ชนเผ่าในประเทศไทย ดาราอั้ง (ปะหล่อง)

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
03/04/2008
ที่มา: 
ศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข .) http://www.contothailand.org/independentfile/INDEX.ASP


ดาราอั้ง (ปะหล่อง)

ปะหล่องเป็นชนเผ่าที่อพยพมาจากพม่า เข้าสู่ไทยเมื่อประมาณปี ๒๕๑๑ เรียกตัวเองว่า " ดาระอัง" (Da - ang , Ra – ang , Ta - ang) คำว่า "ปะหล่อง" เป็นภาษาไทยใหญ่ซึ่งใช้เรียกชนกลุ่มนี้ นอกจากนั้นยังมีคำเรียกที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่น ชาวพม่าเรียกปะหล่องว่า " ปะลวง"(Palaung) และไทยใหญ่บางกลุ่มก็ใช้คำว่า "คุณลอย" (Kunloi) ซึ่งมีความหมายว่า คนดอย หรือคนภูเขา แทนคำว่าปะหล่อง

         เอกสารทางประวัติศาสตร์หลายฉบับกล่าวถึงชาวปะหล่องว่าเป็นพลเมืองกลุ่มหนึ่งภายใต้การปกครองของนครรัฐแสนหวีหนึ่งใน๙นครรัฐของอาณาจักรไตมาว ซึ่งเป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่ของชนชาติไตครั้งพุทธศักราช๑๒๐๐โดยมีศูนย์กลางของอาณาจักรในขณะนั้นอยู่บริเวณเมืองแสนหวีในรัฐฉานประเทศพม่า ( รายงานฉบับนี้ กล่าวว่าประหล่องมีฐานเดิมอยู่ในโกสัมพีซึ่งก็เป็นข้อมูลที่ตรงกันเพราะ คำว่า โกสัมพีเป็นการเรียกนครรัฐแสนหวี และ กับความหมาย ครอบคลุมรัฐฉานทั้งหมดจำนวนประชากรประหล่อง โดยการสำรวจของ องค์การพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ณ ประมาณว่ามี ๑ ล้านคน ถิ่นที่อยู่กันหนาแน่น คือบริเวณเทือกเขาในรัฐฉาน แถบเมืองตองแปง น้ำซัน , สีป้อ , เมืองมิต และทางตอนใต้ในรัฐฉานคือ เมืองเชียงตุง นอกจากนั้นยังพบว่า ปะหล่องกระจัดกระจายกันอยู่ทางตอนใต้ของรัฐคะฉิ่น และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของยูนานในประเทศจีน

อุดร วงศ์ทับทิม กล่าวว่าในดนตรีพื้นบ้านปะหล่อง ว่าเมืองเหนือสุดที่ชาวปะหล่องอาศัยอยู่คือ เมืองน้ำคำ ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับเมืองเสียวสีของสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือที่ชาวปะหล่องเรียงว่าเมืองมาว ถัดลงมาคือ เมืองน้ำซัน น้ำดู โมโล เมืองมิต เมืองกอก เมืองโหลง น้ำใส มานาม มานพัด จาวุโม ปูโหลง เจียงตอง และตากวาง ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนไทยที่ดอยอ่างขาง เขต อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร

 

