบุตร(ช่วงอยู่เดือน) จะต้องนำสมุนไพรบำรุงร่างกาย ดองในเหล้าข้าวโพด แล้วให้สตรีหลังคลอดบุตร จิบ เป็นยาบำรุงร่างกาย

สมุนไพรขับพิษ
เมื่อผู้ป่วยโดนพิษจากสัตร์ที่มีพิษ เช่น แมงป่อง ให้นำเหล้าข้าวโพดทาบริเวณที่โดนพิษ จะช่วยลดอาการบวมและปวดแสบปวดร้อนได้

สมุนไพรล้างแผล
เมื่อผู้ป่วยได้แผล (แผลสด) ก็สามารถนำเหล้าสมุนไพรมาล้างแผลได้ทันที นอกจากเหล้าสมุนไพรจะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ และยังมีคุณสมบัติในการสมานแผลไม่เกิดรอยแผลด้วย
สมุนไพรที่ผสมกับแป้งเหล้าและสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละตัว มีดังนี้
1. อ๊ะหงี่ตูกู     10. หมุ่แนแน     9. จา
2. อิ๊จึ๊แน     11. ฉู่เต๊าะเต๊าะ     20. ซุ๊ซุ๊ เบเบ
3. อ๊ะหน่าซะจ่า     12. กื่อจือ     21. คีคา
4. หูข่าก     13. ชูปาด่ามอ     22. อ๊ะยะจือตู
5. ฉู่ติ๊งู     14. ลาหลี่ฉั่ว     23. ลาผิชะ
6. อะยะชือนากา     15. อ๊ะกู่จา     24. ติ๊ต่ายูมากา
7. ยะยู่ฉ     16. ป่าหี่แหล่มา     25. หมื่อโท
8. หล่ามาลาชูว     17. ปิ๊ปี่หลี     26. ติ๊ ฟ
9. ซุ๊ซุ๊สื่อ/ซุ๊ซุ๊จี     18. อ๊ะหงี่อู่ด     27. ลาจึ (พริกใหญ่)

วิธีขั้นตอนการทำแป้งหัวเชื้อเหล้าสมุนไพร
ขั้นตอนที่ 1 วิธีการเตรียมข้าวแป้ง
1.นำเมล็ดข้าวจ้าว แช่ประมาณ 5-7 วัน จนเมล็ดข้าวอก
2.เอาเมล็ดข้าวที่อกแล้วมาตากแห้ง
3.นำเมล็ดข้าวที่อกตำให้ละเอียด

ขั้นตอนที่ 2 วิธีการเตรียมสมุนไพร
1.นำสมุนไพรที่เตรียมไว้ล้างให้สะอาด
2.มาตำและสับหรือบดให้ละเอียด แล้วตากให้แห้งสนิท เพื่อจัดการกลิ่นเหม็นเขียว
3.เอาสมุนไพรที่ตากแห้ง นำมาต้มกับน้ำสะอาดต้มให้จนเปื่อย
4.คั้นเอาแต่น้ำ แล้วยกลงให้น้ำสมุนไพรเย็น

ขุ้นตอนที่ 3 วิธีปั้นข้าวแป้ง
1.เอาข้าวแป้งที่ตำละเอียดแล้วจากขั้นตอนที่ 1 มาผสมกับน้ำสมุนไพรที่ต้มไว้
2.ปั้นเป็นก้อนประมาณไข่เป็ด แล้วทับให้แบนเล็กน้อย
3.เอาแป้งที่ปั้นเป็นก้อนอล้วไปหมักในกองฟางข้าว ไว้ประมาณ 7 วัน 7 คืน จนข้าวแป้งเกิดรา (ยีส)
4.เอาก้อนข้าวแป้งที่ปั้นแล้วมาตากให้แห้งสนิท
5.มาเก็บใส่ตะกร้าที่มีช่องระบายความชื้น แล้วนำไปไว้บนหิ้งใต้เตาไฟ
   
อุปกรณ์ที่ใช้ในการต้มเหล้า

1. เตาผิงอันใหญ่ (จู๊ ขู่ดู่)
2. หมอนนึ่ที่ทำจากไม้ (หม่านิ๊)
3. กะทะทองแดง (ทีกู)
4. เส้นด้าย (สีขาว)
5. ผ้าชุบน้ำ (โอ่ โก ปุ๊)
6. กะทะใบใหญ่ (อ๊ะหลู่เปี๋ย)
7. ฐานรองไขว้ที่ทำจากไม้ (รูปตัว)
8. ไหรรองเหล้า
9. ถาดรองเหล้าที่ทำจากไม้ (จุพิ๊)
10. ครกหรือเครื่องบด
11. โอ่งมังกรและโอ่งปากแคบ

วิธีการต้มเหล้าข้าวโพด
ขั้นตอนที่ 1 การหมักข้าวโพด
1. นำข้าวโพดที่แก่และแห้ง มาต้มกับน้ำจนเปื่อย
2. ยกลงจากเตา ผึ่งให้เย็นพอประมาณ
3. เอาก้อนแป้งหัวเชื้อเหล้า ที่เตียมไว้มาลนไฟอ่อนๆ
4. เอาก้อนแป้งหัวเชื้อเหล้า ที่ลนไฟแล้วมาตำให้ละเอียด
5. เอาแป้งหัวเชื้อเหล้าที่ตำละเอียดแล้วมาคลุกกับข้าวโพดที่ต้มเปลื่อย
6. หมักใส่ภาชนะที่มีฝา ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน แล้วจึงปิดฝาให้สนิท
7. หมักต่ออีก 15 วัน ก็สามารถต้มสกัดน้ำเหล้าได้

ขั้นตอนที่ 2 การสกัดน้ำเหล้า
1. ก่อไฟเตาผิงขนาดใหญ่
2. ตั้งกะทะใบใหญ่
3. เติมน้ำในกะทะประมาณครึ่งหม้อ
4. วางหม้อนึ่ง ทำมาจากไม้ แล้วบนกะทะที่เติมน้ำไว้
5. ฐานรอง ใส่เข้าไปในหม้อนึ่ง
6. เอาข้าวโพดที่หมักแป้งเหล้าไว้ แล้วใส่หม้อนึ่งประมาณ 3/4
7. เอาแท่นไม้สำหรับรองรับน้ำเหล้า ใส่ในหม้อนึ่ง
8. เอากะทะทองแดงวางบนปากหม้อนึ่ง
9. เอาน้ำเย็นใส่บนกะทะทองแดง
10. รอจนน้ำเหล้าไหลออกมาจากท่อ
11. นำโอ่งปากแคบสำหรับรอรับน้ำเหล้า มารอรองรับน้ำเหล้า
12. แยกบรรจุน้ำเหล้าเข้าขวด