ศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
04/04/2008
ที่มา: 
ศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข .) http://www.contothailand.org/independentfile/INDEX.ASP
เกี่ยวกับศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข.)

    1. ความเป็นมาของศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข.)
    ศูนย์ ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา ( ศอข .) เกิดจากการรวมตัวกันขององค์การพัฒนาเอกชนที่ทำงานกับชาวไทยภูเขา เพื่อเป็นจุดประสานระหว่าง องค์กรพัฒนาเอกชนด้วยกันเอง ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนกับชาวบ้าน และระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนกับหน่วยงานของรัฐในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การ ดำเนินงานพัฒนาพื้นที่สูง และการหาแนวทางแก้ไขปัญหาชาวไทยภูเขา
ศอข . ได้เริ่มรวมตัวกันในช่วงปลายปี ค . ศ 1988 ภายหลังจากการประชุมร่วมกัน ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนกับหน่วยงานของรัฐบาลที่ทำงานในพื้นที่สูง จัดโดยกองทัพภาคที่ 3 ในส่วนงานศูนย์อำนวยการประสานงานแก้ไขปัญหาชาวเขา และ การกำจัดการปลูกพืชเสพติดกองทัพภาคที่ 3 ( ศอ . ชข . ทภ .3) เหตุผลสร้างความเข้าใจระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และหาแนวทางจัดตั้งศูนย์ประสานงาน ผลจากการประชุมครั้งนั้น ดร . สุเทพ สุนทรเภสัช จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานผู้เริ่มการจัดตั้ง ศอข .
ในปี พ . ศ . 1989-1991 สถานการณ์ความมั่นคง ปัญหาการแพร่ระบาด ยาเสพติด ปัญหาสิ่งแวดล้อม และกระแสการอพยพชาวเขารุนแรงขึ้น จึงได้เร่งให้องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชาวเขาเริ่มเกาะกลุ่ม กันมากขึ้น ดำเนินงานภายใต้ ศอข . และอาศัย ศอข . เป็นร่มในการทำงาน ในช่วงนี้คุณเตือนใจ ดีเทศน์ ( เป็นสตรี ) จากมูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา ได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการ เพื่อดำเนินการสานงานต่อ คุณเตือนใจมีบทบาทอย่างมากในการผลักดันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะประเด็นการแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม และการผลักดันแผนแม่บทบนพื้นที่สูง ทำให้ ศอข . เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานรัฐมากขึ้น
    ตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา องค์กรพัฒนาเอกชนเริ่มมีการขยายตัว ขณะเดียวกันนั้น สถานการณ์ปัญหาของชาวเขากลับรุนแรงขึ้นมาอีก เช่น ปัญหาทางสังคม ส่งผลทำให้รัฐเริ่มเข้มงวดควบคุมชาวเขามากขึ้น และดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทชาวเขาตั้งแต่ปี 1992 จนถึงปัจจุบัน การใช้แผนแม่บทชาวเขาฉบับที่ 1 ( 1992-1995) ฉบับที่ 2 (1995-2001) ของรัฐ ส่งผลกระทบกับชาวเขาในประเทศไทยอย่างมาก เพราะแผนงานนโยบายมุ่งเน้นการควบคุมปราบปราม และในขณะเดียวกันชาวเขาเองต้องเผชิญกับกระแสทุนนิยมที่ไหลบ่าเข้ามาในนาม ของการพัฒนายิ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้แก่ชาวเขามากขึ้น บทบาทของ ศอข . ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ คือการผลักดันระดับนโยบายมากขึ้น ด้วยการประสานงานรณรงค์กับหน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการผลักดันสัญชาติ และป่าไม้ที่ดิน แต่ก็ไม่สามารถผลักดันให้ประสบผลสำเร็จมากนัก
    ในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมาขบวนการของประชาชนเริ่มเข้มแข็งมากขึ้น พร้อมกับความเข้มแข็งขององค์กรพัฒนาเอกชน ข้อเรียกร้องด้านสิทธิของชาวเขาจึงมีมากขึ้น สิทธิทางด้านสัญชาติ สิทธิด้านที่ทำกิน สิทธิในการเข้าถึงการบริการ และสิทธิในการเข้าถึงความปลอดภัย จึงได้เกิดการชุมนุมเรียกร้องสิทธิที่หน้าศาลากลางในต้นปี 1999 บทบาท ศอข . ในช่วงนี้ คือการประสานให้องค์กรพันธมิตร ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการหนุนช่วยอง ค ์กรประชาชน ด้วยการเป็นพี่เลี้ยง ให้การศึกษาเรื่องการเจรจาต่อรอง ให้การศึกษาเรื่องการเมือง การระดมทุน ฯลฯ จนกระทั่งหน่วยงานรัฐยอมรับข้อเรียกร้องในระดับหนึ่ง ปัจจุบัน ศอข . มุ่งเน้นเรื่องการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ โดยเฉพาะร่วมมือกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ กองทัพภาคที่ 3 และองค์กรพัฒนาเอกชนอื่น ในการรณรงค์แก้ไขปัญหาชาวเขาด้วยวิธีการสันติ

    2. วัตถุประสงค์ของศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข.)
* เป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขากับหน่วยงานของรัฐ
* เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ตลอดจนความคิดเห็นในการพัฒนา ระหว่างชาวไทยภูเขา องค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา และหน่วยงานของรัฐ
* เพื่อพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์ของชาวไทยภูเขา องค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขาที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับของทางราชการ
* เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลเผยแพร่ข่าวสาร และความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับชาวไทยภูเขาตลอดจนให้การฝึกอบรมชาวไทยภูเขา และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การพัฒนาสัมฤทธิ์ผล

    3. เป้าหมายของศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข.)

    ส่งเสริมให้เกิดเอกภาพของการสนับสนุนชาวไทยภูเขา เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และเป็นที่ยอมรับของสังคมด้วยความเข้าใจ และการร่วมมือของหน่วยงานพัฒนาภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนรวมทั้งผู้นำชาวไทยภูเขา

    4. บทบาทและหน้าที่ของศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข.)
* เป็นศูนย์กลางประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา หน่วยงานของรัฐและชุมชนชาวไทยภูเขา
* เพื่อส่งเสริม และแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ขององค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา หน่วยงานของรัฐและชุมชนชาวไทยภูเขา
* เสริมสร้างศักยภาพผู้นำ และชุมชนชาวไทยภูเขา ให้สามารถดำเนินวิถีชีวิตได้สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชุมชน

    5. วิสัยทัศน์ของศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข.)
    ศอข.ปรารถนาที่จะเป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างองค์กรเอกชนพัฒนา ชาวไทยภูเขาทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐและชุมชน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ กระบวนทัศน์ ประสบการณ์ระหว่างกันให้การทำงานให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ความเป็นชุมชน

    6. กรรมการและเจ้าหน้าที่ของศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข.)
    รายชื่อเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ และที่ปรึกษา ปี 2543-
เจ้าหน้าที่สำนักงาน ศอข.
* นาย จรูญ กรธนพาณิชย์ ตำแหน่งเลขาธิการสำนักงาน
* นางสาวนงนุช เขมวิโรจน์ ตำแหน่งเลขานุการสำนักงาน
คณะกรรมการ ศอข . ปี 2549-2551
* นายยงยุทธ สืบทายาท ประธานคณะกรรมการ (สมาคมสร้างสรรค์และพัฒนาม้งในประเทศไทย)
* นายประแสง ณ คีรี รองประธานกรรมการ (มูลนิธิไทยลาหู่)
* นายศักดิ์ดา แสนมี่ เหรัญญิก (สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย )
* นายสมเดช พรนิมิตรสกุล กรรมการ (พันธกิจเอดส์ สภาคริสตจักรในประเทศไทย)
* นายแสง แสนยาอรุณ กรรมการ (โครงการเครือข่ายสตรีและเยาวชนชนเผ่า )
* นายจำลอง ปอคำ กรรมการ (โครงการพัฒนาบนพื้นที่สูง กรรมการ)
* นายพร้อมพล สัมพันธโนอนุตตโร กรรมการ (สมาคมปกาเกอญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม)
ที่ปรึกษาศอข. ปี 2543 -
1. ดร . เคน แคมป์
184 หมู่ 8 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์ / โทรสาร (053) 498942
e-mail : uncleken@loxinfo.co.th
2. นายสามารถ ศรีจำนงค์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ / โทรสาร (053) 892071 ( บ้าน ) , ที่ทำงาน (053) 944218
3. นายชูพินิจ เกษมณี
ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรจน์ สุขุมวิท 23
เขตพระโขนง กรุงเทพ 10260
โทรศัพท์ (02) 6643820 มือถือ 01-2883158
4. ดร . ชูเกียรติ ลีสุวรรณ์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ / โทรสาร (053) 221283 , 01-8812502
โทรศัพท์ที่บ้านลำปาง (054) 810523
5. นายเกิด พนากำเนิด
73 หมู่ 7 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 50160
    7. โครงสร้างของศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชาวไทยภูเขา (ศอข.)

 

 

 


อ้างอิงข้อมูลโดย  http://www.contothailand.org/independentfile/INDEX.ASP