การอพยพเข้ามาสู่ไทย
ราวปี ๒๕๑๑ที่ชาวปะหล่องได้เริ่มอพยพเข้าในบางกลุ่มมาจนถึงปี ๒๕๒๗ ได้ปรากฏชาวปะหล่องจำนวน ๒ , ๐๐๐ คน อพยพ มารวมกันที่ชายแดนไทย- พม่า บริเวณดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ฟื้นฟูบ้านนอแล ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้กับพื้นที่รับผิดชอบของโครงการหลวงดอยอ่างขางสถานการณ์ครั้งนั้นนำความลำบากใจมาสู่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างยิ่งเนื่องจากกลุ่มอพยพครั้งนี้เป็นชาวปะหล่องจากดอยลาย อยู่ระหว่างเมืองเชียงตอง กับเมืองปั่น เขตเชียงตุง ฉะนั้นบุคคลเหล่านี้จึงถือ เป็นบุคคลอพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สาเหตุของการอพยพสืบต่อเนื่องมาจากสถานการณ์ในประเทศพม่าเมื่อประเทศอังกฤษคืนอิสรภาพมีผลทำให้เกิดความระส่ำระสายไปทั่วเกิดการขัดแย้งและสู้รบกันตลอดเวลา ระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่รวมตัวกันจัดตั้งองค์กรแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติกับทหารรัฐบาลพม่าที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ต่างๆ สงครามส่งผลต่อชาวปะ- หล่องทั้งทางตรงและทางอ้อมชาวปะหล่องมีการรวมตัวกันเป็นองค์กร ชื่อองค์กรปลดปล่อยรัฐปะหล่อง (Palaung state liberation Organization : PSLO) มีกองกำลังติดอาวุธประมาณ ๕๐๐ คน องค์กรดังกล่าวเป็นพันธมิตรอยู่ในแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติซึ่งเป็นองค์กรหลักที่รวมอาองค์กรต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อยทั้งหมดไว้ในแต่ละครั้งที่เกิดการสู้รบ หรือปะทะกันระหว่างองค์กรปลดปล่อยรัฐปะหล่องกับทหารรัฐบาลชาวบ้านประสบความเดือดร้อนมาก ต้องสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนั้นพื้นที่ๆชาวปะหล่องอาศัยอยู่ยังเป็นพื้นที่เคลื่อนไหว ปฏิบัติงานมวลชนพรรคคอมมิวนิสต์พม่าทหารฝ่ายรัฐบาลจะเข้ามาปฏิบัติการโจมตีเพื่อสะกัดกั้นความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติการเหล่านี้มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปะหล่องดอยลายเป็นอย่างมาก
นายคำ เหียง(จองตาล) ผู้นำการอพยพเล่าว่าเมื่อทหาร ของขบวนการกู้ชาติไทยใหญ่มาตั้งกองทัพใกล้หมู่บ้านและทหารคอมมิวนิสต์ ก็มาบังคับให้ส่งเสบียงอาหารเป็นเหตุให้ฝ่ายรัฐบาลพม่าส่งกำลังเข้าปราบปรามชาวบ้านถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมากโดยถูกกล่าวหาว่าให้การสนับสนุนทหารกู้ชาติและคอมมิวนิสต์ นอกจากนั้นยังเอาสัตว์เลี้ยงไปฆ่ากินยึดของมีค่า เผายุ้งข้าว ข่มขืนผู้หญิง และบังคับผู้ชายให้ไปเป็นลูกหาบขนอาวุธ เสบียงอาหาร บางคนถูกสอบสวน ทุบตีอย่างทารุณ เพื่อบังคับบอกฐานที่ตั้งของทหารกู้ชาติไทยใหญ่และทหารคอมมิวนิสต์ เมื่อชาวบ้านต้องเผชิญกับความลำบาก นานัปการจึงพากันอพยพหลบหนี จนในที่สุดมาอยู่รวมกันที่ชายแดนไทย - พม่าบริเวณดอยอ่างขาง
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎรชาวเขาเผ่ามูเซอที่บ้านขอบด้งในพื้นที่โครงการหลวงดอยอ่าขางปะหล่องคนหนึ่งจึงได้นำความกราบบังคมทูลขออนุญาตอาศัยอยู่ในประเทศไทยซึ่งเป็นผลให้โปรดเกล้าฯจัดที่อยู่ในฐานะผู้อพยพที่บ้านนอแลจนถึงปัจจุบัน ช่วงที่หมู่บ้านและประหล่องประสบปัญหาความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากพื้นที่นั้นอยู่ใกล้เขตอิทธิพลขุนส่าทำให้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบระหว่างกองทัพไทยใหญ่ของขุนส่ากับกองกำลังว้าแดงอันเนื่องมาจากผลประโยชน์จากการค้าฝิ่นอยู่เนื่องๆ ประกอบกับการขาดแคลนพื้นที่ทำมาหากินและภาวะอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ชาวประหล่อง บางกลุ่มพากันอพยพโยกย้ายหาที่อยู่ใหม่ และกระจายกันไปตั้งบ้านเรือนอยู่หลายพื้นที่ จากการสอบถามชาวประหล่องที่อพยพแยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนอยู่ตามที่ต่างๆ แต่ ยังทีการเดินทางไปมาหาสู่กันอยู่พอประมาณได้ว่า ปัจจุบันหมู่บ้านชาวประหล่องอยู่ในพื้นที่อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่อาย จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน
การแต่งกายผู้หญิง
เครื่องแต่งกายของผู้หญิง ซึ่งประกอบด้วยเสื้อผ่าอกหน้า แขนกระบอก เอวลอย สีพื้นสดใส ส่วนใหญ่มักเป็นสีดำ สีน้ำเงิน สีเขียวใบไม้ ตกแต่งลายเสื้อด้านหน้า แถบผ้าสีแดงส่วนผ้ายีนที่ทอขึ้นมาเอง สีแดงสลับลายริ้วขาวเล็กๆ ขวาง ลำตัว ยาวคร่อมเท้า โพกศรีษะด้วยผ้าผืนยาว ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ผ้าขนหนู ซึ่งซื้อจากตลาดพื้นราบลักษณะที่โดดเด่น คือการสวมที่เอวด้วยวงหวายลง รักแกะลายหรือใช้เส้นหวายเล็กๆ ย้อมสีถักเป็นลายบางคน ก็ใช้โลหะสีเงินลักษณะเหมือนแผ่นสังกะสีมาตัดเป็นแถบยาวตอกลาย แล้วขดเป็นวง สวมใส่ปนกัน วงสวมเอวเหล่านี้ประหล่องเรียกว่า "หน่องว่อง"
การแต่งกายผู้ชาย
ลักษณะการแต่งกายเปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามารถหาลักษณะที่บ่งบอกเอกลักษณ์ได้ ทั้งเด็ก หนุ่มและชายชรา ล้วนแต่งกายแบบคนพื้นราบมีเพียงผู้เฒ่าบางคนเท่านั้นที่ยังคงสูบยาด้อยกล้องยาสูบ ขนาดประมาณ ๑ ฟุต ทำจากไม้แกะสลักเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นปะหล่องแตกต่างจากชนเผ่าอื่นๆ ในประเทศไทย
ภาษา
ชาวประหล่องจะมีภาษาพูดเป็นของตนเอง ที่นักภาษาศาสตร์บางคนจัดให้อยู่ในกลุ่มภาษาประหล่อง - วะ แต่โดยทั่วไปชาวประหล่องสามารถพูดภาษาฉานได้นอกจากนั้นในภาษาปะหล่องยังปรากฎการยิบยืม คำมาจากภาษาต่างๆ มากมาย ทั้งจากภาษาพม่า ภาษาดะฉิ่น ภาษาฉาน และภาษาลีซอ ในการติดต่อกับคนต่างเผ่าประหล่องจะใช้ภาษาไทยใหญ่หรือภาษาฉานเป็นหลักสอนปะหล่องในประเทศไทยส่วนใหญ่นั้นปัจจุบันเด็กๆ และผู้ชายวัยกลางคนมักพูดภาษาไทยเหนือได้บ้างส่วนการสื่อภาษากับผู้หญิงต้องอาศัยล่ามเพราะผู้หญิงฟังภาษาไทยเข้าใจแต่ไม่กล้าโต้ตอบด้วยภาษาไทย
ศาสนา
