วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
23/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

 ผ้าไทยในยุคต่างๆ

ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18   กลุ่มชนชาติไทยได้รวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรในอาณาบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ ไทยปัจจุบัน อาณาจักรล้านนา อยู่ในบริเวณภาค เหนือ เช่น เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน มีการขาย ผ้าอย่างกว้างขวาง ทั้งที่ทอใช้เองและส่งเป็นสินค้าไปขายยังราชอาณาจักรใกล้เคียงเช่น ผ้าสีจันทร์ขาว  ผ้าสีจันทร์แดง ผ้าสีดอกจำปา ผ้ากัมพล ผ้าสำหรับพระภิกษุสงฆ์ เช่น จีวร ผ้าปูอาด ผ้ารัดปะคด ฯลฯ


  • อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บริเวณตอนบนของภาคกลาง มีการทอผ้าหลายชนิด เช่น ผ้าเบญจรงค์ ผ้าสกุลพัสตร์ ผ้าเล็กหลบ ผ้าหนง ผ้ากรอบ เชื่อกันว่าผ้าที่ประชาชนทั่ว ไปใช้สอยนั้นทอกันนอกเมืองสุโขทัย ส่วนผ้าชิ้นในราชสำนัก มีช่างหลวงเป็นผู้ทอและสั่งซื้อจากต่างประเทศอื่น เช่น ประเทศจีน อินเดีย และเปอร์เซีย

  • สมัยกรุงศรีอยุธยารุ่งเรือง มีการสั่งผ้าจากต่างประเทศเข้ามา  ใช้ในราชสำนัก และสั่งเข้ามาขายให้กับประชาชนมากกว่าสมัยสุโขทัย  เช่น ผ้าไหม ผ้าแพรจากจีน ผ้าพิมพ์จากอินเดีย ผ้าปูมจากเขมร ผ้าคานินิส ผ้าลาตินสี ผ้าบิราเบล ผ้า ทันตา ผ้าชูเคโตส จากยุโรป นอกจากนี้ยังมีผ้าพิมพ์ลาย ผ้าปักไหม และปักดิ้น และพรหมจาก เปอร์เซีย ผ้าเหล่านี้ใช้เป็นเครื่องแต่งกายของกษัตริย์และเจ้านายในราชสำนักและใช้ เป็นเครื่อง ตกแต่งราชสำนัก และอาคารบ้านเรือน ในสมัยอยุธยา  เกิดแหล่งค้าผ้าและตลาดจำหน่ายวัสดุ อุปกรณ์ในการทอผ้าตามย่านต่าง ๆ ของกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าผ้า เรียกได้ว่าเป็น ยุคทองของการค้าผ้า ทีเดียว

นอกจากนี้ ผ้ายังมีบทบาทสำคัญหลายประการ เช่น เสื้อผ้าที่ประชาชนสวมใส่จะบ่งบอกฐานะทางสังคมเป็นบรรณาการ ระหว่างประเทศ เป็นเครื่องกำหนดตำแหน่งของผู้สวมใส่ ผ้าบางชนิดใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูง บางชนิดใช้ เฉพาะขุนนาง เช่น ผ้าสมปักปูม สมปักล่อง จวน สมปักลาย สมปักริ้ว เป็นต้น นอกจากนี้ผ้ายังใช้เป็นบำเหน็จรางวัลแก่ข้าราช บริพาร เป็นเครื่องปูนบำเหน็จต่างเงินเดือน เรียกว่า ผ้าหวัดรายปี และผ้าในราชสำนักในลักษณะต่าง ๆ ได้รับทอดถึงกรุง
รัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย

  • สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น การทอผ้าและซื้อขายผ้า เนื่องจากยุคนั้นยังมีศึกสงคราม และอยู่ในช่วงการฟื้นฟูประเทศ แต่มีหลักฐานปรากฏว่า ทางหัวเมืองทางใต้  มีการ เกณฑ์ช่างทอผ้าจากไทรบุรี เข้ามาสอนคนพื้นเมืองที่สงขลา และนครศรีธรรมราช ทอผ้ายก จนมีชื่อ เสียงจนถึงปัจจุบัน

  • ในสมัยราชกาลที่ 3  ปรากฏผ้าใช้ในราชการหลายชนิด เช่น ผ้าเข้มขาบ ผ้าเตล็ด ผ้าเยียรบับ ผ้าสมนัก (ผ้าสองนักหรือถมปัก) ใน  ช่วง กรุงรัตนโกสินทร์นั้นปรากฏชื่อผ้าชนิดต่างๆ ที่ประชาชนใช้ทั่วไป หลายชนิด เชื่อว่ามีคุณภาพ สีสันลวดลาย อยู่ในเกณฑ์ด้อยกว่าตามฐานะ เช่น ผ้าตาบัวปอก ผ้าดอกสน ดอกเทียน ผ้าตาเล็ดงา ผ้าตามะกล่ำ ผ้าตาสมุก สมัยรัชการที่ 4 ขุนนาง และข้าราชการสำนักสงฆ์ เสื้อแพร และเสื้อกระบอกผ้าขาว แต่ธรรมเนียมการใช้ผ้าก็ยังมิได้เปลี่ยนแปลงมากนัก

  • สมัยรัชการที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ผ้า และธรรมเนียมการแต่งกายของชนบางราชการ ให้เลิกนุ่งผ้าปูม แต่ให้ใช้ผ้าม่วงสีน้ำเงินแก่แทน มีการพระราชทานเสื้อ ให้ตามยศ ตำแหน่ง  ซึ่งมักเป็นผ้าแพรสีต่าง ๆ แบ่งตามกระทรวงกรมที่สังกัด  การแต่ง กายพัฒนาไปตามแบบยุโรปมากขึ้น สำหรับสตรีนิยมแต่งกายแบบฝรั่งเสื้อขาวแขนยาวชายเสื้อแค่เอว ห่มแพร สไบเฉียงผ่านอกเสื้อ หรือบางทีห่มตาด สวมถุงน่อง รองเท้าบูต เป็นต้น ในช่วงรัชการที่ 4-5 นี้ ผ้าพิมพ์ลายจากอินเดียกลับมานิยมอีกครั้ง มีการส่งผ้าที่ ออกแบบลวดลายแล้วไปให้อินเดียพิมพ์ลายเรียกว่าผ้าลายอย่าง ต่อมาอินเดียพิมพ์ลาย ไม่เหมือนแบบที่ส่งไปเรียกว่า ผ้าลายนอกอย่าง  จากความนิยมนี้จึงมีการผลิตผ้าพิมพ์ลายขึ้นมา่ช้เองในปี 2475 และเป็นต้นแบบการพิมพ์แบบสกรีน (Screen Printing) มี การเปิดโรงงานผลิตผ้าพิมพ์ ประชาชนจึงพัฒนาการนุ่งผ้าโจงกระเบนแบบโบราณมาเป็นโจงกระเบนผ้าลาย และนุ่งซิ่นหรือนุ่งผ้าลายไทย ในสมัยรัชกาลที่ 6
  • การแต่งกายในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือยุควัตถุนิยม มีการแต่งกายโดย ใช้ผ้าจากต่างประเทศมากขึ้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงช่วงระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น

  • รัชการที่ 8 การแต่งกายในราชสำนัก เปลี่ยนแปลงจากการใช้ผ้าราคาสูง ที่ต้องใส่ด้าย เส้นเงินทอง มาใช้ผ้าที่มีลักษณะเรียบง่าย และยังนิยมใช้ผ้าไหม

  • รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี  ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  ทรงให้ความสนพระทัย ในกิจการทอผ้าพื้นเมือง  และทรง ให้การสนับสนุนส่งเสริมให้มีการทอผ้าพื้นเมืองเป็นที่สวยงาม โดยทรงเป็นผู้นำในการใช้ผ้าพื้นเมืองฉลองพระองค์ทั้งในขณะที่ประทับ ในประเทศ และในวโรกาส เสด็จเยือนต่างประเทศทำให้ผ้าพื้นเมืองของไทยได้มี  โอกาสอวดโฉมต่อสายตาของชาวโลกและสำหรับในประเทศก็ทำให้ความนิยมในผ้าไทย ทั้งไหมและฝ้าย กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก และกำลังเจริญเติบโตอย่างงดงาม

ต้นฉบับ http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_1/B_2/b_2.html

ย้อนกลับไปยังหน้ารวม link ความรู้เกี่ยวกับผ้าไทย ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้ามหาวิทยาลัยนเรศวร