ชนเผ่ากะเหรี่ยง-กะเหรี่ยงทำลายป่าจริงเหรอ?

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
03/04/2008
ที่มา: 
http://www.karencenter.com/

กะเหรี่ยงทำลายป่าจริงหรือ?


ปัญหาป่าไม้ถูกทำลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยตั้งแต่อดีตมาปัจจุบันและในอนาคต เพราะยังไม่มีวิถีทางที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิผล กะเหรี่ยงซึ่งมีวิถีชีวิตอยู่ตามป่าเขา โดยเฉพาะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ทำการเกษตรแบบตัด ฟัน โค่น และเผา ถูกหลายคนตราว่าเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาป่าไม้ถูกทำลาย
การทำการเกษตรของกะเหรี่ยงเป็นการทำ "ไร่หมุนเวียน" ซึ่งหมายถึงการเกษตรในรูปแบบที่มีการตัดฟันต้นไม้ในป่าทุติยภูมิ โค่น เผา แล้วทำการเพาะปลูกพืชในพื้นที่อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วทิ้งให้พื้นที่มีการพักตัวเพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ในระยะเวลาตั้งแต่ 4-10 ปี หรือมากกว่า แล้วแต่สภาพของพื้นที่ สิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยา และความหนาแน่นของประชากร หลังจากที่ได้ปล่อยให้พื้นที่มีการพักตัวแล้ว ก็จะหวนกลับมาทำการตัดฟันต้นไม้ในพื้นที่ซึ่งเป็นป่าไม้ทุติยภูมิ หรือป่าไม้พุ่ม โค่น เผา แล้วทำการเกษตรอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แล้วปล่อยให้พื้นที่มีการพักตัวอีก ก่อนที่จะมีการเกษตรอีก เป็นเช่นนี้ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด การเกษตรแบบไร่หมุนเวียนนี้ เป็นการเกษตรแบบตัด ฟัน โค่น เผา ที่มีการอนุรักษ์ทรัพยากรอันได้แก่ ดิน น้ำ และป่าไม้มากที่สุดในพื้นที่ที่มีความลาดชัน(33)  การเกษตรแบบนี้ ทำให้ชุมชนของกะเหรี่ยงอยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีการอพยพโยกย้าย กะเหรี่ยงบางหมู่บ้านตั้งชุมชุนมานานกว่า 200 ปี(34)
เมื่อเข้าสู่หมู่บ้านกะเหรี่ยง แม้จะตั้งถิ่นฐานกันมานานแล้วจะเห็นป่าอยู่รอบหมู่บ้าน เพราะกะเหรี่ยงไม่นิยมตัดต้นไม้จนเตียน แม้ข้างๆ บ้านออกไปเล็กน้อยจะปล่อยต้นไม้ทิ้งไว้ตามธรรมชาติ ไม่ฟันหรือปราบต้นไม้จนเตียน กระทั่งการทำไร่ข้าวจะฟันเฉพาะต้นไม้ต้นเล็กๆ ทิ้ง ส่วนต้นใหญ่ๆ จะเพียงริดกิ่งก้านสาขา เพื่อไม่ให้บังเงาต้นข้าว(35) ในปีต่อ ๆ มาจะปล่อยให้พื้นดินได้พักตัว ต้นไม้ทั้งใหญ่เล็กก็ขึ้นเจริญเป็นป่าเช่นเดิมอีก ด้วยการเกษตรแบบพึ่งตนเอง คือปลูกข้าวไร่ หรือทำนาซึ่งมีอยู่เพียงเล็กน้อยข้าวโพด ถั่วเหลือง พริก ยาสูบ ฯลฯ ไว้บริโภคเองภายในครอบครัว อาจมีเหลือขายบ้างแต่เป็นจำนวนเล็กน้อย จึงใช้พื้นที่ทำการเกษตรไม่มากนัก ประกอบกับใช้วิธีการเพาะปลูกแบบดั้งเดิมซึ่งกำลังคนคนหนึ่งสามารถทำการเกษตรและดูแลได้เพียงเล็กน้อย ทำให้เป็นไปไม่ได้เลยว่ากะเหรี่ยงสามารถทำการเกษตรปรากฏอยู่บ่อย ๆ ถึงการรวมตัวของกะเหรี่ยงที่พยายามต่อสู้ต่อต้านผู้เข้ามาตัดไม้ในเขตหมู่บ้านของตน และที่ต้องเสียชีวิตไปเพราะอิทธิพลของบุคคลอื่นที่พยายามเข้าไปตัดไม้ก็มาก หลายครั้งเจ้าหน้าที่แนะให้คนภายนอกมาตัดไม้แล้วโยนความผิดให้กับกะเหรี่ยง และหลายครั้งที่ได้ยินเสียงเครื่องตัดไม้ เมื่อชาวกะเหรี่ยงไปดูเห็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้พร้อมรถติดเครื่องหมายกรมป่าไม้กำลังตัดไม้อยู่

เขตทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งมรดกทางธรรมชาติชิ้นสำคัญของโลกอันทรงคุณค่า คือผลงานการรักษาและอนุรักษ์ของกะเหรี่ยงมาหลายร้อยปี บัดนี้นอกจากไม่นึกถึงและไม่รู้ถึงบุญคุณที่ชาวกะเหรี่ยงรักษาและอนุรักษ์ให้แก่ประเทศไทยและโลก ยังพยายามขับไล่และป้ายความผิดการทำลายป่าให้กะเหรี่ยงอีกด้วย 

เชิงอรรถ
33.จันทรบูรณ์ สุทธิ, "ข้าวในการเกษตรแบบตัดฟืนโค่นเผา", ข่าวสารศูนย์วิจัยชาวเขา 6 (ต.ค.- ธ.ค. 2525) หน้า 46.
34.จันทรบูรณ์ สุทธิ, เรื่องเดียวกัน, หน้า 47.
35.ประวิตร โพธิอาสน์, "ปากท้องของกะเหรี่ยง", ข่าวสารศูนย์วิจัยชาวเขา, 2 (ต.ค. - ธ.ค. 2521) หน้า 47.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิงจาก : http://www.karencenter.com/