ข้อมูลผ้าไทยภาคเหนือตอนล่าง - ผ้าเมืองสุโขทัย

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
24/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดสุโขทัย

    “มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข”

สุโขทัย เป็นราชธานีแห่งแรกของไทย ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.1700  มีผู้คนอาศัยอยู่อาศัยเป็น ชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งพบเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย  จากการศึกษาและตีความจากศิลาจารึกและจดหมายเหตุทำให้ทราบว่า พ่อขุนศรีนวถม    เจ้าเมืองสุโขทัยได้ถึงแก่กรรม “ขอมสมาดโขลญลำพง” ขุนนางขอมที่ถูกส่งมาดูแลสุโขทัยได้ทำการยึดอำนาจ  พ่อขุนผาเมือง   เจ้าเมืองราดบุตรพ่อขุนศรีนาวถม กับ พระสหาย คือ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยางจึงได้ร่วมกันขับไล่ ขอมสมาดโขลญลำพง ออกจากเมืองสุโขทัย จากนั้น พ่อขุนผาเมืองจึงได้ทำการอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวให้ขึ้นครอง ราชย์ ณ เมืองสุโขทัย รวมทั้งมอบนามเดิมของตนคือ “ศรีอินทร บดินทราทิตย์”ให้พ่อขุนบางกลางหาวหรือ “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” เป็นปฐมกษัตริย์ราชอาณาจักรสุโขทัยและเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง

ยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของสุโขทัย ในยุคนี้มีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ ดังคำกล่าวที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใคร จะใคร่ค้าม้าค้า”ซึ่ง เป็นยุคของขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของอาณาจักรสุโขทัย พระองค์เป็นทั้งนักรบ และนักปกครองที่ปรีชาสามารถ ทั้งยังเป็นผู้ ก่อให้เกิด “ลายสือไทย” ซึ่งกลายเป็นตัวหนังสือที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

ปัจจุบันจังหวัดสุโขทัย มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์  ทางทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ทางทิศตะวันออก ติดต่อ กับจังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร  และทางทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดตาก ลำปางทางทิศตะวันตกมีพื้นที่ 6,596 ตารางกิโลเมตร  มีแม่น้ำที่สำคัญคือแม่น้ำยมไหลผ่านและแบ่งการปกครองออก เป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอกงไกรลาศ อำเภอคีรีมาศ  อำเภอทุ่งเสลี่ยม  อำเภอบ้านด่านลานหอย  อำเภอศรีสัชนาลัย  อำเภอศรีสำโรงอำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีนคร

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B13/b13.html   


การทอผ้าของจังหวัดสุโขทัย

จากคำขวัญของสุโขทัยที่ว่า “..งามตามผ้าตีนจก..” นั้นหมายถึง ผ้าซิ่นตีนจกบ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งกลุ่มชนที่อาศัยที่บ้านหาดเสี้ยวเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวไทยพวนมี ความสามารถในการทอผ้าจกมาแต่โบราณ ดังคำกล่าวที่ว่า “เมื่อหมดหน้านา หญิงทอผ้า ชายตีเหล็ก” ส่วนใหญ่ผ้าที่ทอนั้นมักทอขึ้นเพื่อนำไปต่อเป็นผ้าซิ่นผ้าผืนสำหรับตัดชุด ผ้าสไบ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าขาวม้า เป็นต้น ผ้าทอตีนจกของสุโขทัยจะเป็นผ้าฝ้าย ในอดีตใช้ฝ้ายปั่นมือ แต่ในปัจจุบันได้มีการนำเอาด้ายโทเรมาเป็นวัสดุในการทอ

ผ้าซิ่นตีนจกของชาวไทยพวนสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท
     1. ซิ่นที่ใช้นุ่งในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ซิ่นลายร่องแดง ซิ่นตา หว้า ซิ่นตาผ่าใหญ่ ซิ่นตาผ่าน้อย ซิ่นมุก(ซิ่นเข็นตีนแดง) ซิ่นดำปึก ซิ่นแขบแย้ ซิ่นเข็นตีนดำ ซิ่นตามะนาว เป็นต้น

     2. ซิ่นที่ใช้ในโอกาศพิเศษ เช่น ไปร่วมในพิธีกรรมต่าง ๆ งานแต่งงาน งานบวช งานบุญ เป็นต้น ได้แก่ ซิ่นยก ซิ่นล้วง และซิ่นตีนจก เป็นต้น

ลวดลายที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้าตีนจกนั้นยังสามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

    1. ลายหลัก คือ ลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในผืนผ้าที่ทออยู่ตรงกึ่งกลางของโครงสร้างตีนจก และเด่นชัดกว่าลายอื่น
    2. ลายประกอบ คือ ลายเล็กๆ หรือลายย่อยที่เป็็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ตีนจกมีความสมบูรณ์  ลายประกอบที่นำมาใช้ทอประกอบลายหลักจัดได้เป็น 3 ประเภท
- ลายที่มีรูปทรงจากสัตว์           ได้แก่    ลายนกคุ้ม ลานนกคาบ ลายผีเสื้อ
- ลายที่มีรูปทรงจากพืช             ได้แก่    ลายดอกหมี่ ลายดอกแตง ลายสร้อยหมาก
- ลายที่มีรูปทรงเรขาคณิต          ได้แก่    ลายเครือขอ ลายสร้อยสา ลายฟันปลา

แหล่งทอผ้าในจังหวัดสุโขทัย

  • แหล่งทอผ้าตีนจกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุโขทัย ได้แก่ ตำบลหาดเสี้ยว ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย
  • ผ้าคลุมไหล่ ต.ป่างิ้ว อ.ศรีสัชนาลัย
  • ผ้าทอยกดอก ผ้าพื้น ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม
  • ผ้าขาวม้า ผ้าทอตัวหนังสือ ผ้าห่ม ตำบลบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง

    ต้นฉบับ : http://www.openbase.in.th/node/add/story


ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุโขทัย



ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุโขทัย คือ ผ้าจกเก้าลาย ซึ่งมีการจกลวดลายหลักที่สวยงามแต่โบราณอยู่ 9 ลาย ได้แก่

  • ลายเครือน้อย มีลักษณะลายหลักน้อยเป็นลายง่าย ลายประกอบของลายหลักนี้จะเป็นลายนกหมู่  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะลาย
  • ลายเครือกลาง
    มีลายหลักที่เหมือนกับ ลายเครือน้อยเพียงแต่มีความยาวในการจกลายเพิ่มขึ้น
    ลายประกอบของลายหลักนี้เป็นลายนกคาบ ลายพันคึง ลายดอกหมี่และลายสร้อยสา
    ลายเครือกลางนี้จะนิยมนำมาต่อกับซิ่นเข็น
  • ลายเครือใหญ่ ลายหลักที่มีดอกไม้อยู่ตรงกลางเครือลายประกอบของลายนี้เป็นลายนกคุ้ม ลายนกคาบ  ลายพันคึง ลายเครือขอและลายเครือใหญ่นิยมนำมาต่อกับซิ่นมุก
  • ลายสิบหกหน่วยตัด  หมายถึงลายที่มีมุม 16 มุม ลายประกอบของลายหลักนี้จะเหมือนกับลายอื่นทั่วไป แต่จะต้องนำไปต่อกับซิ่นตามเติม
  • ลายสิบสองหน่วยตัด หมาย
    ถึง ลายหลักที่มีขอจำนวน 12 ขอประกอบกัน เป็นดอกมีขาพัน  ทำเป็น
    สามเหลี่ยมและยังมีลายประกอบคือ ลายนกคาบหรือหงส์ตัวเล็กอยู่ด้วย
    ลายหลักนี้นิยมต่อกับซิ่นตาหว้า
  • ลาย 8 ขอ หมายถึง ลายที่มีความเหมือนกับลายสิบหกหน่วยตัด แต่ย่อขนาดให้เล็กลง ลายประกอบ จะเป็นนกแถว ลายหลักนี้นิยมต่อกับซิ่นอ้อมแดง
  • ลาย 4 ขอ หมายถึง เป็นลายขนาดเล็กมีลายประกอบกระจุ๋มกระจิ๋ม ใช้สำหรับต่อผ้าซิ้นให้เด็กหญิงใส่ลายหลักนี้นิยมต่อกับซิ่นตาหว้า
  • ลายน้ำอ่าง
    หมายถึง
    ลายหลักที่มีหงส์สองตัวคาบดอกไม้รวมกันคล้ายกับว่าหงส์สองตัวคาบดอกไม้
    ในอ่างน้ำนั่นเอง ลายหลักนี้เป็นที่นิยมทอกันมากที่สุด
    และนิยมนำมาต่อกับซิ่นเข็ม
  • ลายสองท้อง เป็นลายหลักที่มีความแปลกกว่าลายอื่นคือ ครึ่งหนึ่งของลายจะเป็นสีดำ อีกครึ่งจะเป็น สีแดง

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B13/C21/c21.html

กลับไปหน้ารวม link ข้อมูลผ้าภาคเหนือ จากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร