ข้อมูลผ้าไทยภาคเหนือตอนล่าง - ผ้าเมืองตาก

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
24/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดตาก


   “ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนไหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม”
จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่ค่อนข้างมีความแตกต่างทางภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงมีพื้นที่ราบระหว่างหุบเขาแคบๆ ระหว่างลุ่มน้ำปิง เมืองตากหรือเมืองระแหง เป็นเมืองที่มีความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ตอนต้น และเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายระหว่างหัวเมือง ในอาณาจักรล้านนา ฝ่ายตะวันตกกับหัวเมือง ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างและเป็นเส้นทางการค้าระหว่างเมือง หลวงพระบาง ตาก และ มะละแหม่ง รวมทั้งในอดีตเมืองตากเป็นเมืองหน้าด้านที่พม่าจะใช้เป็นเส้นทางเดินทัพเช่น พระเจ้าบุเรงนองของพม่าได้ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา มาทำสงครามกับไทยในสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระมหาจักร พรรดิ และชาวจังหวัดตากเชื่อว่าก่อนที่สมเด็จพระเจ้าตาก สินมหาราชจะเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น เคยดำรงฐานะเป็น  เจ้าเมืองตากมาก่อน

จังหวัดตากตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง  สภาพภูมิประ เทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้และภูเขา มีเนื้่อที่ประมาณ 16,406 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือติดจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม ลำพูน และ ลำปาง ทิศตะวันออกติดจังหวัดสุโขทัย   ทิศตะวันตก ติดประเทศสหภาพเมียนมาร์  โดยมีแม่น้ำเมย และทิวเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นพรมแดน ทิศใต้ติดจังหวัดอุทัยธานี
การ ญจนบุรี นครสวรรค์ และกำแพงเพชร  แบ่งการปกครอง ออกเป็น 8 อำเภอ และ1 กิ่งอำเภอคือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง อำเภอพบพระ และกิ่งอำเภอวังเจ้า

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B14/b14.html


การทอผ้าของจังหวัดตาก
จากการที่จังหวัดตากมีความแตกต่างทางภูมิประเทศ ในอดีติเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน นอกจากนั้นยังมีไทยภาคกลาง ไทยล้านนา ไทยใหญ่(เงี้ยว) พม่า ไทยมุสลิมเชื้อสายบังคลาเทศ และ ชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น กะเหรี่ยง ม้ง อีก้อ มูเซอ และเย้า เป็นต้น ทำให้มีความหลากหลายในเชิงวัฒนธรรม การทอผ้าของจังหวัดตากจึงมีเอกลักษณ์ต่าง ๆ กัน  ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มทอผ้า ของจังหวัดตากได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

     1.กลุ่มอิสานอพยพจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ชัยภูมิ อุบลราชธานีมา ตั้งหลักแหล่งที่บ้านเด่นวัวต.เชียงทอง กิ่งอำเภอวังเจ้า ทอด้วย ฝ้ายและด้ายสำเร็จรูป โดยใช้กี่กระตุกย้อมด้วยสีธรรมชาติ ผ้าที่ทอ ได้แก่  ผ้าพื้น  ผ้าซิ่น  ผ้าขาวม้า  ลวดลายที่นิยม ได้แก่ ลายลูกหวาย
     2.กลุ่มชาวเขา โดยมีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “นักทอ” เพราะทอผ้ากันเป็นวัฒนธรรมประ จำเผ่า เป็นกลุ่มที่ทอผ้ามากที่สุด การทอของชาวกะเหรี่ยงนั้นจะใช้กี่พื้นบ้านที่เรียกว่า“กี่เอว”แต่ในปัจจุบัน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เข้าไปสอนให้ใช้กี่กระตุก ผ้าที่ทอเป็นผ้าฝ้าย   การย้อมสี ในปัจจุบันมีทั้งการ ย้อมสีเคมีและสีธรรมชาติ ผ้าที่ทอได้แก่ ผ้าห่ม เสื้อกะเหรี่ยง ผ้าถุง ผ้าคลุมเตียง และย่าม เป็นต้น
    3.กลุ่มคนไทยพื้นบ้าน เป็นการทอผ้าพื้น ด้วยกี่กระตุก มีทั้งไหมและฝ้าย ทอเป็นผ้าขาวม้า ผ้าผืน ผ้า ห่ม อำเภอแม่ระมาด ผ้าที่พบเป็นผ้าทอมัดหมี่ลายต่างๆ ได้แก่ลายข้าวโพด ลาดหมี่ขอ ลายหมี่เจ้านาง ลาย ไทย ลายมะเฟืองใหญ่ เป็นต้น

แหล่งทอผ้าจังหวัดตาก
กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง

  • กิ่งอำเภอวังเจ้า   บ้านเด่นวัว ต.เชียงทอง
  • อำเภอสามเงา    ตำบลยกกระบัตร
  • อำเภอแม่สอด    ตำบลด่านแม่ละเมา
  • อำเภอพบพระ    ตำบลวาเล่ย์, ตำบลรวมไทย

กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยง

  • อำเภอแม่สอด     ตำบลแม่กุ ตำบลห้วยแม่ยะอุ
  • อำเภอพบพระ     ตำบลพบพระ ตำบลวาเล่ย์
  • อำเภอท่าสองยาง  ตำบลแม่หละ ตำบลแม่วะหลวง ตำบลแม่สอง
  • อำเภอแม่ระมาด   ตำบลขะเนจื้อ ตำบลพระธาตุ ตำบลสามหมื่น ตำบลแม่ตื่น

กลุ่มผ้าปักชาวเขา

  • อำเภอพบพระ   ตำบลรวมไทยพัฒนา ตำบลคีรีราษฎร์

แหล่งที่มาของข้อมูล :
1. ผ้าทอพื้นเมือง - การสำรวจผู้ผลิตทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร,2543
2. ลวดลายบนผืนผ้า สืบสานภูมิปัญญาไทย หนังสือเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ
3. ขวัญเมือง จันทโรจนี  ลักษณะทางวัฒนธรรม ความเชื่อชาติพันธุ์ : ภาคเหนือตอนล่าง เอกสารสัมนาประวัติ
ศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B14/C22/c22.html


ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดตาก

1. ผ้าทอกะเหรี่ยง
     2. ผ้าปักชาวเขา เป็นผ้าที่ปักด้วยมือของชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า
     3. ผ้าทอพื้นเมือง เป็นผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ  ซี่งมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวของจังหวัดตาก โดยผลิตเป็น ผ้าพื้น ผ้าปูโต๊ะ ผ้ารองแก้ว ย่าม

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B14/C23/c23.html

กลับไปหน้ารวม link ข้อมูลผ้าภาคเหนือ จากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร