ชนเผ่าในประเทศไทย ชนเผ่าลีซู (Lisu)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
03/04/2008
ที่มา: 
ศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข .) http://www.contothailand.org/independentfile/INDEX.ASP

ชนเผ่าลีซู (Lisu)
ลีซอเรียกตนเองว่า "ลีซู" เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และ แม่น้ำโขงทางตอนเหนือของประเทศธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนานประเทศจีนได้อพยพลงมาทางใต้เนื่องจาก เกิดการสู้รบกันกับชนเผ่าอื่นนับเวลาหลายศตวรรษ ลีซูได้ร่นถอยเรื่อยลงมาจนในที่สุดก็แตกกระจายกันเข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทยในระยะต่อมาจากการสอบถามลีซอคนเฒ่าคนแก่ที่บ้านลีซอ ดอยช้างอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ได้ข้อมูลว่าเข้ามาระหว่างปี พ.ศ.๒๔๖๒-๒๔๖๔ อพยพมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของเมืองเชียงตุงประเทศเมียนมาร์ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านลีซอดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ยังคงมีอยู่ประมาณ ๘๐ หลังคาเรือนเศษ และโยกย้ายไปตั้งหมู่บ้านเรือนในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก พะเยา กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ แพร่ และสุโขทั

 

การแบ่งกลุ่มและการกระจายตัวของประชากร
การแบ่งกลุ่มลีซูแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ ลีซูลาย และลีซูดำ ลีซูลายหรือบางทีเรียกว่าลีซูลูกผสม ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย สำหรับลีซูดำส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเมียนมาร์และจีน ในประเทศไทยมีลีซูดำอยู่จำนวนน้อย คือมีเพียงไม่กี่คน ลักษณะที่แตกต่างกันระหว่าง ๒ กลุ่มคือ การแต่งกายและภาษาพูดที่ไม่เหมือนกัน ภาษาพูดนั้นแตกต่างกันเป็นบางคำแต่พอจะฟังกันเข้าใจ

