วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
23/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

การย้อมสี

เส้นใยที่ได้จาก “ฝ้าย”จะ มีสีขาว หรือ สีขาวขุ่น หรือสีน้ำตาลอ่อน ขึ้นอยู่กับชนิดของฝ้าย ดังนั้นเมื่อนำมาทอจึงต้องนำฝ้ายไปย้อมเพื่อให้เกิดสีที่สวยสดงดงาม ในอดีตสีที่นำมาย้อมฝ้ายนั้นจะได้จากวัสดุธรรมชาติซึ่งสามารถหาวัตถุดิบได้ ตามท้องถิ่นไม่ว่าจะ เป็นเปลือกไม้ รากไม้ ดอก ผล หรือจากสัตว์บางชนิด  แต่เนื่องจากกรรมวิธีในการสกัดสีจากธรรมชาติค่อนข้างยุ่งยาก และวัตถุดิบ เริ่มหายาก อีกทั้งสีสันที่ได้ไม่มีความหลากหลาย คุณภาพในการย้อมไม่ดีนัก จึงมีการนำสีที่ได้จากระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หรือสีเคมีมาใช้ในการย้อม ซึ่งช่วยให้สะดวก รวดเร็ว รวมทั้งยังให้สีสันต่าง ๆ มากมาย สามารถไล่ระดับสีได้ จึงทำให้ผู้ที่ใช้กรรม วิธีการย้อมสีธรรมชาติลดน้อยลงมาก
ปัจจุบันสีที่นำมาย้อมเส้นใยฝ้าย สามารถแบ่งได้เป็น สีธรรมชาติและสีวิทยาศาสตร์ สี ที่ได้จากธรรมชาติทั้งหมดได้มาจากพืช และสัตว์บางชนิด สีที่ได้จากพืช จะนำมาจากส่วน
ต่าง ๆ ได้แก่เปลือก ราก แก่น ใบ ดอก และผล ส่วนสัตว์นันได้มาจาก “ตัวครั่ง” วัตถุดิบ  ที่นำมาใช้ และกระบวนการในการย้อมสีธรรมชาตินั้น แต่ละท้องถิ่นก็จะมีความแตกต่าง
กันสีสันที่ได้จึงแตกต่างกันไป

ขั้นตอนการย้อม
การย้อมนั้นแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การย้อมเย็นและการย้อมร้อน

  1. การย้อมเย็น นั้นจะนิยมย้อมในหม้อดิน โดยการเตรียมน้ำสีใส่ไว้ในหม้อ จากนั้นนำเส้นฝ้ายไปจุ่มลงในหม้อ ใช้มือคน บีบ จนกระทั่งได้สีตามต้องการ หรือจะทำการหมักไว้เพื่อให้สีที่ได้เข้มขึ้น
  2. การย้อมร้อน   เป็นการนำเส้นฝ้ายไปต้มในหม้อที่ใส่น้ำสี ใช้ไม้คนเพื่อให้ฝ้ายโดนน้ำสีอย่างทั่วถึง เมื่อได้สีตามต้องการจึงนำไปซักและตากแห้งซึ่งการย้อมร้อนมีขั้นตอนดังนีการย้อมเย็น นั้นจะนิยมย้อมในหม้อดิน โดยการเตรียมน้ำสีใส่ไว้ในหม้อ จากนั้นนำเส้นฝ้ายไปจุ่มลงในหม้อ ใช้มือคน บีบ จนกระทั่งได้สีตามต้องการ หรือจะทำการหมักไว้เพื่อให้สีที่ได้เข้มขึ้น

การย้อมร้อน   เป็นการนำเส้นฝ้ายไปต้มในหม้อที่ใส่น้ำสี ใช้ไม้คนเพื่อให้ฝ้ายโดนน้ำสีอย่างทั่วถึง เมื่อได้สีตามต้องการจึงนำไปซักและตากแห้งซึ่งการย้อมร้อนมีขั้นตอนดังนี้
1. นำเส้นฝ้ายที่จะไปทำการย้อม มาซักด้วยน้ำสะอาดเพื่อขจัดฝุ่นผงและไขต่าง จากนั้นบีบน้ำออกให้หมาดเพื่อให้สีที่ ย้อมติดเส้นฝ้ายอย่างสม่ำเสมอ
2. นำเส้นฝ้ายที่บีบหมาดแล้วลงไปต้มในหม้อน้ำสี คนฝ้ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สีเข้าไปในเส้นฝ้้ายอย่างทั่วถึงประมาณ 30 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่นำมาย้อม)
3.  เมื่อได้สีตามต้องการ นำเส้นฝ้ายขึ้นจากหม้อต้ม บิดให้หมาด นำไปซักด้วยน้ำ สะอาด แล้วตากให้แห้ง ถ้าต้องการให้สีเข้มขึ้นสามารถนำมาต้มอีกครั้งหนึ่งจนกว่าจะได้สีตามต้องการ

หมายเหตุ  :  วัตถุดิบแต่ละชนิดให้สีเหมือนกันแต่คนละโทนสี

เหตุ  :  วัตถุดิบแต่ละชนิดให้สีเหมือนกันแต่คนละโทนสี

สี

ชนิดของวัตถุดิบ

แดง

ตัวครั่ง, รากยอ, เปลือกก่อ

แดงเลือกนก (ส้ม)

ผลสะตี

เขียว

เปลือกมะม่วง, เปลือกลิ้นฟ้า, ใบหูกวาง, เปลือกสมอ, สัก

เหลือง

ขมิ้นชัน, แก่นแข, เปลือกขนุน

ดำ

ผลมะเกลือ, ผลกระจาย

น้ำตาล

เปลือกประดู่, เครือโก่ย, ผลหมาก

เทา

เปลือกบก, เหง้ากล้วย

ม่วงเทา

เปลือกหว้า

ม่วงอ่อน

ผลหว้า

คราม, น้ำเงิน, ฟ้า

ต้นคราม


ต้นฉบับ http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_1/B_5/C_4/c_4.html

<- ย้อนกลับไปยังกระบวนการทอผ้า ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ผ้ามหาวิทยาลัยนเรศวร