วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
13/06/2008
ที่มา: 
Antoine De Saint Exupery:ผู้แต่ง, โคทม-พรทิพย์ อารียา:ผู้แปล, www.olddreamz.com

คำนำ                 เรื่อง ราวเชิงสารคดีใน "แผ่นดินของเรา" อาจไม่ดึงดูดผู้อ่านในนาทีแรกที่ได้สัมผัส และอาจทำให้ผู้อ่านบางคนมองข้ามไป
                น่าเสียดายหากเป็นเช่นนั้น เพราะในความเรียบรื่นของตัวอักษร "แผ่นดินของเรา" มีเรื่องราวล้ำลึกมากมาย ที่บ่งบอกถึงความคิดอันละเอียดอ่อนลึกซึ้งของผู้เขียน ทั้งทัศนะต่อชีวิต ต่อโลกและต่อเพื่อนมนุษย์ หลาย ๆ ตอนทำให้เราต้องหยุดคิด และเหม่อมองอออกไปข้างนอกเพื่อถามไถ่กับตัวเอง

                  คำถามและความรู้สึกหนึ่งในหลาย ๆ คำถามก็คือ ทุกวันนี้ตัวเราเองเป็นเพียง "กองดิน" หรือเป็นมนุษย์ พวกเราได้ผ่านเข้าไปในแม่พิมพ์ร้ายกาจอันใดที่ได้จารึกรอยไว้เป็นเหมือน เครื่องปั๊ม สัตว์เมื่อแก่ยังรักษาความสง่างามไว้ ทำไมดินเหนียวที่เป็นมนุษย์นี้จึงบุบสลายไป

                  ความคิด ความรู้สึกของ Exupery เป็นความคิด คำถามในเชิงปรัชญา แต่ด้วยท่วงทำนองที่เรียบรื่น ผสานกับการดึงเหตุการณ์ เรื่องราวของผู้คนที่ผ่านพบมาเป็นตัวคลี่คลาย เป็นเรื่องราวที่น่าติดตามโดยตลอด                   คน ที่เคยอ่าน "เจ้าชายน้อย" วรรณกรรมอมตะของผู้เขียนคนเดียวกันนี้มาแล้ว คงได้ความรู้สึกร่วมบางอย่างในทำนองเดียวกันจาก "แผ่นดินของเรา" แม้ว่า "รส" ของเรื่องจะเป็นคนละแบบ สิ่งที่ทำให้งานของ Exupery ยืนยงมาได้ตลอดยุคสมัย และคงจะยืนยาวไปอีกนาน ก็คือเนื้อหาที่เป็นคำถามถึงมวลมนุษยชาติ การเห็นความงามของการมีชีวิตอยู่ คำถามของ Exupery ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า ตรงกันข้าม รายละเอียดในเรื่องราว "แผ่นดินของเรา" ได้ทำให้เรารู้สึกเสมือนว่า พลังในตัวของเราได้ก่อตัวขึ้นทีละนิด ๆ โดยไม่รู้ตัว เราถูกกระตุ้นให้ได้สัมผัสกับ "แก่น" ของสัจจะ ซึ่งมีอยู่ในตัวเราทุกคน เพียงแต่จะมีโอกาสให้เข้าถึงเพียงใดเท่านั้นเอง ตอนหนึ่งเขาจึงกล่าวว่า "ฉันคงพลาดวัตถุประสงค์ไป ถ้าหากผู้อ่านจะเข้าใจว่า ฉันเชื้อเชิญผู้อ่านให้ชื่นชมมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่น่าชื่นชมก่อนสิ่งอื่นคือสถานการณ์ที่เปิดโอกาสให้มนุษย์เราตื่นตัว ต่างหาก....."                   สิ่ง หนึ่งที่เป็นเสน่ห์ในเนื้อหาและทำให้เราฉุกคิด ก็คือการพูดถึงสายสัมพันธ์ของความเป็นมนุษย์ สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คนทั่วไปมักมองข้าม กระทั่งมนุษย์ทุกวันนี้กลายเป็นคนหยาบกระด้าง เหมือนดักแด้ชักใยหุ้มตัวเองเอาไว้กันเกือบหมด "กิโยเม" เพื่อนคนสำคัญคนหนึ่งของผู้เขียน คือคนที่ให้บทเรียนภูมิศาสตร์อันแปลกประหลาดแก่เขา การสื่อสารทางใจกับ "ต้นส้มสามต้น แกะสามสิบตัว ลำธารสายเล็ก ๆ และกระท่อมของชาวนาสามี ภรรยา" สิง่เหล่านี้ไม่ได้อยู่ในความสนใจของนักภูมิศาสตร์คนใด แต่เป็นเสมือนแผนที่ในใจของนักบินบางคนที่มองเห็นคุณค่า                   การ ได้ท่องไปในความเวิ้งว้างของท้องฟ้า เฝ้ามองหมู่เมฆ ดวงดาวเหมือนนักสำรวจจักรวาล และชีวิตพลัดหลงกลางทะเลทราย คือฉากในชีวิตจริงที่ก่อกำเนิดโลกแห่งจินตนาการอันไพศาลของผู้เขียน น่าเสียดายที่ Exupery ด่วนจากไปในวัยที่ยังหนุ่ม เขาน่าจะได้สร้างสรรค์งานออกมาให้เราได้ชื่นชมกันอีก การจากไปของเขาช่างเหมือนกับการจากไปของตัวละครในโลกมายาอย่างน่าฉงน สิ่งที่ยังอยู่ก็คือ ความคิด จิตใจ ที่ฝากไว้ให้คนรุ่นหลัง Exupery ได้ทำในสิ่งที่เขาเองได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า "...การเป็นมนุษย์ คือความรู้สึกที่ว่าการทำอะไรก็ตามในชีวิตของเรา เหมือนเป็นการนำก้อนหินก้อนหนึ่งเข้าไปร่วมในการก่อสร้างโลกที่กำลังดำเนิน อยู่..."                   ความ หมาย หรือ แก่นแท้ของการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ บางทีก็เหมือนเส้นผมบังภูเขา ใกล้ชิดกับเราที่สุด ในขณะเดียวกันก็ห่างไกลจนสุดเอื้อม ในโลกนี้มีหนังสือมากมายหลายล้านเล่ม แต่มีเพียงไม่กี่เล่มที่อยู่ในใจของเรา และบางที... อาจคือชีวิตของเรา
"เหลืองฝ้ายคำ"
๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๕

ไฟล์แนบขนาด
Wind Sand and Stars.doc1.38 MB