ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จารึกสุโขไท หลักที่ ๑

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
12/05/2008
ที่มา: 
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, www.opendreamz.com

คำกราบบังคมทูลประกาศเกียรติคุณ

นายฉ่ำ ทองคำวรรณ
ผู้ที่คณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร
มีมติอนุมัติปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ของ ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร
นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร
ในงานพิธีพระราชทานปริญญาและอนุปริญญา
วันศุกร์ ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๑๑
ณ ท้องพระโรงวังท่าพระ

              นายฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้ศึกษาภาษาเขมรในสำนักวัดนรา จังหวัดพระตะบอง ได๋บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาภาษาบาลี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๕ แล้วจึงได้เข้ามาเรียนภาษาบาลีต่อที่วัดโมลีโลก จังหวัดธนบุรี แล้วย้ายมาประจำพรรษาที่วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนคร ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ นายฉ่ำ ทองคำวรรณได้ลาสิกขาบท แล้วอาศัยออยู่บ้านศาสตราจารย ์ยอร์จ เซเดส ท่านศาสาตราจารย์ได้พาไปฝากทำงานกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพในหอพระสมุดแห่งชาติ ใน ๙ ปีแรก นายฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้ทำงานเกี่ยวกับจดหมายเหตุ เขมร-ไทย จนกระทั่งใน พ.ศ.๒๔๗๓ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ จะกลับประเทศฝรั่งเศส กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงมีรับสั่งให้ทราบทั่งกันว่าเสมียนพนักงานของเราใครมีความรู้อะไรกันบ้าง ให้ไปเขียนความรู้นั้นถวาย นายฉ่ำ ทองคำวรรณ เขียนถวายว่า มีความรู้ในด้านอักษรศาสตร์คือ อ่านหนังสือเขมร มอญ พม่า ลาว สิงหล และ เทวนาครี ออก และมีความรู้ในภาษาเขมร ไทย ลาว บาลี สันสกฤต อังกฤษ ฝรั่งเศส สมเด็จพระเจ๋าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ทรงโปรดและตรัสว่า คนนี้อาจแทน ยอร์ช เซเดส์ได้ แล้วก็ทรงรับสั่งให้ทำงานในด้านศิลาจารึกตั้งแต่นั้นมา

             นายฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้เป็นกรรมการชำระปทานุกรม ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และได้เป็นอาจารย์สอนภาษาเขมรกับอ่านจารึกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๒ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ นอกจากนั้น นายฉ่ำ ทองคำวรรณ ยังได้เป็นอาจารย์สอนภาษาเขมรและอ่านจารึกที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร มาตั้งแต่เริ่มตั้งคณะเรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้

            ในด้านแปลและอ่านจารึก นายฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้อ่านและแปลประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๓ หลักภาษาเขมร สันนิษฐานเทียบการเขียนอักษรไทยกับอักษรขอมในสมัยพ่อขุนรามคำแหง อักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหง อายตนิบาตภาษาเขมร เทียบภาษาไทยแบบเทียบศักราชต่าง ๆ นอกจากนี้นายฉ่ำ ทองคำวรรณ ยังเป็นกรรมการพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นต้นมาอีกด้วย
            ด้วยเหตุที่ นายฉ่ำ ทองคำวรรณ เป็นผู้ที่มีความสามารถและทรงคุณวุฒิดังที่ได้กราบบังคมทูลมา จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับพระราชทานปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิต (โบราณคดี) กิตติมศักดิ์ เพื่อเป็นเกียรติสืบไป

ไฟล์แนบขนาด
Original Version.doc435 KB
Present Thai Version.doc33.5 KB