ข้อมูลผ้าไทยภาคเหนือตอนล่าง - ผ้าเมืองเพชรบูรณ์

วันที่เอกสารถูกสร้าง: 
24/07/2008
ที่มา: 
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.thaitextilemuseum.com

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดเพชรบูรณ์

  “เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว  ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง”

เพชรบูรณ์เป็นจังหวัดทางภาคเหนือตอนล่าง   เชื่อกันว่ามีมาแต่โบราณแต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด มีทิวเขาเพชรบูรณ์อันสลับซับซ้อนอยู่ทางตอนเหนือ และโอบล้อมส่วนบนของด้านตะวันออกและส่วนตะวันตกของจังหวัด ตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณที่ราบแอ่งกระทะ  การกระจายตัวของประชากรจึงอาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำปาสัก และพื้นที่ราบระหว่างภูเขา

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าเดิมเพชรบูรณ์ชื่อว่าเมือง เพชรปุระ หรือ พืชปุระ   ซึ่งหมายถึง
เมืองแห่งพืชพันธ์ธัญญาหาร และจากสถาปัตยกรรมต่างๆ ในตัวเมืองเพชรบูรณ์ ทำให้สันนิษฐานว่าเพชรบูรณ์มีการสร้างเมืองขึ้นมา 2 ยุค คือ สมัยสุโขทัย และ สมัยอยุธยา เดิมเมืองเพชรบูรณ์เคยเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านการทหาร เนื่องจากเคยเป็นเส้นทางเดินทัพครั้งสำคัญหลายครั้ง เช่น ทัพของพระเจ้าไชยเชษฐาได้เดินผ่านเมืองนครไทยมาทางเมืองเพชรบูรณ์  สมัยธนบุรีเคยเป็นที่ชุมนุมพักทัพของพระยาจักรี ก่อนปะทะกับทัพอะแซหวุ่นกี้ และเคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างผู้ที่มีความคิดเห็นขัดแย้งทางการเมืองกับฝ่าย รัฐบาลในปี พ.ศ.2511 - 2524

ปัจจุบันเพชรบูรณ์เป็นเมืองที่มีภูมิประเทศ อันงดงามโดยเฉพาะบริเวณเขาค้อ ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็น “สวิสเซอร์แลนด์เมืองไทย”  มีพื้นที่ประมาณ 12,668 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดเลยและจังหวัดพิษณุโลก ทิศใต้ติดกับลพบุรี ทิศตะวันออกกับจังหวัดชัยภูมิ   ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดพิจิตรพิษณุโลก และนครสวรรค์ การปกครองแบ่งออกเป็น11อำเภอ  ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอเขาค้อ อำเภอน้ำหนาว อำเภอชนแดนอำเภอวังโป่ง อำเภอหนองไผ่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ

 ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B10/b10.html


การทอผ้าเมืองเพชรบูรณ์
เพชรบูรณ์มีความโดดเด่นในเรื่องเชื้อชาติ   มีการผสมผสานกับคนในภูมิภาคใกล้เคียงจนเกิดเอกลักษณ์
ของตนเอง  เพชรบูรณ์เป็นหัวเมืองไทยฝ่ายเหนือ  จึงมีสำเนียงภาษาพูดที่ได้รับอิทธิพลทั้งจากภาษาไทยโคราชลาวหลวงพระบาง ลาวเวียงจันทน์ ที่อพยพมาอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เคลื่อนย้ายเข้ามายังจังหวัดเพชรบูรณ์ รวมกันจนได้ชื่อว่า “ลาวหล่ม” รวมทั้งมีชนกลุ่มชาวเขาที่อาศัยอยู่ตามเทือกเขาเพชรบูรณ์ได้แก่ ชาวเขาเผ่าเย้า ลีซอ มูเซอ และม้ง


การทอผ้าของจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นการทอด้วยกี่กระตุก  วัสดุที่ใช้ใน การทอได้แก่ ฝ้าย ไหม และด้ายสำเร็จรูป (ด้ายโทเร) ลักษณะของผ้าที่พบเป็นการทอด้วยการมัดหมี่ และการทอยกดอกหรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “การเก็บขิด” ลวดลายบนผืนผ้าที่พบมีทั้งลวดลายดั้งเดิม   และลวดลายประยุกต์ ได้แก่ ลายโคมห้า ลายโคมเก้า ลายตะขอ ลายปราสาท ลายขาเปีย ลายกุญแจจีน ประยุกต์ ลายแกนข้าวโพด ลายปักกิ่ง ลายเครื่องหินน้อยและลายที่ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ หรือแมลงต่างๆ ได้แก่ ลายผิดแก่น ลายบัวสวรรค์ ลายดอกบัวแก้ว เป็นต้น ส่วนใหญ่นำมาทำ
เป็นผ้าซิ่น ผ้าผืน ผ้าขาวม้า และผ้าหน้าหมอน



แหล่งทอผ้าในจังหวัดเพชรบูรณ์

  • อำเภอศรีเทพ       บ้านวังขอน
  • อำเภอหล่มเก่า      บ้านภูผักไซ่ บ้านนาซำ
  • อำเภอชนแดน       บ้านผาทอง
  • อำเภอเมือง          บ้านเฉลียงลับ
  • อำเภอวัดโป่ง        บ้านวังศาล
  • อำเภอหนองไผ่      บ้านวังโบสถ์
  • อำเภอหล่มสัก       บ้านขวันโยน ตำบลสักหลง ตำบลบ้านติ้ว
  • อำเภอวิเชียรบุรี      บ้านพุเตย

เอกสารอ้างอิง :
1.  เที่ยวทั่วไทยไปกับนายรอบรู้ เพชรบูรณ์ สำนักพิมพ์สารคดี
2.  ผ้าทอพื้นเมือง โครงการสำรวจผู้ผลิตทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร
3.  ขวัญเมือง จันทโรจนี ลักษณะทางวัฒนธรรม ความเชื่อและชาติพันธ์ :  ภาคเหนือตอนล่าง เอกสารการสัมมนา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B10/C14/c14.html


ผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบูรณ์
ผ้าทอที่สวยงามขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน
1. ผ้าทอบ้านเฉลียงลับ หมู่บ้านเฉลียงลับ อำเภอเมือง เป็นการทอด้วยวิธีการมัดหมี่ มีทั้งผ้าไหม และผ้าฝ้าย  ลักษณะเด่น คือลวดลายที่ สวยงามฝีมือปราณีตและละเอียดมีการใช้สีธรรมชาติควบคู่ไปกับสีสัง
เคราะห์


   2. ผ้าทอบ้านวังโบสถ์ อำเภอหนองไผ่เป็นการทอด้วยวิธีการมัดหมี่ และยกดอก มีทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าที่ทอจากด้ายสำเร็จรูป

ต้นฉบับ : http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B10/C15/c15.html

กลับไปหน้ารวม link ข้อมูลผ้าภาคเหนือ จากพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร