วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
28/05/2008
ที่มา: 
http://contemplativelibrary.blogspot.com, http://pvichak.blogspot.com, ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา, Contemplative Education Center, มหาวิทยาลัยมหิดล, Mahidol University, วิจักขณ์ พานิช:ผู้แปล, เรจินัลด์ เรย์

ตอนที่ 1

ในวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของพุทธศาสนา การภาวนาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องลึกซึ้งกับกายาสติ นั่นคือ การสร้างความสัมพันธ์พื้นฐานกับ ประสาทสัมผัส ประสบการณ์ในทุกอณูรูขุมขนของร่างกาย สัญชาตญาณ ความรู้สึก อารมณ์

ตอนที่ 2

ณ วินาทีที่กายกับจิตรวมเป็นหนึ่ง สติกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวทั่วสรรพางค์ ณ ปัจจุบันขณะ เราจะสัมผัสได้ถึงพลังแห่งปัญญาอันยิ่งใหญ่ในทุกอณูรูขุมขน อานุภาพแห่งปัญญาบนพื้นฐานของสติในกายนี่เอง ที่จะเป็นบ่อเกิดแก่ความรักอันยิ่งใหญ่อย่างไม่มีจำกัด

แปลและเรียบเรียงจาก “Touching Enlightenment” ในวารสาร “Tricycle” ฉบับฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ. ๒๐๐๖
โดย วิจักขณ์ พานิช

ตอนที่ 3

เมื่อเราค่อยๆฝึกสติให้กลับสู่ร่างกาย เราจะพบว่าบางสิ่งบางอย่างที่ต่างออกไปค่อยๆปรากฏขึ้น เราเริ่มที่จะมองเห็นในความมืด เราเริ่มที่จะตระหนักรู้ถึงโลกอันกว้างใหญ่เหนือจิตสำนึกในกรอบแห่งตัวตนที่คับแคบ โลกใบน้อยค่อยๆคลี่ให้เราได้เห็น สัมผัส และเรียนรู้ สู่มณฑลแห่งการตระหนักรู้ที่กว้างใหญ่ไพศาล มันไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถจะกะเกณฑ์ ควบคุมให้เกิดขึ้น ตรงกันข้ามเพียงเราผ่อนคลาย ข้อมูลจากสายธารแห่งปัญญาจะค่อยๆผ่านเข้ามาสู่ชีวิตของเราอย่างเป็นธรรมชาติ เรจินัลด์ เรย์ ได้แนะนำเทคนิคพื้นฐานของการกลับมาใส่ใจกับสัญชาตญาณแห่งการตื่นรู้ในกาย

ตอนที่ 4

เรจินัลด์ เรย์ เขียน
วิจักขณ์ พานิช แปลและเรียบเรียง
จาก “Touching Enlightenment” ในวารสาร “Tricycle” ฉบับฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ. ๒๐๐๖

โยคะทิเบตนั้นเต็มไปด้วยเทคนิคภาวนาอันหลากหลาย เพื่อเป้าหมายของการรวมเป็นหนึ่งของกายและจิต ซึ่งก็คือความหมายที่แท้ของการมีสติในทุกขณะ พื้นฐานเริ่มด้วยการสร้างความสัมพันธ์กับธาตุลมในร่างกาย ด้วยการตามลมหายใจออก อันเป็นกระบวนการปกติของระบบหายใจ และการตามลมหายใจเข้า อันเกี่ยวข้องกับพลังชีวิตหรือพลังปราณ ลมหายใจออกโอบอุ้มลมหายใจเข้า ดั่งเปลือกหุ่มแก่นไม้เอาไว้ เมื่อเรากำหนดจิตมาอยู่ที่ลมหายใจออก เราได้เปิดประตูสู่การเข้าถึงลมหายใจเข้า หรือ ปราณ โดยอัตโนมัติ ธรรมชาติของปราณก็คือ ไม่ว่า ณ จุดใดของร่างกาย เพียงแค่เรากำหนดจิตไปรับรู้ เราก็สามารถเดินปราณไปสู่ส่วนนั้นของร่างกายได้

ไฟล์แนบขนาด
part1[1].pdf89.87 KB
part2[1].pdf82.68 KB
part3[1].pdf80.54 KB
part4[1].pdf86.85 KB