ข้อมูลผ้าไทยภาคเหนือตอนล่าง - ผ้าเมืองอุตรดิตถ์

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
24/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดอุตรดิตถ์



“เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก”

จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่างเป็นเมืองเก่าแก่มีหลักฐานการค้นพบโบราณวัตถุ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานที่พบซึ่งมีอยู่ไม่มากทำให้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว ของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ เป็นเมืองหน้าด่านและย่าน การค้าที่สำคัญของราชอาณาจักรอยุธยา แต่เดิมนั้นตัวเมืองอุตรดิตถ์เป็นเพียงตำบลชื่อ “บางโพธิ์ท่าอิฐ”  ขึ้นกับเมืองพิชัย

เนื่องจากตำบลนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำน่าน จึงเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้า ทำให้มีความเจริญอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในสมัยรัชการที่ 5 พระองค์ จึงโปรดเกล้าฯ ยกฐานะตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐขึ้นเป็นเมือง“อุตรดิตถ์”นอกจากนี้อุตรดิตถ์ยังมี แหล่่งโบราณคดีเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและยังเป็นบ้านเกิดของพระยาสีหราชเดโชชัย (ทองดี วิชัยขัตคะ) เจ้าเมืองพิชัย ขุนศึกคู่บารมีพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ได้สร้างวีรกรรมในการต่อสู้จนได้รับสมญานามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก”

จังหวัดอุตรดิตถ์มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ และ น่านทางทิศเหนือ ส่วนทิศตะวันออกติดจังหวัดพิษณุโลก เลย และ
สาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว  ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัด
พิษณุโลก และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์มีพื้นที่ประมาณ 7,838 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ  คือ อำเภอเมือง อำเภอตรอน อำเภอพิชัย อำเภอลับแล อำเภอน้ำปาด อำเภอท่าปลา อำเภอบ้านโคก อำเภอฟากท่า และอำเภอทองแสนขัน

 ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B11/b11.html


การทอผ้าของจังหวัดอุตรดิตถ์
กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์มีนอกจากชนพื้นเมืองแล้วยังมี ชาวไทยวน ซึ่งอพยพมาจากเชียงแสนในสมัยอยุธยา จากคำบอกเล่าได้ ความว่าชาวไทยวนที่อพยพมานั้นแบ่งออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งตั้งหลัก แหล่งที่อำเภอลับแล อีกพวกหนึ่งไปอยู่ที่หมู่บ้านน้ำอ่างอำเภอตรอน ชาวลาวซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทร์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น   ชาวไทยพวน จากการที่มีการอพยพโยกย้ายทำให้มีการนำเอาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตต่างๆ เข้ามา

การทอผ้าจึงเป็นวัฒนธรรมที่ถูกนำเข้ามาด้วย ผ้าทอของอุตรดิตถ์จะมีทั้งผ้าฝ้าย และ ผ้าไหม ปัจจุบันจะย้อมด้วยสีเคมี ลักษณะการทอของจังหวัดอุตรดิตถ์มีทั้งจก ขิด และมัดหมี่ ลวดลายต่างๆ บนผืนผ้านั้นเกิดจากเรื่องราวในวิถีชีวิต
และธรรมชาติรอบตัว ลวดลายของผ้าซิ่นตีนจกและผ้าอื่นๆ ของจังหวัดอุตรดิตถ์มีหลายลาย เช่น ลายหงส์ใหญ่ ลายขอกระเบื้อง ลายดาวดึงส์ ลายขอลามก้าน ลายดอกเคี๊ยะ ลายแปดขอ ลายงูเหลือม ลายเก็ดทะหวา ลายผักแว่น ลายนาค ลายสิงห์แหงแหว ลายก้ามปู ลายผีเสื้อ เป็นต้น ผ้าที่ทอกันนั้นส่วนใหญ่เป็นผ้าซิ่น แต่มีการทอผ้าชนิดอื่นบ้าง เช่น ผ้าห่ม ผ้าหน้าหมอน ผ้าล้อ ผ้าสไบ เป็นต้น

แหล่งทอผ้าในจังหวัดอุตรดิตถ์

จังหวัดอุตรดิตถ์มีลักษณะการทอผ้าหลากหลาย สามารถแบ่งแหล่งการทอผ้าตามลักษณะเฉพาะของผ้าพื้นเมืองดังนี้
1. ผ้าทอแบบมัดหมี่

 อำเภอบ้านโคก  บ้านนาขุม ตำบลนาขุม
 อำเภอน้ำปาด  บ้านท่าโพธิ์

    2. ผ้าทอแบบจก

 อำเภอทองแสนขัน  ทุกหมู่บ้าน
 อำเภอตรอน  บ้านไชยมงคล บ้านน้ำอ่าง ตำบลวัดไชยมงคล
 อำเภอลับแล  ตำบลไชยจุมพล ตำบลศรีพนมมาศ
 อำเภอท่าปลา  วัดตีนดอย ตำบลหาดล้า ตำบลท่าปลา
 อำเภอน้ำปาด  บ้านท่าโพธิ์ บ้านต้นม่วง ตำบลเด่นเหล็ก
 อำเภอฟากท่า  บ้านกกต้อง ตำบลฟากท่า บ้านเสี้ยว ตำบลบ้านเสี้ยว
 อำเภอบ้านโคก  บ้านนาขุม บ้านห้วยไคร้ ตำบลนาขุม ตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลบ้

3. ผ้าทอแบบขิด

อำเภอตรอน   บ้านไชยมงคล ตำบลไชยมง

เอกสารอ้างอิง
1. มหาวิทยาลัยศิลปากร ผ้าทอพื้นเมือง - การสำรวจผู้ผลิตทั่วประเทศ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย เงินตราล้านนาและผ้าไท อมรินทร์ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)2543
แหล่งข้อมูล
  1. http://www.tat.ot.th/thai/tourinfo/north/utaradit/index.html
2. http://kanchanapisek.or.th/kp8/utd/utd504a.html
3. การสัมภาษณ์ผู้ทอผ้าในจังหวัดอุตรดิตถ์

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B11/C16/c16.html


ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุตรดิตถ์
ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุตรดิตถ์ได้แก่


     1. ผ้าซิ่นตีนจกลับแล   ตีนซิ่นจะใช้ในการจกผ้ายหรือ ไหมทำให้เกิดลวดลาย ส่วนใหญ่จะเน้นสีเขียว  สีเหลือง  หรือ สีน้ำตาล ส่วนตัวซิ่นจะเป็นการทอแบบยกมุก ผ้าซิ่นตีนจกของลับแล แบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน

  • ยุคแรก จะเป็นซิ่นดอกเคี๊ยะ ซิ่นกาฝากแดงซิ่นกาฝาก เขียว พบตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายยุคนี้ตีนจกจะมีสีประมาณ 5 สี หรือ7 สี ได้แก่ สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีม่วง หรือสีดำ เป็นต้น การต่อหัวซิ่นต่อด้วยผ้าขาว-แดง
  • ยุคสอง จะเป็นซิ่นตีนจก ที่สีประมาณ 5 สี หรือ 7 สี เช่น เดียวกับยุคแรก แต่ตัวซิ่นจะเปลี่ยน เป็นซิ่นไก ซิ่นชิ่ว ซิ่นมุก และการต่อหัวซิ่นยังคงใช้ผ้าขาว - แดงเหมือนยุคแรก
  • ยุคปลาย หรือยุคหลัง จะเป็นตีนจกสีเขียวกับสีเหลือง ส่วนตัวซิ่นจะเปลี่ยนเป็นซิ่นไก ซิ่นซิ่ว ซิ่นมุก คล้ายยุคที่สอง


     2. ผ้าซิ่นตีนจกน้ำอ่าง จะเหมือนกับซิ่นตีนจกลับแลเนื่องจากเป็นไทยวนเช่นเดียวกัน  แตกต่างตรงสีที่ใช้จก ผ้าซิ้นตีนจกน้ำอ่างจะใช้สีเหลือง สีเขียว ที่สดกว่าผ้าซิ่นตีนจกลับแล


     3. ผ้าซิ่นตีนจกน้ำปาดและฟากท่า เป็นการทอผ้าฝ้ายของกลุ่มชน ไทยลาว เอกลักษณ์ของผ้าที่นี่ซึ่งพบเห็น จะทอเป็นพื้นสีดำ มีลวดลายสัตว์ต่าง ๆ ขนาดใหญ่ เช่น ลายนาคก้นตี่ ลายสิงห์หางแหวลายก้ามปู เป็นต้น แล้วนำมาต่อด้วยตีนจก


     4. ผ้าซิ่นมัดหมี่ เป็นการทอมัดหมี่ของ กลุ่มชนชาวไทลาว ท้ังไหมและฝ้ายในอำเภอบ้านโคก อำเภอน้ำปาด อำเภอฟากท่า ซึ่งจะมีลวดลายของหัวหนาม ลายนาคต้นสน เป็นต้น

  ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B11/C17/c17.html

กลับไปหน้ารวม link ข้อมูลผ้าภาคเหนือ จากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร