ข้อมูลผ้าไทยภาคเหนือตอนล่าง - ผ้าเมืองแพร่

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
24/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดแพร่

“หม้อฮ่อม ไม้สัก ถิ่นรักพระลอ พระธาตุช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม”
จังหวัดแพร่ ได้ชื่อว่าเป็นประตูเมืองสู่ล้านนา เดิม เป็นนครรัฐอิสระที่ตั้งอยู่ก่อนการสถาปนา อาณาจักรล้านนา จากหลักฐานต่าง ๆ ทำให้ทราบว่าจังหวัดแพร่นั้นมีชื่อเรียกกันหลายชื่อแล้วแต่ยุคสมัย เช่น “เมืองพล” เป็นชื่อที่เก่าแก่ดั้งเดิมที่สุด จากการพบหลักฐาน ในตำนานทางเหนือ ฉบับใบลาน พ.ศ. 1824 “เมือง โกศัย” เป็นชื่อที่ปรากฏในพงศาวดารเชียงแสน“เมือง เพล” เป็นชื่อที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และ “เมืองแพร่”
เป็น ชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาใช้เรียกเมืองแพล แต่ได้กลายเสียง เป็นเมืองแพร่จนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดแพร่ ได้ค้นพบหลักฐานว่ามีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด ในเขตอำเภอ ลอง อำเภอวังชิ้น เป็นต้น และที่อำเภอสองยังมีประวัติเกี่ยวกับ
เมืองเวียงสรองที่เป็นเมืองโบราณในวรรณคดี เรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งทุกคนรู้จักกันดี

 

จังหวัดแพร่มีพื้นที่ประมาณ 6,538 ตารางกิโลเมตร มีอาณา เขตติดต่อกับจังหวัดลำปาง, จังหวัดพะเยา, จังหวัดน่านทางทิศเหนือ ทิศใต้ติดต่อกับ จังหวัดอุตรดิตถ์, จังหวัดสุโขทัย ทิศตะวัน ออกติดต่อกับ จังหวัดอุตรดิตถ์, จังหวัดน่าน และทิศตะวันตกติดต่อกับ จังหวัดลำปาง การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ  คือ    อำเภอเมือง อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น อำเภอสอง อำเภอร้องกวาง และอำเภอหนองม่วงไข่

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B15/b15.html   


การทอผ้าของจังหวัดแพร่

       กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแพร่นั้นอาจเป็นชาวลัวะหรือละว้า ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือมาหลายพันปี  ในปัจจุบันกลุ่ม ชนที่อาศัยอยู่มี คนไทยดั้งเดิมที่เรียกตัวเองว่าคนเมือง ไทลื้อ ไทยวน ไทพวน ไทยใหญ่( เงี้ยว ) ก้อ ( เป็นกลุ่มชนที่สันนิษฐานว่า อพยพมาจากทิเบต ) และ กลุ่มชาวไทภูเขา ได้แก่ กะเหรี่ยง อีก้อ ม้ง ลีซอ และมลาบรี(ผีตองเหลือง) ในกลุ่มชนชาวไทจะมีวัฒนธรรมหนึ่งของหญิงสาวที่ถ่ายทอดกันต่อคือการทอผ้า  ซึ่งมีมานานจะเห็นได้จากจิตรกรรมฝาผนังที่วัดเวียงต้า อำเภอลอง  การทอผ้าของที่นี่เป็นการทอผ้าฝ้าย ทอด้วยกี่พื้นบ้าน

ส่วนใหญ่ทอเป็นผ้าซิ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ซิ่นตามะนาว ซิ่นตาหมู่ ซิ่นก่านคอควาย เป็นต้น  และผ้าซิ่นที่ต่อตีนจกจะใช้ก็ต่อเมื่อไปงานสำคัญ     นอกจากกลุ่มชนชาวไทแล้วยังมี ชาวไทยภูเขาที่ทอผ้าด้วย คือ กะเหรี่ยง จากหลักฐานที่วัดสะแล่ง ซึ่งเป็นแหล่งสะสมผ้าโบราณ ที่อำเภอลอง ทำให้สามารถ

แบ่งการทอผ้าตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท
1.  การทอผ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าซิ่น ผ้าสะหว้านบ่า ผ้าเพื่อนำมาทำเป็นเสื้อของกะเหรี่ยง เป็นต้น
2.  การทอผ้าเพื่อใช้ในพุทธศาสนา เช่น ผ้าห่อพระคัมภีร์ ผ้ายันต์ ผ้าพระบฎ ตุง เป็นต้น

แหล่งทอผ้าของจังหวัดแพร่

 อำเภอลอง บ้านหัวทุ่ง บ้านนามน ตำบลหัวทุ่ง บ้านแม่จองไฟ ตำบลห้วยอ้อ
 อำเภอสูงเม่น  บ้่านกาด ตำบลบ้านกาด


แหล่งที่มาของข้อมูล
1.  ผ้าทอพื้นเมือง - การสำรวจผู้ผลิตทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2543
2.  ประวัติเมืองโบราณ
ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B15/C24/c24.html


ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแพร่


     1.  ผ้าซิ่นตีนจก อำเภอลอง เป็นผ้าซิ่นที่มีความงดงาม  ทำจากฝ้ายสำเร็จรูป การย้อมเส้นฝ้ายมีทั้งสีเคมีและสีธรรมชาติ   ตีนจกในบางผืนจะมีการใช้ดิ้นเงินดิ้นทองทอผสมด้วย ลวดลายที่พบ ได้แก่ ลายนกกินน้ำร่วมต้น ลายสิบสองปันนา ลายโคม ลาย โบ้งเลน ลายขอน้ำคุ เป็นต้น โดยตีนจกที่ทอเสร็จแล้วนิยมนำมา ต่อกับตัวซิ่นซึ่งจะเป็นซิ่นตาหมู่ ซิ่นตามะนาว หรือซิ่นมุก  (การทอมุกของอำเภอลอง จะห่างกว่าการทอมุกของหาดเสี้ยว) บุคคลที่มีบทบาทในการสืบสานวัฒนธรรมการทอผ้าของอำเภอลอง
ได้แก่ นายโกมล พานิชพันธ์ นางประนอม ทาแปง



2.  ผ้าซิ่นแหล้
อำเภอสูงเม่น เป็นผ้าซิ่นที่ใช้ในชีวิตประ จำวัน  ตัวซิ่นมีส่วนใหญ่ลักษณะสีดำ แถบแดงใหญ่คาด และมีแถบสีแดงเล็กสลับกับ เส้นสีดำที่อยู่ด้านบนและเชิงผ้าซิ่น ส่วนหัวซิ่นนิยมต่อด้วยผ้าสีขาว

  ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B15/C25/c25.html


 

กลับไปหน้ารวม link ข้อมูลผ้าภาคเหนือ จากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร