วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
23/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

วิวัฒนาการของผ้า

 

ประเทศไทย เป็นดินแดนที่มีมนุษย์อยู่อาศัยมานานนับเป็นหมื่น ๆ ปีมีหลักฐานทางโบราณคดีเชื่อกันว่า ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคโลหะเป็นต้นมา มนุษย์รู้จักการทอผ้าใช้เอง ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่ค้นพบตามแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง  ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี  พบเศษผ้าจากป่านใบกัญชา   ติดอยู่กับกำไลสำริด  โดยมีสนิมของทองแดงเป็นตัวยึดและป้องกันการเน่าเปื่อย พบเครื่องมือในการทอผ้าหลายชนิด ได้แก่

     แวดินเผา ซึ่งเป็นดินเผารูปกรวยขนาดเล็กประมาณเท่าหัวแม่มือ   มีรูสำหรับสอดแกนไม้เล็ก ๆ ตอนปลายจะทำเป็นเงี่ยงหรือขอสำหรับสะกิดหรือ    เกี่ยวปุยฝ้าย เพื่อสางลงมายังแวขณะที่หมุน แรงถ่ายของแวจะปั่นปุยฝ้าย    เป็นเส้นด้ายพั นอยู่โดยรอบ แวจึงเป็นเครื่องปั่นด้ายยุคแรกของมนุษย์

หินทุบเปลือกไม้ เป็นเครื่องมือสำหรับทำเส้นใยเพื่อใช้ทอผ้าหรือ ทำเส้น เ ชือก เส้นด้าย มีลักษณะเป็นหินเนื้อละเอียดด้านหน้าตัดของหินคือ ส่วนที่ใช้ทุบ มักบากเป็นร่องตาราง ใช้สำหรับทุบเปลือกไม้ประเภทปอหรือป่านเพื่อ  ให้ได้เส้นใยขึ้นมาใช้ทอผ้า

     ลูกกลิ้งดินเผา เป็นลูกกลิ้งเล็กขนาดเท่าหัวแม่มือ ยาวประมาณ 2 นิ้ว ตัวลูกกลิ้งมักขุดเป็นร่องเพื่อให้เกิดลวดลายขณะกลิ้ง  พิมพ์ลวดลายบนผืนผ้า    เพ ราะเชื่อว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ รู้จักย้อมสีธรรมชาติใช้แล้ว โดยใช้น้ำสีที่คั้นได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น    ดอก ผล ราก ใบ ฯลฯ

การทอผ้าในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มิได้มีเฉพาะการใช้เส้นใยจากพืชเท่านั้น หากแต่พบว่ามีการใช้ขนสัตว์ใ นเมโสโปเตเมีย และกลุ่มประเทศเมืองหนาว ที่เก่าแก่ที่สุด พบในสแกนดิเนเวีย มีอายุราว 3,000 ปีมาแล้ว

สำหรับ “ไหม” (Silk) นั้นพบว่ามีการนำมาใช้ทอผ้ากันในสมัยก่อนประวัติศาสตร์เฉพาะในบริเวณทวีปเอเซียและในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงในประเทศ ไทยก่อนที่จีนจะนำมาทอเป็นผ้าไหมจนแพร่หลายไปทั่วโลก
ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าคือ “หูก” หรือกี่ทอผ้านั้น  คงมีมาหลายพันปีแล้ว เช่นเดียวกับเครื่องปั่นด้าย หูกอาจมีหลายรูปแบบหลายชนิดทั่งขนาดเล็กๆ ทอด้วยมือและขนาดใหญ่ ที่ต้องตอกตรึงไว้กับพื้นมีโครงไม้ดอกติดไว้กับเสาเรือนแต่ไม่ปรากฏร่องรอย ของหูกให้เห็น เพราะหูกจะทำด้วยไม้ซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถุจึงผุพังไปตามกาลเวลาเพียงชั่ว เวลาไม่กี่ปี

จากหลักฐานที่พบเศษผ้าที่เส้นใยของฝ้ายและไหมตามกำไลสำริดสร้อยและเศษโลหะใน แหล่งโบราณคดีก่อนประ วัติศาสตร์ในประเทศไทย  แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในไทยมีการทอผ้า ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหมขึ้นใช้แล้ว   และกระบวนการทอผ้านี้ได้พัฒนาสืบต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์

   สำหรับในภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดแพร่และน่าน ได้พบหลักฐานสำคัญที่แสดงถึง วิวัฒนาการทอผ้าหลายแห่ง ได้แก่
1.  ภาพเขียนแสดงลักษณะการแต่งกายของคนในยุคต่างๆ ที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่  ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี ในยุคต่อ ๆ มามี ภาพเขียนที่ ฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน  วัดเวียงต้า อ.ลอง จ.แพร่ วัดกลางธรรมสาคร จ.อุตรดิตถ์  วัดราษฎร์บูรณะ จ.พิษณุโลก วัดอุโบสัตตราราม จ.อุทัยธานี เป็นต้น

2.  เศษผ้าและเครื่องมือในการทอผ้าโบราณ พบเศษผ้าติดกับขันสำริด แวดินเผา และสำริด ที่บริเวณชุมชนจันเสน หลักฐานดังกล่าวเก็บรักษาไว้ ที่พิพิธภัณฑ์วัดจันเสน     จังหวัดนครสวรรค์

3.  จากการขุดค้นป้อมประตูเมืองด้านทิศตะวันตกของเมืองเก่าสุโขทัย พบเศษผ้า ติดอยู่ที่ขันสำริดขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 ซม. สูง 3 ซม.

4.  แหล่งโบราณคดีจังหวัดตากในแถบเทือกเขาถนนธงชัย-ตะนาวศรี ระหว่าง    ชายแดนไทยพม่า เขตติดต่อระหว่าง จังหวัดตาก - เชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน  พบเครื่อง    ถ้วยชาม เศษผ้า และเชือกร้อยลูกปัด นอกจากนี้ยังพบผ้า และเชือกติดอยู่กับเต้าปูนสำริด ผ้าและเชือกบางส่วนมีร่องรอยสีย้อม

ข้อมูลจากหนังสือแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย ของกองโบราณคดี กรมศิลปากร , ผ้าไทย ของวิบูลย์ ลี้สุวรรณ


ต้นฉบับ http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_1/B_1/b_1.html

 

ย้อนกลับไปยังหน้ารวม link ความรู้เกี่ยวกับผ้าไทย ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้ามหาวิทยาลัยนเรศวร