ชาวปะหล่องได้ชื่อว่า เป็นกลุ่มมอญที่ยึดถือ คติธรรม คำสอนของพระพุทะเจ้าอย่างเคร่งครัด วิถีชีวิตชาวบ้านอยู่กันอย่างสุขธรรม ปราศจากอบายมุข มีประเพณีพื้นบ้านที่เกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา อย่างแน่นแฟ้นทุกหมู่บ้านจะมีวัดเป็นศูนย์กลางหากหมู่บ้านใดไม่มี ชาวบ้านก็อาจพากันไปทำบุญที่วัดใกล้ๆ หมู่บ้าน ทุกหลังคาเรือนจะมีหิ้งพระเพื่อเคารพบูชา เมื่อถึงวันพระ เทศกาลเข้าพรรษา ชาวบ้านจะพากันไปใส่บาตรและทำบุญที่วัดทุกศีล และจะมีพิธีเฉลิมฉลองเมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันอาสาฬหบูชา วันวิสาขบูชา รวมทั้งวันปีใหม่และวันสงกรานต์ในวันเหล่านี้นอกจากมีการทำบุญด้วยข้าว อาหาร ดอกไม้ใส่ขันดอกแล้วยังมีการฟ้อนรำ ร้องเพลงบรรเลงฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ ทั้งที่วัดและลานหมู่บ้านด้วย พ่อแม่ชาวบ้านยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติเช่นเดียวกับชาวพุทธโดยทั่วไป คือ การสนับสนุนให้ลูกชายบวชเณรเพื่อเล่าเรียนธรรมะ และบวชพระ เพื่อแผ่อานิสงฆ์ ให้แก่บิดามารดา
ความเชื่อ
ชาวปะหล่องยังคงมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ ควบคู่ไปกับการนับถือศาสนาพุทธ โดยเชื่อว่าวิญญาณโดยทั่วไปจะมี ๒ ระดับ ระดับหนึ่งเรียกว่า "กาบ" เป็นวิญญาณของสิ่งมีชีวิต อีกระดับหนึ่งคือ "กานำ" เป็นวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ในสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ และเชื่อว่าบุคคลแต่ละคนจะมีวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ โดยทั่วไป เช่นบ้านหมู่บ้านทางเดิน ไร่ ข้าว ฯลฯ ชาวบ้านจะมีพิธีเซ่นสรวงบูชาผี หรือวิญญาณควบคู่ไปกับด้านประกรรมพิะกรรมทางสาศนาพุทธอยู่เสมอเป็นพิธีแต่งงาน พิธีศพหรือการขึ้นบ้านใหม่โดยมีหัวหน้าพิธีกรรม"ด่าย่าน"เป็นผู้ประกอบพิธีในหมู่บ้านปะหล่องจะมีสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ และสำคัญที่สุดของหมู่บ้านคือ "ศาลผีเจ้าที่" หรือ"คะมูเมิ้ง"ซึ่งเป็นที่สิงสถิตย์ของผีหรือวิญญาณที่คุ้มครองหมู่บ้านบริเวณศาลจะอยู่เหนือหมู่บ้านศาลจึงได้รับการก่อสร้างอย่างปราณีตมีรั้วล้อมรอบสะอาดเรียบร้อยเนื่องจากชาวบ้านจะช่วยดูแลซ่อมแซมตลอดเวลา
พิธีกรรม
นอกจากการทำบุญและประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนาพุทธแล้วมีพิธีสำคัญที่สุดที่ชาวบ้านต้องกระทำทุกปีคือ การบูชาเจ้าที่ การบูชาผีเจ้าที่จะกระทำปีละ ๒ ครั้ง คือช่วงเข้าพรรษา ๑ ครั้ง และช่วงก่อนออกพรรษา ๑ ครั้ง พิธีบูชาผีเจ้าที่ก่อนเข้าพรรษาเรียกว่า "เฮี้ยงกะน่ำ" มีจุดมุ่งหมายเพื่อบอกกล่าวแก่ผีเจ้าที่ หรือเป็นการย้ำแก่เจ้าที่ว่าในช่วงเข้าพรรษา ชาวบ้านจะไม่มีการเอาผัวเอาเมีย หรือ พิธีแต่งงานเกิดขึ้น จากนั้นจึงทำพิธี "กะปี๊ สะเมิง" หรือ ปิดประตูศาลเจ้าที่ เมื่อใกล้ออกพรรษา ชาวบ้านก็จะทำพิธี "แฮวะ ออกวา" คือบูชาผีเจ้าที่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำการเปิดประตูศาลผีเจ้าที่ หรือ "วะ สะเมิง" เพื่อเป็นการบอกกล่าวช่วงฤดูที่ชาวบ้านจะมีการแต่งงานกันมาถึงแล้วและในพิธีแต่งงานนี้จะมีการเชื้อเชิญผีเจ้าที่ออกไปรับเครื่องเซ่นบูชาด้วย ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจะต้องมาในพิธีนี้ โดยนำไก่ต้มสับเป็นชิ้นๆ นำไปรวมกันที่ศาลเจ้าที่ผีเจ้าที่จากนั้น "ด่าย่าน" หรือผู้นำในการทำพิธีกรรม ก็จะเป็นผู้บอกกล่าวแก่ผีเจ้าที่ต่อไป
พิธีแต่งงาน
พิธีแต่งงานจะมีทั้งการเลี้ยงผีเรือนผีปู่ ย่า ตา ยาย ในวันมัดมือและหลังจากนั้น คู่แต่งงานก็จะพากันไป ทำบุญที่วัดพิธีกรรมทางศาสนา
การรักษาอาการเจ็บป่วย
ในแต่ละหมู่บ้านจะมีบุคคลผู้ซึ่งมีความรู้เรื่องการรักษาแบบพื้นบ้านทั้งโดยการทำพิธีเซ่นสรวงบูชา ใช้มนต์คาถา และการใช้ยาสมุนไพร ชาวบ้าน เรียกบุคคลผู้นี้ว่า "สล่า" หน้าที่ของสล่า นอกจากรักษาอาการเจ็บป่วยแล้ว ยังสามารถทำนายทายทักเหตุการณ์ต่างๆ ได้ นอกจากนั้นชาวปะหล่องยังไว้ว่างใจให้สล่า เป็นผู้ตั้งชื่อเด็กเกดใหม่ เพื่อความเป็นมงคล และทำหน้าที่ปลูกเสกเครื่องลางของขลังเป่ามนต์คาถาเพื่อให้ได้ผลทางการป้องกันตัว หรือเสน่ห์มหานิยมด้วย
ประเพณี
การเกี๊ยวพาราสีและการแต่งงานหนุ่มสาวปะหล่องไม่นิยมแต่งงานกับคนต่างเผ่า การพบปะกันของชายหนุ่มหญิงสาวมักจะเกิดขึ้นในเทศกาลหรือพิธีทำบุญต่างๆ เมื่อชายหนุ่มถูกใจหญิงสาวคนใดก็จะหาโอกาสไปเที่ยวบ้านในตอนกลางคืน โดยจะเป่าปี่ ( เว่อ) หรือ ดีดซึง ( ติ๊ง) เป็นเพลาบอกกล่าวสาวตื่นขิ้นมาเปิดประตูรับหากสาวไม่รังเกียจก็จะลุกขึ้นเปิดประตูให้และพากันเข้าไปในบ้าน นั่งคุยกันที่เตาไฟ การพูดคุยกันเกิดขึ้นเช่นนี้ โดยไม่มีเรื่องเพศสัมพันธ์เข้ามาเกี่ยวข้อง จนหนุ่มสาวเข้าใจกันและตกลงจะแต่งงานกันจึงบอกพ่อแม่และพ่อแม่ฝ่ายชายจึงไปสู่ขอกับพ่อแม่ฝ่ายหญิง ส่วนใหญ่สินสอดที่เรียกร้องกันจะอยู่ระหว่าง ๓- ๔ พัน บาทค่าใช้จ่ายในการแต่งงานเป็นของฝ่ายชายทั้งหมด เมื่อเสร็จพิธีแต่งงานแล้วฝ่ายหญิงต้องไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายชาย กรณีฝ่ายชายไม่มีสินสอดพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายออกค่าใช้จ่ายในการแต่งงานให้เงิน และหลังพิธีแต่งงานฝ่ายชายต้องไปอยู่กับครอบครัวเป็นการขึ้นเขย ทำงานชดใช้ค่าสินสอดเป็นเวลา ๓ ปี จากนั้นจะแยกครอบครัวหรือพกฝ่ายหญิงไปอยู่กับครอบครัวของตนก็ได้
การตาย
เมื่อมีการตายเกิดขึ้นญาติพี่น้องจะตั้งศพไว้เป็นเวลา ๒ วัน ระหว่างนั้นจะมีการเลี้ยงอาหารชาวบ้านทั้งหมู่บ้านตลอดงานพิธี พิธีกรรมในช่วงนี้จะมีการเลี้ยงผี เพื่อบอกกล่าวโดย "ด่าย่าน" เท่านั้น เมื่อถึงเวลานำไปเผาที่ป่าช้า จะมีการนิมนต์พระมาชักศพและทำการสวดส่งวิญญาณด้วย ในพม่าการเผาศพจะเผาเฉพาะคนตายที่เป็นคนแก่เท่านั้น หากเป็นคนหนุ่มต้องฝัง แต่ปะหล่องในประเทศไทยจะใช้พิธีเผาเพียงอย่างเดียว
ในปัจจุบันได้มีการสำรวจจำนวนประชากรของปะหล่องของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงUHDP ในปี ๒๐๐๖ มีจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ใน ๓ อำเภอคือ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง และอำเภอแม่อายทั้งหมด ๑๐ หมู่บ้าน ๖๕๗ ครอบครัวมีจำนวนประชากรทั้งชายและหญิง จำนวนมากกว่า ๔, ๕๐๐ คน ชนเผ่าปะหล่องเป็นชนเผ่าที่มี วัฒนธรรมที่ดีงามและควรแก่การศึกษาเป็นอย่างมาก

 

 


ิอ้างอิงข้อมูลจาก http://www.contothailand.org/independentfile/INDEX.ASP