ข้อมูลผ้าไทยภาคเหนือตอนล่าง - ผ้าเมืองกำแพงเพชร

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
24/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดกำแพงเพชร

“กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ”

จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่าง เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง มีชื่อเรียกว่า“เมืองชากังราว”เป็น เมืองหน้าด่านทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ จัดเป็นจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย มีแม่น้ำปิงที่เป็นแม่น้ำสำคัญไหลผ่านกลางพื้นที่ของจังหวัดตั้งแต่ เหนือสุดจนใต้สุดนักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าสมัยก่อนมีชุมชนโบราณอาศัยอยู่คือเมืองไตรตรึงษ์และเมืองนครชุม และมีตำนานของคนในเขตชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร ที่เล่าขานกันมานานคือเรื่อง “ท้าวแสนปม” จากประเพณีต่างๆ ในจัง หวัดกำแพงเพชร ไม่ว่าจะเป็นประเพณี แห่นางแมว ประเพณีกวนข้าวกระยาสารท ประเพณีการแห่บั้งไฟ ประเพณีนบพระเล่นเพลง ทำให้เห็นว่าจังหวัดกำแพง เพชรมีความหลากหลายในทางวัฒนธรรม ซึ่งเกิดจากการอพ ยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน

กำแพงเพชรมีพื้นที่ประมาณ 8,607 ตารางกิโลเมตร มี อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดตาก และ สุโขทัย ทางทิศเหนือติด ต่อกับจังหวัดนครสวรรค์ ทางทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตร  และพิษณุโลกทางทิศตะวันออก ส่วนทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดตาก แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ  และ 2  กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองขลุง อำเภอไทรงาม อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอพรานกระต่าย อำเภอลานกระบือ  อำเภอคลองลาน อำเภอทรายทองพัฒนา อำเภอปางศิลาทอง กิ่ิงอำเภอบึงสามัคคี และกิ่งอำเภอโกสัมพีนคร

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B14/b14.html


การทอผ้าของจังหวัดกำแพงเพชร

กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชรมีความหลากหลาย  มี ทั้งกลุ่มคนไทยดั้งเดิมเป็นคนไทยภาคกลางสำเนียงสุโขทัย ไทพวน ไทครั่ง คนอิสาน กลุ่มชาวเขา กระเหรี่ยง ม้ง เย้า ซึ่งตั้งหลักแหล่งทีี่อำเภอคลองลาน ที่อพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ซึ่งได้นำวัฒนธรรมการทอผ้าเข้ามาด้วย 

โดยเริ่มแรกเป็นการทอเพื่อใช้เองภาย ในบ้าน ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากทางราชการจึงผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่าย ผ้าพื้นเมืองของจังหวัดกำแพงเพชรที่พบ  ส่วน ใหญ่เป็น มัดหมี่ ทอด้วยกี่กระตุก วัสดุที่ใช้มีทั้งฝ้าย ไหม และด้ายสำเร็จรูป การย้อมเส้นด้ายหรือเส้นฝ้ายนั้นมีทั้งการใช้สีธรรมชาติและสีเคมี ลวดลายที่พบเห็น เช่น ลายต้นสน ลายนาค ลายดอกทานตะวัน ลาย ดอกกระถิน ลายข้าวหลามตัด เป็นต้น

     นอกจากผ้าทอพื้นเมืองแล้วยังมีผ้าปักชาวเขาเผ่าเย้า  ซึ่งเป็นกลุ่มชนชาวไทยภูเขาที่อพยพมาจากจังหวัดเชียงราย เนื่องจากประชากร เพิ่มขึ้นและขาดแคลนที่ทำกิน  สตรีชาวเย้า จะมีความสามารถในการปักผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยลวดลายและสีสันที่งดงาม วิธีการปักผ้าของชาวเย้าจะปักเป็นเส้นทะแยงมุมในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งเป็นการ ปักพื้นฐานลวดลายจะมีความหมายสะท้อนถึงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชาวเย้า ลวดลายโบราณ เช่น ลายเหยี่ยว(ฟันเลื่อย) ลายปะเต๊า(ดวงดาว) ลายด้าวม่าวน่อม(หูเสือ) ลายย่านเปียง (ดอกไม้ที่เอาแบบ มาจากดอกไม้เงิน) ลายส้ม(ต้นไม้) ลายญ๊อบ(ขอ) ลายกวนเอี๋ยวเตี้ยน (การประทับตรา) เป็นต้น  ลายปักบนผ้าเย้าโบราณทุกผืนต้องมีลายส้มย่านเปียง

แหล่งทอผ้าของจังหวัดกำแพงเพชร

1.  ผ้าทอแบบมัดหมี่

  •   อำเภอลานกระบือ         บ้านหนองกรด บ้านเกาะไผ่ล้อม ตำบลประชาสุขสันต์
  •   อำเภอคอลงขลุง          บ้านสามแยก ตำบลวังบัว
  •   อำเภอทรายทองวัฒนา    บ้านทุ่งทอง ตำบลทุ่งทอง บ้านชุมนาก ตำบลถาวร
  •   อำเภอไทรงาม            บ้านสระแก้ว ตำบลพานทอง
  •   อำเภอเมือง                บ้านทุ่งโพธิ์ทะเลกลาง ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล

2.  ผ้าปักชาวเย้า

  • อำเภอคลองลาน          บ้านหนองปรือ บ้านสักงาม ตำบลโป่งน้ำร้อน บ้านคลองลาน ตำบลคลองลานพัฒนา

แหล่งที่มาของข้อมูล :
1. ผ้าทอพื้นเมือง - การสำรวจผู้ผลิตทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร,2543
2. ลวดลายบนผืนผ้า สืบสานภูมิปัญญาไทย หนังสือเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ
3. ขวัญเมือง จันทโรจนี  ลักษณะทางวัฒนธรรม ความเชื่อชาติพันธุ์ : ภาคเหนือตอนล่าง เอกสารสัมนาประวัติ
ศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง

ต้นฉบับ: http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B14/C22/c22.html


 ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกำแพงเพชร



1. ผ้าปักของชาวเย้า
อำเภอคลองลาน เป็นโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ซึ่งได้เข้าไปฝึกทำผ้าปักที่โรงฝึกศิลปาชีพ ณ พระราชตำหนัก ภูพิงค์ราชนิเวศน์ โดยเรียนลวดลายที่เป็นของเย้าทั้งหมด
     2. ผ้ามัดหมี่ ซึ่งเป็นทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย ทำเป็นผ้าซิ่น ผ้าชุด

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B14/C23/c23.html

กลับไปหน้ารวม link ข้อมูลผ้าภาคเหนือ จากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร