วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
23/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

 การปลูกฝ้าย

 ฝ้าย  เป็นพืชเศรษฐกิจเจริญเติบโตในบริเวณที่มีอากาศร้อน ลักษณะดินเป็นดินเหนียวปนทราย อากาศโปร่ง ไม่ชอบที่ร่มเงาบัง  เส้นใยของฝ้ายดูดความชื้นได้ง่าย เหมาะสำหรับการเป็นเครื่องนุ่งห่มในเมืองร้อน เพราะฝ้ายดูดความชื้นแล้ว ความชื้นจะระเหยกลายเป็น
ไอ ผู้ที่สวมใส่เสื้อผ้าด้วยผ้าฝ้ายจะรู้สึกเย็นสบาย ฝ้ายจะปลูกในเดือนพฤษภาคมต่อกับเดือนมิถุนายน หรือเดือนกรกฎาคมต่อเดือนสิงหาคม  แล้วแต่ภูมิภาคที่ปลูก  ซึ่งเป็นฤดูฝนเป็นช่วงที่ฝ้ายได้รับฝนดี  ครั้นประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมฝ้ายจะแก่และแตกปุย  การปลูกฝ้ายชาวบ้านจะปลููกไปพร้อมๆ กับการปลูกข้าว ระยะเวลาที่ใช้ในการปลูกฝ้ายจนกระทั่งสามารถเก็บปุยได้ใช้เวลาประมาณ 6 - 7 เดือน ชาวบ้านทุกครัวเรือนสามารถปลูกฝ้ายได้แล้วนำเส้นใยของฝ้ายมาทอเป็นผืนผ้า สำหรับเป็นเครื่องนุ่งห่มและใช้ ในชีวิตประจำวัน

  • แหล่งปลูกฝ้าย ในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พิจิตร ลพบุรี ปราจีนบุรี สุโขทัย เพชรบุรี นครราชสีมา และกาญจนบุรี ผลผลิตของฝ้ายที่นำมาใช้ประโยชน์ได้แก่ ดอกฝ้าย เปลือก เมล็ดฝ้าย และเนื้อเมล็ดฝ้าย ดอกฝ้ายมีสีขาวลักษณะเป็นเส้นใยขนปุยใช้ทอฝ้ามาแต่โบราณ ในปัจจุบันเส้นใยจากฝ้ายนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ในบ้าน
  • สำหรับพันธุ์ฝ้ายในประเทศไทย มีมากมายหลายชนิด นับตั้งแต่ฝ้ายตุ่น ซึ่งเป็นฝ้ายพื้นเมืองของไทย ดอกฝ้ายมีขนาดเล็ก สีน้ำตาล เส้นใยสั้น ๆ ใช้ในการทอผ้าด้วยมือแบบพื้นเมือง และฝ้ายชนิดอื่น ๆ ใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า


ต้นฉบับ http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_1/B_5/C_2/c_2.html

<- ย้อนกลับไปยังกระบวนการทอผ้า ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้ามหาวิทยาลัยนเรศวร