ข้อมูลผ้าไทยภาคเหนือตอนล่าง - ผ้าเมืองน่าน

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
24/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดน่าน

“แข่งเรือลือเรื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์  แดนดินส้มสีทอง  เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง”

นันทบุรีศรีนครน่านหรือ เมืองน่านเมืองงามแห่งล้านนาตะวันออก เป็นเมืองประวัติศาสตร์เมืองหนึ่งซึ่งในอดีตเป็นนครรัฐขนาดเล็กริมแม่น้ำน่าน ถูกโอบล้อมไว้ด้วยขุนเขาผีปันน้ำและขุนเขาหลวงพระบาง คนเมืองน่านเล่าเรื่องราวในอดีตของตน
เองผ่านตำนานพื้นบ้านและคัมภีร์ใบลานด้วยอักษรธรรมล้านนาน่านมีอายุเก่าแก่พอกับกรุงสุโขทัย

  

สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18“พญาภูคา”ได้สร้างขึ้นในบริเวณที่ราบทางตอนบนเขตตำบลศิลาเพชร  หรืออำเภอปัวในปัจจุบัน  จากหลัก ฐานทางโบราณคดีน่านเคยเป็นชุมชนโบราณที่มีอายุเก่าแก่เนื่องจากมีการขุดพบเครื่องมือหิน
กรวดขนาดใหญ่ที่เสาดินนาน้อย ซึ่งจัดเป็นเครื่องมือหินเก่าใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในยุคไพลสโตซีน มีอายุราว 10,000 - 1,000,000 ปี เป็นอย่างน้อย  รวมทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้ามาแต่อดีต เพราะมี ทรัพยากรที่สำคัญคือ เกลือ  และการหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมจิตรกรรม  ศิลปวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียม วิธีชีวิตของชาวน่านได้สะท้อนให้เห็นการผสมผสานทั้งกรุงสุโขทัย ล้านนาล้านช้าง(หลวงพระบาง)สิบสองปันนาพุกามอย่างกลมกลืน

ปัจจุบันจังหวัดน่านมีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกส่วนทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเชียงรายและพะเยาทิศใต้ติดต่อกับ จังหวัดแพร่และอุตรดิตถ์ น่านมีพื้นที่ประมาณ 11,472 ตารางกิโลเมตรแบ่งการปกครองออกเป็น 14 อำเภอ  กับ 1 กิ่งอำเภอได้แก่ อำเภอเมืองน่าน อำเภอเชียงกลาง อำเภอแม่จริม อำเภอนาน้อย อำเภอปัว อำเภอเวียงสา อำเภอท่าวังผา อำเภอทุ้งช้าง อำเภอบ้านหลวง อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสองแคว อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และกิ่งอำเภอภูเพียง

ต้นฉบับ: http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B12/b12.html


การทอผ้าของจังหวัดน่าน

กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่านมีทั้งชนชาติไท   ชาวไทยภูเขา  ที่อาศัยอยู่เดิมและได้อพยพมาจากล้านช้าง สิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ ไทยวนหรือไทยโยนก ไทลื้อ ถิ่น (ลัวะ), ขมุ ม้ง(แม้ว) เย้า(เมี่ยน) และมลาบรี (ผีตองเหลือง)  จึงทำให้ผ้าทอเมืองน่านมีที่มาหลายแห่งด้วยกัน

ผ้าทอเมืองน่านจะเป็นผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติเช่นสีดำจากผลมะเกลือสีแดงจาก ครั่ง สีเหลืองจากขมิ้นแก่นขนุนและสีน้ำตาลได้จากเปลือกต้นสุนเป็นต้นการสืบทอดทาง วัฒนธรรมพบว่าผู้ที่มีอาชีพทอผ้าส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวไทยลื้อโบราณ

ผ้าพื้นเมืองดั้งเดิมของน่าน ได้แก่ ผ้าพื้น ผ้าขาวม้า ถุงย่าม ผ้าห่ม(ผ้าสาแสง หรือผ้าตาโก้ง) ผ้าลายคาดก่านแบบน่าน