การกระจายตัว ลีซูมีอยู่ในประเทศจีน อินเดีย เมียนมาร์ และประเทศไทย ในประเทศไทยมีอยู่ใน ๙ จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ลำปาง และแพร่ ประชากรลีซูในประเทศไทยมีจำนวนประชากรรวม ๓๘,๒๙๙ คน (ปี พ.ศ. ๒๕๔๕)
ระบบการปกครอง
การปกครองในระดับหมู่บ้านตามจารีตประเพณีดั้งเดิมมีคณะผู้อาวุโสหรือ คนเฒ่าคนแก่ของแต่ละแซ่สกุลเป็นผู้ปกครอง ในปัจจุบันมีผู้นำหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่ ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการเป็นผู้ปกครองหมู่บ้านลีซูไม่มีหัวหน้าเผ่าไม่มีผู้นำสูงสุด ได้สอบถามลีซูบางคนเล่าว่าในอดีตที่ภูมิลำเนาอยู่ในประเทศจีนเขามีหัวหน้า สูงสุด เป็นถึงชั้นที่เทียบเท่ากษัตริย์ เป็นผู้บัญชาการในการสู้รบ และเคยยกทัพไปสู้รบกับชนเผ่าอื่นหลายครั้งการปกครองของลีซูในระดับหมู่บ้านที่อยู่ในประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมาอาจเรียกได้ว่าเป็นการปกครองแบบอนาธิปไตยคือทึกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันไม่มีใครใหญ่หรือเหนือกว่า ใคร ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นจากทางราชการดู เหมือนจะไม่มีอำนาจอะไรมากนัก เนื่องจากลีซูมีความรู้สึกนึกคิดว่า "ใหญ่" เท่ากัน มีลีซูบางคนกล่าวว่าทึกคนเกิดมาแล้วเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ "หัวเข่าเท่ากัน" ความหมายคือไม่มีใครเป็นใหญ่กว่ากันการปกครองของลีซูด้วยกันจึงเป็นที่ค่อน ข้างยากแต่เขาก็มีสภาคนเฒ่าคนแก่หรือสภาอาวุโส ประกอบด้วยผู้อาวุโสของแต่ละแซ่สกุลในหมู่บ้านรวมตัวขึ้นอย่างหลวมๆเป็นผู้ ที่ได้รับการเคารพนับถือและการยอมรับจากสมาชิกในหมู่บ้านทำหน้าที่ดูแล ปกครองรักษาความสงบเรียบร้อย ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางราชการ ตัดสินคดีและหรือดำเนินการกิจกรรมใดๆ ที่เป็นประเพณีหรือสร้างสรรค์สิ่งสาธารณประโยชน์ในหมู่บ้านของตนเอง เจ้าหน้าที่ของทางราชการหรือผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีความประพฤติดี จะเป็นคนไทยหรือลีซูก็ตามเมื่ออยู่ประจำในหมู่บ้านลีซูมักจะได้รับการ ยกย่องเคารพนับถือ และเป็นเสมือนสมาชิกคนหนึ่งของสภาผู้เฒ่าผู้แก่ด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่ว่าหากเขาได้ประพฤติปฏิบัติตนจนเป็นที่ยอมรับของชาวเขา เผ่าลีซู
ระบบสังคม
ครอบครัวลีซู โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก บางครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย เช่น ครอบครัวที่บุตรชายแต่งงานกับหญิงสาวแล้วหญิงสาวเข้ามาอยู่ในบ้านของฝ่าย ชายหรือชายเข้าไปอยู่ในครอบครัวของพ่อแม่ฝ่ายหญิง แต่เมื่อถึงเวลาที่สมควรหรือเหมาะสม ชายหญิงที่แต่งงานกันก็จะแยกตัวไปเป็นครอบครัวใหม่ขึ้นเช่นเดียวกันกับ ครอบครัวของสังคมไทยเรา
อย่างไรก็ตามลีซูนิยมตั้งบ้านเรือนหรือตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กันกับญาติที่ เป็นพี่เป็นน้องหรือมีแซ่สกุลเดียวกัน แซ่สกุล ของลีซูมีประมาณ ๒๐ แซ่สกุล มีทั้งสืบเชื้อสายมาจากจีนและที่เป็นลีซูแท้ๆ มีน้อยกว่าแซ่สกุลที่สืบเชื้อสายมาจากจีน แต่ละแซ่สกุลเขารู้จักกันดี ไม่ว่าจะอยู่ในท้องที่จังหวัดใด มีการเคารพนับถือกันตามลำดับชั้น เมื่อเป็นแซ่สกุลเดียวกัน และอยู่ในกลุ่มย่อยของแซ่สกุลเดียวกัน จะเกี้ยวพาราสีหรือแต่งงานกันไม่ได้ลีซูนิยมหรือต้องการมีบุตรชายมากกว่าบุตรสาว อ้างว่าบุตรชายเมื่อเติบโตขึ้นสามารถเลี้ยงดูบิดามารดาได้ แต่บุตรสาวเมื่อเติบโตขึ้นแต่งงานแล้วจะต้องไปอยู่กับฝ่ายชายการแต่งงานโดยทั่วไปนิยมแต่งงานในเผ่าเดียวกัน มีอยู่บ้างที่แต่งงานข้ามเผ่าเช่น แต่งงานกับมูเซอ และอาข่า ซึ่งเป็นเผ่าที่อยู่ในกลุ่มภาษาเดียวกัน นอกจากนั้นก็มีหญิงลีซูแต่งงานกับจีนฮ่อหรือกับคนไทย มีหญิงลีซูคนหนึ่งแต่งงานกับกะเหรี่ยง ซึ่งลีซูมีความคิดเห็นว่า เป็นเรื่องแปลก แต่ปัจจุบัน ลีซูแต่งงานกับแม้วและเย้าก็มี

ระบบเศรษฐกิจ
ในอดีต เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับอาชีพเกษตรกรรมคือการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ปลูกข้าวเพื่อการบริโภค ปลูกข้าวโพดเพื่อเลี้ยงสัตว์และขาย ฝิ่นปลูกเป็นพืชเงินสด ในปัจจุบันเลิกปลูกฝิ่นหมดแล้ว มีการปลูกพืชผักชนิดต่างๆแทนฝิ่น การเลี้ยงสัตว์มีทั้งหมู ไก่ เพื่อใช้ในพิธีกรรมและเป็นอาหาร นอกจากนี้ รายได้ส่วนหนึ่งของลีซอมาจากการทำอุตสาหกรรมในครอบครัว เช่น การเย็บปักผ้า การทำเครื่องเงิน เป็นต้น

ระบบความเชื่อ
ลีซอนับถือผีเป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่นๆจะมีอยู่บ้างที่ หันมานับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ การนับถือผียังคงพบเห็นในหมู่บ้านโดยทั่วไป มีผีประจำหมู่บ้าน ผีบ้าน ผีเรือน ผีหลวง ผีป่า ผีน้ำหรือผีลำห้วย ผีต่างๆอาจแบ่งออกเป็นผีดีและผีร้าย ผีดีเป็นผีที่ให้คุณแก่พวกเขา เช่น ผีประจำหมู่บ้าน ผีบรรพบุรุษ ผีบ้านผีเรือน ส่วนผีร้ายได้แก่ผีป่า ผีคนตายไม่ดี เช่น ถูกยิงตาย หรือถูกฟ้าผ่าตาย

บุคคลสำคัญที่มีบทบาทสำหรับความเชื่อเหล่านี้มี ๒ คน คือ
๑.หมอเมือง
เปรียบเสมือนผู้นำทางศาสนา เป็นผู้ทำพิธีบูชาผีประจำหมู่บ้าน จะมีวันศีลทุกๆ ๑๕ วัน ต่อครั้ง ซึ่งเขาจะหยุดทำงานกันทั้งหมู่บ้านห้ามใช้มีดหรือของมีคมทุกชนิด แต่การล่าสัตว์ในป่าบางหมู่บ้านไม่มีข้อห้าม หมอเมืองเป็นผู้รู้มีความสามารถในพิธีเกิด ตาย แต่งงาน พิธีเรียกขวัญ ทำบุญสร้างศาลา ฯลฯ
๒.หมอผี
เป็นผู้ทำการติดต่อระหว่างผีกับคนโดยเฉพาะหมอผีเป็นผู้กระทำตนเป็นสื่อกลาง ระหว่างผีกับคนโดยเฉพาะเมื่อเกิดความเจ็บป่วย เมื่อมีการเจ็บไข้ โดยไม่ทราบสาเหตุ หมอผีจะเป็นผู้ติดต่อกับผีและเป็นผู้รักษาความเจ็บป่วยเหล่านั้น ลีซูเชื่อกันว่าถูกผีกระทำเขาจะให้หมอผีมาเข้าทรงเชิญวิญญาณมาสิงในร่างหมอ ผี ถามเหตุแห่งความเจ็บป่วย และหมอผีเป็นผู้รักษาความเจ็บป่วยผลการรักษาก็มีหายบ้างไม่หายบ้าง แต่ปัจจุบันลีซูหันมานิยมการใช้ยาตำราหลวง หรือถ้าเจ็บป่วยหนักก็มักจะเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลกันมาก
หมู่บ้านหนึ่งอาจมีหมอผีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ หมอเมืองและหมอผีไม่มีการสืบสายต่อไปยังบุตรหลาน หมอเมืองเป็นได้โดยการใช้ไม้คว่ำหงายเสี่ยงทาย ส่วนหมอผีเป็นโดยมีวิญญาณเข้าฝัน หมอทั้งสองประเภทนี้เป็นได้เฉพาะผู้ชาย ผู้หญิงเป็นไม่ได้ และมีการสืบทอดตำแหน่งไปยังบุตรชาย เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง อุทัยธานี สุพรรณบุรี และตาก

 


อ้างอิงข้อมูลจาก   http://www.contothailand.org/independentfile/INDEX.ASP