ชนเผ่าในประเทศไทย ชนเผ่าลาหู่ (Lahu)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
03/04/2008
ที่มา: 
ศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข .) http://www.contothailand.org/independentfile/INDEX.ASP

ชนเผ่าลาหู่ (Lahu)
ชาวลาหู่มีชาติกำเนิดอยู่ในประเทศธิเบต ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวลาหู่เล่าว่า ก่อนที่ชาวลาหู่จะเกิดนั้นมีมนุษย์เผ่าอื่นเกิดขึ้นแล้ว โดยลาหู่เป็นน้องในบรรดาเผ่ามนุษย์ที่มีในโลกนี้ ชาวลาหู่ได้เล่าเกี่ยวกับแผ่นดินอันไร้ขอบเขต ( มู่แม- หมี่แม) หมายถึงพื้นที่อันราบกว้างไกลไร้ซึ่งขอบเขต แม้เสือจะวิ่งหนีจากเราวันนี้ ในวันรุ่งขึ้นก็ยังสามารถเห็นเสือยังคงวิ่งอยู่ เหตุนี้ชาวลาหู่จึงมีวิธีชีวิตรักความเป็นอิสรภาพ เสรีภาพ ตามลักษณะพื้นที่ถิ่นกำเนิด ลาหู่จึงเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีความเป็นไทและมีสำนึกในความเป็นเผ่าพันธุ์ลา หู่อยู่เสมอ จึงมีจิตสำนึกว่า แผ่นดินไหนที่ข้า แผ่นดินนั้นต้องเป็นของข้าเช่นกัน ข้าต้องปกป้องแผ่นดินที่ข้าอยู่ ชาวลาหู่ถือว่าโลกนี้พระเจ้าสร้างให้กับคนทุกคนไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในผืนแผ่นดิน สังคมลาหู่ไม่ชอบเบียดเบียนผู้อื่น เพราะถือว่าการเบียดเบียนผู้อื่นทำให้เกิดทุกข์แก่ตัวเอง
ต่อมาพระเจ้าได้เรียกชนเผ่า ๑๒๐ เผ่าพันธุ์มาชุมชนกันก่อนที่แต่ละเผ่าพันธุ์จะแยกย้ายจากกัน และให้ชนเผ่า ๑๒๐ เผ่าพันธุ์เลือกสิ่งของวิเศษ ๒ อย่างคือ ลา - พือ- ต่อ ( คันไถ ) และ เจ๊ะ- แจ่- ตู่ ( ขวาน ) โดยให้แต่ละชนเผ่าเลือกได้ ๓ ครั้ง ๓ คราตามความพอใจ ส่วนเผ่าพันธุ์อื่นนั้นเลือกคันไถ และในที่สุดลาหู่ก็เลือกขวานทั้ง ๓ ครั้ง โดยให้เหตุผลว่าที่ราบที่นามีไม่มาก แต่ผืนป่านั้นกว้างใหญ่ไพศาลนัก ดังนั้นข้าจึงขอเลือกด้ามขวาน พระเจ้าจึงประทานขวานให้แก่ชาวลาหู่ และตรัสว่าเจ้าใช้สิ่งของที่ข้าให้ไว้ในทางที่ถูกและรักษาไว้ให้ดีแล้วจะ เกิดประโยชน์ต่อเจ้า และถ้าเจ้าใช้ไม่ถูกก็จะเป็นภัยต่อเจ้า ลาหู่จึงได้ขวานและเดินเข้าไปในป่า

 

 

 

ประวัติการอพยพโยกย้าย

Authony R.walker เป็นนักมนุษยวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งเคยค้นคว้าเกี่ยวกับลาหู่ไว้มากมายได้กล่าวถึงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวกับลาหู่ว่าก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ชาวลาหู่เคยเร่ร่อนมาก่อน ต่อมาได้มีอาณาจักรของตนเองในดินแดนที่เรียกว่า "ดินแดนแห่ง ๑๘ หัวหน้าเผ่า" โดยมีเมืองหลวงชื่อ "ลิเชียงกาซี" อยู่ในมณฑลยูนนาน ศาสตราจารย์ต้วน ลี เชิงนักมานุษยวิทยาชาวปักกิ่งได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมไว้ว่า ปัจจุบัน( ปี ๒๕๒๕ ) มีลาหู่ในมณฑลยูนนาน ถึง ๓๒๐, ๐๐๐ คน และอยู่ในอำเภอล้านช้างถึง ๑๕๔, ๐๐๐ คน ฉะนั้นจึงสันนิษฐานว่าชุมชนใหญ่ของลาหู่อยู่ที่อำเภอล้านช้างในแถบสิบสอง ปันนา มณฑลยูนนานนั่นเอง
ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ จีนได้ให้อำนาจในการปกครองตัวเอง โดยยังคงให้อยู่ภายใต้อำนาจปกครองของจีน แต่ไม่นานนักเมื่อจีนเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองก็สั่งทหารเข้ามาควบคุม ดินแดนของลาหู่ ทำให้ชาวลาหู่ไม่พอใจและทำการต่อต้านแต่ไม่สำเร็จ บางกลุ่มยอมอยู่ใต้อาณัติของจีนจนกลายเป็นชาวจีน ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ยอมให้ถูกกดขี่ก็พากันอพยพลงทางใต้สู่แคว้นเชียงตุง ซึ่งอยู่ในประเทศพม่าในปัจจุบัน
ขณะมีการอพยพครั้งนั้นเขตเชียงตุงอยู่ใต้อำนาจการปกครองของประเทศ อังกฤษเมื่อชาวลาหู่เข้ามาอยู่ในเขตเชียงตุงก็พบกับปัญหาถูกชาวอังกฤษโดย เฉพาะกลุ่มสอนศาสนาพยายามโน้มน้าวให้นับถือศาสนาคริสต์ ชาวลาหู่ซึ่งมีความศรัทธาต่อศาสนาดั้งเดิมไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงเกิดการรวมกลุ่มขึ้นเพื่อสร้างอาณาจักรของตนเองให้เป็นอิสระจากการเข้า ครอบงำของชาวอังกฤษ แต่ก็ถูกทหารอังกฤษปราบปรามจนต้องหนีเข้าประเทศไทย โดยมีผู้นำอพยพครั้งนี้ชื่อ "มะแฮ กื่อซา" ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาที่สำคัญของชาวลาหู่ขณะนั้น
การอพยพครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่ออังกฤษคืนเอกราชให้พม่าปกครองตัวเอง พม่าใช้นโยบายปราบปรามชนกลุ่มน้อยซึ่งรวมถึงชาวลาหู่ด้วย ทำให้ลาหู่ต้องลุกขึ้นต่อต้านอีกครั้งหนึ่งและผู้นำการต่อต้านครั้งนี้เป็น ผู้นำศาสนาเช่นเดียวกัน ชื่อ "เหมาะนะ โตโบ" โดยการรวบรวมต่อต้านพม่าครั้งนี้สามารถรวบรวมชาวลาหู่ไว้ได้เป็นจำนวนมาก และรวมทั้งทรัพย์สินเพื่อซื้ออาวุธในการต่อสู้ด้วยทั้งนี้โดยอาศัยความ ศรัทธาที่ชาวลาหู่มีต่อผู้นำศาสนาของตนนั่นเอง
อย่างไรก็ตามการก่อการครั้งนี้ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเหมือนเคย "เหมาะนะ โตโบ" จึงต้องพาบริวารหนีเข้าเขตไทย สู่บ้านต้นน้ำแม่มาว ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และเสียชีวิตที่นี่เมื่อปี พ. ศ. ๒๕๒๗ นับเป็นการอพยพครั้งสำคัญของชาวลาหู่เข้าสู่ประเทศไทย ในประเทศไทยชาวลาหู่ส่วนใหญ่ได้อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ และมีการกระจายในเขตจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ลำปาง และเพชรบูรณ์ จากการสำรวจปี พ. ศ. ๒๕๔๕ พบว่ามีประชากรลาหู่ จำนวน ๑๐๒, ๒๘๗ คน
ลาหู่ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น พวกใหญ่ ๆ ได้ ๕ พวก คือ ลาหู่แดง ( LAHU NYI ) ลาหู่ดำ ( LAHU NA ) ลาหู่ซี ( LAHU SHI ) ลาหู่เชเล ( LAHU SHEHLEH ) ลาหู่เหลือง ( LAHU BALA ) พวกลาหู่ แดง ลาหู่ดำ และลาหู่เหลือง อพยพจากพม่า และลาวมาสู่ไทย เมื่อประมาณ ๕๐ ปีที่ผ่านมานี้ ส่วนลาหู่ซีและลาหู่เชเลได้อพยพมาจากพม่าเข้าสู่ไทยในเวลาไล่เลี่ยกันกับ สามพวกแรก
( ขจัดภัย อ้างแล้ว , ๒๕๒๘ , หน้า ๙ )

โครงสร้างและการปกครอง
โครงสร้างสังคมลาหู่ในหมู่บ้านชุมชนหนึ่ง ๆ ไม่ว่าหมู่บ้านขนาดเล็กหรือหมู่บ้านขนาดใหญ่จะต้องประกอบด้วย ๓ ส่วน ซึ่งชาวลาหู่ เรียกว่า แช – เกอ – แช – หละ หมายถึงก้อนเส้าที่มี ๓ ขา ๓ มือถึงจะสามารถตั้งขึ้นอย่างมั่นคงได้ซึ่งเปรียบเหมือนการปกครองของสังคมลา หู่ที่ต้องประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ
* อาดอ ( คะแซ ) หรือผู้นำหมู่บ้าน เป็นตำแหน่งทางการปกครองสูงสุดของหมู่บ้านทำหน้าที่รักษากฎของหมู่บ้าน และประสานงานกับหน่วยงานทั้งในและนอกหมู่บ้าน
* โตโบ หรือพระ นักบวชทำหน้าที่สั่งสอนคนให้เป็นคนดี
* จาหลี๋ หรือช่างตีเหล็ก ( ผลิตเครื่องมือการเกษตร )
หากหมู่บ้านใดไม่มี ๓ ส่วนดังกล่าว ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่และมั่นคงต่อไปได้ เพราะองค์ประกอบทั้ง ๓ ส่วนมีบทบาทหน้าที่ครอบคลุม ชาวลาหู่นับถือผู้อาวุโสทั้ง ๓ ส่วนนี้มากในปีหนึ่ง ๆ ทุกหลังคาเรือนต้องไปช่วยทำงานให้ครอบครัวของผู้อาวุโสทั้ง ๓ ส่วนนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนที่ช่วยดูแลให้เกิดความสงบสุขในหมู่บ้าน 

 

โครงสร้างการปกครอง

 

โครงสร้างผู้นำศาสนา
โครงสร้างจาหลี๋
การปกครอง
ลาหู่จะมีการปกครองในหมู่บ้านตามจารีตประเพณีคลองธรรมที่ปฏิบัติสืบ ทอดกันมายาวนาน เมื่อมีการร้องเรียนกันผู้นำหมู่บ้านจะมีการเรียกประชุมหัวหน้าครอบครัวทุก หลังคาเรือนเพื่อชี้แจง ปรึกษา และตัดสินชี้ขาด ถ้าหากผลการตัดสินเกิดความขัดแย้งขึ้น จะเชิญผู้นำหมู่บ้านกับผู้อาวุโสจากหมู่บ้านอื่นที่มีความเป็นกลางมาว่า ความและตัดสินใจชี้ขาดเสมือนผู้นำในหมู่บ้าน ถ้าเป็นการกระทำผิดที่ไม่ร้ายแรงจะมีโทษเพียงปรับเป็นเงินตามอัตรากฎจารีต ของหมู่บ้านที่ได้มีการตกลงกันไว้ หากเป็นความผิดร้ายแรงผู้กระทำความผิดอาจได้รับโทษปรับตามกฎจารีตแล้วถูก ขับไล่ออกจากหมู่บ้าน
โครงสร้างการปกครองหมู่บ้าน 
โครงสร้างทางสังคม
๑. ครอบครัว
ครอบครัวของชาวลาหู่ประกอบด้วยหัวหน้าหมู่บ้าน ภรรยาและลูก และ หลายครอบครัวจะเป็นครัวเรือน อยู่ภายใต้การปกครองของหัวหน้าครอบครัวแต่ก็มีหลายครัวเรือนที่ประกอบด้วย ครอบครัวเพียงครอบครัวเดียว แต่ครอบครัวเหล่านี้ต่อไปจะเป็นครัวเรือนขึ้นมาโดยการนับรวมญาติทางฝ่ายสามี ภรรยาเข้าไปด้วยและโดยที่ผู้ชายลาหู่เมื่อแต่งงานแล้วต้องไปอยู่กับ ครอบครัวของฝ่ายหญิงดังนั้นหลายครัวเรือนประกอบไปด้วยลูกสาวที่แต่งงานแล้ว สามี และลูกๆ ครัวเรือนจะเป็นที่รวมความมั่งคั่งของหมู่บ้าน แต่ละครอบครัวจะมีสมบัติของตนเองครอบครัวเพาะปลูกเองแต่ผลผลิตที่ได้ส่วน หนึ่งนำไปให้หัวหน้าครัวเรือน เช่นครอบครัวหนึ่งได้ผลผลิต ๓ ส่วน ต้องเอาไปให้หัวหน้าครัวเรือน ๒ ส่วน แต่ถ้าผลผลิตได้เพียงส่วนเดียวก็จะต้องเอาให้หัวหน้าหมดแล้วหัวหน้าครัว เรือนจะจัดแบ่งให้แก่ครอบครัวที่ปลูกนั้นตามที่หัวหน้าเห็นสมควรหัวหน้า ครัวเรือนจะรับผิดชอบเกี่ยวกับทุกข์ สุขของ ทุก ๆ คนในครัวเรือนและเป็นผู้จัดอาหารเสื้อผ้าให้ด้วย
เมื่อหัวหน้าครัวเรือนเสียชีวิตลง ตำแหน่งหัวหน้าจะตกอยู่กับลูกเขยของเขา ส่วนทรัพย์สมบัติจะแบ่งให้ลูกหลานที่อยู่ด้วยเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้ที่ ตั้งครอบครัวใหม่ หรืออพยพไปแล้ว ภรรยานั้นถึงแม้ว่าจะเป็นผู้รับตำแหน่งสืบต่อมา แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นเพียงผู้ช่วยของผู้ชายที่มีอายุมากที่สุดใน ครอบครัวขณะนั้น ซึ่งอาจเป็นลูกชายหรือลูกเขยก็ได้แต่โดยมากจะเป็นลูกเขยเนื่องจากลาหู่ เมื่อแต่งงานแล้วจะต้องไปอยู่บ้านของภรรยาซึ่งบุคคลผู้นี้จะทำหน้าที่ หัวหน้าครัวเรือนต่อไป
๒. การแต่งงาน
ชายหนุ่มลาหู่จะไม่ชอบการสนทนาเกี้ยวพาราสีกับผู้หญิงในหมู่บ้านเดียวกัน เพราะการใช้ชีวิตจำเจอยู่ใกล้ชิดกันมาตั้งแต่เด็กจึงไม่ค่อยมองเห็นความงาม ของหญิงสาวในหมู่บ้านพวกเขามักจะพากันไปเที่ยวสาวหมู่บ้านอื่นชีวิตรักก็ คล้ายคลึงกับหลายชนเผ่าคือมีความอิสระในการเลือกคู่ครองเมื่อตกลงจะอยู่กิน กันฉันสามีภรรยา ฝ่ายชายก็จะจัดผู้ใหญ่ไปสู่ขอลาหู่ไม่นิยมจะจัดงานใหญ่โต ฝ่ายชายจะนำไก่ ๒ ตัว ( ตัวผู้ ๑ ตัว ตัวเมีย ๑ ตัว ) เทียนขี้ผึ้ง ๑ คู่ น้ำ ๑ แก้ว ฝ้าย ๒ เส้น ( ๑ คู่ ) ลาหู่แต่ละกลุ่มก็จะมีรายละเอียดที่กันไปบ้างเมื่อแต่งงานแล้วฝ่ายชายต้อง ไปอยู่กับฝ่ายภรรยา เพื่อช่วยทำงานบ้านพ่อ แม่ของฝ่ายหญิง ถ้าเป็นลาหู่แดงจะต้องอยู่บ้านภรรยา ๒ ปี จากนั้นจึงแยกบ้านได้ สำหรับลาหู่ดำไม่จำกัดระยะเวลาถึง ๓ ปี อาจอยู่เพียงปีเดียวก็แยกบ้านอยู่ต่างหากหากฝ่ายหญิงเป็นลูกสาวคนเดียวของ พ่อ แม่ ลูกเขยมักจะเลือกอยู่บ้านของฝ่ายหญิง แทนที่จะแยกไปตั้งบ้านของตนอีกต่างหาก
เศรษฐกิจ
ชาวลาหู่พึ่งพาการเกษตรเป็นหลักไร่แต่ละไร่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก ประมาณ ๓ ปี จากนั้นจะหมุนเวียนแล้วกลับมาใช้พื้นที่เดิมอีกภายหลัง ๑๐- ๑๕ ปี ล่วงไปแล้วข้าวและข้าวโพดเป็นพืชหลักของลาหู่ ที่ผลิตเพื่อบริโภค ในอดีตพืชที่เป็นสินค้าสำคัญ และการนำเงินสดมาสู่ชาวลาหู่คือ ยาสูบ ฝิ่น และพริกไทย แต่ปัจจุบันนี้การเพาะปลูกได้เปลี่ยนรูปแบบไป การผลิตมุ่งเน้นเพื่อการค้ามากขึ้น และพืชที่ปลูกก็ไม่ใช่พันธุ์พื้นเมืองดังเช่นในอดีต
สัตว์เลี้ยงที่สำคัญได้แก่ ไก่ และสุกร บางหมู่บ้านอาจจะมีม้า และล่อไว้สำหรับบรรทุกของส่วนวัว ควาย นั้นอดีตไม่เลี้ยงกัน สัตว์เลี้ยงของลาหู่ไม่ได้มีไว้สำหรับขาย แต่ส่วนใหญ่มีไว้ใช้งาน หรือเซ่นสังเวยพิธีกรรมต่าง ๆ
ลักษณะบ้าน
บ้านเรือนของลาหู่ส่วนมากปลูกแบบยกพื้นใต้ถุนสูงซึ่งจะใช้เป็นที่เก็บ ฟืนเสาบ้านเป็นไม้เนื้อแข็ง ฝาฟาก มุงด้วยหญ้าคา หรือใบก้อ วิธีมุงด้วยหญ้าคาของชาวลาหู่ค่อนข้างแปลกคือ แทนที่จะมัดคาเป็นต้น ๆ เขาใช้มุงฟ่อนทับกันหนาแน่นเช่นเดียวกับวิธีการมุงหลังคาด้วยหญ้าของชาว ยุโรป การมุงแบบนี้ทำให้ใช้ได้ทนและอบอุ่นในฤดูหนาว
ตัวบ้านแบ่งออกเป็น สองตอนคือตอนหน้าเป็นชานนอกชายคาปูด้วยไม้ฟาก มีบันไดเป็นไม้ท่อนยาวพาดจากพื้นดินไปสู่บ้านตอนหลังเป็นห้องกว้างสี่ เหลี่ยม ๔ เมตร มีฝาสานรอบด้านสูงประมาณ หนึ่งเมตรขึ้นไป ทำด้วยไม้ไผ่ล้วนไม่มีเพดาน ตรงกลางห้องมีเตาไฟ หนึ่งเตา สำหรับทำอาหารรอบ ๆ เตาไฟเป็นที่นอนและเป็นที่รับแขกด้วยสำหรับบ้านของหัวหน้าหมู่บ้านจะใหญ่ โตกว่าบ้านของลูกบ้านราว สองเท่า มีห้องนอนสำหรับต้อนรับแขก กับห้องนอนของครอบครัว เตาไฟทำไว้ สองแห่ง และบรรดาแขกผู้ไปเยือนหมู่บ้านจะไปหาหัวหน้าหมู่บ้านก่อนและพักค้างแรมอยู่ ภายในบ้านของผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านเท่านั้น ถ้าแขกนั้นไม่มีญาติพี่น้องในหมู่บ้าน
ครอบครัว / เครือญาติ
ครอบครัวของลาหู่เป็นครอบครัวขยายจะมีบ้างที่เป็นครอบครัวเดี่ยว มีหัวหน้าครัวเรือนเพียงคนเดียว ทุกคนจะต้องเชื่อฟังและเคารพต่อหัวหน้าครัวเรือน การนับญาตินั้นจะนับญาติทางสามีและภรรยาเข้าด้วยกัน
ศาสนา / ความเชื่อ
ชาวลาหู่นับถือ “ กื่อซา” กื่อซา คือพระเจ้า ซึ่งมีความเชื่อว่า “ กื่อซา” เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ที่ทำให้เรามีความสุข และบันดาลสรรพสิ่งให้แก่เรา ถ้าหากเราทำไม่ดี ทำผิดก็ลงโทษเราได้ นอกจาก “ กื่อซา” ยังมีผีเรือน และผีหมู่บ้านที่ลาหู่นับถือผีเรือนทำหน้าที่ป้องกันภัยให้แก่คนในบ้านเป็น ดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีหิ้งบูชาไว้ตรงหัวนอนของเจ้าของบ้าน จะเซ่นไหว้เป็นประจำหรือเมื่อยามเจ็บป่วยส่วนผีหมู่บ้าน จะมีศาลอยู่ด้านหนึ่งของหมู่บ้าน ผีเหล่านี้ถือว่าเป็นผีดีเป็นประโยชน์ต่อชาวลาหู่ สำหรับผีร้ายที่ชาวลาหู่เกรงกลัวนั้นมีมากมายเช่น ผีฟ้า ผีป่า ผีภูเขาหลวง เป็นต้น
การแต่งกาย
ในอดีตชาวลาหู่ทอผ้าใช้เอง แต่ในปัจจุบันแทบจะไม่มีใครทอผ้าใชัเองแล้วนอกจากจะทอของใช้ที่มีขนาดเล็ก เช่น ย่าม หรือสายสะพายย่ามเท่านั้น เสื้อผ้าของชาวลาหู่จะใช้ผ้าสีดำ หรือผ้าสีฟ้าขึ้นอยู่กับว่าเป็นลาหู่กลุ่มใด และตกแต่งด้วยผ้าหลากสี เป็นลวดลายสวยงาม ลาหู่มีหลายกลุ่มรูปแบบของเสื้อ และลายเสื้อจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มแต่ผู้หญิงทุกกล่มจะนุ่งซิ่นเช่นเดียว กัน เสื้อของหญิงลาหู่มีสองตัว ตัวในจะเป็นเสื้อแขนยาวตัวสั้นแค่เอวส่วนนอกจะเป็นเสื้อยาวถึงน่องตกแต่ง ด้วยผ้าหลากสีและเครื่องเงิน
สำหรับเสื้อผ้าผู้ชายของกลุ่มลาหู่ทุกกลุ่มทั้งเสื้อและกางเกงจะใช้ผ้าสีดำ เป็นพื้น และใช้เป็นผ้าสีต่าง ๆ ทำเป็นแถบยาวซ้อนกันบริเวณปลายขากางเกง ปลายแขนเสื้อ และด้านหน้าตัวเสื้อ แต่จะไม่มีลวดลายมากเหมือเสื้อของผู้หญิง ผู้ชายลาหู่สวมถุงน่องด้วยในขณะที่ผู้หญิงไม่สวม
ภาษา
ลาหู่พูดภาษาธิเบต - พม่า ซึ่งคล้ายคลึงกับพวกอาข่า - ลีซู และบางทีก็เหมือนภาษาของโล- โลทางใต้ ภาษาบางคำเอามาจากภาษาดั้งเดิมของจีน และไทยใหญ่ลาหู่ส่วนใหญ่พูดภาษาไทยใหญ่และลาวพอเข้าใจได้ และบางคนก็พูดภาษาจีนยูนนาน ลาหู่ดำบางพวกที่อพยพมาจากพม่าสามารถพูดภาษาพม่าได้คล่องแคล่ว ทั้งอ่านและเขียนภาษาโรมันที่หมอสอนศาสนานำไปเผยแพร่ได้อีกด้วยสำหรับลาหู่ แดงนั้นปรากฏว่าไม่ค่อยรู้หนังสือภาษาการสืบทอดนั้นจะจำอย่างเดียว ลาหู่ดำและลาหู่แดงไม่ค่อยแตกต่างกันมากนักจึงพอฟังกันรู้เรื่อง ส่วน ลาหู่เชเลและลาหู่ชีพูดภาษาแตกต่างกันออกไปมากซึ่งทั้งลาหู่ดำและลาหู่แดง ต่างก็ประสบความยากในการติดต่อกับลาหู่ทั้งสองกลุ่มดังกล่าวข้างต้น

อ้างอิงข้อมูลจาก