ผ้าที่มาจากแหล่งอื่น เช่น ผ้าตีนจกจากเมืองพิชัย  ซิ่นม่าน  ซิ่น เชียงแสนจากเชียงตุง ผ้าลายลื้อจากเมืองเงิน เมืองคง เมืองฮุนเมืองล้า และสิบสองปันนา ผ้าไหมซิ่งลาว จากเมืองหลวงพระบาง และเวียงจันทน์ซิ่นก่านคอควายและซิ้นตามะนาวจากแพร่ซิ่นลายขวางจากเมือง เชียงใหม่ เป็นต้น


ผ้าทอของจังหวัดน่านสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท
   1. ผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ผ้าปูที่นอน(ผ้าหลบ) ผ้าห่ม ผ้าฮำ ผ้ากั้ง หมอนมุ้ง ผ้าซิ่น
ผ้าสะหว้ายแล่ง และผ้าสะว่านอก
  ๒. ผ้าที่ใช้ในทางศาสนา ได้แก่ ตุง ผ้าปาด(ลักษณะคล้ายตุงแต่สั้นกว่า) จีวร ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้าเช็ดน้อย เพื่อเป็นพุทธบูชา

ลวดลายผ้าเมืองน่านจะเลียนแบบจากธรรมชาติ และลายเรขาคณิต ซึ่งลักษณะการทอจะมี 3 ประเภท
๑. การล้วง เช่น ลายน้ำไหล ลายใบมีด ลายดอกไม้ ลายธาตุ ลายปู เป็นต้น
๒. การเก็บมุก เช่น ลายดอกจันทน์แปดกลีบ ลายดอกแก้ว ลายผักกูด ลายพญานาค   ลายขอน้อย ลายกาบหลวง
๓. คาดก่าน (คล้ายมัดหมี่อิสาน) ได้แก่ ลานก่านแบบดั้งเดิม คาดก่านน้ำไหล

แหล่งทอผ้าในจังหวัดน่าน

อำเภอปัว   บ้านเฮี้ย บ้านดอนไชย บ้านตีนตก บ้านหัวน้ำ บ้านฝาย ตำบลศิลาแลง
บ้านทุ่งรัตนา ตำบลศิลาเพชร
อำเภอทุ่งช้าง 
 บ้านทุ่งสุน ตำบลงอบ บ้านหล่ายทุ่ง ตำบลบอน
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  บ้านห้วยโก๋น
อำเภอเชียงกลาง
 บ้านศรีอุดม บ้านเชียงโคม ตำบลเชียงกลาง บ้านอ้อ บ้านเหล่า ตำบลพระพุทธบาท
อำเภอเวียงสา  บ้านไผ่งาม บ้านดอนชัย
อำเภอท่าวังผา
 บ้านฝายแก้ว ตำบลฝายแก้ว บ้านหนองบัว ตำบลหนองบัว บ้านถ่อน ตำบลจอมพร

เอกสารอ้างอิง :
1. คู่มือการท่องเทียว น่าน   ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2. ผ้าทอพื้นเมือง โครงการสำรวจผู้ผลิตทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ต้นฉบับ: http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B12/C18/c18.html


ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน

ซิ่นพื้นเมืองน่านที่โดดเด่นมีอยู่ ๕ ชนิด SIN MARN

 

1. ซิ่นม่าน เป็นซิ่นที่มีลายขวางสลับริ้วสีพื้นไม่เกิน 3 สี สีที่ ใช้ เช่น สีดำ สีแดง ชมพู ม่วง มีลักษณะที่เด่นคือ  มีป้าน การจัดช่องขนาดของลายไม่เท่ากัน ตีนซิ่นจะต้องมีสีแดงและป้านใหญ่ที่ต่อจากตีนซิ่นขึ้นไปจะใช้สีน้ำเงินเข้ม หรือสีม่วงSIN PONGเพียงสีเดียว
และคั่นด้วยริ้วไหมเงิน ไหม
ทองทอสลับทั้งผืน


   
  2. ซิ่งป้อง เป็นซิ่นทอด้วย  เทคนิคการขิด ลายขวางสลับริ้วสีพื้นมีช่วงขนาดเท่ากันตลอด ลักษณะเด่น คือทอเป็นริ้วเล็ก ทอสลับกับลายมุกคั่นด้วยริ้วไหมเงินหรือไหมทองสีสลับ นั้นเป็นสีเดียวกันทั้งผืน เช่น พื้นแดง พื้นเขียว พื้นสีน้ำตาล สลับลายมุก



   3. ซิ่นคำเคิบ  เป็นซิ่นที่ทอด้วยเทคนิคการเก็บขิดของชาวไทยวน
จังหวัดน่าน โดยใช้ดิ้นทองเป็นเส้นพุ้งตลอดทั้งผืน ลวดลายซิ่นจะเป็นลวดSIN KUMKERB ลายขนาดเล็กนิยมต่อตีนที่เป็นจกด้วยดิ้นทองเช่นกัน แต่บาง
ผืนอาจจะไม่ต่อตีนจกแต่ทอ
ด้วยผ้าฝ้ายสีพื้นธรรมดา


   
4. ซิ่นก่าน  เป็นซิ่นของชาวไทยลื้อ  เมืองน่านที่ทอด้วยลวด ลายมัดหมี่ ในภาษาถิ่นเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือSIN KARN “คาด
ก่าน” ซิ่นก่านนี้มีทั้งที่ทอในลักษณะโครงสร้างของซิ่นป้องและซิ่นม่าน เช่น ซิ่นก่านคอควายเป็นซิ่นพื้นบ้านของ ชาวไทยวน เป็นซิ่นสีดำมีริ้วสีแดงคาดตรงส่วนบนของตีนซิ่น



     5. ซิ่นเชียงแสน เป็นซิ่นที่มีลักษณะเป็นผืนผ้าสีแดงมีริ้วสีเข้ม เช่น สีดำ  หรือ คราม เป็นลายขวางทอด้วยเทคนิคขัดสานธรรมดาตลอดทั้งผืน ชื่อของ ซิ่นชนิดนี้ แสดงถึงแหล่งกำเนิดว่าเป็นเอกลักษณ์เก่าแก่ของชาวไทยเชียงSIN CHENGSANแสนในอดีต

ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน
ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน คือ

 

  1. ผ้าทอลายน้ำไหล ซึ่งเป็นการทอด้วยเทคนิคแบบล้วง โดยใช้ฝ้ายสีต่างๆ สอดขึ้นสอดลงให้ไหลไปในทางเดียวกัน ไล่ระดับไปเรี่อย ๆ  ดูคล้ายการไหล ของสายน้ำ ผ้าลายน้ำไหลเป็นลายที่ทอกันในยุคหลังประมาณ 80-100 ปี โดยพัฒนามาจากลายผ้าของชาวลื้อ ปัจจุบันมีการพัฒนาลายน้ำ ไหลเป็นรูปแบบ ต่าง ๆ  เช่น ลายจรวด ลายน้ำไหลสายรุ้ง เป็นต้น
  2. ผ้าทอลายลื้อ เป็นการทอด้วยเทคนิคการคล้ายหรือการเกาะ  โดยจะทอลวดลายรูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ ลายเส้นตรง ลายสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลายสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูน เป็นต้น
  3. ผ้ามัดก่าน เป็นผ้าที่เหมือนกับการมัดหมี่ในภาคอีสานที่บ้านดอนไชย อำเภอท่าวังผา
  4. ผ้าปักชาวเขา เป็นผ้าที่ปักด้วยมือของชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า(เมี่ยน) และม้ง ซึ่งสาวเย้าและม้ง มีฝีมือ ในการปักผ้าที่ลือชื่อ ส่วนใหญ่เป็นรูปลายเรขาคณิต ที่ศูนย์สงเคราะห์ชาวเขาบ้านป่ากลาง อำเภอปัว  บ้านสองแคว อำเภอเมืองน่าน 

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B12/C19/c19.html


กลับไปหน้ารวม link ข้อมูลผ้าภาคเหนือ จากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร